ทักษะสมอง EF (Executive function) เพื่อบ่มเพาะคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัยในจังหวัดสุรินทร์
ทักษะสมอง EF (Executive function) เพื่อบ่มเพาะคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัยในจังหวัดสุรินทร์
ข้อมูลโครงการ
ชื่อโครงการ | ทักษะสมอง EF (Executive function) เพื่อบ่มเพาะคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัยในจังหวัดสุรินทร์ |
สถาบันอุดมศึกษาหลัก | มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ |
หน่วยงานหลัก | สาขาการศึกษาปฐมวัย |
หน่วยงานร่วม | เทศบาลตำบลเมืองแก |
ชื่อชุมชน | ชุมชนเทศบาลตำบลเมืองแก |
ชื่อผู้รับผิดชอบ | นางผ่องนภา พรหมเกษ, นางปิยนันท์ พูลโสภา |
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ | 186 หมู่ 1 ถ.สุรินทร์-ปราสาท ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000 044-710047 |
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา | อาจารย์วารีรัตน์ แย้มประดิษฐ์ (สาขาพลศึกษา) อาจารย์ ดร.กมลรัตน์ วงศ์ถามาตย์ (สาขาการประถมศึกษา ) อาจารย์จักรพงษ์ วารีย์ (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา) อาจารย์ศิริพร เกตุสระน้อย (สาขาจิตวิทยาและการแนะแนว) |
การติดต่อ | 0899173768 ,0945929354 , |
ปี พ.ศ. | 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 6 มกราคม 2563 - 15 สิงหาคม 2562 |
งบประมาณ | 500,000.00 บาท |
พื้นที่ดำเนินงาน
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ชื่องานในพื้นที่ | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|---|
สุรินทร์ | ท่าตูม | เมืองแก | ชนบท | place directions | |
สุรินทร์ | เมืองสุรินทร์ | สลักได | ชานเมือง | place directions |
รายละเอียดชุมชน
ข้อมูลพื้นฐาน
อำเภอท่าตูมแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 165 หมู่บ้าน1. ท่าตูม (Tha Tum) 22 หมู่บ้าน 6. บะ (Ba) 15 หมู่บ้าน
2. กระโพ (Krapho) 20 หมู่บ้าน 7. หนองบัว (Nong Bua) 11 หมู่บ้าน
3. พรมเทพ (Phrom Thep) 22 หมู่บ้าน 8. บัวโคก (Bua Khok) 19 หมู่บ้าน
4. โพนครก (Phon Khrok) 16 หมู่บ้าน 9. หนองเมธี (Nong Methi) 11 หมู่บ้าน
5. เมืองแก (Mueang Kae) 19 หมู่บ้าน 10. ทุ่งกุลา (Thung Kula) 10 หมู่บ้าน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
เทศบาลตำบลท่าตูม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าตูมเทศบาลตำบลเมืองแก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองแกทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าตูม (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลท่าตูม)
องค์การบริหารส่วนตำบลกระโพ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระโพทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลพรมเทพ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพรมเทพทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลโพนครก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนครกทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลบะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบะทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลบัวโคก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบัวโคกทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเมธี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเมธีทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกุลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งกุลาทั้งตำบ
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ปัญหาความเลื่อมล้ำได้รับโอกาสทางการศึกษาจาก พรบ.การศึกษาปฐมวัย 2560 ได้กำหนดให้เด็กควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้เต็มตามศักยภาพ ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี(พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2580) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดีเก่ง และมีคุณภาพ โดยคนไทยมีความพร้อมทั้งกาย จิตใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้าน และมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์อดออม โอบอ้อมอารีมีวินัย รักษาศีลธรรมและเป็นพลเมืองดีของชาติมีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เพื่อไม่ให้เป็นการปิดกั้นการพัฒนาสมองของเด็กตามวัยที่เหมาะสม เมื่อการศึกษาในระดับปฐมวัยเน้นแต่ด้านวิชาการทำให้ระบบการจัดการศึกษาของโรงเรียนส่วนใหญ่ก็เป็นไปตามนั้นทำให้เด็กมีโอกาสในการเล่น รวมถึงการเรียนทักษะต่างๆที่ควรฝึกในช่วงปฐมวัยลดลง เช่น