สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

การแปรรูปและเพิ่มมูลค่าถั่วลิสงที่ไม่ได้มาตรฐาน : กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้าน เกษตรกรบ้านหนองฆ้อง ตำบลขอนยูง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

การแปรรูปและเพิ่มมูลค่าถั่วลิสงที่ไม่ได้มาตรฐาน : กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้าน เกษตรกรบ้านหนองฆ้อง ตำบลขอนยูง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การแปรรูปและเพิ่มมูลค่าถั่วลิสงที่ไม่ได้มาตรฐาน : กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้าน เกษตรกรบ้านหนองฆ้อง ตำบลขอนยูง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
หน่วยงานหลัก คณะวิทยาการจัดการ
หน่วยงานร่วม สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
ชื่อชุมชน กลุ่มแม่บ้าน เกษตรกรบ้านหนองฆ้อง ตำบลขอนยูง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์วฤธรณ์ ตุลย์ณวัฒน์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 64 ถ.ทหาร ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา นางสาวเจรุวรรณ อดิเรกอุดมรัตน์
นางสาวนิภาพร สีสุขขา
นางสาวอัญชลี ผาพรม
นางสาวพันทิพา สิทธิกร
นางสาวธัญลักษณ์ พรมเสน
นางสาวธัญญาเรศ ตาปิน
การติดต่อ 0894221212
ปี พ.ศ. 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2560 - 30 พฤศจิกายน 2560
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
อุดรธานี กุดจับ ขอนยูง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
หมู่บ้านหนองฆ้อง หมู่ที่ 4 ตำบลขอนยูง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำนาเป็นอาชีพหลักหลังจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวสิ้นสุดลง จึงไม่มีอาชีพเสริม สำนักงานเกษตรอำเภอกุดจับ โดยเกษตรตำบลจึงได้นำถั่วลิสงพันธุ์ไทยนานเก้ามาส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อเป็นอาชีพเสริม ชาวบ้านจึงพากันปลูกถั่วลิสงหลังจากเก็บเกี่ยวนำผลผลิตข้าวออกจากนา โดยมีการปลูกกันเป็นจำนวนมาก ทำส่งผลให้ราคาถั่วลิสงตกต่ำ ราคาไม่ดี จึงได้มีการรวมกลุ่มแม่บ้านในชุมชนโดยมีสมาชิกเริ่มแรกประมาณ 10-15 คน จัดตั้งเป็นกลุ่มแม่บ้านขึ้นมาจากนั้นจึงจัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การแคร์นานาชาติ จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในการแปรรูปถั่วลิสงเป็นถั่วคั่วทราย และเชิญวิทยากรจากกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรแปรรูปถั่วลิสงบ้านหนองโน หมู่ที่ 2 ตำบลกุดจับ เข้ามาให้ความรู้ตั้งแต่ขั้นตอนการคัดเลือกถั่ว การคั่ว การบรรจุหีบห่อ หลังจากได้รับการฝึกอบรมและมีความรู้แล้วกลุ่มแม่บ้านก็ผลิตถั่วคั่วทรายออกขายเรื่อยๆและมีตลาดเข้ามาหาเองโดยไม่ต้องไปเดินขาย เมื่อตอนที่สมัยรัฐบาลท่านนายกทักษิณ ชินวัตร ได้ทำโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ขึ้น