สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง 8 อปท. อำเภอหัวตะพาน จังหวัด อำนาจเจริญ12 กันยายน 2567
12
กันยายน 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
  • IMG_4309_0.jpg
  • IMG_4307_0.jpg
  • IMG_4304_0.jpg
  • IMG_4303_0.jpg
  • IMG_4298_0.jpg
  • IMG_4295_0.jpg
  • IMG_4549_0.jpg
  • IMG_4458_0.jpg
  • IMG_4398_0.jpg
  • IMG_4385_0.jpg
  • IMG_4354_0.jpg
  • IMG_4350_0.jpg
  • S__13738041_0.jpg
  • S__13738040_0.jpg
  • S__13738039_0.jpg
  • S__13738038_0.jpg
  • S__13738037_0.jpg
  • S__13738035_0.jpg
  • S__13738034_0.jpg
  • S__13738033_0.jpg
  • S__13738032_0.jpg
  • S__13738031_0.jpg
  • S__13738030_0.jpg
  • S__13738029_0.jpg
  • S__13738028_0.jpg
  • S__13738027_0.jpg
  • S__13738026_0.jpg
  • S__13738024_0.jpg
  • S__13738034_0.jpg
  • S__13738033_0.jpg
  • S__13738032_0.jpg
  • S__13738031_0.jpg
  • S__13738030_0.jpg
  • S__13738029_0.jpg
  • S__13738028_0.jpg
  • S__13738027_0.jpg
  • S__13738026_0.jpg
  • S__13738024_0.jpg
  • S__13738023_0.jpg
  • S__13738022_0.jpg
  • S__13738028_0.jpg
  • S__13738027_0.jpg
  • S__13738026_0.jpg
  • S__13738024_0.jpg
  • S__13738023_0.jpg
  • S__13738022_0.jpg
  • S__13738021_0.jpg
  • S__13738020_0.jpg
  • S__13738019_0.jpg
  • S__13738018_0.jpg
  • S__13738017_0.jpg
  • S__13738016_0.jpg
  • S__13738015_0.jpg
  • S__13738013_0.jpg
  • S__13738012_0.jpg
  • S__13738011_0.jpg
  • S__13738010_0.jpg
  • S__13738009_0.jpg
  • S__13738008_0.jpg
  • S__13738007_0.jpg
  • S__13738006_0.jpg
  • S__13738005_0.jpg
  • S__13738004_0.jpg
  • S__13738002_0.jpg
  • หัวตะพาน21_0.jpg
  • หัวตะพาน20_0.jpg
  • หัวตะพาน19_0.jpg
  • หัวตะพาน18_0.jpg
  • หัวตะพาน17_0.jpg
  • หัวตะพาน3_0.jpg
  • หัวตะพาน2_0.jpg
  • หัวตะพาน1_0.jpg
  • หัวตะพาน21_0.jpg
  • หัวตะพาน20_0.jpg
  • หัวตะพาน19_0.jpg
  • หัวตะพาน18_0.jpg
  • หัวตะพาน17_0.jpg
  • หัวตะพาน3_0.jpg
  • หัวตะพาน2_0.jpg
  • หัวตะพาน1_0.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการ ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง 8 อปท. อำเภอหัวตะพาน จังหวัด อำนาจเจริญ
วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ.2567 เวลา 09.00 – 20.00 น.
ณ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ

1) วัตถุประสงค์   1.1) เพื่อสรุปแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่
  1.2) เพื่อสรุปผลการถอดบทเรียนรูปแบบกิจกรรมและพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะ
  1.3) เพื่อสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมในการสร้างกลไกความร่วมมือบันทึกข้อตกลงส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
2) ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 70 คน   2.1) นายกเทศมนตรี/นายกอบต. 8 แห่งๆ ละ 1 คน  จำนวน 8 คน   2.2) ปลัดเทศบาล/ปลัดอบต.  8 แห่งๆ ละ 1 คน  จำนวน 8 คน   2.3) ผอ.กองสาธารณสุข/ผอ.กองการศึกษา/ผอ.กองช่าง 8 แห่งๆ ละ 2 คน จำนวน 16 คน   2.4) หัวหน้าสำนักปลัด 8 แห่งๆ ละ 1 คน      จำนวน 8 คน   2.6) ผู้รับทุนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 8 แห่ง แห่งๆ ละ 2 คน จำนวน 16 คน
3) ภาคีเครือข่าย   3.1) สาธารณสุขอำเภอ/จนท.ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 คน   3.2) ท้องถิ่นอำเภอ จำนวน 1 คน   3.3) คณะทำงานเขต/จังหวัด จำนวน 7 คน   3.4) คณะทำงานจากสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 3 คน   3.5) โหนดจังหวัด (สสส.) จำนวน 1 คน กำหนดการ เวลา รายละเอียด วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ.2567 09.30 – 10.00 น. ลงทะเบียน รับเอกสาร 10.00 – 10.30 น. กล่าวรายงานความเป็นมาการดำเนินงานประชุมชี้แจงโครงการ
โดย นายกเทศมนตรีหัวตะพาน กล่าวเปิดการประชุมและมอบนโยบายการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่ สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย(PA) และการสื่อสารสาธารณะ ระดับตำบล และอำเภอ
โดย นายอำเภอหัวตะพาน
10.30 – 10.50 น. สรุปการดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการสื่อสารสาธารณะระดับตำบลและอำเภอ” โดย ดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 10.50 – 11.10 น. ผลการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย โดย ผศ.กตัญญู หอสูติสิมา คณะสถาปัตย์ฯ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และนายชุนันทร์ วามะขัน
นักวิจัย/สถาปนิกศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 11.10 – 12.00 น. แบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็น สรุปผลการถอดบทเรียนรูปแบบกิจกรรมและพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะ โจทย์การแบ่งกลุ่ม ดังนี้ 1. สรุปภาพรวมแผนกิจกรรมทางกายและโครงการ
2. ผลลัพธ์กิจกรรมโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
3. แนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ 4. แนวทางการดำเนินงานต่อในระยะถัดไป
5. ปัจจัยเอื้อปัจจัยความสำเร็จ ปัจจัยอุปสรรค ข้อจำกัด โอกาสการพัฒนาต่อ
โดย นายรพินทร์ ยืนยาว มูลนิธิประชาสังคม อุบลราชธานี 12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.45 น. นำเสนอผลการถอดบทเรียนรูปแบบกิจกรรมและพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะ
โดย นายรพินทร์ ยืนยาว มูลนิธิประชาสังคม อุบลราชธานี 16.00 – 17.00 น. เวทีสาธารณะ “เสวนาแนวทางการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการสนับสนุนกิจกรรมโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อลดโรค NCDs” 17.00 – 19.00 น. กิจกรรมแลกเปลี่ยนนำเสนอกิจกรรมของชุมชน และเดินทำกิจกรรมตามบูธต่างๆ
