สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
ภายใต้องค์กร สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)
รหัสโครงการ 66-00191
วันที่อนุมัติ 3 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 เมษายน 2566 - 30 พฤศจิกายน 2567
งบประมาณ 10,000,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)
ผู้รับผิดชอบโครงการ ดร.เพ็ญ สุขมาก ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ และนายญัตติพงศ์ แก้วทอง
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 074-282900-2
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ yuttipong.k@psu.ac.th
พี่เลี้ยงโครงการ นายญัตติพงศ์ แก้วทอง
พื้นที่ดำเนินการ 4 ภาค (เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้)
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2566 30 ก.ย. 2566 1 ก.พ. 2567 29 ก.พ. 2567 5,000,000.00
2 1 ต.ค. 2566 31 มี.ค. 2567 3,000,000.00
3 1 เม.ย. 2567 31 ส.ค. 2567 1,937,300.00
4 1 ก.ย. 2567 30 ก.ย. 2567 62,700.00
รวมงบประมาณ 10,000,000.00
stars
3. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ความเป็นมา/ หลักการและเหตุผล/ ความสำคัญของปัญหา

กิจกรรมทางกาย (Physical Activity) หมายถึง การเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยกล้ามเนื้อโครงร่าง (Skeletal Muscles) ที่ทำให้เกิดการเผาผลาญพลังงานที่ส่งผลต่อสุขภาพ แบ่งเป็น 3 ระดับตามการใช้แรงกาย ได้แก่ ระดับต่ำ ระดับปานกลาง และระดับหนัก (Mild–Moderate-Vigorous) ซึ่งรวมอยู่ในรูปแบบกิจกรรม 3 ประเภท ได้แก่ กิจกรรมทางกายที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน การเดินทาง และนันทนาการและกีฬา (Work-Transport-Recreation)
จากการติิดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์์กิจกรรมทางกายระดับประเทศ โดยสถาบันวิจัยประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับ สสส. และกระทรวงสาธารณสุข แสดงให้้เห็นว่าทิศทางการมีีกิจกรรมทางกายของประชากรไทยมีีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 1.03 ต่อปี จากร้อยละ 66.3 ในปีี 2555 (ปีีฐานของการสำรวจ) เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 74.6 ในปีี 2562 (ก่อนสถานการณ์์โควิด-19) อย่างไรก็็ตาม ในช่วงการแพร่่ระบาดของโควิด-19 ในปี 2563 ด้วยข้อจำกัดในการใช้ชีวิตดังที่่เคยเป็นตามปกติิ ส่งผลให้้ระดับการมีกิจกรรมทางกายที่่เพียงพอของคนไทยในภาพรวมลดลงเหลือเพียงร้อยละ 55.5 (ข้อมูล เดือนมีีนาคม 2563) และอยู่ที่่ร้อยละ 65.3 (ข้อมูลเดือนธันวาคม ปี 2563) (แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส., 2565) และกิจกรรมทางกายจะลดลงในกลุ่มวัยเด็กและผู้ที่มีอายุมากขึ้น ขณะที่ในกลุ่มวัยรุ่นเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนกิจกรรมทางกายเพียงพอสูงสุด (ทิศทางและเป้าหมายระยะ 10 ปี (พ.ศ.2565-2574) สสส.) การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ เป็นพฤติกรรมสุขภาพที่มีความสำคัญอย่างมากและเป็นหนึ่งใน 5 ปัจจัยเสี่ยงหลักด้านสุขภาพ ในการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable Diseases: NCDs) ของทุกประเทศทั่วโลก
แนวทางการเพิ่มกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของประเทศไทยตามยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพของ สสส. ในระยะ 10 ปีข้างหน้า พ.ศ.2565-2574 ให้ความสำคัญกับการ “สานสามพลัง” ประกอบด้วย พลังปัญญา พลังทางสังคม และพลังนโยบาย รวมทั้งแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส.มีบทบาทในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมกิจกรรมทางกายทั้งในระดับชาติได้พัฒนาแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2561– 2573) ภายใต้ความร่วมมือขององค์กรภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และองค์กรชุมชน เพื่อเป็นกลไกผลักดันพื้นที่สุขภาวะในระดับนโยบายสาธารณะ นำสู่การปฏิบัติและขยายผล โดยหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และร่วมผลักดันนโยบายสาธารณะ “การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น” ในสมัชชาชาติครั้งที่ 10
ในระดับสากล สสส.ได้รับเลือกจาก International Society for Physical Activity and Public Health (ISPAH) ให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติด้านการมีกิจกรรมทางกาย “ISPAH 2016” ผลจากการประชุมทำให้ได้ข้อตกลงร่วมกันของนานาชาติประกาศเป็น Bangkok Declaration on Physical Activity
ที่ผ่านมาแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ดำเนินโครงการร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยใน  ปี 2560-2561 ดำเนินงานที่สำคัญ 3 เรื่อง ได้แก่ 1) การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2) การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายและพัฒนาคุณภาพโครงการโดยร่วมพัฒนายุทธศาสตร์และแนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกายกับกลุ่มเครือข่าย สสส. และกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 3) การวางระบบการพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผล ปี 2562-2563 ดำเนินงานที่สำคัญ 2 เรื่อง ได้แก่ 1) การพัฒนาคุณภาพโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของเครือข่ายแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส.และขยายพื้นที่ดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 2) ขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นสู่การปฏิบัติผลการดำเนินงาน ปี 2564-2565 ดำเนินงานที่สำคัญ 3 เรื่อง ได้แก่
1.ความร่วมมือคณะปฏิรูปประเทศด้านลานกีฬาสาธารณะในการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและเขียนข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
2. การขยายและยกระดับการดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
3. การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ปี 2560-2565 สามารถแบ่งได้ 4 ด้าน ได้ดังนี้ 1. การเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ได้พัฒนาศักยภาพชุมชนให้สามารถจัดการตนเองในการเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย เห็นสถานการณ์ปัญหาและการเก็บข้อมูล และมีทักษะในการทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (PA) การเขียนโครงการ PA และการติดตามประเมินผล PA 1.1 กองทุนสุขภาพตำบล - ปี 2560-2561: แผน 270 กองทุน, พัฒนาโครงการ 577 โครงการ และติดตามโครงการที่ได้รับทุน 1,068 โครงการ - ปี 2562-2563: แผน 519 กองทุน, พัฒนาโครงการ 1,206 โครงการ และติดตามโครงการที่ได้รับทุน 824 โครงการ - ปี 2564-2565: แผน 231 กองทุน, พัฒนาโครงการ 1,234 โครงการ และติดตามโครงการที่ได้รับทุน 1,622 โครงการ
1.2 โครงการเปิดรับทั่วไปกิจกรรมทางกาย สสส. - ปี 2562-2563: พัฒนาโครงการ 308 โครงการ และติดตามโครงการที่ได้รับทุน 60 โครงการ
1.3 ความร่วมมือลานกีฬาสาธารณะ กกท. - ปี 2564-2565: แผน 152 แผนงาน และพัฒนาโครงการ 115 โครงการ 2. การพัฒนาความรู้ความเข้าใจ และทักษะส่วนบุคคล และการพัฒนาขีดความสามารถของเครือข่าย การส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ การทำแผนสุขภาพ แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การทำโครงการที่มีคุณภาพ และการติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ 2.1 ได้พี่เลี้ยงเขตและจังหวัดที่มีศักยภาพส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 142 คน 2.2 ได้พี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบลที่มีศักยภาพส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 2,040 คน
2.3 พี่เลี้ยงโครงการเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมกิจกรรมทางกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ (ประเภทเปิดรับทั่วไป) ที่มีศักยภาพส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 22 คน และครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 616 คน รวม ทั้งหมด 638 คน 2.4 ได้พี่เลี้ยงลานกีฬาสาธารณะที่มีศักยภาพส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 313 คน
2.5 ได้นักวิชาการที่มีศักยภาพส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 27 คน 3. การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3.1 พัฒนาข้อเสนอมติสมัชชาชาติ ครั้งที่ 10 วาระการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น เกิดการสื่อสาร pa ผ่านเครือข่ายสมัชชาจังหวัด 77 จังหวัด จำนวน 5,000 คน และมีองค์กรชาติขับเคลื่อนมติการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 18 องค์กร
3.2 ขับเคลื่อนมติสมัชชากับหน่วยงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ส่งเสริมกิจกรรมทางกายในสถานที่ทำงาน นำร่อง 2 พื้นที่ 3.3 ขับเคลื่อนมติสมัชชากับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย โดยจะนำคู่มือแนะนำแนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะในท้องถิ่น ประยุกต์ใช้กับพื้นที่นำร่อง
3.4 สร้างความร่วมมือคณะปฏิรูปประเทศด้านลานกีฬาสาธารณะฯ นำร่อง ตรัง ราชบุรี 4. การปรับระบบบริการสุขภาพที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการสร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือ ข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน กลไกการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
4.1 กลไกพี่เลี้ยงเขตและจังหวัด ขับเคลื่อนการทำแผน โครงการและติดตามประเมินผล 12 เขต
4.2 กลไกพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบล ทำแผน โครงการและติดตามประเมินผลในพื้นที่กองทุน 4.3 กลไกพี่เลี้ยงลานกีฬาสาธารณะการกีฬาแห่งประเทศไทย นำร่องตรังและราชบุรี ทำแผนและโครงการ
4.4 กลไกวิชาการการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พัฒนาคู่มือ ระบบ ฐานข้อมูลวิชาการการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย กลไกระบบบริการสุขภาพที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 4.5 เกิดกองทุนสุขภาพตำบลฯศูนย์เรียนรู้การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 120 แห่ง เป็นศูนย์ถ่ายทอดการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ 4.6 เกิดการยกระดับกองทุนสุขภาพตำบลฯ ส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับตำบล สู่การส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับอำเภอ โดยผ่านกลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จำนวน 8 พื้นที่

