โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)
ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามความก้าวหน้าการออกแบบพื้นที่โครงการ
1 ปรับแบบสอบถามเพิ่มเติม ให้ทราบถึงข้อมูลสถานการณ์ และสอดรับแนวคิดศูนย์สุขภาพนานาชาติและศูนย์การแพทย์แผนไทย
2 การเก็บข้อมูลสถานการณ์ PA - เก็บข้อมูลใน มอ เพิ่มเติมในส่วนของบุคลากรและนักศึกษา - เก็บข้อมูล ในกลุ่มประชาชนรอบมหาวิทยาลัย ครอบคลุมทุกชุมชน และทุกช่วงวัย (เด็ก วัยทำงาน ผู้สูงอายุ) โดยอาจจะจ้างนักศึกษาช่วยเก็บข้อมูล
3 การสอบถามความคิดเห็นกับกลุ่มประชาชนรอบ มอ. - เนื่องจากการนัดกลุ่มประชาชนในพื้นที่ค่อนข้างยาก จึงอาจนัดคุยกับชุมชนในช่วงที่ชุมชนมีการประชุมอยู่แล้ว สำหรับชุมชนโดยรอบ มอ. - เก็บข้อมูล ตามกลุ่มวัย เช่น กลุ่มผู้สูงอายุจากชมรม กลุ่มวัยเด็กจากโรงเรียน กลุ่มวัยทำงานจากวิสาหกิจชุมชน แกนนำชุมชน กรรมการชุมชน โดยประชุมกลุ่มแต่ละกลุ่มเพื่อสอบถามความคิดเห็น ความต้องการเข้ามาใช้ประโยชน์พื้นที่ มอ.
4 การเปิดโอกาสให้แต่ละกลุ่มเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่ โดยจัดกิจกรรมสำรวจพื้นที่ มอ. ในกลุ่มเด็กจากโรงเรียนในพื้นที่ และให้กลุ่มผู้สูงอายุ และวัยทำงานเข้าร่วมกิจกรรม