สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ พืชร่วมยาง ชุมพร
ภายใต้โครงการ พืชร่วมยาง
ภายใต้องค์กร สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 พฤศจิกายน 2564
แหล่งทุน
ไม่ระบุ
งบประมาณ 200,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สมาคมประชาสังคมชุมพร
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายทวีวัตร เครือสาย/นส.หนึ่งฤทัย พันกุ่ม/พัลลภา ระสุโส๊ะ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดชุมพร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. พื้นที่เป้าหมาย
จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
ชุมพร place directions
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานประเด็นความมั่นคงอาหาร:ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ ของคณะทำงานศึกษาและพัฒนาข้อเสนอพัฒนาระบบเกษตร
และอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ และคณะทำงานยุทธศาสตร์ กขป.ภาคใต้ จากเวทีสร้างสุขภาคใต้ ปี 2562 ภายใต้หลักคิดสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ อธิปไตยทางอาหาร สร้างหลักประกันในชีวิต จัดความสัมพันธ์ใหม่ โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ ความมั่นคงทางอาหารและชีวิตพลเมืองฅนใต้ มีประเด็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ 6 ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่ เพื่อนำเข้า การพัฒนาระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ ตั้งอยู่ภายใต้หลักคิดสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ อธิปไตยทางอาหาร ด้วยการส่งเสริมสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรให้เกิดความสมดุลยั่งยืน มีระบบจัดการผลผลิตที่เกื้อกูลและเหมาะสมกับบริบทพื้นที่ เพื่อให้มีปริมาณอาหารที่เพียงพอ มีคุณภาพอาหารปลอดภัย สร้างหลักประกันในชีวิต ด้วยการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ มีหลักประกันทางรายได้และสวัสดิการ สวัสดิภาพ มีความมั่นคงทางสุขภาพแก่พลเมืองฅนใต้ จัดความสัมพันธ์ใหม่ ปรับกระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดหรือสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน ระหว่างชุมชนท้องถิ่นกับหน่วยงานองค์กรภาครัฐและเอกชน ระหว่างกลุ่มองค์กรเครือข่ายด้วยกัน มีความเคารพศักดิ์ครีความเป็นมนุษย์ต่อกันด้วยหลักปฏิบัติ “คิดเอื้อ คิดเผื่อ เพื่อนช่วยเพื่อน พี่ดูแลน้อง ” และแบ่งปันผลประโยชน์ที่เหมาะสม เท่าเทียม เป็นธรรม ด้วยความพึงพอใจร่วมกันของหุ้นส่วนผลประโยชน์ตน ประโยชน์สาธารณะจากฐานหลักคิดข้างต้นเพื่อให้เกิดหรือบรรลุเป้าหมายร่วมกัน คือ ความมั่นคงทางอาหารและชีวิตพลเมืองฅนใต้ จำเป็นต้องมีประเด็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ 7 แนวทาง/ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) การพัฒนาระบบและกลไกขับเคลื่อนระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ ทำหน้าที่ในการติดตาม ผลักดันแผนยุทธศาสตร์และข้อเสนอเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติตามศักยภาพและโอกาสที่เอื้ออำนวย ด้วยยุทธวิธีสำคัญ เช่น การสร้างความรอบรู้ด้านอาหารศึกษาและบริโภคศึกษาแก่ประชาชนพลเมือง ติดตามทบทวนแผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ให้เหมาะสมกับภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร และประยุกต์ใช้กระบวนการธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่ ประกาศเขตเกษตรสุขภาพ (พื้นที่คุ้มครองทางเกษตรกรรมสุขภาพ) ในระดับพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นต่าง ๆ และการสร้างความเข้มแข็งแก่สถาบันเกษตรกรให้เป็นเสาหลักของชุมชนท้องถิ่น พร้อมการเชื่อมโยงประสานเครือข่ายในระดับท้องถิ่น จังหวัดหรือภูมิภาคให้เป็นพลังสร้างการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย 2) การพัฒนาระบบเกษตรสุขภาพที่สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เกษตรยั่งยืน วนเกษตร เกษตรธรรมชาติ (mao) ธนาคารต้นไม้ เกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัย เกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ และ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประมงชายฝั่ง) โดยส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานและเพิ่มมูลผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานโดยหลักอาชีวอนามัย การส่งเสริมการผลิตเกษตรปลอดสารอาหารปลอดภัย การเฝ้าระวังสารเคมีเกษตรและอาหารปลอดภัย การส่งเสริมสนับสนุนและขยายผลให้ต้นไม้เป็นทรัพย์และหลักประกันในชีวิตเพื่อรองรับสังคมสูงวัย เป็นต้น 3) เสริมสร้างสุขภาวะชาวสวนยางและปาล์มน้ำมัน โดยการส่งเสริมวิจัยและพัฒนา เพิ่มมูลค่าในกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์จากปาล์มน้ำมันและยางพารา ให้แก่กลุ่มเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบการ การส่งเสริมและสนับสนุนสวนยางยั่งยืน ส่งเสริมการปรับวิถีการผลิตปาล์มน้ำมันแบบผสมผสานและเพิ่มประสิทธิการจัดการแปลง การส่งเสริมและขยายผลสวนเกษตรธาตุสี่หรือสวนสมรม สร้างมาตรการส่งเสริมการออมและสวัสดิการเพื่อเป็นหลักประกันในชีวิตแก่ชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน เป็นต้น 4) การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมและพืชอัตลักษณ์ถิ่น โดยการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์ ให้คงอยู่เป็นฐานทรัพยากรกับชุมชนท้องถิ่น การส่งเสริมธนาคารเมล็ดพันธุ์และพันธุกรรมถิ่น การวิจัยและพัฒนาสมุนไพรเพื่อสุขภาพและการแพทย์ประจำถิ่น เช่น กัญชาเพื่อการแพทย์ กระท่อมชูกำลัง ขมิ้นถิ่นใต้ ฯ การพัฒนาต่อยอดพืชอัตลักษณ์ถิ่นให้เกิดมูลค่าและคุณค่าเพิ่มขึ้น เช่น กล้วยเล็บมือนางชุมพร ข้าวสังข์หยดพัทลุง ข้าวเหลืองปะทิว ส้มโอทับทิมสยาม เป็นต้น 5) การอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมที่สมดุลยั่งยืน โดยการขยายผลการสร้างฝายมีชีวิตและการจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม การอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาทรัพยากรดิน น้ำ ป่า และสภาพแวดล้อม การพัฒนากลไกเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศแบบมีส่วนร่วม การประเมินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) เป็นต้น 6) สุขภาวะชาวประมง โดยมีแนวทางสำคัญ เช่น มาตรการคุ้มครองพื้นที่สัวต์น้ำและประมงชายฝั่ง ธนาคารอาหารสัตว์น้ำ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าประมง ฯ 7)เพิ่มประสิทธิการบริหารจัดการตลาดให้เกิดการลดช่องว่างระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค โดย เสริมสร้างการเชื่อมโยงการจัดการของกลุ่มผู้ผลิตเกษตรสุขภาพกับผู้ประกอบการท่องเที่ยวหรือกลุ่มท่องเที่ยวชุมชน การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการภาคเกษตร (เกษตรกรมืออาชีพ เกษตรกรรุ่นใหม่ ครัวเรือนพอเพียง ผู้ประกอบการครัวเรือน ) สร้างและพัฒนาโอกาสบริหารจัดการตลาดชุมชนท้องถิ่น ตลาดทั่วไป ตลาดออนไลน์แก่ผู้ประกอบการ การยกระดับการตลาดด้วยเชื่อมโยงจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) การค้าการลงทุนหรือการร่วมทุน ระหว่างผู้ประกอบการกับหุ้นส่วนทางธุรกิจ เป็นต้น สำหรับในพื้นที่จังหวัดชุมพรซึ่งได้นำแนวทางระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ มาดำเนินการโดยประยุกต์ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์จังหวัดและเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด ปี 2561-2565 "ชุมพรเมืองน่าอยู่ บนพื้นฐานการเกษตรกรรมและการท่องเที่ยวคุณภาพ เชื่อมโยงการพัฒนาสองฝั่งทะเล  ประกอบกับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดชุมพรที่ได้ประกาศวาระสุขภาพที่ดำเนินการตั้งแต่ปี 2562 ใน 3 เรื่องได้แก่ การลดละเลิกสารเคมีเกษตร  จัดการโรคเรื้อรัง และสุขภาวะผู้สูงอายุ ในส่วนภาคประชาสังคมและสมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร ตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งมีประเด็นยุทธศาสตร์ 3 ประเด็นได้แก่ เกษตรสุขภาวะ:ครัวเรือนพอเพียง เมืองน่าอยู่:จัดการปัจจัยเสี่ยง จัดการทรัพยากรธรรมธรรมชาติ:การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน ดังนั้นหน่วยประสานจัดการระดับจังหวัด Node Flagship Chumphon หรือสมาคมประชาสังคมชุมพร ได้สนับสนุนพื้นที่การสร้างเสริมสุขภาวะ มาต่อเนื่อง 3 ปีที่ผ่านมาจำนวน 67 พื้นที่/ชุมชน ซึ่งจะเป็นต้นทุนสำคัญต่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดชุมพร หน่วยประสานจัดการจังหวัดชุมพรและภาคียุทธศาสตร์ได้ร่วมกันพิจารณาสถานการณ์และประเด็นสุขภาวะที่สำคัญต่อการคุณภาพชีวิตผู้คนจังหวัดชุมพร และคำนึงถึงความเป็นไปได้ การมีส่วนร่วมของของภาคีเครือข่ายต่อการขับเคลื่อนในอนาคต จึงได้เลือก 2 ประเด็น ได้แก่  1)เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ หรือ เกษตรสุขภาพ จึงมีนิยามความหมาย : การผลิตทางการเกษตร ซึ่งรวมทั้งการเลี้ยงสัตว์และการปลูกป่าที่กำหนดขึ้นให้เหมาะสมกับสุขภาวะ โดยคำนึงถึงการรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีและเอื้อต่อสุขภาพ เช่น ดินฟ้าอากาศ แหล่งน้ำ พืชที่ปลูก สัตว์ที่เลี้ยง ฯลฯ รวมความถึงกระบวนการผลิตต่อเนื่องอันนำสู่การเป็นอาหารปลอดภัย    2)การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่:จัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ นิยามความหมายดังนี้ การพัฒนาคุณภาพชีวิต หมายถึง การพัฒนาให้เกิด  ความอยู่ดีมีสุข (well being) ของบุคคลและสังคม  อันประกอบด้วย 4 ด้าน ทั้งร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ทางสังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยมีจุดเน้นในการจัดการสุขภาพโรคเรื้อรังแนวใหม่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สถานการณ์เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ 1) ทุนและศักยภาพพื้นที่ ซึ่งเป็นต่อยอดพื้นที่ดำเนินงานผลิตและบริโภคผักผลไม้ปลอดสาร อาหารปลอดภัย โดยมีมติสมัชชาสุขภาพว่าด้วยเกษตรสุขภาวะ และวาระ จังหวัดชุมพร ลด ละเลิกสารเคมีเกษตร /มีเป้าหมายเกษตรอินทรีย์วิถีชุมพร 8000 ไร่  มีการทำเกษตรยั่งยืน 29,457 ไร่ 1500 คร.(1% ของพื้นที่ทำเกษตร 2,945,771) ค่าเฉลี่ย 0.41%  และเป็นประเด็นร่วมภาคใต้-มั่นคงทางอาหาร + สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนชุมพร 2) การเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว 3 ลำดับแรก ยางพารา 12.98 ล้านไร่ ปาล์มน้ำมัน 3.75 ล้านไร่ ทุเรียน 0.3 ล้านไร่ (ใช้สารเคมีมากสุด) ส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วย 6,075 ราย (ปี 61) ในกลุ่มประชากรที่มีอายุ 15-59 ปี
3)ความเสี่ยงด้านอาชีพของเกษตรกรชุมพร/ภาคใต้ มีการนำเข้าและใช้สารเคมีวัตถุอันตรายทางการเกษตร 3 ลำดับแรก สารกำจัดแมลง 15.23 ล้านบาท สารกำจัดวัชพืช 12.53 ล้านบาท สารกำจัดโรคพืช 1.79 ล้านบาท (สารเคมีอันตราย คลอไพริฟอส พาราควอต อะบาแบ๊กติน จังหวัดชุมพรใช้สูงสุด)
4)จังหวัดชุมพรมีสถิติอัตราการป่วยต่อประชาการแสนคน ปี 2558 : 19.49  ปี 2559: 24.72 ปี 2560:25.51 ปี 2561: 26.16 มีอัตราการเพิ่มขึ้นทุกปี และจำแนกตามปัญหาความไม่ปลอดภัยในอาชีพ สูงสุดคือ ปัญหาสารเคมีเกษตร 64 % เสี่ยงจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช 40.99 % และจากผลการประเมินความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย (ร้อยละ) ด้วย Reactive paper ในชุมพรเทียบเคียบกับ ศคร.11 ตั้งแต่ปี 59 ศคร.11 : 27% ชุมพร 34%  ปี 60  ศคร.11 : 25% ชุมพร 40% ปี 61 ศคร.11 : 23% ชุมพร 38%  (ข้อมูลจาก สสจ.ชุมพร)
5)แนวโน้มภาวะหนี้สินครัวเรือนมีการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยค่าเฉลี่ยหนี้สินครัวเรือน 175,000 บาทต่อครัวเรือน 6)โอกาสหรือปัจจัยเอื้อ คือวาระการพัฒนาจังหวัดชุมพร ว่าด้วยการลดลดเลิกสารเคมีเกษตร และการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์วิถีชุมพร และการแบนสารเคมี 7)ภาคียุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเด็น ได้แก่ เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดชุมพร/บริษัทชุมพรออร์แกนิค จำกัด  ฯ  สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานปฏิรูปที่ดิน  สำนักงานพาณิชย์จังหวัดชุมพร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นต้น ผลลัพธ์ระยะยาว 1)เกิดสุขภาวะทางสังคมทั้ง 4 ด้าน ด้านสุขภาพ (ผู้ผลิตปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย) ด้านเศรษฐกิจ (ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ มีเงินออม) ด้านสังคม (ชุมชนอุดมสุข) ด้านทรัพยากร (ระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพและฐานการผลิตอาหาร) 2)ชุมชนท้องถิ่น มีอธิปไตยทางอาหาร มีหลักประกันในชีวิต และเกิดความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค ระหว่างชุมชนกับผู้ประกอบการหรือเอกชน และระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภาคียุทธศาสตร์ ผลลัพธ์ระยะสั้น 12 เดือน : เพิ่มพื้นที่ผลิตและบริโภคพืชผักผลไม้ปลอดสาร/อาหารปลอดภัย อย่างน้อย 10 %  (2,945 ไร่) จากพื้นที่เกษตรยั่งยืนที่มีอยู่ 1)เกิดการผลิตและบริโภคพืชผักผลไม้ที่ปลอดภัย ตัวชี้วัดที่สำคัญได้แก่ มีการผลิตและบริโภคพืชผักผลไม้ที่ปลอดภัย  มีครัวเรือนต้นแบบและแหล่งเรียนรู้เกษตรสุขภาพ  เกิดความร่วมมือกับภาคีอย่างน้อยหนึ่งกิจกรรม 2)เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเกษตรสุขภาพ ตัวชี้วัดที่สำคัญ มีการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร (ขั้นต้นระบบ PGS – GAP-ฯ )  มีสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย อย่างน้อย 5 รายการต่อพื้นที่  มีการแลกเปลี่ยนพันธุกรรมและปัจจัยการผลิต  มีแผนจัดการระบบอาหารในชุมชน 3)เกิดการจัดการเชื่อมโยงตลาดอาหารปลอดภัย ตัวชี้วัดที่สำคัญ  มีผู้ประกอบการภาคเกษตรและชมรมผู้ประกอบการ (เกษตรกรมืออาชีพ : ทำน้อยได้มาก)  มีการจัดการตลาดระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคหลากหลายรูปแบบ เช่น ตลาดสีเขียวในท้องถิ่น ตลาดออนไลน์  ตลาดโรงพยาบาล/โรงเรียน/โรงแรม ทั้งนี้หน่วยประสานจัดการ Node Flagship Chumphon ได้สนับสนุนการขับเคลื่อนระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพแก่กลุ่มเครือข่ายในพื้นที่จำนวน 17 โครงการ/กลุ่มเครือข่าย ครอบคลุม 35 ตำบล ทุกอำเภอของจังหวัดชุมพร และจัดกลไกสนับสนุนไว้สามระดับคือ คณะกรรมการอำนวยการ คณะทำงานสนับสนุนวิชาการ และคณะทำงานปฏิบัติการในระดับพื้นที่ และได้ประสานร่วมมือกับสภาเครือข่ายชาวสวนยาง และสมาคมชาวสวนยางภาคใต้ โดยมีเป้าหมายให้เกิดข้อเสนอสวนยางยั่งยืน และ แผนยุทธศาสตร์ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ ภายใน 1 ปี จึงต้องประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนที่จะบรรลุเป้าหมาย ชุมพรมหานครสุขภาวะ หรือชุมพรเมืองน่าอยู่

stars
6. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

การดำเนินงานประเด็นความมั่นคงอาหาร:ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ ของคณะทำงานศึกษาและพัฒนาข้อเสนอพัฒนาระบบเกษตร
และอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ และคณะทำงานยุทธศาสตร์ กขป.ภาคใต้ จากเวทีสร้างสุขภาคใต้ ปี 2562 ภายใต้หลักคิดสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ อธิปไตยทางอาหาร สร้างหลักประกันในชีวิต จัดความสัมพันธ์ใหม่ โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ ความมั่นคงทางอาหารและชีวิตพลเมืองฅนใต้ นั้นได้สอดคล้องกับศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (สนส.มอ.) ที่สนับสนุนการขยายผลการดำเนินงานของความมั่นคงทางอาหาร ในระยะที่ 3 โครงการมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
1) คณะทำงานโครงการทำความร่วมมือกับเครือข่ายเพื่อจัดทำ road map ในการขยายผล model พืชร่วมยาง (เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่ กยท. นักวิชาการ ร่วมคัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย และพัฒนารูปแบบวนเกษตร เกษตรผสมผสานในสวนยาง หรือพืชร่วมยาง เพื่อนำไปให้เกษตรกรไปปรับใช้) 2) คณะทำงานโครงการร่วมกับ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) พัฒนาศักยภาพเกษตรกร ด้านวนเกษตร เกษตรผสมผสานในสวนยาง หรือพืชร่วมยางเกษตรกร 3) เครือข่ายนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มรท.ศรีวิชัยนครศรีธรรมราช ม.อ.สุราษฎร์ธานี ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่ และถอดบทเรียน เพื่อจัดทำร่างยุทธศาสตร์ในการขยายผลรูปแบบพืชร่วมยาง 4) นักวิชาการประเมินและวิเคราะห์รูปแบบพืชร่วมยบาง วนเกษตร ฯ จากแปลงต้นแบบของเกษตรกรที่มีการนำร่องนำรูปแบบไปใช้ เพื่อพัฒนารูปแบบ ฯ ให้เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่แต่ละจังหวัด
