สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

ประชุมหารือเรื่องการทำแผนและโครงการเพื่อพัฒนาพื้นที่สุขภาวะภูเก็ตเมืองต้นแบบเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย20 เมษายน 2566
20
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการ ประชุมหารือเรื่องการทำแผนและโครงการเพื่อพัฒนาพื้นที่สุขภาวะภูเก็ตเมืองต้นแบบเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย ในวันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน 2566 เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมเก็ตโฮ่ ชั้น 5 อาคาร 7 (อาคารสำนักงานอธิการบดี) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อประสานความร่วมมือกับเครือข่ายและกลไกทางสังคมในการขับเคลื่อนเมืองภูเก็ตสู่เมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย 1.2 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการทำแผนและโครงการเพื่อพัฒนาพื้นที่สุขภาวะเมืองต้นแบบเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย

2.1 คณะผู้เข้าร่วม จำนวน 52 คน ประกอบด้วย
1) คณะผู้บริหารเทศบาลนครภูเก็ต และกองการแพทย์
2) คณะผู้บริหารเทศบาลเมืองป่าตอง และผู้อำนวยการกองฯ 3) คณะผู้บริหารเทศบาลเมืองกะทู้ และผู้อำนวยการกองฯ 4) ภาคประชาสังคมพื้นที่ย่านเมืองเก่า 5) ภาคประชาสังคมพื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
6) ภาคประชาสังคมพื้นที่หาดป่าตอง
7) กลไกสมัชชาสุขภาพจังหวัดภูเก็ต
8 ) อาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 9) คณะทำงานโครงการ ศูนย์บริการวิชาการ ม.อ.ภูเก็ต, สนส.ม.อ., HSF จุฬาฯ


กำหนดการ 09.30 - 10.00 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม และแนวทางความร่วมมือในการพัฒนาภูเก็ตสู่เมืองต้นแบบส่งเสริมสุขภาพ
โดย... ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์
10.00 – 12.00 น. หารือเรื่องแผนและโครงการสำคัญที่ควรดำเนินการเพื่อพัฒนาภูเก็ตสู่เมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย โดย... ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ และผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

หารือแนวทางร่วมกัน ดังนี้ กิจกรรมเพื่อการขับเคลื่อน PA "คน Active เมือง Active เพื่อการพัฒนาเมือง"

  1. การสำรวจสถานการณ์ PA เพียงพอในกลุ่ม เด็ก/วัยทำงาน/ผู้สูงอายุ ความต้องการในการเพิ่ม PA ของแต่ละกลุ่ม
    1) การสัญจร เดิน/จักรยาน 2) การเรียน / การทำงาน 3) นัทนาการ/ออกกำลังกาย/กีฬา

  2. การทำแผนเพิ่ม PA ของกองทุนสุขภาพท้องถิ่น/งบประมาณของท้องถิ่น

  3. การพัฒนา/เขียนโครงการ เพื่อขอการสนับสนุนจากท้องถิ่น โดยเป็นโครงการของชุมชน/หน่วยงาน/ท้องถิ่น "สอดคล้องกับสถาปัตย์เมือง" 1) การสัญจร เดิน/จักรยาน 2) การเรียน / การทำงาน 3) นัทนาการ/ออกกำลังกาย/กีฬา

  4. การดำเนินงานตามโครงการ

  5. การสรุป/ประเมินผลสถานการณ์ PA ในชุมชน