สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

(P001001) ประชุมรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้านการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ และการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน12 พฤษภาคม 2566
12
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย thitichaya6139
  • ข้อมูล ภาพรวมสถานการณ์ของการมีกิจกรรมทางกายของคนไทย.pdf
  • C5054F12-F002-45A2-BFA9-EE1B0CAFE2D5.jpg
  • AD20EC96-D0E6-4956-82F1-49C634CF45BE.jpg
  • 50F155A1-24D9-4D03-9F9E-BDFC4F4287DF.jpg
  • 7B8126D5-02F0-4B21-AEA7-3E669399A6FC.jpg
  • 5A8033E2-88FB-4EDE-854E-0A6AFA41D385.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้านการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ และการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ภาพรวมสถานการณ์ของการมีกิจกรรมทางกายของคนไทย จากการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์์กิจกรรมทางกายระดับประเทศ โดยสถาบันวิจัยประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับ สสส. และกระทรวงสาธารณสุข แสดงให้้เห็นว่าทิศทางการมีีกิจกรรมทางกายของประชากรไทยมีีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 66.3 ในปีี พ.ศ. 2555 (ปีีฐานของการสำรวจ) เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 74.6 ในปีี พ.ศ. 2562 (ก่อนสถานการณ์์โควิด-19) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ประชากรไทยมีกิจกรรมทางกายสูงที่สุดในรอบ 10 ปี
ในปี พ.ศ. 2563-2564 ช่วงการแพร่่ระบาดของโควิด-19 ด้วยข้อจำกัดในการใช้ชีวิตดังที่่เคยเป็นตามปกติิ ส่งผลให้้ระดับการมีกิจกรรมทางกายที่่เพียงพอของคนไทยในภาพรวมลดลง โดยการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนไทยลดลงเหลือเพียงร้อยละ 54.3 ในปี พ.ศ. 2563 และปรับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 63.0 ในปี 2564 และร้อยละ 62.0 ในปี พ.ศ. 2565

เมื่อพิจารณาการมีกิจกรรมทางกายตามพื้นที่ ในปี พ.ศ. 2564  พบว่า จังหวัดที่ประชาชนมีกิจกรรมทางกายเพียงพอสูงสุด 5 จังหวัด คือ สงขลา มหาสารคาม มุกดาหาร กระบี่ และราชบุรี ส่วนจังหวัดประชาชนมีกิจกรรมทางกายเพียงพอต่ำสุด 5 จังหวัด คือ ปัตตานี ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ สมุทรสาคร และบึงกาฬ โดยพบความแตกต่างระหว่างจังหวัดที่มีกิจกรรมที่เพียงพอสูง มีสัดส่วนประชากรที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอสูงกว่าจังหวัดที่มีกิจกรรมเพียงพอต่ำมากกว่า 3 เท่า ซึ่งความแตกต่างที่เกิดขึ้นอาจเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย เช่น โครงสร้างอายุของประชากรในพื้นที่ ลักษณะอาชีพ โครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย และลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมในเรื่องการมีกิจกรรมทางกาย เมื่อพิจารณาในพื้นที่ภาคใต้ พบว่า จังหวัดที่ประชาชนมีกิจกรรมทางกายเพียงพอสูงสุด 3 จังหวัดแรก คือ สงขลา (91.6%) กระบี่ (83.5%) และชุมพร (80.4%) ขณะที่ จังหวัดที่ประชาชนมีกิจกรรมทางกายเพียงพอต่ำสุด 3 จังหวัด คือ ปัตตานี (31.9%) นราธิวาส (36.8%) และพัทลุง (36.8%)

เมื่อพิจารณาเป็นช่วงอายุและเพศ ซึ่งเป็นปัจจัยกำหนดสำคัญในการมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ พบว่ากลุ่มประชากรที่เสี่ยงต่อการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ คือ กลุ่มเด็กและเยาวชน และผูู้หญิง (ภาพที่ 3 และ 4) โดยทุกกลุ่มอายุมีสัดส่วนการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่ำกว่าเป้าหมายแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ. 2561–2573 ที่ตั้งตัวชี้วัดประชาชนมีกิจกรรมทางกายเพียงพอที่ร้อยละ 75 กลุ่มเด็กและเยาวชน อายุ 6–17 ปี เป็นกลุ่มที่ต้องส่งเสริมเป็นพิเศษ เพราะมีสัดส่วนกิจกรรมทางกายเพียงพอต่ำที่สุดในทุกกลุ่มอายุ ในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มมีมาตรการของโควิด-19 และมาตรการล็อกดาวน์ พบว่ากิจกรรมทางกายเพียงพอลดลงในทุกกลุ่มอายุ เมื่อพิจารณาเกี่ยวกับเพศ พบว่า ผู้หญิงมีกิจกรรมทางกายเพียงพอต่ำกว่าผู้ชายในทุกกลุ่มอายุ

พบว่า ในปี พ.ศ. 2565 กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอเพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 60.6 (จากเดิมร้อยละ 58.6) ขณะที่กลุ่มวัยทำงาน อายุ 18-59 ปี และกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุ 5-17 ปี มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอลดลง เหลือร้อยละ 65.8 (จากเดิมร้อยละ 66.8 ) และร้อยละ 16.1 (จากเดิมร้อยละ 24.2) ตามลำดับ

สถานการณ์การมีกิจกรรมทางกาย จำแนกตามสภาพแวดล้อม
การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของประชากรไทย จำแนกตามสภาพแวดล้อม ครอบครัว โรงเรียน ที่ทำงาน และชุมชน สรุปได้ดังนี้ 1. กิจกรรมทางกายในสภาพแวดล้อมครอบครัว ลักษณะครอบครัวมีส่วนสำคัญกับการมีกิจกรรมทางกาย ซึ่งพบว่าการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในแต่ละลักษณะครอบครัวมีสัดส่วนการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่ำกว่าค่าเป้าหมายของประเทศ จากการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2564 พบว่า ลักษณะครอบครัวที่อยู่พร้อมหน้าพ่อแม่ลูก มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอสูงสุด ร้อยละ 62.4 ซึ่งสูงกว่าครอบครัวในลักษณะอื่น ในขณะที่ ผู้ที่อยู่คนเดียวมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอที่ร้อยละ 53.7
2. กิจกรรมทางกายในสภาพแวดล้อมโรงเรียน โรงเรียนที่ให้ความสำคัญกับการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียน เช่น โครงการโรงเรียนฉลาดเล่น ที่ส่งเสริมให้เด็ก ๆ ได้มีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกายตลอดทั้งวัน สามารถเพิ่มสัดส่วนนักเรียนที่มีกิจกรรมทางกายได้เพียงพอ จากการศึกษานักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ในโครงการโรงเรียนฉลาดเล่น ปี พ.ศ. 2562 พบว่านักเรียนในโรงเรียนที่ร่วมโครงการ มีสัดส่วนนักเรียนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอที่ร้อยละ 15.9 ขณะที่ โรงเรียนทั่วไปที่ไม่ร่วมโครงการ มีสัดส่วนนักเรียนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอที่ร้อยละ 0.6
3. กิจกรรมทางกายในสภาพแวดล้อมที่ทำงาน การมีกิจกรรมทางกายในสถานที่ทำงาน พบว่า กลุ่มลูกจ้าง ทั้งในภาคเอกชน ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ เป็นกลุ่มคนทำงานที่มีสัดส่วนของผู้ที่มีกิจกรรมทางกายโดยเฉลี่ยในแต่ละวันที่ไม่เพียงพอสูงกว่ากลุ่มอื่น คิดเป็นร้อยละ 41.7 39.4 และ 39.5 ตามลำดับ ดังนั้น องค์กรที่ทำงานจึงควรมีบทบาทในการสนับสนุนและส่งเสริมสภาพแวดล้อมด้านอาหารในที่ทำงานหรือบริเวณโดยรอบที่ทำงานที่เอื้อต่อการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพของคนทำงาน รวมถึงมีนโยบายหรือมาตรการเพื่อสนับสนุนให้ลูกจ้างหรือคนทำงานได้มีการเคลื่อนไหว มีกิจกรรมทางกายในระหว่างการทำงานและการออกกำลังกายอย่างเพียงพอเพิ่มขึ้น 4. กิจกรรมทางกายในสภาพแวดล้อมชุมชน ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนในชุมชน คือ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย ชุมชนที่มีโครงสร้างพื้นฐานให้เดินหรือปั่นจักรยาน มีการบริหารจัดการพื้นที่และกิจกรรมของชุมชน ทั้งการส่งเสริมให้มีการเล่นกีฬา กิจกรรมนันทนาการ การจัดแข่งกีฬาหรือกิจกรรมทางกาย จะส่งผลให้ประชาชนในชุมชนมีระดับกิจกรรมทางกายที่เพียงพอสูงกว่าชุมชนที่ไม่ได้มีการสร้างเสริมสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการมีกิจกรรมทางกาย

กิจกรรมทางกายและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประชากรที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ สามารถลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable Diseases: NCD) ได้ จากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของประชากรปี พ.ศ. 2564 พบว่า กลุ่มประชากรที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอตรวจพบโรคไม่ติดต่อเรื้อรังน้อยกว่ากลุ่มประชากรที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ผู้มีกิจกรรมทางกายเพียงพอตรวจพบการเป็นความดันโลหิตสูงที่ร้อยละ 18.4 โรคเบาหวานที่ร้อยละ 8.9 ขณะที่ผู้มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอพบการเป็นความดันโลหิตสูงที่ร้อยละ 23.4 โรคเบาหวานที่ร้อยละ 11.8 ดังนั้น การส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้เพียงพอในทุกเพศและทุกวัย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในระยะยาว