ชื่อโครงการ | กองทุนฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (กลไกจังหวัด) |
ภายใต้โครงการ | ประเด็นความมั่นคงทางมนุษย์ |
ภายใต้องค์กร | สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) |
รหัสโครงการ | 65-00336 |
วันที่อนุมัติ | 1 พฤษภาคม 2565 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2565 - 31 ตุลาคม 2566 |
แหล่งทุน |
ไม่ระบุ
|
งบประมาณ | 2,000,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ดร.ศิริพร เพ็งจันทร์, |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ชื่องานในพื้นที่ | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|---|
สุราษฎร์ธานี | place directions |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | อาหาร สุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ 8,057,168 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตร ร้อยละ 45.58 ของพื้นที่จังหวัด มีพื้นที่ปลูกยางพารามากที่สุด จำนวน 2,879,223 ไร่ ปาล์มน้ำมัน 1,306,973 ไร่ รองลงมา คือ มะพร้าว ไม้ผล ข้าว กาแฟ และสับปะรด ตามลำดับ จากพื้นที่ทำการเกษตรเมื่อหักลบพื้นที่ปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันแล้ว คงเหลือพื้นที่ทำการเกษตรที่สามารถเป็นแหล่งอาหารได้เพียง 513,739 ไร่ หรือคิดเป็น ร้อยละ 6.38 ของพื้นที่ทั้งหมดหรือเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด จึงมีความจำเนต้องมีการบริหารจัดการพื้นที่อย่างเหมาะสมเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโรคCOVID-19 ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นภาวะวิกฤติทางด้านความมั่นคงทางอาหาร โดยเฉพาะเขตพื้นที่เมืองที่ประสบปัญหาอาหารไม่เพียงพอ ขาดการเข้าถึงอาหาร ขาดเงินสำหรับซื้อหาอาหาร ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบหรืออาหารสำเร็จ เนื่องจากระบบขนส่งที่หยุดชะงัก โรงงานไม่มารถดำเนินการได้ ร้านสะดวกซื้อปิด ตัวบางช่วงเวลา เป็นต้น แต่หากมองถึงชุมชนชนบท พบว่าได้รับผลกระทบน้อยกว่าพื้นที่เขตเมือง เนื่องจากชุมชนชนบทประชาชนมีความสามารถในการพึ่งพาตนเองด้านอาหารได้มากกว่า มีพื้นที่แหล่งอาหารเป็นของตนเองสามารถผลิตอาหารได้ตลอดทั้งปี มีระบบและวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนอาหาร และมีการรวมกลุ่มเพื่อผลิตและจำหน่ายอาหาร |
0.00 | ||
2 | อุบัติเหตุ อุบัติเหตุจากการจราจร เปรียบเสมือนหนึ่งโรคร้ายแรงชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นทุกวัน และคุกคามสุขภาพ คุณภาพชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนเป็นอย่างมาก เป็นปัญหาเร่งด่วนที่ทุกคนและทุกหน่วยงานต้องมีส่วนรับผิดชอบ และร่วมมือกันแก้ปัญหา รวมทั้งป้องกันอย่างจริงจัง ทั้งนี้ ความสะดวกของถนนหนทาง ความรวดเร็วของพาหนะ ทำให้อุบัติการณ์ในการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุบัติเหตุจากการจราจรทางบก จะเห็นได้ว่าการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้ง ก่อให้เกิดความสูญเสีย ทั้งในด้านชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและประชาชนอย่างประมาณค่ามิได้ อันมีผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาประเทศจากสถิติของหน่วยเฝ้าระวังและสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน พบว่า ปี 2564 ภาพรวมทั่วประเทศมีจำนวนการเกิดอุบัติเหตุทางถนนสูงถึง 99,855 ครั้ง ซึ่งสูงขึ้นจากปี 2557 เกือบเท่าตัว และสูงขึ้นจากปี 2563 คิดเป็นร้อยละ 6.10 เมื่อพิจารณาผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน พบว่า มีผู้เสียชีวิตสูงถึง 6,620 คน และมีแนวโน้มการเสียชีวิตคงที่ สำหรับจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อพิจารณาข้อมูลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งรวบรวมสถิติจากคดีจราจร พบว่า อุบัติเหตุทางถนนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งประเด็นจำนวนการเกิดอุบัติเหตุ การเสียชีวิต และการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน เมื่อพิจารณาสถิติการเกิดอุบัติเหตุ พบว่า ตั้งแต่ปี 2564 เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าจากปี 2557 ผู้เสียชีวิตปี 2564 เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 8.94 ตลอดจนผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง |
0.00 | ||
