กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติ สร้างกระบวนการ มีพื่อน/กลุ่ม/เครือข่าย เพื่อเยี่ยวยาจิตใจจากสภาวะท่ีเคยหมดกำลังใจ ให้พลิกลับมาเป็นพลังแห่งการต่อสู้
กิจกรรม พัฒนาศักยภาพเแกนนำเครือข่ายชุมชนและนักจัดระบบชุมชนรุ่นใหม่ให้เข้าใจปัญหา สามารถวิเคราะห์เชื่อมโยงปัญหาชุมชนท้องถิ่นกับปัญหาเชิงโครงสร้าง อันนำไปสู่ความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรร่วมกัน
กิจกรรม กระตุ้นห้ชุมชนผู้ประสบภัยกลับกลายมาเป็น "ชุมชนป้องกันภัย" โดยการร่วมกันทำแผนคิดค้นกระบวนการป้องกันภัย ที่สอดคล้องกันระหว่างความรู้ภายนอกกับภูมิปัญญาในแต่ละภูมินิเวศน์
กิจกรรม เกิดกลไกการจัดการภัยพิบัติระดับจังหวัดกลไกเครือข่ายจังหวัด กลุ่มจังหวัด ในพื้นที่อันดามัน พัฒนากลไกความร่วมมือหลายฝ่ายแบบบูรณาการ ยกระดับภาคีความร่วมมือ เครือข่ายภาคประชาสังคม สู่กลไกการจัดการภัยพิบัติระดับจังหวัด ผลักดันให้เกิดการปรับปรุงกฎหมายและนโยบายการส่งเสริมชุมชนจัดการภัยพิบัติ
()
กิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูล ประสานภาคีความร่วมมือ ทีมอาสาช่วยเหลืดกู้ภัยปฏิบัติทันที ค่าใช้จ่ายในการประสานงานเครือข่าย/ดำเนินโครงการ/การรายงาน
เกิดการประสานงานเครือข่าย 6 จังหวัดอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาศักยภาพอาสาสมัคร นำเสนอแผนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ท้องที่ ท้องถิ่น ปภ.จังหวัด
()
ประชุมคณะทำงาน เพื่อสรุปงาน เตรียมงาน รวมพลคนอาสา วันที่ 7-9 เม.ย. ณ จังหวัดภูเก็ต
แบ่งงานทีม ประสานเครือข่าย 6 จังหวัด จำนวนผู้เข้าร่วมงาน พร้อมรายชื่อ ประสานรายละเอียดกับผู้ประสานงานจังหวัดในการเดินทางเข้าร่วมงาน ร่างงบประมาณค่าใช้จ่าย
เกิดการประสานงานเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ/สรุปรายงานการประชุม
()
การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน ปกติแล้วภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดอันดามัน ชาวบ้านจะปรับตัวเข้ากับสภาพธรรมชาติได้เป็นอย่างดี มีการเรียนรู้ธรรมชาตินำไปสู่การตั้งถิ่นฐานและการทำมาหากิน ไม่ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่เสี่ยงภัย การทำการเกษตรก็ไม่ทำลายหรือบุกรุกธรรมชาติ ดังนั้น เวลาเกิดภัยพิบัติเรียนรู้ที่จะปรับตัวจนกลายเป็นวิถีชีวิตปกติ อาศัยการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในหมู่เครือญาติก็จะผ่านพ้นภัยไปได้
แต่ด้วยสภาพที่ภัยธรรมชาติมีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างช่วงการเกิดธรณีภัยพิบัติสึนามิในปี พ.ศ.2547 ทำให้ชุมชนมีความตื่นตัวในการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน ซึ่งเกิดเป็นรูปธรรมที่ชุมชนบ้านน้ำเค็ม ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา และขยายตัวมากขึ้นตามภัยพิบัติที่เกิดขึ้น โดยการสนับสนุนของมูลนิธิชุมชนไท พอช. และ สสส. การเกิดภัยน้ำท่วม ปี พ.ศ. 2554 , 2560 ยิ่งเป็นแรงกระตุ้นให้ชุมชนมีการเตรียมการเพื่อจัดการภัยพิบัติด้วยตนเอง มีการหนุนช่วยซึ่งกันและกันข้ามจังหวัด ขยายคน ขยายพื้นที่ จนถึงปัจจุบันมีเครือข่ายชุมชนจัดการภัยพิบัติทั้ง 6 จังหวัด
ในการดำเนินงานจะเห็นรูปแบบดำเนินการทุกระดับ คือ 1. เกิดกลไกระดับจังหวัดโดยเน้นความร่วมมือกับทางจังหวัดและภาคีพัฒนาต่างๆ ในการหนุนเสริมการจัดการภัยพิบัติระดับพื้นที่ ตลอดจนเป็นศูนย์ร่วมข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นต่อการจัดการภัยพิบัติ การหนุนเสริมให้เกิดกองทุนภัยพิบัติ เป็นทุนตั้งต้นและที่ขาดไม่ได้ก็คือเป็นกลไกที่ประมวลปัญหา อุปสรรคสู่การแก้ปัญหาเชิงนโยบาย ที่อาจมีความเกี่ยวข้องกับระบบผังเมือง ชลประทาน การคมนาคม ตลอดจนงานของหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ
อย่างไรก็ดีบางจังหวัดอาจมีกลไกระดับอำเภอ เพื่อทำหน้าที่ประสานหนุนเสริมงานที่กำลังเกิดของพื้นที่ เป็นการช่วยงานของพื้นที่ให้ลุล่วงไปได้ เช่น งานที่ต้องเกี่ยวข้องกับภาครัฐ งบประมาณ ตลอดจนระบบการหนุนช่วยอื่นๆ
ปัจจุบันมีอยู่หลายจังหวัดที่มีการจัดตั้งกลไกอย่างเป็นทางการ โดยเป็นคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด เช่น พังงา ระนอง เป็นต้น แต่บางจังหวัดก็อยู่ในช่วงของการบูรณาการ โดยการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี การสร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ เป็นต้น ซึ่งจะนำมาซึ่งการยอมรับของภาคีต่างๆ ในอนาคต 2. กลไกระดับพื้นที่ปฏิบัติการ หลายแห่งใช้ตำบลเป็นพื้นที่ปฏิบัติการโดยใช้สภาองค์กรชุมชนตำบลเป็นกลไกการขับเคลื่อน แต่บางแห่งก็ใช้พื้นที่หมู่บ้าน ขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่ โดยพื้นที่ปฏิบัติการนั้น จะต้องสร้างให้เกิด กลไกการทำงานที่มีตัวแทนจากทุกหมู่บ้านและภาคีท้องถิ่น ท้องถิ่น อื่นๆ มีการจัดระบบการแบ่งงานความรับผิดชอบออกเป็นฝ่ายต่างๆ อย่างชัดเจน มีศูนย์และทีมอำนวยการที่ชัดเจนในการเป็นจุดศูนย์กลางทั้งด้านการบัญชาการเหตุและการจัดการเรื่องอื่นๆ มีทีมอาสาสมัครที่ผ่านการอบรมเพิ่มประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง มีระบบข้อมูลแผนที่ ปฏิทินภัยและแผนรับมือภัยพิบัติ มีกองทุนภัยพิบัติ
การขยายเครือข่ายในการดำเนินงานทุกจังหวัดจะมีพื้นที่นำร่องทุกจังหวัดๆ ละ 4-5 พื้นที่ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้จะมีการดำเนินงานที่เป็นระบบ ตั้งแต่โครงสร้างความรับผิดชอบ ความร่วมมือกับภาคส่วนอื่นๆ ข้อมูล อาสาสมัครการสื่อสารและกองทุนภัยพิบัติ ถึงแม้ว่าพื้นที่ต้นแบบหลายพื้นที่และพัฒนาพื้นที่ของตนเองในการก้าวไปสู่ “พื้นที่ต้นแบบที่สมบูรณ์” ในอนาคต
นอกจากพื้นที่ต้นแบบแล้วทุกจังหวัดจะกำหนดให้มีพื้นที่ขยายครอบคลุมทั้งจังหวัด โดยพื้นที่ขยายที่มีการปฏิบัติการตามความพร้อมไปทีละเรื่อง เช่น เริ่มจากการมีทีมอาสาแล้วค่อยๆ พัฒนาไปตามศักยภาพของตนเอง
ข้อสังเกตสู่การพัฒนาระบบการจัดการภัยพิบัติ 6 จังหวัดอันดามัน 1. การพัฒนาคนและความสามารถสู่การจัดการภัยพิบัติ จากการลงพื้นที่ทั้ง 6 จังหวัด พบว่า กลไกหรือโครงสร้าง ตลอดจนภาระกิจแต่ละระดับมีความชัดเจนเพียงแต่ทุกจังหวัดทำได้เท่ากัน มีความข้น คุณภาพที่ต่างกัน ซึ่งยังต้องอาศัยพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ก็จะก้าวไปสู่กลไกหรือโครงสร้างที่สมบูรณ์ได้ ซึ่งสาระสำคัญ คือ กลไกระดับจังหวัดให้ความสำคัญกับการประสานเชิงนโยบายและหนุนเสริมพื้นที่ส่วนระดับพื้นที่เน้นเรื่องการปฏิบัติการจริง
แต่สิ่งที่น่าจะพิจารณาเป็นพิเศษในเรื่องนี้ก็คือ การพัฒนาคนที่มีอยู่แล้วให้มีความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการภัยพิบัติให้มากขึ้น การกระตุ้นให้เห็นความสำคัญ ความจำเป็นที่ต้องจัดการภัยพิบัติโดยตนเอง การให้ความรู้ความเข้าใจเฉพาะเรื่อง เช่น เทคนิคการประสานงาน การจัดทำข้อมูล การเชื่อมโยงข้อมูลกับการจัดทำแผนรับมือภัยพิบัติ เทคนิคการบัญชาเหตุ การใช้เครื่องมือสื่อสารใหม่ๆ การพยากรณ์อากาศ เป็นต้น รวมทั้งการขยายอาสาสมัครให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนรุ่นใหม่
- การขยายและยกระดับคุณภาพพื้นที่ปฏิบัติการ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน โดยพื้นที่ต้นแบบ จะต้องยกระดับให้สามารถดำเนินการได้ทุกเรื่อง ทั้งโครงสร้างที่ชัดเจนการร่วมมือกับภาคี การมีบริการศูนย์อำนวยการ การจัดระบบข้อมูล และแผนรับมือภัยพิบัติ ทีมอาสาสมัครที่เข้มแข็งหลากหลาย วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น ระบบการสื่อสาร และกองทุนภัยพิบัติระดับพื้นที่ เพราะพื้นที่เหล่านี้คือศูนย์เรียนรู้ที่สำคัญในการขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆ ซึ่งเท่าที่ตรวจสอบข้อมูลพื้นที่ต้นแบบหลายพื้นที่ยังต้องมีการพัฒนายกระดับ ให้ครบตามแนวทางดังกล่าว
ส่วนภารกิจอีกประการหนึ่งก็คือการค้นหาพื้นที่ขยายอาจเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกับพื้นที่ต้นแบบ หรืออยู่ในระบบนิเวศเดียวกัน หรือพื้นที่ที่ประสบภัยอยู่สม่ำเสมอ ในการดำเนินงานก็ความจะเริ่มจากสิ่งที่มีความพร้อม เช่น การมีอาสาสมัคร ขยายไปสู่การจัดทำแผนที่เสี่ยงภัย ฯลฯ ซึ่งพื้นที่ขยายนี้ในแต่ละจังหวัดควรจะมีแผนในการขยายงานเพื่อเป็นทิศทางในการขับเคลื่อนต่อไป
- การบูรณาการแผนองค์รวมกับประเด็นอื่นๆ สู่การฟื้นฟูหลังภัยพิบัติ ในการทำงานพัฒนาชุมชนทุกระบบจะมีความเกี่ยวพันธ์กัน ดังนั้นแกนนำจะทำเรื่องที่อยู่อาศัย อาชีพ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องระวังความคิดว่า “ภัยไม่เกิดก็ไม่รู้จะทำอะไร” ทำให้แกนนำคิดงานไม่ออก ดังนั้น ควรจะบูรณาการงานพัฒนาแบบองค์รวมตามบริบทของพื้นที่ เช่น เครือข่ายสิทธิชุมชนพัฒนาภูเก็ต มีแผนงานด้านช่างชุมชน การส่งเสริมอาชีพ การตลาด เป็นต้น เพราะกิจกรรมเหล่านี้จะเป็นฐานสำคัญในการเชื่อมโยงให้แกนนำได้สัมพันธ์ต่อกันอย่างต่อเนื่อง มีประสบการณ์และเห็นความเชื่อมโยงของงานทุกระบบในชุมชน ไม่มีงานใครสำคัญกว่าของใคร
การดำเนินการดังกล่าวไม่เพียงทำให้งานพัฒนามีการบูรณาการกันเท่านั้น แต่ยังเป็น “การเตรียมความพร้อมสู่ความเป็นอยู่หลังภัยพิบัติ” อย่างเช่นการทำคลังอาหารชุมชน โดยการทำแหล่งผลิตอาหาร ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ การส่งเสริมอาชีพ การตลาด ฯลฯ ล้วนเป็นงานที่สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนได้ ทั้งในยามปกติและเป็นการสะสมทุนอาหาร เก็บใช้หลังภัยพิบัติผ่านไป ทั้งนี้เพราะการฟื้นฟูหลังภัยพิบัติ มีงานที่จะต้องดำเนินการหลายเรื่อง ดังนั้น หากเรื่องใดที่สามารถทำได้ก่อนก็ควรทำและทำให้เป็นเรื่องปกติของชุมชน เป็นที่น่าสังเกตว่า โครงการ “โคก หนอง นา” ที่พัฒนาไปสู่ “เกษตรทฤษฎีใหม่” รัชกาลที่ 9 ทรงนำประสบการณ์มาจากการฟื้นฟูชุมชนหลังภัยพิบัติ แต่ทรงให้ราษฎร์ทำเป็นงานปกติในชีวิต ซึ่งจะรองรับการดำเนินชีวิตได้ทั้งในยามปกติและชีวิตหลังภัยพิบัติ
- การจัดการให้เกิดกองทุนภัยพิบัติระดับพื้นที่ ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญของระดับพื้นที่ แต่ที่ต้องยกมาเป็นกรณีพิเศษก็คือ หลายพื้นที่ยังไม่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เท่าที่ควร ทั้งที่การมีกองทุนจะสร้างความมั่นใจและความสะดวกในการทำงานได้เป็นอย่างมาก กล่าวคือ เมื่อเกิดเหตุการณ์ก็มีทุนในการขับเคลื่อนได้ทันที
การตั้งกองทุนภัยพิบัติระดับพื้นที่ อาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น ภูเก็ต จะเชื่อมโยงกับกองทุนเครือข่ายที่มีอยู่เดิม หรืออาจเริ่มด้วยการสมทบ บริจาค ข้อสนับสนุนจากแหล่งทุน กินน้ำชา ฯลฯ เพื่อให้มีเงินคงคลังในการเริ่มต้น
- ให้ความสำคัญกับการป้องกันภัยพิบัติ ซึ่งเป็นต้นตอของการเกิดภัยที่ชุมชน จะร่วมกันได้ เช่น การฟื้นฟูป่าไม้ ด้วยการปลูกป่าชายเลนของภูเก็ต และบางเหรียง ทับปุด หรือการให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพลังงานทดแทนของบางหิน รัษฎา เป็นต้น แนวทางเช่นนั้นไม่เพียงทำให้ธรรมชาติสมบูรณ์แล้วยังทำให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างกว้างขวางและแกนนำเห็นความเชื่อมโยงของระบบทางธรรมชาติกับการเกิดภัยพิบัติได้เป็นอย่างดี
ที่กล่าวมาเป็นเพียงข้อสังเกตเบื้องต้นเท่านั้น ยังมีประเด็นอื่นๆ เช่น การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายด้านภัยพิบัติในทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับจังหวัด ซึ่งเป็นที่ระบบของหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นผู้กำหนดอนาคตของจังหวัดเป็นอย่างมาก การสร้างความรู้ความเข้าใจต่อกันกับองค์กรเหล่านี้ก็จะนำไปสู่การแก้และป้องกันภัยพิบัติที่ใหญ่ขึ้นได้
ปัจจุบันการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายภัยพิบัติ 6 จังหวัดอันดามัน ก็เป็นรูปธรรมหนึ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากภาคชุมชน โดยสภาองค์กรชุมชนได้เข้าไปร่วมเป็นภาคีหนึ่งกับภาคพัฒนาต่างๆ ในนาม “อันดามันโกกรีน” ซึ่งจะทำให้เรื่องภัยพิบัติโดยชุมชน เป็นที่เข้าใจของภาคีอื่นๆ มากขึ้น อันจะนำไปสู่การสร้างความร่วมมือต่อกันในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งไปสู่การสร้างความร่วมมือกับราชการเชื่อมโยงระบบวิทยุสื่อสาร ทั้ง 6 จังหวัด และอาจมีความร่วมมือต่อกันในเรื่องอื่นๆ ต่อไป
การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการภัยพิบัติอันดามันสู่ข้อเสนอ
บริบทของอันดามัน สตูล พังงา ภูเก็ต ระนอง ส่วนใหญ่เป็นที่ราบมาก ยกเว้นตรัง กระบี่ ที่เป็นภูเขาลาดลงทะเล ภัยที่มี ประกอบด้วย
1. น้ำท่วมขัง
2. ดินสไลด์
3. น้ำหลาก
การช่วยเหลือ มีความเสียหายน้อย เวลามีน้ำท่วมสามรถปรับใช้เป็นวิถีชีวิตได้
การเปลี่ยนแปลง เขตอันดามันเป็นแหล่งท่องเที่ยว
1. ระบบผังพัฒนา ไม่มีส่วนร่วมจากภาคประชาชน พัฒนาเพื่อการท่องเที่ยว
2. การเปลี่ยนแปลงทางการเกษตร เกิดนโยบายบุกรุกป่ามาจากภาครัฐ ให้มีการสัมปทานป่า มีการบุกรุกป่าอย่างมาก มีนโยบายพัฒนาสัตว์น้ำ คือ กุ้ง มีการทำบ่อกุ้ง เกิดการทำลายป่าชายเลน และทำให้เกิดระบบน้ำเสีย
3. ระบบการจัดการของภาครัฐ
4. ภาวะโลกร้อน ทำให้ภัยเดิมรุนแรงขึ้น ( เกิดรุนแรงมากขึ้น เกิดถี่ขึ้น เกิดมากขึ้น ) ได้แก่ ดินสไลด์ วาตภัย ภัยแล้ง กัดเซาะ แผ่นดินไหว หมอกควัน ไฟป่า โรคระบาด และภัยอื่นๆ เช่น ภัยจากนโยบาย ภัยอื่นที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต
การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน
1. ในยุคแรกเป็นการช่วยกัน ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ดี แต่การจัดการภัยไม่ทั่วถึง รัฐออกกฎหมายคุ้มครอง
พ.ศ. 2543 เกิดน้ำท่วมที่หนัก พี่น้องประมงพื้นบ้านเริ่มช่วยพื้นที่น้ำท่วม มีการจัดเก็บข้อมูล และทำร่วมกับประมง
ชายฝั่ง
เกิดสึนามิ 26 ธันวาคม พ.ศ.2547
พ.ศ.2548 มีการจัดตั้งกองทุนชุมชน
มีการบริหารจัดการชุมชน
สร้างอาชีพ
จัดการเรื่องที่อยู่อาศัย
จัดการเรื่องภัยพิบัติ
จัดการระบบสื่อสาร
จัดการเรื่องสิทธิชุมชน
2. มีมูลนิธิชุมชนไท ที่เป็นหลักสำคัญ ที่ให้ชุมชนจัดการตนเอง โดย มีการอบรมอาสาสมัคร มีการอบรม
อปพร. พัฒนาศักยภาพ พัฒนาสู่การช่วยเหลือเพื่อน เกิดการขยายไปพื้นที่อื่น เกิดเป็นเครือข่ายภัยพิบัติ ต่อมามีกรสนับสนุนโดย พอช. สสส. สนับสนุนบ้าง แต่ไม่จริงจัง มีแต่มูลนิธิชุมชนไท ยังมีการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง มีการจัดการอย่างเป็นระบบ คือ
1) คน / กลไก เป็นศูนย์กลางความร่วมมือ
ระดับจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง
มีหน่วยงานมาร่วมหลากหลาย
เรื่องคนเป็นประเด็นสำคัญ ต้องพัฒนาศักยภาพของคน ด้านการสื่อสาร คนอาสา
ด้านกลไก ต้องปรับคน ในบางพื้นที่เช่นบางเหรียง บางพื้นที่ก็เข้มแข็งแล้วเช่น ชุมชนบ้านโกตา
2) พื้นที่ระดับปฏิบัติการ
บางพื้นที่ใช้ระบบตำบล
บางพื้นที่ใช้ระบบหน่วยงาน
3) การขยายเครือข่าย ( การยกระดับพื้นที่สู่สาธารณะ )
• 1.การขยายเครือข่ายพื้นที่ต้นแบบ ในจังหวัดพังงา มีพื้นที่ต้นแบบ 5 พื้นที่ ดังนั้นพื้นที่เหล่านี้ มีระบบข้อมูลชัดเจน มีระบบอาสาเข้มข้น มีระบบกองทุน
• 2.การขยายเครือข่ายพื้นที่ขยาย ทุกจังหวัดต้องมีการกำหนดพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งจังหวัดพังงา มี 16 พื้นที่ ทำเรื่องภัยพิบัติได้ แต่ต้องเริ่มจากกระบวน ก่อนเกิดภัย ระหว่างเกิดภัย และหลังเกิดภัย อาจจะทำอะไรก่อนหลังได้ทั้งหมด เพียงให้เข้าใจถึงกระบวนการ
• 3.การขยายเครือข่ายในพื้นที่ที่เหลือ เพื่อเพิ่มให้เต็มพื้นที่
3. การบูรณาการแบบองค์รวม เมื่อภัยมา ก่อนเกิดภัย ระหว่างเกิดภัย หลังเกิดภัย ต้องมีการพึ่งพาตนเองก่อนหรือช่วยตนเองก่อนโดยไม่พึ่งภาครัฐมากนัก และไม่ได้เป็นภาระกับใครมากเกินไป
4. กองทุนภัยพิบัติ ควรเริ่มทันที อย่ารอให้เกิดภัย เพื่อให้ช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง และเพื่อรัฐร่วมสมทบเป็นกองทุนภัยพิบัติระดับชาติ
5. การฟื้นฟูระบบนิเวศ เช่น คลังอาหาร ต่อยอดอาชีพ
ความเห็นเพิ่มเติม 1. การสื่อสารสาระสนเทศ 2. เป็นศูนย์ข้อมูลร่วม เป็นข้อมูลกลางของอันดามัน 3. ระบบสื่อสารกลาง 4. การผลักดัยเชิงนโยบาย ยุทธศาสตร์อันดามัน 1. พัฒนาเครือข่ายและพื้นที่ - พัฒนาคน - ยกระดับพื้นที่ - ยกระดับกองทุน - การบูรณาการแบบองค์รวม - กาฟื้นฟู พรก. - การใช้พลังงานสะอาด “ ทุกชีวิตปลอดภัยเมื่อภัยมา ” เป้าหมาย “ ความสูญเสียเป็นศูนย์ “
1) การพัฒนาคุณภาพเครือข่ายและพื้นที่ปฏิบัติการ
กลยุทธที่ 1. การพัฒนาคน
- ระบบกลไกกลาง พื้นที่ระดับโซน / จังหวัด / อำเภอ
- พัฒนาบุคลากร / อาสาแต่ละด้าน / เทคนิค
2) การบูรณาการแบบองค์รวม ทั้งภายในและภาคีความร่วมมือ
3) การยกระดับกองทุน
- กองทุนตนเอง / แหล่งทุนในพื้นที่
- กองทุนภาครัฐ / ข้อเสนอเชิงนโยบาย
4) การฟื้นฟูทรัพยากร / พลังงานสะอาด
- การฟื้นฟูทรัพยากร
- การใช้พลังงานสะอาด
2. ระบบสื่อสาร
- ให้ กสทช.เปิดช่องคลื่นความถี่เป็นของตนเอง
- เสาสัญญาณให้ครอบคลุมทั้ง 6 จังหวัด
- พัฒนาระบสาระสนเทศเป็นของตนเอง
- พัฒนาระบบไอที
3. การผลักดันเชิงนโยบาย ( ผลักดัน พรบ.การควบคุมอาคาร / พรบ.ผังเมือง )
- แก้กฎหมาย ปภ.ปี พ.ศ.2550
- แก้ผังเมืองอย่างมีส่วนร่วม ผลักดันการจัดทำผังชุมชน การปรับออกแบบโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งปลูกสร้าง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและผลที่จะกระทบ
- เชื่อมโยงกองทุนภัยพิบัติแห่งชาติ
- การแก้ระเบียบกระทรวงการคลัง / ชดเชย / เยียวยา ใหปรับเป็นกฎหมาย
- กฎหมายที่กี่ยวข้องกับความปลอดภัย
ประเด็นหารือ
• กรรมการกลุ่มจังหวัด
• ประชุมคนอันดามัน
• รวมพลคนอาสา กทม. ( 23 ธันวาคม 2563 )
• ประเด็นขับเคลื่อนร่วมกัน
- พรบ.
