โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)
ชื่อโครงการ | โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง) |
ภายใต้โครงการ | โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย |
ภายใต้องค์กร | สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) |
รหัสโครงการ | 65-00191 |
วันที่อนุมัติ | 10 กุมภาพันธ์ 2565 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 10 กุมภาพันธ์ 2565 - 30 กันยายน 2566 |
แหล่งทุน |
ไม่ระบุ
|
งบประมาณ | 5,000,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | จังหวัดภูเก็ต พังงา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ชื่องานในพื้นที่ | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|---|
ภูเก็ต | place directions |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 10 ก.พ. 2565 | 9 ส.ค. 2565 | 10 ก.พ. 2565 | 30 ก.ย. 2566 | 3,333,333.00 | |
2 | 10 ส.ค. 2565 | 9 ก.พ. 2566 | 3,333,333.00 | |||
3 | 10 ก.พ. 2566 | 30 ก.ย. 2566 | 3,333,334.00 | |||
รวมงบประมาณ | 10,000,000.00 |
คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (10,000,000.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (5,000,000.00 บาท)
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ความสำคัญ ประกอบด้วยสองส่วน
1. ความจำเป็นในการส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ
การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอมีสำคัญต่อการป้องกันโรค และ การสร้างเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะการมีพัฒนาการที่ดีตลอดช่วงชีวิตของมนุษย์ องค์การอนามัยโลกเน้นย้ำว่าการมีวิถีชีวิตที่กระฉับกระเฉง (Active Living) เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพกายและใจที่ดี โดยแนะนำว่า ผู้ใหญ่ควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางขึ้นไปอย่างน้อย 30 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ และเด็กๆ ควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางขึ้นไปอย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน
ผลสำรวจการมีกิจกรรมทางกายระดับประเทศของประเทศไทย โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สสส. และกระทรวงสาธารณสุข พบว่า สถานการณ์ Covid-19 ทำให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพียงพอลดลง ดังนี้
จากสถานการณ์ปัจจุบัน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันให้เพียงพอ รวมถึงการพัฒนาสภาพแวดล้อมและพื้นที่เพื่อให้ผู้คนได้มีกิจกรรมทางกายเป็นวิถีชีวิต องค์การอนามัยโลกได้กำหนดแนวทางพัฒนาสภาพแวดล้อมและพื้นที่ภายใต้ชื่อว่า เมืองน่าอยู่คือเมืองที่กระฉับกระเฉง (Healthy City is an Active City) ซึ่งเป็นการยกระดับการมีกิจกรรมทางกายของเมือง โดยการพัฒนาพื้นที่กายภาพ รวมไปถึงระบบการขนส่งที่เกื้อหนุนการเคลื่อนไหวร่างกาย (Active Transport) อาทิ การเดิน การขี่จักรยาน และการเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะ สิ่งเหล่านี้นอกจากจะทำให้เกิดการประหยัดงบประมาณด้านบริการสุขภาพของเมืองแล้ว ยังส่งผลให้เกิด พื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวที่น่าดึงดูดมากขึ้น สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ ลดความแปลกแยกทางสังคม เกิดเป็นชุมชนเข้มแข็ง และการขยายตัวของเครือข่ายชุมชน
2. ความต้องการในการสร้างพื้นที่สุขภาวะของจังหวัดภูเก็ต
ที่ผ่านมาโครงสร้างเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ตมีรายได้สูงสุดในปี 2562 อยู่ที่ 442,891 ล้านบาท (โดยสัดส่วน 84% มาจากภาคการท่องเที่ยวและบริการ) ปริมาณนักท่องเที่ยวในปี 2561 อยู่ที่ 14.41 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ 72 เปอร์เซ็นต์ หลังจากที่มีการระบาดของ Covid-19 ทำให้เศรษฐกิจของภูเก็ตได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยมูลค่าการท่องเที่ยวช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคมในปี 2562 เท่ากับ 210,635 ล้านบาท และในปี 2564 เท่ากับ 38,527 ล้านบาท ลดลง -81,709 %
