สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

การประชุมเพื่อรวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้นวัตกรรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย24 ตุลาคม 2566
24
ตุลาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
  • 24.10.66 สรุปประชุม review ข้อมูลกับ อ.โอ.docx
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 24 ตุลาคม 2566 เวลา 10.00-11.00 น. ณ ชั้น 10 สนส.ม.อ. และ zoom ออนไลน์
ประชุมเพื่อรวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้นวัตกรรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปประชุม วันที่ 24 ตุลาคม 2566 เวลา 10.00-11.00 น. ณ ชั้น 10 สนส.ม.อ. และ zoom ออนไลน์ 1. ชื่อกิจกรรม การประชุมเพื่อรวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้นวัตกรรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2. วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม เพื่อได้ข้อมูลข้อเสนอเชิงนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนไทยเสนอต่อหน่วยงานที่กำหนด 3. ตัวชี้วัด ได้องค์ความรู้การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้แก่ 1. การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2. การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน
3. ความปลอดภัยในพื้นที่สวนสาธารณะ

  1. จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม / รายชื่อ
    จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม 5 คน
    หน่วยงาน/รายชื่อ
    คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    1. ดร.ภก. ธนเทพ วณิชยากร

    สถาบันนโยบายสาธารณะ

  2. ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์
  3. นายญัตติพงศ์ แก้วทอง
  4. นางสาวฐิติชญา หนูสอน
  5. นางสาวมนชนก แก้วชูเชิด

  6. รายละเอียดการจัดกิจกรรม

    1. สร้างความเข้าใจภาพรวมโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
    2. Mapping ข้อมูลการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน และความปลอดภัยในพื้นที่สวนสาธารณะ
    3. กำหนดหัวข้อทบทวนเอกสาร
  7. ผลลัพธ์ (เชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ)

    1. ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
    2. ได้หัวข้อทบทวนเอกสาร ได้แก่ 1) การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2) การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน 3) ความปลอดภัยในพื้นที่สวนสาธารณะ
    3. ได้แนวทางการนำข้อมูลต่อหน่วยงานที่กำหนดนโยบาย ผ่านรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ
    4. ข้อมูลการออกแบบพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การทบทวนเอกสารจะได้ 2 แนวทาง คือ 1. การวัดผลเกณฑ์มาตรฐานการใช้พื้นที่สาธารณะ และ 2. การออกแบบพื้นที่สาธารณะ/ตัวอย่างพื้นที่ออกแบบ
  8. แผนการดำเนินการต่อ

    1. กำหนดวันสุดท้ายการทบทวนเอกสารช่วงเดือนมกราคม 2567
    2. รายงานความก้าวหน้าการทวนเอกสารเดือนละ 2 ครั้ง
    • พฤศจิกายน 2566 จำนวน 2 ครั้ง
    • ธันวาคม 2566 จำนวน 2 ครั้ง
    1. ช่วงเดือนมกราคม 2567 นำข้อมูลจัดเวทีแลกเปลี่ยนและนำข้อเสนอสู่ผู้กำหนดนโยบาย