- ระบบสื่อสาร
- พื้นที่เสี่ยงภัย
• ยื่นข้อเสนอคณะรัฐมนตรี
• ภาคใต้แห่งความสุข
ยุทธศาสตร์การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน 6 จังหวัดอันดามัน
จากประสบการณ์การจัดการภัยพิบัติ 6 จังหวัดดังกล่าวนำไปสู่การจัดทำยุทธศาสตร์การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน 6 จังหวัดอันดามัน ดังนี้ วิสัยทัศน์ : ทุกชีวิตปลอดภัยเมื่อภัยมา เป้าหมาย : ความสูญเสียเป็นศูนย์ ยุทธศาสตร์ : ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ
- การพัฒนาคุณภาพเครือข่ายและพื้นที่ปฏิบัติการ 1) การพัฒนาคนไกลไก เน้นประสิทธิภาพของกลไกที่ มีการประสานงานกับภาคีต่างๆ เป็นจริง ปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพตามบทบาทของแต่ละระดับ รวมทั้งการพัฒนาคนของเครือข่ายให้ทำงานได้จริงในแต่ละด้าน 2) แผนการขยายพื้นที่ปฏิบัติการให้ครอบคลุม 3) การบูรณาการภัยพิบัติเข้ากับประเด็นอื่นๆ ของพื้นที่ 4) การตั้งและยกระดับกองทุนภัยพิบัติ เน้นการทำให้เกิดจากภายในแล้วแสวงความร่วมมือจากภายนอก รวมทั้งการมีข้อเสนอเชิงนโยบายต่อรัฐ 5) การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานสะอาด
- ระบบการสื่อสารเพื่อการรับมือภัยพิบัติ 1) การมีช่องความถี่เป็นของตนเอง (ประสารกับ กสทช.) 2) การพัฒนาเสาทวนสัญญาณครอบกลุ่มทั้ง 6 จังหวัด 3) การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเตือนภัย
- การผลักดันเชิงนโยบาย 1) ผลักดันให้เกิดการแก้ พ.ร.บ. บรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 2) การพัฒนาระบบผังเมืองอย่างมีส่วนร่วม 3) การเชื่อมโยงกับกองทุนภัยพิบัติแห่งชาติ 4) การแก้ปละยกระดับ ระเบียบ กระทรวงการคลังเกี่ยวกับค่าชดเชยเยียวยาผู้ได้รับความสูญเสียจากภัยพิบัติ 5) การพัฒนากฎหมาย ระเบียบ ฯลฯ ต่างๆ ที่เกี่ยวกับภัยพิบัติ เช่น การจัดการน้ำ การก่อสร้างอาคาร ฯลฯ
()
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนจังหวัดระนอง งานเขียนพี่สุวัฒน์ คงแป้น.docx
-
การประชุมเวทีเครือข่ายภัยพิบัติชุมชนอันดามัน จ.ระนอง.docx
จัดเวที
การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนจังหวัดระนอง
ประเภทของภัยพิบัติในจังหวัดระนอง จังหวัดระนอง ทิศตะวันตกติดต่อกับทะเลอันดามัน ส่วนด้านทิศตะวันออกเป็นเทือกเขาสูงตลอดแนว ทำให้พื้นที่ลาดเอียงลงสู่ทะเล ประชาชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามที่ราบหุบเขาและที่ราบริมทะเล โดยมีถนนเพชรเกษม ตัดผ่านตอนกลางของจังหวัด บางช่วงก็ตัดผ่านบริเวณใกล้กับทะเลขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่
สภาพภูมิประเทศดังกล่าวส่งผลให้มีความเสี่ยงของการเกิดภัยน้ำท่วม น้ำไหลหลากและดินสไลด์ แต่เนื่องจากระนองมีผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ และมีลำคลองหลายสายทำให้ดูดซับน้ำได้ดีและระบายน้ำลงสู่ทะเลได้อย่างรวดเร็ว ให้น้ำท่วมขังระยะเวลาสั้นๆ
อย่างไรก็ดีในเขตเมืองเป็นชุมชนหนาแน่นมีการสร้างสิ่งปลูกสร้างขวางทางน้ำ หรือก่อสร้างในพื้นที่รับน้ำ ขวางทางคลองทำให้ในเขตเมืองมีน้ำท่วมขังนานกว่าพื้นที่อื่นๆ
กระนั้นก็ตามปัจจุบันมีเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดภัยพิบัติเพิ่มขึ้น เช่นการยกระดับถนนเพชรเกษมเป็นถนนสี่เลนและสูงขึ้น ซึ่งขวางทางไหลของน้ำ ทำให้น้ำท่วมขังมากขึ้น การเปลี่ยนการเกษตรเป็นปลูกพืชเชิงเดี่ยว ไม่มีต้นไม้คอยซับน้ำ ทำให้น้ำไหลหลากอย่างรวดเร็วและเกิดดินโคลอนถล่มอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตอำเภอละอุ่น ประกอบกับการจัดการน้ำโดยการลอกคลอง การสร้างอ่างเก็บน้ำที่ไม่สอดคล้องกับระบบนิเวศ เพื่อนำน้ำไปใช้ที่อื่น ล้วนส่งผลให้เสียระบบนิเวศริมคลอง น้ำไหลอย่างรวดเร็วตลิ่งพัง และน้ำเปลี่ยนทิศทาง
ปัจจุบันไม่เพียงการจัดการน้ำที่ไม่ถูกต้อง การทำลายป่าอันเป็นสาเหตุของภัยแล้ง แต่โลกที่ร้อนขึ้นทุกขณะ ยังทำให้อากาศแปรปรวน เกิดพายุหมุนหรือวาตะภัย ตลอดจนทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น หญ้าทะเลซึ่งทำหน้าที่ชะลอความแรงของคลื่นก็หมดไป ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งและน้ำทะเลหนุนอีกด้วย
กล่าวโดยสรุปภัยที่เกิดขึ้นในจังหวัดระนองก็คือ ดินสไลด์ น้ำไหลหลากและน้ำท่วม แต่ในระยะหลังมานี้มีภัยเพิ่มขึ้นอันเนื่องจากระบบการจัดการน้ำของรัฐที่ไม่ถูกต้อง พฤติกรรมการทำการเกษตรเปลี่ยนไป ระบบผังเมือง ตลอดจนโลกร้อน ไม่เพียงทำให้ภัยพิบัติเดิม คือ น้ำท่วม ดินสไลด์ และน้ำไหลหลากมีความรุนแรงขึ้นเท่านั้น แต่ยังเกิดภัยอื่นๆ ตามาเช่น วาตะภัย ภัยแล้ง น้ำทะเลหนุน และกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งเป็นที่น่าสงสัยว่าระนองเป็นเมืองฝนแปดแดดสี่ แต่ระบบการจัดการน้ำที่ผิดพลาด จึงทำให้เกิดภัยแล้งได้
ระบบการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน หากไม่นับธรณีพิบัติสึนามิ ระนองยังไม่เคยประสบภัยพิบัติรุนแรง เมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้ เช่นน้ำท่วมใหญ่ ชะอวด หรือน้ำท่วมใหญ่ ปี พ.ศ.2554 ที่ส่งผลกระทบรุนแรงในหลายจังหวัด ฯลฯ แต่ระนองประสบภัยบ่อยครั้งกว่าจังหวัดอื่นๆ เนื่องจากเป็นจังหวัดที่ปริมาณน้ำฝนมากที่สุดในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินโคลนถล่ม ดินสไลด์ และน้ำไหลหลาก อย่างไรก็ดี ขบวนองค์กรชุมชน ก็ให้ความสำคัญกับการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน หลังธรณีพิบัติ สึนามิ และที่ฝนตกหนักปี พ.ศ.2549 โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สนับสนุนงบประมาณเพื่อนำไปสร้างความเข้มแข็งชุมชนด้านการจัดการภัยพิบัติ โดย “ขบวนจังหวัด” เป็นผู้ดำเนินการซึ่งงานภัยพิบัติก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นของขบวนจังหวัดระนอง
การดำเนินงานในช่วงนั้นไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควรเนื่องจากชุมชนยังขาดความรู้ในการจัดระบบด้านการจัดการภัยพิบัติ แกนนำยังไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร แต่กระนั้นก็ดีก็ยังมีจิตอาสาในการช่วยเหลือภัยพิบัติในจังหวัดอื่นๆ ที่ประสบภัยรุนแรงกว่า เช่น การส่งเรือไปหนุนช่วยจังหวัดสุราษฎร์ธานี คราน้ำใหญ่ปี พ.ศ.2554 และการลงพื้นที่ช่วยเหลือน้ำท่วมอำเภอหลังสวนในปี พ.ศ.2560 เป็นต้น
ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงในขบวนจังหวัดและประเดินภัยพิบัติก็ไม่ได้รับการนำไปปฏิบัติให้ต่อเนื่อง จนกระทั่งปี พ.ศ.2561 – 2562 แกนนำบางส่วนได้ประสานกับมูลนิธิชุมชนไท ในการขอรับการส่งเสริมด้านความรู้และกระบวนการในการจัดการภัยพิบัติ มีการเข้าร่วมการสัมมนา อบรม ด้านการจัดการภัยพิบัติที่มูลนิธิชุมชนไทหนุนช่วยในการจัดตั้งขบวนชุมชนด้านภัยพิบัติค้นหาพื้นที่ ซึ่งมีประสบการณ์ในการจัดการภัยพิบัติเข้ามารวมทีม จนปัจจุบันได้เกิดเครือข่ายชุมชนจัดการภัยพิบัติจังหวัดระนองขึ้น โดยมีกลไก 3 ระดับ คือ ระดับจังหวัด อำเภอ และระดับตำบล
กลไกหรือโครงสร้างของเครือข่ายระดับจังหวัด ประกอบด้วยตัวแทนอำเภอ และตัวแทนตำบลนำร่องรวมทั้งหน่วยงานภาคีพัฒนาต่างๆ ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่าปัจจุบันถูกยกระดับเป็นคณะกรรมการระดับจังหวัดโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งแต่งตั้งให้มีหน้าที่ในการ 1) วางแผนการจัดการภัยพิบัติระดับจังหวัด 2) หนุนเสริมและสนับสนุนให้เครือข่าย พื้นที่มีความเข้มแข็งสามารถจัดการภัยพิบัติในพื้นที่ได้ 3) ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ในการหนุนเสริมการจัดการภัยพิบัติของชุมชน 4) เป็นศูนย์ข้อมูลด้านภัยพิบัติและ 5) พัฒนาให้เกิดกองทุนภัยพิบัติระดับจังหวัด
ผังแสดงกลไกขบวนภัยพิบัติชุมชน จ.ระนอง
องค์ประกอบ บทบาท/ภาระกิจ
การรับมือกับไวรัสโควิด-19 จังหวัดระนองจะให้ความสำคัญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นพิเศษและถือเป็นนโยบายสำคัญของผู้ว่าราชการจังหวัดที่ตั้งเป้าว่า จะต้องไม่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในจังหวัดระอง หรือระนองต้องเป็นจังหวัดปลอดเชื้อโควิด-19 ดังนั้นด่านหลักที่ไปจังหวัดอื่น 4 ด่าน จะมีมาตรการคัดกรองที่เข้มแข็ง ประกอบกับระนองเป็นจังหวัดที่สมบูรณ์ไปด้วยอาหารเป็นเมืองเกษตร ดังนั้นประเด็นการทำงานและอาหารยังชีพ จึงเป็นประเด็นรองลงไป
สำหรับเครือข่ายภัยพิบัติก็เข้าร่วมสนับสนุนการทำงานกับทางราชการและหน่วยงานต่างๆ อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง โดยระดับจังหวัดมีภารกิจที่สำคัญ เช่น
1) สำรวจข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลกลุ่มเปราะบางและกลุ่มผู้เข้าไม่ถึงสิทธิของรัฐ
2) รณรงค์ให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันโรค
3) ทำเจลล้างมือและหน้ากากอนามัย
4) หนุนเสริมระดับพื้นที่
5) บริจาคอาหาร เครื่องอุปโภคบริโภค ให้กับประชาชน โดยเน้นไปที่กลุ่มคนเปราะบางและผู้เข้าไม่ถึงสิทธิของรัฐ
6) โครงการข้าวแลกปลาชาวนา-ชาวเล
ส่วนระดับพื้นที่มีภาระกิจสำคัญคือ
1) ตั้งด่านคัดกรองร่วมกับภาคีต่างๆ ในพื้นที่
2) แจกอาหารแห้งให้กับผู้เข้าไม่ถึงสิทธิของรัฐ
3) ร่วมจุดสกัดชายแดนข้ามจังหวัด
4) จัดหาเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ให้โรงพยาบาลและหน่วยกู้ชีพกู้ภัย
เฝ้าระวัง ช่วยเหลือ
การจัดการภัยพิบัติ กรณีศึกษาตำบลบางหิน ตำบลบางหิน อ.กะเปอร์ มีลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาทางทิศตะวันออกแล้วลาดต่ำไปทางทิศตะวันตกจรดทะเลอันดามัน โดยมีถนนเพชรเกษมผ่านกลาง ซึ่งจะเกิดภัยพิบัติ น้ำท่วม น้ำไหลหลาก เป็นประจำทุกปี จนชาวบ้านเรียนรู้จากธรรมชาติและป้องกันภัยได้ด้วยตนเอง เช่น การยกระดับบ้านให้สูงขึ้น เพื่อจะได้ไม่ขวางทางน้ำ ตลอดจนเมื่อรู้ล่วงหน้าก็จะช่วยกันยกข้างของเครื่องใช้ขึ้นที่สูง แต่ยังไม่มีการจัดการในระบบชุมชนแต่อย่างใด
ในปี พ.ศ.2552 มีฝนตกหลักกระแสน้ำไหลเชี่ยวและทำให้ถนนสะพานข้ามขาด ซึ่งปรกติถนนจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการไหลของน้ำ เนื่องจากระดับถนนไม่สูง แต่สะพานซึ่งอยู่ในระนาบเดียวกันกลับขวางกระแสน้ำ ทำให้สะพานขาด ประชาชนสัญจรไม่ได้ บ้างก็ติดอยู่ในสวนบนเชิงเขา ขาดแคลนอาหาร
หลังจากนั้นก็มีการรวมกลุ่มพูดคุยกันระหว่างแกนนำและผู้สนใจในตำบล โดยคิดว่าหากไม่มีระบบจัดการร่วมก็จะลำบากมากขึ้น เพราะภัยพิบัติยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งการรวมตัวครั้งนี้ทำให้เกิดทีมอาสาภัยพิบัติขึ้น มีการจัดทำข้อมูลพื้นที่ ข้อมูลความเสี่ยง กลุ่มเปราะบางและจัดหาอุปกรณ์ป้องกันภัย และที่สำคัญก็คือการใช้สื่อออนไลน์ในการสื่อสาร ทำให้การแจ้งเตือนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การก่อเกิดดังกล่าวได้ถูกนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังในปี พ.ศ.2554 ซึ่งมีปริมาณน้ำมากกว่าปรกติ สามารถช่วยเหลือชาวบ้าน ป้องกันความเสียหายได้อย่างมาก และถือปฏิบัติทุกครั้งที่เกิดภัยพิบัติ
