สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

การประชุมติดตามการจัดทำแผนสุขภาพและการเขียนโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย ครั้งที่ 3 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ4 กรกฎาคม 2567
4
กรกฎาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
  • สรุปประชุม 4 ก.ค. 67 ณ ทต.รัตนวารีศรีเจริญ อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ.pdf
  • S__12624015_0.jpg
  • S__12624008_0.jpg
  • S__12624004_0.jpg
  • S__12624002_0.jpg
  • S__12623996_0.jpg
  • S__12623994_0.jpg
  • S__12623975_0.jpg
  • LINE_ALBUM_พัฒนาแผนและโครงการครั้ง3_240711_8.jpg
  • LINE_ALBUM_พัฒนาแผนและโครงการครั้ง3_240711_7.jpg
  • S__12623918_0.jpg
  • S__12623916_0.jpg
  • S__12623907_0.jpg
  • LINE_ALBUM_พัฒนาแผนและโครงการครั้ง3_240711_40.jpg
  • LINE_ALBUM_พัฒนาแผนและโครงการครั้ง3_240711_38.jpg
  • S__12624008_0.jpg
  • S__12624005_0.jpg
  • S__12623988_0.jpg
  • S__12623982_0.jpg
  • S__12623977_0.jpg
  • S__12623971_0.jpg
  • S__12623970_0.jpg
  • S__12623960_0.jpg
  • S__12623959_0.jpg
  • S__12623958_0.jpg
  • S__12623944_0.jpg
  • S__12623941_0.jpg
  • S__12623916_0.jpg
  • S__12623900_0.jpg
  • LINE_ALBUM_พัฒนาแผนและโครงการครั้ง3_240711_37.jpg
  • LINE_ALBUM_พัฒนาแผนและโครงการครั้ง3_240711_34.jpg
  • LINE_ALBUM_พัฒนาแผนและโครงการครั้ง3_240711_33.jpg
  • LINE_ALBUM_พัฒนาแผนและโครงการครั้ง3_240711_32.jpg
  • LINE_ALBUM_พัฒนาแผนและโครงการครั้ง3_240711_15.jpg
  • LINE_ALBUM_พัฒนาแผนและโครงการครั้ง3_240711_4.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การประชุมติดตามการจัดทำแผนสุขภาพและการเขียนโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย ครั้งที่ 3 วันพฤหัสบดี ที่ 4 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.30 – 16.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้จัดทำแผนและเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพเพื่อของบประมาณกองทุนสุขภาพตำบล หรืองบอื่นๆในพื้นที่ 2. เพื่อปรับปรุงกิจกรรมโครงการให้สอดคล้องกับแบบพื้นที่สุขภาวะทางสถาปัตยกรรมเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย กำหนดการ เวลา รายละเอียด 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 09.00 - 09.30 น. กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม 09.30 - 12.00 น. - นำเสนอการออกแบบพื้นที่สุขภาวะทางสถาปัตยกรรมเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
