การส่งเสริมพลังงานทดแทนชุมชนโดยการผลิตเชื้อเพลิงเขียวจากวัสดุชีวมวลเหลือใช้ในท้องถิ่น กรณีศึกษา : บ้านตานบ ต.ทุ่งกุลา อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์
การส่งเสริมพลังงานทดแทนชุมชนโดยการผลิตเชื้อเพลิงเขียวจากวัสดุชีวมวลเหลือใช้ในท้องถิ่น กรณีศึกษา : บ้านตานบ ต.ทุ่งกุลา อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์
ข้อมูลโครงการ
ชื่อโครงการ | การส่งเสริมพลังงานทดแทนชุมชนโดยการผลิตเชื้อเพลิงเขียวจากวัสดุชีวมวลเหลือใช้ในท้องถิ่น กรณีศึกษา : บ้านตานบ ต.ทุ่งกุลา อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ |
สถาบันอุดมศึกษาหลัก | มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ |
หน่วยงานหลัก | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
หน่วยงานร่วม | องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกุลา ต.ทุ่งกุลา อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ |
ชื่อชุมชน | กลุ่มข้าวไรท์เบอร์รี่ หมู่ที่ 4 บ้านตานบ ต.ทุ่งกุลา อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ |
ชื่อผู้รับผิดชอบ | ดร.วัชรานนท์ จุฑาจันทร์, อ.เอกธนัช เหลือศิริวรรณ |
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ |
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา | 1 นายวิทยา คำงาม นักศึกษาสาขาวิชาฟิสิกส์ 2 นายอรรถวุฒิ อินทะวงศ์ นักศึกษาสาขาวิชาฟิสิกส์ 3 นายศุภสิน รัมพณีนิล นักศึกษาสาขาวิชาฟิสิกส์ 4 นางสาวรัชนีกร ไชยสวัสดิ์ นักศึกษาสาขาวิชาชีววิทยา 5 นางสาวปาลิตา บุญสม นักศึกษาสาขาวิชาชีววิทยา 6 นางสาววิลาวัณย์ สุกลมไสย์ นักศึกษาสาขาวิชาชีววิทยา 7 นางสาวเพชรลาวรรณ สินปรุ นักศึกษาสาขาวิชาชีววิทยา 8 นายนนท์ปวิธ ทนทอง นักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 9 นายศิระธรรม อรุณชัยภิรมย์ นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา 10 นายอัษฎาวุธ ตะโสรัตน์ นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา |
การติดต่อ | อีเมล : watcharanon_j@hotmail.com โทร : |
ปี พ.ศ. | 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ธันวาคม 2562 - 31 มีนาคม 2563 |
งบประมาณ | 500,000.00 บาท |
พื้นที่ดำเนินงาน
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ชื่องานในพื้นที่ | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|---|
สุรินทร์ | ท่าตูม | ทุ่งกุลา | place directions |
รายละเอียดชุมชน
ข้อมูลพื้นฐาน
ตำบลทุ่งกุลา มีเนื้อที่ประมาณ 67 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 41,875 ไร่ มีลักษณะเป็นที่ราบ สภาพหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านอยู่ห่างไกลกันซึ่งเป็นพื้นที่ทำการเกษตรและเป็นที่อยู่อาศัย สภาพภูมิอากาศของตำบลทุ่งกุลา มี 3 ฤดู คือ ฤดูหนาว ร้อน ฝน น้ำฝนน้อยไม่พอแก่การเพาะปลูก ขาดระบบการชลประทานที่ดี ลักษณะของดินในพื้นที่เป็นดินร่วน ดินเหนียว พื้นราบเหมาะแก่การเพาะปลูกข้าว มีแหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำลำพลับพลา แม่น้ำน้ำมูล ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมได้แก่ทำนา ปลูกข้าว ที่เหลือประกอบอาชีพส่วนตัวและรับจ้าง บ้านตานบ อยู่ในตำบลทุ่งกุลา ประชากรทั้งสิ้น 922 คน แบ่งเป็ยชาย 460 คน หญิง 462 คน 229 ครัวเรือนข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
