สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกายและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ครั้งที่ 110 มีนาคม 2566
10
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
  • 100366 สถานการณ์pa และความสำคัญ.pdf
  • สรุปประชุม 10 มีค 66.pdf
  • สรุปประชุม 10 มีค 66.docx
  • กำหนดการประชุม วันที่ 10 มีนาคม 66.pdf
  • กำหนดการประชุม 10 มีค.66 ม.อ.ภูเก็ต.doc
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการ การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกาย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 - 16.30 น.
ณ ห้องประชุม To be Number One ชั้น 1 อาคาร 5 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่มีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอ
1.2 เพื่อจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกายและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมพื้นถิ่นนำไปสู่การลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรั้ง (NCDs) 1.3 เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของนักท่องเที่ยว 1.4 เพื่อสนับสนุนให้เมืองภูเก็ตเป็นเมืองที่มีสภาพแวดล้อมที่กระฉับกระเฉง (Active Environment) กำหนดการ
เวลา รายละเอียด 09.00 - 09.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 09.30 - 09.45 น. กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม
โดย... ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
      รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 09.45 - 10.00 น. ข้อมูลสถานการณ์การมีกิจกรรมทางกาย (Physical Activity) และความสำคัญของโครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย โดย...นายธนวัฒน์ วงศ์ลักษณพันธ์ รักษาการหัวหน้างานงานบริการวิชาการ วิจัย และประชาสัมพันธ์
10.00 - 10.45 น. แนวคิดการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกายและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดย... ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
        รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 10.45 - 12.00 น. ระดมความคิดจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกายและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมพื้นถิ่นนำไปสู่การลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรั้ง (NCDs) ผู้ดำเนินการประชุม : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และคณะทำงาน โดย Stakeholders ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
- เทศบาลนครภูเก็ต, เทศบาลเมืองป่าตอง, เทศบาลเมืองกระทู้ จ.ภูเก็ต - เทศบาลตำบลคึกคัก จ.พังงา - ภาคประชาสังคม ชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต, พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว, ชุมชนชาร์เตอร์เเบงค์, ชุมชนบ่านซ้านจุ้ยตุ่ย และชุมชนรอบ ม.อ.ภูเก็ต
- อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
- สาธารณสุข/รพสต. - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียน - ชมรมผู้สูงอายุ, ชมรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ออกกำลังกาย กีฬา ฯลฯ
12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 14.00 น. ระดมความคิดจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกายและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมพื้นถิ่นนำไปสู่การลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรั้ง (NCDs) (ต่อ) 14.00 - 16.00 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้/นำเสนอแผนและโครงการส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกายและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
ผู้ดำเนินการประชุม: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และคณะทำงาน โดย Stakeholders ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
16.00 -16.30 น. สรุปการประชุม โดย... ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
        รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

อ.พงค์เทพ แนะนำการทำแผน
การทำแผน มี 4 คำ คือ 1. อยู่ไหน 2. จะไปไหน 3. ไปอย่างไร 4. ไปถึงแล้วยัง
1) อยู่ไหน : สถานการณ์ปัญหามีมากน้อยแค่ไหน  /
คนภูเก็ต มีกิจกรรมทางกายกี่เปอร์เซ็นต์ รู้ปัญหาไม่พอ ต้องรู้ขนาดปัญหาด้วย
มีคนออกกำลังกายกี่เปอร์เซ็นต์ ปัญหามีมากน้อยแค่ไหน 2) จะไปไหน: เป้าหมาย
จะเพิ่มคนออกกำลังกายเป็นกี่เปอร์เซ็นต์
วัตถุประสงค์โครงการจะทำอะไร /มีเป้าหมาย/ลดปัญหา/เพิ่มการพัฒนามากน้อยเพียงใด 3) ไปอย่างไร : วิธีการเป้าหมายที่จะไปถึงวิธีการ
วิธีการจะต่างกัน
การเต้นแอโรบิค 40 คน เพิ่มเป็น 400 คน
การสร้างคนนำเต้น
จะมีวิธีการกิจกรรมอะไรบ้าง/ใครต้องทำอะไร/ใช้เงินเท่าไหร่
4) ไปถึงแล้วยัง : ร่วมประเมินผล ตัวชี้วัดความสำเร็จ/จะวัดอย่างไร
จับหลักให้ได้ ทำไมทำเรื่องนี้ สาเหตุจากอะไร
จะลดปัญหา

Input 1) หลักการทำแผนและโครงการผ่านกองทุนสุขภาพตำบล 2) เครื่องมือระบบเว็บไซต์ทำแผนและเขียนโครงการ
3) แนวคิดเมืองสุขภาวะ/แนวคิดการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

process 1) แนวคิดเมืองสุขภาวะ/แนวคิดการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2) ปฏิบัติการทำแผนและโครงการ - รู้สถานการณ์ PA - รู้เป้าหมาย - ออกแบบโครงการที่ควรดำเนินการเพื่อแก้ปัญหา

Output outcome 1) ได้แผนส่งเสริมกิจกรรม 4 กองทุน ได้แก่ เทศบาลนครภูเก็ต เทศบาลตำบลวิชิต เทศบาลเมืองป่าตอง เทศบาลตำบลฉลอง
2) ได้โครงการที่ควรทำดำเนินการทั้งหมด 33 โครงการ  (แสดงดังไฟลืแนบ)