นอกจากนี้มีระบบสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ ได้แก่ คู่มือทำแผนและการเขียนโครงการในกองทุนสุขภาพตำบล คู่มือแนะนำแนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะในท้องถิ่น ข้อมูลถอดบทเรียนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สื่อวิดีทัศน์ส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่กองทุนสุขภาพตำบล และระบบฐานข้อมูลออนไลน์ทำแผน โครงการและติดตามประเมินผล

การวิเคราะห์การดำเนินการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่ผ่านมา Strengths จุดแข็ง - สสส. มีทุนองค์ความรู้การออกแบบพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อ pa เช่น องค์ความรู้จากสถาบันอาศรมศิลป์ , ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) , คู่มือการออกแบบพื้นที่สาธารณะในท้องถิ่นขนาดเล็ก (สนส.ม.อ. ร่วมกับ ศูนย์วิจัยบูรณาการภาพพื้นที่และสังคม) และการจัดการความปลอดภัยในกีฬามวลชน - มติสมัชชาที่เกี่ยวข้องกับ PA วัยเด็กใน มติที่ 5 จัดให้มีหลักสูตรและสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ PA ร่วมกับ ศธ. กระทรวงมหาดไทยฯ
- กลไกพี่เลี้ยงส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
- ฐานข้อมูล PA /องค์ความรู้ PA Weaknesses จุดอ่อน - ประชาชน ยังคงขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการมีกิจกรรมทางกาย
- ประชาชนในทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะวัยเด็ก มีกิจกรรมทางกายเพียงพอลดน้อยลง - พื้นที่สาธารณะสำหรับการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในท้องถิ่น - ชุมชนขาดการเข้าถึงพื้นที่สุขภาวะใกล้บ้านในท้องถิ่นต่างๆ เนื่องจากขาดพื้นที่ที่เป็นรูปธรรมต้นแบบการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่ยังน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับท้องถิ่นทั้งหมดที่มีอยู่
Opportunities โอกาส - เครือข่ายของการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) อาสาสมัครกีฬาและผู้นำการออกกำลังกาย (อสก.) - ความร่วมมือกับสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเครือข่ายสถาปนิก - กระแสความนิยมของคนในสังคมที่ให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย เช่น การจัดงานวิ่ง ปั่นจักรยาน
- นโยบายที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย - แนวโน้มการจัดให้มีการเลือกตั้งเพื่อกำหนดนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย Threats อุปสรรค ข้อจำกัด - สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการทำมาหากิน - สภาพแวดล้อมในปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น การเกิดปัญหาฝุ่นละออง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเกิดภัยธรรมชาติ การระบาดของโควิดที่มีอย่างต่อเนื่อง
- ข้อเสนอนโยบายพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายสู่การก่อสร้างจริงในพื้นที่เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมให้ประชาชนมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นความท้าทายในการดำเนินงาน

  โอกาสการพัฒนา 1.ขับเคลื่อนให้เกิดพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในระดับท้องถิ่น 2. ขยายการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายไปยังภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งเครือข่ายการกีฬาแห่งประเทศไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอให้กับประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน 4. สื่อสารสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

เพื่อทำให้การดำเนินงานดังกล่าวข้างต้นบรรลุเป้าหมาย แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายจึงได้ร่วมมือกับสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกันจัดทำ “โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย” โดยการขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนไทยต่อหน่วยงานกำหนดนโยบายและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย รวมทั้งยกระดับและพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผน/โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ/สื่อสารสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

นิยามเชิงปฏิบัติการของโครงการ
การขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย คือ การมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนในการกำหนดทางเลือกและตัดสินใจนโยบาย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ และส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอในกลุ่มเด็ก เยาวชน โดยใช้กลไกนโยบายและทุนองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายของ สสส. ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้กำหนดนโยบาย (พรรคการเมือง) สู่ผลลัพธ์ได้ข้อเสนอนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย คือ กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการร่วมคิดร่วมออกแบบเพื่อพัฒนาพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมและคำนึงถึงความปลอดภัย โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ถึงสถานการณ์กิจกรรมทางกาย การทำแผน การออกแบบพื้นที่เชิงกายภาพในพื้นที่สาธารณะ และออกแบบกิจกรรมที่เหมาะกับพื้นที่และกลุ่มวัยเพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกาย
การยกระดับและพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย คือ การยกระดับภาคีเครือข่ายการกีฬาแห่งประเทศไทย เครือข่าย อปท. (เครือข่ายสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย) และพัฒนาศักยภาพเครือข่ายให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การทำแผนและสามารถเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพของบประมาณในพื้นที่ รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจและทักษะการจัดการความปลอดภัยจากการออกกำลังกาย
สื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย คือ การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อให้มีความรู้เรื่องนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และมีแผนขั้นตอนการดำเนินการ (Road map) นำไปสู่การสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในประเด็นต่างๆ เช่น การขับเคลื่อนนโยบายประเด็นพื้นที่สุขภาวะ ประเด็นการส่งเสริมกิจกรรมในเด็ก และประเด็นการทำแผนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนสุขภาพตำบล

เป้าประสงค์ของโครงการ (Goal) 1. เพิ่มการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในกลุ่มเด็กและเยาวชน ในศูนย์พัฒนาเด็ก โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน 2. เพิ่มการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในกลุ่มวัยผู้ใหญ่ในชุมชนเพื่อลด NCDs

วัตถุประสงค์ของโครงการ 1. เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนไทยต่อหน่วยงานกำหนดนโยบายและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2. เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย และพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย และพื้นที่ดำเนินการ การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ หน่วยงานกำหนดนโยบายและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง การกีฬาแห่งประเทศไทย เครือข่ายอาสาสมัครกีฬาและผู้นำการออกกำลังกาย กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สื่อท้องถิ่น สื่อภาคใต้ สื่อภาคเหนือ สื่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลักเกณฑ์ในการเลือกพื้นที่ดำเนินงาน - พื้นที่ที่มีศักยภาพและมีความพร้อม/สมัครใจให้ความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำไปสู่การเป็นพื้นที่ต้นแบบและสามารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ ต่อได้
- พื้นที่ที่มีกลไกการทำงานในพื้นที่เข้มแข็ง และแกนนำกลไกมีศักยภาพในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
- พื้นที่ที่มีผู้บริหาร/ผู้ขับเคลื่อนสนับสนุนในเชิงนโยบายของการพัฒนาพื้นที่