ต่อมาในปี พ.ศ.2562 มูลนิธิชุมชนไท เข้ามาสนับสนุนทำให้มีการจัดระบบที่ชัดแจนมากขึ้น มีกลไก มีภารกิจที่ชัดเจน มีประธาน รองประธาน มีศูนย์ประสานงานกลางและแบ่งงานออกเป็นฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายป้องกัน เฝ้าระวัง สื่อสาร อพยพ พยาบาล รักษาความสงบ สงเคราะห์ผู้ประสบภัย กู้ภัย ฝ่ายประสานงานและฝ่ายฟื้นฟู ซึ่งแต่ละฝ่าย มีภารกิจและการติดต่อที่ชัดเจน โดยศูนย์เครือข่ายระดับตำบลมีหน้าที่ 1) เป็นศูนย์ข้อมูล 2) จัดทำปฏิทินภัยพิบัติ 3) แผนพัฒนาอาสาสมัคร 4) การสื่อสาร และ 5) กองทุนภัยพิบัติ และที่สำคัญก็คือ การจัดทำแผนรับมือหรือแผนเผชิญเหตุ
ปัจจุบันตำบลบางหิน เป็นพื้นที่ต้นแบบด้านการจัดการภัยพิบัติของจังหวัดมีทีมอาสาที่แข็งแรงจากทุกหมู่บ้านมีภาคี ท้องที่ ท้องถิ่น ตลอดจน อสม. และ รพสต. มาร่วมทำงานกันอย่างเข้มแข็ง ทั้งนี้เพื่อรับมือภัยพิบัติทีเกิดขึ้น และเป็นที่เรียนรู้ให้กับที่อื่นๆ
วันนี้บางหินไม่ได้มีแต่น้ำไหลหลากเท่านั้น แต่สภาวะที่เปลี่ยนไป มีภัยเกิดขึ้นมากมาย เช่น น้ำไหลหลากแรงขึ้น มีดินสไลด์ น้ำทะเลหนุน มีการกัดเซาะชายฝั่ง และวาตะภัย ฯลฯ การจะรับมือกับภัยดังกล่าวได้ พวกเขาบอกว่าไม่เพียงมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง มีอุปกรณ์ป้องกันภัยที่เพียงพอ มีระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และประชาชนในพื้นที่รู้จักช่วยเหลือตนเองเบื้องต้น เท่านั้น แต่ควรให้ความสำคัญกับงานฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป เช่น การส่งเสริมการปลูกป่า พลังงานสะอาด เป็นต้น
โครงสร้างคณะทำงานภัยพิบัติ ตำบลบางหิน
()
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
การจัดการภัยพิบัติจังหวัดภูเก็ต งานเขียนพี่สุวัฒน์ คงแป้น.docx
-
การประชุมเวทีเครือข่ายภัยพิบัติชุมชนอันดามัน จ.ภูเก็ต.docx
จัดเวที
การจัดการภัยพิบัติจังหวัดภูเก็ต
ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดภัยพิบัติ 1. จังหวัดภูเก็ตเป็นเกาะในทะเลอันดามัน พื้นที่โดยรอบจึงห้อมล้อมไปด้วยทะเล ลักษณะของพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจะเป็นที่สูงเขาพระแทว ส่วนตะวันออกเฉียงใต้บริเวณที่ตั้งของตำบลรัษฎา อำเภอเมือง คือเขาโต๊ะแซะ และยังมีภูเขาในเขตอำเภอกระทู้ ตั้งแต่ตำบลเชิงทะเล กมลา ลาดต่ำมาถึงตำบลป่าตอง ส่วนพื้นที่กลางเกาะ ซึ่งเป็นเขตอำเภอเมืองจะเป็นที่ราบลุ่ม ลักษณะโดยทั่วไปจึงเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งน้ำ ที่ราบกลางเมืองและที่สูงเชิงเขา
ลักษณะดังกล่าวอาจจะก่อให้เกิดภัยธรรมชาติได้หลากหลาย เช่น เกิดน้ำท่วมขังบริเวณที่ราบลุ่มในเมือง เนื่องจากได้รับน้ำจากฝั่งกระทู้และรัษฎา น้ำไหลหลากและดินสไลด์บริเวณที่ราบเชิงเขา เกิดวาตะภัย ตลอดจนเกิดการกัดเซาะชายฝั่งและน้ำทะเลหนุนสูง รวมทั้งเกิดภัยสึนามิ เหมือนกับที่เคยเกิดมาแล้วในปี พ.ศ. 2547
ภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลก ในแต่ละปีมีผู้คนเข้ามาอาศัยอยู่จำนวนมาก ประมาณการว่าเป็นผู้ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดภูเก็ตประมาณ 4 แสน คนเศษ เป็นประชากรแฝงอีก 2 แสน คนเศษ และมีนักท่องเที่ยวเข้ามาอยู่อาศัยกว่าปีละ 6 แสนคนเศษ ในขณะที่ระบบต่างๆสามารถรองรับคนได้เพียง 6 แสน คนเท่านั้น ทำให้มีความจำเป็นต้องมีสิ่งปลูกสร้างสถานบริการ ที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น โดยปลูกสร้างอยู่แหล่งรับน้ำ บุกรุกป่า ขวางทางระบายน้ำ เป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมขังนานขึ้นในแต่ละเมือง ประกอบกับความต้องการใช้น้ำเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานบริการทำให้เกิดการขาดน้ำ ภัยแล้ง และสิ่งแวดล้อม น้ำเน่าเสีย อันเกิดจากชุมชนและสถานประกอบการ
ประกอบกับกระแสโลกร้อน คนใช้น้ำมากเกินที่จะรองรับได้ และระบบการจัดการน้ำไม่ดีพอจึงก่อให้เกิดภัยอื่นๆ ตามมา เช่น ภัยแล้ง วาตะภัย และการกัดเซาะชายฝั่ง เนื่องจากป่าชายเลนถูกบุกรุก ไม่มีที่กำบังกระแสคลื่นลมที่พัดเข้าสู่ชายฝั่ง อุณหภูมิของน้ำสูงขึ้นส่งผลให้หญ้าทะเลที่ชะลอกระแสน้ำก็ตายไป
การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน ขบวนชุมชนจัดการภัยพิบัติ เกิดขึ้นภายหลังที่จังหวัดภูเก็ตประสบภัยพิบัติสึนามิในปี พ.ศ. 2547 ประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านฝั่งทะเลอันดามัน (ด้านนอก) ได้รับความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน เนื่องจากเป็นภัยที่รุนแรง ไม่มีความรู้และไม่มีประสบการณ์กับการจัดการภัยมาก่อน
หลังสึนามิ ภัยที่ตามมาก็คือ ปัญหาเรื่องที่ดินประชาชนจำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวเลอุรักลาโว้ย และชาวบ้านจากจังหวัดอื่นที่เข้ามาอาศัยอยู่ในภูเก็ต โดยตั้งรกรากอยู่บริเวณพื้นที่เหมืองเก่าที่หมดอายุสัมปทาน ก็ถูกขับไล่จากผู้อ้างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ มูลนิธิชุมชนไท ซึ่งทำงานสนับสนุนความเข้มแข็งองค์กรชุมชน เข้ามาหนุนเสริมแก้ปัญหาให้กับคนกลุ่มนี้ โดยเริ่มจากการแก้ปัญหาที่ดิน ชาวบ้านที่เดือดร้อนประมาณ 30 ชุมชน จึงรวมตัวกันในนาม "เครือข่ายสิทธิคนจนพัฒนาภูเก็ต" ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เครือข่ายสิทธิชุมชนพัฒนาภูเก็ต"
ภารกิจหลักของเครือข่ายในขณะนั้นก็คือ การเรียกร้องความเป็นธรรมในเรื่องที่อยู่อาศัย มูลนิธิชุมชนไท ทำหน้าที่ประสานงานกับป่าชายเลน เจ้าของพื้นที่ ในการทำความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาที่อยู่อาศัย มีการขับเคลื่อนจนผู้ว่าการจังหวัดมีคำสั่งจังหวัด ในการแก้ปัญหาทั้งระดับจังหวัด และระดับอำเภอ ทำให้การแก้ปัญหาที่ดินของป่าชายเลนดำเนินไปด้วยดี มีการทำข้อตกลงกับพื้นที่ ไม่บุกรุกเพิ่ม มีการอนุรักษ์ป่าชายเลนโดยชุมชน จนชาวบ้านที่อยู่อาศัยบนที่ดินป่าชายเลนสามารถพัฒนามีที่อยู่อาศัยตามโครงการบ้านมั่นคง ซึ่งสนับสนุนโดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ตั้งแต่ พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา ส่วนที่ดินประเภทอื่น เช่น ที่ดินเอกชน อบต. ฯลฯ มีการแก้ปัญหาลุล่วงเป็นลำดับโดยคณะกรรมการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งขึ้นมา
ไม่เพียงแก้ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยเท่านั้น มูลนิธิชุมชนไท ยังสนับสนุนให้ชุมชนมีการจัดระบบชุมชน มีระบบการออมทรัพย์ และอื่นๆ ซึ่งเงื่อนไขหนึ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งก็คือ สาธารณะโดยทั่วไปมักจะมองว่าคนกลุ่มนี้เข้ามาพลอยอาศัยอยู่บนเกาะภูเก็ต เป็นผู้บุกรุกทำลายป่าชายเลน ดังนั้นเพื่อเป็นการพิสูจน์ให้สังคมเห็นว่า ชุมชนไม่ใช่ผู้ทำลายแต่เป็นผู้สร้างสรรค์ จึงได้ร่วมกันปลูกป่า 1 ล้านต้น ทั้งเกาะภูเก็ต โดยใช้เวลาปลูกติดต่อกัน 2 ปี และยังคงปลูกต่อเนื่องตามความพร้อม ปัจจุบันป่าที่ชาวบ้านช่วยกันปลูกเติบโต เป็นป่าที่สมบูรณ์ เป็นเกราะกำบังคลื่นและลมได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่อยู่ที่อาศัยและแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ ทำให้คนภูเก็ตมีสัตว์ทะเล กุ้ง หอย ปู ปลา กิน ตลอดทั้งปี มีอากาศบริสุทธิ์หายใจ ซึ่งพิสูจน์ให้สังคมเห็นว่า "ชุมชนเหล่านี้มีบทบาทอย่างสำคัญในการพัฒนาภูเก็ต" ปัจจุบันพบว่าภูเก็ตมีป่าถึง 13000 ไร่ จากเมื่อ 6 ปีก่อนมีป่าอยู่เพียง 9,000 ไร่เท่านั้น
เครือข่ายสิทธิชุมชนพัฒนาภูเก็ต ปัจจุบันมีชุมชนที่เข้าร่วมเครือข่ายจำนวน 23 ชุมชนได้สั่งสมประสบการณ์การทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นที่พึ่งของคนจนที่ไม่มีทางออกได้เป็นอย่างดี ส่วนการพัฒนานั้น นอกจากเป็นไปตามบริบทของพื้นที่แล้ว ยังเป็นไปตามงานที่มูลนิธิชุมชนไท ดำเนินการ แต่ก็เป็นความต้องการของชุมชนด้วยเช่นกัน
เช่นเมื่อเกิดภัยพิบัติในภาคใต้ ปี 2554 แล้วครั้งถัดมา มูลนิธิชุมชนไทมีบทบาทสำคัญในการหนุนเสริมให้ชุมชนผู้ประสบภัยสามารถจัดการภัยพิบัติได้ด้วยตนเอง ซึ่งชุมชนในจังหวัดภูเก็ตก็เป็นกำลังสำคัญในการเป็นอาสาสมัครไปหนุนชุมชนต่างๆ ที่ประสบภัย เช่น ช่วยน้ำท่วมอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช น้ำท่วมอุบลราชธานี เป็นต้น ตลอดจนการเข้าร่วมกับ คปสม. หรือเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง ในการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย
แกนนำผู้หนึ่งเล่าว่าหลังกลับไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในที่ต่างๆ ก็ได้ปรึกษาหารือกันถึงความตระหนักในการจัดการภัยพิบัติในจังหวัดภูเก็ต จากเดิมที่มีเพียงทีมอาสาเท่านั้น ก็ยกระดับเป็นเครือข่ายการจัดการภัยพิบัติจังหวัดภูเก็ต โดยจัดกลไกโครงสร้าง มีประธาน รองประธาน ฝ่ายจราจร เฝ้าระวัง ครัวกลาง อพยพ พยาบาล เป็นต้น โดยประสานความร่วมมือกับ ปภ. จังหวัด และหน่วยงานต่างๆโดยเครือข่ายมีแผนงานดังนี้
1. การอบรมคนรุ่นใหม่และทีมอาสาที่เน้นด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. หนุนเสริมการจัดการภัยพิบัติของแต่ละพื้นที่
3. แผนพัฒนาอาชีพ การแปรรูปอาหาร การพัฒนาสินค้าออนไลน์ คลินิกหมอชาวบ้าน (ช่างชุมชน)
4. แผนส่งเสริมพลังงานทดแทน
5. ส่งเสริมการตลาดของประมงชายฝั่ง
6. พัฒนาระบบการสื่อสารโดยการเพิ่มเสาวิทยุให้ครอบคลุม
7. แผนการขยายพื้นที่รูปธรรม
8. กองทุนภัยพิบัติโดยใช้กองทุนเครือข่ายเป็นฐาน
เป็นที่น่าสังเกตว่าการจัดการภัยพิบัติของจังหวัดภูเก็ตไม่ได้ทำเฉพาะการรับมือกับภัยพิบัติเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการป้องกันภัยพิบัติ คือการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เช่น การปลูกป่า เป็นต้น การส่งเสริมพลังงานสะอาด รวมทั้งหนุนเสริมให้ชุมชนมีอาชีพที่มั่นคงอีกด้วย ซึ่งเป็นแผนที่สอดคล้องกับบริบทของการอยู่อาศัยในพื้นที่มีค่าครองชีพสูงอย่างภูเก็ต
เมื่อถามถึงความภูมิใจ แกนนำทุกคนตอบเหมือนกันว่า การได้พิสูจน์ให้สาธารณะเห็นว่าพวกตนเป็นผู้สร้างไม่ใช่ผู้ทำลาย ทำให้ภูเก็ตมีป่าเพิ่มมีแหล่งอาหารเพิ่มและป้องกันภัยได้ เป็นความภูมิใจประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งคือ เรายังสามารถไปหนุนช่วยผู้ประสบภัยจังหวัดอื่นๆได้ เช่น ไปช่วยสร้างเรือที่อุบล เป็นต้น และพร้อมที่จะไปช่วยทุกที่ที่มีภัย ซึ่งผลงานเหล่านี้ไม่เพียงพวกเรากันเองที่ภูมิใจ แต่ยังได้รับความยอมรับ จากหน่วยงานราชการและภาคีพัฒนาอื่นๆอย่างกว้างขวาง
กระบวนการจัดการโควิด 19
จังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยว การระบาดของ covid 19 จึงเป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้คนต่างจังหวัด ที่อาศัยอยู่ในภูเก็ตต้องอพยพกลับไปอยู่บ้านเดิมชั่วคราว ในส่วนของเครือข่ายก็มีความตื่นตัวกับโควิด 19 เป็นอย่างมากโดยประชุมช่วยกันคิดแผนงานและดำเนินการได้ทันทีโดยใช้งบประมาณของเครือข่ายเอง
บทบาทของเครือข่ายจะดำเนินการดังนี้คือ
1. การหนุนเสริมการสร้างโรงพยาบาลสนามของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
2. ตั้งด่านคัดกรองร่วมกับหน่วยงานต่างๆ
3. ทำโครงการเข้าแลกปลา โดยกลไกจังหวัดเป็นทีมอำนวยการให้พี่น้องชาวเลจับปลาไปแลกข้าวกับพี่น้องจังหวัดอุบล และส่งข้าวสารไปช่วยพี่น้องที่อาศัยอยู่ตามเกาะต่างๆ