3 | ออกกำลังกาย รวมไปถึงสาเหตุของโรค NCDs มี 5 ปัจจัยหลักของโรค คือ การบริโภคยาสูบ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมตามหลักโภชนาการ การมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ และการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศ สุขภาวะ คือ กาย จิต ปัญญา สภาพแวดล้อมดี ก็ต้องเริ่มต้นจาก "พฤติกรรมสุขภาพ" ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 พบผลกระทบต่อพฤติกรรมทางสุขภาพที่สำคัญ ดังนี้ การบริโภคอาหาร กิจกรรมทางกาย และพฤติกรรมการที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ การดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ลดลงในช่วงการแพร่ระบาด แต่ไม่มีความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการเล่นพนัน และมีผู้ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลและหวยใต้ดินเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ทั้งนี้พบว่าประชาชนอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 56.865,397 คน มีการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอ จำนวน 23,783,599 คน คิดเป็นร้อยละ 41.82โดยผู้ชายมีการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาอย่างสม่ำสมอมากกว่าผู้หญิงที่มีการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ภาคใต้มีการออกกำลังกายหรือเล่กีฬาอย่างสม่ำเสมอ ร้อยละ 51.97 สูงกว่าภาคอื่นๆ รองลงมาคือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ กรุงเทพมหานคร ประเภทกิจกรรมในการออกกำลังกาย 3 อันดับแรก คือ การเดิน การวิ่ง และการปั่นจักรยาน ส่วนประเภทการเล่นกีฬา 3 อันดับแรก คือ ฟุตบอล เซปักตะกร้อ และแบดมินตัน โดยสถานที่ที่ใช้ในการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา 3 สถานที่แรก คือ บ้าน/บริเวณที่พักอาศัย สวนสาธารณะ และลานออกกำลังกาย/เล่นกีฬา เวลาในการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา คือ ช่วงเวลา 17.00-18.00 น. รองลงมาคือเวลา 16.00-17.00 น. และ เวลา 18.00-19.00น. จากกรณีศึกษาสุราษฎร์ธานี พบว่า พฤติกรรมการออกกำลังกายส่วนใหญ่ออกกำลังกายสม่ำเสมอเฉลี่ย 3-5 วัน/สัปดาห์ ช่วงเวลาเย็น เวลา 16.30-19.00น. และไปออกกำลังกายกับเพื่อน จุดประสงค์ของการออกกำลังกายคือ เพื่อสุขภาพ ทั้งนี้ มีอุปสรรคในการออกกำลังกายอยู่ในระดับปานกลาง 3 ข้อ คือ มีภารกิจมากไม่มีเวลาในการออกกำลังกาย ขาดความรู้ความเข้าใจในการออกกำลังกาย และขาดแรงจูงใจในการออกกำลังกาย |
0.00 | ||
4 | อโรคยา สาเหตุการเสียชีวิตของประชาชนสุราษฎร์ธานี พบว่า สาเหตุมาจากการเกิดโรคต่างๆ ทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ โดยมีอันดับสาเหตุการเสียชีวิต คือ เนื้องอกและมะเร็ง โรคระบบไหลเวียนโลหิต โรคติดเชื้อและปรสิต อุบัติเหตุ โรคของทางเดินระบบหายใจ โรคระบบประสาท โรคของระบบสืบพันธุ์และทางเดินปัสสาวะ โรคระบบย่อยอาหาร โรคของต่อมไร้ท่อและเมตะบลิซึม (เบาหวาน) และภาวะบกพร่องตั้งแต่กำเนิด นอกจากนี้ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญ เนื่องจาก เป็นโรคอุบัติใหม่และมีความรุนแรงภายในระยะเวลาอันสั้น แต่หากพิจารณาถึงโรคที่เกิดขึ้นกับประชาชนในชีวิตประจำวัน พบว่า อันดับโรคผู้ป่วยนอกที่ประชาชนเจ็บป่วยมากที่สุด คือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน การติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนแบบเฉียบพลัน เนื้อเยื่อผิดปกติ อุบัติเหตุ โรคทางระบบเดินอาหาร โรคผิวหนัง โรคทางทันตกรรม และการติดเชื้อต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ หากมีการเจ็บป่วยที่รุนแรงจนต้องนอนโรงพยาบาล พบว่า โรคที่เป็นสาเหตุของการนอนโรงพยาบาลมากที่สุด คือ ปอดบวม รองลงมาคือ การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน คออักเสบและต่อมทอนซิลอักสบ หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆของการตั้งครรภ์และการคลอด อุบัติเหตุและการบาดเจ็บต่างๆ ไข้จากไวรัสที่นำโดยแมลงและไข้เลือดออก โรคหลอดลมอักเสบ ถุงลมโป่งพองและปอดชนิดอุดกั้นแบบเรื้อรังอื่น เป็นต้น |
0.00 | ||
5 | อนามัยสิ่งแวดล้อม ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นของประเทศไทยปี พ.ศ. 2564 พบว่า เกิดขึ้นประมาณ 24.98 ล้านตันหรือประมาณ 68,434 ตันต่อวัน หรือเท่ากับ 1.03 กิโลกรัม/คน/วัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา พบว่า มีปริมาณที่เกิดขึ้นลดลง เนื่องจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ประกาศในหลายพื้นที่มีมาตรการล๊อคดาวน์ ห้ามออกจากเคหสถาน การเรียนการสอนออนไลน์ Work Form Home ประกอบกับสถานการณ์การติดเชื้อCOVID-19 ในต่างประเทศ ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังประเทศไทยลดลง ทั้งนี้ ขยะที่เกิดขึ้น 24.98 ล้านตัน ถูกจัดการกันเอง โดยบ้านเรือนและชุมชนไม่มีการให้บริการเก็บขนประมาณ 1.58 ล้านตัน และพบว่า มีขยะรีไซเคิลประมาณ 3.89 ล้านตัน ที่ถูกคัดแยก ณ ต้นทาง โดยกระบวนการซาเล้งและบ้านเรือนนำไปขายให้กับร้นรับซื้อของเก่า ขยะมูลฝอยที่เหลือประมาณ 19.51 ล้านตัน ถูกเก็บขนโดยรถบรรทุกเก็บขนขยะมูลฝอยนำไปยังสถานที่คัด แยกหรือกำจัดขยะมูลฝอย และพบว่าขยะมูลฝอยประมาณ 4.00 ล้านตัน ถูกคัดแยก ณ สถานที่คัดแยกขยะมูลฝอย และส่วนที่เหลือประมาณ 15.51 ล้านตันถูกนำไปกำจัด ณ สถานที่กำจัดขยะมูลฝอย นอกจากนี้ พบว่า มีขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องประมาณ 