บ้านตานบ ตำบลทุ่งกุลา อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ในพื้นที่เป็นที่ราบไม่มีภูเขาในเขตพื้นที่ ในพื้นที่อยู่ในเขตป่าไม้เสื่อมโทรมบางส่วน ดินคุณภาพดีที่เหมาะสมในการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิให้มีคุณภาพและเป็นสินค้าทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อของประเทศ มีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่โดดเด่น คือกลุ่มข้าวไรท์เบอร์รี่ หมู่ที่ 4 บ้านตานบ ผลิตข้าวไรท์เบอร์รี่จำหน่ายเป็นสินค้า OTOP จากการปลูกข้าวที่เป็นผลผลิตหลักของชุมชน จึงมีวัสดุชีวมวลที่เหลือจากกระบวนการผลิตเป็นจำนวนมากข้อมูลประเด็นปัญหา
ประชาชนในบ้านตานบ ตำบลทุ่งกุลา อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมได้แก่ทำนา ปลูกข้าว ฐานะค่อนข้างยากจน การใช้พลังงานความร้อนเพื่อการประกอบอาหาร ใช้เชื้อเพลิงประเภทถ่านและแก๊สหุงต้ม และใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความร้อน ซึ่งกิจกรรมการใช้พลังงานความร้อนดังกล่าวทำให้เสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ประเด็นปัญหาหลัก
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน
ความหมายของพลังงานชีวมวล
มวลชีวภาพหรือชีวมวล (Biomass) คือ สารอินทรีย์ที่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานจากธรรมชาติ และสามารถนำมาใช้ผลิตพลังงานได้ เช่นเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หรือกากจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ (โครงการเครือข่ายสารสนเทศด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย.2548 อ้างถึงใน จุฬารัตน์ ชาวกำแพง. 2554 : 3)ชีวมวลสามารถเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานได้ เพราะในขั้นตอนของการเจริญเติบโตนั้น พืชใช้คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ และเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์โดยผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ออกมาเป็นแป้งและน้ำตาล แล้วกักเก็บไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของพืช ดังนั้นเมื่อนำพืชมาเป็นเชื้อเพลิงก็จะได้พลังงานออกมา การใช้ประโยชน์จากพลังงานชีวมวล สามารถใช้ได้ทั้งในรูปของพลังงานความร้อน ไอน้ำ หรือผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า (จุฬารัตน์ ชาวกำแพง. 2554 : 3)
สรุปได้ว่าพลังงานชีวมวล หมายถึง พลังงานที่ได้จากพืชและซากสัตว์หรืออินทรีย์สาร
ต่างๆโดยที่สามารถนำไปใช้ในรูปของพลังงานได้ พลังงานที่ได้มาจากชีวมวลจะอาศัยกระบวนการ ที่ทำให้เกิดการแตกตัวของอินทรีย์สารที่อยู่ในชีวมวลและผลิตพลังงานออกมา
องค์ประกอบของชีวมวล
องค์ประกอบของชีวิมวลหรือสสารทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ ความชื้นส่วนที่เผาไหม้ได้ และส่วนที่เผาไหม้ไม่ได้ (มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม. 2559 อ้างถึงใน จุฬารัตน์ ชาวกำแพง. 2554 : 5)
1. ความชื้น (Moisture)
ความชื้นหมายถึงปริมาณน้ำที่มีอยู่ ชีวมวลส่วนมากจะมีความชื้นค่อนข้างสูง เพราะเป็นผลผลิตทางการเกษตร ถ้าต้องการนำชีวมวลเป็นพลังงานโดยการเผาไหม้ ความชื้นไม่ควรเกินร้อยละ 50
2. ส่วนที่เผาไหม้ได้ (Combustible Substance)
ส่วนที่เผาไหม้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือสารระเหย (Volatile Matter) และสารระเหยที่มีองค์ประกอบคาร์บอน (Fixed Carbon Volatile Matter) คือส่วนที่ลุกเผาไหม้ได้ง่ายดังนั้น ชีวมวลใดที่มีค่า สารระเหย (Volatile Matter) สูงแสดงว่าติดไฟได้ง่าย
3. ส่วนที่เผาไหม้ไม่ได้ คือขี้เถ้า (Ash)
ชีวมวลส่วนใหญ่จะมีขี้เถ้าประมาณร้อยละ 1-3 ยกเว้นแกลบและฟางข้าว จะมีสัดส่วนขี้เถ้าประมาณร้อยละ 10 ซึ่งจะมีปัญหาในการเผาไหม้และกำจัดพอสมควร
ถ่านอัดแท่ง
เชื่อเพลิงอัดแท่งเป็นเชื้อเพลิงที่ได้จากการนำเอาเศษถ่าน เศษถ่านหิน หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่าง ๆ มาอัดเป็นแท่งเพื่อเพิ่มความหนาแน่นของเชื้อเพลิงจากวัตถุดิบที่มีขนาดเล็กๆ ประโยชน์ที่ได้จากการนำวัสดุเหลือทิ้งมาเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง เป็นวิธีการช่วยแก้ปัญหาในการกำจัดวัสดุเหลือทิ้ง แท่งเชื้อเพลิงที่ผลิตได้สะดวกต่อการเก็บ การนำมาใช้ การขนส่งและยังเป็นการเพิ่มปริมาณความร้อนต่อหน่วยปริมาณ ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนในครัวเรือนและอุตสาหกรรมที่ใช้เชื้อเพลิงแข็งได้ เชื้อเพลิงอัดแท่งสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ เชื้อเพลิงเขียวและถ่านอัดแท่ง
ประเภทของเชื้อเพลิงอัดแท่ง
1. เชื้อเพลิงเขียว
เชื้อเพลิงเขียว เป็นการนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาอัดขึ้นรูปให้มีความหนาแน่นมากขึ้นและมีลักษณะเป็นแท่งเหมาะแก่การใช้งาน สามารถจุดติดไฟและลุกไหม้ได้นาน การนำเชื้อเพลิงเขียวมาใช้งาน โดยในช่วงแรกจะเกิดควันมาก จึงมีการปรับปรุงคุณภาพของเชื้อเพลิงเขียวอัดแท่งโดยการนำไปเผาให้เป็นถ่านก่อนนำมาใช้งาน
2. ถ่านอัดแท่ง
ถ่านอัดแท่งเป็นการนำเอาเศษวัสดุมาอัดให้เป็นแท่ง แล้วจึงนำไปเผาเช่นเดียวกับการเผาถ่านตามกรรมวิธีทั่วไป หรือการเผาเศษวัสดุให้เป็นถ่าน แล้วจึงนำเศษถ่านมาอัดเป็นแท่ง เนื่องจากเศษวัสดุบางชนิดมีลักษณะเป็นชิ้น ๆ และแข็งทำให้ไม่สามารถอัดขึ้นรูปเป็นแท่งได้ เช่น กะลามะพร้าว กะลาปาล์ม เป็นต้น อาจเผาเศษวัสดุเหล่านี้ด้วยเตาเผาถ่านที่อุณหภูมิประมาณ 250 ถึง 450 องศาเซลเซียส เมื่อได้ถ่านตามต้องการแล้วจึงนำไปตีป่นด้วยเครื่องสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปผสมกับตัวประสาน จากนั้นถึงนำไปอัดเป็นแท่งตามรูปแบบที่ต้องการต่อไป (ประสงค์ หน่อแก้ว. 2553 : 5)
ข้อดีของถ่านอัดแท่งจะต้องมีขนาดและรูปร่างแบบเดียวกัน สามารถใช้ป้อนเป็นเชื้อเพลิงได้อย่างสะดวกง่ายอย่างต่อเนื่องสมบัติทางกายภาพมีความร้อนที่สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงหุงต้มในครัวเรือนได้โดยปราศจากมลภาวะและไม่จำเป็นที่จะต้องใช้อุปกรณ์ควบคุมมลภาวะที่มีราคาสูงมีประสิทธิภาพในการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ และสะดวกต่อการเก็บและนำมาใช้งาน
ข้อเสียของถ่านอัดแท่ง การอัดแท่งที่ใช้แรงอัดสูง จะทำให้กระบอกอัดและสกรูสึกหรอได้ง่ายจากการขัดสี และสมบัติการเผาไหม้ยังไม่เป็นที่น่าต้องการ เช่น เมื่อถูกน้ำหรืออากาศที่ชื้นสูง(วานิช โสภาสพ และคณะ. 2550 : 46)
ประเภทการอัดแท่งเชื้อเพลิง
1. การอัดร้อนและใช้แรงสูง
การอัดร้อนและใช้แรงสูงเป็นการอัดโดยใช้ความร้อนเข้าช่วย โดยมีความร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 350 องศาเซลเซียส วิธีการคือนำเศษวัสดุเหลือใช้ที่ต้องการอัดถ่านอัดแท่งโดยสับเศษวัสดุเหล่านั้นให้ละเอียดเพื่อให้สะดวกในการไหลไปในช่องเกลียวและจับกันแน่นเมื่อเวลาอัดเป็นถ่านแล้ว และเทเศษวัสดุใส่ช่องให้เศษวัสดุไหลลงไปที่สกรูเกลียวอยู่ตรงกลางแท่งเหล็ก ซึ่งจะหมุนด้วยแรงมอเตอร์ไฟฟ้าดันเศษวัสดุนั้นไหลไปตามช่องเกลียวไหลไปเรื่อย ๆ ซึ่งกระบอกเกลียวที่มีอุณหภูมิสูง ทำให้เศษวัสดุเหล่านั้นจบอัดกันแน่นเป็นรูปแท่งถ่านอัดดันกันไปจนช่องที่มีความยาวพอเหมาะ ก็จะหักหลุดเป็นแท่งถ่านขนาดเท่ากัน เสร็จแล้วสามารถนำถ่านอัดแท่งไปใช้เป็นประโยชน์ต่อไป หรืออยากจะให้แท่งถ่านนั้นมีความร้อนสูงและติดไฟได้นาน นำแท่งถ่านอัดแท่งไปเผาเป็นถ่านอีกครั้งหนึ่ง
2. การอัดเย็น
การอัดโดยไม่ใช้ความร้อนหรือการอัดเย็น สามารถแบ่งได้ 2 แบบ คือ แบบใช้ตัวประสาน และไม่ใช้ตัวประสาน การอัดมีตัวสานช่วยให้วัสดุยึดเกาะกนด้วยแรงอัดปานกลาง และรวมกันเป็นแท่ง ซึ่งตัวประสานมีคุณสมบัติดังนี้
วิธีการ คือ นำเศษวัสดุเหลือที่ต้องการอัดแท่ง โดยสับเศษวัสดุเหล่านั้นให้ละเอียด เพื่อให้สะดวกในการไหลตามช่องเกลียวและจับกันแน่นเมื่อเวลาอัดเป็นถ่านแล้ว โดยใช้กับตัวประสานประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ เศษวัสดุประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ คลุกเข้ากัน ฉีดพรมน้ำเพื่อให้เสร็จวัสดุนั้นหมาด ๆ เสร็จแล้วนำเศษวัสดุเข้ากระบวนการอัดแท่ง ซึ่งการอัดแท่งครั้งแรกจะออกมาเป็นก้อนเล็ก ๆ ลักษณะคล้ายกับขี้หนู แต่พออัดแท่งครั้งที่สองออกมาเป็นแท่งตามขนาดที่ต้องการ และนำแท่งเศษวัสดุนั้นไปตากให้แห้งเพื่อไล่ความชื้นออกประมาณ 1 สัปดาห์ หากต้องการให้ถ่านอัดแท่งมีคุณภาพดีกว่าเดิม ก็นำเศษวัสดุอัดแท่งนั้นไปเผาอีกครั้งหนึ่งจะได้ถ่านอัดแท่งที่ให้อุณหภูมิสูง และติดไฟได้นานกว่าแบบอัดเป็นเชื้อเพลิงเขียว ในกระบวนการนี้จะทำให้มวลของถ่านอัดแท่งหดลงเหลือประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ หรือ 1 กิโลกรัม จะได้เชื้อเพลิงถ่านอัดแท่งที่เหลืออยู่ประมาณ 7 ขีด ข้อดีของถ่านที่อัดแบบนี้ คือ มีความสามารถในการประสานของวัสดุเข้ากันได้ดี ราคาถูก สามารถเผาไหม้ได้หรือลุกติดไฟได้ดี ไม่ทำให้เกิดควัน และเมื่อถูกอากาศภายนอกจะต้องไม่ทำให้แท่งเชื้อเพลิงแตกร่วนหรืออ่อนตัวเกินไป
ตัวประสานที่นิยมใช้กันในปัจจุบันได้แก่ มันสำปะหลัง กากน้ำตาล ผักตบชวาหมัก วัสดุเหล่านี้ สามารถนำมาเป็นตัวประสานได้เนื่องจากมีลักษณะเหนียวเกาะตัวกันได้ดี เมื่อนำไปผสมกับวัสดุที่ไม่เกาะตัวกันจะสามารถทำให้วัสดุเหล่านั้นเกาะตัวกันได้ดี