4. หนุนเสริมการทำงานของพื้นที่และประสานกับภาครัฐ
5. ส่งเสริมให้มีการทำคลังอาหาร ปลูกพืช เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ ปลา ไว้กิน
ส่วนบทบาทของชุมชนพอประมวลได้ดังนี้คือ 1. ตั้งจุดคัดกรองร่วมกับ อสม. ไม่ต้องรอหน่วยงานโดยใช้งบของเครือข่ายเอง 2. ช่วยทำความสะอาดชุมชน พ่นยาฆ่าเชื้อ 3. ประสานเจ้าของแพปลา เรือประมงเพื่อแจกข้าวปลาอาหาร 4. ทำคลังอาหารชุมชนไว้กินเอง เนื่องจากภูเก็ตมีค่าครองชีพสูง คลังอาหารชุมชนจึงสามารถแบ่ง เบาภาระได้อย่างมาก
ผังแสดงกระบวนการในการรับมือโควิด-19
การจัดการภัยพิบัติกรณีศึกษาตำบลรัษฎา
ตำบลรัษฎา เป็นตำบลนำร่องด้านการพัฒนาและจัดการภัยพิบัติของจังหวัดภูเก็ต สภาพภูมิประเทศมีภูเขาโต๊ะแซะอยู่ทางทิศตะวันตกกั้นระหว่างเทศบาลนครภูเก็ตกับตำบลรัษฎา และค่อยๆลาดต่ำลงทะเลทางทิศตะวันออก ประชาชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณที่ราบชายฝั่งทะเล
ชุมชนที่เข้าร่วมพัฒนากับเครือข่ายสิทธิชุมชนพัฒนาภูเก็ตในตำบลรัษฎา มี 12 ชุมชน ซึ่งเป็นพื้นที่ปฏิบัติงานที่ใหญ่ที่สุดของเครือข่าย ประกอบด้วยชุมชนท่าเรือใหม่ ปลากะตัก ประชาอุดม โหนทรายทอง มะลิแก้ว กิ่งแก้วซอย 1-2 กิ่งแก้วซอย 9 สระต้นโพธิ์ แหลมตุ๊กแก ขจรเกียรติ และชุมชนหลังเวทีสะพานหิน ชุมชนตั้งอยู่บนที่ดินที่เคยเป็นเหมืองแร่แล้วหมดอายุสัมปทาน ตลอดจนป่าเสื่อมโทรม ซึ่งอยู่ในความดูแลของ ป่าชายเลนที่ 23
การก่อตั้ง เพื่อพัฒนาชุมชนมีสาเหตุมาจากปัญหาที่ดินหลังประสบภัยสึนามิ โดยชุมชนถูกไล่ที่จากเอกชน และต่อเนื่องมาถึงการจัดระบบที่ดินของรัฐ เช่น ป่าชายเลนที่ 23 เป็นต้น จนนำไปสู่การตั้งคณะกรรมการแก้ปัญหาที่ดิน โดยผู้ว่าการจังหวัดภูเก็ต ดังได้กล่าวแล้วข้างต้น ซึ่งชุมชนในตำบลรัษฎา มีโอกาสที่ดีเนื่องจากชุมชนส่วนใหญ่อยู่ในความดูแลของ ป่าชายเลนที่ 23 มีการทำข้อตกลงแบ่งเขตที่ดินระหว่างป่าและที่อยู่อาศัยเพื่อไม่ให้บุกรุกป่าเพิ่ม ส่วนชุมชนก็มีการดูแลป่ามีการกำหนดกติกาชุมชนในการอยู่กับป่า มีการปลูกป่า ทำให้ป่าฟื้นตัวมีความอุดมสมบูรณ์สัตว์ทะเล กุ้ง หอย ปู ปลาเพิ่มมากขึ้น ทำให้ประชาชนมีรายได้และคนภูเก็ตมีอาหารทะเลกินตลอดปี ซึ่งในอนาคตจะยกระดับไปสู่การทำโฉนดชุมชนหรือสิทธิร่วมของชุมชนต่อไป
ข้อตกลงดังกล่าวทำให้ชาวชุมชนมีการรวมตัวกันเข้มแข็งขึ้น มีการรวมกลุ่มออมทรัพย์ พัฒนาที่อยู่อาศัยตามโครงการบ้านมั่นคง ตลอดจนการทำสาธารณประโยชน์อื่นๆ
ส่วนภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจะเป็นน้ำท่วม น้ำทะเลหนุน วาตะภัย และที่สำคัญคือภัยแล้ง ขาดน้ำอุปโภคบริโภค เนื่องจากน้ำส่วนใหญ่จะถูกจัดสรรไปยังภาคธุรกิจและยังไม่มีระบบการบริหารจัดการน้ำที่ดีพอ
อย่างไรก็ดีภัยพิบัติที่เกิดขึ้นก็ยังไม่รุนแรงมากนัก แต่การเข้าร่วมกับเครือข่าย คปสม. ก็ได้มีโอกาสส่งอาสาสมัครไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ต่างๆ เช่น อุบลราชธานี อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงนำประสบการณ์มาจัดตั้งกลไกในการจัดการภัยพิบัติของชุมชนซึ่งก็อาศัยคน กลไก หรือทุนที่มีอยู่เดิมเป็นหลักเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของพื้นที่
โดยในแต่ละชุมชนมีทีมอาสาสมัครเดิมอยู่แล้ว ก็ส่งตัวแทนเป็นผู้ประสานงานกับเครือข่ายระดับตำบล ซึ่งโครงสร้างของเครือข่ายตำบลจะมีลักษณะเหมือนกับเครือข่ายระดับจังหวัด
สำหรับแผนงานของเครือข่าย นอกจากจะมีงานด้านการรับมือภัยพิบัติแล้วยังให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พลังงานสะอาด และการส่งเสริมอาชีพให้กับคนในชุมชน ซึ่งถือเป็นการรับมือภัยพิบัติที่ยั่งยืนดังนี้ 1. การอบรมอาสาสมัครคนรุ่นใหม่ร่วมกับเครือข่ายจังหวัด ปภ. และ กสทช. 2. แผนการพัฒนาอาชีพ 3. การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ปลูกป่า การจัดการสิ่งแวดล้อม 4. การยกระดับกองทุนเครือข่ายมาหนุนเสริมภัยพิบัติ 5. การจัดทำระบบข้อมูลสื่อสารตลอดจนการจัดทำแผนรับมือภัยพิบัติหรือแผนบัญชาการเหตุการณ์
ชาวบ้านบอกว่าตั้งแต่ทำเรื่องภัยพิบัติเกิดผลงานมากมาย จนได้รับการยกย่องให้เป็นพื้นที่นำร่องของเครือข่ายจังหวัด เรามีการปลูกป่าทุกปี ป่าเพิ่มขึ้นเป็นที่ประจักษ์ ส่งทีมไปช่วยผู้ประสบภัยในเครือข่ายทั่วประเทศ ช่วยสร้างเรือที่อุบลราชธานี ช่วยเหลือสมาชิกด้านอาชีพ เช่น การตลาด ขยายพื้นที่ประมง ทีมงานช่าง ฯลฯ ทุกวันนี้เรามีการประสานงานกับภาคีต่างๆมากขึ้น ตลอดจนทีมอาสาสมัครเพิ่มขึ้น นี่คือความภูมิใจของเรา
อย่างไรก็ดียังมีเรื่องที่จะต้องพัฒนากันอีกมากเช่น การจัดทำแผนรับมือภัยพิบัติ หรือแผนบัญชาการเหตุ การจัดหาวัสดุอุปกรณ์เพิ่มขึ้นตลอดจนการเสริมความรู้ด้านอุตุนิยมวิทยาให้กับอาสาสมัคร
()
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนจังหวัดพังงา งานเขียนพี่สุวัฒน์ คงแป้น จ.พังงา.docx
-
การประชุมเวทีเครือข่ายภัยพิบัติชุมชนอันดามัน จ.พังงา.docx
** มีการแต่งตั้งคณะกรรมการภัยพิบัติจังหวัดโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาแต่งตั้ง มี ผู้ว่าราชการเป็นประธาน มีปภ. เป็นเลขา มีสภาองค์กรชุมชนเป็นประธานร่วม - มีภาคประชาสังคมเป็นเลขานุการร่วม ทุกพื้นที่มาเรียนรู้การวางแผนหนุนเสริมด้วยกัน 16 พื้นที่ การมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการภัยพิบัติเพื่อคล่องตัวในการทำงานโดยตรง มีการใช้งบประมาณได้ ให้มีสถานะ ให้มีความร่วมมือระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล ** ศูนย์ระดับพื้นที่มี ตำบล เกาะยาวน้อย , ตำบล เหมาะ , ตำบล บางนายสี , ตำบล มะรุ่ย , ตำบล บางวัน ,ตำบล บางเหรียง
การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนจังหวัดพังงา
ปัจจัยที่อาจจะก่อให้เกิดภัยพิบัติ 1. ลักษณะภูมิประเทศ จังหวัดพังงาทิศตะวันตกติดกับทะเลอันดามัน ส่วนทิศตะวันออกลักษณะเป็นภูเขาต่อเนื่องมาจากจังหวัดระนองทอดยาวลงมาชนกับเทือกเขาภูเก็ตในเขตอำเภอท้ายเหมืองและตะกั่วทุ่ง ทำให้มีลักษณะเป็นพื้นที่สูงทางทิศตะวันออกและค่อยๆ ราบต่ำไปทางทิศตะวันตกจรดทะเล อันดามัน โดยมีถนนเพชรเกษมตัดผ่านตอนกลางแนวเสมือนแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วน
จังหวัดพังงาได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ตั้งแต่เดือนมีนาคม-ตุลาคม ทำให้ฝนตกชุกประมาณ 8 เดือน และเคยมีปริมาณน้ำฝนต่อวันสูงสุดในประเทศ แต่ด้วยภูเขามีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ จึงซับน้ำไม่ให้ไหลอย่างรวดเร็วระบายลงสู่ทะเลได้ ไม่ทำให้น้ำท่วมขัง แต่ในปัจจุบันความสมบูรณ์ของป่าลดลง ซับน้ำได้น้อยลง เวลาฝนตกจึงทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ดินสไลด์ และน้ำท่วมขัง เนื่องจากมีการยกระดับถนนให้สูงขัดขวางทางระบายของน้ำที่สามารถไหลผ่านคลอง ซึ่งมีอยู่เพียงไม่กี่สาย
ส่วนพื้นที่บริเวณชายฝั่งอันดามัน จะเกิดน้ำทะเลหนุนสูง คลื่นลมแรง และที่กำลังเป็นปัญหาเพิ่มมากขึ้นคือการกัดเซาะชายฝั่งมีสาเหตุมาจากคลื่นลม และป่าตามธรรมชาติถูกทำลาย ตลอดจนโลกร้อนทำให้อุณหภูมิของน้ำสูงขึ้น หญ้าทะเล ซึ่งคอยชะลอความแรงของคลื่นหมดไป ไม่มีเกราะกำบังคลื่นลมเหมือนในอดีต รวมทั้งบริเวณป่าชายฝั่งยังเป็นพื้นที่เสี่ยง จะได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติสึนามิ ซึ่งเคยเกิดและสร้างความสูญเสียมาแล้วในปี พ.ศ. 2547
อย่างไรก็ดีจังหวัดพังงาตั้งอยู่บริเวณรอยเลื่อน "มะรุ่ย" ซึ่งมีการสั่นสะเทือนอย่างต่อเนื่อง แม้จะไม่เคยเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงแต่ก็สร้างความวิตกกังวลให้แก่ประชาชนได้เช่นกัน
- ระบบผังเมืองและนโยบายการจัดการนำของรัฐ การกำหนดผังเมืองหรือผังพัฒนาของรัฐยังขาดการบูรณาการจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากชุมชนทำให้ไม่สอดคล้องกับบริบทของที่ เช่นการเปลี่ยนสภาพป่าชายเลน ซึ่งเป็นเกาะกำบังภัยตามธรรมชาติ ไปเป็นการส่งเสริมการทำนากุ้งตลอดแนวชายฝั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอำเภอตะกั่วทุ่งมีการทำลายป่าชายเลน เพื่อทำนากุ้งจำนวนมาก ซึ่งไม่เพียงทำลายเกราะกำบังตามธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดมลพิษน้ำเสียอีกด้วย
การยกระดับถนนให้สูงขึ้นและไม่จัดการระบบน้ำอย่างเหมาะสม น้ำจากภูเขาไม่สามารถไหลลงสู่ทะเลได้โดยสะดวก ทำให้เกิดน้ำท่วมขังนานขึ้น เช่นเดียวกับการถมที่เพื่อการก่อสร้างขวางทางระบายของน้ำหรือสร้างอาคารในพื้นที่รับน้ำก็ทำให้เกิดน้ำท่วมขังเป็นเวลานานขึ้นเช่นกัน
สาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ ระบบการจัดการน้ำของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชลประทานมีการจัดการที่ไม่ถูกต้อง เช่น การขุดลอกคลอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคลองขนาดสั้น ทำให้น้ำไหลแรงและเร็ว น้ำลงสู่ทะเลเร็วและแรง ทำให้ตลิ่งพังและเกิดภาวะแห้งแล้งในฤดูแล้ง บางแห่งมีการสร้างฝายคอนกรีตเพื่อชะลอน้ำ เช่น คลองพังงา เป็นต้น มีการทำลายต้นไม้ริมฝั่งคลอง เป็นการทำลายความสมดุลทางนิเวศของคลอง
- ระบบการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งทุกวันนี้การเผาไหม้เชื้อเพลิง ในปริมาณมากทำให้โลกร้อน ส่งผลให้อากาศแปรปรวน เกิดลมพายุหมุน ซึ่งในภาคใต้เริ่มทวีความรุนแรงและเกิดบ่อยครั้งมากขึ้น ทำให้บ้านเรือนได้รับความเสียหาย และต้นไม้โค่นล้ม
กล่าวโดยสรุปในจังหวัดพังงา แม้ไม่มีภัยธรรมชาติอย่างรุนแรง ยกเว้นภัยจากสึนามิที่เกิดใน ปี พ.ศ. 2547 แต่ก็เกิดถี่ขึ้น แล้วมีแนวโน้มจะมีความถี่และรุนแรงมากขึ้น ครอบคลุมทุกพื้นที่ได้แก่ น้ำท่วมขัง ดินโคลนถล่ม (ดินสไลด์) น้ำไหลหลาก การกัดเซาะชายฝั่ง วาตะภัย ความวิตกจากแผ่นดินไหว น้ำทะเลหนุน และภัยแล้ง รวมทั้งยังมีภัยอื่นๆ ตามมา เช่น มีไฟป่าบ่อยขึ้น น้ำเสียจากการทำน้ำกุ้ง-โรงงาน ตลอดจนความตระหนักเป็นพิเศษก็คือ ภัยบนท้องถนน เนื่องจากสภาพถนนคดเคี้ยวตามภูเขา มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาฝนตก อย่างไรก็ดีจังหวัดพังงา ก็ไม่เคยประสบภัยหลักเท่าจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้ (ยกเว้นสึนามิ) โดยเฉพาะอย่างน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 และ 2560 ซึ่งได้รับความเสียหายไม่มากนักเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่น
แผนที่แสดงการเกิดภัยพิบัติจังหวัดพังงา
หมายเหตุ:พังงามีความเสี่ยงแผ่นดินไหวทั้งจังหวัดเนื่องจากตั้งอยู่บนรอยเลื่อนมะรุ่ย
พัฒนาการ การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนจังหวัดพังงา พังงาก็เหมือนทุกแห่งในประเทศไทย ยามเกิดภัยพิบัติก็จะช่วยเหลือตัวเอง และช่วยกันในหมู่เครือญาติตามสภาพ เป็นเบื้องต้น แต่ส่วนใหญ่จะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ ยังไม่มีการรวมกลุ่มชุมชนเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