ภาคีความร่วมมือ - สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
- สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS) - กระทรวงมหาดไทย (มท.) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เครือข่ายอาสาสมัครกีฬาและผู้นำการออกกำลังกาย (อสก.) - สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) - สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

stars
4. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

วิธีการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์มี 3 เรื่อง ดังนี้
1. การขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนไทยต่อหน่วยงานกำหนดนโยบายและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 1.1 ขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนไทยต่อหน่วยงานกำหนดนโยบายและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 1.1.1 รวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้ นวัตกรรม 1.1.2 พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายด้านพื้นที่สุขภาวะ และการเพิ่มกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในกลุ่มเด็กและเยาวชน โดยใช้การทำงานด้านวิชาการในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ขอเสนอนโยบาย 1.1.3 พิจารณาร่างข้อเสนอ ร่วมกับหน่วยงานกำหนดนโยบายโดยภาครัฐและพรรคการเมือง กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะ 1.1.4 เวทีสาธารณะเพื่อนำเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ร่วมกับพรรคการเมืองและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะ 1.1.5 การติดตามและประเมินผลการผลักดันข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

1.2 การสื่อสารสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 1.2.1 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อให้มีความรู้เรื่อง PA และนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
1.2.2 เครือข่ายสื่อท้องถิ่นเผยแพร่และขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้


2) เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย และพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ 2.1 ขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะกับเครือข่ายการกีฬาแห่งประเทศไทย

2.1.1 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและสามารถเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ เพื่อของบกองทุนสุขภาพตำบลและงบอื่นๆ ในพื้นที่ 2.1.2 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะการจัดการความปลอดภัยจากการออกกำลังกายในลานกีฬาสาธารณะ
2.1.3 กระบวนการออกแบบปรับปรุงพื้นที่ลานกีฬาสาธารณะให้เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย นำร่องพื้นที่ของ กกท.ระดับจังหวัด รวมทั้งสนับสนุนปฏิบัติการเพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายให้เพียงพอ จำนวน 5 พื้นที่ 2.1.4 การติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนงานกับเครือข่ายการกีฬาแห่งประเทศไทย

2.2 ขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะกับเครือข่ายกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตแห่งประเทศไทย และสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย
2.2.1 ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ 2.2.1.1 ทำความร่วมมือกับสมาคมสันนิบาต สมาคม อบต. เพื่อหาพื้นที่นำร่องการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย อย่างน้อยจำนวน 10 พื้นที่ (พื้นที่สาธารณะ ลานเด็กเล่นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนสังกัด อปท.) 2.2.1.2 ขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบสุขภาพในพื้นที่นำร่อง และจัดทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย รวมทั้งสนับสนุนปฏิบัติการเพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายให้เพียงพอ 2.2.1.3 ติดตามประเมินผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ แผนและปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่นำร่อง 2.2.1.4 ผลักดันนโยบายมาตรฐานการออกแบบพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย ไปสู่หน่วยงานระดับนโยบาย 2.2.2 พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2.2.2.1 พัฒนาศักยภาพเครือข่าย ให้จัดทำแผนและเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพเพื่อของบประมาณในพื้นที่ ประกอบด้วย สมาคมสันนิบาต สมาคม อบต. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนในสังกัด อปท. 2.2.2.2 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะการจัดการความปลอดภัยจากการมีกิจกรรมทางกายในพื้นที่สาธารณะ และลานเด็กเล่น


3) ระบบส่งเสริม/ สนับสนุนการดำเนินโครงการ 3.1 ปรับปรุงคู่มือออกแบบพื้นที่สาธารณะ (พื้นที่สาธารณะในท้องถิ่น, ลานกีฬาสาธารณะ, พื้นที่ PA ในสถานศึกษา)
3.2 ปรับปรุงคู่มือทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
3.3 ปรับปรุงฐานระบบติตดามประเมินผล
3.4 การติดตามประเมินผล

stars
5. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนไทยต่อหน่วยงานกำหนดนโยบายและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
  1. ได้ข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและส่งต่อหน่วยงานกำหนดนโยบาย
  2. เครือข่ายสื่อสารสาธารณะขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เหนือ ใต้ อย่างน้อยจำนวน 3 ประเด็น (เช่น พื้นที่สุขภาวะ,ส่งเสริม PA ในเด็กและเยาวชน, แผนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนสุขภาพตำบล)
  3. มีสื่อสารสาธารณะขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ที่เผยแพร่สู่สาธารณะในวงกว้างที่ได้มาจากกิจกรรมโครงการ จำนวน 10 ชิ้น
2 เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย และพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ
  1. อปท.มีแผน และโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย จำนวน 50 แห่ง
  2. มีเครือข่าย กกท.และ อปท. ที่มีศักยภาพในการพัฒนาแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย จำนวน 50 เครือข่าย
  3. พื้นที่ต้นแบบสุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย นำร่อง กกท.และ อปท. 10 พื้นที่
  4. พื้นที่นำร่องขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในสถานศึกษา/ชุมชน 10 พื้นที่
  5. บทเรียน/องค์ความรู้ ในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ 2 เรื่อง

