สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการการพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพในชุมชน : ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ (ปีที่ 1) (ปี 2561)

โครงการการพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพในชุมชน : ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ (ปีที่ 1) (ปี 2561)

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการการพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพในชุมชน : ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ (ปีที่ 1) (ปี 2561)
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)
หน่วยงานหลัก ส่วนกิจการเพื่อสังคม
หน่วยงานร่วม วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
ชื่อชุมชน
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ขจีพร วงศ์ปรีดี
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 114 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซอย สุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10250
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ขจีพร วงศ์ปรีดี หัวหน้าโครงการ
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงแข บุตรกูล กรรมการ
3. อาจารย์ภูวดล วรรธนะชัยแสง กรรมการ
4. อาจารย์กรกลด คำสุข กรรมการ
5. นางสมจิตต์ แก้วกัน กรรมการ
6. นายเชษฐา คล้ายไพฑูรย์ กรรมการ
7. นางสาวขนิษฐา สินสงวน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
การติดต่อ 026495000
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 พฤศจิกายน 2561 - 30 มิถุนายน 2562
งบประมาณ 1,614,088.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
สระแก้ว วัฒนานคร place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ด้วยพื้นฐานของชุมชน อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว ชาวบ้านมีอาชีพเกษตรกรรม เช่น อ้อย ข้าวโพด มันสัมปะหลัง ซึ่งเป็นพืชทนแล้ง แต่ผลผลิตที่ได้ ก็ไม่สามารถสร้างรายได้ให้ชาวบ้านได้มากนัก แต่สระแก้วเป็นจังหวัดที่มีแนวชายแดนติดต่อกับประเทศกัมพูชา ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทำให้สระแก้ว มีโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจ
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1. การผลิตเครื่องประดับยาถมดำปราศจากตะกั่ว
2. การเจียระไนอัญมณี
3. การออกแบบลวดลาย
4. การออกแบบผลิตภัณฑ์
5. การสร้างแบรนด์และการวางแผนการตลาด
6. การบริหารจัดการ

