สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

การพัฒนานวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์

การพัฒนานวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การพัฒนานวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
หน่วยงานหลัก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
หน่วยงานร่วม องค์การบริหารส่วนตำบลคลองขาม
ชื่อชุมชน ชุมชนบ้านโคกสี ตำบลคลองขาม อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อผู้รับผิดชอบ นายโสภณ มูลหา
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 62/1 ถนนเกษตรสมบูรณ์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา -ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปวิชญา ณัฏฐากรกุล สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
-ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทรงเกียรติ ซาตัน สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
-ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรพิมล พิมพ์แก้ว สาขาวิชานิติศาสตร์
-ผู้ช่วยศาสตราจารย์คมกริช ทองนาค สาขาวิชาสหวิทยาการและนวัตกรรมการศึกษา
-ดร.อ๊อต โนนกระยอม สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
-นายปรีชา ทับสมบัติ สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
-นางสาวพรพิทักษ์ เห็มบาสัตย์ สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
-ดร.นพคุณ ทองมวล สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
-ดร.วรกร วิชัยโย สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
-ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิพิธธนวดี สมคะเณย์ สาขาวิชารัฐศาสตร์
การติดต่อ 084-3912686
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 เมษายน 2563
งบประมาณ 500,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ place directions
กาฬสินธุ์ ยางตลาด คลองขาม ชนบท place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
-ประเทศที่เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ก้าวตามสังคมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้สูงอายุส่วนหนึ่งซึ่งเป็นผู้ด้อยโอกาสต้องต่อสู้และปรับตัวอย่างมากมายในการดำเนินชีวิต ผู้สูงอายุอีกส่วนหนึ่งก็มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นผู้สูงอายุด้อยโอกาสหากขาดการเตรียมตัวที่ดี และทั้งสองกลุ่มมีโอกาสได้รับผลกระทบในประเด็นของความเเหลื่อมล้ำทางสังคมได้สูง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุโดยมากพบว่าเป็นเพศหญิง จบการศึกษาระดับประถมศึกษา รายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน อาชีพมีทั้งรับจ้างทั่วไป ขายและทำการเกษตร ขาดความสามารถในการดูแลตนเอง เพิ่งเข้าสู่วัยสูงอายุหรือเป็นผู้สูงอายุตอนต้น อยู่ในครอบครัวเดี่ยว ติดสังคม ไม่มีผู้ดูแลหรือถูกทอดทิ้งหรืออยู่ลำพังหรือถูกละเลย การศึกษาน้อยและมีปัญหาสุขภาพ
-หากมองแง่การเข้าถึง/ได้รับสิทธิ พบว่า สวัสดิการทางสังคมที่ผู้สูงอายุด้อยโอกาสเข้าถึง/ได้รับมากเป็นการรับเบี้ยยังชีพ การตรวจรักษา/การตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การอยู่อาศัยในบ้านของตนเอง การใช้ช่องทางพิเศษรับบริการในสถานบริการของรัฐ การได้รับความสะดวก/ปลอดภัยในการใช้ทางลาด บันได ราวจับห้องน้ำสาธารณะและข้อความป้ายสัญลักษณ์ที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ
-ขณะที่สิทธิสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุด้อยโอกาสรู้จักน้อยมาก คือ รับค่าจัดการศพตามประเพณี 2,000 บาท เมื่อเสียชีวิต การช่วยเหลือด้านกฎหมายเมื่อมีคดีความ กู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพจากกองทุนผู้สูงอายุหรือจากรัฐ การรับของกิจของใช้ในชีวิตประจำวันที่จัดโดยชุมชนท้องถิ่น เช่น อาหารสำหรับผู้สูงอายุอย่างน้อย 1 มื้อ ผ้าอ้อมผู้ใหญ่