  6. คู่มือออกแบบพื้นที่สาธารณะ

  7. คู่มือทำแผนและโครงการ pa
  8. ฐานข้อมูล PA ระบบเว็บออนไลน์
  9. ข้อมูลติดตามประเมินผลถอดบทเรียน/โมเดล/กระบวนการ
  10. ผลการประเมินผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment (SROI))
stars
6. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67ต.ค. 67พ.ย. 67
1 (P001001) 1.1.1 รวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้ นวัตกรรม(3 เม.ย. 2566-31 ธ.ค. 2566) 38,889.00                                            
2 (P002001) 1.1.2 พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายด้านพื้นที่สุขภาวะ และการเพิ่มกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในกลุ่มเด็กและเยาวชน โดยใช้การทำงานด้านวิชาการในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อเสนอนโยบาย(6 เม.ย. 2566-6 ก.ค. 2567) 0.00                                            
3 (P003001) 1.1.3 พิจารณาร่างข้อเสนอ ร่วมกับหน่วยงานกำหนดนโยบายโดยภาครัฐและพรรคการเมือง กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะ(6 เม.ย. 2566-6 ก.ย. 2567) 0.00                                            
4 (P004001) 1.1.4 เวทีสาธารณะเพื่อนำเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ร่วมกับพรรคการเมืองและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะ(6 เม.ย. 2566-6 ก.ย. 2567) 132,398.00                                            
5 (P005001) 1.1.5 การติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย(6 เม.ย. 2566-6 ก.ย. 2567) 59,760.00                                            
6 (P007001) 1.2.2 เครือข่ายสื่อท้องถิ่นเผยแพร่และขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้(6 เม.ย. 2566-6 ก.ย. 2567) 730,000.00                                            
7 (P013001) 2.2.1.2 ขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบสุขภาพในพื้นที่นำร่อง และจัดทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย(6 เม.ย. 2566-6 ก.ย. 2567) 1,310,568.00                                            
8 (P022001) ค่าวัสดุสำนักงาน/ วัสดุสิ้นเปลือง(6 เม.ย. 2566-6 ก.ย. 2567) 667.00                                            
9 (P023001) ค่าตรวจบัญชี(6 เม.ย. 2566-6 ก.ย. 2567) 64,000.00                                            
10 (P024001) ค่าจ้างผู้ช่วยวิจัยและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ(6 เม.ย. 2566-6 ก.ย. 2567) 240,000.00                                            
11 (MNT000001) ค่าธรรมเนียมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย(6 เม.ย. 2566-6 ก.ย. 2567) 1,254,000.00                                            
12 (P021001) 3.4 การติดตามประเมินผล - การติดตามประเมินผลได้วิเคราะห์แนวทางการขยายผลจากกลุ่มพื้นที่เป้าหมายหรือพื้นที่ต้นแบบ โดยพื้นที่ต้นแบบได้ประเมินผลถอดบทเรียน/โมเดล/กระบวนการ/ความสำเร็จของการขยายผล/ต่อยอด (ผลผลิต/ผลลัพธ์/ผลกระทบ)/ปัจจัยความสำเร็จฯ(6 ก.ย. 2566-6 พ.ย. 2567) 792,136.00                                            
13 (P006001) 1.2.1 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อให้มีความรู้เรื่องกิจกรรมทางกายและนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย(6 พ.ย. 2566-6 ก.ย. 2567) 258,480.00                                            
14 (P008001) 2.1.1 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและสามารถเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพเพื่อของบกองทุนสุขภาพตำบลและงบอื่นๆ ในพื้นที่ (กกท.)(6 พ.ย. 2566-6 ก.ย. 2567) 665,291.00                                            
15 (P009001) 2.1.2 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะการจัดการความปลอดภัยจากการออกกำลังกายในลานกีฬาสาธารณะ(6 พ.ย. 2566-6 ก.ย. 2567) 0.00                                            
16 (P010001) 2.1.3 กระบวนการออกแบบปรับปรุงพื้นที่ลานกีฬาสาธารณะให้เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย นำร่องพื้นที่ของ กกท.ระดับจังหวัด รวมทั้งสนับสนุนปฏิบัติการเพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายให้เพียงพอ จำนวน 5 พื้นที่ มีขั้นตอนดังนี้(6 พ.ย. 2566-6 ก.ย. 2567) 268,000.00                                            
17 (P011001) 2.1.4 การติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนงานกับเครือข่ายการกีฬาแห่งประเทศไทย(6 พ.ย. 2566-6 ก.ย. 2567) 0.00                                            
18 (P012001) 2.2.1.1 ทำความร่วมมือกับสมาคมสันนิบาต สมาคม อบต. เพื่อหาพื้นที่นำร่องการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย อย่างน้อยจำนวน 10 พื้นที่ (พื้นที่สาธารณะ ลานเด็กเล่นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนสังกัด อปท.)(6 พ.ย. 2566-6 พ.ค. 2567) 107,730.00                                            
19 (P014001) 2.2.1.3 ติดตามประเมินผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ แผนและปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่นำร่อง(6 พ.ย. 2566-6 ก.ย. 2567) 128,446.00                                            
20 (P015001) 2.2.1.4 ผลักดันนโยบายมาตรฐานการออกแบบพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย ไปสู่หน่วยงานระดับนโยบาย(6 พ.ย. 2566-6 ก.ย. 2567) 0.00                                            
21 (P016001) 2.2.2.1 พัฒนาศักยภาพเครือข่าย ให้จัดทำแผนและเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพเพื่อของบประมาณในพื้นที่ ประกอบด้วย สมาคมสันนิบาต สมาคม อบต. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนในสังกัด อปท. (อปท.)(6 พ.ย. 2566-6 ก.ย. 2567) 754,548.00                                            
22 (P017001) 2.2.2.2 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะการจัดการความปลอดภัยจากการมีกิจกรรมทางกายในพื้นที่สาธารณะ และลานเด็กเล่น(6 พ.ย. 2566-6 ก.ย. 2567) 0.00                                            
23 (P018001) 3.1 ปรับปรุงคู่มือออกแบบพื้นที่สาธารณะ (พื้นที่สาธารณะในท้องถิ่น, ลานกีฬาสาธารณะ, พื้นที่ PA ในสถานศึกษา)(6 พ.ย. 2566-6 ม.ค. 2566) 0.00                                            
24 (P019001) 3.2 ปรับปรุงคู่มือทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย(6 พ.ย. 2566-6 ม.ค. 2567) 0.00                                            
25 (P020001) 3.3 ปรับปรุงฐานระบบติตดามประเมินผล(6 พ.ย. 2566-6 ก.ย. 2567) 3,934.00                                            
รวม 6,808,847.00
1 (P001001) 1.1.1 รวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้ นวัตกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 38,889.00 9 38,889.00
8 ก.พ. 66 (P001001) ประชุมวางแผนงานและทบทวนreview PAวัยเด็กและพื้นที่สุขภาวะ 0 0.00 0.00
12 พ.ค. 66 (P001001) ประชุมรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้านการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ และการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน 0 1,000.00 1,000.00
26 ก.ค. 66 (P001001) การประชุมออกแบบกระบวนการนโยบายสาธารณะการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เพื่อรวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้นวัตกรรม 0 3,509.00 3,509.00
24 ต.ค. 66 (P001001) การประชุมเพื่อรวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้นวัตกรรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 0 2,340.00 2,340.00
9 พ.ย. 66 (P001001) ประชุมรวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้ นวัตกรรมเรื่องพื้นที่สุขภาวะ ความปลอดภัยด้านกิจกรรมทางกายในพื้นที่สาธารณะ การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อคนไทย 0 2,040.00 2,040.00
13 พ.ย. 66 (P001001) การรวบรวมองค์ความรู้-ชุดความรู้ นวัตกรรม เรื่องพื้นที่สุขภาวะ ความปลอดภัยด้านกิจกรรมทางกายในพื้นที่สาธารณะ การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อคนไทย งวดที่ 1 0 15,000.00 15,000.00