ทำให้กลุ่มภาคเอกชน ภาครัฐ และ ภาคประชาสังคม ในจังหวัดภูเก็ต ได้มีการรวมตัวกันและจัดทำแนวทางการฟื้นฟูแผนพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ต โดยในระยะสั้นต้องดึงกลุ่มนักท่องเที่ยวให้กลับเข้ามาพำนักในจังหวัดให้มากที่สุด ทั้งในกลุ่มนักท่องเที่ยวรายได้สูง กลุ่มแรงงานทักษะสูง กลุ่มผู้อยู่อาศัยเป็นครอบครัว โดยเพิ่มกิจกรรมการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจเชิงรุก ส่วนแผนระยะกลาง เป็นการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยเพิ่มรายได้จากการพัฒนาอุตสาหกรรมอื่น ๆ คู่ขนานไปกับการท่องเที่ยว ได้แก่ อุตสาหกรรม Health and Wellness อุตสาหกรรมการศึกษา อุตสาหกรรม Gastronomy อุตสาหกรรม Sports and Events อุตสาหกรรม Smart City 7 ด้าน ได้แก่ Smart Economy, Smart Tourism, Smart Health, Smart Safety, Smart Environment, Smart Education และ Smart Governance อุตสาหกรรมMarina อุตสาหกรรมส่งออกปลาทูน่า และในแผนระยะยาว ซึ่งเป็นแผนระยะ 5 ปี จังหวัดภูเก็ตควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่มีเป้าหมายเพื่อความยั่งยืนเป็นอันดับแรก รองลงมาคือยังคงต้องเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเล และเพิ่มการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ลำดับถัดมาคือการเป็นศูนย์กลางการประชุมและการจัดนิทรรศการนานาชาติ การเป็นศูนย์กลางการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลก ศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงกีฬา และ การเป็นเมือง Digital
พื้นที่สุขภาวะและเอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของภูเก็ตในปัจจุบัน มีดังภาพต่อไปนี้
จะเห็นว่า จังหวัดภูเก็ต ได้ให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ จากเดิมที่เน้นการท่องเที่ยวกระแสหลักเท่านั้น เป็นการเพิ่มการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงกีฬา ทั้งอุตสาหกรรม Health and Wellness อุตสาหกรรม Gastronomy อุตสาหกรรม Sports and Events อุตสาหกรรม Smart City 7 ด้าน โดยการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจครั้งนี้จะทำให้ภูเก็ตเป็นจังหวัดสุขภาวะ และจำเป็นที่จะต้องมีการออกแบบเมืองให้รองรับการเป็นเมืองสุขภาวะ เป็นเมืองน่าอยู่ และเป็นเมืองที่กระฉับกระเฉง (Healthy City is an Active City)
เพื่อทำให้การดำเนินงานดังกล่าวข้างต้นบรรลุเป้าหมาย แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายจึงได้ร่วมมือกับสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต และ สมาคมโรงแรมที่พักส่งเสริมสุขภาพอันดามันและอ่าวไทย ร่วมกันจัดทำโครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย
พื้นที่เป้าหมายในเมืองภูเก็ตที่จะเป็นต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย
- พื้นที่บนบริเวณชายหาดป่าตอง ที่จะมีกิจกรรมเดิน วิ่ง จักรยาน การละเล่น กีฬา อาหาร
- พื้นที่ย่านเมืองเก่า ที่จะมีกิจกรรมการเดิน การละเล่น อาหาร และเป็นโครงข่ายเชื่อมพื้นที่ที่มีกิจกรรมทางกายในเขตเมือง
- พื้นที่สวนสาธารณะสะพานหิน เขารัง และสวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ที่จะมีกิจกรรมเดิน วิ่ง จักรยาน การละเล่น กีฬา อาหาร
- พื้นที่ศูนย์กีฬาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ที่จะมีกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถนะร่างกายโดยกีฬา การละเล่น และ ศาสตร์แพทย์แผนไทย
- พื้นที่ในโรงแรม ที่จะมีกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถนะร่างกายโดยกีฬา การละเล่น อาหารและ ศาสตร์แพทย์แผนไทย
วิธีดำเนินการ
- การทบทวนรูปแบบเมืองต้นแบบทั้งในและต่างประเทศ
- การประสานความร่วมมือกับ 8 กลุ่มเป้าหมายที่จะเป็นเครือข่ายและกลไกทางสังคม
- การประชุมเชิงปฏิบัติการการออกแบบพื้นที่และสร้างร่วมมือ 5 ครั้ง
- กระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมในพื้นที่และการสนับสนุนปฏิบัติการในพื้นที่
- การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการทบทวนและสรุปแบบพื้นที่และการวางแผนการดำเนินงาน 5 ครั้ง
กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการทบทวนและสรุปแบบพื้นที่และการวางแผนการดำเนินงาน 5 ครั้ง กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย - การประชุมรับฟังความเห็นและการสร้างพันธะสัญญาสาธารณะระหว่าง หน่วยงานรัฐ ท้องถิ่น ภาคประชาชน ภาคผู้ประกอบการ
ในการขับเคลื่อนตัวแบบในพื้นที่ต่างๆ รวมถึงการนำไปประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะทั้งในพื้นที่และต่างประเทศ - การประชุมเพื่อวางระบบการติดตามประเมินผลของกลไกขับเคลื่อนในพื้นที่
- สรุปโครงการและจัดทำรายงาน
ตัวชี้วัด
- ประชาชนที่มีภาวะเนือยนิ่งมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10 (วัดจากกลุ่มที่มาทำกิจกรรมทางกายใน 5 พื้นที่)
- ประชาชนที่มีกิจกรรมทางกายอยู่แล้ว เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายในระดับที่เพียงพอ ร้อยละ 10 (วัดจากกลุ่มที่มาทำกิจกรรมทางกายใน 5 พื้นที่)
- นักท่องเที่ยวที่เข้ามาใน 5 พื้นที่ เข้าร่วมกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20
- ใน 5 พื้นที่มีแผนและโครงการปรับสภาพแวดล้อมและมีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพออย่างต่อเนื่อง
- มีข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างภาคเอกชน ท้องถิ่น ชุมชน และภาคการศึกษา ในการพัฒนาภูเก็ตเป็นเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายระดับประเทศและนานาชาติ
- มีแผนในการพัฒนาภูเก็ตเป็นเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายระดับประเทศและนานาชาติ
- แผนและโครงการใน 5 พื้นที่ มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกายและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมพื้นถิ่น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่มีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอ 1.ประชาชนที่มีภาวะเนือยนิ่งมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10 (วัดจากกลุ่มที่มาทำกิจกรรมทางกายใน 5 พื้นที่) 2.ประชาชนที่มีกิจกรรมทางกายอยู่แล้ว เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายในระดับที่เพียงพอ ร้อยละ 10 (วัดจากกลุ่มที่มาทำกิจกรรมทางกายใน 5 พื้นที่) |
0.00 | |
2 | เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของนักท่องเที่ยว 1.นักท่องเที่ยวที่เข้ามาใน 5 พื้นที่ เข้าร่วมกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20 |
0.00 | |
3 | เพื่อสนับสนุนให้เมืองภูเก็ตเป็นเมืองที่มีสภาพแวดล้อมที่กระฉับกระเฉง (Active Environment) 1.ใน 5 พื้นที่มีแผนและโครงการปรับสภาพแวดล้อมและมีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพออย่างต่อเนื่อง |
0.00 | |
4 | 4.เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือกับเครือข่ายและกลไกทางสังคมในการพัฒนาภูเก็ตเป็นเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายระดับประเทศและนานาชาติ 1.มีข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างภาคเอกชน ท้องถิ่น ชุมชน และภาคการศึกษา ในการพัฒนาภูเก็ตเป็นเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายระดับประเทศและนานาชาติ |
0.00 | |
5 | 5.เพื่อขับเคลื่อนการบูรณาการประเด็นกิจกรรมทางกายควบคู่กับวัฒนธรรมการบริโภคอาหารนำไปสู่การลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) 1.แผนและโครงการใน 5 พื้นที่ มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกายและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมพื้นถิ่น |
0.00 |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | |||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ก.พ. 65 | มี.ค. 65 | เม.ย. 65 | พ.ค. 65 | มิ.ย. 65 | ก.ค. 65 | ส.ค. 65 | ก.ย. 65 | ต.ค. 65 | พ.ย. 65 | ธ.ค. 65 | ม.ค. 66 | ก.พ. 66 | มี.ค. 66 | เม.ย. 66 | พ.ค. 66 | มิ.ย. 66 | ก.ค. 66 | ส.ค. 66 | ก.ย. 66 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 1. การทบทวนรูปแบบเมืองต้นแบบทั้งในและต่างประเทศ(1 ก.พ. 2565-1 มี.ค. 2565) | 0.00 | ||||||||||||||||||||
2 | 5. การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการทบทวนและสรุปแบบพื้นที่และการวางแผนการดำเนินงาน 5 ครั้ง กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการทบทวนและสรุปแบบพื้นที่และการวางแผนการดำเนินงาน 5 ครั้ง กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(10 มี.ค. 2565-10 มี.ค. 2565) | 0.00 | ||||||||||||||||||||
3 | 3. การประชุมเชิงปฏิบัติการการออกแบบพื้นที่และสร้างร่วมมือ 5 ครั้ง(24 มี.ค. 2565-24 มี.ค. 2565) | 0.00 | ||||||||||||||||||||
4 | 4. กระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมในพื้นที่และการสนับสนุนปฏิบัติการในพื้นที่(24 มี.ค. 2565-24 มี.ค. 2565) | 0.00 | ||||||||||||||||||||
5 | 6. การประชุมรับฟังความเห็นและการสร้างพันธะสัญญาสาธารณะระหว่าง หน่วยงานรัฐ ท้องถิ่น ภาคประชาชน ภาคผู้ประกอบการ ในการขับเคลื่อนตัวแบบในพื้นที่ต่างๆ รวมถึงการนำไปประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะทั้งในพื้นที่และต่างประเทศ(24 มี.ค. 2565-24 มี.ค. 2565) | 0.00 | ||||||||||||||||||||
6 | 7. การประชุมเพื่อวางระบบการติดตามประเมินผลของกลไกขับเคลื่อนในพื้นที่(24 มี.ค. 2565-24 มี.ค. 2565) | 0.00 | ||||||||||||||||||||
7 | 2. การประสานความร่วมมือกับ 8 กลุ่มเป้าหมายที่จะเป็นเครือข่ายและกลไกทางสังคม(1 เม.ย. 2565-30 เม.ย. 2565) | 0.00 | ||||||||||||||||||||
8 | ค่าบริหารจัดการ(11 เม.ย. 2565-11 เม.ย. 2565) | 0.00 | ||||||||||||||||||||
9 | 8. สรุปโครงการและจัดทำรายงาน(1 ส.ค. 2566-10 ส.ค. 2566) | 0.00 | ||||||||||||||||||||
รวม | 0.00 |
1 1. การทบทวนรูปแบบเมืองต้นแบบทั้งในและต่างประเทศ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 36 | 0.00 | 5 | 54,314.00 | |
23 พ.ค. 65 | จัดประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามความก้าวหน้าการออกแบบพื้นที่โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายในพื้นที่โรงแรม | 8 | 0.00 | ✔ | 5,000.00 | |
19 - 20 มิ.ย. 65 | ประชุมเชิงปฏิบัติการศึกษาดูงานเพื่อการทบทวนรูปแบบเมืองต้นแบบในประเทศ เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับการออกแบบพื้นที่โรงแรม | 2 | 0.00 | ✔ | 31,943.00 | |
2 ก.ย. 65 | ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามความก้าวหน้าการออกแบบพื้นที่โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายในพื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และในพื้นที่โรงแรม | 8 | 0.00 | ✔ | 6,370.00 | |
7 ก.ย. 65 | ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามความก้าวหน้าการออกแบบพื้นที่โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายใน 5 พื้นที่ | 12 | 0.00 | ✔ | 4,500.00 | |
26 ต.ค. 65 | การประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามความก้าวหน้า (ครั้งที่ 10/2565) | 6 | 0.00 | ✔ | 6,501.00 | |
2 5. การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการทบทวนและสรุปแบบพื้นที่และการวางแผนการดำเนินงาน 5 ครั้ง กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการทบทวนและสรุปแบบพื้นที่และการวางแผนการดำเนินงาน 5 ครั้ง กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 252 | 0.00 | 11 | 687,676.00 | |
5 ต.ค. 65 | การประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นโครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายพื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต | 40 | 0.00 | ✔ | 18,855.00 | |
13 ธ.ค. 65 | ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามความก้าวหน้าการออกแบบพื้นที่โครงการ (ครัั้งที่ 15/2565) | 5 | 0.00 | ✔ | 4,910.00 | |
15 ธ.ค. 65 | อัปเดทงาน pa กับทีม ม.อ.ภูเก็ต (ครั้งที่ 16/2565) | 8 | 0.00 | ✔ | 4,500.00 | |
10 มี.ค. 66 | การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกายและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ครั้งที่ 1 | 30 | 0.00 | ✔ | 86,922.00 | |
20 มี.ค. 66 | การประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมจัดการประชุมความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะเมืองต้นแบบเพื่อเพี่มกิจกรรมทางกาย | 10 | 0.00 | ✔ | 4,560.00 | |
29 - 30 มิ.ย. 66 | การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกาย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค จังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 2 | 68 | 0.00 | ✔ | 244,547.00 | |
30 มิ.ย. 66 | ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานพื้นที่เขาหลัก จ.พังงา | 8 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
13 ก.ค. 66 | ประชุมออกแบบพื้นที่ ม.อ.ภูเก็ตกับสถาปนิกและผู้บริหาร | 8 | 0.00 | ✔ | 2,000.00 | |
21 ก.ค. 66 | การประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมข้อมูลเวทีนโยบายสาธารณะและพื้นที่สุขภาวะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย “ACTIVE PEOPLE ACTIVE ENVIRONMENT” ภายใต้งานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 13 | 13 | 0.00 | ✔ | 5,500.00 | |
1 - 2 ส.ค. 66 | การประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมข้อมูลเวทีนโยบายสาธารณะและพื้นที่สุขภาวะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย “ACTIVE PEOPLE ACTIVE ENVIRONMENT” ภายใต้งานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 13 | 12 | 0.00 | ✔ | 7,000.00 | |
9 - 10 ส.ค. 66 | นโยบายสาธารณะและพื้นที่สุขภาวะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย “ACTIVE PEOPLE ACTIVE ENVIRONMENT” ในงานสร้างสุขภาคใต้ | 50 | 0.00 | ✔ | 308,882.00 | |
19 ก.ย. 66 | การทบทวนเอกสารเพื่อจัดทำร่างแผนPA | 0 | 0.00 | - | ||
3 3. การประชุมเชิงปฏิบัติการการออกแบบพื้นที่และสร้างร่วมมือ 5 ครั้ง | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 249 | 0.00 | 18 | 778,681.00 | |
13 - 16 พ.ค. 65 | การประชุมเชิงปฏิบัติการการออกแบบพื้นที่โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย(มอ.ภูเก็ต-เขาหลัก จ.พังงา) | 12 | 0.00 | ✔ | 134,136.00 | |
3 มิ.ย. 65 | การประชุมเชิงปฏิบัติการการออกแบบพื้นที่โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (เขาหลัก จ.พังงา) | 16 | 0.00 | ✔ | 139,189.00 | |