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

หลักสูตรอัญมณีและเครื่องประดับ ได้ดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องประดับจากงานวิจัยยาถมดำปราศจากตะกั่วอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ ปีงบประมาณ 2557 ถึงปีงบประมาณ 2561 ซึ่งชาวบ้านในชุมชน อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว ที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถเรียนรู้จากผลงานวิจัย แท่งถมดำปราศจากตะกั่วของมหาวิทยาลัย [1] พัฒนาทักษะและฝีมือในการสร้างต้นแบบเครื่องถมเงิน ที่มีลวดลายอันเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดสระแก้วได้ด้วยตนเอง และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน สร้างอาชีพและรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชน จากการดำเนินโครงการบริการวิชาการที่ผ่านมา ได้วางรากฐานการเผยแพร่องค์ความรู้จากงานวิจัยร่วมกับการบูรณาการกับการเรียนการสอนและศิลปวัฒนธรรมของชุมชน รวมถึงความร่วมมือของหลายภาคส่วน อาทิ สมาคมเครื่องถมและเครื่องเงินไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมช่างทองไทย สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขตพื้นที่ 2 จังหวัดสระแก้ว และเทศบาลนครแม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก โดยการสร้างเครือข่ายการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ดำเนินการร่วมกับทางด้านการศึกษา เพื่อการเผยแพร่ความรู้ด้านต่างๆ ให้มีการเชื่อมโยงกับการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน เช่น การให้ความรู้ทางด้านธรณีวิทยาท้องถิ่น โดยมีความมุ่งหวังให้มีการพัฒนาอาชีพ สร้างความเข้มแข็งของชุมชนในแต่ละด้าน รวมทั้งการสร้างแนวทางในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน โดยมีแผนการทำงานร่วมกันระหว่างคณะต่างๆ เพื่อให้เกิดการนำชุมชนในรูปแบบกิจการเพื่อสังคม ภายใต้กรอบนโยบายประชารัฐ ให้มีการขยายฐานการทำงานเชื่อมโยงกับระดับสากล ยังผลให้การดำเนินโครงการที่ผ่านมา 5 ปี การวางกรอบแนวคิดการทำงานแบบบูรณาการเกิดผลสำเร็จ จนทำให้ผลงานเป็นที่ประจักษ์จนได้รับรางวัลผลงานวิจัยที่พัฒนาชุมชนในระดับชาติ การเปิดโอกาสให้เข้าร่วมแสดงผลงานกับนายกรัฐมนตรี การแสดงผลงานในงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติ จนนำไปสู่การติดต่อพัฒนาสินค้าร่วมกับผู้ประกอบการซึ่งอยู่ระหว่างการขอรับการพิจารณาจาก สวทช. จนสามารถสร้างความตระหนักให้แก่ภาคเอกชนในแนวคิดของการสร้างหมู่บ้านต้นแบบทางเครื่องประดับ
การพัฒนาโครงการจะสำเร็จไปไม่ได้หากไม่มีความร่วมมือจากกลุ่มชุมชน ซึ่งการดำเนินงานในปีนี้มีแผนการดำเนินงานในการขยายเครือข่ายความร่วมมือกับหมู่บ้านเครื่องถมดำปราศจากตะกั่วและเครื่องเงิน อำเภอวัฒนานคร ร่วมกับชุมชนโดยรอบเพื่อพัฒนาความยั่งยืน โดยใช้แนวคิดของกลุ่มผู้นำชุมชนของการพัฒนาเยาวชนให้มีอาชีพและฝึกฝนฝีมือรวมถึงการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งมหาวิทยาลัยได้เห็นผลสำเร็จของการลงพื้นที่จนได้เยาวชนในชุมชนมาเรียนในหลักสูตรอัญมณีและเครื่องประดับ เพื่อนำกลับไปขับเคลื่อนชุมชนต่อไป ดังนั้น การวางแนวทางของการบริการวิชาการแบบกระจายเครือข่ายในปีนี้ จึงแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ ผลิตภัณฑ์และบริการ โดยขยายผลิตภัณฑ์จากเครื่องถม เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าของหลักสูตรแฟชั่นซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ของ อ.วัฒนานคร โดยมุ่งหวังให้เกิดการบูรณาการของผลิตภัณฑ์เพื่อทำแบรนด์สินค้าและการตลาดต่อไปในอนาคต และการขยายแนวทางการบริการความรู้ ให้มีความหลากหลายทั้งทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยการสอนพื้นฐานการออกแบบของหลักสูตรออกแบบผลิตภัณฑ์และกิจกรรมการสอนเทคนิคการทำเครื่องประดับให้กับนักเรียนแลกเปลี่ยนฮ่องกง โดยคาดหวังผลการทำงานแบบบูรณาการทีมคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นิสิต และการพัฒนาเครือข่ายต่างๆของชุมชน จะทำให้เกิดเพิ่มพูนความผูกพันและภูมิใจให้เยาวชน สร้างความตระหนักในการจัดการบริการวิชาการเพื่อสังคมของมหาวิทยาลัย และการสร้างความเชื่อมโยงเครือข่ายของชุมชนจังหวัดสระแก้วด้วยกันเองนำมาซึ่งการพัฒนาชุมชนด้วยชุมชน แบบเครือข่ายบูรณาการ
จากผลสำเร็จของการพัฒนาพื้นที่แนวชายขอบประเทศกัมพูชา ของ อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว จากการมีพื้นฐานทางด้านเครื่องประดับน้อยมาก ทำให้เกิดความมั่นใจหากมีการพัฒนาพื้นที่แนวชายขอบประเทศพม่า ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งเป็นแหล่งตลาดอัญมณีมาก่อน เนื่องจากการกระจายสินค้ามาจากเหมืองของประเทศพม่า แต่ปัจจุบันตลาดอัญมณีได้ซบเซาลงเนื่องจากการทำเหมืองพลอยในประเทศพม่าถูกจำกัดสิทธิโดยรัฐบาลพม่า ดังนั้นการพัฒนาความรู้ทางด้านธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ให้แก่ชุมชนจึงเป็นสิ่งที่ควรพัฒนาให้เกิดการกระจายความรู้ของชายขอบประเทศเพื่อเปิดโอกาสการเจรจากับรัฐบาลพม่าได้อีกครั้ง ทั้งนี้ทางผู้ดำเนินโครงการจึงได้ขยายกิจกรรมการบริการวิชาการเพิ่ม เพื่อพัฒนาและจัดการความรู้ทางด้านอัญมณีและเครื่องประดับเพื่อพัฒนาพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับร่วมกับการบูรณาการการเรียนการสอนให้นิสิตได้ลงพื้นที่ในการพัฒนาอีกด้วย
ทั้งนี้การจัดทำโครงการต่างๆ ทางกลุ่มคณาจารย์มีความประสงค์จะเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินการต่างๆ ของแต่ละกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ข้ามเครือข่ายจากชุมชนสู่ภายนอก ด้วยวิธีการของสื่อออนไลน์ หรือการจัดหาแนวทางในการจัดทำเป็นแหล่งเรียนรู้เกิดเป็นรายวิชาให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนจากต่างประเทศ ดังนั้นในปีงบประมาณนี้รูปแบบของการดำเนินการจะปรับเปลี่ยนเป็นการจัดกิจกรรมบริการวิชาการแบบมุ่งเป้าเพื่อสร้างแนวทางในการเกิดฐานการเรียนรู้จากแนวปฏิบัติที่ดีของชุมชนอย่างยั่งยืน

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย SSOSWU SSOSWU เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 13:52 น.