สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

วางแผนงาน 30 มีค.65 (ครั้งที่ 2/2565)30 มีนาคม 2565
30
มีนาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วางแผนงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปความก้าวหน้า

  1. tor ได้รับสัญญาให้ทาง สนส.เซ็นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 65
  2. ทีมจุฬารายงานผลจากการสำรวจวันที่ 13-15 ม่ี.ค.65

- ปรับพื้นที่หอนาฬิกาไปทำที่ย่านเมืองเก่า (บริเวณพื้นที่รับผิดชอบของคุณสมยศ) - โจทย์ คน active เมือง active
สิ่งที่คาดหวัง คือ ออกแบบให้คนรู้สึกกระตือรือล้น / ยกระดับเพื้นที่เป้นพื้นที่สุขภาวะ ไม่ใช้

กระบวนการ 1. สำรวจ พื้นที่
- ดูความ active ของคนของเมือง ดูพฤติกรรมสุขภาพคนในพื้นที่ - ออกแบบ หรือ รีวิว - แล้วนำผู้นำชุมชนพื้นที่ ดูแบบที่สถาปนิกได้ออกแบบ หรือ รีวิว มา ให้ร่วมออกแบบและแสดงความคิดเห็น ในการร่วมออกแบบพื้นที่ ให้คนในพื้นที่ตระหนักเรื่อง PA
เราต้องออกแบบการใช้พื้นที่ กิจกรรม (activity) เพื่อเกิดการดำเนินการต่อไปในอนาคต
หลังออกแบบจะต้องมีการก่อสร้าง เพื่อคนในพื้นที่จะสามารถเห็นตัวอย่างผลลัพธ์
งบประมาณการก่อสร้าง สสส ไม่ให้ได้งบมา แต่สนับสนุนการสร้างกระบวนการ

พื้นที่ทีม HSF
- ต้องปรับตัวเลือกพื้นที่ เพื่อออกแบบ แล้วเสนอให้หน่วยงานที่มีอำนาจในการดำเนินการต่อไปต้องเสนอเรื่องตัวเลขที่เป็นผลประโยชน์ให้ชัดเจน
ว่าเมื่อดำเนินการตามที่โครงการได้ออกแบบแล้ว คุณสามารถนำไปประชาสัมพันธ์ ดันเป้นจุดขายของเมืองได้ ให้เห็นประโยชน์ที่ชัดเจนว่าสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาได้
เป็นจุดขายหนึ่งของพื้นที่ได้ นอกเหนือจากสุขภาพของคนในพื้นที่แล้ว
- เช่น หาดป่าตองอาจเสริมเรื่องการออกกำลัง มีหลักสูตรการสอนเต้นแอโรบิค
เลือกพื้นที่ที่เชื่อมกันได้ เช่นเขารังไปย่านเมืองเก่า


ใน ม.อ. มีสนามกีฬา เเต่ไม่มีคนเล่น เเต่เราจะทำอย่างไรใให้ คนมาใช้พื้นที่นั้น งานเเรก พฤติกรรมสุขภาพของคนเเถวนั้นเป็นอย่างไร จากนั้น รีวิวเป็นดราฟ จากนั้นไปจัดกระบวนการกับคนในชุมชน ว่าต้องการอะไร ต้องการเเก้ปัญหาอะไร จะเพิ่มอะไร อยากได้รูปเเบบไหนในพื้นที่กลาง นั้นๆ คิดร่วมกัน ทำนองเดียวกัน ที่เขาหลัก ผู้ประกอบการ เจ้าของเป็นนักธุรกิจ มีโรงเเรมที่เขาหลัก เเละมีพื้นที่ 50-60 ไร่ เเละต้องการขับเคลื่อนเป็นสวนสุขภาพ เเต่ไม่มี activity เลย ตอนเเรกคาดหวังนักท่องเที่ยว ก็เลยคุยกันว่า เอาพื้นที่ เอาเครือข่ายในชุมชนมาทำสมุนไพร ไม่ใช่ผู้ประกอบการทำลำพัง เอากลุ่มในชุมชนมาทำ เช่น กลุ่มปลูกสมุนไพร กลุ่มผลิต ปลูกกัญชา เเล้วนำมาเเปรรูป เเละที่ตรงนี้อยู่ตรงข้ามสวนสาธาณะ เเล้วเวลาคนมาสวน ก็จะสามารถมาทำกิจกรรมที่พืนที่โรงเเรมนี้ด้วย ให้โรงแรมทำงานกับชุมชน ทำงานกับหน่วยงานราชการ สสจ. เทศบาล ศูนย์การเเพทย์กระทรวงสาธาฯ เเละอยู่ติดกับศูนย์เด็กเล็ก เราต้องามองดูความเชื่อมโยง กับหน่วยงานเหล่านี้

ทีม อ.พนิต เช่น หอนาฬิกาไม่ปิ้งเท่าไหร่ เเต่ย่านเมืองเก่าที่คนไปเยอะ เราจะขยายไปสู่พื้นที่รอบข้างให้มีกิจกรรมเพิ่มขึ้นอย่างไร สวนสะพานหินก็เช่นกัน เราจะต้องทำอย่างไรให้มีกิจกรรมเพิ่มขึ้น ย่านเมืองเก่าปกติ ก็มีร้านค้า เเละคนก็เดินไปดูร้านค้าซื้อของ เเต่สิ่งสำคัญต้องทำความร่วมมือกับ stake holder ตรงนั้น เเละออกเเบบทำความร่วมมือกัน เอาเค้าเข้ามาสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ตระหนักถึง pa เเละช่วยทำให้เมืองเเอคทีฟ ที่ปาตองเราจะไม่เปลี่ยนเเบบเค้า เเต่จะไปเสริมเเบบ ตามมุมมองเรา เค้ามีเเบบหมด เเต่เค้าไม่มีกระบวนการจะทำให้เกิด activity เข่น กีฬาทางน้ำที่ป่าต้อง อาจต้องมีใครมาช่วย เป็น activity ที่ทุกคนต้องเห็นพ้องต้องกัน เเละอยากใช้ ทำอย่างไรให้มีคนรับผิดชอบเรื่องการบริหารจัดการพื้นที่ตรงนี้ต่อได้ด้วย พนิต เราเห็นตรงกันอยู่เเล้ว คือ ร่วมกันออกเเเบบ กับ stake holder เช่น ชมรมไทเก็ก เเละอาจต้องมีส่วนร่วมของเทศบาลด้วย เช่น เทศบาลอาจชวนมาด้วยภายในหนึ่งสัปดาห์ เเละ เค้าจัดการกันเอง ในเวลาที่เหลือ การทำ stakeholder analysis

อ.พนิต : หลังที่ออกเเบบเเล้ว ใครจะมาดำเนินการก่อสร้างต่อเพราะโดยปกติ ที่ทำอยู่ก็คือ ออกเเบบเสร็จ ก็จะมีการจัดการสร้างพื้นที่นั้นๆได้เลยทันที ในงบประมาณที่ไม่มาก พงค์เทพ : สสส.ให้งบเเค่ทำกระบวนการ ในส่วน ม.อ.ภูเก็ต อาจจะมีการปรับพื้นที่เล็กๆน้อยๆ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยก็น่าจะใช้เงินของ มหาวิทยาลัยในการปรับปรุงซึ่งนี่าจะเป็นเงินไม่มาก ในส่วนพื้นที่ทั้งสามพื้นที่ก็ต้องใช้ลักษณะเเบบนี้ ก็คือ เจ้าของพื้นที่ก็ต้องมีการบูรณาการการใช้งบ หรือ สนับสนุน อาจคุยกับท้องถิ่นในการสนับสนุน

อ.พนิต : หารือ เป็นไปได้หรือไม่บางส่วนของบางพื้นที่เป็นพื้นที่ที่เอกชน หรือคนที่พร้อมที่จะทำต่อจะได้เป็นภาพลักษณ์ที่ดี ถ้าอาจารย์สามารถหาพื้นที่ที่มีเอกชนพร้อมที่จะเอาไปทำต่อ เราจะได้ทำตรงนีได้อย่างชัดเจน

อ.พงค์เทพ : ที่ผมเลือกพื้นที่ย่านเมืองเก่า ประธานอยากทำมา (คุณสมยศ) เเต่พอถ้าเลือกหอนาฬิกาเเล้วเป็นของเทศบาล เค้าอาจจะไม่ไ่ด้มีใครสานต่อ หรือสานต่อยาก ป่าตอง : เค้ามีเเบบ เค้าอยากให้เราร่วมออกเเบบ เป็นย่านปราบเศียร ย่านโลกีย์ เเละมีผู้ประกอบการอยู่เยอะ เเต่ถ้าเราทำได้ จะทำให้ผู้ประกอบการเห็นโอกาส เเละได้ใช้พื้นที่ได้อย่างเต็มที่ สวนสาธารณะ : เทศบาลรับผิดชอบ


เป้า
1. เห็นแบบของทั้ง 2 ทีม เป็นรูปร่างที่ชัดเจน

1) พื้นที่บนบริเวณชายหาดป่าตอง ที่จะมีกิจกรรมเดิน วิ่ง จักรยาน การละเล่น กีฬา อาหาร 2) พื้นที่ย่านเมืองเก่า ที่จะมีกิจกรรมการเดิน การละเล่น อาหาร และเป็นโครงข่ายเชื่อมพื้นที่ที่มีกิจกรรมทางกายในเขตเมือง 3) พื้นที่สวนสาธารณะสะพานหิน เขารัง และสวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ที่จะมีกิจกรรมเดิน วิ่ง จักรยาน การละเล่น กีฬา อาหาร 4) พื้นที่ศูนย์กีฬาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ที่จะมีกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถนะร่างกายโดยกีฬา การละเล่น และ ศาสตร์แพทย์แผนไทย 5) พื้นที่ในโรงแรม ที่จะมีกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถนะร่างกายโดยกีฬา การละเล่น อาหารและ ศาสตร์แพทย์แผนไทย


  1. เอาแบบที่ได้ไปนำเสนอกับชุมชนเพื่อร่วมรับฟังความคิดเห็น
    โดยนัดคนในพื้นที่มาร่วมแสดงความคิดเห็น
    ต้องนัดคนในชุมชน

  1. นัดคุยกับนัท ดูแบบสถาปนิค

- นัดคุยกับอาจารย์พัน


  1. ให้ทีมรองพัน และทีมอาจารย์พนิตจัดทำแผนการดำเนินงาน พร้อมงบประมาณ
    เอาแผนนี้มานำเสนอ

  1. สนส.เตรียม tor ย่อยให้กับ 2 ทีม เซ็นต์

  1. สนส.ส่งเอกสารที่เกี่ยวกับการเงินและร่างแผนกิจกรรม

- ทีม อ.พนิต - ทีมรองพัน


  1. การตอบตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดโครงการ 1. ประชาชนที่มีภาวะเนือยนิ่งมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10 (วัดจากกลุ่มที่มาทำกิจกรรมทางกายใน 5 พื้นที่) - วัดก่อนศึกษา /ศึกษาข้อมูล PA ใน 5 พื้นที่ก่อน / ศึกษาทุติยภูมิ / จัดวงคุยในพื้นที่ / ขอข้อมูลอาจารย์ปูประเมิน HIA - ตอนนี้มีคนออกกำลังกายเท่าไร

  1. ประชาชนที่มีกิจกรรมทางกายอยู่แล้ว เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายในระดับที่เพียงพอ ร้อยละ 10 (วัดจากกลุ่มที่มาทำกิจกรรมทางกายใน 5 พื้นที่)

- วัดก่อนศึกษา / ศึกษาข้อมูล PA ใน 5 พื้นที่ก่อน / ศึกษาทุติยภูมิ / จัดวงคุยในพื้นที่ / ขอข้อมูลอาจารย์ปูประเมิน HIA

  1. นักท่องเที่ยวที่เข้ามาใน 5 พื้นที่ เข้าร่วมกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20

- วัดก่อนข้อมูลนักท่องเที่ยวเข้ามาเพิ่มขึ้น / สำรวจก่อน / หรือข้อมูลทุติยภูมิ

  1. ใน 5 พื้นที่มีแผนและโครงการปรับสภาพแวดล้อมและมีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพออย่างต่อเนื่อง

  2. มีข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างภาคเอกชน ท้องถิ่น ชุมชน และภาคการศึกษา ในการพัฒนาภูเก็ตเป็นเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายระดับประเทศและนานาชาติ

  3. มีแผนในการพัฒนาภูเก็ตเป็นเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายระดับประเทศและนานาชาติ

  4. แผนและโครงการใน 5 พื้นที่ มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกายและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมพื้นถิ่น

- คุยกับ อปท.โรงแรม มหาวิทยาลัย


โรงแรม การจัดวงคุยในระดับนโยบาย
- โปรแกรม post covid ติดต่อกับสาธารณสุขจังหวัด - อาหารสมุนไพร ติดต่อกับสาธารณสุขจังหวัด/ ผู้ว่าราชการจังหวัด

Post Covid Program 1. เปิดบริการจริงที่ เขาหลัก La Flora Program/บาท แพทย์แผนไทย/ /บริหารจัดการ Product
ได้เป็นต้นแบบ 3 - 4 เดือน 2.เริ่มอบรม – ผู้ประกอบการ: การอบรมผู้ประกอบการ/เตรียมความพร้อม/ hotel wellness - แพทย์แผนไทย ขยายในภูเก็ต/เขาหลัก - prachtion หลักสูตร/งาน Wellness วิทยาเขต