24 พ.ย. 66 (P001001) การประชุมติดตามความก้าวหน้าการทบทวนเอกสาร (Progress report) 0 0.00 0.00
19 ธ.ค. 66 (P001001) รายงานความก้าวหน้าการทบทวนเอกสารพื้นที่สาธารณะ 0 0.00 0.00
22 เม.ย. 67 (P001001) การรวบรวมองค์ความรู้-ชุดความรู้ นวัตกรรม เรื่องพื้นที่สุขภาวะ ความปลอดภัยด้านกิจกรรมทางกายในพื้นที่สาธารณะ การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อคนไทย งวดที่ 2 0 15,000.00 15,000.00
2 (P002001) 1.1.2 พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายด้านพื้นที่สุขภาวะ และการเพิ่มกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในกลุ่มเด็กและเยาวชน โดยใช้การทำงานด้านวิชาการในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อเสนอนโยบาย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 3 0.00
22 ก.พ. 66 ประชุมหารือติดตามมติ PA และแผนเวทีสาธารณะ 0 0.00 0.00
24 ก.พ. 66 ประชุมพัฒนาข้อเสนอนโยบายกับ สช.และเครือข่าย 4 มติ หารือการจัดทำข้อมูลมติกิจกรรมทางกาย, มติพื้นที่สาธารณะ, มติการเดินและการใช้จักรยาน, มติพื้นที่เล่นเด็ก 0 0.00 0.00
18 ก.ค. 66 ประชุมเอกสารนำเข้า PA และกำหนดตัวชี้วัดและแผนติดตามขับเคลื่อนต่อหลังงานสร้างสุข PA 0 0.00 0.00
3 (P003001) 1.1.3 พิจารณาร่างข้อเสนอ ร่วมกับหน่วยงานกำหนดนโยบายโดยภาครัฐและพรรคการเมือง กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
4 (P004001) 1.1.4 เวทีสาธารณะเพื่อนำเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ร่วมกับพรรคการเมืองและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 132,398.00 7 132,398.00
10 มี.ค. 66 นำเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเวทีฟังเสียงประชาชน Scenario Thailand จ.สงขลา 0 0.00 0.00
1 เม.ย. 66 นำเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเวทีฟังเสียงประชาชน Scenario Thailand จังหวัดปัตตานี 0 0.00 0.00
23 - 24 มิ.ย. 66 นำเสนอผลข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในงาน Southern Research Expo and Innovation Showcaase 2023 0 15,815.00 15,815.00
23 ธ.ค. 66 จัดการประชุมเวทีฟอรั่มการจัดการความรู้ ครั้งที่ 2 ภาคใต้ “ร่วมเปลี่ยนการศึกษา เพื่อเด็กทุกคน” 0 13,043.00 13,043.00
13 ม.ค. 67 ประชุมการสื่อสารสาธารณะการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กและเยาวชน 0 13,860.00 13,860.00
4 - 8 มี.ค. 67 การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการจัดการสุขภาวะด้วยกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม 0 79,680.00 79,680.00
1 เม.ย. 67 คณะทำงานเข้าร่วมประชุมการพัฒนาโครงข่ายพื้นที่สุขภาพดี 0 10,000.00 10,000.00
5 (P005001) 1.1.5 การติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 59,760.00 3 59,760.00
3 พ.ย. 66 ประชุมติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 0 3,000.00 3,000.00
26 - 27 ม.ค. 67 ประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนกับภาคเครือข่ายในการพัฒนาแผนกิจกรรมทางกายและตำบลบูรณาการอาหารของท้องถิ่น 0 48,610.00 48,610.00
18 ก.ค. 67 ประชุมติดตามแผนและโครงการกิจกรรมทางกาย เพื่อดำเนินกิจกรรม PA ในพื้นที่ตำบล ปี 2567 ของอำเภอหัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ และอำเภอเขื่องใน จ.อุบลราชธานี และ link: https://zoom.us/j/9019029104 0 8,150.00 8,150.00
6 (P007001) 1.2.2 เครือข่ายสื่อท้องถิ่นเผยแพร่และขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 730,000.00 10 730,000.00
24 เม.ย. 66 หารือทีมสื่อ เรื่องนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 0 0.00 0.00
26 เม.ย. 66 จัดทำสื่อนโยบายสาธารณะขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 0 130,000.00 130,000.00
14 ธ.ค. 66 ประชุมหารือการจัดโมดูลพัฒนาศักยภาพสื่อฯ PA 0 0.00 0.00
20 ก.พ. 67 ค่าจ้างการสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี งวดที่ 1 0 40,000.00 40,000.00
21 ก.พ. 67 ค่าจ้างการสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดตรัง งวดที่ 1 0 40,000.00 40,000.00
14 มี.ค. 67 ค่าจ้างการสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ งวดที่ 1 0 80,000.00 80,000.00
5 เม.ย. 67 ค่าจ้างการสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดน่าน งวดที่ 1 0 60,000.00 60,000.00
5 เม.ย. 67 ค่าจ้างการสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดลำพูน งวดที่ 1 0 60,000.00 60,000.00
22 ส.ค. 67 ประชุมทีมงานสื่อสุราษฎร์ธานี 0 0.00 0.00
30 ก.ย. 67 (Plan) รวมสื่อสาธารณะ 3 ภาค งวด 2 (ค้างจ่าย) 0 320,000.00 320,000.00
7 (P013001) 2.2.1.2 ขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบสุขภาพในพื้นที่นำร่อง และจัดทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 1,310,568.00 26 1,310,568.00
26 พ.ย. 66 - 2 ธ.ค. 66 การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 0 317,910.00 317,910.00
20 - 22 ธ.ค. 66 การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดสุราษฎร์ธานี 0 172,881.00 172,881.00
16 ม.ค. 67 การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี 0 25,755.00 25,755.00
4 ก.พ. 67 ประชุมคณะทำงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ 0 5,880.00 5,880.00
9 ก.พ. 67 การประชุมหารือวางแผนการขับเคลื่อนนโยบายสาะารณะ การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดตรัง 0 3,230.00 3,230.00
21 ก.พ. 67 - 6 มี.ค. 67 ประชุมทำแผนสุขภาพ พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่/ประชุมพัฒนาโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ ฯพื้นที่สุราษฎ์ธานี 0 140,074.00 140,074.00
27 - 28 ก.พ. 67 ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ ส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดตรัง 0 99,034.00 99,034.00
12 - 13 มี.ค. 67 การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะ เรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ 0 67,012.00 67,012.00
20 มี.ค. 67 การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี 0 24,485.00 24,485.00
25 มี.ค. 67 การสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒฬฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเะสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่โรงเรียนบ้านท่านหญิงวิภา ต.ตะกุกเหนือ อ.วิภาวดี จ.สุราษฎร์ธานี 0 35,000.00 35,000.00
25 มี.ค. 67 การสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒฬฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเะสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ต.น้ำพุ อ.บ้านนาสารจ.สุราษฎร์ธานี 0 35,000.00 35,000.00
25 มี.ค. 67 การสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒฬฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเะสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ ต.ป่าร่อน อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี 0 35,000.00 35,000.00
25 มี.ค. 67 การสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒฬฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเะสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ ต.ชลคราม อ.ดอนสักจ.สุราษฎร์ธานี 0 20,000.00 20,000.00
25 มี.ค. 67 การสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒฬฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเะสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ศูนย์พัฒนาเด ็กเล็กบ้านคราม ต.ชลคราม อ.ดอนสักจ.สุราษฎร์ธานี 0 15,000.00 15,000.00
25 เม.ย. 67 การประชุมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายจัดทำแผนในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานี 0 134,307.00 134,307.00
1 พ.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ขยับกาย สบายชีวี ปี 2567 0 14,000.00 14,000.00
1 พ.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 โครงการหนูน้อย พัฒนาการสมวัยด้วยการออกกำลังกาย (ต.ปะเหลียน) 0 14,000.00 14,000.00
1 พ.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 โครงการอนุรักษ์ออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า (ต.ปากคม) 0 14,000.00 14,000.00