5) คณะทำงานทำความร่วมมือกับ กยท. ในการผลักดันนโยบายแนวทางการทำวนเกษตร เกษตรผสมผสานในสวนยาง หรือพืชร่วมยาง (แบบ 5) 6) คณะทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดเวทีนโยบายเรื่องพืชร่วมยางและทำความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายและการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบพืชร่วมยาง วนเกษตร ผสมผสานในสวนยาง หรือพืชร่วมยาง เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ 7) คณะทำงานร่วมกับภาครีเครือข่าย เช่นเกษตรจังหวัด เกษตรและสหกรณ์จังหวัด เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ภาคใต้ในการขยายผลการการทำยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์สู่การทำเกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ ในพื้นที่นำร่อง 4 จังหวัด 8) คณะทำงานร่วมกับภาคียุทธศาสตร์จัดทำยุทธศาสตร์ เกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ นครศรีธรรมราช ชุมพร ระนอง และนราธิวาส
9) คณะทำงานร่วมกับภาคียุทธศาสตร์ประชุมคณะทำงาน เพื่อเตรียมร่างรับฟังความเห็นยุทธศาสตร์ เกษตรอินทรีย์ ในจังหวัดเป้าหมาย
10) คณะทำงานทำความร่วมมือกับท้องถิ่นจังหวัดเป้าหมายในการขยายผลและสร้างปฏิบัติรูปแบบการดำเนินงานตำบลบูรณาการระบบอาหารในระดับตำบล ในพื้นที่ภาคใต้ จำนวน โซนละ 1 จังหวัด รวม 4 จังหวัด (ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช และนราธิวาส) 11) คณะทำงานร่วมกับภาคียุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยง และผู้เกี่ยวข้องในการขยายผลตำบลบูรณาการ 12) คณะทำงานจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มแกนนำ 4 จังหวัด รวม 40 ตำบล ตำบลละ 3 คน เพื่อเรียนรู้การปฏิบัติการ ดำเนินงานตำบลบูรณาการอาหาร 13) คณะทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายอาหารระดับ14 จังหวัดภาคใต้ จัดเวทีนโยบายประเด็นระบบอาหารระดับภาค จากการทบทวนบทเรียนและสถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารของพื้นที่ ของคณะทำงานฯ จึงมีกรอบการดำเนินงานเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยเชื่อมโยงประเด็นการขับเคลื่อนขยายผลพืชร่วมยาง ตำบลบูรณาการอาหาร ยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัด ให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ซึ่งยึดหลักการพัฒนาใช้ฐานพื้นที่เป็นตัวตั้ง อันเป็นการสร้างตัวอย่างหรือรูปแบบภาคใต้แห่งความสุข โดยมีกรอบการดำเนินงานระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้

stars
7. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความร่วมมือกับภาคีที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคเอกชน ในการขยายผลเกษตรผสมผสานหรือวนเกษตรในพื้นที่
  1. เกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยเป้าหมาย ทำพืชร่วมยางเพิ่มขึ้น ร้อยละ 90
  2. ครัวเรือนเป้าหมายที่ทำพืชร่วมยางมีผลผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อบริโภคในครัวเรือนร้อยละ 90
  3. เศรษฐกิจครัวเรือนเป้าหมายดีขึ้น (รายได้เพิ่มขึ้น/รายจ่ายลดลง) 4)จำนวนเกษตรกรที่ทำเกษตรแบบอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพในพื้นที่เป้าหมายเพิ่มขึ้นร้อยละ 90
0.00
2 เพื่อติดตาม สนับสนุนและสังเคราะห์ความรู้พร้อมข้อเสนอต่อการทำสวนยางยั่งยืนในพื้นที่

เกิดเครือข่ายจาก 4 ภาคส่วน คือ ภาครัฐ  ภาคเอกชน  ภาควิชาการ ภาคประชาสังคมฯ

0.00
stars
8. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
9. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 282 163,000.00 9 171,889.00