โดย ท้องถิ่น 8 อปท. รับชมการแสดง 1. กิจกรรมการแสดงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลหัวตะพาน 2. กิจกรรมการแสดง รร.ผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลหัวตะพาน 3. กิจกรรมการแสดง รร.ผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ 4. กิจกรรมเยี่ยมชมตลาดจำหน่ายสินค้า 5. กิจกรรมเยี่ยมชมบูธ - บูธตรวจสุขภาพ - บูธใส่ใจสิ่งแวดล้อม - บูธกิจกรรมแสดงผลงาน รร.ผู้สูงอายุ 6. กิจกรรมการละเล่นดนตรี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

KICK OFF เวทีสาธารณะสวน 3 วัยใส่ใจ 3 อ. (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย)เทศบาลตำบลหัวตะพาน โดยมีนายประหยัด คูณมี นายอำเภอหัวตะพาน เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งมีการจัดแสดงกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมทางกายของกลุ่ม ชมรม เครือข่ายมวลชนในแต่ละชุมชน
และจัดเวทีเสวนาประเด็นสุขภาวะกับกิจกรรมทางกาย ซึ่งผู้ร่วมรายการประกอบด้วย
นายธนิต ชาววัง นายกเทศมนตรีตำบลหัวตะพาน
นายสุธรรม ยืนสุข นายกอบต.จิกดู่
นายเชวงศักดิ์ พุทธโธ ผอ.กองสาธารณสุข อบต.สร้างถ่อน้อย
นายอิทธิพล พิมพบุตร ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอหัวตะพาน
โดยมีนายสมเกียรติ ธรรมสาร ผอ.รพ.สต.สร้างถ่อน้อย ดำเนินรายการ
ซึ่งตอนหนึ่งนายอิทธิพล พิมพบุตร ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอหัวตะพานระบุว่าอำเภอหัวตะพานประสบปัญหาโรคไข้เลือดออกระบาดมาต่อเนื่องจากสถิติผู้ป่วยพบเป็นอันดับ 2 ของจังหวัด
ในขณะที่นายธนิต ชาววัง สะท้อนถึงปัญหางบประมาณในการสร้างภาวะดูแลผู้สูงอายุแต่ด้วยจิตอาสาของคณะทำงานที่จัดตั้งเป็นกลุ่มส่งผลให้การบริหารจัดการของโรงเรียนผู้สูงอายุราบรื่นขจัดอุปสรรคเรื่องงบประมาณไปได้มาก ปัจจุบันโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลหัวตะพานผลิตนักเรียนออกมาปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 8 แล้วซึ่งแต่ละรุ่นมีจำนวน 100 คน
ส่วนนายสุธรรม ยืนสุข นายกอบต.จิกดู่ ยอมรับว่าการดำเนินงานด้านสุขภาวะยังไม่เต็มร้อยเนื่องจากเป็นอปท.ขนาดเล็กมีงบประมาณน้อย อีกทั้งประสบปัญหาการมีส่วนร่วมโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงวัย การจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุจึงเดินหน้าได้เพียง 50 เปอร์เซ็นต์ แต่กระนั้นกิจกรรมด้านนันทนาการอื่นๆเช่น การแข่งขันกีฬาอบต.จิกดู่ได้จัดเป็นประจำทุกปี
ทางด้านนายเชวงศักดิ์ พุทธโธ ผอ.กองสาธารณสุข อบต.สร้างถ่อน้อย ชี้แจงว่าในพื้นที่ตำบลสร้างถ่อน้อยมีผู้สูงอายุราว 1,300 คน ซึ่งมากที่สุดของอำเภอส่วนหนึ่งมีลักษณะนิสัยต้องการอยู่ลำพัง ติดบ้าน ทางอบต.ก็ได้รณรงค์ชักชวนให้กลุ่มเหล่านั้นออกมาร่วมกิจกรรมผ่านโรงเรียนผู้สูงอายุปรับทัศนคติซึ่งทางโรงเรียนรับได้รุ่นละ 40 คนปัจจุบันมีนักเรียนจบไป 2 รุ่นแล้วและได้ย้ำว่าจุดแข็งของอบต.สร้างถ่อน้อยคือทีมผู้บริหารใส่ใจเรื่องนี้เป็นพิเศษโดยได้ประสานและได้รับทุนดำเนินงานกิจกรรมสุขภาวะจากสสส.มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557
ด้านดร.เพ็ญ สุขมาก ผอ.สถาบันนโยบายสาธารณะ ม.สงขลานครินทร์ กล่าวถึงโครงการดังกล่าวว่า มุ่งหวังให้ชุมชนได้ตระหนักถึงสุขภาพที่มีผลต่อโรคNCD (โรคไม่ติดต่อที่เกิดจากพฤติกรรม)ที่เกิดจากการมีกิจกรรมทางกายน้อยไม่เพียงพอซึ่งอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การทำงาน การเดินทาง ของประชาชนในทุกช่วงวัยซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มสูงขึ้นไม่เป็นไปตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก