สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

เกี่ยวกับสถาบัน

วิสัยทัศน์ (Vision)

วิชาการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

direction.png

พันธกิจ (Mission)

สถาบันนโยบายสาธารณะ(สนส.) มีบทบาทสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน มีศักยภาพในการสร้างชุดความรู้ เกิดกลไกการจัดการเชิงระบบ และการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ โดยใช้บริบทพื้นที่เป็นตัวตั้ง ทั้งนี้เพื่อให้สังคมมีการใช้ความรู้ในการแก้ปัญหา สร้างนวัตกรรมเชิงระบบ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตอบสนองยุทธศาสตร์ของประเทศ

direction.png

พันธกิจหลักของ สนส. มี 3 ประการ

  1. เป็นสถาบัน ที่ทำหน้าที่ สนับสนุน ส่งเสริม และดำเนินการจัดการงานวิจัย พัฒนานวัตกรรมเชิงระบบ และเชิงนโยบาย เพื่อสร้างองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้ นำไปสู่กระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาทั้งระดับพื้นที่ ระดับประเทศ
  2. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในสหวิทยาการที่เข้มแข็ง ทั้งที่มาจากสถาบันอุดมศึกษาจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จากองค์กรพัฒนาเอกชนและจากชุมชน เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะอย่างมีส่วนร่วม
  3. เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งการผลิตบัณฑิต การพัฒนาศักยภาพของคนและเครือข่าย เพื่อเป็นกำลังหลักในการแก้ปัญหาและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ยุทธศาสตร์หลัก การดำเนินงานของ สนส.

  1. ใช้กระบวนการทางวิชาการและงานวิจัย เป็นเครื่องมือและกลไกในการประสานงาน
  2. ใช้การทำงานแบบเครือข่าย โดยระดมนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาในพื้นที่ เครือข่ายประชาสังคม องค์กรชุมชน ราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งที่เป็นผู้บริหาร ผู้มีอำนาจตัดสินใจ นักวิเคราะห์ระบบ นักเคลื่อนไหวในพื้นที่ เพื่อสร้างเป็นเครือข่ายทำงานและจัดการประเด็นที่เรียงลำดับตามความสำคัญ
  3. ใช้กระบวนการบริหารจัดการความรู้ การสร้างองค์กรและสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในเครือข่ายระดับต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและเป็นพลังในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับชุมชนท้องถิ่นได้อย่างต่อเนื่อง
  4. ใช้กระบวนการนโยบายสาธารณะ กระบวนการสมัชชา ในการผลักดันนโยบายทั้งในระดับพื้นที่ ระดับภาคและระดับประเทศ

แนวทางการเปลี่ยนยุทธศาสตร์เป็นกลวิธีการปฏิบัติงาน

  1. การปรับกระบวนทัศน์ของนักวิจัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้คิดเชิงระบบและเชิงนโยบายมองเห็นถึงความเชื่อมโยงของแต่ละปัจจัยในเชิงระบบ โดยอาศัยการทำ Research and Policy Mapping และ การแลกเปลี่ยนในเวทีวิชาการ
  2. การสร้างทีมนักวิจัย นักจัดการ ทั้งกลุ่มที่มี ศักยภาพสูง ปานกลาง และกลุ่มที่ยังต้องการพัฒนาศักยภาพเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ไปด้วยกัน โดยมีลักษณะเป็นเครือข่ายความรู้ (Knowledge Network) และใช้ระบบพี่เลี้ยง (Research Counselors : RC) ทั้งเชิงพื้นที่และเชิงประเด็น
  3. การพัฒนาระบบสนับสนุนการจัดการ ได้แก่ ระบบข้อมูลสารสนเทศ ระบบติดตาม ระบบการประเมินผล ระบบการเงินและงบประมาณจากแหล่งทุนต่าง ๆ
  4. การพัฒนาคุณภาพของงานวิจัยและพัฒนา ทั้งเชิงระบบและเชิงนโยบาย โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ใช้ประโยชน์จากงานในแต่ละประเด็น และ การสร้างเวทีวิชาการ เวทีนโยบายเพื่อการติดตามความก้าวหน้าและการผลักดันนโยบาย
  5. การพัฒนากลไกและวิธีการในการจัดการเพื่อให้งานวิจัยและพัฒนาเกิดการนำไปใช้ประโยชน์ (research utilization) โดยการดึง stakeholder ซึ่งรวมทั้ง User เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่การตั้งโจทย์ การร่วมศึกษา และร่วมผลักดัน เพื่อทำให้เกิดคุณค่าตรงกับความต้องการของ user
  6. ใช้การจัดการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาในการสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพ และสร้างบุคลากรที่มีศักยภาพในการทำวิจัยเชิงระบบและการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย

บุคลากรภายในสถาบัน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ

รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์

ดร.เพ็ญ สุขมาก

ปร.ด. (การจัดการสิ่งแวดล้อม), ม.สงขลานครินทร์, 2557
ตำแหน่ง: ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ. ม.อ.

บุคลากรฝ่ายวิชาการ (อาจารย์ประจำสถาบัน)

ดร.ซอฟียะห์ นิมะ

ปร.ด. (เภสัชศาสตร์), ม.สงขลานครินทร์, 2555 ตำแหน่ง: อาจารย์ สนส. ม.อ.

ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย

Ph.D. (Epidemiology), ม.สงขลานครินทร์, 2551 ตำแหน่ง: อาจารย์ สนส. ม.อ.

ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์

ตำแหน่ง: อาจารย์ สนส. ม.อ.

ดร.ซูวารี มอซู

ตำแหน่ง: อาจารย์ สนส. ม.อ.

บุคลากรฝ่ายสนับสนุน

นายภวินท์ แซ่คู

นักวิชาการคอมพิวเตอร์

นายญัตติพงศ์ แก้วทอง

ผู้ประสานงานวิจัย

นางสาววรรณา สุวรรณชาตรี

ผู้ประสานงานวิจัย

นางสาวเยาวลักษณ์ ศรีสุกใส

นักวิชาการอุดมศึกษา

นางสาวจินดาวรรณ รามทอง

ผู้ประสานงานวิจัย

นางสาวฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์

ผู้ประสานงานวิจัย

นางสาวอิสรา มิตรช่วยรอด

ผู้ประสานงานวิจัย

การประกันคุณภาพหลักสูตร

ระบบสารสนเทศบุคคลากร