สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

อัปเดทงาน pa กับทีม ม.อ.ภูเก็ต (ครั้งที่ 16/2565)15 ธันวาคม 2565
15
ธันวาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
  • สรุป ความก้าวหน้าการออกแบบพื้นที่สุขภาวะ15_12_65.pdf
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

อัปเดทงาน pa กับทีม ม.อ.ภูเก็ต (ครั้งที่ 16/2565)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พื้นที่วิทยาเขตภูเก็ต

ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ โจทย์เราต้องการให้พื้นที่เป็นพื้นที่ที่ทำให้คนมี PA เพียงพอ เพิ่มขึ้น เวลาเราจะวัดผล เราต้องวัดว่ากิจกรรมหรือ intervention ที่เราลงไป เขามี PA เพียงพอจริง ถ้าเราจะวัดผลแบบนี้ ต้องรู้ว่าก่อนเข้าร่วม หลังเข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างไร
ยกตัวอย่าง สถาบันนโยบายสาธารณะ มีคน 10 คน มีคนที่มี PA เพียงพอ 2 คน เวลาทำกิจกรรมเต้นแอโรบิค คนเต้นก็คือคนที่มี PA อยู่แล้ว คือ 2 คน พอเราวัดเราก็บอกว่ากิจกรรมเรามีคนเข้าร่วม 2 คน และมี PA 2 คนที่เพียงพอ อันนี้ไม่ใช่โจทย์ แต่โจทย์คือ 8 คน ที่ไม่มี PA จะทำอย่างไรให้มี PA และมี PA ที่เพียงพอ เมื่อเราอยากรู้แบบนี้
ขั้นตอนแรก เราก็ต้องสำรวจดูว่า 10 คนนี้มี PA ระดับไหน ถ้าจะทำให้ 8 คน มี PA เพิ่มขึ้น และมี PA ที่เพียงพอจะทำอย่างไร จะเอาไปวิ่ง ไปว่ายน้ำ หรือไม่ แล้วถ้าเขาไม่อยากวิ่ง ไม่อยากว่ายน้ำ แต่อยากเข้าร่วมจะมีวิธีการอื่นอีกหรือไม่ แสดงว่าตอนที่เราไปถามคน เราต้องถามว่าถ้าเขาจะมี PA เพียงพอ เขาเหมาะกับ PA ลักษณะแบบไหน เพราะบางคนก็ไม่ได้ถนัดเต้นแอโรบิค
ขั้นตอนที่สอง หลังจากที่เรารู้แล้วว่าใครมี PA มากน้อยแค่ไหน ใคร PA ไม่เพียงพอ ไม่มี PA เลย เราก็ต้องถามเขาว่าอยากมี PA อะไร อย่างไรบ้าง เราถึงจะมา design ว่า วิทยาเขตภูเก็ตจะออกแบบให้ตรงกับกลุ่มเหล่านี้ได้อย่างไร เวลาเรา design เราก็อาจดูว่าคนในชุมชนมีประเภทกลุ่มคนอย่างไรบ้าง วัยเด็ก วัยทำงาน ผู้สูงอายุ คนทำงานออฟฟิศ คนทำงานค้าขายตามร้านอาหาร แสดงว่าเราต้องดูกลุ่มวัย กลุ่มอาชีพ เป็นอย่างไร อะไรที่เหมาะกับเขา ช่วงเวลาไหนที่เขาสามารถมาใช้พื้นที่ของวิทยาเขตภูเก็ตได้ ช่วงเช้า กลางวัน เย็น หรือค่ำ
เราต้องกลับมาดูว่าที่วิทยาเขตภูเก็ตมีอะไรบ้าง เรามีศูนย์กีฬา สนามกีฬา ลู่วิ่ง ต่าง ๆ จะจัดวิทยาเขตเราให้สอดคล้องกับเขาได้อย่างไร เรามีหน้าที่แค่อำนวยความสะดวกด้านสถานที่ ถ้าเขาจะมาใช้ อย่างกลุ่มผู้สูงอายุ เขาจะมาหรือไม่ สามารถบริหารจัดการเองได้หรือไม่ ถ้ากลุ่มเด็กเยาวชนจะมาเล่นกีฬาบาสเก็ตบอล เทนนิส ว่ายน้ำ ซึ่งเรามี facilities เหล่านี้อยู่ เขาจะจัดการได้หรือไม่ มีกลุ่ม/ชมรมของเขาที่จะเข้ามาใช้สถานที่ของเราหรือไม่ คนแก่เข้ามาเดินแล้วอยากตั้งวงกินน้ำชา เขาจะสามารถจัดการเองได้หรือไม่ เราต้องทำให้พื้นที่เราเอื้อต่อความต้องการของแต่ละกลุ่มเพื่อทำให้เขาเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นอย่างเพียงพอ แต่ตอนนี้กระบวนการ คือ วิทยาเขตภูเก็ตไปจัดให้เอง มีจัดกิจกรรมอะไรบ้าง
ทำให้วิทยาเขตมีพื้นที่มี PA เพิ่มขึ้น โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ประโยชน์ที่แฝงอยู่ด้วย คือ วิทยาเขตกำลังจะทำศูนย์สุขภาพนานาชาติ Wellness Hub ขึ้นมา อนาคตจะมีโรงพยาบาล มีโรงพยาบาลแพทย์แผนไทย อยู่ที่นี่ ทำอย่างไรให้คนรู้จัก ม.อ. มาใช้พื้นที่ อย่าง Wellness Hub ถ้าจะมีศาสตร์ของแพทย์แผนไทยมาทำเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มชมรมผู้สูงอายุ จะเข้ามาได้อย่างไร ยกตัวอย่าง คณะพยาบาลของ ม.อ. วันเสาร์-อาทิตย์ เครือข่ายผู้สูงอายุจะเข้ามาใช้พื้นที่ของคณะพยาบาลทำกิจกรรมของเขา เป็นศูนย์รวมในการทำกิจกรรมของเขา แล้วเขามาเอง หาเงินเอง คณะพยาบาลแค่เอื้อเฟื้อสถานที่ แต่สิ่งที่ได้ คือ เวลาคณะจะจัดกิจกรรมต่าง ๆ เครือข่ายผู้สูงอายุที่เข้มแข็งมากจะมาช่วยคณะในการจัดการต่าง ๆ ตลอด ในอนาคตถ้ามหาวิทยาลัยจะเป็น Wellness Hub ต้องเอาชุมชนเข้ามา ไม่ใช่เราจัดบริการอย่างเดียว ตอนนี้วิทยาเขตภูเก็ตเรามีศักยภาพสถานที่ ศูนย์กีฬา เราลองดูว่าจะจัดการกับมันอย่างไร ขณะเดียวกัน ปี 2566 จะมีโรงพยาบาลแพทย์แผนไทยเกิดขึ้น ถ้าคนจะมาใช้บริการต้องมีความเชื่อมั่น ศรัทธา ถ้ามีเครือข่ายชุมชนเข้ามาเห็นอยู่แล้วก็จะดึงคนเข้ามา อนาคตจะมีโรงพยาบาลขนาด 300 เตียง มันต้องมีกลุ่มเครือข่ายที่มาทำงานร่วมกันอีกเยอะ เช่น เครือข่ายผู้สูงอายุ เครือข่ายผู้หญิง เครือข่ายผู้ป่วย สมมุติว่าเมื่อเครือข่ายเข้ามาแล้วเรามีกิจกรรมบางอย่างไปสนับสนุนเขา เช่น มี PA แล้วจะช่วยควบคุมอาการโรคเรื้อรังไม่ให้มีเพิ่มขึ้น หรืออาจจะหายได้ ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนดีขึ้น