9.28 ล้านตัน และส่วนที่เหลือประมาณ6.23 ล้านตัน ถูกนำไปกำจัดอย่างไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม จากสถิติในปี 2557-2562 จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีปริมาณขยะมูลฝอยคิดเป็นร้อยละ 11-13 ของภาคใต้ โดยถือเป็น 1 ใน 3 จังหวัดที่มีปริมาณขยะมูลฝอยมากที่สุดของภูมิภาค อีกทั้งยังพบว่าขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลมีปริมาณมากกว่าเขตนอกเทศบาลโดยในปี 2564 จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นทั้งสิ้น 0.36 ล้านตัน หรือประมาณ 988 ตันต่อวัน ทั้งนี้ขยะมูลฝอยจำนวน 307 ตันต่อวันถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ ส่วนขยะมูลฝอยที่ถูกกำจัดอย่างถูกต้องหรือถูกวิธีมีปริมาณ 0 ตันต่อวัน นั่นหมายความว่า ขยะมูลฝอยที่เหลืออีก จำนวน 681ตันต่อวัน ถูกจำกัดโดยไม่ถูกต้อง ซึ่งจากตัวเลขดังกล่าวในปี 2564 ทำให้เป็นจังหวัดที่มีขยะมูลฝอยที่ถูกกำจัดอย่างไม่ถูกต้องมากเป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ อีกทั้งจังหวัดสุราษฎร์ธานียังมีขยะมูลฝอยตกค้างในปี 2564 มากเป็นลำดับ 2 ด้วยเช่นกัน |
0.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
จังหวัดสุราษฎร์ธานีตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของภาคใต้ ห่างจากกรุงเทพฯโดยทางรถยนต์ ประมาณ 645 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 13,079.61 ตารางกิโลเมตร หรือ 8,181,076 ไร่ มีเนื้อที่มากเป็นอันดับ 6 ของประเทศ และมีพื้นที่มากที่สุดในภาคใต้ ฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยในจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความยาวประมาณ 156 กิโลเมตร มีเกาะขนาดใหญ่ ได้แก่ เกาะสมุย เนื้อที่ 227.25 ตารางกิโลเมตร เกาะพะงัน มีเนื้อที่ 194.2 ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีหมู่เกาะอ่างทอง และเกาะบริวาร 42 เกาะ เกาะสมุยเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัด ห่างจากฝั่งทะเลประมาณ 20 กิโลเมตร และห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 80 กิโลเมตร มีจำนวนครัวเรือน 344,766 ครัวเรือน จำนวนประชากร 1,068,960 คน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
สภาพปัญหาและสถานการณ์การขับเคลื่อนงานเสริมสร้างสุขภาพจังหวัดสุราษฎร์ธานี
สุราษฎร์ธานีเป็นจังหวัดที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในทุกด้านโดยเฉพาะเศรษฐกิจมีความมั่นคง ประชากรจึงมีรายได้ค่อนข้างสูง (คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดสุราษฎร์ธานี, 2557) จากการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่ตามอัตราประชากร อัตราของความเจริญทางเศรษฐกิจของสุราษฎร์ธานี เมื่ออาศัยความร่วมมือ การมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ การพัฒนาองค์ความรู้อยู่เสมอ การพัฒนาการประกอบอาชีพ การดูแลสุขภาพ และการหาปัจจัย 4 ที่จะช่วยให้มีชีวิตของประชาชนดีขึ้น สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี 20 ปี ในยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และคุณภาพชีวิตเพื่อให้ความสมบูรณ์สร้างสังคมน่าอยู่ที่เน้นประชาชนมีสุขภาวะ ทั้งนี้ด้วยการการพัฒนาการมีส่วนร่วมและความสามารถในการพึ่งพาตนเองของชุมชนได้ อีกทั้งเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในฐานะจังหวัดที่มีขนาดใหญ่ของภาคใต้ มีอาณาเขตติดชายฝั่งทะเลอ่าวไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติมีพื้นที่การเกษตรขนาดใหญ่ มีประมงชายฝั่งเป็นดินแดนที่มีอารยธรรมอันสำคัญมาแต่โบราณ อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญอีกจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย จากความหลากหลายทางกายภาพของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบกับความหลากหลายทางด้านทรัพยากรและวัฒนธรรม อาทิ แหล่งโบราณคดี โบราณสถานโบราณวัตถุ วิถีชุมขน วิถีชาติพันธุ์ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ภูมิปัญญาด้านการสร้างที่อยู่อาศัย การผลิตสิ่งทอ พื้นถิ่น อาหารพื้นถิ่น และยารักษาโรค อันเกิดจากพัฒนาการที่มีความสืบเนื่องมายาวนาน นับพันปีของชุมชนทำให้สุราษฎร์ธานีเป็นพื้นที่โดดเด่นมีศักยภาพที่สามารถพัฒนาและการจัดการการท่องเที่ยวบนฐานชุมชนเชิงสร้างสรรค์ในเส้นทางอารยธรรมศรีวิชัย ตามนโยบายประชารัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อผลักดันให้มีการกระจายโอกาสและรายได้สู่แหล่งท่องเที่ยวที่มีความหลากหลาย
