สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

กองทุนฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (กลไกจังหวัด)

กิจกรรมงานบูรณาการกลไกจังหวัดฯ10 มิถุนายน 2566
10
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย ฝ้าย_ขนิษ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อต้อนรับ คกก.บริหารแผนที่ 7 สสส. ดูงานกลไกจังหวัด

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 66 ณ ห้องประชุมเขาท่าเพชร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติฯร. 10 เกาะกลางบางทะลุ โครงการบูรณาการกลไกความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะจังหวัดสุราษฎร์ธานี  ภายใต้การดำเนินการของคณาจารย์คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และภาคีเครือข่ายต่างๆ ได้ให้การต้อนรับ รศ.นพ.สรนิต ศีลธรรม ประธานคณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 7 พร้อมคณะกรรมการฯ ที่มาประชุมสัญจร และเยี่ยมชมพื้นที่ปฏิบัติการ “บูรณาการกลไกความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะจังหวัดสุราษฎร์ธานี” (กสส.) ตอน “มะขามเตี้ยแห่งความสุข” โดย รศ.สุชาดา ทิพย์มนตรี รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และ ดร.ปรเมษฐ์ จินา ประธานคณะกรรมการนโยบายโครงการฯให้การต้อนรับ — ????คณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 7 ซึ่งเป็นอนุบอร์ดกองทุนฯ ได้รับการแต่งตั้งจากบอร์ดกองทุนฯ มาช่วยกำกับติดตามแผนงาน/โครงการต่างๆของแต่ละสำนัก เช่น สำนักภาคีเครือข่ายสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์และมีหน้าที่ในการอนุมัติทุนสำหรับแผนงาน/โครงการต่างๆ ตั้งแต่ 20-50 ล้านบาท การมาประชุมสัญจรครั้งนี้ เพื่อมาดูงานโครงการบูรณาการกลไกความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะจังหวัดสุราษฎร์ธานี  ซึ่งเกิดขึ้นสุราษฎร์ธานีเป็นจังหวัด “แรก” จุดเริ่มต้นของโครงการฯเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านมนุษย์และสถานะทางสุขภาพให้เกิดขึ้นในจังหวัด แต่ปัจจัยสําคัญที่จะให้เกิดกลไกระดับจังหวัดได้ คือ “การบูรณาการทุกภาคส่วนในการทํางานส่งเสริมสุขภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการร่วมสนับสนุนทุนเพื่อขับเคลื่อน ในรูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อรองรับความต้องการบรรลุเป้าหมายการเป็นภาคใต้แห่งความสุขเพื่อความมั่นคงแห่งมนุษย์และสุขภาพของสุราษฎร์ธานี โดยเริ่มต้นการขับเคลื่อนด้วย 5อ และมีความสําคัญในการบูรณาการกลไกความร่วมมือ ทั้งในส่วนของภาคี เครือข่าย และแหล่งทุนในการทําโครงการด้านการจัดการสุขภาวะและการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับจังหวัด เพื่อเป็นต้นแบบโมเดลในการเสริมสร้างสุขภาวะให้ชุมชน และกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงแหล่งทุนขนาดใหญ่มากขึ้นในระดับจังหวัด สำหรับพื้นที่ปฏิบัติการ “ชุมชนแห่งสุข #มะขามเตี้ยแห่งความสุข — ????“มะขามเตี้ยแห่งความสุข” เป็นรูปธรรมหนึ่งของผลลัพธ์ที่ใช้บูรณาการกลไกความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะจังหวัดสุราษฎร์ธานีในการขับเคลื่อนฯ “มะขามเตี้ยแห่งความสุข”เช่นกัน เกิดขึ้นได้ต้องมาจาก การหนุนเสริม สานพลังการทํางานในรูปแบบเครือข่ายทั้งภาครัฐ ท้องที่ ท้องถิ่น เอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพตามประเด็นปัญหาสําคัญในพื้นที่ เช่น ปัญหาขยะ ปัญหาการขาดพื้นที่กลาง และการสร้างคุณค่าผู้สูงอายุที่มีมากขึ้น พื้นที่ให้การเยี่ยมชม ด้วยรูปแบบ “นิทรรศการมีชีวิต เริ่มต้น การรับการต้อนรับกับ ชุดบาสโลก คะมะขามเตี้ย ประสานใจ” ต่อด้วยชุดต้อนรับ ขนมบัวลอยจาก ผู้สูงอายุที่ใช้ภูมิปัญญาน้ำตาลพร้าวทำขนม และต่อด้วยการต้อนรับ #คณะทำงานมะขามเตี้ยแห่งความสุข กับ แกลลอรีวิถีคนมะขามเตี้ยจากอัตลักาณ์คนมะขามเตี้ย และเยี่ยมชมบูธกลุ่มวิสาหกิจในชุมชน ทั้งการเลี้ยงโคเนื้อ กลุ่มเลี้ยงผึ้งชันโรง กลุ่มเครื่องแกงท่าสน และผลิตภัณฑ์สมุนไพรจาก รพ.สต.มะขามเตี้ย — ????ปิดท้ายด้วยการขับร้องเพลง กล่อมเด็กจากภูมิปัญญาของคนมะขามเตี้ย การมาเยี่ยมชมครั้งนี้ #โครงการบูรณาการกลไกความร่วมมือฯ ยินดีและดีใจ มากกว่านั้น #คนมะขามเตี้ย ดีใจและมีความสุขมากกว่าอีก ที่ทุกท่านจะได้รับความสุขจากพวกเราและเราพร้อมส่งต่อความสุขต่อไป งานนี้สำเร็จไม่ได้เลย ถ้าไม่ได้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ชาวบ้าน พี่ๆอสม. พี่ๆชมรมบาสโลป พี่ๆอพปร. กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มวิสาหกิจ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น รพ.สต.มะขามเตี้ย อบต.มะขามเตี้ย บริษัทไทบีทูเมน โรงแรมวังใต้ สถานศึกษาในพื้นที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี อบจ.สุราษฎร์ธานี และที่ไม่กล่าวนามอีกมากมาย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลลัพธ์จากกลไกบูรณาการความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 180 คน จากที่ตั้งไว้ 0 คน
ประกอบด้วย

 คณะกรรมการและคณะทำงานจาก สสส. จำนวนประมาณ 30 คน  คณะทำงานโครงการ หน่วยงานภายในพื้นที่ จำนวนประมาณ 50 คน ได้แก่  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะกรรมการนโยบายโครงการฯ(กลไกจังหวัด) องค์การบริหารส่วนตำบลมะขามเตี้ย                                  ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี สถาบันนโยบายสาธารณะ ม.อ. สปสช.เขต 11 ผู้นำท้องที่ตำบลมะขามเตี้ย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะขามเตี้ย แกนนำ  อสม. มะขามเตี้ย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี  สภาเด็กและเยาวชนตำบลมะขามเตี้ย โรงพยาบาลพุนพิน โรงเรียนศิริสาธิต โรงแรมวังใต้ บริษัท  ไทยบิทูเมน จำกัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคีรีรัฐนิคม สำนักงานพัฒนาพื้นที่ทุ่งใสไช ม.อ. และอิหม่ามประจำมัสยิดรียาดุนมุมีนีน(บ้านท่าสน)  ผู้เข้าร่วมทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวบ้าน และภาคเอกชนในตำบลมะขามเตี้ย จำนวนประมาณ 100 คน ประกอบไปด้วย อสม. อปพร. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพริกแกงท่าสน กลุ่มวิสาหกิจเลี้ยงโคเพื่อพัฒนาสายพันธุ์ กลุ่มเลี้ยงผึ้ง มัสยิดท่าสน รพ.สต. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.ศิริลักษณ์ ร้านพูลเงินม้าหินอ่อน มูลนิธิธานัง  กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มชาวบ้านทั่วไป

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่