- นำเสนอ และยกตัวอย่างโครงการที่ผ่านการอนุมัติงบประมาณกองทุน - ระดมความคิดจัดทำแผนและเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ 12.00 - 13.00 น. พักเที่ยงรับประทานอาหาร 13.00 - 14.00 น. ระดมความคิดจัดทำแผนและเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ (ต่อ) 14.00 - 15.30 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้/นำเสนอแผนและโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 15.30 - 16.30 น. สรุปการประชุม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ระดมความคิดเห็นกิจกรรมโครงการส่งเสริมการเคลื่อนไหวในพื้นที่สุขภาวะทางสถาปัตยกรรมเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ เน้นการแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรัง หรือ NCD เพิ่มกิจกรรมทางกายและอาหารและโภชนาการที่ดีของประชาชน
ในวันพฤหัสบดี ที่ 4 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.)  ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและจัดทำแผน พร้อมทั้งเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย และปรับปรุงกิจกรรมโครงการให้สอดคล้องกับแบบพื้นที่สุขภาวะทางสถาปัตยกรรมเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
โดยมี นายอำคา สายสมุทร นายกเทศมนตรีรัตนวารีศรีเจริญ เป็นประธานในการกล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดการประชุมฯ “การเพิ่มกิจกรรมทางกายเป็นสิ่งสำคัญมากในปัจจุบัน เพราะเทคโนโลยีทำให้สบาย ทำให้ลักษณะอาชีพ พฤติกรรมทำงานเปลี่ยนไป ทำให้การเคลื่อนไหวต่างๆ ลดลง จากพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปนี้ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคติดต่อไม่เรื้อรัง NCDs ซึ่งการป้องกันความเสี่ยงเหล่านี้ให้ได้ผล คือ การเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง การทำกิจกรรมทางกาย  การออกกำลังกาย หรือการเคลื่อนไหวออกกำลังกายเป็นประจำ ในส่วนของตำบลรัตวลีฯ มีที่สาธารณะ เนื้อที่ 17 ไร่ สามารถที่จะทำสถานที่ออกกำลังกายให้ประชาชนได้ออกกำลังกาย” และนายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานโครงการเขตสุขภาพที่ 10 ได้กล่าววัตถุประสงค์ของโครงการฯ และเป้าหมายของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้
พร้อมกันนั้น ดร.เพ็ญ สุขมาก  ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ร่วมแลกเปลี่ยน ให้หลักการสำคัญที่จะมีการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ “การประชุมครั้งนี้มาให้กำลังใจ Empower  ทางสถาบันจะช่วยให้ข้อเสนอแนะในกิจกรรมที่เป็นไปได้และสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับกลุ่มเป้าหมาย ข้อเสนอกิจกรรมที่แลกเปลี่ยนเป็นกิจกรรมที่ทำได้จริงมีการถอดบทเรียนแล้ว การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นเรื่องที่สำคัญ การทำกิจกรรมทางกายเรื่องความรู้ยังไม่พอ เพราะเรารุทุกอย่างแล้ว ต้องกินอย่างไร ออกกำลังกายอย่างไร เรารู้ทุกอย่างแล้วแต่เราไม่ได้ทำ เพราะฉะนั้นกิจกรรมที่เราทำ คือ ไปทำสภาพแวดล้อมให้เอื้อให้คนมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ทางทีมในตำบลไปเก็บข้อมูลมาแล้ว จะพบว่ามีสถานการณ์ที่เห็นได้ว่าควรทำกิจกรรมกับกลุ่มนั้นๆ กิจกรรมที่ออกแบบในอนาคต เห็นความยั่งยืนของคน คือ อาจารย์สถาปนิกช่วยออกแบบ แล้วทางท้องถิ่นไปปรับปรุงพื้นที่ คนมาทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง  ถึงแม้โครงการปิดไปแล้ว แต่ประชาชนยังมีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่อง จากแบบสถาปัตยกรรม จากร่างแผนผังจะมีกิจกรรมอย่างไรบ้าง เช่น ส่งเสริมกิจกรรมเดิน ส่งเสริมสนามเด็กเล่น การไปเชื่อมกับตลาดถนนคนเดิน เชื่อมการท่องเที่ยว”
ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ประกอบด้วย คณะทำงานเขต ระดับจังหวัด, คณะทำงานจากสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะทำงานระดับตำบล เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ จากจำนวน        8 พื้นที่เป้าหมาย ได้แก่  เทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ เทศบาลตำบลหัวตะพาน องค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่
องค์การบริหารส่วนตำบลสร้างถ่อน้อย องค์การบริหารส่วนตำบลคำพระ เทศบาลตำบลเค็งใหญ่  องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก้ว องค์การบริหารส่วนตำบลโพนเมืองน้อย ประมาณกว่า 30 คน อาจารย์ชุนันทร์ วามะขัน ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้นำผลการออกแบบของ เทศบาลตำบลหัวตะพาน ได้ออกแบบพื้นที่สาธารณะ ดังนี้
พื้นที่ที่ 1 บริเวณใต้ต้นจามจุรี
1. หัวตะพาน ได้พื้นที่สวนเฉลิมพระเกียรติ เดิมพื้นที่เดิมมีทางวิ่งพื้นที่ค่อนข้างใหญ่ จากที่สำรวจพฤติกรรมการใช้งานพื้นที่ที่เกิดขึ้นของสวน ระหว่างวันสวนไม่ได้ถูกใช้งาน จะมีน้อยมากในการใช้งาน
2 บริเวณต้นจามจุรี ตรงนนี้จะมีกิจกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างวันจุดเดียว คือ คุณครูจะพาเด็กๆ ทำกิจกรรมภายนอกศูนย์ระหว่างวัน และมีลานเดิมที่ผู้สูงอายุใช้ออกกำลังกาย
3. ถัดมาจะเป็นศูนย์เด็กและอาคารผู้สูงอายุ ตรงอาคารอาจจะเป็นกิจกรรมใหม่ เป็นการ link ให้กับตัวต้นจามจุรี และมีอุปกรณ์เครื่องเล่นธรรมชาติให้เด็กๆ ได้เล่น เครื่องเล่นธรรมชาติจะใช้งบประมาณไม่มากและเป็นวัสดุที่ชุมชนช่วยกันทำร่วมกันทำสร้างการมีส่วนร่วมของพื้นที่  และการดูแลรักษาระยะยาวได้มากกว่า 4. ทางเดินจากศูนย์เด็กเข้ามาในพื้นที่ได้ อาจจะมีเครื่องเล่นสำหรับเด็กที่เป็นวัสดุธรรมชาติ
พื้นที่ที่ 2 สวนเดิมสวนมีเครื่องออกกำลังกายเดิม แต่มีการเข้าถึงการใช้น้อย อาจจะเป็นเรื่องภูมิทัศน์ที่ปิดกั้นมากเกินไปจากการปลูกต้นไม้ปิดปังมากเกินไป ทำให้ประชาชนคนภายนอกไม่เห็นการเปิดรับการเข้าไป ตรงนี้จะออกแบบปรับปรุงเคลียร์พื้นที่ตรงนี้ให้โล่งมากขึ้น พื้นที่ 3  ทางวิ่งจะอยู่ในสภาพใช้งานได้ อาจจะปรับเพิ่มเรื่องสีสันให้เชื้อเชิญต่อการใช้งาน เช่น ทาสีใหม่ลงพื้นผิวใหม่ สีน้ำเงิน สีเขียว แถบของจักรยาน พื้นที่ที่ 4 พื้นที่ตรงกลางสนาม เป็นพื้นที่โล่งขนาดใหญ่ ตรงนี้ถ้าหากจัดกิจกรรมเปลี่ยนจากตลาดชุมชนตลาดพื้นแข็ง เปลี่ยนเป็นตลาดกิจกรรมกลางแจ้งเป็นร่มผ้าใบสีขาว จัดเป็นหัตถกรรม ในระหว่างสัปดาห์ก็จะเปิดให้พื้นที่ในสวนมีชีวิตมากขึ้น จะมีการปรับแต่งภูมิทัศน์ใหม่   และองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ ได้ออกแบบพื้นที่สาธารณะ
อาคารกำลังดำเนินการก่อสร้างจะเปิดการใช้งานแล้ว ตัวผังจากกองช่าง จะมีทางเข้ามาที่อาคารและมีพื้นที่เปิดโล่งข้างหน้า พื้นที่ตรงสวน จะเป็นพื้นที่เปิดโล่งปรับแต่งภูมิทัศน์ จะมีส่วนสำนักงานกองช่าง และศูนย์ประชุมเดิม และโดมจอดรถ ในส่วนอาคารอื่นๆจะถูกรื้อถอนออก