4 มิ.ย. 65 | การประชุมเชิงปฏิบัติการการออกแบบพื้นที่โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (เขาหลัก จ.พังงา) วันที่ 2 | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
7 ก.พ. 66 | ประชุมอัปเดต HSF PAภูเก็ต | 10 | 0.00 | ✔ | 3,610.00 | |
15 ก.พ. 66 | อัปเดตการออกแบบพื้นที่กับทีมPAภูเก็ต / zoom4 | 14 | 0.00 | ✔ | 3,000.00 | |
17 มี.ค. 66 | ประชุมอัปเดทงานกับทีม HSF | 6 | 0.00 | ✔ | 3,500.00 | |
18 เม.ย. 66 | ประชุมเตรียมเวทีหารือการทำแผนและโครงการ | 8 | 0.00 | ✔ | 2,500.00 | |
19 เม.ย. 66 | ประชุมคณะทำงาน PA ภูเก็ต วางแผนการดำเนินงานในไตรมาส 3 | 5 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
20 เม.ย. 66 | ประชุมหารือเรื่องการทำแผนและโครงการเพื่อพัฒนาพื้นที่สุขภาวะภูเก็ตเมืองต้นแบบเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย | 40 | 0.00 | ✔ | 120,275.00 | |
12 พ.ค. 66 | การประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามความก้าวหน้าการออกแบบพื้นที่โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายในพื้นที่บริเวณย่านเมืองเก่า | 5 | 0.00 | ✔ | 1,290.00 | |
20 พ.ค. 66 | กิจกรรม “Finding Pattern in Phuket Old Town ตระเวนส่องมองเมืองเก่า” ในวันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม 2566 ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต | 40 | 0.00 | ✔ | 33,049.00 | |
15 มิ.ย. 66 | ประชุมอัปเดทงานกับทีม pa ม.อ.ภูเก็ต / ZOOM ๔ | 6 | 0.00 | ✔ | 5,257.00 | |
11 ก.ค. 66 | จ้างการเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพโครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย โดยวิธีเฉพาะเจาะจง งวดที่ 1 | 0 | 0.00 | ✔ | 40,500.00 | |
12 ก.ค. 66 | ประชุมอัปเดตงานกับทีม PA ภูเก็ต | 4 | 0.00 | ✔ | 2,500.00 | |
10 ส.ค. 66 | ค่าตอบแทนคณะทำงานในการรีวิวข้อมูลเอกสาร | 0 | 0.00 | - | ||
21 ส.ค. 66 | ประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการ PA ภูเก็ต | 5 | 0.00 | ✔ | 5,500.00 | |
1 ก.ย. 66 | ประชุมร่างแผน PA ภูเก็ต ครั้งที่ 2 | 6 | 0.00 | ✔ | 7,500.00 | |
4 ก.ย. 66 | ประชุมร่างแผน PA ภูเก็ต ครั้งที่ 3 | 4 | 0.00 | ✔ | 8,000.00 | |
7 - 8 ก.ย. 66 | การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกายและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค | 68 | 0.00 | ✔ | 268,875.00 | |
4 4. กระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมในพื้นที่และการสนับสนุนปฏิบัติการในพื้นที่ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 220 | 0.00 | 17 | 5,000,000.00 | |
21 เม.ย. 65 | ทีม PA ภูเก็ต ติดตามความก้าวหน้าการออกแบบของสถาปนิกและดูstakeholder(พื้นที่ มอ.และโรงแรม) / ใช้ zoom 4 (ครั้งที่ 4/2565) | 5 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
6 พ.ค. 65 | วางแผนการทำงาน 6 พค 65 (ครั้งที่ 5/2565) | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
15 พ.ค. 65 | (HSF งวด 1)การสนับสนุนปฏิบัติงานวิชาการ กระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรม และการสนับสนุนการปฏิบัติการในพื้นที่บริเวณชายหาดป่าตอง ย่านเมืองเก่า และพื้นที่สวนสาธารณะ (สะพานหิน เขารัง และสวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9) งวดที่ 1 | 0 | 0.00 | ✔ | 1,000,000.00 | |
17 มิ.ย. 65 | ประชุมความก้าวหน้า pa ภูเก็ต (ย่านเมืองเก่า หาดป่าตอง สะพานหิน) (ครั้งที่ 6/2565) | 4 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
27 มิ.ย. 65 - 1 ก.ค. 65 | ทีม HSF ลงพื้นที่สำรวจเเละเข้าสัมภาษณ์หน่วยงานในพื้นที่ | 12 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
18 ก.ค. 65 | (PSU งวด 1)การสนับสนุนปฏิบัติงานวิชาการ กระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมและการสนับสนุนการปฏิบัติการในพื้นที่ศูนย์กีฬาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และในพื้นที่โรงแรม ทั้งบริเวณในและนอกอาคารโรงแรม งวดที่ 1 | 0 | 0.00 | ✔ | 700,000.00 | |
24 ก.ค. 65 | เปิดตัวโปรแกรมฟื้นฟูอาการ post covid แบบองค์รวม ที่เขาหลักพังงา ในพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะสวนสมุนไพร | 20 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
25 ก.ค. 65 | วางแผนงานโครงการ PA Masterplan ภูเก็ต (ครั้งที่ 7/2565) | 14 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
13 - 16 ก.ย. 65 | Healthy Space Forum ได้ลงพื้นที่ภูเก็ต เพื่อนำเสนอเเนวคิดเเละรายละเอียดการออกแบบให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ | 15 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
19 ก.ย. 65 | ทีมpaภูเก็ตประชุมวางแผนงานเพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ ม.อ.ภูเก็ต และวางแผนประชาคม (ครั้งที่ 9/2565) | 7 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
11 - 13 พ.ย. 65 | Workshop ในหัวข้อ “ชวนชุมชนออกแบบพื้นที่สุขภาวะให้กับย่านเมืองเก่าภูเก็ต” ร่วมกับ 3 ชุมชน | 33 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
1 ธ.ค. 65 | (HSF งวด 2)การสนับสนุนปฏิบัติงานวิชาการ กระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรม และการสนับสนุนการปฏิบัติการในพื้นที่บริเวณชายหาดป่าตอง ย่านเมืองเก่า และพื้นที่สวนสาธารณะ (สะพานหิน เขารัง และสวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9) งวดที่ 2 | 0 | 0.00 | ✔ | 1,500,000.00 | |
16 - 18 ธ.ค. 65 | เปิดพื้นที่ทดลอง “แล เล่น รักษ์ เล” เพื่อเป็นพื้นที่สาธารณะริมชายหาดต้นแบบ ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในชีวิตประจำวันให้กับประชาชน | 50 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
20 - 22 ธ.ค. 65 | ลงพื้นที่สำรวจกิจกรรมทางกายและความต้องการของชุมชนรอบ ๆ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต | 60 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
11 ก.ค. 66 | (HSF งวด 3) การสนับสนุนปฏิบัติงานวิชาการ กระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรม และการสนับสนุนการปฏิบัติการในพื้นที่บริเวณชายหาดป่าตอง ย่านเมืองเก่า และพื้นที่สวนสาธารณะ (สะพานหิน เขารัง และสวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9) งวดที่ 3 | 0 | 0.00 | ✔ | 500,000.00 | |
11 ก.ค. 66 | (PSU งวด 2)การสนับสนุนปฏิบัติงานวิชาการ กระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมและการสนับสนุนการปฏิบัติการในพื้นที่ศูนย์กีฬาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และในพื้นที่โรงแรม ทั้งบริเวณในและนอกอาคารโรงแรม งวดที่ 2 | 0 | 0.00 | ✔ | 1,000,000.00 | |
11 ก.ค. 66 | (PSU งวด 3)การสนับสนุนปฏิบัติงานวิชาการ กระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมและการสนับสนุนการปฏิบัติการในพื้นที่ศูนย์กีฬาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และในพื้นที่โรงแรม ทั้งบริเวณในและนอกอาคารโรงแรม งวดที่ 3 | 0 | 0.00 | ✔ | 300,000.00 | |
5 6. การประชุมรับฟังความเห็นและการสร้างพันธะสัญญาสาธารณะระหว่าง หน่วยงานรัฐ ท้องถิ่น ภาคประชาชน ภาคผู้ประกอบการ ในการขับเคลื่อนตัวแบบในพื้นที่ต่างๆ รวมถึงการนำไปประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะทั้งในพื้นที่และต่างประเทศ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 256 | 0.00 | 4 | 523,426.00 | |
24 มี.ค. 66 | การประชุมความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะเมืองต้นแบบเพื่อเพี่มกิจกรรมทางกาย | 68 | 0.00 | ✔ | 164,786.00 | |
12 ส.ค. 66 | ประชุมเปิดตัวโครงการเพื่อสุขภาพแบบครบวงจรฯ | 60 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
13 - 14 ก.ย. 66 | การประชุมเชิงปฏิบัติการบันทึกข้อตกลง (MOU) แผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายจังหวัดภูเก็ต และถอดบทเรียนการขับเคลื่อนจังหวัดภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย | 68 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
15 - 16 ก.ย. 66 | สนส.ม.อ.ลงพื้นที่ร่วมงานเปิดตัวโครงการรองรับนักท่องเที่ยวและชุมชนของลาวิชต้า | 60 | 0.00 | ✔ | 358,640.00 | |
6 7. การประชุมเพื่อวางระบบการติดตามประเมินผลของกลไกขับเคลื่อนในพื้นที่ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0.00 | 34 | 286,182.00 | |
24 มี.ค. 65 | วางแผนงาน 24 มี.ค.65 (ครั้งที่ 1/2565) | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
30 มี.ค. 65 | วางแผนงาน 30 มีค.65 (ครั้งที่ 2/2565) | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
11 เม.ย. 65 | วางแผนงาน 11 เม.ย. 65 (ครั้งที่ 3/2565) | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
25 ส.ค. 65 | วางแผนงาน 25 ส.ค.65 (ครั้งที่ 8/2565) | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
26 - 30 ก.ย. 65 | การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “นโยบายสาธารณะและการมีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายสาธารณะ” เพื่อวางระบบติดตามประเมินผลโครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย | 0 | 0.00 | ✔ | 12,100.00 | |