การอัดแท่งแบบนี้เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้กันอยู่ทั่วไป สามารถใช้กับเศษวัสดุทั่วไปได้อย่างกว้างขวางเป็นการอันที่ถือกำเนิดในสหรัฐอเมริกามาประมาณ 57 ปี โดยมี R.T. Bowling เป็นผู้คิดค้นประดิษฐ์ฟืนสงเคราะห์จากขี้เลื่อยให้เป็นเชื้อเพลิงแข็งที่มีประสิทธิภาพสูงให้เปลวไฟสะอาด ไม่มีเขม่าควัน เถ้าและกลิ่นเหม็น (วานิช โสภาสพ และคณะ. 2550 : 44-45)
เทคโนโลยีการอัดแท่งถ่าน
ในปัจจุบันมีวิธีการอัดแท่งถ่านมากมายทั้งการอัดด้วยมือ อัดด้วยเครื่องจักร โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและลักษณะการใช้งานของถ่านอัดแท่ง ต่อไปนี้จะได้อธิบายวิธีการอัดแท่งที่มีในปัจจุบัน ดังนี้
การอัดด้วยกระบอกอัดแบบง่าย
วิธีการใช้กระบอกอัดแบบง่าย ดังภาพที่ 7 ช่วยในการผลิต เป็นการใช้กระบอกอัดที่ทำจากท่อเหล็ก ท่อพลาสติกแข็ง หรือแม้แต่กระบอกไม้ไผ่ การอัดจะใช้ก้านกระทุ้งซึ่งทำได้ด้วยไม้หรือโลหะตามแต่จะหาได้ กระทุ้งหลาย ๆ ครั้งจนได้ถ่านอัดที่แน่นตามต้องการแล้วปลดออกมาตัดเป็นแท่งตามขนาดที่ต้องการ การอัดโดยวิธีนี้ย่อมต้องสิ้นเปลืองแรงงานและเวลามากกว่าการใช้เครื่องอัด (Apolinario et al. 1997 อ้างถึงใน ธารินี มหายศนันท์. 2548 : 11)
รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล
จากการใช้ประโยชน์ของถ่านในปริมาณมากทำให้เกิดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าในหลายประเทศทำให้มีความพยายามที่จะนำวัสดุชีวมวลมาแปรรูปเป็นพลังงานทดแทนอย่างเช่น ถ่านอัดแท่งหรือเชื้อเพลิงเขียว เนื่องจากใช้สะดวกไม่มีควันเผาไหม้ได้นานและราคาไม่สูงมากเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงอื่น แต่ปัญหาของคุณภาพของถ่านอัดแท่งหรือเชื้อเพลิงเขียวในปัจจุบันมีหลายประการคือ มีลักษณะเปราะ มีควันระหว่างการติดไฟ ระยะเวลาในการเผาไหม้สั้นและเกิดเชื้อราซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะต่อการใช้งานและในปัจจุบันพบว่าวัสดุชีวมวลบางชนิดที่สามารถแปรรูปเป็นถ่านอัดแท่งหรือเชื้อเพลิงเขียวที่มีคุณภาพสูงได้กลับมีต้นทุนการผลิตที่สูง และสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้หลายรูปแบบ
การนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลนอกจากจะเป็นพลังงานทางเลือกแล้วยังช่วยแก้ปัญหาการกำจัดของเสียและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอีกรูปแบบหนึ่ง รูปแบบการใช้พลังงานชีวมวลสามารถแยกได้เป็นการใช้โดยตรงโดยนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อนและการนำไปผลิตพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป นอกจากนี้ การใช้พลังงานจากชีวมวลยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยไม่ส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน (global warming) ชีวมวลจึงเป็นแหล่งพลังงานที่เหมาะสมต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน การแปรรูปวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเป็นพลังงานที่นิยมรูปแบบหนึ่ง คือ การอัดขึ้นรูปเป็นแท่งเชื้อเพลิงชีวมวล ซึ่งเป็นวิธีที่มีขั้นตอนที่ ไม่ยุ่งยากและสามารถทำได้ง่ายในชุมชน ได้เชื้อเพลิงที่จุดติดไฟทำได้ง่ายกว่าฟืนและถ่าน และยังเป็นพลังงานสะอาด ได้มีการวิจัยทดลองนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหลายชนิดมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่ง เช่น กิ่งสบู่ดำ เปลือกทุเรียนและเปลือกมังคุด ต้นไมยราบยักษ์ กะลามะพร้าว ทางมะพร้าว ขี้เถ้าแกลบผสมซังข้าวโพดและกะลามะพร้าว เป็นต้น ซึ่งเชื้อเพลิงที่ได้จากงานวิจัยเหล่านี้มีสมบัติสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนฟืนไม้ได้เป็นอย่างดี (ธนาพล ตันติสัตยกุล. 2558)
บ้านตานบ ตำบลทุ่งกุลา อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ในพื้นที่เป็นที่ราบไม่มีภูเขาในเขตพื้นที่ ในพื้นที่อยู่ในเขตป่าไม้เสื่อมโทรมบางส่วน ดินคุณภาพดีที่เหมาะสมในการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิให้มีคุณภาพและเป็นสินค้าทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อของประเทศ มีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่โดดเด่น คือกลุ่มข้าวไรท์เบอร์รี่ หมู่ที่ 4 บ้านตานบ ผลิตข้าวไรท์เบอร์รี่จำหน่ายเป็นสินค้า OTOP จากการปลูกข้าวที่เป็นผลผลิตหลักของชุมชน จึงมีวัสดุชีวมวลที่เหลือจากกระบวนการผลิตเป็นจำนวนมาก ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมได้แก่ทำนา ปลูกข้าว ฐานะค่อนข้างยากจน การใช้พลังงานความร้อนเพื่อการประกอบอาหาร ใช้เชื้อเพลิงประเภทถ่านและแก๊สหุงต้ม และใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความร้อน ซึ่งกิจกรรมการใช้พลังงานความร้อนดังกล่าวทำให้เสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก การใช้พลังงานทางเลือกเพื่อบรรเทาปัญหาค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน จึงเป็นทางออกหนึ่งที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน
ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวและมีความสนใจในการการส่งเสริมพลังงานทดแทนชุมชนโดยการผลิตเชื้อเพลิงเขียวจากวัสดุชีวมวลเหลือใช้ในท้องถิ่น ของบ้านตานบ ตำบลทุ่งกุลา อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เพื่อลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในครัวเรือน และเป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนต้นแบบนวัตกรรมทางการเกษตร เป็นแหล่งการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการผลิตเชื้อเพลิงเขียวจากวัสดุชีวมวลเหลือใช้ในท้องถิ่น สำหรับครัวเรือนให้กับชุมชนอื่น ๆ เพื่อให้ครัวเรือนเกษตรกรที่อยู่ในชนบท สามารถพึ่งพาตนเองและมีความยั่งยืนตลอดไป
คำสำคัญเพื่อการค้นหา
ประเมินคุณค่าโครงการ
คุณค่าที่เกิดขึ้น | ผลที่เกิดขึ้น | ||
---|---|---|---|
1 | เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน | ||
2 | เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ | ||
3 | การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) | ||
4 | การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ | ||
5 | เกิดกระบวนการชุมชน | find_in_page | |
6 | มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ |
ภาพถ่าย
วีดิโอ
ไฟล์เอกสาร
โครงการขยายผล
project version release 2022-02-13. ช่วยเหลือ