สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อรักษาพันธุกรรมและแปรรูปข้าวหอมมะลิแบบครบวงจร : กรณีศึกษาตำบลเหล่ากลาง อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์

โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อรักษาพันธุกรรมและแปรรูปข้าวหอมมะลิแบบครบวงจร : กรณีศึกษาตำบลเหล่ากลาง อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อรักษาพันธุกรรมและแปรรูปข้าวหอมมะลิแบบครบวงจร : กรณีศึกษาตำบลเหล่ากลาง อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
หน่วยงานหลัก ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
หน่วยงานร่วม องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่ากลาง อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อชุมชน ชุมชนตำบลเหล่ากลาง อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผศ.กรรณิการ์ ทองดอนเปรียง
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 80 ถนนนครสรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา ผศ.พันธิวา แก้วมาตย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อ.ชมภู่ เหนือศรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผศ.พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
อ.เกตน์สิรี จำปีหอม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
อ.สิทธิโชค พรรค์พิทักษ์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร
การติดต่อ มือถือ 0984433055 อีเมล์ kannikarbiology
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2563 - 30 มิถุนายน 2563
งบประมาณ 500,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ ฆ้องชัย place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ตำบลเหล่ากลาง เดิมชื่อ ตำบลกุดฆ้องชัย อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอกมลาไสย ต่อมาปี 2536 ได้มีการร่วมกันผลักดันให้มีการจัดตั้งกิ่งอำเภอขึ้นใหม่ เนื่องจากอยู่ห่างไกล สภาพการคมนาคมไม่สะดวก จึงได้รับประกาศจากกระทรวงมหาดไทยให้แยกจากอำเภอกมลาไสย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอฆ้องชัย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2540 แต่ได้พิจารณาเห็นว่าตำบลกุดฆ้องชัย ไปซ้ำซ้อนกับชื่อหมู่บ้าน ตำบลใกล้เคียง และซ้ำซ้อนกับชื่อกิ่งอำเภอ จึงเปลี่ยนชื่อจากตำบลกุดฆ้องชัย เป็นชื่อตำบล “เหล่ากลาง” เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2544
ตำบลเหล่ากลาง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ประมาณ 26 กิโลเมตร มีเขตติดต่อพื้นที่ใกล้เคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตเทศบาลตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขต เทศบาลฆ้องชัยพัฒนา อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลำชี อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์



ตำบลเหล่ากลาง มีหมู่บ้าน 8 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 1 บ้านตูม
หมู่ที่ 2 บ้านตูม
หมู่ที่ 3 บ้านคุยโพธิ์ ง
หมู่ที่ 4 บ้านหัวนาคำ
หมู่ที่ 5 บ้านหัวโนนเปลือย
หมู่ที่ 6 บ้านกระเดา
หมู่ที่ 7 บ้านหัวหนอง
หมู่ที่ 8 บ้านโนนทัน
มีจำนวนครัวเรือน 1,286 ครัวเรือน จำนวนประชากรทั้งหมด 4,570 คน แยกเป็นชาย 2,303 คน หญิง 2,267 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ยจำนวน 197.28 คน/ตารางกิโลเมตร อาชีพส่วนใหญ่ของชุมชน คือ เกษตรกรรม ทำนาและทำสวน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
สินค้าทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อของจังหวัดกาฬสินธุ์ คือ “ข้าวหอมมะลิ” ซึ่งสามารถผลิตได้ทุกพื้นที่ของจังหวัด รวมทั้งตำบลเหล่ากลาง ซึ่งมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม อุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับทำการเกษตร โดยมีพื้นที่ทำการเกษตรสามในสี่ของพื้นที่ทั้งหมด มีแหล่งน้ำธรรมชาติ กระจายอยู่ครบทั้ง 8 หมู่บ้าน จึงทำให้เกษตรกรในตำบลมีการปลูกข้าวเป็นอาชีพหลัก
ข้อมูลประเด็นปัญหา
1. ข้าวหอมมะลิมีความหอมลดลง
2. การจำหน่ายข้าวหอมมะลิมีคู่แข่งมากในตลาด
3. ช่องทางการจำหน่ายสินค้ายังไม่เข้าถึงลูกค้า
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
1. รักษาคุณลักษณะความหอมของข้าวหอมมะลิ
2. แปรรูปข้าวหอมมะลิเพื่อขยายกลุ่มลูกค้า
3. เพิ่มช่องทางการขายแบบพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์เพื่อเข้าถึงลูกค้า

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
เทคโนโลยีชีวภาพในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ (การแปรรูปข้าวหอมมะลิ)
เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวกับการออกแบบและการจำหน่ายสินค้าออนไลน์

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

ข้าวหอมมะลิ (Thai jasmine rice) เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย มีลักษณะเด่น คือ “กลิ่นหอมคล้ายใบเตย” เป็นพันธุ์ข้าวที่ทำให้ข้าวไทยเป็นสินค้าส่งออกที่รู้จักไปทั่วโลก แต่ปัจจุบันกลับพบว่า ข้าวหอมมะลิ “มีความหอมลดลง” เหลือเพียงความนุ่ม ทำให้ผู้ค้าประสบกับปัญหาการแข่งขันในตลาดที่มีการแข่งขันกันสูง เนื่องจากกลุ่มลูกค้าหันไปเลือกซื้อข้าวชนิดอื่นที่มีราคาถูกกว่า นอกจากนี้ ข้าวหอมมะลิ ที่วางจำหน่ายเป็นข้าวเปลือกข้าวสาร หรือข้าวสารบรรจุถุง ยังมีคู่แข่งเป็นจำนวนมากทั้งในประเทศเองและนอกประเทศ ดังนั้นการแปรรูป ข้าวหอมมะลิ จึงเป็นแนวทางในการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต และเป็นการขยายฐานลูกค้าออกไปอีกทางหนึ่งด้วย
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช มีประโยชน์หลายด้าน ได้แก่ สามารถผลิตต้นพืช ได้เป็นจำนวนมากใน
ระยะเวลาอันสั้น เป็นการผลิตต้นพืชที่ปราศจากโรค สามารถปรับปรุงพันธุ์พืช สามารถผลิตพืชที่มีความต้านทานต่อโรคและแมลง หรือทนทานต่อสภาพแวดล้อม เป็นต้น และการขยายพันธุ์พืชโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ยังทำให้ได้พืชที่มีคุณลักษณะเหมือนต้นแม่ ที่นำมาเพาะเลี้ยง
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของท้องถิ่น มีอาจารย์และนักศึกษาที่มีองค์ความรู้ และมีความพร้อมในการถ่ายทอดให้กับชุมชน จึงเห็นว่า หากเกษตรมีความสามารถในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชได้เอง ก็จะทำให้สามารถรักษาพันธุกรรมของพืชเอาไว้ได้ และหากสามารถแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ตลอดจนมีความเข้าใจช่องทางการขายแบบพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์เพื่อให้สามารถสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างเข้าถึงโดยตรง ลดต้นทุนการวางจำหน่ายและแรงงานขายหน้าร้าน ก็จะสามารถสร้างรายได้ให้กับตนเอง ชุมชน และประเทศได้

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย kannikar kannikar เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 21:44 น.