1 พ.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยออกกำลังกายด้วยการรำไม้พลองเพื่อสุขภาพ (ต.โคกหล่อ) 0 14,000.00 14,000.00
1 พ.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 โครงการส่งเสริมการเดิน วิ่ง และใช้จักรยานในชุมชน (ต.บ้านโพธิ์) 0 14,000.00 14,000.00
1 พ.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 โครงการกิจกรรมทางกาย สูงวัยบ้านน้ำผุด สุขภาพดี (ต.น้ำผุด) 0 14,000.00 14,000.00
1 พ.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 โครงการเด็กและเยาวชนสุขภาพดี ชีวีสดใสด้วยโนราห์ ต.หาดสำราญ 0 14,000.00 14,000.00
1 พ.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 โครงการส่งเสริมเด็กเยาวชนให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นด้วยการเล่นฟุตบอล ต.นาโยงเหนือ 0 14,000.00 14,000.00
1 พ.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยกีฬาเปตองเพื่อสุขภาพในเด็กวัยรุ่น ต.ย่านตาขาว 0 14,000.00 14,000.00
11 มิ.ย. 67 กระบวนการออกแบบพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม จ.สุราษฎร์ธานี งวดที่ 2 0 54,000.00 54,000.00
25 ต.ค. 67 รวบรวมผลงานสื่อภาคเหนือ จ.น่านและลำพูน 0 0.00 0.00
8 (P022001) ค่าวัสดุสำนักงาน/ วัสดุสิ้นเปลือง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 667.00 2 667.00
3 พ.ย. 66 ค่าจัดจ้างการทำตรายางหมึกในตัวชื่อโครงการและรหัสโครงการ 0 667.00 667.00
30 ก.ย. 67 (plan) วัสดุ (ค้างจ่าย) 0 0.00 0.00
9 (P023001) ค่าตรวจบัญชี กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 64,000.00 3 64,000.00
14 พ.ย. 66 ตรวจสอบบัญชีโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย งวดที่ 1 0 16,000.00 16,000.00
29 พ.ค. 67 ตรวจสอบบัญชีโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย งวดที่ 2 0 16,000.00 16,000.00
30 ก.ย. 67 (Plan) ค่าตรวจบัญชี งวด 3 และ 4 (ค้างจ่าย) 0 32,000.00 32,000.00
10 (P024001) ค่าจ้างผู้ช่วยวิจัยและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 240,000.00 14 240,000.00
1 พ.ค. 66 - 31 ก.ค. 66 เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือน พฤษภาคม-กรกฎาคม 2566 (3 เดือน) 0 45,000.00 45,000.00
31 ส.ค. 66 เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือน สิงหาคม 2566 0 15,000.00 15,000.00
29 ก.ย. 66 เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือน กันยายน 2566 0 15,000.00 15,000.00
31 ต.ค. 66 เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ ประจำเดือนตุลาคม 2566 0 15,000.00 15,000.00
30 พ.ย. 66 เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2566 0 15,000.00 15,000.00
28 ธ.ค. 66 เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ประจำเดือนธันวาคม 2566 0 15,000.00 15,000.00
31 ม.ค. 67 เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ประจำเดือนมกราคม 2567 0 15,000.00 15,000.00
29 ก.พ. 67 เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567 0 15,000.00 15,000.00
29 มี.ค. 67 เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ประจำเดือนมีนาคม 2567 0 15,000.00 15,000.00
30 เม.ย. 67 ค่าจ้างเจ้าหน้าที่โครงการ ประจำเดือนพฤษภาคม 2567 0 15,000.00 15,000.00
30 มิ.ย. 67 เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือน มิถุนายน 2567 0 15,000.00 15,000.00
31 ก.ค. 67 เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือนกรกฏาคม 2567 0 15,000.00 15,000.00
31 ส.ค. 67 (Plan) เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือนสิงหาคม 2567 (ค้างจ่าย) 0 15,000.00 15,000.00
30 ก.ย. 67 (Plan) เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือนกันยายน 2567 (ค้างจ่าย) 0 15,000.00 15,000.00
11 (MNT000001) ค่าธรรมเนียมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 1,254,000.00 4 1,254,000.00
19 ก.ย. 66 ค่าธรรมเนียมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย งวดที่ 1 0 627,000.00 627,000.00
21 มี.ค. 67 ค่าธรรมเนียมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย งวดที่ 2 0 376,200.00 376,200.00
19 ก.ค. 67 ค่าตอบแทนคู่สัญญา งวด 3 0 188,100.00 188,100.00
30 ก.ย. 67 (Plan) ค่าตอบแทนคู่สัญญา งวด 4 (ค้างจ่าย) 0 62,700.00 62,700.00
12 (P021001) 3.4 การติดตามประเมินผล - การติดตามประเมินผลได้วิเคราะห์แนวทางการขยายผลจากกลุ่มพื้นที่เป้าหมายหรือพื้นที่ต้นแบบ โดยพื้นที่ต้นแบบได้ประเมินผลถอดบทเรียน/โมเดล/กระบวนการ/ความสำเร็จของการขยายผล/ต่อยอด (ผลผลิต/ผลลัพธ์/ผลกระทบ)/ปัจจัยความสำเร็จฯ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 792,136.00 12 792,136.00
19 ก.ย. 66 ทีมงานติดตามงานและวางแผนการดำเนินโครงการ 0 0.00 0.00
16 ต.ค. 66 วางแผนการทำงานการขับเคลื่อนงาน PA กับ กกท.และ อปท. 16/10/66 0 0.00 0.00
26 ธ.ค. 66 การประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามประเมินผลโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 0 14,404.00 14,404.00
22 - 25 ก.พ. 67 การประชุมติดตามการดำเนินงานของพื้นที่โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดน่านและลำพูน 0 86,732.00 86,732.00
4 เม.ย. 67 ประชุมเชิงปฏิบัติการ การประเมินผลการดำเนินงานของ “แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย” ปี 2564 -2567 0 0.00 0.00
5 มิ.ย. 67 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้างานของภาคเหนือ จ.ลำพูน และ จ.น่าน 0 1,000.00 1,000.00
19 ก.ค. 67 ประชุมวางแผนถอดบทเรียนในรูปแบบบทความ จำนวน 44 ประเด็น 0 0.00 0.00
19 ก.ค. 67 ถอดบทเรียนประเด็น PA จำนวน 44 เรื่อง งวดที่ 1 0 120,000.00 120,000.00
19 ก.ค. 67 (Plan) ติตดามประเมินผล HIA PA ภาคเหนือ (ค้างจ่าย) 0 140,000.00 140,000.00
19 ก.ค. 67 (Plan) ติตดามประเมินผล HIA PA ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ค้างจ่าย) 0 140,000.00 140,000.00
19 ก.ค. 67 (Plan) ติตดามประเมินผล HIA PA ภาคใต้ (ค้างจ่าย) 0 140,000.00 140,000.00
17 ต.ค. 67 (Plan) การประเมิน SROI 3 ภาค 0 150,000.00 150,000.00
13 (P006001) 1.2.1 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อให้มีความรู้เรื่องกิจกรรมทางกายและนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 258,480.00 2 258,480.00
27 มี.ค. 67 ประชุมวางแผนการสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างพลังการเปลี่ยนแปลง 0 2,740.00 2,740.00
18 - 20 พ.ค. 67 การประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพทีมสื่อสุขภาพ เรื่อง การสื่อสารสาธารณะ เพื่อสร้างพลังการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย 0 255,740.00 255,740.00
14 (P008001) 2.1.1 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและสามารถเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพเพื่อของบกองทุนสุขภาพตำบลและงบอื่นๆ ในพื้นที่ (กกท.) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 665,291.00 9 665,291.00
17 ต.ค. 66 หารือการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จ.ตรัง 0 3,500.00 3,500.00
24 ต.ค. 66 หารือการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายกับการกีฬาแห่งประเทศไทย จ.ตรัง จ.ศรีสะเกษ และจ.น่าน 0 4,315.00 4,315.00
19 - 20 พ.ย. 66 การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่นำร่องของการกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง 0 124,835.00 124,835.00
1 - 2 ธ.ค. 66 ทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายกับเครือข่ายอีสาน (จ.อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ) 0 0.00 0.00
25 มี.ค. 67 ประชุมเชิงปฏิบัติการเก็บข้อมูลการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและข้อมูลสุขภาพชุมชนผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 0 0.00 0.00
10 เม.ย. 67 การประชุมพัฒนาโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่จังหวัดตรัง 0 60,776.00 60,776.00
24 เม.ย. 67 ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ 0 67,945.00 67,945.00
