สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

การประชุมเชิงปฏิบัติการการออกแบบพื้นที่โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (เขาหลัก จ.พังงา) วันที่ 24 มิถุนายน 2565
4
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

09.00 - 12.00 น. สรุปแนวทางการดำเนินงานในการกำหนดและออกแบบการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (physical activity) และการออกแบบทางสถาปัตยกรรมเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในพื้นที่โรงแรม โดย อาจารย์สมพงศ์ ดาวพิเศษ  ประธานสมาคมโรงแรมที่พักส่งเสริมสุขภาพอันดามันและอ่าวไทย
      ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
      รศ.ดร.พันธ์ ทองชุมนุม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตภูเก็ต       ดร.พท.จุฬาลักษณ์ โชคไพศาล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์       ผศ.ดร.พท.ธัญญลักษณ์ ศิริยงค์ คณะแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์       ดร.เสถียรพงษ์ ภูผา คณะแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์       นายณัฐวิช วิเศษสินธุ  สถาปนิกนักวิชาการอิสระ
13.00 -18.00 น. ลงพื้นที่เพื่อดูแบบแปลนในพื้นที่โรงแรม และสรุปแบบพื้นที่สุขภาวะ
โดย อาจารย์สมพงศ์ ดาวพิเศษ  ประธานสมาคมโรงแรมที่พักส่งเสริมสุขภาพอันดามันและอ่าวไทย
      ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
      รศ.ดร.ภก.ภาณุพงศ์ พุทธรักษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายระบบขับเคลื่อนวิจัยและนวัตกรรมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์       ดร.พท.จุฬาลักษณ์ โชคไพศาล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์       ดร.เสถียรพงษ์ ภูผา คณะแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์       นายณัฐวิช วิเศษสินธุ  สถาปนิกนักวิชาการอิสระ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พื้นที่สุขภาวะสวนสาธิตสมุนไพร
- สวนสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับอาหาร / ผลผลิตภัณฑ์ใช้ในคลินิกแพทย์แผนไทย
- รูปแบบเรียนรู้ 1. เพาะพันธุ์/คัดเลือกพันธุ๋ 2. พื้นที่ปลูก 3.พื้นที่แปรรูป 4. ทำเป็นผลิตภัณฑ์
- แบ่งตามโซนอาหารเป็นยา เช่น โซนเครื่องแกง โซนต้มยำ เดินตามธาตุ พื้นที่เรียนรู้ผลิตภัณฑ์ ลานกิจกรรมต่างๆ
- ชนิดสมุนไพรมากกว่า 102 ชนิด (พืชยืนต้น 36 ชนิด, ไม้พุ่ม 25 ชนิด, ยกแปลง 31 ชนิด, แปลงปิดพืขเมืองหนาว 10 ชนิด)

กิจกรรมในสวนสาธิตสมุนไพร 1) ตรวจธาตุเจ้าเรือน 2) เดินชมสวนสมุนไพร 3) เดินเก็บพืชส่งมาปรุงอาหาร 4) ความรู้เรื่องอาหารสมุนไพร 5) ดูกระบวนการผลิตเครื่องแกง

ผลิตภัณฑ์วางจำหน่ายใน shop
- ดู product champion คืออะไร ของ มอ.
- ยกระดับผลิตภัณฑ์ ในเชิงอุตสาหกรรม โดยการร่วมทุน /อาจจะเป็น co brand เพราะเราผลิตเองคงไม่ได้ / จ้าง OME

โปรแกรม post covid rehab - การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้ post covid จัดอบรม 3 กลุ่ม 1. กลุ่มผู้ประกอบการ 2. กลุ่มวิชาชีพแพทย์แผนไทย 3. กลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วย
- เริ่มจัดอบรมช่วงเดือนกรกฎาคม 2565 / จัดประชาสัมพันธ์ปิดตัวโปรแกรม post covid
- ผู้ผ่านการฝึกอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรจาก ม.อ.
- โปรแกรม post covid rehab 3 วันสำหรับคนไทย / ต่างชาติ 7 วันฯลฯ - อนาคตยกระดับให้ได้มาตรฐานการรองรับจาก WHO

อาหารเป็นยา ชนิดอาหารเป็นยาที่จะผลิตให้สอดคล้องกับพื้นที่สุขภาวะ ได้แก่ - อาหารธาตุเจ้าเรือน (ดิน น้ำ ลม ไฟ) - อาหาร post Covid - อาหารผู้สูงวัยตามกลุ่มโรค
- อาหารเครื่องดื่มตามกรุ๊ปเลือด

กิจกรรมที่จะดำเนินการกับเชฟของโรงแรม 1 list รายการ
2 ออกแบบเมนูอาหาร 3 ชื่ออาหารมีการประกวด ชื่อ ให้มีคำว่าเขาหลัก 4 เมื่อได้เมนูอาหารเรียบร้อยแล้ว ให้อาจารย์แพทย์แผนไทยมาอบรมเรื่องอาหาร สมุนไพร /มีใบประกาศนียบัตร

นัดประชุมครั้งต่อไป
- วันที่ 13-15 มิถุนายน 2565 เพื่อทดลองปรุงเมนูอาหารตามพืชสมุนไพร
- ศึกษาดูงานที่อภัยภูเบศร