สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

การประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พื้นที่ อบต.น้ำผุด และ อบต.ปะเหลียน จ.ตรัง14 กันยายน 2567
14
กันยายน 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
  • S__13754504_0.jpg
  • S__13754487_0.jpg
  • S__13754486_0.jpg
  • S__13754424_0.jpg
  • S__13754423_0.jpg
  • S__13754417_0.jpg
  • S__13754416_0.jpg
  • S__13754405_0.jpg
  • S__13754403_0.jpg
  • S__13754402_0.jpg
  • S__13754383_0.jpg
  • S__13754378_0.jpg
  • S__13754377_0.jpg
  • 136384_0.jpg
  • 136383_0.jpg
  • 136382_0.jpg
  • 136381_0.jpg
  • S__13754509_0.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พื้นที่ อบต.น้ำผุด และ อบต.ปะเหลียน จ.ตรัง วันที่ 14 กันยายน 2567 เวลา 09.00-16.00 น.  ณ อบต.น้ำผุด วันที่ 15 กันยายน 2567 เวลา 09.00-16.00 น.  ณ อบต.ปะเหลียน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

“การประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จ.ตรัง” เมื่อวันที่ 14-15 กันยายน 2567 เวลา 09.00-16.00 น. ณ องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด และองค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน จังหวัดตรัง ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย” ในพื้นที่ อบต.น้ำผุด และ อบต.ปะเหลียน โดยมีอาจารย์และนักศึกษาปริญญาโทจากสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) เข้าร่วมในการศึกษาวิทยาการการประเมินผลกระทบทางสุขภาพและลงพื้นที่ปฏิบัติจริง การประชุมครั้งนี้เน้นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ ซึ่งครอบคลุมทั้งเด็ก วัยทำงาน และผู้สูงอายุ โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้บริหารท้องถิ่น บุคลากรท้องถิ่น ประชาชนในพื้นที่ และภาคีเครือข่ายในจังหวัดตรัง กิจกรรมสำคัญในการประชุมเชิงปฏิบัติการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ดังนี้ 1. การทำแผนและโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย 2. การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่หลากหลายและเหมาะสมกับทุกวัย 3. การสนับสนุนโครงการย่อย ในพื้นที่ผ่านโครงการหลักและกองทุนสุขภาพตำบล

การประชุมได้สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพทั้งในแง่บวกและด้านที่ต้องปรับปรุง ข้อมูลที่ได้รับจากการประเมินครั้งนี้จะถูกนำเสนอคืนแก่ท้องถิ่น เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่อย่างยั่งยืนในอนาคต