จุดเปลี่ยนของจังหวัดพังงาเกิดขึ้นเมื่อเกิดภัยพิบัติสึนามิในปี พ.ศ. 2547 จนทำให้จังหวัดพังงาเป็นจังหวัดที่มีระบบการจัดการภัยพิบัติ โดยชุมชนที่ชัดเจน เป็นต้นแบบหรือศูนย์เรียนรู้ให้กับพื้นที่อื่นๆทั่วประเทศและทั่วโลก พังงาเป็นพื้นที่ซึ่งประสบภัยพิบัติสึนามิ เมื่อปี พ.ศ.2547 ซึ่งได้รับความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่บ้านน้ำเค็ม ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า ชุมชนประมงริมฝั่งทะเลได้รับความสูญเสียอย่างหนัก และได้รับการช่วยเหลือเฉพาะหน้าจากองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวนมาก
ประเด็นสำคัญที่มากไปกว่าการช่วยเหลือแบบสงเคราะห์ดังกล่าว บ้านน้ำเค็มได้มีองค์กรพัฒนาเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมูลนิธิชุมชนไท ได้ลงพื้นที่ในวันที่ 4 (31 ธ.ค.2547) หลังจากเกิดภัยนามิ แต่พบว่าชาวบ้านยัง ไม่มีที่พักชั่วคราว ชาวบ้านกระจัดกระจายพักอาศัยอยู่ตามที่ต่างๆ หลายพันคน ในเบื้องต้นมูลนิธิชุมชนไท จึง ร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) จัดตั้งศูนย์ผู้ประสบภัยขึ้นที่ตำบลบางม่วง ไปพร้อมๆ กับการทำงาน พัฒนาสนับสนุนให้ผู้ประสบภัยจัดการตนเอง ซึ่งแม้ว่าจะประสบความยากลำบาก ชาวบ้านบางส่วนอาจไม่เข้าใจ แต่งานก็ได้พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น แนะนำให้ผู้ประสบภัยจัดระบบกันเอง เช่น ระบบการดูแลของและเงินบริจาค ระบบการดูแลที่พักชั่วคราว ใช้หลักการพูดคุยปรึกษาหารือกันเป็นประจำและแก้ปัญหาร่วมกัน
การทำงานพัฒนาท่ามกลางปฏิบัติจริง ความเป็นผู้เดือดร้อนประสบปัญหาด้วยตนเอง ประกอบกับการมีพี่ เลี้ยง (มูลนิธิชุมชนไท) คอยให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ทำให้เกิดแกนนำชุมชนที่มีความรู้ความเข้าใจงานพัฒนา เพิ่มขึ้น ทั้งปริมาณและคุณภาพ เกิดกิจกรรมงานพัฒนาหลายอย่างบูรณาการอย่างเป็นองค์รวมและสอดคล้องกับข้อเท็จจริงของพื้นที่ เช่น กิจกรรมกองทุน วิทยุชุมชน การพัฒนาด้านอาชีพ การพัฒนาแก้ปัญหาที่ดินและที่อยู่อาศัย และที่ขาดไม่ได้คือการเกิดอาสาสมัครด้านภัยพิบัติ โดยกิจกรรมแต่ละด้านได้มีการประสานงานกับองค์กรพัฒนาที่เกี่ยวข้อง เช่น เรื่องที่อยู่อาศัย พัฒนาเข้าสู่โครงการบ้านมั่นคง ร่วมมือกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เป็นต้น ซึ่งในภายหลังได้มีการร่วมมือด้านงานพัฒนาและเป็นส่วนหนึ่งของขบวนองค์กรชุมชน จ.พังงา ที่ สนับสนุนโดย พอช. พร้อมมีการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลบางม่วงตาม พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551
กล่าวเฉพาะการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน ซึ่งเป็นงานพัฒนาหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากเนื่องจากเคยเป็นผู้ประสบภัยโดยตรง ทำให้ชาวบ้านมีความตระหนักในการทำงาน เพื่อลดความเสี่ยงและความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติ ซึ่งไม่จำเพาะแต่ภัยสึนามิเท่านั้น แต่เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติทุกประเภท
ในเบื้องต้นได้มีการรับสมัครอาสาสมัครป้องกันภัยและมีความร่วมมือกัน ปภ.อำเภอตะกั่วป่า และ ปภ. จังหวัดในการให้ความรู้ อบรมด้านป้องกันภัย จนนำไปสู่การซ้อมแบบจริงจัง โดยในการซ้อมจริงจะมีการแบ่ง บทบาทหน้าที่ การเตรียมการต่างๆ กันอย่างจริงๆ จังๆ หรือเสมือนเกิดภัยจริง จนทำให้ชาวบ้านมีความเข้าใจและ มีความชำนาญมากขึ้น
สิ่งที่อาสาสมัครป้องกันภัยได้รับไม่เพียงความรู้และความพร้อมด้านอุปกรณ์ต่างๆ เท่านั้น แต่ที่สำคัญคือ การเตรียมพร้อมด้านจิตใจ ดังนั้นเวลาเกิดภัยพิบัติที่ไหน เช่นการเกิดน้ำท่วมใหญ่ภาคใต้ ปี พ.ศ.2553 และ 2554 หรือน้ำท่วมอีสาน ดินถล่มที่อุตรดิตถ์ ทีมอาสาสมัครบ้านน้ำเค็มก็จะไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้วยทุกครั้ง
อย่างไรก็ดี ยังมีเรื่องสำคัญที่เครือข่ายจัดการภัยพิบัติบ้านน้ำเค็มถือเป็นงานสำคัญ นอกเหนือจากทีมงาน เครื่องมือ และการมีแผนในการรับมือภัยพิบัติ นั่นก็คือการสื่อสารเพื่อการเตือนภัย โดยการประสานงานกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อุตุนิยมวิทยา การพยากรณ์อากาศ เป็นต้น
จากประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมานำไปสู่การสรุป สังเคราะห์เป็นบทเรียนในการจัดการภัยพิบัติระดับพื้นที่ ทั้งการเตรียมการก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัยและหลังเกิดภัย เผยแพร่ไปยังพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยายงานไปสู่พื้นที่อื่นในจังหวัดพังงา ตลอดจนนำความรู้ประสบการณ์ไปแลกเปลี่ยนกับเวทีระดับสากล เช่น การประชุม การจัดการภัยพิบัติระดับโลกที่เมืองเซนได ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
กล่าวเฉพาะการขยายงานด้านภัยพิบัติในจังหวัดพังงา ได้ขยายงานในด้านต่างๆ
1. การขยายงานระดับพื้นที่ โดยระดับตำบลนั้น ยกระดับศูนย์น้ำเค็มเป็น ศูนย์เรียนรู้แล้วขยายไปอีกหลายศูนย์ คือ ศูนย์ระดับตำบลที่ ต.มะรุ่ย ต.บางวัน บางเหรี่ยง และ ต.เกาะยาวน้อยโดยแต่ละศูนย์จะต้องมีกิจกรรมต่าง ดังนี้
• โครงสร้างคณะทำงานที่มาจากตัวแทนของสมาชิกทุกพื้นที่ เพื่อครอบคลุมทั่วถึง
• จัดทำแผนการทำงาน เพื่อจัดทำแผนที่เสี่ยงภัย/จุดอพยพ/เส้นทางหนีภัยโดยมีการทำสัญลักษณ์ชัดเจน
• จัดทำปฏิทินภัย เพื่อการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์และการเตรียมตัวล่วงหน้า
• อาคาร หรือสำนักงานที่ตั้งศูนย์ ที่เป็นศูนย์การทำงาน การรวมพล และป้ายชื่อศูนย์
• กองทุนจัดการภัยพิบัติ
• ข้อมูลพื้นที่ฐานของชุมชนในพื้นที่ ที่แต่ละศูนย์รับผิดชอบ ได้แก่
- จำนวนประชาชากร/อาชีพ กลุ่มเปราะบาง เพื่อประเมินการช่วยเหลือ
- รายละเอียดเครื่องมือ/อุปกรณ์กู้ภัยต่างๆ ของศูนย์โดยระบุ ผู้รับผิดชอบ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
- เบอร์โทรศัพท์ของภาคีที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงพยาบาล สถานีดังเพลิง สถานีตำรวจ
นอกจากมีศูนย์ระดับตำบลแล้วยังมีศูนย์ระดับอำเภอ หากเกิดภัยพิบัติขึ้นในชุมชน ก็สามารถปฏิบัติการ ช่วยเหลือได้ทันท่วงที หรือหากประเมินแล้วเกินกำลัง ก็สามารถขอความช่วยเหลือจากศูนย์ใกล้เคียงหรือกับภาคี ภาครัฐ / เอกชนได้ ศูนย์ระดับอำเภอ จึงเป็นการร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาที่สูงขึ้น เช่น ปัญหาระดับนโยบาย การขอใช้งบประมาณช่วยเหลือระดับจังหวัด เป็นต้น สำหรับศูนย์ระดับจังหวัด จะเป็นกลไกความร่วมมือระดับจังหวัดกับภาคส่วนต่างๆ และการพัฒนาข้อเสนอนโยบาย บทเรียนจากอดีต ชี้ให้เห็นถึงการบริหารจัดการภัยพิบัติในหลายเรื่อง ทั้งส่วนดีที่ควรนำไปเป็นแบบอย่าง และส่วนที่ควรจะต้องปรับปรุงหากมีเหตุการณ์เกิดขึ้น
ปี พ.ศ.2557 มีการทบทวนกระบวนการในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อทำความเข้าใจและทบทวนแผนเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติโดยชุมชน และคัดเลือกพื้นที่พัฒนาเป็นพื้นที่ต้นแบบเพิ่มรวมเป็น 5 พื้นที่คือ บางนายสี่ , เมาะ , มะรุ่ย , บางวัน และเกาะยาวน้อย เน้นการจัดเวทีให้ความรู้ การจัดกระบวนการทำแผนอย่างมีส่วนร่วม ทบทวนแผน พัฒนาแผน พัฒนาอาสาสมัครอย่างมืออาชีพ และเมื่อรวมพื้นที่ขยายจะมีพื้นที่ปฏิบัติการจำนวน 16 ตำบล
- การพัฒนาสู่นโยบายจังหวัด จากประสบการณ์ด้านงานการจัดการภัยพิบัติ ได้มีการพัฒนาและขยายพื้นที่ ต้นแบบดังกล่าวข้างต้นในทุกระดับ ซึ่งในระดับจังหวัดขึ้น พังงาแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนภัยพิบัติขึ้นมา โดยมีชุดอำนวยการ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น ประธาน นายอำเภอทุกอำเภอ ผู้บริหารท้องถิ่นที่ปฏิบัติการทุกพื้นที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคณะทำงานภัยพิบัติ เป็นกรรมการ โดยจัดประชุมชี้แจงโครงการ มอบนโยบาย และทิศทางการขับเคลื่อนการจัดการภัยพิบัติชุมชน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในระดับพื้นที่ปฏิบัติการ และแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนขึ้นมา 1 ชุด เพื่อลงพื้นที่ปฏิบัติการ มีคณะทำงานภัยพิบัติเป็นหลักในการขับเคลื่อน และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด พังงา (ปภ.จังหวัดพังงา) เป็นทีมงาน
จากพื้นที่จัดการภัยพิบัติสู่นโยบายจังหวัดพังงา “พังงาแห่งความสุข โดยการจัดการภัยพิบัติที่ชุมชนมีบทบาทสำคัญ” เมื่อมีนโยบายและงบประมาณสนับสนุนในจังหวัด การขับเคลื่อนการจัดการภัยพิบัติก็เดินหน้าได้อย่างกว้างขวางขึ้น บางพื้นที่อาจเป็นเพียงเวทีทำความเข้าใจ บางพื้นที่อาจเป็นกระบวนการพัฒนาอาสาสมัคร บางพื้นที่อาจเป็นการจัดทำแผน และบางพื้นที่ทำทั้งกระบวนการและระบบที่เข้มข้นขึ้น
ด้วยความหลากหลายต่างๆ ที่ต้องยกระดับและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้คณะทำงานผลักดันให้การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนบรรจุอยู่ในแผนยุทธศาสตร์จังหวัดที่จะสามารถทำงานได้ต่อไป
- ขยายครอบคลุมทุกจังหวัดในฝั่งอันดามัน ด้วยทุกจังหวัดในฝั่งอันดามันได้แก่ สตูล ตรัง กระบี่ ภูเก็ต พังงา และระนอง ตั้งอยู่ในสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศที่คล้ายกัน ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในฤดูฝน มีลักษณะเป็นภูเขา ลาดชันลงสู่ ทะเล ดังนั้น ปริมาณน้ำฝนก็ดี บริบทของลมฟ้าอากาศก็ดี จึงไม่ต่างกันมากนัก และที่ผ่านมาก็ประสบภัยพิบัติ คล้ายๆ กันในเวลาเดียวกัน ประกอบกับในปัจจุบัน เครือข่ายชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาองค์กรชุมชน 6 จังหวัด เป็นภาคีหนึ่งของการขับเคลื่อน “อันดามันโกกรีน” ร่วมกับทุกภาคส่วน ดังนั้น งานด้านภัยพิบัติจึงเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งของการขับเคลื่อนนี้
ที่ผ่านมาก็ได้มีการขยายเครือข่ายการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน ไปยังบางจังหวัดอยู่แล้ว เช่น ภูเก็ต ระนอง กระบี่ สตูล เป็นต้น ดังนั้น จึงมีแผนงานในการเชื่อร้อยถักทอ หนุนเสริมให้เกิดเครือข่ายการจัดการภัยพิบัติที่เข้มแข็ง ครอบคลุมทั่วทั้ง 6 จังหวัดอันดามัน อย่างเต็มรูปแบบ
ผังแสดงพัฒนาการของการจัดการภัยพิบัติจังหวัดพังงา
ปัจจุบันเกิดพื้นที่นำร่องรวมตำบล 5 พื้นที่ ได้แก่ ตำบลเกาะยาวน้อย ตำบลเหมาะ ตำบลบางนายสี ตำบลมะรุ่ย และตำบลบางวัน ซึ่งตำบลนำร่อง มีความเข้มแข็งพร้อมจะเป็นศูนย์เรียนรู้ ตลอดจนไปหนุนเสริมตำบลอื่นได้ เพื่อจะได้ขยายให้เกิดเป็นพื้นที่นำร่องเพิ่มขึ้นเช่น ต.บางเหรี่ยง เป็นต้น โดยพื้นที่นำร่องจะต้องประกอบด้วย
1. มีฐานข้อมูลเป็นระบบฐานข้อมูลพื้นที่ ข้อมูลกลุ่มเปราะบาง ฯลฯ
2. มีอาสาสมัครที่มีการฝึกอบรม-ซ้อม อย่างต่อเนื่อง
3. มีแผนที่ความเสี่ยง
4. มีแผนรับมือภัยพิบัติ
5. มีกองทุนภัยพิบัติของตำบล
ประสบการณ์ในการจัดการกับ covid 19 จังหวัดพังงา เครือข่ายภัยพิบัติชุมชน ก็มีความตื่นตัวในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เป็นอย่างมาก โดยเครือข่ายระดับจังหวัด จะทำหน้าที่ในการประสานงานและคอยหนุนเสริมการทำงานของพื้นที่ในระดับตำบล เช่น การอุดหนุนงบประมาณ ทําหน้ากากอนามัย และเจลล้างมือ