การฝึกกล้ามเนื้อ การปลูกฝังมารยาทและจิตสำนึก หรือแม้แต่การฝึกการเข้าสังคมกับเพื่อน ๆในวัยเดียวกัน จากการวิจัยพบว่า เมื่อเด็กๆเริ่มเรียนวิชาการตั้งแต่ในระดับปฐมวัยในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เกิดการปิดกั้นการพัฒนาสมองของเด็กในด้านอื่นๆ เช่น ความคิดสร้างสรรค์และการคิดแก้ปัญหา เพราะในความจริงแล้วเด็กปฐมวัยต้องการการฝึกฝนทักษะทางการสังเกต และการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ที่เกิดจากการได้เล่น ได้เรียนรู้ ทดลอง และลงมือทำด้วยตนเอง ที่จะเป็นการเพิ่มความสามารถของพวกเขาเพื่อเป็นการกระตุ้นให้สมองให้พัฒนาได้อย่างเต็มความ สามารถ ที่ทำให้เซลล์สมองสามารถแตกแขนงออกไปได้มาก เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาของช่วงต่อไปเมื่อโตขึ้น แต่เมื่อเด็กไม่ได้รับการฝึกทักษะทางด้านนี้อย่างเต็มที่ แต่กลับถูกจำกัดให้เรียนแต่ด้านวิชาการ ทำให้มีแค่เซลล์สมองส่วนความ จำเท่านั้นที่พัฒนา ในขณะที่เซลล์สมองอื่นๆของเด็กไม่แตกแขนง และไม่ได้พัฒนาอย่างที่ควรจะเป็นอย่างเหมาะสมตามวัยและเมื่อเลยวัยนี้ไปแล้ว ก็เป็นการยากที่จะกลับมาพัฒนาได้อีก เพื่อลดความเลื่อมล้ำโอกาสในการศึกษา จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ควรเข้าไปส่งเสริมพัฒนาเด็ก ทักษะสมอง Executive Functions (EF) คือทักษะที่จะช่วยให้เด็ก “คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่กับคนอื่นเป็น และหาความสุขเป็น”EF ช่วยให้เด็กมีเหตุมีผล ยับยั้งชั่งใจได้ กำกับอารมณ์และหาความสุขเป็น”EF ช่วยให้เด็กมีเหตุมีผล ยับยั้งชั่งใจได้ กำกับอารมณ์และพฤติกรรมตนเองได้ วางแผนทำงานเป็น ใจจดจ่อ ทำการใดไม่วอกแวก จดจำประสบการณ์ในอดีต มาเชื่อมโยงกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และคาดการณ์ผลในอนาคตได้ ช่วยให้เด็กจัดการกับงานหลาย ๆ อย่างให้ลุล่วงเรียบร้อยได้ จัดลำดับงานเป็นขั้นเป็นตอน ยึดเป้าหมายแล้วมุ่งมั่น พากเพียร ทำไปเป็นขั้นตอนจนสำเร็จ EFช่วยให้เด็กพัฒนาตนจากการมีชีวิตที่มีคุณค่าแห่งคุณงามความดี บ่มเพาะคุณธรรม จริยธรรม ดำเนินชีวิตที่ดี นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อและพฤติกรรมที่ดีงามข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
เด็กส่วนใหญ่ 90 % อาศัยอยู่กับผู้สูงวัย และขาดความเข้าใจในการส่งเสริมและการพัฒนาเด็กในการพัฒนาสมองส่วนหน้าประเด็นปัญหาหลัก
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน
รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล
ทักษะสมอง Executive Functions (EF) คือทักษะที่จะช่วยให้เด็ก “คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่กับคนอื่นเป็น และหาความสุขเป็น”EF ช่วยให้เด็กมีเหตุมีผล ยับยั้งชั่งใจได้ กำกับอารมณ์และหาความสุขเป็น”
EF ช่วยให้เด็กมีเหตุมีผล ยับยั้งชั่งใจได้ กำกับอารมณ์และพฤติกรรมตนเองได้ วางแผนทำงานเป็น ใจจดจ่อ ทำการใดไม่วอกแวก จดจำประสบการณ์ในอดีต มาเชื่อมโยงกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และคาดการณ์ผลในอนาคตได้ ช่วยให้เด็กจัดการกับงานหลาย ๆ อย่างให้ลุล่วงเรียบร้อยได้ จัดลำดับงานเป็นขั้นเป็นตอน ยึดเป้าหมายแล้วมุ่งมั่น พากเพียร ทำไปเป็นขั้นตอนจนสำเร็จ
EFช่วยให้เด็กพัฒนาตนจากการมีชีวิตที่มีคุณค่าแห่งคุณงามความดี บ่มเพาะคุณธรรม จริยธรรม ดำเนินชีวิตที่ดี นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อและพฤติกรรมที่ดีงาม
ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สังคมแห่งการเรียนรู้ไม่มีวันหยุดนิ่ง สังคมโลกกลายเป็นสังคมความรู้(Knowledge Society) หรือสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) องค์การทางการศึกษา จึงต้องปรับตัวให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) คุณภาพการศึกษาขึ้นอยู่กับคุณภาพครูเป็นหลัก แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 มีนโยบายมุ่งเน้นการพัฒนาโดยยึดคนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้การเปลี่ยนแปลง และ หนึ่งในนโยบายเร่งรัดของกระทรวงศึกษาธิการคือ ปฏิรูประบบการผลิตและพัฒนาครู ดังนั้นครูจึงเป็นบุคคลที่มีความสำคัญทั้งทางตรงและทางอ้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ ความสามารถให้แก่ศิษย์ รวมทั้งพัฒนาศิษย์ให้เป็นมนุษย์ที่มีสมบูรณ์ เป็นคนดี มีคุณธรรม จึงกล่าวได้ว่า“ครู” เป็นบุคคลสำคัญยิ่งต่อภารกิจในการพัฒนาเยาวชนของชาติ นอกจากครูจะต้องมีจิตวิญญาณความเป็นครูแล้ว ยังต้องเป็นผู้ทรงความรู้ในเนื้อหาที่จะถ่ายทอดสู่ผู้เรียน และครูยังต้องจัดการเรียนการสอนได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นครูจึงต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ และในปี พ.