สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

ถอดบทเรียนโครงการ PA ภูเก็ต30 สิงหาคม 2566
30
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
  • พื้นที่สุขภาวะและกิจกรรม PA ภูเก็ต.pdf
  • ประเด็นคำถามการสัมภาษณ์เรื่องเครื่องมือ.pdf
  • 2023-08-28 ประเด็นคำถามและเทคนิคพื้นที่สุขภาวะโ.pdf
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คำถามถอดบทเรียน
ประเด็นคำถามสำหรับการสัมภาษณ์เรื่องเครื่องมือและเทคนิค (Tool and technique) ในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย
1 ความเป็นมาของการเลือกพื้นที่ 5 แห่งสำหรับการพัฒนาเป็นพื้นที่สุขภาวะโครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบฯ
2 กระบวนการทำงานพัฒนาพื้นที่สุขภาวะในแต่ละพื้นที่ย่อย และเครื่องมือที่เลือกใช้ในแต่ละขั้น 3 ผลที่ได้รับจากการใช้แต่ละเครื่องมือ ความเหมาะสมของเครื่องมือ อุปสรรคของการใช้เครื่องมือ และแนวทาง การแก้ปัญหา
4 ที่มาของแนวคิดในแต่ละพื้นที่ และความสอดคล้องจากผลที่ได้จากเครื่องมือในกระบวนการทำงาน
5 ผลที่ได้รับ และความสอดคล้องจากผลที่ได้จากเครื่องมือในกระบวนการทำงาน และวัตถุประสงค์โครงการ
6 Key factor ของการทำแต่ละพื้นที่ให้ประสบความสำเร็จ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประเด็นคำถามสำหรับการสัมภาษณ์เรื่องเครื่องมือและเทคนิค (Tool and technique) ในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะโครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย 1. ความเป็นมาของการเลือกพื้นที่ 5 แห่งสำหรับการพัฒนาเป็นพื้นที่สุขภาวะโครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบฯ จังหวัดภูเก็ตมีรายได้จากการท่องเที่ยวกระแสหลัก หลังจากที่มีการระบาดของ Covid-19 ทำให้เศรษฐกิจของภูเก็ตได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยมูลค่าการท่องเที่ยวช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคมในปี 2562 เท่ากับ 210,635 ล้านบาท และในปี 2564 เท่ากับ 38,527 ล้านบาท ลดลง -81,709 % ทำให้กลุ่มภาคเอกชน ภาครัฐ และ ภาคประชาสังคม ในจังหวัดภูเก็ต ได้มีการรวมตัวกันและจัดทำแนวทางการฟื้นฟูแผนพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ต 3 ระยะ
1. แผนระยะสั้น ต้องดึงกลุ่มนักท่องเที่ยวให้กลับเข้ามาพำนักในจังหวัดให้มากที่สุด ทั้งในกลุ่มนักท่องเที่ยวรายได้สูง กลุ่มแรงงานทักษะสูง กลุ่มผู้อยู่อาศัยเป็นครอบครัว โดยเพิ่มกิจกรรมการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจเชิงรุก 2. แผนระยะกลาง เป็นการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยเพิ่มรายได้จากการพัฒนาอุตสาหกรรมอื่น ๆ คู่ขนานไปกับการท่องเที่ยว ได้แก่ อุตสาหกรรม Health and Wellness อุตสาหกรรมการศึกษา  อุตสาหกรรม Gastronomy  อุตสาหกรรม Sports and Events  อุตสาหกรรม Smart City 7 ด้าน ได้แก่ Smart Economy, Smart Tourism, Smart Health, Smart Safety, Smart Environment, Smart Education และ Smart Governance อุตสาหกรรม Marina อุตสาหกรรมส่งออกปลาทูน่า
3. แผนระยะยาว ซึ่งเป็นแผนระยะ 5 ปี จังหวัดภูเก็ตควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่มีเป้าหมายเพื่อความยั่งยืนเป็นอันดับแรก รองลงมาคือยังคงต้องเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเล และเพิ่มการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ลำดับถัดมาคือการเป็นศูนย์กลางการประชุมและการจัดนิทรรศการนานาชาติ การเป็นศูนย์กลางการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลก ศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงกีฬา และ การเป็นเมือง Digital จะเห็นว่า จังหวัดภูเก็ต ได้ให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ จากเดิมที่เน้นการท่องเที่ยวกระแสหลักเท่านั้น เป็นการเพิ่มการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงกีฬา ทั้งอุตสาหกรรม Health and Wellness อุตสาหกรรม Gastronomy  อุตสาหกรรม Sports and Events  อุตสาหกรรม Smart City 7 ด้าน โดยการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจครั้งนี้จะทำให้ภูเก็ตเป็นจังหวัดสุขภาวะ และจำเป็นที่จะต้องมีการออกแบบเมืองให้รองรับการเป็นเมืองสุขภาวะ เป็นเมืองน่าอยู่ และเป็นเมืองที่กระฉับกระเฉง (Healthy City is an Active City) เพื่อทำให้การดำเนินงานดังกล่าวข้างต้นบรรลุเป้าหมาย แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายจึงได้ร่วมมือกับสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต และ สมาคมโรงแรมที่พักส่งเสริมสุขภาพอันดามันและอ่าวไทย ร่วมกันจัดทำโครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 2. เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของนักท่องเที่ยว 3. เพื่อสนับสนุนให้เมืองภูเก็ตเป็นเมืองที่มีสภาพแวดล้อมที่กระฉับกระเฉง (Active Environment) 4. เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือกับเครือข่ายและกลไกทางสังคมในการพัฒนาภูเก็ตเป็นเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายระดับประเทศและนานาชาติ 5. เพื่อขับเคลื่อนการบูรณาการประเด็นกิจกรรมทางกายควบคู่กับวัฒนธรรมการบริโภคอาหารนำไปสู่การลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)

พื้นที่เป้าหมาย และกลุ่มเป้าหมาย ในเมืองภูเก็ตที่จะเป็นต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย ลำดับ พื้นที่เป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย 1 พื้นที่บนบริเวณชายหาดป่าตอง ที่จะมีกิจกรรมเดิน วิ่ง จักรยาน การละเล่น กีฬา อาหาร เทศบาลเมืองป่าตอง ชุมชนป่าตอง
2 พื้นที่ย่านเมืองเก่า ที่จะมีกิจกรรมการเดิน การละเล่น อาหาร และเป็นโครงข่ายเชื่อมพื้นที่ที่มีกิจกรรมทางกายในเขตเมือง เทศบาลนครภูเก็ต ชุมชนย่านเมืองเก่า 3 พื้นที่สวนสาธารณะสะพานหิน ที่จะมีกิจกรรมเดิน วิ่ง จักรยาน การละเล่น กีฬา อาหาร
4 พื้นที่ศูนย์กีฬาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ที่จะมีกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถนะร่างกายโดยกีฬา การละเล่น และ ศาสตร์แพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
เทศบาลเมืองกะทู้
5 พื้นที่ในโรงแรม ที่จะมีกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถนะร่างกายโดยกีฬา การละเล่น อาหารและ ศาสตร์แพทย์แผนไทย สมาคมโรงแรมที่พักส่งเสริมสุขภาพอันดามันและอ่าวไทย

วิธีดำเนินการ 1. การทบทวนรูปแบบเมืองต้นแบบทั้งในและต่างประเทศ 2. การประสานความร่วมมือกับ 8 กลุ่มเป้าหมายที่จะเป็นเครือข่ายและกลไกทางสังคม 3. การประชุมเชิงปฏิบัติการการออกแบบพื้นที่และสร้างร่วมมือ 5 ครั้ง 4. กระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมในพื้นที่และการสนับสนุนปฏิบัติการในพื้นที่ 5. การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการทบทวนและสรุปแบบพื้นที่และการวางแผนการดำเนินงาน 5 ครั้ง
กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการทบทวนและสรุปแบบพื้นที่และการวางแผนการดำเนินงาน 5 ครั้ง กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 6. การประชุมรับฟังความเห็นและการสร้างพันธะสัญญาสาธารณะระหว่าง หน่วยงานรัฐ ท้องถิ่น ภาคประชาชน ภาคผู้ประกอบการในการขับเคลื่อนตัวแบบในพื้นที่ต่างๆ รวมถึงการนำไปประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะทั้งในพื้นที่และต่างประเทศ 7. การประชุมเพื่อวางระบบการติดตามประเมินผลของกลไกขับเคลื่อนในพื้นที่ 8. สรุปโครงการและจัดทำรายงาน

  1. กระบวนการทำงานพัฒนาพื้นที่สุขภาวะในแต่ละพื้นที่ย่อย และเครื่องมือที่เลือกใช้ในแต่ละขั้น กระบวนการในภาพรวมของทั้งสองพื้นที่แบ่งการดำเนินการเป็น 3 เฟส ได้แก่ เฟส 1 : การสำรวจและเก็บข้อมูล
    เฟส 2 : การสร้างแนวคิดงานออกแบบ เฟส 3 : การนำแนวคิดไปทดสอบและปฏิบัติจริง ซึ่งทั้งสามเฟสนี้เป็นกระบวนการที่ทำซ้ำไปซ้ำมา

เฟส 1: การสำรวจและเก็บข้อมูล ประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1.1 การทำความเข้าใจปัญหา เครื่องมือและเทคนิคที่นำมาใช้ :
- การทบทวนนิยาม (Reframing) เป็นการกำหนดขอบเขตสร้างความเข้าใจที่ตรงกันในกลุ่มทำงานที่เกี่ยวข้อง - ระบุผู้ที่เกี่ยวข้อง (Stakeholder Map) เป็นการพิจารณาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ - ระบุระบบต่างๆ (System Map) ระบุระบบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงาน เช่น การสัญจร, การเดินทาง, การเข้าใช้งาน
1.2 การเก็บข้อมูลเชิงลึก เครื่องมือและเทคนิคนำมาใช้ :
- การลงรายละเอียดสิ่งที่ได้สังเกตมา (Observation Capture) บันทึกถ่ายภาพ และเขียนความรู้สึก - การสัมภาษณ์ (Interview Guide) สัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้พื้นที่ - ทบทวนทำความเข้าใจปัญหา (Refine Your Approach) เพื่อตรวจสอบว่าสิ่งที่ได้ทำไปแล้วถูกต้องหรือไม่ 1.3 การสังเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือและเทคนิคนำมาใช้ :
- สังเคราะห์ข้อมูล (P.O.I.N.T)เพื่อหาความเข้าใจเชิงลึก P Problems ปัญหาที่สังเกตพบ O Opportunities โอกาสในการแก้ปัญหา I Insights ความเข้าใจเชิงลึกที่ได้รับ N Needs ความต้องการของผู้ใช้ T Themes แนวคิดที่เกิดขึ้น

เฟส 2: การสร้างแนวคิดงานออกแบบ ประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 2.1 การค้นหาแนวคิด เครื่องมือและเทคนิคนำมาใช้ : - การตั้งคำถามสู่โอกาส (What If) ) เพื่อมองหาโอกาสในแนวทางออกแบบ - การระดมสมอง (Brainstorming) เพื่อเปิดรับไอเดียอย่างเปิดกว้าง - การจัดระเบียบข้อมูล (Genre Mapping) จำแนกรายละเอียดข้อมูลเพื่อช่วยให้เชื่อมต่อความต้องการของผู้ใช้ - การแบ่งปันเรื่องราว (Storytelling) การเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องกับพื้นที่ได้เล่าเรื่องราวหรือแนวคิดการใช้พื้นที่ 2.2 การร่วมกันสร้างสรรค์     เครื่องมือและเทคนิคนำมาใช้ : - การระดมสมองจากผู้เชี่ยวชาญ (Expert Panel) รับฟังความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ - การสุมหัวออกแบบ (Design Jams) การร่วมแบ่งปันไอเดียในการออกแบบกับนักออกแบบ 2.3 สรุปแนวคิดหลัก     เครื่องมือและเทคนิคนำมาใช้ : - มองรายละเอียดการปฏิสัมพันธ์ (Zoom Out - Concepts) - มองรายละเอียดแต่ละสถานการณ์ (Zoom In - Scenarios) - มองรายละเอียดการปฏิสัมพันธ์ (Zoom Right In - Interactions)

เฟส 3: การนำแนวคิดไปทดสอบและปฏิบัติจริง     เครื่องมือและเทคนิคนำมาใช้ : - การทำตัวแบบทดลอง (Mock Up)
- การทำแบบจำลองภาพสามมิติ (3D Modeling) - การรับฟังความคิดเห็น (Feedback) - การทำให้เป็นเกมส์ (Gamification)
3. ผลที่ได้รับจากการใช้แต่ละเครื่องมือ ความเหมาะสมของเครื่องมือ อุปสรรคของการใช้เครื่องมือ และแนวทางการแก้ปัญหา - ผลที่ได้รับจากการใช้เครื่องมือ เครื่องมือช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าใจที่มาที่ไปของงานออกแบบ สามารถหาข้อสรุปงานออกแบบที่สามารถสร้างประโยชน์ได้เป็นรูปธรรม สร้างพื้นที่สุขภาวะที่มีความสนุก - ความเหมาะสมกับเครื่องมือ มีความเหมาะสม - อุปสรรคของการใช้เครื่องมือ ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการทำงาน
- แนวทางการแก้ปัญหา การรวบรวมข้อมูลจากหลายภาคส่วนนำมาวิเคราะห์อาจทำให้มีการตกหล่นหรือมีทิศทางต่างออกไปเมื่อเกิดเป็นประเด็นปัญหา การพูดคุยแลกเปลี่ยน รับฟังข้อคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้คนในพื้นที่โดยตรงเป็นการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพดี

  1. ที่มาของแนวคิดในแต่ละพื้นที่ และความสอดคล้องจากผลที่ได้จากเครื่องมือในกระบวนการทำงาน ส่วนพื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต แนวคิดหลักของพื้นที่คือ “พื้นที่สุขภาวะสร้างความเชื่อที่ดี” มาจากกระบวนการทำงานในการสำรวจและเก็บข้อมูล และ การสร้างแนวคิดงานออกแบบ ที่ทำให้ค้นพบว่า ผู้คนในพื้นที่ขาดความเชื่อมั่นในศักยภาพของพื้นที่ เครื่องมือในกระบวนการทำงานช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าใจ จุดเด่น จุดด้อย ของพื้นที่โครงการ นำมาสู่การพัฒนาแบบที่เหมาะสม

ส่วนพื้นที่เขาหลัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา แนวคิดในการออกแบบพื้นที่คือ “การสร้างระบบนิเวศน์ที่ยั่งยืน (Zero-Waste and Sustainable)” เพื่อเป็นการสร้างพื้นที่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เป็นต้นแบบเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพรองรับการพัฒนาเขตระเบียงเศรษฐกิจเวลเนสอันดามัน (AWC) ตามแนวทางการขับเคลื่อนงานพัฒนาเชิงพื้นที่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2567 และยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 เครื่องมือในกระบวนการทำงานถูกนำมาใช้เพื่อนำเสนอความเป็นไปได้ในการออกแบบและแนวทางใช้ประโยชน์ในเชิงพื้นที่สุขภาวะให้กับพื้นที่

  1. ผลที่ได้รับ และความสอดคล้องจากผลที่ได้จากเครื่องมือในกระบวนการทำงาน และวัตถุประสงค์โครงการ ส่วนพื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เกิดเป็นงานออกแบบพื้นที่สุขภาวะที่นอกจากจะช่วยเพิ่มกิจกรรมทางกายแล้วยังเป็นการสร้างความเชื่อที่ช่วยให้พื้นที่มีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น บุคลากรในพื้นที่เล็งเห็นถึงการใช้ศิลปะและการออกแบบสร้างกิจกรรมในรูปแบบใหม่ๆ

ส่วนพื้นที่เขาหลัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา มีการปรับเปลี่ยนผังโครงการให้เกิดการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เครื่องมือช่วยให้เกิดการพูดคุยอยู่อยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง เป็นการบรรเทาข้อคิดเห็นที่ขัดแย้งในขั้นตอนการออกแบบ ช่วยให้โครงการดำเนินการอย่างราบรื่น

  1. Key factor ของการทำแต่ละพื้นที่ให้ประสบความสำเร็จ ปัจจัยสำคัญของการทำแต่ละพื้นที่ให้ประสบความสำเร็จ 1.คน > ทีมงานประจำโครงการที่ช่วยในการประสานงาน ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
    2.การผสมผสานแนวคิด > ผสานแนวคิดที่หลากหลาย เชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกันทำให้เกิดการใช้พื้นที่อย่างสร้างสรรค์ 3.การรับฟังความคิดเห็น > เปิดเผยแนวคิดการออกแบบและรับฟังข้อคิดเห็น นำมาปรับปรุงเพื่อให้งานออกแบบดียิ่งขึ้น 4.การทำให้ง่าย > ออกแบบการใช้งานที่ง่าย สะดวกสบายต่อผู้ใช้ รวมถึงการซ่อมบำรุงดูแลรักษาในระยะยาว 5.การตอบสนองความต้องการที่แท้จริง > มองหาความต้องการที่แท้จริงของพื้นที่และส่งเสริมจุดเด่นของพื้นที่ 6.ความยืดหยุ่น > เปิดพื้นที่ปรับเปลี่ยนแบบตามสถานการณ์เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ใช้มากที่สุด