พื้นที่ที่ 1 พื้นที่สวนเล็กๆ หรือสวนสาธารณะที่ให้ชุมชนและเด็กเข้ามาใช้ประโยชน์ทำกิจกรรมได้ เดิมเป็นที่จอดรถเอาหัวเสียเข้าไป พื้นที่เดิมกองดินหน้าเทศบาล พื้นที่ใต้ร่มค่อนข้างเหมาะ สามารถออกแบบเรื่องเครื่องเล่น และรูปแบบทำกิจกรรม ของสวนผู้สูงอายุและเด็ก ให้เป็นอาคารสินค้าหัตถกรรมชุมชนจะปรับเป็นพื้นที่สาธารณะเล็กๆ ตัวอย่างเครื่องเล่น ตาข่ายให้เด็กปีนป่ายได้ ลักษณะแนวตาข่าย  วัสดุธรรมชาติพวกงานไม้
พื้นที่ที่ 2 ด้านหน้าเทศบาล รพสต.และโรงเรียน
ด้านซ้ายมือเป็นศูนย์เด็กเล็ก ด้านขวามือเป็น สำนักงาน รพสต. และตรงข้ามเป็น เทศบาล ถ้าการทำกิจกรรมสามารถเชื่อมโยงไปยัง รพสต.และโรงเรียนได้ ช่วยให้พื้นที่ใช้งานได้อย่าต่อเนื่อง
ถนนเส้นนี้สามารถทำแทร็กบางอย่างได้ ทำแทร็กจากโรงเรียนผ่าน รพสต.ผ่านสำนักงานได้ป ปรับปรุงพื้นที่ทางเท้าให้เกิดการสัญจรได้ง่าย ให้ดูปลอดภัยและมีการเชื่อมโยงกับพื้นที่ได้ - นักเรียน: ถ้าทางเทศบาลและโรงเรียนมีความต่อเนื่อง จะมีบางวิชาของมัธยม มีการทำกิจกรรม เช่น เรื่องหัตกรรม การละเล่นต่างๆ ดึงมาใช้พื้นที่ตรงนี้ได้
- ผู้สูงอายุ: กิจกรรมของผู้สูงอายุเอง หรือ รพสต. ที่มีชมรมผู้สูงอายุ หรือโรงเรียนผู้สูงอายุ เข้ามาใช้พื้นที่ตรงนี้ได้  แนวทางการออกแบบของผู้สูงอายุ จะมีสวนหินสำหรับผู้สูงอายุ การเดินบำบัดต่างๆ
- เครื่องเล่นเด็กที่เป็นวัสดุธรรมชาติ - รวมถึงกิจกรรมต่อเนื่อง เช่น ตลาดนัด ตลาดชุมชน ทางจิกดู่มีผลิตภัณฑ์ชุมชนค่อนข้างมาก พื้นที่ที่ 3 อาคาร สามารถรีโนเวทได้ เป็นอาคารแสดงสินค้าชุมชนได้เพื่อให้เกิดการใช้งานต่อเนื่อง กิจกรรมที่จะเกิดขึ้น
- ส่วนแสดงสินค้าหัตถกรรม
- ปรับภูมิทัศน์สวนให้เด็กๆและผู้สูงอายุได้มาใช้งาน

นายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานโครงการได้นำกระบวนการแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการปรับโครงการให้สมบูรณ์ มีดังนี้ 1 เทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ ดำเนินโครงการ 2 ล้อ 2 น่อง ท่องวัดบูรพา
วัตถุประสงค์เพิ่มกิจกรรมทางกายผู้สูงอายุ กิจกรรม "1. สำรวจข้อมูลผู้สูงอายุในชุมชนบ้านหนองเดิ่นและบ้านโต่งโต้น 2. เขียนโครงการเสนอ เพื่อขออนุมัติ 3. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้สูงอายุให้เข้าร่วมโครงการ 4. เชิญชวนผู้สูงอายุเข้าวัดทำบุญและร่วมทำกิจกรรมทางกายที่วัดบูรพา บ้านหนองเดิ่น หมู่ที่ 5 5. ให้ผู้สูงอายุปั่นจักรยานหรือเดินเท้าไปยังวัดบูรพา เพื่อร่วมกันทำบุญและทำกิจกรรมทางกายร่วมกัน ในทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ 5.1 ผู้สูงอายุปั่นจักรยานหรือเดินเท้าไปยังวัดบูรพา(ไป-กลับ) ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที 5.2 ผู้สูงอายุร่วมกันทำบุญ ฟังธรรม และรับประทานอาหารร่วมกัน 5.3 ผู้สูงอายุพักผ่อนตามอัธยาศัย 5.4 ผู้สูงอายุทำกิจกรรมทางกายร่วมกัน ประมาณ 40-60 นาที เช่น การเดินจงกรม การกวาดลานวัด การตัดแต่งกิ่งไม้ การรำไม้พลอง การละเล่นพื้นบ้านที่เหมาะกับผู้สูงอายุ เป็นต้น 6. สรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการ" 2. เทศบาลตำบลหัวตะพาน
