สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

การประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามความก้าวหน้า (ครั้งที่ 10/2565)26 ตุลาคม 2565
26
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
  • สรุปประชุมรายงานความก้าวหน้าภูเก็ตเมืองต้นแบบ26_10_65 -.pdf
  • 26.10.65 รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 พื้นที่ มอ.ภูเ.pdf
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สรุปการประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามความก้าวหน้าการออกแบบพื้นที่โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายในพื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
วันพุธที่ 26 ตุลาคม 2565 เวลา 16.00 - 17.30 น. ณ ห้องประชุมออนไลน์ https://zoom.us/j/9019029104 สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปการออกแบบสถาปนิก 1 ตลาดนัดบ้านซ่าน ตลาดนัดบ้านซ่าน ที่ต้องใช้สถาปนิกมาช่วย คงจะไม่เหมือนตลาดทั่วไป เรากำหนดพื้นที่คร่าว ๆ ไว้ ส่วนรูปแบบทางผู้รับผิดชอบโครงการกำลังคุยกับสถาปนิก อาจจะต้องให้ concept ว่าเป็นตลาดแบบ Green เข้ากับ concept ของอ.พันธ์ด้วย ที่ต้องเป็นเรื่อง Healthy 2 ลานเด็กเล่น สนามเด็กเล่นสร้างปัญญา
3 เส้นทางเดิน – วิ่ง เส้นทางใน ม.อ.เชื่อมกับชุมชนรอบๆ 4 ลาดจอดรถเอนกประสงค์ - พื้นที่ว่างจากการจอดรถ ออกแบบให้เป็นลานเต้น Zumba Dance จะใช้บริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว อาจจะเพิ่มเติมเรื่องป้ายเชิญชวน กิจกรรม Zumba Dance เป็นกิจกรรมที่พื้นที่จะกำหนดชัดเจน

สรุปลำดับ Timeline กิจกรรม ดังนี้ ลำดับ วิธีการ กิจกรรม ผลลัพธ์ 1 ทบทวนเอกสาร ในประเทศ และต่างประเทศ ให้ทีมวิชาการทบทวน เพื่อมาตอบเรื่องลานกีฬา ตลาดบ้านซ่าน เส้นทางเดิน - วิ่ง และอื่น ๆ ที่ชุมชน/เครือข่าย เสนอมา สามารถทบทวนได้ตลอดทั้งโครงการ 1) ข้อมูลการออกแบบลานเด็กเล่น 2) ข้อมูลการออกแบบตลาดสุขภาพ 3) ข้อมูลการออกแบบเส้นทางเดินวิ่ง 4) ข้อมูลการออกแบบพื้นที่สุขภาวะ
2 ประชุมกลุ่มเป้าหมาย - ก่อตัวเครือข่าย - ออกแบบโครงการ 2.1 ก่อตัวเครือข่าย ได้จัดไปแล้วทั้งนักศึกษา บุคลากร และท้องถิ่น ส่วนทางชุมชน จะใช้รูปแบบการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ชวนมาให้ความรู้และสร้างเครือข่ายในรูปแบบเดียวกัน สร้างแบบสอบถามว่าชุมชนต้องการอะไรเพิ่มเติม 2.2 ออกแบบโครงการร่วมกัน อาจจะเป็นโครงการที่เราหยิบมาทำ หรือตั้งไว้เป็นแผนเพื่อไปเสนอ MOU ว่าจะชวนใครมาทำ เครือข่ายต่าง ๆ ที่สามารถมารองรับโครงการที่เราออกแบบไว้ได้ 1) รายชื่อเครือข่าย /จำนวนสมาชิก 2) รูปแบบโครงการ/กิจกรรม pa
3) พื้นที่ออกแบบทางสถาปนิก
4) หน่วยงานที่จะทำ MOU
3 การมีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่ การมีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่ ต้องให้ชัดว่าได้พื้นที่ที่สถาปนิกออกแบบส่วนไหนบ้าง ได้กิจกรรมที่ชัดเจน เช่น เต้น Zumba ต้องมีการออกแบบอย่างไรให้ดึงดูด หรือขยายพื้นที่กิจกรรมอื่น มีตัวอย่างสนามเด็กเล่นสร้างปัญญาของ สสส. จะส่งให้ทางคุณธนวัฒน์อีกครั้ง 3.1 พื้นที่ออกแบบด้านสถาปนิก 3.2 กิจกรรมที่ไปทำกับพื้นที่

4 สถาปนิกออกแบบ สถาปนิกออกแบบสถาปัตย์พื้นที่ ผลการออกแบบ (ร่าง) 1) ตลาดนัดบ้านซ่าน 2) ลานเด็กเล่น 3) เส้นทางเดิน – วิ่ง
4) ลาดจอดรถเอนกประสงค์ 5 ทบทวนแบบสถาปัตย์ ทบทวนแบบกับกลุ่มเครือข่ายว่าจะปรับ เพิ่มกิจกรรมอะไรบ้าง ได้แบบสถาปัตย์
6 ทดลองทำกิจกรรม ทดลองทำกิจกรรม ตั้งแต่ช่วงเริ่มโครงการ ถึงหลังโครงการได้ ไม่จำกัดว่าต้องทำช่วงไหน เพิ่มกิจกรรมทางกาย 7 ทำ MOU กับหน่วย ทำ MOU กับหน่วยงานรัฐ ท้องถิ่น ภาคประชาชน ผู้ประกอบการ รองรับโครงการว่าแผน โครงการที่เราออกแบบไว้ ใครจะมาช่วยในปีถัดไป เมื่อจบโครงการแล้ว Mou แบ่งบทบาทความรับผิดชอบ

แผนงานการดำเนินงานต่อในเดือนพฤจิกายน 2565
1. การออกแบบทางสถาปนิก ลานเด็กเล่น ตลาดนัด เส้นทางเดินวิ่ง ลานจอดรถเต้นแอโรบิก
2. หลังจากนี้จะคุยเรื่องเครือข่าย ส่วนเรื่องกิจกรรมที่วางแผนว่าจะจัด กิจกรรมไหนที่จัดได้ก่อนก็จะจัด กิจกรรม อีกส่วนที่จะทำควบคู่กัน คือ การสร้างเครือข่าย ตอนนี้เรามีปัญหาจาก 2 กิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้วทั้งเดิน - วิ่ง และ Zumba ชุมชนรอบข้างยังมาร่วมไม่มากเท่าไหร่ อาจจะต้องลงไปทำกลุ่มย่อยในพื้นที่ 3. การทำแบบสำรวจ Pre Test จะเร่งทำในช่วงนี้ แบบสอบถามสุ่มจำนวน 300 ชุด
4. การตั้งทีมติดตามประเมินผล จะไปช่วยสนับสนุน