สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการค่าย Digital Media Workshop ครั้งที่ 9

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการค่าย Digital Media Workshop ครั้งที่ 9
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน
หน่วยงานหลัก คณะดิจิทัลมีเดีย
หน่วยงานร่วม ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
ชื่อชุมชน อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอขุนยวม อำเภอปาย อำเภอแม่สะเรียง อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอสบเมย อำเภอปางมะผ้า
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์นภนต์ คุณะนิติสาร
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา อาจารย์นภนต์ คุณะนิติสาร
อาจารย์ชนินทร ฉายรัศมี
อาจารย์วรากร ใช้เทียมวงศ์
อาจารย์วิชัย โยธาวงศ์
อาจารย์วีรภัทร สุธีรางกูร
การติดต่อ 0841311011
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 สิงหาคม 2562 - 30 เมษายน 2563
งบประมาณ 30,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
แม่ฮ่องสอน เมืองแม่ฮ่องสอน ผาบ่อง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นเมืองปิดที่อยู่ค่อนข้างห่างไกล ทำให้การติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอก เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากลำบาก แต่ด้วยปัจจัยทางทรัพยากรทางธรรมชาติและมรดกวัฒนธรรมของจังหวัดที่สั่งสมมากว่าหลายร้อยปี เป็นแหล่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเยือนแม่ฮ่องสอนจำนวนไม่น้อย ประกอบกับในปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร การคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้โลกเราเล็กลง สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น เดินทางพบปะกันได้สะดวกรวดเร็ว ด้วยปัจจัยดังกล่าวในปี พ.ศ.2549 โครงการแม่ฮ่องสอนไอทีวัลเล่ย์จึงเริ่มดำเนินการขึ้นโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัย ฯลฯ ในการส่งเสริมและสนับสนุนในการเสริมสร้างทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ครูและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ส่งผลให้ครูและนักเรียนมีขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมีความสนใจมุ่งมั่นในการพัฒนาทักษะให้สูงขึ้น นอกจากนั้นหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอน วิทยาลัยชุมชน วิทยาลัยการงานและอาชีพ เป็นต้น มีความตื่นตัวในการที่จะร่วมกันพัฒนาศักยภาพของบุคลากรโดยเฉพาะเยาวชนให้มีองค์ความรู้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีเป้าหมายให้จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นแหล่งผลิตบุคลากรที่มีความสามารถทางด้านดิจิทัลมีเดีย และเป็นแหล่งผลิตดิจิทัลคอนเทนท์ที่เหมาะสม โดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสร้างงานสร้างอาชีพให้คนในท้องถิ่นสามารถมีงานทำได้ตลอดทั้งปี
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1. การสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ โดยการถ่ายทำและตัดต่อวีดีโอ เพื่อประชาสัมพันธ์ชุมชน (Film Editing)
2. การออกแบบเวว็บไซต์ เพื่อขายของออนไลน์ หรือให้ข้อมูลท่องเที่ยวของชุมชน (Interactive website)
3. การสร้างเกม Games

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นเมืองปิดที่อยู่ค่อนข้างห่างไกล ทำให้การติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอก เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากลำบาก แต่ด้วยปัจจัยทางทรัพยากรทางธรรมชาติและมรดกวัฒนธรรมของจังหวัดที่สั่งสมมากว่าหลายร้อยปี เป็นแหล่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเยือนแม่ฮ่องสอนจำนวนไม่น้อย ประกอบกับในปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร การคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้โลกเราเล็กลง สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น เดินทางพบปะกันได้สะดวกรวดเร็ว ด้วยปัจจัยดังกล่าวในปี พ.ศ.2549 โครงการแม่ฮ่องสอนไอทีวัลเล่ย์จึงเริ่มดำเนินการขึ้นโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัย ฯลฯ ในการส่งเสริมและสนับสนุนในการเสริมสร้างทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ครูและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ส่งผลให้ครูและนักเรียนมีขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมีความสนใจมุ่งมั่นในการพัฒนาทักษะให้สูงขึ้น นอกจากนั้นหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอน วิทยาลัยชุมชน วิทยาลัยการงานและอาชีพ เป็นต้น มีความตื่นตัวในการที่จะร่วมกันพัฒนาศักยภาพของบุคลากรโดยเฉพาะเยาวชนให้มีองค์ความรู้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีเป้าหมายให้จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นแหล่งผลิตบุคลากรที่มีความสามารถทางด้านดิจิทัลมีเดีย และเป็นแหล่งผลิตดิจิทัลคอนเทนท์ที่เหมาะสม โดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสร้างงานสร้างอาชีพให้คนในท้องถิ่นสามารถมีงานทำได้ตลอดทั้งปี

ทางคณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้พัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมทั้งจัดโครงการอบรมให้กับบุคลากรในชุมชน เพื่อสามารถพัฒนาและดูแลเว็บไซต์ ในการประชาสัมพันธ์ชุมชนของตนเองได้เป็นอย่างดี ซึ่งในระยะต่อไปของโครงการ เป็นการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบดิจิทัลประเภทต่างๆ พร้อมทั้งจัดอบรมให้กับนักศึกษาที่ร่วมในโครงการและบุคคลในชุมชน ให้มีความรู้และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปผลิตสื่อประชาสัมพันธ์รูปแบบดิจิทัล เพื่อตอบโจทย์ Flagship Project เพิ่มคุณภาพชีวิตชาวแม่ฮ่องสอนด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ภายใต้ยุทธศาสตร์แม่ฮ่องสอนเที่ยวได้ทั้งปี [Theme] “MHS is where culture and nature converge. แม่ฮ่องสอน ที่ที่ธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรมมาพบกัน" จะเป็นการนำทรัพยากรธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่า มารวบรวมเพื่อนำเสนอผ่านสื่อที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและDigital Media โดยสามารถสื่อสารประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ทั่วโลก
จากผลตอบรับของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการในครั้งที่ 8 มีนักเรียนประสงค์สมัครเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นกว่า 80 เปอร์เซนต์ ดังนั้นเพื่อให้การสร้างคน สร้างงานและสร้างเครือข่าย ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของโครงการแม่ฮ่องสอนไอทีวัลเลย์ ได้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืน การจัดกิจกรรมพัฒนาเยาวชนในโครงการฯ ครั้งที่ 9 นี้ จึงจัดทำขึ้นเพื่อให้สอดรับกับแนวทางการพัฒนาจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ จัดกิจกรรมในโครงการค่าย Digital Media Workshop ครั้งที่ 9 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภายใต้โครงการแม่ฮ่องสอนไอทีวัลเลย์ วันที่ 10-15 มกราคม 2562 ณ พิชชาพรเฮ้าส์ ตำบลผาบ่อง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • Digitalmedia
  • Digitalmedia workshop
  • Film
  • Game
  • Interactive website
  • MHS It Valley

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ find_in_page
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย Napon.ku Napon.ku เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 12:18 น.