ดำเนินโครงการสวน 3 วัยใส่ใจ 3 อ (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย) วัตถุประสงค์เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในกลุ่มสามวัย วัยเด็ก วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุ กิจกรรม:  1. จัดตลาดจำหน่ายผักปลอดสารอาหารปลอดภัย 2. ส่งเสริมลานปัญญาเพื่อพัฒนาสุขภาพจิตสุขภาพใจในสวน 3 วัย ส่งเสริมการปั่นจักรยานในวิถีชีวิตประจำวัน และเต้นแอโรบิคส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 3. องค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่
จิกดู่ ดำเนินโครงการ PA จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ 1 โครงการวัยเรียนวัยใส Happy and Healthy ฉลาดเล่น สนุกเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนในพื้นที่ตำบลจิกดู่ พื้นที่ดำเนินการโรงเรียนชุมชนบ้านจิกดู่
โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุตำบลจิกดู่ "เพื่อนชวนเพื่อน เพิ่ม PA สัญจร" 1 โครงการวัยเรียนวัยใส Happy and Healthy ฉลาดเล่น สนุกเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนในพื้นที่ตำบลจิกดู่ พื้นที่ดำเนินการโรงเรียนชุมชนบ้านจิกดู่
วัตถุประสงค์ ในการดำเนินงานให้นักเรียนมีกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพและเพียงพอ และพัฒนาศักยภาพครูให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกาย และใช้เครื่องมือมาช่วยหนุนเสริมการออกแบบและวางแผนกิจกรรมให้มีความสอดคล้องกับผลการเรียนแบบ Active play Active learning และบูรณาการร่วมกับชุมชน สถานศึกษาใกล้เคียง อปท.และเครื่อข่ายด้านสุขภาพในพื้นที่มาร่วมกันออกแบบกิจกรรม และขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายในโรงเรียนและเป็นโรงเรียนต้นแบบ  Active play Active learning และสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้สถานศึกษาในพื้นที่ได้
กิจกรรม
1. การประชุมชี้แจ้งคืนข้อมูลสถานการณ์ 2. ประชุมเชิงปฏิบัติการให้แก่คณะครูเรื่องการเรียนการสอน Active play Active learning 3. การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพครูและผู้ดูแลเด็กเล็ก และจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนแบบ Active Classrooms 4. พัฒนาศักยภาพวัยเรียนวัยใส Happy and Healthy ฉลาดเล่น สนุกเรียน และบันทึกสมุดสุุขภาพกิจกรรมเพิ่ม PA 5. วัยเรียน วัยใส Happy and Healthy รณรงค์ออกกำลังกายสร้างสุขภาพ เดิน - วิ่ง - ปั่น เช็คอินแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ บ่อบักฮุก แลนด์มาร์คตำบลจิกดู่

2 โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุตำบลจิกดู่ "เพื่อนชวนเพื่อน เพิ่ม PA สัญจร"
วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ
กิจกรรม<br />
1. ประชุมชี้แจงโครงการ และจัดตั้งคณะทำงาน
2. การประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ การติดตาม และประเมินผลโครงการ
3. เพื่อนชวนเพื่อนเพิ่ม PA สัญจร การอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ เรื่อง ความสำคัญของกิจกรรมทางกาย PA ในผู้สูงอายุ กิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นักเรียนผู้สูงอายุ ชวน เพื่อนผู้สูงอายุ (ผู้เข้าอบรม) เดิน - ปั่นจักรยาน ไปวัดใกล้บ้านทำบุญในวันพระเทศกาลเข้าพรรษา กิจกรรมเชิงปฏิบัติการออกกำลังกายเพิ่ม PA วิถีไทย ด้วยไม้พลอง/ยางยืด /ผ้าขาวม้า กลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1 - 12 (ที่ไม่ได้เรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุ)
4. ผู้สูงอายุสุขภาพดี ออกกำลังกายเพิ่ม PA ตามวิถี แบบมีส่วนร่วม ด้วยวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นบ้าน จัดกิจกรรมออกกำลังกายสร้างสุขภาพตามวิถี เพิ่ม PA แบบมีส่วนร่วมของประชาชนทุกกลุ่มวัย ณ พื้นที่สาธารณะส่วนรวม องค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ โดยใช้ดนตรีประกอบเพลงและท่ารำ ร่วมกับอุปกรณ์ออกกำลังกาย เช่น ไม้พลอง ยางยืด หรือผ้าขาวม้า ณ พื้นที่สาธารณะองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 3 เดือน<br />
5. การประเมินผลโครงการ ถอดบทเรียน สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานความสำเร็จของโครงการ

4. เทศบาลตำบลเค็งใหญ่ ดำเนินโครงการปั่นจักรยานแรลลี่รอบบึง พื้นที่ดำเนินการ  ลานหน้าเทศบาล ปั่นไปยังวัดป่าโนนบึงศิลาราม ประมาณ 5 กิโลเมตร สถานการณ์ กลุ่มวัยผู้ใหญ่ 22.52 % ตั้งเป้าเพิ่มเป็น 27.00 % กลุ่มผู้สูงอายุ 57.69 % เป้าหมาย คือ 60 % เป้าหมาย ผู้เข้าร่วม 50 คน บ้านเค็งใหญ่ บ้านดู่และบ้านชาติ นำร่อง วิธีการดำเนินงาน 1. ประชุมชีแจ้งโครงการวางแผนการทำงานร่วมกัน ประชาสัมพันธ์โครงการ ทำหนังสือไปยังกำนันผู้ใหญ่บ้าน Facebook line เว็บไซต์ 2 ผู้เข้าร่วมรวมกลุ่มกันที่เทศบาลแล้วปั่นไปยังวัดป่า 5 กิโลเมตร 3 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าฐานศึกษาต่างๆ
ฐาน 1 แหล่งโบราณสถานใบเสมา 1,000 ปี มีวิทยากรผู้นำชุมชนได้พูดเกี่ยวกับประวัติใบเสมา
ฐาน 2 วัดป่า จะประกอบด้วยป่า บึงน้ำ ก่อนเข้าสู่วัด ให้ศึกษาเรื่องสมุนไพร ต้นไม้ที่อนุรักษ์ไว้ คือ ยางป่า มีวิทยากรปราญช์ชาวบ้าน เชื่อมโยงไปยังโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ฐาน 3 มีโบส์วัดเก่าแก่ นิมนต์เข้าอาวาสเป็นวิทยากร 4. สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรม ผู้บริหารได้รับทราบย
แลกเปลี่ยน
1 การปั่นจักรยานไปเป็นเป็นฐานน่าสนใจ อาจจะเชื่อมไปยังการท่องเที่ยวชุมชน การเชื่อมอาจทำโปสเตอร์แผ่นพับประชาสัมพันธ์ก่อน 2 ปรับชื่อโครงการ "ปั่นสองน่อง ท่องวัดโนนบึง" 3 ปื่นโตสุขภาพ ถวายวัด
4 เชื่อมการท่องเที่ยว ปั่นไปเก็บผัก ถวายวัดได้บุญด้วย

โครงการ ลดพุงขยับกาย ได้รับคำแนะนำให้ขยายไปยังหน่วยงานอื่นด้วย นอกจากเทศบาลเค็งใหญ่แล้ว ยังมีกศน. ศูนย์พัฒนาเด็กเล้กทั้ง 3 ศูนย์ นำร่อง เนื่องจากยังไม่มีการขยับตัวและดื่มน้ำหวาน ปัจจุบันได้ทำเทศบัญญัติเริ่มปีงบประมาณ ปี 2568 มีแผนท้องถิ่นรองรับ กลุ่มเป้าหมายเริ่มจากพนักงงานก่อน ได้แก่ เจ้าหน้าที่เทศบาล คุณครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
เจ้าหน้าที่ภาคสนามมีนักกีฬา นักฟุตบอลของเทศบาลเค็งใหญ่
กิจกรรมทำวัน จันทร์ พุธ ศุกร์ วันละ 1 ชั่วโมง
แลกเปลี่ยน 1 โครงการสนับสนุนให้เข้าแผนท้องถิ่น 2 จากการขยายอาจจะมีการแข่งร่วมกัน
3 ปกติจะมีการแข่งขันกีฬาประชาชนในตำบล มาทุกหมู่เตะฟุตบอลแข่งให้โครงการมีโค้ชจากพนักงานเทศบาล เป็นโค้ชให้ชุมชน ใช้แกนนำ อสม.เป็นโค้ช กลไกผู้ใหญ่บ้าน
4 กีฬาประจำปีของ อบต. แข่งเต้นแอโรบิคประจำปี 5. องค์การบริหารส่วนตำบลคำพระ ดำเนินโครงการจักยานขาไถ Balance Bike วัตถุประสงค์ เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กปฐมวัย กิจกรรม 1 อบรมให้ความรู้พื้นฐานวินัยจราจรให้ครูและนักเรียน 2 กิจกรรมการแข่งขันจักรยานขาไถ Balance Bike แลกเปลี่ยน: เพิ่มกิจกรรมการเรียนรู้วินัยจราจรร่วมกันกับเด็กและผู้ใหญ่ 6. องค์การบริหารส่วนตำบลสร้างถ่อน้อย ที่มาและความสำคัญ ผู้สูงอายุและคนออกกำลังกาย ยังน้อยอยู่ ได้กำหนดการออกกำลังกายแก้ปัญหาผู้สุงอายุออกกำลังกายน้อยด้วยตาราง 9 ช่อง หลักสูตรตาราง 9 ช่อง
กิจกรรมสัปดาห์ละ 1 วัน ทำต่อเนื่อง 12 สัปดาห์ จำนวน 60 คนต่อรุ่น รวม 200 คน / 3 เดือนต่อรุ่น
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ : 1 สถานการณ์ ผู้สูงอายุ 66 เปอร์เซ็น เป้าหมายโครงการ 77 เปอร์เซ็น
2. เพิ่มการเรียนรู้ตารางเก้าช่องที่ถูกต้อง ผ่านสื่อต่างๆ เช่น คลิปวิดีโอ 3. เพิ่มความปลอดภัยในสภาพแวดล้อม 4. เพิ่มความน่าสนใจโครงการ ประกวดแข่งขัน / ประกวดนวัตกรรมตาราง 9 ช่อง ในรูปแบบที่หลากหลาย 5. ลูกหลานช่วยดูแลผู้สูงอายุ ช่วยแนะนำช่วยดูแลความปลอดภัย 6. กลไกโรงเรียนผู้สูงอายุ อาจจะทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่นตารางเก้าช่อง 7. สื่อถ่ายทอดเผยแพร่กิจกรรมดีๆในชุมชน  8. เพิ่มวัยทำงาน เช่น คุณครู อสม. 9. พัฒนายกระดับ (เลเวล) 1 ขั้นพื้นฐาน 2. การเต้นประกอบดนตรี 3. หลักสูตร10. ทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุฝึกที่บ้าน 11. จัดประกวด 7. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก้ว จัดเก็บข้อมูลสถานการณ์และพัฒนาข้อเสนอโครงการ เช่น การฟื้นฟูการละเล่นไทยให้กลับคืนมา
นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ ผู้ประสานงานระดับเขตสุขภาพที่ 10 ได้สรุปการประชุมที่ผ่านมาได้มีการประชุมชี้แจงโครงการระดับอำเภอ การจัดทำบันทึกความร่วมมือระดับอำเภอ การแต่งตั้งคณะทำงานโดยการแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานระดับตำบล การเก็บข้อมูลสถานการณ์ การนำข้อมูลมาวิเคราะห์และพัฒนาแผนเขียนโครงการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ทั้งนี้ในระยะต่อไป คือ การทำข้อตกลงโครงการและตำบลดำเนินกิจกรรม PA ในพื้นที่ ร่วมทั้งนัดหมายมานำเสนอผลงานในวัน kickoff PA อ.หัวตะพาน ในวันที่ 30 สิงหาคม 2567
การนัดหมายครั้งถัดไปจะเป็น วันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ซึ่งจะไปเยี่ยมเยียนติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ ว่าการอำเภอหัวตะพาน อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