สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

ประเมินผลภายใน การจัดการปัจจัยเสี่ยงตามแนวทางสันติสุขภาวะ

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ประเมินผลภายใน การจัดการปัจจัยเสี่ยงตามแนวทางสันติสุขภาวะ
ภายใต้โครงการ งานประเมินผลภายใน
ภายใต้องค์กร สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 105,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ ดร.จิรัชยา เจียวก๊ก, ดร.นวพล แก้วสุวรรณ, อ.ฐาณิดาภัทฐ์ แสงทอง
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ 5 จังหวัดภาคใต้ จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2563 31 ม.ค. 2564 70,000.00
2 1 ก.พ. 2564 30 ก.ย. 2564 35,000.00
รวมงบประมาณ 105,000.00
stars
3. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สถานการณ์ปัจจุบัน ความขัดแย้งและความรุนแรงแพร่ขยายทวีขึ้นในสังคมทุกระดับอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เราจึงพบเห็นความขัดแย้งและความรุนแรงในแทบทุกพื้นที่ทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงในครอบครัว การกระทำรุนแรงต่อเด็ก ต่อผู้หญิง ความรุนแรงในโรงเรียนที่เพิ่มขึ้นมาก
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อย่างไรก็ตามศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาวะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดการปัจจัยเสี่ยงตามแนวทางสันติสุขภาวะที่มุ่งเน้นในการพัฒนาและแก้ไขสุขภาวะของประชาชนในระดับรากหญ้าให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยได้มีโครงการการดำเนินภายใต้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จำนวน 317 โครงการตามแกนนำบัณฑิตอาสา ทั้งนี้ ศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาวะ ได้มีการสนับสนุนประมาณในการจัดทำโครงการประเด็นการจัดการปัจจัยเสี่ยงตามแนวทางสันติสุขภาวะ และโครงการประเมินโครงการศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ประเด็นจัดการปัจจัยเสี่ยงตามแนวทางสันติสุขภาวะ ด้วยการประยุกต์ใช้กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) เพื่อกลไกในการประเมินคุณภาพของโครงการต่าง ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

stars
4. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
5. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 บัณฑิตอาสาในพื้นที่ 5 จังหวัด จำนวน 317 คน มีศักยภาพในการพัฒนาโครงการ ดำเนินโครงการพร้อมทั้งการติดตามประเมินผล

ได้บัณทิตอาสาในพื้นที่ 5 จังหวัด จำนวน 200 คน มีศักยภาพในการพัฒนาโครงการ ดำเนินโครงการพร้อมทั้งการติดตามประเมินผล

0.00
2 เกิดแผนงานโครงการการจัดการปัจจัยเสี่ยงตามแนวทางสันติสุขภาวะเพื่อเสนอของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนตำบล อย่างน้อย 317 โครงการ

เกิดแผนงานโครงการการจัดการปัจจัยเสี่ยงตามแนวทางสันติสุขภาวะเพื่อเสนอของงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนตำบล อย่างน้อย 317 โครงการ

0.00
3 ข้อเสนอเชิงนโยบายการดำเนินงานสันติสุขภาวะในพื้นที่ผ่านกลไกบัณฑิตอาสา

การได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการดำเนินงานสันติสุขภาวะในพื้นที่ (ผ่านกลไกบัณฑิตอาสา)

0.00
stars
6. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 230 105,000.00 13 20,722.00
1 ก.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 การกลั่นกรองและการกำหนดขอบเขตการประเมิน (Screening and Scoping ) ครั้งที่ 1 5 5,000.00 -
1 - 30 ก.ย. 63 การกลั่นกรองและการกำหนดขอบเขตการประเมิน (Screening and Scoping ) ครั้งที่ 2 10 5,000.00 -
1 - 31 ต.ค. 63 ขั้นตอนการกลั่นกรองและการกำหนดขอบเขตการประเมิน (Screening and Scoping ) ครั้งที่ 3 10 3,975.00 -
1 - 30 พ.ย. 63 การประเมินผลกระทบ (assessing) (นราธิวาส และยะลา) 45 21,440.00 -
1 - 31 ธ.ค. 63 การประเมินผลกระทบ (assessing) (ปัตตานี และสงขลา) 50 19,630.00 -
1 - 31 ม.ค. 64 การประเมินผลกระทบ (assessing) (สตูล) 30 14,140.00 -
1 - 28 ก.พ. 64 การผลักดันสู่การตัดสินใจ 30 19,370.00 -
1 - 31 มี.ค. 64 การทบทวนร่างรายงานโดยสาธารณะ (Public review) 20 11,820.00 -
22 มี.ค. 64 ประชุมวางแผนการลงพื้นที่ประเมินโครงการบัณฑิตอาสา 0 0.00 0.00
31 มี.ค. 64 การประเมินความพึงพอใจและความรู้ความเข้าใจในการเขียนโครงการเพื่อรับการสนับสนุนงบประมาณ จังหวัดปัตตานี 0 0.00 6,672.00
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 การติดตามประเมินผล 30 4,625.00 -
9 เม.ย. 64 ประชุมปรับแผนการดำเนินงาน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 0 0.00 2,450.00
31 พ.ค. 64 ประชุมเตรียมการจัดทำเครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลฉบับอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเก็บข้อมูลออนไลน์ 0 0.00 100.00
15 มิ.ย. 64 การคัดเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลการประเมินเพื่อประสานงานเชิญเข้าร่วมประชุม 0 0.00 200.00
15 ก.ค. 64 ทดสอบเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลออนไลน์ และรายงานผลการประสานงานเพื่อจัดประชุมเบื้องต้น 0 0.00 0.00
20 ก.ค. 64 ประชุมเพื่อเตรียมการจัดประชุมออนไลน์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวแทนบัณฑิตอาสา 5 จังหวัดชายแดนใต้ 0 0.00 0.00
2 ส.ค. 64 การประชุมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินโครงการรูปแบบออนไลน์จากบัณฑิตอาสาฯ จ.ปัตตานี (เพิ่มเติม) 0 0.00 0.00
3 ส.ค. 64 การประชุมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินโครงการรูปแบบออนไลน์จากบัณฑิตอาสาฯ จ.ยะลา 0 0.00 0.00
4 ส.ค. 64 การประชุมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินโครงการรูปแบบออนไลน์จากบัณฑิตอาสาฯ จ.นราธิวาส 0 0.00 0.00
4 ส.ค. 64 การประชุมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินโครงการรูปแบบออนไลน์จากบัณฑิตอาสาฯ จ.สงขลา 0 0.00 0.00
5 ส.ค. 64 การประชุมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินโครงการรูปแบบออนไลน์จากบัณฑิตอาสาฯ จ.สตูล 0 0.00 0.00
7 ส.ค. 64 ดำเนินการโอนเงินค่าตอบแทนและรายจ่าย ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการประเมินด้วยระบบโอนไลน์ 0 0.00 11,300.00
  1. การกลั่นกรอง (screening) และการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมิน (scoping) ตามกรอบ 6 ด้าน
  2. การประเมินผลกระทบ (assessing)
  3. การทบทวนร่างรายงานโดยสาธารณะ (Public review)
  4. การผลักดันสู่การตัดสินใจ
  5. การติดตามประเมินผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. บัณฑิตอาสาในพื้นที่ 5 จังหวัด เกิดทักษะและมีศักยภาพในการพัฒนาโครงการ พร้อมทั้งมีทักษะในการติดตามประเมินผลโครงการ
  2. เกิดแผนงานโครงการการจัดการปัจจัยเสี่ยงตามแนวทางสันติสุขภาวะเพื่อเสนอของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนตำบล
  3. ได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการดำเนินงานสันติสุขภาวะในพื้นที่ผ่านกลไกบัณฑิตอาสามาตุภูมิ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2563 17:18 น.