26 เม.ย. 67 - 31 ก.ค. 67 พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพและจัดทำแผนในพื้นที่นำร่อง จ.น่าน และจ.ลำพูน 0 340,000.00 340,000.00
29 เม.ย. 67 ประชุมการทำข้อตกลงเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพ “การยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย” จังหวัดตรัง 0 63,920.00 63,920.00
15 (P009001) 2.1.2 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะการจัดการความปลอดภัยจากการออกกำลังกายในลานกีฬาสาธารณะ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
16 (P010001) 2.1.3 กระบวนการออกแบบปรับปรุงพื้นที่ลานกีฬาสาธารณะให้เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย นำร่องพื้นที่ของ กกท.ระดับจังหวัด รวมทั้งสนับสนุนปฏิบัติการเพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายให้เพียงพอ จำนวน 5 พื้นที่ มีขั้นตอนดังนี้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 268,000.00 3 268,000.00
20 ก.พ. 67 การจัดจ้างกระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดสุราษฎร์ธานี งวดที่ 1 0 36,000.00 36,000.00
14 มี.ค. 67 การจัดจ้างกระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ งวดที่ 1 0 112,000.00 112,000.00
22 มี.ค. 67 การจัดจ้างกระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดน่านและจังหวัดลำพูน งวดที่ 1 0 120,000.00 120,000.00
17 (P011001) 2.1.4 การติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนงานกับเครือข่ายการกีฬาแห่งประเทศไทย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
18 (P012001) 2.2.1.1 ทำความร่วมมือกับสมาคมสันนิบาต สมาคม อบต. เพื่อหาพื้นที่นำร่องการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย อย่างน้อยจำนวน 10 พื้นที่ (พื้นที่สาธารณะ ลานเด็กเล่นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนสังกัด อปท.) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 107,730.00 12 107,730.00
20 ต.ค. 66 ประชุมปรึกษาหารือเรื่องการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น 0 2,750.00 2,750.00
26 ต.ค. 66 หารือการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่ ร่วมกับสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบล จ.สุราษฎร์ธานี 0 5,065.00 5,065.00
31 ต.ค. 66 ประชุมวางแผนทำแผนโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ 0 3,100.00 3,100.00
9 ก.พ. 67 คณะทำงานสำรวจสถานที่ เทศบาลเมืองน่าน และเทศบาลตำบลดู่ใต้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน และจังหวัดลำพูน 0 0.00 0.00
23 ก.พ. 67 กระบวนการออกแบบพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม ตำบลตะกุกเหนือ จ.สุราษฎร์ธานี 0 0.00 0.00
6 มี.ค. 67 กระบวนการออกแบบพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม ตำบลไชยคราม ตำบลปากแพรก จ.สุราษฎร์ธานี 0 0.00 0.00
20 มี.ค. 67 การออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่อง อบต.ก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี 0 0.00 0.00
21 มี.ค. 67 การออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่อง เทศบาลตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี 0 0.00 0.00
25 มี.ค. 67 การออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่อง เทศบาลตำบลหัวตะพาน อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ 0 0.00 0.00
25 มี.ค. 67 การออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่อง องค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ 0 0.00 0.00
14 พ.ค. 67 การประชุมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ในพื้นที่นำร่อง อบต.ปะเหลียน อ.ปะเหลียน จ.ตรัง 0 35,195.00 35,195.00
15 พ.ค. 67 การประชุมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ในพื้นที่นำร่อง อบต.น้ำผุด อ.เมือง จ.ตรัง 0 61,620.00 61,620.00
19 (P014001) 2.2.1.3 ติดตามประเมินผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ แผนและปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่นำร่อง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 128,446.00 7 128,446.00
6 ก.พ. 67 ประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะฯ ร่วมกับพี่เลี้ยงในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ 0 4,880.00 4,880.00
11 - 14 มี.ค. 67 การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะ เรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ 0 72,024.00 72,024.00
27 - 30 พ.ค. 67 การประชุมรายงานผลการออกแบบพื้นที่สุขภาวะในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี (พี่เลี้ยง) 0 22,893.00 22,893.00
21 มิ.ย. 67 การประชุมติดตามความก้าวหน้าครั้งที่ 2 จ.สุราษ 0 20,189.00 20,189.00
1 ก.ค. 67 ประชุมติดตามแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ แผนงานโครงการ และการสื่อสาธารณะกิจกรรมทางกาย จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอำนาจเจริญ 0 2,730.00 2,730.00
2 ก.ค. 67 ประชุมติดตามตัวชี้วัด PA ภาพรวมโครงการและวางแผนการดำเนินงาน 0 0.00 0.00
8 ก.ค. 67 ประชุมติดตามแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ แผนงานโครงการ และการสื่อสาธารณะกิจกรรมทางกาย จังหวัดน่าน และจังหวัดลำพูน 0 5,730.00 5,730.00
20 (P015001) 2.2.1.4 ผลักดันนโยบายมาตรฐานการออกแบบพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย ไปสู่หน่วยงานระดับนโยบาย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
21 (P016001) 2.2.2.1 พัฒนาศักยภาพเครือข่าย ให้จัดทำแผนและเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพเพื่อของบประมาณในพื้นที่ ประกอบด้วย สมาคมสันนิบาต สมาคม อบต. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนในสังกัด อปท. (อปท.) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 754,548.00 13 754,548.00
15 ม.ค. 67 - 27 มี.ค. 67 ค่าธรรมเนียมการโอนเงิน ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม 2567 0 1,746.00 1,746.00
17 ม.ค. 67 ประชุมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 0 29,990.00 29,990.00
12 ก.พ. 67 การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดน่าน 0 202,117.00 202,117.00
15 ก.พ. 67 การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดลำพูน 0 0.00 0.00
22 ก.พ. 67 ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาโครงการ จ.สุราษฎร์ธานี 0 0.00 0.00
21 มี.ค. 67 การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะ เรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดตรัง 0 112,702.00 112,702.00
25 มี.ค. 67 การประชุมเชิงปฏิบัติการเก็บข้อมูลการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและข้อมูลสุขภาพชุมชนผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล (https://localfund.happynetwork.org/) 0 4,850.00 4,850.00
27 - 28 พ.ค. 67 การประชุมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายจัดทำแผนในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ 0 73,007.00 73,007.00
17 มิ.ย. 67 การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง ณ อบต.ก่อเอ้ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี 0 35,550.00 35,550.00
19 มิ.ย. 67 การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง ณ อบต.จิกดู่ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี 0 30,880.00 30,880.00
25 มิ.ย. 67 ประชุมเตรียมลงพื้นที่จัดทำแผนและโครงการภาคีเครือข่ายจังหวัดนครพนม 0 0.00 0.00
28 - 29 มิ.ย. 67 การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนสุขภาพและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล จ.นครพนม 0 263,706.00 263,706.00
3 ก.ค. 67 ประขุมเตรียมเวทีออกแบบกิจกรรมโครงการที่สอดรับกับแบบสถาปนิก จ.อุบลราชธานี และ จ.อำนาจเจริญ 0 0.00 0.00
22 (P017001) 2.2.2.2 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะการจัดการความปลอดภัยจากการมีกิจกรรมทางกายในพื้นที่สาธารณะ และลานเด็กเล่น กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