7 ธ.ค. 65 | ประชุมวางแผนติดตามประเมินผลโครงการ paภูเก็ต (ครั้งที่ 14/2565) | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
4 ม.ค. 66 | ประชุมคระทำงานเพื่อติดตามความก้าวหน้าการออกแบบพื้นที่สุขภาวะและวางแผนติดตามประเมินผลโครงการฯ ร่วมกับทีมม.อ.ภูเก็ต (ครั้งที่ 17/2566) | 0 | 0.00 | ✔ | 4,000.00 | |
11 ม.ค. 66 | อบรมการใช้เครื่องมือเพื่อเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ชุมชน | 0 | 0.00 | ✔ | 1,500.00 | |
12 ม.ค. 66 | ประชุมวางแผนติดตามงานทีม HSF PA ภูเก็ต | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
12 ม.ค. 66 | ประชุมคณะทำงานวางแผนปิดงวด 2 และแผนงานภาพรวมโครงการ | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
19 ม.ค. 66 | การประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนติดตามประเมินผลโครงการฯ ร่วมกับ คณะทำงานทีมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต | 0 | 0.00 | ✔ | 1,110.00 | |
23 ม.ค. 66 | ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานในพื้นที่และวางแผนติดตามประเมินผลโครงการฯ ร่วมกับทีมม.อ.ภูเก็ต (ครั้งที่ 2/2566) | 0 | 0.00 | ✔ | 4,000.00 | |
30 ม.ค. 66 - 1 ก.พ. 66 | ประชุมวิชาการด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2565 | 0 | 0.00 | ✔ | 24,899.00 | |
2 ก.พ. 66 | ประชุมแพลตฟอร์มเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลสถิติการออกกำลังกายและการเล่น กีฬาของปรชาชน (Calories Credit Challenge: CCC) | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
10 ก.พ. 66 | วางแผนเก็บข้อมูลสุขภาพ/ข้อมูลกิจกรรมทางกาย/การใช้พื้นที่สาธารณะ | 0 | 0.00 | ✔ | 4,500.00 | |
2 มี.ค. 66 | ประชุมแผนฯ ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย กรมอนามัย | 0 | 0.00 | ✔ | 18,400.00 | |
3 มี.ค. 66 | เตรียมเวทีทำแผนและโครงการ PA ม.อ.ภูเก็ต | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
3 มี.ค. 66 | ประชุมผลการออกแบบกับทีม HSF และเทศบาลนครภูเก็ต | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
8 มี.ค. 66 | หารือการเชื่อมโยงข้อมูลกองทุนฯกับ active thai ม.เกษตรฯ | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
3 เม.ย. 66 | ประชุมคณะทำงานเตรียมเวทีการทำแผนและโครงการเพื่อพัฒนาพื้นที่สุขภาวะเมืองต้นแบบเพื่อเพี่ม PA กับ HSF / zoom4 | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
10 พ.ค. 66 | วางแผนการเก็บข้อมูลกิจกรรมทางกาย | 0 | 0.00 | ✔ | 5,708.00 | |
19 มิ.ย. 66 | ประชุมอัปเดทงานกับทีมสถาปนิก pa ม.อ.ภูเก็ต / ZOOM ๔ | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
26 มิ.ย. 66 | อัปเดทงานพื้นที่สุขภาวะ ม.อ.ภูเก็ต | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
21 ส.ค. 66 | การประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนติดตามประเมินผลโครงการฯ | 0 | 0.00 | ✔ | 4,500.00 | |
22 ส.ค. 66 | ประชุมวางแผนการเก็บข้อมูลกิจกรรมทางกายหลังการดำเนินโครงการ | 0 | 0.00 | ✔ | 4,000.00 | |
25 ส.ค. 66 | ประชุมเตรียมซักซ้อมความเข้าใจแบบสอบถามกิจกรรมทางกายกับทีมเก็บข้อมูล | 0 | 0.00 | ✔ | 5,000.00 | |
25 ส.ค. 66 | ประชุมเตรียมข้อมูลสัมภาษณ์ถอดบทเรียน PA ภูเก็ต/zoom4 | 0 | 0.00 | ✔ | 4,000.00 | |
28 ส.ค. 66 | ประชุมจัดทำร่างแผน PA ภูเก็ต และดูตัวชี้วัดประเมิน HIA PA/ zoom4 | 0 | 0.00 | ✔ | 6,000.00 | |
30 ส.ค. 66 | ถอดบทเรียนโครงการ PA ภูเก็ต | 0 | 0.00 | ✔ | 11,180.00 | |
18 ก.ย. 66 | พัฒนาระบบติดตามและประเมินผล | 0 | 0.00 | ✔ | 70,000.00 | |
18 ก.ย. 66 | การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย | 0 | 0.00 | ✔ | 60,000.00 | |
26 ก.ย. 66 | การประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงานการติดตามประเมินผลโครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย | 0 | 0.00 | ✔ | 7,980.00 | |
27 ก.ย. 66 | การประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงานการติดตามประเมินผลโครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย | 0 | 0.00 | ✔ | 4,000.00 | |
28 ก.ย. 66 | การประชุมสรุปโครงการและพัฒนาข้อเสนอแนวทางต่อยอดภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย | 0 | 0.00 | ✔ | 33,305.00 | |
7 2. การประสานความร่วมมือกับ 8 กลุ่มเป้าหมายที่จะเป็นเครือข่ายและกลไกทางสังคม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 97 | 0.00 | 7 | 190,931.00 | |
13 มี.ค. 65 | การประชุมเชิงปฏิบัติการการออกแบบพื้นที่และสร้างร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย | 15 | 0.00 | ✔ | 73,953.00 | |