สุราษฎร์ธานีมีเขตการปกครองทั้งหมด 19 อำเภอ 131 ตำบล 1,075 หมู่บ้าน มีพื้นที่ 8,057,168 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตร ร้อยละ 45.58 ของพื้นที่จังหวัด โดยมีพื้นที่ปลูกยางพารามากที่สุด จำนวน 2,879,223 ไร่ ปาล์มน้ำมัน 1,306,973 ไร่ และรองลงมา คือ มะพร้าว ไม้ผล (ทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง) ข้าว กาแฟ และสับปะรด ตามลำดับ และเนื้อที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรอื่นๆ โดยมีครัวเรือนที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรด้านพืช 148,367 ครัวเรือน ด้านประมง 12,120 ฟาร์มและด้านปศุสัตว์ 51,530 ครัวเรือน (สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี, 2562) จากพื้นที่ทำการเกษตร พบว่า จากพื้นที่ร้อยละ 45.58 หรือ คิดเป็น 3,672,457 ไร่ เมื่อหักลบพื้นที่ปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันแล้ว คงเหลือพื้นที่ทำการเกษตรที่สามารถเป็นแหล่งอาหารได้เพียง 513,739 ไร่ หรือคิดเป็น ร้อยละ 6.38 ของพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีเท่านั้น จึงมีความจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการพื้นที่อย่างเหมาะสม ผ่านทางสถาบันทางการเกษตร เช่น สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน องค์กรเกษตรกรและจำนวนสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์ กลุ่มที่ส่งเสริมการตั้งกลุ่มโดยสถานีพัฒนาที่ดินสุราษฎร์ธานี กลุ่มเกษตรกรจัดทำแปลงขยายพันธุ์ข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมการข้าว ซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วพื้นที่จำนวน 2,021 กลุ่ม/ องค์กร (สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี, 2562) แต่ทั้งนี้ กลุ่มที่มีการดำเนินงานอยู่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม/ เป็นองค์กรที่เน้นทำการเกษตรเพื่อตอบสนองภาคเศรษฐกิจ มีเพียงส่วนเสริมเท่านั้นที่มีการดำเนินการเกี่ยวกับการเกษตรที่สามารถเป็นแหล่งอาหารให้กับชุมชนได้ ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าว ย่อมมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางด้านความมั่นคงทางอาหาร ทั้งยามปกติและยามวิกฤติ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจังหวัด
ในช่วงการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา (โรคโควิด-๑๙) ที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2563 พบว่า เกิดภาวะวิกฤติทางด้านความมั่นคงทางอาหาร วิกฤติปากท้อง วิกฤติของความสัมพันธ์ของผู้คน โดนเฉพาะในเขตพื้นที่เมือง ซึ่งปัญหามิได้มีเพียงแค่ในรูปแบบไม่มีอาหารที่เพียงพอเท่านั้น แต่ยังมีปัญหาในรูปแบบของการขาดการเข้าถึงอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาหารขาดแคลนทั้งวัตถุดิบและอาหารสำเร็จ เนื่องจาก ระบบขนส่งที่หยุดชะงัก โรงงานไม่สามารถดำเนินการได้ตามปกติ ร้านสะดวกซื้อต้องปิดตัวบางช่วงเวลา เป็นต้น และปัญหาการว่างงานจนส่งผลกระทบให้ขาดเงินสำหรับซื้อหาอาหาร เป็นต้น หากพิจารณาถึงชุมชนชนบทในช่วงวิกฤติดังกล่าว พบว่า ค่อนข้างมีผลกระทบที่น้อยกว่าพื้นที่เขตเมือง เนื่องจากในชุมชนชนบทประชาชนมีความสามารถในการพึ่งพาตนเองด้านอาหารได้มากกว่า เช่น มีพื้นที่แหล่งอาหารเป็นของตนเอง สามารถผลิตอาหารได้ตลอดทั้งปี มีระบบและวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนอาหาร มีการรวมกลุ่มเพื่อผลิตและจำหน่ายอาหาร เป็นต้น
จากวิกฤติโควิดตั้งแต่ระลอกแรกจนถึงระลอกปัจจุบันที่ทำให้เศรษฐกิจสุราษฎร์ธานีที่พึ่งพาการท่องเที่ยวและการเกษตรตกฮวบอย่างรวดเร็ว เมื่อธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร สถานบริการปิดตัวลง กระทบต่อแรงงานท้องถิ่นอย่างมาก ทั้งคนชั้นกลางและแรงงานมีหนี้สินพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว ธุรกิจออนไลน์เกิดการเฟื่องฟู สร้างรายได้นับแสนบาทให้กับผู้ขาย ผู้ส่งของจากบริการออนไลน์ อย่างไรก็ดีเศรษฐกิจออนไลน์ไม่ได้จำกัดเฉพาะสุราษฎร์ธานีแต่เชื่อมไปถึงจังหวัดใกล้เคียงอื่นๆ แต่ผู้ที่จะค้าขายออนไลน์ได้ต้องมีเงินทุนสำรองเพียงพอ ยากที่เกษตรกรหรือคนจนเมืองจะเข้าถึงตลาดในฐานะผู้ค้าได้ ผลกระทบไม่ได้จำกัดอยู่ที่ภาคชุมชนเมืองแต่ลามไปถึงชนบท ตัวชี้วัดอยู่ที่ตลาดในเมืองและท้องถิ่นที่เผชิญภาวะซบเซา ฐานเศรษฐกิจของเมืองและชนบทของเมืองที่พึ่งพาตลาดจึงตกต่ำ
อย่างไรก็ตาม แม้อัตราแนวโน้มผู้ติดเชื้อของจังหวัดสุราษฎร์ธานีติดเชื้อสะสมลดลง แต่สภาพทางเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตของประชาชน สภาพทางสังคม ความสัมพันธ์ของประชาชนในครัวเรือน มีแนวโน้มเกิดปัญหาและผลกระทบมากมายอย่างเห็นได้ชัด โดยผลกระทบนั้นมีผลกระทบต่อสถานการณ์ปากท้องเป็นเรื่องใหญ่ที่สำคัญมากซึ่งเป็นผลกระทบต่อเนื่องระยะยาวและมีแนวโน้มที่มีความรุนแรงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การฆ่าตัวตายของประชาชนที่มีความขัดสนทางรายได้ การปิดกิจการของร้านค้า ร้านอาหาร หรือ ความซบเซาของห้างร้านต่าง ๆ การตกงานจำนวนมากของประชาชนที่ประกอบอาชีพหาเช้ากินค่ำ เป็นต้น
เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า วิกฤติจากการระบาดของโควิดเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของโลกและประเทศไทยอย่างถึงรากถึงโคน โลกจะไม่เหมือนเดิม ดังที่เรียกว่า “ปรกติใหม่” (New Normal) นักนโยบาย นักวิชาการ ต่างพากันคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงเชิงมหภาค หรือ มองเป็นผลกระทบชั่วคราวในภาคเมือง การเน้นการปัญหาเฉพาะหน้า หากแต่ผลกระทบดังกล่าวจะส่งผลสะเทือนไปถึงชนบท ซึ่งยังไม่มีการทำความเข้าใจถ่องแท้ว่า ชุมชนท้องถิ่นกำลังเผชิญอะไรในวิกฤติโควิด พวกเขาตั้งรับปรับตัวอย่างไร ภาวะปรกติใหม่ของชุมชนจะเป็นอย่างไร และพวกเขาจะมีส่วนกำหนดอนาคตข้างหน้าได้เพียงไหน การเริ่มต้นทำความเข้าใจต่อสถานการณ์เชิงประเด็นของชุมชนท้องถิ่นเพื่อให้รู้แน่ชัดว่าชุมชนกำลังเผชิญอะไร จะเปลี่ยนอย่างไร และทิศทางที่สร้างความเข้มแข็งชุมชนในยุคหลังโควิดจะเป็นอย่างไร ซึ่งผลการสังเคราะห์นี้ยังเป็นภาพปรากฏการณ์เพียงบางส่วนในสถานการณ์ที่เริ่มก่อตัว เพื่อนำไปสู่การแสวงหาภาวะ “ปรกติใหม่ (New Normal)” แบบไหนที่จะก้าวพ้นจากโครงสร้างปัญหาเดิมทั้งความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมไปสู่การสร้างความเข้มแข็งยั่งยืนให้กับชุมชนท้องถิ่นที่เป็นฐานรากของสังคม การสะท้อนสถานการณ์เชิงพื้นที่ในประเด็นของปัญหาเพื่อนำไปสู่การค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาจึงเป็นสิ่งจำเป็น
สุราษฎร์ธานีมุ่งหวังต้องการให้ประชาชนภายในจังหวัดมีการยกระดับคุณภาพชีวิต ประกอบด้วย 1. ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร 2. ประเด็นความมั่นคงทางมนุษย์ ฯ 3. ประเด็นความมั่นคงทางสุขภาพ และ 4. ประเด็นความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ใน 4 ประเด็นหลัก คือความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางมนุษย์ ความมั่นคงทางสุขภาพ และความมั่นคงทางฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่เป้าหมายภาคใต้แห่งความสุข
|
||
2 | เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม กระบวนเรียนรู้ และบูรณาการกลไกทั้งภาคีภาครัฐ ท้องถิ่น ภาคประชาชน ภาคเอกชน วิชาการ และสื่อสารมวลชนในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ทั้งระดับตำบล อำเภอ จังหวัด เขตสุขภาพ และภาคใต้สู่เป้าหมายภาคใต้แห่งความสุข
|
||
3 | เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถของภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะ
|
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | |||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 627 | 689,600.00 | 86 | 1,494,394.00 | |
20 มิ.ย. 65 | การประชุมปรึกษาหารือ “โครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด” ครั้งที่ 1/2565 | 11 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
7 ก.ค. 65 | การประชุมเรื่องกรอบแนวทางในการดำเนินโครงการ และการหาแนวทางการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนโครงการฯของคณะทำงาน ครั้งที่ 2/2565 | 7 | 0.00 | ✔ | 3,035.00 | |
15 ก.ค. 65 | การประชุมเพื่อกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน และกำกับทิศทางการทำงาน ครั้งที่ 3/2565 | 8 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
18 - 22 ก.ค. 65 | การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง วิทยาการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA Intensive Workshop) รอบที่2 | 1 | 6,500.00 | ✔ | 6,294.00 | |
22 ก.ค. 65 | การประชุมวางแผนการทำงานและการวางโครงสร้างการทำงานโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์ในระดับจังหวัด ครั้งที่ 4/2565 | 10 | 12,000.00 | ✔ | 11,092.00 | |
17 ส.ค. 65 | การประชุมเชิงปฏิบัติการ “เพื่อวางแผนการทำงานและการวางโครงสร้างการทำงานโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด” ครั้งที่ 5/2565 | 8 | 6,000.00 | ✔ | 5,630.00 | |
17 - 18 ส.ค. 65 | การประชุมเชิงปฏิบัติการ “ติดตามผลการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ระยะที่ 1” ครั้งที่ 6/2565 | 11 | 25,000.00 | ✔ | 24,024.00 | |
22 ส.ค. 65 | การประชุมเพื่อปรึกษาหารือบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด "กองทุนส่งเสริมสุขภาพจังหวัดสุราษฎร์ธานี" ครั้งที่ 7/2565 | 8 | 22,000.00 | ✔ | 21,485.00 | |
23 ส.ค. 65 | ประชุมวางแผนขับเคลื่อนโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด ครั้งที่ 8/2565 | 4 | 5,500.00 | ✔ | 5,500.00 | |
28 ส.ค. 65 | การประชุมเพื่อเตรียมการจัดงาน Kick Off “บูรณาการกลไกความร่วมมือ นวัตกรรมทางสังคมเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะชาวสุราษฎร์ธานี” ครั้งที่ 9/2565 | 12 | 9,000.00 | ✔ | 8,521.00 | |
2 ก.ย. 65 | ประชุมเตรียมการจัดงาน Kick Off “บูรณาการกลไกความร่วมมือ นวัตกรรมทางสังคม เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี” ครั้งที่ 10/2565 | 11 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
8 ก.ย. 65 | การประชุมนำเสนอความคืบหน้าการเตรียมงาน Kick Off “บูรณาการกลไกความร่วมมือ นวัตกรรมทางสังคม เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี” ครั้งที่ 11/2565 | 16 | 1,500.00 | ✔ | 1,500.00 | |
12 ก.ย. 65 | กิจกรรม Kick Off “บูรณาการกลไกความร่วมมือ นวัตกรรมทางสังคม เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี” | 120 | 136,000.00 | ✔ | 135,425.00 | |
26 - 30 ก.ย. 65 | การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง นโยบายสาธารณะและการมีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายสาธารณะ | 4 | 17,000.00 | ✔ | 16,660.00 | |
27 ก.ย. 65 | การประชุมทีมสื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี ครั้งที่ 1/2565 | 9 | 4,200.00 | ✔ | 4,200.00 | |
29 ก.ย. 65 | การประชุมเพื่อวางแผนการขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 12/2565 | 11 | 5,900.00 | ✔ | 5,900.00 | |
2 - 3 ต.ค. 65 | อบรมเชิงปฏิบัติการ นักสื่อสารสร้างสรรค์สังคมสุขภาวะ | 7 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
5 ต.ค. 65 | ประชุมเตรียมงานสมัชชาเมืองคนดีสุขถ้วนหน้า (ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร) | 20 | 1,600.00 | ✔ | 1,575.00 | |
15 ต.ค. 65 | การประชุมเพื่อเตรียมงาน เวทีถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยน "ถอยหลังเเลหน้าการเขยื้อนเคลื่อนภาคีเครือข่ายสุขภาวะสุราษฎร์ธานี" ครั้งที่ 13/2565 | 6 | 4,500.00 | ✔ | 4,500.00 | |
19 ต.ค. 65 | งานสมัชชาเมืองคนดีสุขถ้วนหน้า ครั้งที่ 1 “สุราษฎร์ธานีสู่ครัวโลก :เพียงพอ ปลอดภัย สมวัย สร้างเศรษฐกิจฐานราก” | 12 | 12,000.00 | ✔ | 11,765.00 | |
20 ต.ค. 65 | เวทีถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยน “ถอยหลังแลหน้า การเขยื้อนเคลื่อนภาคีเครือข่ายสุขภาวะสุราษฎร์ธานี” | 40 | 48,000.00 | ✔ | 47,629.00 | |
28 ต.ค. 65 | การประชุมทีมอนุฯสื่อสารสุขภาวะสุราษฎร์ธานี ครั้งที่ 2/2565 | 9 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
28 ต.ค. 65 | การประชุมวางแผนการขับเคลื่อน model ทดลอง "มะขามเตี้ยแห่งความสุข" ครั้งที่ 1/2565 | 7 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
31 ต.ค. 65 | การประชุมติดตามและประเมินผลการดำเนินงานในโครงการ ศวนส | 2 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
4 พ.ย. 65 | การประชุมทีมอนุฯสื่อสารสุขภาวะสุราษฎร์ธานี ครั้งที่ 3/2565 | 11 | 3,800.00 | ✔ | 3,000.00 | |
6 พ.ย. 65 | การประชุมติดตามการขับเคลื่อน model ทดลอง "มะขามเตี้ยแห่งความสุข" ครั้งที่ 2/2565 | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
10 พ.ย. 65 | การประชุมหารือการขับเคลื่อน model ทดลอง "มะขามเตี้ยแห่งความสุข" ร่วมกับพื้นองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามเตี้ย | 4 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
16 พ.ย. 65 | การประชุมวางแนวทางการจัดการข้อมูลทีมอนุฯสื่อสารสุขภาวะสุราษฎร์ธานี ครั้งที่ 4/2565 | 10 | 5,700.00 | ✔ | 4,900.00 | |
17 พ.ย. 65 | การประชุม เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันต่อการขับเคลื่อนโครงการบูรณาการกลไกความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะจังหวัดสุราษฎร์ธานี รูปแบบ “กองทุนเสริมสร้างสุขภาวะจังหวัดสุราษฎร์ธานี” | 15 | 13,000.00 | ✔ | 11,260.00 | |
21 พ.ย. 65 | การประชุมหารือแนวทางการขอรับงบประมาณสนับสนุนโครงการจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี | 9 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
23 พ.ย. 65 | การประชุมหารือแนวทางการขอรับงบประมาณสนับสนุนโครงการและการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงโครงการเสริมสร้างสุขภาวะจังหวัดสุราษฎร์ธานี | 9 | 7,600.00 | ✔ | 8,728.00 | |
7 ธ.ค. 65 | การประชุมวางระบบฐานข้อมูลโครงการบูรณาการกลไกความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี | 7 | 3,100.00 | ✔ | 3,035.00 | |
12 ธ.ค. 65 | การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายวิดีทัศน์ ที่มาโครงการบูรณาการกลไกความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี | 5 | 5,000.00 | ✔ | 4,750.00 | |
15 ธ.ค. 65 | การประชุมคณะทำงานหารือตัวชี้วัด/และเตรียมงานเวทีพัฒนาพี่เลี้ยงและเปิดชี้แจงการขอรับงบสนับสนุนโครงการฯ | 6 | 2,500.00 | ✔ | 2,500.00 | |
17 ธ.ค. 65 | การประชุมติดตามการดำเนินงานบูรณากลไกความร่วมมือเพื่อการเสริมสร้างสุขภาวะระดับจังหวัด | 14 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
24 - 25 ธ.ค. 65 | การประชุมเชิงปฏิบัติการทำแผนขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายภาคใต้แห่งความสุข (งานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่13) และนำเสนอความก้าวหน้าโครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (ศวนส.) | 2 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
29 - 30 ธ.ค. 65 | การประชุมถ่ายทำวิดีทัศน์สวัสดีปีใหม่โครงการบูรณาการกลไกความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี | 8 | 1,200.00 | ✔ | 1,200.00 | |
3 ม.ค. 66 | การประชุมเตรียมงานเวทีพัฒนาพี่เลี้ยงและเวทีชี้แจงการขอรับงบสนับสนุนโครงการฯ | 13 | 6,000.00 | ✔ | 7,200.00 | |
5 ม.ค. 66 | เวทีพัฒนาพี่เลี้ยงโครงการบูรณาการกลไกความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี | 40 | 80,000.00 | ✔ | 84,110.00 | |
6 ม.ค. 66 | เวทีชี้แจงการขอรับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการบูรณาการกลไกความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี | 120 | 125,000.00 | ✔ | 112,570.00 | |
12 ม.ค. 66 | การประชุมหารือแนวทางการจ้างที่ปรึกษาโครงการบูรณาการกลไกความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี | 0 | 0.00 | ✔ | 2,550.00 | |
20 ม.ค. 66 | การศึกษาดูงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเด็น “ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่เครื่องมือการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม” ภายใต้กิจกรรมห้องปฏิบัติการสังคมเพื่อการเรียนรู้ : นโยบายสาธารณะเพื่อสร้างความร่วมมือแบบประชารัฐ ภายใต้ชุดวิชานโยบายสาธารณะและการสร้างความร | 0 | 0.00 | ✔ | 15,366.00 | |
21 - 22 ม.ค. 66 | กิจกรรมลงพื้นที่เพื่อเก็บภาพและวิดีโอเพื่อจัดทำสื่อในประเด็น 5 อ (ประเด็นอาหาร) | 0 | 0.00 | ✔ | 9,000.00 | |
28 ม.ค. 66 | การประชุมเพื่อหารือความร่วมมือการบูรณาการกองทุนเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานีกับภาคเอกชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี | 0 | 0.00 | ✔ | 12,704.00 | |
3 ก.พ. 66 | การประชุมเพื่อหารือและร่วมออกแบบแผนการดำเนินงานโครงการบูรณาการความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี | 0 | 0.00 | ✔ | 19,400.00 | |
8 ก.พ. 66 | กิจกรรมชวน อสม. มา “บำรุงใจ” รุ่นที่1 | 0 | 0.00 | ✔ | 16,100.00 | |
8 ก.พ. 66 | การประชุมเพื่อหารือแนวทางขับเคลื่อนแผนงานวิจัย “มะขามเตี้ยแห่งความสุข” ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง | 0 | 0.00 | ✔ | 2,750.00 | |
1 มี.ค. 66 | การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการบูรณาการกลไกความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี | 0 | 0.00 | ✔ | 10,400.00 | |
4 - 5 มี.ค. 66 | การประชุมติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อนแผนงานในโรงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (ศวนส.) | 0 | 0.00 | ✔ | 1,500.00 | |
7 มี.ค. 66 | การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการมะขามเตี้ยแห่งความสุข | 0 | 0.00 | ✔ | 8,500.00 | |
7 - 9 มี.ค. 66 | เวทีอบรมการพัฒนาพี่เลี้ยง โครงการบูรณาการกลไกความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี | 0 | 0.00 | ✔ | 58,782.00 | |
30 มี.ค. 66 | กิจกรรม ชวน อสม. มา “บำรุงใจ” รุ่นที่ 2 | 0 | 0.00 | ✔ | 10,030.00 | |
5 เม.ย. 66 | ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนมะขามเตี้ยแห่งความสุข ครั้งที่4 | 0 | 0.00 | ✔ | 9,300.00 | |
5 เม.ย. 66 | การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการบูรณาการกลไกความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี | 0 | 0.00 | ✔ | 15,000.00 | |
9 เม.ย. 66 | การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการบูรณาการกลไกความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี | 0 | 0.00 | ✔ | 12,500.00 | |
19 เม.ย. 66 | กิจกรรม วันจบปี จบเดือน รดน้ำผู้สูงอายุ ประจำปี 2566 (มะขามเตี้ยแห่งความสุข) | 0 | 0.00 | ✔ | 20,060.00 | |
24 - 25 เม.ย. 66 | กิจกรรมศึกษาดูงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปฏิญญาอ่าวลันตาการขับเคลื่อนสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน | 0 | 0.00 | ✔ | 23,250.00 | |
26 เม.ย. 66 | การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการบูรณาการกลไกความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี | 0 | 0.00 | ✔ | 10,500.00 | |
30 เม.ย. 66 | เวทีพัฒนาการเขียนโครงการและการติดตามประเมินผล | 0 | 0.00 | ✔ | 88,475.00 | |
4 พ.ค. 66 | ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนมะขามเตี้ยแห่งความสุข ทีมจัดการขยะ | 0 | 0.00 | ✔ | 10,400.00 | |
8 พ.ค. 66 | ประชุมถอดบทเรียนศึกษาดูงานเกาะลันตาและมะขามเตี้ยแห่งความสุข | 0 | 0.00 | ✔ | 4,900.00 | |
22 พ.ค. 66 | ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการมะขามเตี้ยแห่งความสุข | 0 | 0.00 | ✔ | 12,211.00 | |
23 พ.ค. 66 | กิจกรรมจัดทำคลิปประเด็น 5 อ (ออกกำลังกาย) | 0 | 0.00 | ✔ | 4,500.00 | |
24 พ.ค. 66 | ประชุมร่วม อบจ หารือแนวทางขับเคลื่อนโครงการฯ | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
5 - 7 มิ.ย. 66 | ประชุมจัดทำแผนข้อมูลโครงการฯ บรรจุเข้าแผนท้องถิ่น (อบจ.) | 0 | 0.00 | ✔ | 35,000.00 | |
8 มิ.ย. 66 | ประชุมเตรียมงานกิจกรรมบูรณาการกลไกจังหวัดฯ | 0 | 0.00 | ✔ | 7,000.00 | |
9 มิ.ย. 66 | กิจกรรมเตรียมงานกิจกรรมบูรณาการกลไกจังหวัดฯ | 0 | 0.00 | ✔ | 17,000.00 | |
10 มิ.ย. 66 | กิจกรรมงานบูรณาการกลไกจังหวัดฯ | 0 | 0.00 | ✔ | 112,258.00 | |
23 มิ.ย. 66 | ประชุมออกแบบแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี | 0 | 0.00 | ✔ | 288.00 | |
2 - 3 ก.ค. 66 | กิจกรรมจัดทำสื่อสุขภาวะกลไกจังหวัดระดับพื้นที่ ตอน วิสาหกิจกลุ่มเลี้ยงโคเพื่อพัฒนาสายพันธุ์ตำบลมะขามเตี้ย | 0 | 0.00 | ✔ | 10,800.00 | |
4 ก.ค. 66 | ประชุมคณะทำงานพัฒนากลไกจังหวัดระดับพื้นที่ | 0 | 0.00 | ✔ | 17,649.00 | |
10 ก.ค. 66 | ประชุม กสส. | 0 | 0.00 | ✔ | 16,189.00 | |
11 ก.ค. 66 | ร่วมประชุมหมู่บ้าน (หมู่ที่ 5 ต.มะขามเตี้ย) | 0 | 0.00 | ✔ | 1,100.00 | |
11 ก.ค. 66 | กิจกรรม ร่วมกับ รพสต.มะขามเตี้ย | 0 | 0.00 | ✔ | 8,360.00 | |
20 ก.ค. 66 | เวที MOU เขาพัง เพื่อสุขภาวะที่ดีีด้วยกลไก พชต. | 0 | 0.00 | ✔ | 3,230.00 | |
23 ก.ค. 66 | ประชุมขับเคลื่อนชมรมผู้สูงอายุ | 0 | 0.00 | ✔ | 7,500.00 | |
24 ก.ค. 66 | กสส ร่วมงานสมัชชาจังหวัด | 0 | 0.00 | ✔ | 13,760.00 | |
29 - 30 ก.ค. 66 | ถอดบทเรียน โครงการบูรณาการกลไกความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี | 0 | 0.00 | ✔ | 142,422.00 | |
31 ก.ค. 66 | กิจกรรมจัดทำสื่อสุขภาวะกลไกจังหวัดระดับพื้นที่ ตอน กลุ่มเลี้ยงผึ่งโพรงไทยและปลูกพืชสมุนไพร ต.มะขามเตี้ย | 0 | 0.00 | ✔ | 6,000.00 | |
5 ส.ค. 66 | กิจกรรมถอดบทเรียน “กสส” สู่การขับเคลื่อนบูรณาการกลไกความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี วันที่ 5 สิงหาคม 2566 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ เรือนไทยในบาง รีสอร์ท จังหวัดสุราษฎร์ธานี | 0 | 0.00 | ✔ | 12,570.00 | |
6 ส.ค. 66 | การประชุมกลไกบูรณาการความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี ระดับพื้นที่ | 0 | 0.00 | ✔ | 2,700.00 | |
8 - 10 ส.ค. 66 | งานสร้างสุขภาคใต้ครั้งที่13 "ภาคใต้้แห่งความสุขเพื่อสุขภาวะแห่งอนาคต สุข สู่ สุขภาวะ" | 0 | 120,000.00 | ✔ | 89,600.00 | |
23 ส.ค. 66 | การประชุมกลไกความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะคณะระดับพื้นที่ | 0 | 0.00 | ✔ | 7,100.00 | |
23 ส.ค. 66 | การแลกเปลี่ยน เรียนรู้ กลไกบูรณาการความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะระดับพื้นที่ | 0 | 0.00 | ✔ | 6,600.00 | |
5 ก.ย. 66 | การประชุมกลไกความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะคณะระดับพื้นที่ | 0 | 0.00 | ✔ | 10,250.00 | |
23 - 24 ก.ย. 66 | เเนวทางขับเคลื่อน กลไกบูรณาการพื้นที่สู่กลไกบูรณาการจังหวัด | 0 | 0.00 | ✔ | 30,852.00 |
- วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ผลลัพธ์ระยะสั้น : ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามประเด็นปัญหาสำคัญของภาคใต้ 4 เรื่องหลักคือเรื่อง (ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางสุขภาพ ความมั่นคงทางมนุษย์ และความมั่นคงทางฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) เข้าใจและสามารถออกแบบการทำงานร่วมกันในการขับเคลื่อนนโยบายทั้งในประเด็นและข้ามประเด็นมากขึ้น
/ผลลัพธ์ระยะกลาง : ผลการขับเคลื่อนนโยบายของแต่ละประเด็นทำให้เกิดความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ขับเคลื่อนนโยบายมีสุขภาวะดีขึ้น
- วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ผลลัพธ์ระยะสั้น : ภาคีเครือข่ายเกิดกระบวนการเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการวิ เคราะห์ข้อมูล สถานการณ์ปัญหา การจัดแผนการขับเคลื่อน การสร้างปฏิบัติการขับเคลื่อน และการติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาของภาคีที่เกี่ยวข้อง /ผลลัพธ์ระยะกลาง : ชุดความรู้ที่เกิดจากการขับเคลื่อนถูกนำไปใช้ ในการขยายผลในการสื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายได้
- วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 ผลลัพธ์ระยะสั้น : กลุ่มภาคีที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพมีความรู้และเข้าใจกระบวนการทำงานตามขั้นตอนนโยบายและสามารถนำความรู้ไปใช้ในการขับเคลื่อนงานตามประเด็นที่ตนเองรับผิดชอบได้ /ผลลัพธ์ระยะกลาง : เกิดความยั่งยืนในการขับเคลื่อนงานตามกระบวนการนโยบาย เพื่อสร้างผลกระทบของการดำเนินงานในวงกว้างมากขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2565 11:16 น.