22 ส.ค. 63 ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายและภาคีที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 1 30 38,255.00 19,860.00
2 ก.ย. 63 ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายและภาคีที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 2 20 7,145.00 7,145.00
2 ต.ค. 63 ติดตามสนับสนุนการดำเนินงานโดยทีมวิชาการเชื่อมโยงเครือข่าย กับเกษตรต้นแบบ และหรือ สถาบันเกษตรที่สังกัด 10 50,000.00 50,000.00
20 ม.ค. 64 ประชุมพัฒนาศักยภาพเกษตรกรสวนยาง 10 ราย 32 0.00 6,768.00
28 ม.ค. 64 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อทบทวนวิเคราะห์ รูปแบบ/วิธีการปรับใช้การทำเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยาง ที่เหมาะสมและสรุปร่างข้อเสนอ 30 36,350.00 -
28 มี.ค. 64 พัฒนาศักยภาพเกษตรกรสวนยาง 10 รายร่วมกับ กยท. 50 0.00 26,140.00
29 มี.ค. 64 พัฒนาศักยภาพเกษตรกรสวนยาง 10 รายร่วมกับ กยท. 2 55 0.00 21,072.00
22 พ.ค. 64 การประชุมคณะทำงานและภาคีที่เกี่ยวข้องจังหวัดชุมพร ครั้งที่ 3 13 10,000.00 7,444.00
14 มิ.ย. 64 การประชุมคณะทำงานและภาคีที่เกี่ยวข้องจังหวัดชุมพร ครั้งที่ 4 12 1,000.00 6,308.00
20 ต.ค. 64 เวทีเครือข่ายร่วมกับ กยท. จัดทำพัฒนาข้อเสนอ แนวทางการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยาง และสร้างความร่วมมือขับเคลื่อนและผลักดันทางนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 30 20,250.00 27,152.00
  1. ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายและภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการขยายผลโมเดล ร่วมกันคัดเลือกเกษตรนำร่อง (แบบ 5 :ปลูกแทนแบบผสมผสาน หรือเกษตรกรรมยั่งยืน) 10 ราย
  2. พัฒนาศักยภาพเกษตรกรสวนยาง 10 รายร่วมกับ กยท. โดยนำองค์ความรู้/รูปแบบ พืชร่วมยาง-สวนยางยั่งยืน แบบต่าง ๆ เรียนรู้ ปรับใช้ตามบริบทโดยได้รับการสนับสนุนจาก กยท.
  3. ติดตามสนับสนุนการดำเนินงานโดยทีมวิชาการ เชื่อมโยงเครือข่ายกับเกษตรต้นแบบ และหรือสถาบันเกษตรที่สังกัด พร้อมถอดบทเรียนเพื่อจัดทำร่างยุทธศาสตร์สวนยางยั่งยืน
  4. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อทบทวนวิเคราะห์ รูปแบบ/วิธีการปรับใช้การทำเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยาง ที่เหมาะสมและสรุปร่างข้อเสนอ
  5. เครือข่ายร่วมกับ กยท. จัดทำพัฒนาข้อเสนอ แนวทางการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยาง และสร้างความร่วมมือขับเคลื่อนและผลักดันทางนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  6. เวทีนโยบายพืชร่วมยางหรือเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยางระดับภาคใต้ รวมประมวลสรุป ผลักดันนโยบาย
stars
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการขยายผลการทำสวนยางยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดชุมพร
  2. เกษตรชาวสวนยางรายย่อยเป้าหมาย ทำเกษตรผสานผสาน/วนเกษตร (พืชร่วมยาง)เพิ่มขึ้นร้อยละ90
  3. ครัวเรือนเกษตรกรเป้าหมายที่ทำพืชร่วมยางมีผลผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อการบริโภคในครัวเรือนร้อยละ90
  4. เกิดชุดความรู้การทำเกษตรผสมผสาน/วนเกษตรและข้อเสนอเชิงนโยบายการทำสวนยางยั่งยืน
stars
11. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2563 14:24 น.