จึงบอกว่าต้องเน้นกระบวนการ แต่ตอนนี้เหมือนกับเอาสิ่งที่เราคิดไปยัดให้กับชุมชน เราไม่เคยเห็น หรือไม่เคยรู้ว่าชุมชนต้องการอะไร และอนาคตเราต้องทำความร่วมมือกับผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยว ต้องมาใช้บริการที่นี่ ไม่เช่นนั้น ใครจะมาใช้บริการโรงพยาบาล สิ่งที่คุณต้องเชื่อม คือ คุณกำลังจะทำ Post Covid Rehab Center ที่นี่ คณะแพทย์แผนไทยจะเปิดเดือนมกราคมนี้ ก็ต้องไปคุยกับแพทย์แผนไทยว่าศาสตร์ของแพทย์แผนไทยที่จะ Rehab จะใช้ Sport มาช่วยได้อย่างไร พื้นที่ต่าง ๆ ของ ม.อ. ภูเก็ต จะเอื้อต่อ Post Covid Rehab Program ได้อย่างไร ต้องมองภาพทั้งหมด อย่ามองแค่กิจกรรมที่จะจัดไม่เช่นนั้น ก็มีแต่เต้น Zumba แอโรบิค เป็น event
สิ่งสำคัญตอนนี้ต้องไปดูว่าสถานการณ์ PA 3 กลุ่ม นักท่องเที่ยวถ้าได้ก็ดี แต่เน้น 2 กลุ่มหลัก คือ คนในชุมชน กับบุคลากรในวิทยาเขตต้องรู้แล้วว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร ต้องรู้ว่าถ้าเขาอยากจะมี PA เพิ่มขึ้นและเพียงพอ เขาจะมาใช้พื้นที่ ม.อ. อย่างไรบ้าง เมื่อรู้ตรงนี้แล้วเราก็คุยว่าเขามีกลุ่ม เครือข่าย อะไรบ้าง ถ้ากลุ่ม เครือข่ายจะมาช่วยจัดการ เราเอื้อเรื่องสถานที่ สนับสนุนกิจกรรมบางอย่าง แต่ถ้าเขาจะมาทำอย่างต่อเนื่อง เขาจะรับผิดชอบได้หรือไม่
ยกตัวอย่าง กลุ่มผู้สูงอายุ มีกิจกรรมออกกำลังกาย จัดกิจกรรมแต่ละสัปดาห์ เช่น สอนปลูกไม้ประดับ ทำเกษตร เอาเด็ก เยาวชน มาเรียนด้วย ผู้พิการเข้ามาแล้วจะมีโปรแกรมอะไร สามารถมาใช้บริการของกลุ่มกีฬาอะไรได้บ้าง หรือจะเสนอให้เขาเลยว่าถ้าผู้พิการ ผู้สูงอายุ จะมาใช้สนามกีฬาของ ม.อ. ถ้าเป็นสมาชิกจะลดราคา 50 เปอร์เซ็นต์ คนทั่วไปที่จะมาเป็นสมาชิกมีแพ็คเกจอะไรบ้าง เพื่อสนับสนุนให้เขามาออกกำลังกาย เพิ่มกิจกรรมทางกาย หรือกลุ่ม ชุมชน จะมาจัด event ใน ม.อ. ก็ได้ ไม่จำเป็นว่าต้องมาออกกำลังกายอย่างเดียว อาจจะมีตามที่รองพันธ์เคยบอก ตลาดเกษตรทุกสัปดาห์ ก็ได้ กรณีแบบนี้มีกิจกรรมก็จะทำให้คน active
Physical Activity คือ ทำอย่างไรให้คน active ตัว Activity = Active แต่ถ้า active แล้วให้ได้ดี คือ ต้องเพียงพอ

ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์
กิจกรรมแบบสอบถามเป็นกิจกรรมหนึ่ง ส่วนอีกกิจกรรมเราจะลงชุมชน ทราบจากคุณธนวัฒน์ว่าการจะดึงชุมชนเข้ามาคุยใน ม.อ. ค่อนข้างยาก จึงจะใช้วิธีลงไปในชุมชนเอง โดยให้คุณธนวัฒน์ประสานกับชุมชน โดยเน้นชุมชนที่อยู่ติดกับรั้ว ม.อ. ก่อน คงไม่ครบทั้ง 19 ชุมชน แล้วลงไปคุย อาจจะ 2 – 3 วง

คุณธนวัฒน์ วงศ์ลักษณพันธ์ ได้มีโอกาสไปร่วมประชุมกับผู้นำชุมชน และประชาสัมพันธ์ว่าเรามีพื้นที่ในมหาวิทยาลัยยินดีให้ชาวบ้านเข้ามาใช้ มีกิจกรรม เช่น Zumba ก็มี feedback ชุมชนที่อยู่ไกล ๆ ห่างจากมหาวิทยาลัย 5 กิโลเมตร เขาจะบอกว่ามันไกลเกิน เพราะในกะทู้มีจุดให้ออกกำลังกายหลายจุด กลายเป็นว่ากิจกรรมที่เราเล่าให้เขาฟังอาจจะไม่ใช่กิจกรรมที่เขาต้องการ

คุณธนวัฒน์ วงศ์ลักษณพันธ์ มี feedback กิจกรรมที่เราสำรวจแล้ว และการทำ Focus Group เขาบอกว่าถ้าเรามีลานเด็กเล่น จะดึงดูดให้ผู้ปกครอง และทุกช่วงวัยเข้ามาในมหาวิทยาลัย ตอนนี้เราก็วางแผนอยู่ ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ลานเด็กเล่น ดี เพราะเรารู้ว่า PA ในเด็กของประเทศไทย น้อยมาก ต่ำมาก แต่ของกะทู้เราไม่รู้ ต้องมีข้อมูลออกมา พอเห็นแล้วรู้ว่าเป็นปัญหาใหญ่ ควรจะมีลานเด็กเล็ก เด็กโต วัยรุ่น เล่นกีฬาได้ ใครจะเป็นคนเข้ามาใช้บริการ พ่อแม่ เด็ก ครอบครัว หรือว่าต้องสื่อกับกลุ่มเครือข่ายครอบครัว ขณะเดียวกันกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ดี เทศบาลที่เรามีความสัมพันธ์ที่ดีด้วยอยู่แล้ว ก็คุยกันว่าจะมีกิจกรรมอะไรมาเสริมกัน แต่คุณต้องทำให้เห็นว่าลานเด็กเล่นของคุณแตกต่างจากสนามเด็กเล่นสาธารณะทั่วไป เพราะเราเป็นสถาบันวิชาการ เราต้องบอกว่าเด็กวัยนี้ควรจะเล่นอะไร พัฒนาการควรจะเป็นอย่างไร เวลามีคนมาใช้บริการ พ่อแม่พาเด็กมาได้รับความรู้ด้วยว่ากิจกรรมอะไรควรทำให้กับเด็ก กลับไปเขาเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ใช่พาเด็กมาเล่นอย่างเดียวแล้วจบ ถ้าทำแบบนี้ได้ต่อให้ระยะทางไกลเขาก็มา

คุณธนวัฒน์ วงศ์ลักษณพันธ์ การสำรวจสถานการณ์ PA เป็นจุดด้อยของเราที่ยังไม่ได้ทำอย่างจริงจัง ของวิทยาเขตมีเบื้องต้นแล้ว ของชุมชนเราวางไว้ 3 วัย คือ เด็ก วัยทำงาน ผู้สูงอายุ ตอนนี้เรากำหนดกลุ่มเป้าหมายแล้ว เราสันนิษฐานว่าจะตอบโจทย์ลานเด็กเล่นได้แน่นอน และในลานเด็กเล่นอาจจะผนวกกิจกรรมอื่น ๆ เช่น ตลาดบ่านซ้าน รวมถึงกิจกรรมแพทย์แผนไทยให้ความรู้ด้านอาหารสุขภาพ ลักษณะกิจกรรมหลังจากนี้จะไม่ใช่เชิง event แล้ว แต่จะเป็นกิจกรรมต่อเนื่อง และคาดหวังผลเรื่อง PA สูงขึ้นได้
เรื่องนักท่องเที่ยวก็มองไว้ ตอนนี้สวนสาธารณะเริ่มมีชาวต่างชาติเข้ามาใช้บริการมากขึ้น แต่ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยยังไม่มาใช้ ถ้าเราโปรโมทจุดนี้ และมีลานเด็กเล่น ตลาด หรือกิจกรรม Wellness Training ให้อาจารย์ที่เชี่ยวชาญมาช่วยก็น่าจะเห็นอะไรมากกว่านี้

ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์
นอกจากเราลงไปสำรวจในชุมชนแล้ว ได้บอกคุณธนวัฒน์ว่าอาจจะต้องดูกลุ่มผู้สูงอายุ นักเรียนในโรงเรียน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ซึ่งน่าจะมาเชื่อมกัน ในโรงเรียนเราจะเจาะกลุ่มเด็กเก็บทั้งแบบสอบถามและสำรวจความคิดเห็น อาจจะจัดกิจกรรมให้เด็กมาสำรวจพื้นที่รอบ ๆ เหมือนทัศนศึกษา ชวนกลุ่มผู้สูงอายุมาดูด้วยกันและช่วยกันออกไอเดียให้

ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ หลัก ๆ ต้องถามสถานการณ์ ถามความต้องการว่าถ้าเขาอยากมีกิจกรรมทางกาย เขาอยากจะมีกิจกรรมทางกายแบบไหน เราอาจจะให้ข้อมูลว่าในวิทยาเขตมีแบบนี้อยู่
ถ้าเราคุยกับกลุ่ม เครือข่าย ชมรม ก็ถามว่ามีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่เขาจะมาใช้และช่วยบริหารจัดการ อยากเห็นหลาย ๆ แห่ง สุดท้ายแล้วเราเปิดพื้นที่และให้เขาเข้ามาช่วยบริหารจัดการกันเอง ยกตัวอย่าง ที่สวนลุม จะมีกลุ่มรำไทเก๊ก โยคะ กลุ่มต่าง ๆ บริหารจัดการกันเอง นำอุปกรณ์ อาหารการกินมา เมื่อเสร็จแล้วก็ทำความสะอาด เราอาจจะไม่ถึงขั้นสวนลุมเอาแค่ facility ที่เรามีอยู่


พื้นที่เขาหลัก
ของเขาหลักเนื่องจากเป็นพื้นที่เอกชนก็จะมีความต่างกันอยู่ เขาจะมีไอเดียของเขา เราก็ใส่ไอเดียของเราเข้าไปบางส่วนได้แล้ว เราอาจจะช่วยในกรณีสำรวจว่าคนในชุมชนมี PA อย่างไรบ้าง ถ้านักท่องเที่ยวจะมาใช้บริการ Wellness Hub ของคุณสมพงษ์ มันต้องมีอะไรที่น่าสนใจ เช่น มีพื้นที่ที่เราออกแบบไว้ตรงสระน้ำมีลู่วิ่ง ตรงลานจอดรถมีที่ทำกิจกรรม เราสำรวจว่าคนในชุมชนจะมาใช้หรือไม่ เนื่องจากฝั่งตรงข้ามมีสวนสาธารณะ ต้องคิดแล้วว่าความสัมพันธ์ระหว่างสวนสาธารณะกับเราเป็นอย่างไร ถ้าคนไปวิ่งที่สวนสาธารณะอยู่แล้ว เราก็ไม่จำเป็นต้องทำที่วิ่ง เราอาจจะทำกิจกรรมให้ความรู้เหมือนกับวิทยาเขต ให้ความรู้ว่ายืดเหยียดเป็นอย่างไร การป้องกันการบาดเจ็บเป็นอย่างไร ถ้าบาดเจ็บจากการออกกำลังกายต้องทำอย่างไร เป็นกิจกรรมแบบนี้แทน ขณะเดียวกัน สวนสาธารณะอาจจะไม่เหมาะกับเด็กเล่น ตรงลานจอดรถก็อาจทำเป็นสนามเด็กเล่นให้เด็กมาเล่นได้ เช่น ขี่ม้าส่งเมือง วิ่งเปี้ยว หรือมีลานเด็กเล่น มีเครื่องเล่นเล็ก ๆ คุณสมพงษ์ก็ได้ประโยชน์เพราะถ้าเด็กมาเล่นผู้ใหญ่ก็มา ร้านอาหาร ร้านขายสินค้า อันที่สอง สำรวจดูว่าชาวต่างชาติจะมาใช้บริการอะไร เพราะมองว่าตรง Wellness Hub จะเป็น destination ของชาวต่างชาติ เราก็อาจจะสำรวจว่าถ้าเขาสนใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพเขาสนใจเรื่องอะไรบ้าง เรื่องแพทย์แผนไทย PA อาหาร สวนสมุนไพร