สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

พืชร่วมยาง ชุมพร

พัฒนาศักยภาพเกษตรกรสวนยาง 10 รายร่วมกับ กยท.28 มีนาคม 2564
28
มีนาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย Kero
  • สรุปการประชุมสวนยางยั่งยืน ชุมพร.docx
  • การบำรุงรักษษและการใช้ประโยชน์อย่างมีปร.pdf
circle
วัตถุประสงค์

 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมทีมตัวแทน กยท.เพื่อออกแบบกิจกรรมและประสานวิทยากรเปิดรับสมัครผุ้อยากเรียนรู้เพิ่มเติม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การยางแห่งประเทศไทยมีการสนับสนุนให้เกษตรกรทำสวนยางยั่งยืนจากการขอสงเคราะห์ตามมาตรา 49(2) ในรูปแบบ 3 คือการปลูกแบบผสมผสานซึ่งเป็นแรงจูงใจให้ต่อจากการสงเคราะห์ไร่ละ 16,000 บาทตามระเบียบ ทาง กยท.แห่งประเทศไทยได้เล็งเห็นว่าการปลูกแบบผสมผสานซึ่งต้องมีส่วนประกอบของน้ำ ดังนั้นจึงได้มีการสนับสนุนโซล่าเซลล์ให้กับแปลงต้นแบบจำนวน 18 รายในเขตเมืองชุมพร แต่ทาง กยท.แห่งประเทศไทยไม่ได้มีการให้ความรู้ในการดูแลรักษาระบบโซล่าร์เซลล์ทำให้ผู้ที่ได้รับขาดความรู้ในการดูแลรักษาซึ่งเป็นเรื่องใหม่สำหรับชาวเกษตรกรสวนยาง จึงได้นำเรื่องนี้มาพูดคุยและได้รับการสนับสนุนจากสมาคมประชาสังคมชุมพรซึ่งได้รับงบประมาณการขับเคลื่อนสวนยางยั่งยืนจากสำนักนโยบายสาธารณะ(มอ.หาดใหญ่)ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้     การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าด้วยระบบโซล่าเซลล์   โซล่าเซลล์ คือ ระบบโฟตอนที่ใช้การผลักพลังงานซึ่งเป็นกฎของธรรมชาติในการสร้างกระแสไฟซึ่งจากการทำงานต้องมีการแปลงกระแสไฟซึ่งในบ้านที่เราใช้อยู่เป็นกระแสสลับเพราะจะทำให้การส่งไฟได้เร็ว ซึ่งการทำให้เกิดพลังงานจะต้องมีกระแสความดัน ตามทฤษฎี 1 แรงม้าเท่ากับ 750  วัตต์ การดูแลรักษาแผลโซล่าเซลล์จะต้องทำความสะอาดด้วยน้ำเพราะจะทำให้ประสิทธิภาพของการใช้พลังงานมีประสิทธิภาพ การติดตั้งแผงควรติดตั้งตามเส้นศูนย์สูตรของโลกเพื่อให้เกิดการรับแสงที่ดีจากดวงอาทิตย์ ลักษณะคลื่นจะมี 3 ชนิด คลื่นบริสุทธิ์  คลื่นตกแต่ง คลื่นสี่เหลี่ยม


  ระบบโซล่าเซลล์มี 4 ระบบ  คือ
  1.ระบบ ON-Grid  คือ ระบบที่ใช้ร่วมกับสายส่งของการไฟฟ้าและเป็นระบบผสมไฟฟ้า   2.ระบบ Hybrid system  คือ ระบบที่ใช้แบบผสมทั้งไฟฟ้าและพลังงานโซล่าเซลล์   3.ระบบHybrid On – Off Grid คือ ระบบผสมที่ใช้กับไฟฟ้าหรือไม่ใช้ก็ได้   4.ระบบ Off-Grid  คือ ไม่ใช้ไฟจากการไฟฟ้าแต่ใช้ไฟจากโซล่าเซลล์


  สรุปภาพการขับเคลื่อน

    1.การสร้างทีมช่างเพื่อให้เกิดการดูแลรักษาระบบโซล่าร์เซลล์ในจังหวัดชุมพรโดยมีสมาคมประชาสังคมชุมพรเป็นทีมประสาน     2. การติดตั้งโซล่าร์เซลล์ผ่านกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและองค์การบริหารส่วนจังหวัด     3. กลุ่มยื่นขอทุนจาก กยท.ในแบบที่ 3     4. รวบรวมรายชื่อเข้าเสนอในเวที สว.พบประชาชน ณ.สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืน     5. ทุนสินเชื่อหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำ ธกส.     6. การจัดการน้ำ/สิ่งแวดล้อมเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

()

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่