14 มี.ค. 65 | การประชุมเชิงปฏิบัติการการออกแบบพื้นที่และสร้างร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย | 60 | 0.00 | ✔ | 60,748.00 | |
15 มี.ค. 65 | การประชุมเชิงปฏิบัติการการออกแบบพื้นที่และสร้างร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย | 0 | 0.00 | ✔ | 46,680.00 | |
3 พ.ย. 65 | ประชุมอัพเดทความก้าวหน้าการออกแบบพื้นที่สุขภาวะ โครงการ ภูเก็ตเมืองต้นแบบฯ ร่วมกับทีมสถาปนิกจุฬา (HSF) (ครั้งที่ 11/2565) | 7 | 0.00 | ✔ | 3,050.00 | |
15 พ.ย. 65 | ประชุมคณะทำงานเพื่ออัพเดทความก้าวหน้าการออกแบบพื้นที่สุขภาวะ ในพื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต (ครั้งที่ 12/2565) | 9 | 0.00 | ✔ | 3,000.00 | |
1 ธ.ค. 65 | ประชุมอัพเดท pa ภูเก็ตกับทีมสถาปนิกจุฬา (HSF) /ใช้ zoom 4 (ครั้งที่ 13/2565) | 6 | 0.00 | ✔ | 3,500.00 | |
28 มิ.ย. 66 | ทีมงาน สนส.ม.อ.เตรียมการประชุม (งาน 28-29 มิ.ย.) | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
8 ค่าบริหารจัดการ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0.00 | 12 | 2,428,790.00 | |
31 มี.ค. 65 - 31 ธ.ค. 65 | ค่าบริหารจัดการเดือนกุมภาพันธ์-ธันวาคม 2565 | 0 | 0.00 | ✔ | 660,000.00 | |
11 เม.ย. 65 | ค่าธรรมเนียมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย งวดที่ 1 | 0 | 0.00 | ✔ | 368,687.00 | |
10 ส.ค. 65 | ค่าธรรมเนียมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย งวดที่ 2 | 0 | 0.00 | ✔ | 368,687.00 | |
31 ส.ค. 65 | ค่าตรวจสอบเอกสารการเงินและรับรองบัญชี งวดที่ 1 | 0 | 0.00 | ✔ | 8,000.00 | |
30 พ.ย. 65 | ค่าวัสดุสิ้นเปลืองและอุปกรณ์สำนักงาน | 0 | 0.00 | ✔ | 6,921.00 | |
1 มี.ค. 66 | ค่าตรวจสอบเอกสารการเงินและรับรองบัญชี งวดที่ 2 | 0 | 0.00 | ✔ | 15,000.00 | |
11 ก.ค. 66 | ค่าบริหารจัดการเดือนมกราคม-กรกฏาคม 256ุ6 | 0 | 0.00 | ✔ | 490,000.00 | |
11 ก.ค. 66 | ค่าวัสดุสิ้นเปลืองและอุปกรณ์สำนักงาน | 0 | 0.00 | ✔ | 11,807.00 | |
11 ก.ค. 66 | ค่าตรวจสอบเอกสารการเงินและรับรองบัญชี งวดที่ 3 | 0 | 0.00 | ✔ | 41,000.00 | |
11 ก.ค. 66 | ค่าธรรมเนียมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย งวดที่ 3 | 0 | 0.00 | ✔ | 307,239.00 | |
11 ก.ค. 66 | ค่าธรรมเนียมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย งวดที่ 4 | 0 | 0.00 | ✔ | 61,449.00 | |
1 - 10 ส.ค. 66 | ค่าบริหารจัดการเดือนสิงหาคม-กันยายน 2566 | 0 | 0.00 | ✔ | 90,000.00 | |
9 8. สรุปโครงการและจัดทำรายงาน | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0.00 | 1 | 50,000.00 | |
10 ส.ค. 66 | 8. สรุปโครงการและจัดทำรายงาน | 0 | 0.00 | ✔ | 50,000.00 | |
ผลที่คา่ดว่าจะได้รับ
- ประชาชนเข้ามาในพื้นที่เพื่อการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ
- นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในพื้นที่ มีการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในขณะที่อยู่ในเมืองภูเก็ต
- เกิดเครือข่ายและกลไกทางสังคมที่ช่วยขับเคลื่อนเมืองภูเก็ตอย่างต่อเนื่องให้เป็นเมืองที่มีการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย โดยมีแผนการขับเคลื่อนในทุกภาคส่วน
- เป็นเมืองต้นแบบและศูนย์เรียนรู้ในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัดโครงการ
- ประชาชนที่มีภาวะเนือยนิ่งมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10 (วัดจากกลุ่มที่มาทำกิจกรรมทางกายใน 5 พื้นที่)
- ประชาชนที่มีกิจกรรมทางกายอยู่แล้ว เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายในระดับที่เพียงพอ ร้อยละ 10 (วัดจากกลุ่มที่มาทำกิจกรรมทางกายใน 5 พื้นที่)
- นักท่องเที่ยวที่เข้ามาใน 5 พื้นที่ เข้าร่วมกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20
- ใน 5 พื้นที่มีแผนและโครงการปรับสภาพแวดล้อมและมีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพออย่างต่อเนื่อง
- มีข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างภาคเอกชน ท้องถิ่น ชุมชน และภาคการศึกษา ในการพัฒนาภูเก็ตเป็นเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายระดับประเทศและนานาชาติ
- มีแผนในการพัฒนาภูเก็ตเป็นเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายระดับประเทศและนานาชาติ
- แผนและโครงการใน 5 พื้นที่ มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกายและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมพื้นถิ่น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2565 09:38 น.