23 (P018001) 3.1 ปรับปรุงคู่มือออกแบบพื้นที่สาธารณะ (พื้นที่สาธารณะในท้องถิ่น, ลานกีฬาสาธารณะ, พื้นที่ PA ในสถานศึกษา) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 0.00
17 ต.ค. 67 (Plan) ปรับปรุงคู่มือออกแบบพื้นที่สาธารณะ (ค้างจ่าย) 0 0.00 0.00
24 (P019001) 3.2 ปรับปรุงคู่มือทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 0.00
17 ต.ค. 67 (Plan) ปรับปรุงคู่มือทำแผนและโครงการ (ค้างจ่าย) 0 0.00 0.00
25 (P020001) 3.3 ปรับปรุงฐานระบบติตดามประเมินผล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 3,934.00 4 3,934.00
14 ต.ค. 66 ประชุมปรับปรุงเว็บไซต์ระบบออนไลน์ การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 0 3,934.00 3,934.00
17 ต.ค. 66 ประชุมปรับปรุงเว็บไซต์ Pathailand 0 0.00 0.00
19 ก.ค. 67 (Plan) ปรับปรุงเว็บ Pathailand (ค้างจ่าย) 0 0.00 0.00
7 ส.ค. 67 การประชุมหารือ Bigdata PA เชื่อมโยงฐานข้อมูลกองทุนสุขภาพตำบล 0 0.00 0.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 3,191,153.00 42 2,943,492.00
31 พ.ค. 67 ปรับปรุงเว็บไซต์ 0 50,000.00 50,000.00
4 ก.ค. 67 การประชุมติดตามการจัดทำแผนสุขภาพและการเขียนโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย ครั้งที่ 3 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ 0 31,684.00 31,684.00
4 - 5 ก.ค. 67 การเข้าร่วมการประชุมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายจัดทำแผนและเขียนโครงการลงในระบบเว็ปไซต์พื้นที่ จ.อุบลราชธานี และ จ.อำนาจเจริญ 0 37,060.00 37,060.00
5 ก.ค. 67 การประชุมติดตามการจัดทำแผนสุขภาพและการเขียนโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย ครั้งที่ 3 ณ ห้องประชุมสาธารณสุขอำเภอเขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี 0 37,500.00 37,500.00
19 ก.ค. 67 สนับสนุน PA ภาคเหนือ จำนวน 8 โครงการ (เดิม) 0 280,000.00 280,000.00
19 ก.ค. 67 (Plan) สนับสนุนโครงการ PA ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 15 โครงการ (เดิม) 0 310,000.00 310,000.00
23 ก.ค. 67 (Plan) สนับสนุนโครงการ PA ภาคเหนือ จำนวน 4 โครงการ (เพิ่มเติม) 0 105,000.00 105,000.00
23 ก.ค. 67 (Plan) สนับสนุนโครงการ PA ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 4 โครงการ (เพิ่มเติม) (รอเบิกจ่าย) 0 140,000.00 140,000.00
23 ก.ค. 67 (Plan) สนับสนุนโครงการ PA ภาคใต้ จำนวน 4 โครงการ (เพิ่มเติม) 0 70,000.00 70,000.00
31 ก.ค. 67 - 1 ส.ค. 67 ประชุมติดตามแผนและโครงการกิจกรรมทางกาย เพื่อดำเนินกิจกรรม PA อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ 0 40,048.00 40,048.00
2 - 3 ส.ค. 67 การประชุมจัดทำแผนและโครงการ PA จ.นครพนม ครั้งที่ 2 กลุ่มเป้าหมายอำเภอเรณูนคร 0 256,763.00 256,763.00
5 - 9 ส.ค. 67 การประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามประเมินผลด้วยกระบวนการ HIA PA 0 144,853.00 144,853.00
12 ส.ค. 67 ติดตามความก้าวหน้าพื้นที่ อบต.ป่าร่อน 0 4,280.00 4,280.00
13 ส.ค. 67 สำนักวิชาการและนวัตกรรม สสส. ลงพื้นที่ อบต.ปากแพรก สุราษฎร์ 0 35,105.00 35,105.00
13 ส.ค. 67 ติดตามความก้าวหน้าพื้นที่ อบต.น้ำพุ 0 4,290.00 4,290.00
14 ส.ค. 67 ติดตามประเมินผลถอดบทเรียนโครงการ PA ที่ได้รับทุน จ.สุราษฯ 0 74,780.00 74,780.00
16 ส.ค. 67 ติดตามประเมินผลโครงการ PA ที่ได้รับทุน จ.ตรัง 0 85,244.00 85,244.00
25 ส.ค. 67 ประชุมรับฟังความคิดเห็นเพื่อการกลั่นกรองและกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโครงการฯ 0 4,250.00 4,250.00
29 - 30 ส.ค. 67 อบรม Health Promotion สสส. 0 23,256.00 23,256.00
5 ก.ย. 67 ประชุมกับ ผอ.กกท.ตรัง เรื่องการถอดบทเรียน 0 0.00 0.00
6 ก.ย. 67 ถอดบทเรียนสัมภาษณ์เชิงลึกการขับเคลื่อน PA ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 0 0.00 0.00
12 ก.ย. 67 ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง 8 อปท. อำเภอหัวตะพาน จังหวัด อำนาจเจริญ 0 51,311.00 51,311.00
12 - 13 ก.ย. 67 การเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอำนาจเจริญ 0 90,347.00 90,347.00
13 ก.ย. 67 ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่ นำร่อง 12 อปท. อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี 0 40,780.00 40,780.00
14 - 15 ก.ย. 67 การประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พื้นที่ อบต.น้ำผุด และ อบต.ปะเหลียน จ.ตรัง 0 146,896.00 146,896.00
16 ก.ย. 67 ประชุมวางแผนถอดบทเรียนและการจัดเวทีสาธารณะเพื่อพัฒนานโยบายและพื้นที่สุขภาวะต้นแบบ / zoom 0 0.00 0.00
17 ก.ย. 67 คณะทีมงานสื่อ PA จังหวัดตรัง และพี่เลี้ยงจังหวัดตรัง พัฒนาสื่อสาธารณะในพื้นที่จังหวัดตรัง / zoom 0 0.00 0.00
21 ก.ย. 67 หารือแนวทางการประเมิน SROI การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 0 0.00 0.00
21 - 22 ก.ย. 67 การประชุมปฏิบัติการสรุปผลและถอดบทเรียนโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย นำร่องจังหวัดลำพูนและน่าน 0 303,125.00 303,125.00
30 ก.ย. 67 (Plan) รวมสถาปนิกงวด 3 ภาค งวด 2 (ค้างจ่าย) 0 288,000.00 288,000.00
9 ต.ค. 67 ประชุมพัฒนาเอกสารประกอบการประชุมนโยบายส่วนกลาง เวทีสาธารณะสร้างเสริมสุขภาวะ PA 0 10,000.00 10,000.00
11 ต.ค. 67 วางแผนงานเรื่องสื่อในงานประชุมนโยบายส่วนกลาง เวทีสาธารณะสร้างเสริมสุขภาวะ PA / zoom 4 0 1,150.00 1,150.00
11 ต.ค. 67 ประชุมทีมประเมิน HIA PA 3 ภาค 0 4,290.00 4,290.00
11 ต.ค. 67 ประชุมทีมสถาปนิกทั้ง 3 ภาค คุยเรื่องงานประชุมนโยบายส่วนกลาง เวทีสาธารณะสร้างเสริมสุขภาวะ PA / zoom 4 0 4,630.00 4,630.00
12 ต.ค. 67 เวทีรับฟังความคิดเห็นและจัดทำข้อเสนอแนะ น้ำผุดและปะเหลียน จ.ตรัง 0 11,850.00 11,850.00
17 ต.ค. 67 (plan)เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2567 0 30,000.00 30,000.00
17 ต.ค. 67 (plan)ถอดบทเรียนประเด็น PA จำนวน 44 เรื่อง งวดที่ 2 0 80,000.00 80,000.00
17 ต.ค. 67 (plan) ประชุม SROI 3 ภาค 0 80,000.00 80,000.00
22 ต.ค. 67 ทีมประเมินแลกเปลี่ยนแบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง เพื่อการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโครงการ PA 0 0.00 0.00
25 ต.ค. 67 ภาคเหนือ (อ.สุวิทย์) ติดตามโครงการ 0 35,000.00 35,000.00
25 ต.ค. 67 ทีมประเมินชี้แจงกรอบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโครงการ PA กับพี่เลี้ยงภาคเหนือ อีสาน และใต้ 0 0.00 0.00
1 พ.ย. 67 ภาคีเครือข่ายจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์และจัดทำแผนในพื้นที่จังหวัดลำพูนและจังหวัดน่าน 0 32,000.00 32,000.00
26 - 28 พ.ย. 67 สมัชชาสุขภาพ บูท สถาปัตยกรรม PA/นโยบายส่วนกลาง ที่ กทม. และถอดบทเรียนโครงการ 0 247,661.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ได้ข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและส่งต่อหน่วยงานกำหนดนโยบาย
  2. เครือข่ายสื่อสารสาธารณะขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เหนือ ใต้ อย่างน้อยจำนวน 3 ประเด็น (เช่น พื้นที่สุขภาวะ,ส่งเสริม PA ในเด็กและเยาวชน, แผนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนสุขภาพตำบล)
  3. มีสื่อสารสาธารณะขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ที่เผยแพร่สู่สาธารณะในวงกว้างที่ได้มาจากกิจกรรมโครงการ จำนวน 10 ชิ้น

  4. อปท.มีแผน และโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย จำนวน 50 แห่ง

  5. มีเครือข่าย กกท.และ อปท. ที่มีศักยภาพในการพัฒนาแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย จำนวน 50 เครือข่าย
  6. พื้นที่ต้นแบบสุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย นำร่อง กกท.และ อปท. 10 พื้นที่
  7. พื้นที่นำร่องขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในสถานศึกษา/ชุมชน 10 พื้นที่
  8. บทเรียน/องค์ความรู้ ในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ 2 เรื่อง
  9. คู่มือออกแบบพื้นที่สาธารณะ
  10. คู่มือทำแผนและโครงการ pa
  11. ฐานข้อมูล PA ระบบเว็บออนไลน์
  12. ข้อมูลติดตามประเมินผลถอดบทเรียน/โมเดล/กระบวนการ
  13. ผลการประเมินผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment (SROI))
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2566 12:59 น.