ให้กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโดยได้ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ในชุมชนให้เป็นที่รู้จักของตลาดทั่วไปในประเทศและต่างประเทศ ได้จัดงาน OTOP City เมืองแห่งภูมิปัญญาไทยขึ้น ปี 2546 โดยให้นำกลุ่มผลิตภัณฑ์ OTOP ไปจำหน่ายในงาน ณ เมืองทองธานี กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองฆ้องได้มีโอกาสนำถั่วคั่วทรายไปขายในงานด้วย ซึ่งในการจัดงานครั้งนั้นทำให้มีคนรู้จักผลิตภัณฑ์ OTOP มากขึ้น และได้ส่งผลให้กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองฆ้อง ขายถั่วคั่วทรายได้เงินกลุ่มได้พัฒนาผลิตภัณฑ์และรักษามาตรฐานของผลิตภัณฑ์มาเรื่อยๆ โดยได้เพิ่มผลิตภัณฑ์ เป็นถั่วคั่วสมุนไพร ถั่วตัด ถั่วเคลือบโอวัลติน โดยได้นำถั่วที่คัดออกที่ไม่ได้ขนาดมาแกะเมล็ดออกแล้วนำมาแปรรูป โดยได้พัฒนามาเรื่อย ๆ ตั้งแต่ ปี 2547 ได้นำผลิตภัณฑ์ถั่วคั่วทรายเข้าร่วมการคัดสรรสุดยอด หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ได้ระดับ 2 ดาว ปี 2549 ได้นำผลิตภัณฑ์ถั่วคั่วทรายเข้าคัดสรรอีก ได้ระดับ 4 ดาว จนถึง ปี 2553 ก็ได้ระดับ 4 ดาว และถั่วคั่วทรายตราฆ้องทองจึงได้เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ประจำหมู่บ้านหนองฆ้องเป็นต้นมา
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
1. กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองฆ้องได้รับมาตรฐาน OTOP ระดับ 4 ดาว
2. มีวัตถุดิบอยู่ในชุมชน ซึ่งง่ายต่อการจัดหาทำให้ต้นทุนในการจัดซื้อหรือการขนส่งด้านวัตถุดิบต่ำ
3. วัตถุดิบปลอดสารเคมีและมีคุณค่าโภชนาการสูง
4. มีฐานลูกค้าเดิมที่ซื้อผลิตภัณฑ์จากกลุ่มแม่บ้านเป็นประจำอยู่แล้ว
ข้อมูลประเด็นปัญหา
1. สมาชิกในกลุ่มส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุทำให้เกิดความล่าช้าในการผลิตสินค้าต่างๆ
2. สมาชิกในกลุ่มแม่บ้านขาดความรู้ด้านการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตทำให้เสียโอกาสในการจำหน่ายสินค้าสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์
3. ยังไม่มีวัสดุอุปกรณ์การผลิตที่ทันสมัยที่มีเทคโนโลยีสูงเข้ามาช่วยในการผลิต
4. ยังขาดการส่งเสริมทางการตลาด เนื่องจากผลิตภัณฑ์เพิ่งมีการพัฒนาขึ้น
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
การนำถั่วลิสงที่มีข้อเดียวมาทำผลิตภัณฑ์ขึ้นมาใหม่คือ ถั่วทอดกรอบ ซึ่งมี 3 รสชาติ ได้แก่ รสดั้งเดิม รสธัญพืช และรสบาร์บีคิว พร้อมทั้งออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1 ทฤษฎีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกขององค์กร ( SWOT Analysis )
2 ทฤษฎีวิเคราะห์สภาวะการแข่งขันทางธุรกิจด้วยแรงกระทบ 5 ประการ( Five Forces Model )
3 ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค ( Consumer Behavior )
4 ทฤษฎีวิเคราะห์ต้นทุนสินค้า ( Cost Analysis )
5 ทฤษฎีวิเคราะห์จุดคุ้มทุน ( Break Event Point )

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

ถั่วลิสงเป็นพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและเป็นแหล่งของโปรตีนและพลังงาน ซึ่งเป็นอาหารบำรุงร่างกายที่ไม่แพงและหาง่าย จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ถั่วลิสงมีประโยชน์มากต่อสุขภาพ อีกทั้งถั่วลิสงสามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านมและโรคหัวใจได้ ถั่วลิสงมีคุณค่าทางโภชนาการสูงโดยถั่วลิสงมีโปรตีนสูงถึง 30% ซึ่งสูงกว่าข้าวสาลีถึง 2 เท่า ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีคุณค่าสูงสามารถดูดซึมได้ง่าย ถั่วลิสงยังมีกรดอะมิโนแปดชนิดที่จำเป็นต่อร่างการและยังอุดมไปด้วยไขมันไรโบฟลาวินเลซิติน กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว วิตามิน A B E K แคลเซียม เหล็กและธาตุอื่นๆ ถั่วลิสงสามารถรับประทานได้ทั้งแบบสุกและแบบดิบก็ได้ล้วนแล้วแต่มีโภชนาการสูงต่อร่างกาย ถั่วลิสงมีประโยชน์ช่วยลดคอเลสเตอรอลในน้ำมันถั่วลิสงมีกรดไลโนเลอิกอย่างสูง ซึ่งป็นสารที่สามารถช่วยสลายคอเลสเตอรอลในร่างกาย แล้วขับถ่ายออกจากร่างกายไป จะได้หลีกเลี่ยงปัญหาคอเลสเตอรอลที่สะสมในร่างกาย ถั่วลิสงยังเป็นอาหารต้านอนุมูลอิสระเพราะในถั่วลิสงมีธาตุสังกะสีสูงกว่าอาหารทั่วไป โดยสังกะสีสามารถช่วยเสริมสร้างความจำและกระตุ้นเซลล์สมองทั้งเด็กและผู้สูงอายุให้สามารถทำงานได้ปกติ ถั่วลิสงยังช่วยสร้างโปรตีนและเสริมสร้างคอลาเจนซึ่งเป็นอาหารที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถั่วลิสงอุดมไปด้วยแคลเซียมสามารถช่วยป้องกันการเสื่อมของกระดูกให้กับผู้สูงอายุได้ และถั่วลิสงหรือน้ำมันถั่วลิสงเป็นแหล่งสารเรสเวอราทรอล ( reverattrol ) ซึ่งจะช่วยลดโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตันและลดน้ำตาลในเลือด อีกทั้งยังช่วยป้องกันโรคมะเร็งและโรคหัวใจได้อีกด้วย
จากการลงพื้นที่สำรวจและสอบถามปัญหาของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองฆ้อง ที่บ้านหนองฆ้อง หมู่ที่4 ตำบลขอนยูง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ทางกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองฆ้อง ได้ให้ข้อมูลแก่คณะผู้จัดทำว่าทางกลุ่มแม่บ้านมีปัญหาเกี่ยวกับถั่วที่ไม่ได้มาตรฐานที่เหลือจากการทำถั่วคั่วทราย คือ ถั่วที่นำมาทำถั่วคั่วทรายนั้นคือถั่วที่มีสองข้อเท่านั้น จึงทำให้เหลือถั่วที่ไม่ได้มาตรฐานเป็นจำนวนมากโดยกลุ่มแม่บ้านได้นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ถั่วตัด ถั่วคั่วสมุนไพร ถั่วเคลือบโอวัลติน แต่ก็ยังมีถั่วที่ไม่ได้มาตรฐานเหลือเป็นจำนวนมาก
คณะผู้จัดทำจึงได้คิดหาแนวทางและวิธีการแก้ปัญหาถั่วที่ไม่ได้มาตรฐานที่ยังเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก โดยนำมาแปรรูปเป็นถั่วทอดกรอบธัญพืช สามารถช่วยลดปริมาณถั่วที่ไม่ได้มาตรฐานที่เหลืออยู่เป็นจำนวนมากและยังทำให้กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองฆ้องมีผลิตภัณฑ์ใหม่ไว้จำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองฆ้องเพิ่มขึ้นอีกด้วย

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • กลุ่มแม่บ้าน เกษตรกรบ้านหนองฆ้อง
  • การแปรรูปถั่วลิสง

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย udonthani_ru udonthani_ru เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 12:13 น.