-มีประเด็นที่น่าสนใจไปกว่านั้นจากงานวิจัย ยังพบว่า สวัสดิการทางสังคมที่ผู้สูงอายุด้อยโอกาสไม่เคยรับบริการ ไม่เคยเข้าถึงและไม่ต้องการ คอ การช่วยเหลือด้านกฎหมายเมื่อมีคดีความ ครอบครัวอุปการะ การอาศัยในสถานสงเคราะห์หรือบ้านพักคนชรา การขอสนับสนุนอุปกรณ์อำนวยความสะดวกหรือช่วยเหลือเมื่อมีปัญหาการเคลื่อนไหวและสิทธิสวัสดิการสังคมที่ผุ้สูงอายุด้อยโอกาสไม่เคยรับบริการ ไม่เคยเข้าถึง แต่ต้องการ ได้แก่ การดูแล/ช่วยเหลือจากสมาชิกในครอบครัวเมื่อยากลำบาก ค่าจัดการศพตามประเพณีเมื่อเสียชีวิต การเป็นสมาชิกกลุ่มอาชีพในชุมชน กลุ่มออมทรัพย์ สหกรณ์ ชมรม เครือข่ายผู้สูงอายุ กองทุนสวัสดิการชุมชน บริการซ่อมบ้าน การช่วยเหลือด้วยเงิน หรือสิ่งของจากรัฐไม่เกินครั้งละ 3.000 บาทต่อครอบครัวติดต่อกันไม่เกิน 3 ครั้ง และการกู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพ
-เหล่านี้ชี้ให้เห็นความเหลื่อมล้ำที่เกิดกับผู้สูงอายุด้อยโอกาสมีทั้ง 1) การเข้าไม่ถึงบริการ ให้บริการไม่ตรงกับความต้องการ 2) ความไม่เป็นธรรม 3) ความไม่เสมอภาค หรือ 4) ทั้งเข้าไม่ถึงบริการ ให้บริการไม่ตรงกับความต้องการ ไม่เป็นธรรม และไม่เสมอภาค
-ทั้งนี้ ชุมชนบ้านโคกสี ตำบลคลองขาม อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นชุมชนที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นคนพื้้นเพ และย้ายเข้ามา หรือกลุ่มไทย้อ มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมแตกต่างกันไป ผู้สูงอายุบางคนยังไม่สามารถเข้าถึงการช่วยเหลือของภาครัฐได้ตามที่ตนเองต้องการ ทำให้ชุมชนต้องหันมาคิดถึงวิธีการ นวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะช่วยเหลือผู้สูงอายุกลุ่มเหล่านี้ให้สามาพึ่งพาตนเองได้ และชุมชนยังให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกว่าเดิม
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
-ภูมิปัญญาท้องถิ่น
-ผู้นำที่เข็มแข็ง
-ภาครัฐ
-กลุ่มเครือข่ายผุ้สูงอายุในชุมชน
ข้อมูลประเด็นปัญหา
-ผู้สูงอายุมีการศึกษาระดับประถมศึกษา รายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน อาชีพมีทั้งรับจ้างทั่วไป ขายและทำการเกษตร ขาดความสามารถในการดูแลตนเอง เพิ่งเข้าสู่วัยสูงอายุหรือเป็นผู้สูงอายุตอนต้น อยู่ในครอบครัวเดี่ยว ติดสังคม ไม่มีผู้ดูแลหรือถูกทอดทิ้งหรืออยู่ลำพังหรือถูกละเลย การศึกษาน้อยและมีปัญหาสุขภาพ
-ความเหลื่อมล้ำที่เกิดกับผู้สูงอายุด้อยโอกาสมีทั้ง 1) การเข้าไม่ถึงบริการ ให้บริการไม่ตรงกับความต้องการ 2) ความไม่เป็นธรรม 3) ความไม่เสมอภาค หรือ 4) ทั้งเข้าไม่ถึงบริการ ให้บริการไม่ตรงกับความต้องการ ไม่เป็นธรรม และไม่เสมอภาค
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
-การพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคงผู้สูงอายุในชุมชนบ้านโคกสี โดยต้องเป็นนวัตกรรมที่ชุมชนและผู้สูงอายุร่วมมือคิดค้นขึ้นมาโดยมีข้อตกลงและเงื่อนไขร่วมกันระหว่างชุมชนและผู้สูงอายุ

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

-รูปแบบกิจกรรมการช่วยเหลือผู้สูงอายุเบื้องต้น
-กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนตั้งแต่ระดับครอบครัว วัด โรงเรียน
-การจัดการความเสี่ยงด้วยแนวคิดใหม่
-พลวัตทางสังคมโลก
-สถิติเบื้องต้น
-การบริหารจัดการสุขภาพ นันทนาการ
-กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
-สื่อดิจิทัล

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย Sopon2528 Sopon2528 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562 14:28 น.