ศ.2558 กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดนโยบาย และยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา โดยให้ความสําคัญต่อยุทธศาสตร์การศึกษา คุณธรรม จริยธรรมและคุณภาพชีวิต การปฏิรูปการเรียนรู้ สะท้อนให้เห็นว่า รูปแบบการผลิตและพัฒนากำลังคนเน้นความมีประสิทธิภาพในการแข่งขันในประชาคมอาเซียน และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 และจากการสังเคราะห์งานวิจัยหลายฉบับ พบว่า สังคมใดมีผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมจริยธรรม สังคมนั้นจะมีแต่ความสงบสุข ในขณะเดียวกัน หากคนในสังคมใดมีความบกพร่องด้านจิตใจ ขาดคุณธรรมและจริยธรรม แม้สังคมนั้นจะมีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ก็หาความสงบสุขได้ยาก สรุปภาพรวมของปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นกับคนในชาติทุกกลุ่มเป้าหมาย นับวันจะรุนแรงและทวีคูณมากขึ้นสถานการณ์เช่นนี้มีผลต่อประเทศและสังคมไทยโดยรวม
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การส่งเสริมและ
บริการวิชาการแก่ชุมชนและท้องถิ่น เล็งเห็นความสำคัญต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิชาชีพ
ครู การผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง หลักการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาจึงมุ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ตัวผู้เรียน ดังนั้นการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive function)เพื่อบ่มเพาะคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัยโดยน้อมนำแนวทางศาสตร์พระราชาและกระบวนการ PLC มาเป็นแนวทางการพัฒนาครูปฐมวัย ผ่านโครงการต่างๆ อาทิ กระบวนการเรียนรู้ทักษะ EFกับการสร้างสรรค์คุณธรรมความดี EFกับการยับยั้งชั่งใจ EFกับนิทานคุณธรรม EFกับสมาธิจดจ่อใส่ใจ EFกับการสร้างครอบครัวคุณธรรม EFกับกิจกรรมเครือข่ายครูคุณธรรม และ ครูต้นแบบEFจิตอาสาเราทำความดีด้วยหัวใจ ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆดังกล่าวเป็นการนำเข้าองค์ความรู้ EF สู่กระบวนการพัฒนาครูปฐมวัยผู้ซึ่งเป็นบุคคลที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดํารงชีวิต สามารถทํางานร่วมกับบุคคลอื่นให้อยู่อย่างมีความสุข ถึงเวลาแล้วที่ทุกภาคส่วนในสังคมจะต้องตระหนักถึงการนำทักษะสมองEFเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็กปฐมวัย บุคลากรทุกฝ่ายต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจ ลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง ผู้ใหญ่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กเยาวชน พ่อแม่ผู้ปกครองต้องดูแลเอาใจใส่บุตรหลานอย่างใกล้ชิด ครูต้องมีสำนึกและจิตวิญญาณของความเป็นครูเพิ่มขึ้น หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรศาสนา สื่อมวลชนทั้งหลายต้องตื่นตัว ผนึกกำลังร่วมกันเพื่อพัฒนาและขับเคลื่อนให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ยึดหลักคุณธรรมนำชีวิตไปสู่ความสุข และที่สำคัญต้องเป็นความสุขแบบเรียบง่ายและยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้างให้เด็กปฐมวัยมีทักษะสมอง EF และกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล ซึมซับคุณค่าแห่งคุณธรรม และภูมิใจในการทำความดี
เพื่อพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย พ่อแม่และผู้ปกครองเด็กปฐมวัยสามารถนำทักษะ EF เพื่อบ่มเพาะคุณคุณธรรม จริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัยได้
เพื่อให้ครูสามารถ คิดค้น เลือกใช้ ผลิต นวัตกรรมพัฒนาทักษะสมอง EF เพื่อบ่มเพาะคุณคุณธรรม จริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย และพร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อพัฒนาครูต้นแบบ EF จิตอาสาเราทำความดีด้วยหัวใจในสถานศึกษา
เพื่อสร้างครอบครัวคุณธรรมโดยใช้ EFเป็นฐาน
คำสำคัญเพื่อการค้นหา
- EF (Executive function)
- เด็กปฐมวัย
- ทักษะสมอง ทักษะสมองส่วนหน้า EF (Executive function) เด็กปฐมวัย
- ทักษะสมองส่วนหน้า
ประเมินคุณค่าโครงการ
คุณค่าที่เกิดขึ้น | ผลที่เกิดขึ้น | ||
---|---|---|---|
1 | เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน | ||
2 | เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ | ||
3 | การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) | ||
4 | การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ | ||
5 | เกิดกระบวนการชุมชน | ||
6 | มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ |
ภาพถ่าย
วีดิโอ
ไฟล์เอกสาร
โครงการขยายผล
project version release 2022-02-13. ช่วยเหลือ