ส่วนระดับตำบล ก็มีความตื่นตัวในการรับมือและวิธีการในการทำงานที่แตกต่างกันออกไป เช่น ตำบลท่าอยู่ อำเภอตะกั่วทุ่ง สนับสนุนให้มีการผลิตอาหารหรือคลังอาหาร เช่น ปลูกผักในล้อรถไว้กิน ส่งเสริมการทําหน้ากากอนามัย ซึ่งต่อมาพัฒนาไปสู่การผลิตเป็นอาชีพ เช่น การใช้เศษผ้าทําพรมเช็ดเท้า เป็นต้น แต่ที่ทำคล้ายคล้ายกันคือ การร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ตั้งด่านคัดกรอง และเก็บข้อมูลความเสี่ยงตั้งศูนย์ดูแลคนเปราะบางในหมู่บ้าน เช่น ตำบลเกาะยาวน้อย มีการตั้งด่านร่วมกับอนามัย ตรวจวัดอุณหภูมิ รวบรวมเงินทุนซื้อข้าวสาร ร่วมกับอนามัยเก็บข้อมูลความเสี่ยง โดยใช้งบของสภาองค์กรชุมชนตําบล ตั้งศูนย์ดูแลคนเปราะบางในตำบล สนับสนุนการปลูกผักไว้กิน
กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลบ้านทับตะวัน จัดทำโครงการปลาแลกข้าวกับชาวนาจังหวัดอุบลราชธานี ต่อยอดไปสู่การแปรรูปอาหารทะเล และนำข้าวสารอาหารแห้ง ไปช่วยเหลือชาวเลตามเกาะต่างๆ โดยการสนับสนุนจากภาคีภายนอกและกองทัพอากาศ แต่ในอนาคตชุมชนเห็นว่าควรจะทำการแลกข้าวในภาคใต้ด้วยกัน เนื่องจากระยะทางไม่ไกลและคนใต้นิยมรับประทานข้าวแข็งเหมือนกัน
ข้อน่าสังเกตอีกประการหนึ่งก็คือ ชุมชนจะดำเนินการได้เร็วกว่าทางการ เนื่องจากไม่ติดกับระเบียบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องงบประมาณ ชุมชนสามารถใช้งบของชุมชนเองจัดการได้อย่างรวดเร็ว เช่น งบประมาณจากสภาองค์กรชุมชนตําบล กองทุนสวัสดิการชุมชน เป็นต้น จึงสามารถจัดการได้ก่อน และยังมีงบจากเครือข่ายจังหวัด ช่วยหนุนเสริมหากจำเป็น ส่วนงบจากภาครัฐที่มาภายหลัง ก็ทำให้การขับเคลื่อนงานดำเนินต่อไปได้และมีความต่อเนื่อง
การจัดการภัยพิบัติตำบลบางเหรียง ตำบลบางเหรียง อำเภอทับปุด พื้นที่ขนาบด้วยภูเขาสองลูกบางหมู่บ้านสร้างบ้านเรือนอยู่ในหุบเขา บ้างก็อยู่ตามหุบเขา ประชาชนประกอบอาชีพปลูกปาล์มน้ำมันและยางพารา ซึ่งสภาพทางภูมิศาสตร์ดังกล่าว มีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติดินสไลด์ น้ำป่าไหลหลาก
แกนนำชุมชน (ผู้ใหญ่บ้าน) เราว่าในช่วงปี 2549 - 52 เกิดน้ำป่าไหลหลากติดต่อกันมาทุกปี ซึ่งชาวบ้านไม่รู้วิธีการรับมือกับภัยพิบัติ จากนั้นเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนและภัยพิบัติระดับจังหวัดตลอดจนทีมกู้ภัยได้ลงพื้นที่ ให้ความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน
จากนั้นแกนนำในพื้นที่ประกอบด้วยสภาองค์กรชุมชนตำบล ท้องที่ ท้องถิ่น จึงได้รวมกลุ่มกันเป็นอาสาป้องกันภัยของตำบลเอง โดยประสานความร่วมมือกับทีมบ้านน้ำเค็ม และ ปภ. มาทำความเข้าใจอีกครั้ง ในที่สุดก็เกิด "ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติชุมชนเฉลิมพระเกียรติ" มีการจัดทำข้อมูลมีกลไกโครงสร้างประกอบด้วยนายก อบต. เป็นประธาน กำนันเป็นรองประธาน มีตัวแทนสภาองค์กรชุมชนตําบล อาสาสมัคร ผู้ใหญ่บ้าน รับผิดชอบเป็นฝ่ายๆ และมี รพสต. เข้ามาบูรณาการการทำงานร่วมกัน โดยแบ่งเป็นฝ่ายอำนวยการ เฝ้าระวัง อพยพ โรงครัว พยาบาล และซ่อมบำรุง
ในการทำงานจะมีการกำหนดแผนปฏิบัติการ ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังเกิดเหตุ เรียกว่า "แผนบัญชาการเหตุการณ์" โดยมีการเตรียมอาสาสมัคร ฝึกอบรมกู้ชีพ กู้ภัย กันค่อนข้างเป็นระบบ
ในปี พ.ศ.2554 เกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่ เกิดน้ำป่าไหลหลาก ดินสไลด์ จึงได้มีการปฏิบัติตามแผน เช่น การแจ้งเตือนภัยมีอาสาสมัครคอยช่วยเหลือขนย้ายผู้คนและทรัพย์สินไปอยู่ที่ปลอดภัย ตลอดจนทำความเข้าใจกับชาวบ้าน การเตรียมความพร้อม เพื่อจะได้ช่วยเหลือตนเองได้ในขั้นต้น
การรับมือภัยพิบัติในครั้งนั้น แม้จะมีความรุนแรง แต่ก็ได้รับความสูญเสียน้อยมาก เนื่องจากชุมชนเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดี และสิ่งที่ได้มากกว่านั้นก็คือ ทำให้ชาวบ้านมีความเข้าใจในการรับมือภัยพิบัติโดยชาวบ้านเองมากขึ้น มีความสามัคคี หลังน้ำลดก็ช่วยเหลือกัน ช่วยกันล้างบ้าน หาข้าว หาปลามาแบ่งกัน
อย่างไรก็ดี การรับมือภัยพิบัติดังกล่าว ถือว่าชาวบ้านมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง แต่ผู้นำทางการที่อยู่ในโครงสร้างและเป็นนักการเมือง ยังมีความตระหนักไม่มากนัก จึงเห็นว่าการทำงานจะไม่ยึดติดอยู่กับโครงสร้าง (ปัจจุบันได้เปลี่ยนประธานจากนายกอบต.เป็นกำนัน) เพราะ จะทำให้การบัญชาการเหตุการณ์มีปัญหาได้
นอกจากนี้ข้ออ่อนด้านอื่นๆ ที่ยังมีก็คือ พอไม่เกิดภัยพิบัติก็ไม่มีกิจกรรมอะไร ดังนั้นศูนย์ของเราจะต้องมองให้กว้างกว่าการรับมือภัยพิบัติ เช่นการส่งเสริมอาชีพ สร้างคลังอาหาร การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น เช่นเดียวกับการฝึกซ้อมอาสาสมัครจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง
การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนจังหวัดพังงา
ปัจจัยที่อาจจะก่อให้เกิดภัยพิบัติ 1. ลักษณะภูมิประเทศ จังหวัดพังงาทิศตะวันตกติดกับทะเลอันดามัน ส่วนทิศตะวันออกลักษณะเป็นภูเขาต่อเนื่องมาจากจังหวัดระนองทอดยาวลงมาชนกับเทือกเขาภูเก็ตในเขตอำเภอท้ายเหมืองและตะกั่วทุ่ง ทำให้มีลักษณะเป็นพื้นที่สูงทางทิศตะวันออกและค่อยๆ ราบต่ำไปทางทิศตะวันตกจรดทะเล อันดามัน โดยมีถนนเพชรเกษมตัดผ่านตอนกลางแนวเสมือนแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วน
จังหวัดพังงาได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ตั้งแต่เดือนมีนาคม-ตุลาคม ทำให้ฝนตกชุกประมาณ 8 เดือน และเคยมีปริมาณน้ำฝนต่อวันสูงสุดในประเทศ แต่ด้วยภูเขามีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ จึงซับน้ำไม่ให้ไหลอย่างรวดเร็วระบายลงสู่ทะเลได้ ไม่ทำให้น้ำท่วมขัง แต่ในปัจจุบันความสมบูรณ์ของป่าลดลง ซับน้ำได้น้อยลง เวลาฝนตกจึงทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ดินสไลด์ และน้ำท่วมขัง เนื่องจากมีการยกระดับถนนให้สูงขัดขวางทางระบายของน้ำที่สามารถไหลผ่านคลอง ซึ่งมีอยู่เพียงไม่กี่สาย
ส่วนพื้นที่บริเวณชายฝั่งอันดามัน จะเกิดน้ำทะเลหนุนสูง คลื่นลมแรง และที่กำลังเป็นปัญหาเพิ่มมากขึ้นคือการกัดเซาะชายฝั่งมีสาเหตุมาจากคลื่นลม และป่าตามธรรมชาติถูกทำลาย ตลอดจนโลกร้อนทำให้อุณหภูมิของน้ำสูงขึ้น หญ้าทะเล ซึ่งคอยชะลอความแรงของคลื่นหมดไป ไม่มีเกราะกำบังคลื่นลมเหมือนในอดีต รวมทั้งบริเวณป่าชายฝั่งยังเป็นพื้นที่เสี่ยง จะได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติสึนามิ ซึ่งเคยเกิดและสร้างความสูญเสียมาแล้วในปี พ.ศ. 2547
อย่างไรก็ดีจังหวัดพังงาตั้งอยู่บริเวณรอยเลื่อน "มะรุ่ย" ซึ่งมีการสั่นสะเทือนอย่างต่อเนื่อง แม้จะไม่เคยเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงแต่ก็สร้างความวิตกกังวลให้แก่ประชาชนได้เช่นกัน
- ระบบผังเมืองและนโยบายการจัดการนำของรัฐ การกำหนดผังเมืองหรือผังพัฒนาของรัฐยังขาดการบูรณาการจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากชุมชนทำให้ไม่สอดคล้องกับบริบทของที่ เช่นการเปลี่ยนสภาพป่าชายเลน ซึ่งเป็นเกาะกำบังภัยตามธรรมชาติ ไปเป็นการส่งเสริมการทำนากุ้งตลอดแนวชายฝั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอำเภอตะกั่วทุ่งมีการทำลายป่าชายเลน เพื่อทำนากุ้งจำนวนมาก ซึ่งไม่เพียงทำลายเกราะกำบังตามธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดมลพิษน้ำเสียอีกด้วย
การยกระดับถนนให้สูงขึ้นและไม่จัดการระบบน้ำอย่างเหมาะสม น้ำจากภูเขาไม่สามารถไหลลงสู่ทะเลได้โดยสะดวก ทำให้เกิดน้ำท่วมขังนานขึ้น เช่นเดียวกับการถมที่เพื่อการก่อสร้างขวางทางระบายของน้ำหรือสร้างอาคารในพื้นที่รับน้ำก็ทำให้เกิดน้ำท่วมขังเป็นเวลานานขึ้นเช่นกัน
สาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ ระบบการจัดการน้ำของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชลประทานมีการจัดการที่ไม่ถูกต้อง เช่น การขุดลอกคลอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคลองขนาดสั้น ทำให้น้ำไหลแรงและเร็ว น้ำลงสู่ทะเลเร็วและแรง ทำให้ตลิ่งพังและเกิดภาวะแห้งแล้งในฤดูแล้ง บางแห่งมีการสร้างฝายคอนกรีตเพื่อชะลอน้ำ เช่น คลองพังงา เป็นต้น มีการทำลายต้นไม้ริมฝั่งคลอง เป็นการทำลายความสมดุลทางนิเวศของคลอง
- ระบบการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งทุกวันนี้การเผาไหม้เชื้อเพลิง ในปริมาณมากทำให้โลกร้อน ส่งผลให้อากาศแปรปรวน เกิดลมพายุหมุน ซึ่งในภาคใต้เริ่มทวีความรุนแรงและเกิดบ่อยครั้งมากขึ้น ทำให้บ้านเรือนได้รับความเสียหาย และต้นไม้โค่นล้ม
กล่าวโดยสรุปในจังหวัดพังงา แม้ไม่มีภัยธรรมชาติอย่างรุนแรง ยกเว้นภัยจากสึนามิที่เกิดใน ปี พ.ศ. 2547 แต่ก็เกิดถี่ขึ้น แล้วมีแนวโน้มจะมีความถี่และรุนแรงมากขึ้น ครอบคลุมทุกพื้นที่ได้แก่ น้ำท่วมขัง ดินโคลนถล่ม (ดินสไลด์) น้ำไหลหลาก การกัดเซาะชายฝั่ง วาตะภัย ความวิตกจากแผ่นดินไหว น้ำทะเลหนุน และภัยแล้ง รวมทั้งยังมีภัยอื่นๆ ตามมา เช่น มีไฟป่าบ่อยขึ้น น้ำเสียจากการทำน้ำกุ้ง-โรงงาน ตลอดจนความตระหนักเป็นพิเศษก็คือ ภัยบนท้องถนน เนื่องจากสภาพถนนคดเคี้ยวตามภูเขา มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาฝนตก อย่างไรก็ดีจังหวัดพังงา ก็ไม่เคยประสบภัยหลักเท่าจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้ (ยกเว้นสึนามิ) โดยเฉพาะอย่างน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 และ 2560 ซึ่งได้รับความเสียหายไม่มากนักเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่น
แผนที่แสดงการเกิดภัยพิบัติจังหวัดพังงา
หมายเหตุ:พังงามีความเสี่ยงแผ่นดินไหวทั้งจังหวัดเนื่องจากตั้งอยู่บนรอยเลื่อนมะรุ่ย
พัฒนาการ การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนจังหวัดพังงา พังงาก็เหมือนทุกแห่งในประเทศไทย ยามเกิดภัยพิบัติก็จะช่วยเหลือตัวเอง และช่วยกันในหมู่เครือญาติตามสภาพ เป็นเบื้องต้น แต่ส่วนใหญ่จะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ ยังไม่มีการรวมกลุ่มชุมชนเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
จุดเปลี่ยนของจังหวัดพังงาเกิดขึ้นเมื่อเกิดภัยพิบัติสึนามิในปี พ.ศ. 2547 จนทำให้จังหวัดพังงาเป็นจังหวัดที่มีระบบการจัดการภัยพิบัติ โดยชุมชนที่ชัดเจน เป็นต้นแบบหรือศูนย์เรียนรู้ให้กับพื้นที่อื่นๆทั่วประเทศและทั่วโลก พังงาเป็นพื้นที่ซึ่งประสบภัยพิบัติสึนามิ เมื่อปี พ.ศ.2547 ซึ่งได้รับความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่บ้านน้ำเค็ม ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า ชุมชนประมงริมฝั่งทะเลได้รับความสูญเสียอย่างหนัก และได้รับการช่วยเหลือเฉพาะหน้าจากองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวนมาก
ประเด็นสำคัญที่มากไปกว่าการช่วยเหลือแบบสงเคราะห์ดังกล่าว บ้านน้ำเค็มได้มีองค์กรพัฒนาเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมูลนิธิชุมชนไท ได้ลงพื้นที่ในวันที่ 4 (31 ธ.ค.2547) หลังจากเกิดภัยนามิ แต่พบว่าชาวบ้านยัง ไม่มีที่พักชั่วคราว ชาวบ้านกระจัดกระจายพักอาศัยอยู่ตามที่ต่างๆ หลายพันคน ในเบื้องต้นมูลนิธิชุมชนไท จึง ร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) จัดตั้งศูนย์ผู้ประสบภัยขึ้นที่ตำบลบางม่วง ไปพร้อมๆ กับการทำงาน พัฒนาสนับสนุนให้ผู้ประสบภัยจัดการตนเอง ซึ่งแม้ว่าจะประสบความยากลำบาก ชาวบ้านบางส่วนอาจไม่เข้าใจ แต่งานก็ได้พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น แนะนำให้ผู้ประสบภัยจัดระบบกันเอง เช่น ระบบการดูแลของและเงินบริจาค ระบบการดูแลที่พักชั่วคราว ใช้หลักการพูดคุยปรึกษาหารือกันเป็นประจำและแก้ปัญหาร่วมกัน
การทำงานพัฒนาท่ามกลางปฏิบัติจริง ความเป็นผู้เดือดร้อนประสบปัญหาด้วยตนเอง ประกอบกับการมีพี่ เลี้ยง (มูลนิธิชุมชนไท) คอยให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ทำให้เกิดแกนนำชุมชนที่มีความรู้ความเข้าใจงานพัฒนา เพิ่มขึ้น ทั้งปริมาณและคุณภาพ เกิดกิจกรรมงานพัฒนาหลายอย่างบูรณาการอย่างเป็นองค์รวมและสอดคล้องกับข้อเท็จจริงของพื้นที่ เช่น กิจกรรมกองทุน วิทยุชุมชน การพัฒนาด้านอาชีพ การพัฒนาแก้ปัญหาที่ดินและที่อยู่อาศัย และที่ขาดไม่ได้คือการเกิดอาสาสมัครด้านภัยพิบัติ โดยกิจกรรมแต่ละด้านได้มีการประสานงานกับองค์กรพัฒนาที่เกี่ยวข้อง เช่น เรื่องที่อยู่อาศัย พัฒนาเข้าสู่โครงการบ้านมั่นคง ร่วมมือกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เป็นต้น ซึ่งในภายหลังได้มีการร่วมมือด้านงานพัฒนาและเป็นส่วนหนึ่งของขบวนองค์กรชุมชน จ.พังงา ที่ สนับสนุนโดย พอช. พร้อมมีการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลบางม่วงตาม พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551
กล่าวเฉพาะการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน ซึ่งเป็นงานพัฒนาหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากเนื่องจากเคยเป็นผู้ประสบภัยโดยตรง ทำให้ชาวบ้านมีความตระหนักในการทำงาน เพื่อลดความเสี่ยงและความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติ ซึ่งไม่จำเพาะแต่ภัยสึนามิเท่านั้น แต่เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติทุกประเภท
ในเบื้องต้นได้มีการรับสมัครอาสาสมัครป้องกันภัยและมีความร่วมมือกัน ปภ.อำเภอตะกั่วป่า และ ปภ. จังหวัดในการให้ความรู้ อบรมด้านป้องกันภัย จนนำไปสู่การซ้อมแบบจริงจัง โดยในการซ้อมจริงจะมีการแบ่ง บทบาทหน้าที่ การเตรียมการต่างๆ กันอย่างจริงๆ จังๆ หรือเสมือนเกิดภัยจริง จนทำให้ชาวบ้านมีความเข้าใจและ มีความชำนาญมากขึ้น
สิ่งที่อาสาสมัครป้องกันภัยได้รับไม่เพียงความรู้และความพร้อมด้านอุปกรณ์ต่างๆ เท่านั้น แต่ที่สำคัญคือ การเตรียมพร้อมด้านจิตใจ ด??%
()
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนจังหวัดกระบี่ งานเขียนพี่สุวัฒน.docx
-
การประชุมเวทีเครือข่ายภัยพิบัติชุมชนอันดามัน จ.กระบี่.docx
จัดทำเวที ทำความเข้าใจเรื่องการทำกิจกรรม ให้ทุกพื้นที่เล่าบริบทพื้นที่การเกิดภัยตลอดจนถึงการแก้ปัญหาภายในพื้นที่ตนเอง มีการวิเคราะห์ภัยที่เกิดมาจากสาเหตุอะไร มีการสรุปข้อมูลพื้นที่ ได้แผนและการสร้างกลไกจังหวัด
การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนจังหวัดกระบี่
ปัจจัยที่นำไปสู่การเสี่ยงภัย 1. บริบทของพื้นที่ จังหวัดกระบี่ประกอบด้วย 8 อำเภอมีทั้งที่เป็นแผ่นดินและเกาะน้อยใหญ่กว่าร้อยเกาะ ลักษณะพื้นที่ประกอบด้วยภูเขาหินปูน โดยมีเทือกเขา "พนมเบญจา" เป็นเทือกเขาสำคัญตั้งอยู่ในเขตอำเภอเขาพนม พื้นที่โดยรอบจึงเป็นที่สูงและลาดชันไปยังพื้นที่อื่น เช่น อำเภอปลายพระยา อำเภอเมือง อำเภอลำทับ อำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองท่อม อำเภออ่าวลึก ซึ่งตั้งถัดลงมาจนถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล
ลักษณะพื้นที่ลาดชันและสภาพภูเขาที่เป็นหินปูน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้จังหวัดกระบี่เกิดภัยพิบัติ ภัยดินโคลนถล่มน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตอำเภอเขาพนม เมือง ลำทับ เหนือคลองปลายพระยา และคลองท่อม
การเปลี่ยนไปทำการเกษตรเชิงพาณิชย์ แต่เดิมการทำการเกษตรในจังหวัดกระบี่ ก็เป็นไปเพื่อการยังชีพผสมผสานตามวิถีการเกษตรโดยทั่วไปของภาคใต้ แต่นโยบายของรัฐที่ส่งเสริมให้มีการปลูกพืชเชิงเดี่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกปาล์มน้ำมัน เมื่อประมาณ 50 ปีก่อน ส่งผลให้มีการหันมาปลูกปาล์มกันมากขึ้น มีการกว้านซื้อที่ดินแปลงขนาดใหญ่จากนายทุน ตลอดจนการนำที่ดินของรัฐให้เอกชนทั้งภายในและต่างประเทศเช่าเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน ต่อมาในระยะหลังชาวบ้านที่เคยทำเกษตรดั้งเดิมก็เปลี่ยนมาปลูกปาล์มน้ำมันเช่นกัน ซึ่งการปลูกปาล์มน้ำมันปฏิเสธไม่ได้ว่ามีการบุกรุกพื้นที่ป่าจำนวนมาก ทำให้พื้นที่เปลี่ยนไป ไม่มีป่าคอยซับน้ำเมื่อฝนตกหนัก จึงทำให้เกิดดินโคลนถล่มและน้ำป่าไหลหลากตลอดจนน้ำท่วมขัง กระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวกราดได้เปลี่ยนทางเดินของน้ำก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งธรรมชาติ ชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนเกือบทุกปี
ระบบผังเมืองที่ขาดการมีส่วนร่วมและขาดการบูรณาการ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภัยพิบัติ เพราะผังเมืองบ่งบอกถึงทิศทางและแผนพัฒนา ซึ่งการจัดทำผังเมืองจะขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและขาดการบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้การพัฒนาไม่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ เช่น การสร้างถนนที่ไม่คำนึงถึงทางเดินของน้ำ มีการสร้างถนนขวางทางเดินของน้ำ มีการถมพื้นที่ ซึ่งเป็นแก้มลิงธรรมชาติเพื่อสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ตลอดจนการขยายตัวด้านการท่องเที่ยว มีถมที่ลำน้ำธรรมชาติเพื่อก่อสร้าง ทำให้น้ำเปลี่ยนทิศทางหรือน้ำท่วมขัง เป็นต้น
- โลกร้อน ซึ่งเป็นสภาพที่โลกกำลังประสบอยู่โดยทั่วไป เนื่องจากมีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ การเผาไหม้โดยเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งมีปริมาณมากกว่าที่ธรรมชาติจะรับได้ จนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนอันเป็นสาเหตุของการเกิดพายุบ่อยครั้ง ซึ่งในภาคใต้แม้จะมีน้อยกว่าภาคอื่นๆ แต่ในระยะหลังมานี้ก็มีการเกิดพายุบ่อยขึ้นแม้จะเป็นพายุขนาดเล็ก เช่น พายุหมุน พายุงวงช้าง ฯลฯ แต่ก็สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินได้ เช่น ต้นไม้โค่นล้ม อาคารบ้านเรือนได้รับความเสียหาย เป็นต้น ซึ่งปรากฏการณ์ในจังหวัดกระบี่ได้เกิดพายุ บ่อยขึ้นกระจายทุกอำเภอ ทำให้ต้นยางพารา และต้นไม้ใหญ่โค่นล้ม อาคาร บ้านเรือนได้รับความเสียหาย จากสาเหตุทั้ง 4 ประการข้างต้นทำให้จังหวัดกระบี่เกิดภัยพิบัติบ่อยขึ้น โดยเรียงลำดับได้ดังนี้คือ
- ดินโคลนถล่ม น้ำป่าไหลหลาก
- น้ำท่วม
- พายุ
- สึนามิ
โดยปรากฏการณ์ภัยพิบัติดังกล่าวครั้งสำคัญ คือ การเกิดสึนามิปลายปี พ.ศ. 2547 การเกิดดินโคลนถล่ม น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมครั้งใหญ่ปี พ.ศ. 2554 และ พ.ศ.2560-2561 ส่วนพายุจะเกิดขึ้นทุกปี
แผนที่แสดงการเกิดภัยพิบัติจังหวัดกระบี่
การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน อาจจะกล่าวได้ว่า อำเภอเขาพนมและเทือกเขาพนมเบญจา เป็นพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ด้านภัยพิบัติที่จะส่งผลกระทบไปยังพื้นที่อื่นๆทั้งจังหวัด อย่างไรก็ดีในอดีตที่ผ่านมาจังหวัดกระบี่ได้เกิดภัยพิบัติครั้งสำคัญ จนนำไปสู่การสร้างชุมชนเพื่อรับมือภัยพิบัติอย่างน้อย 3 ครั้ง คือ 1. การเกิดภัยพิบัติสึนามิเมื่อปลายปี พ.ศ. 2547 ซึ่งพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอยู่บริเวณเกาะต่างๆ และชายฝั่งทะเล ได้แก่ อำเภอเกาะลันตา อำเภอเมือง อำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองท่อม และอำเภออ่าวลึก ซึ่งธรณีพิบัติในครั้งนั้นมีหน่วยงานรัฐและองค์กรภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุนจำนวนมาก แต่พอการช่วยเหลือเบื้องต้นหมดไปองค์กรต่างๆ ก็หายไปด้วย อย่างไรก็ดีมูลนิธิชุมชนไทเป็นองค์กรภาคเอกชนที่ยังคงทำงานสนับสนุนชุมชนอยู่ต่อไป โดยพัฒนารูปแบบและกลไกไปตามความจำเป็นของชุมชน เช่น การพัฒนาที่อยู่อาศัย สิทธิชนเผ่า การประกอบอาชีพ เป็นต้น ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่การทำงานด้านภัยพิบัติโดยตรง แต่ก็นำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เกิดแกนนำชุมชนที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนงานพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนเผ่าชาวเล และยังมีการเชื่อมโยงกับแกนนำชุมชนอื่นๆ เพื่อทำงานร่วมกัน เช่นการทำงานกับขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดกระบี่ ภาคเอกชน และภาครัฐที่เกี่ยวข้อง 2. เกิดดินโคลนถล่มและน้ำป่าไหลหลาก ในปี พ.ศ. 2554 โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ อ.เขาพนม ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดกระบี่ร่วมกับมูลนิธิชุมชนไท ลงพื้นที่สนับสนุนชุมชนผู้ประสบภัย โดยมีแนวทางสำคัญ คือ "การทำให้ชุมชนลุกขึ้นมาจัดการด้วยตนเอง" จนเกิดขบวนการจัดการภัยพิบัติทั้งระดับจังหวัดและระดับพื้นที่ แต่ด้วยแนวทางการทำงานที่ไม่ตรงกับภาคเอกชนและทหารที่เน้นดำเนินการให้กับชุมชน จึงทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร อย่างไรก็ดี ทำให้เกิดแกนนำชุมชนทั้งระดับจังหวัดและระดับพื้นที่ มีแนวคิดที่จะจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน
แผ่นภาพแสดงพัฒนาการในการจัดการภัยพิบัติ จ.กระบี่โดยสังเขป
- การเกิดดินโคลนถล่มและน้ำป่าไหลหลากในปี พ.ศ. 2560 ที่เขาพนม โดยมีการดำเนินการในทำนองเดียวกับปี พ.ศ. 2554 แต่มีปัญหาในระบบการจัดการการตรวจสอบของชุมชนเองแต่สำหรับขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดก็มีพัฒนาการของการหนุนเสริม ตลอดจนมีการตื่นตัวมากขึ้น
ทั้ง 3 เหตุการณ์ดังกล่าวถึงแม้ว่าการจัดการภัยพิบัติ โดยชุมชนจังหวัดกระบี่ยังไม่เข้มแข็งมากนัก แต่การจัดการภัยพิบัติก็เป็นประเด็นงานหนึ่งของขบวนองค์กรชุมชน โดยต่อมาได้มีการสนับสนุนงบประมาณจาก สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ในการเชื่อมร้อยชุมชนด้านการจัดการภัยพิบัติ และมีการสนับสนุนงบประมาณจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และหนุนการจัดกระบวนการจากมูลนิธิชุมชนไท จนเกิดขบวนชุมชนจัดการภัยพิบัติที่เป็นระบบมากขึ้น โดยมีวิสัยทัศน์ในการจัดการภัยพิบัติว่า "ลดการเสี่ยงภัยจัดการแบบองค์รวม เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในภาวะฉุกเฉิน และฟื้นฟูอย่างยั่งยืน" โดยมีแนวทางในการทำงานดังนี้ 1. สร้างความตระหนักให้ระดับชุมชน เพื่อเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ เกิดแผนรับมือภัยพิบัติ 2. พัฒนาเครือข่ายระดับจังหวัด 3. พัฒนาระบบการสื่อสาร เพื่อรับมือในภาวะฉุกเฉิน 4. เชื่อมโยงระบบข้อมูล เป็นระบบเดียว
ซึ่งหัวใจของการทำงาน จะใช้เครือข่ายระดับจังหวัดและตำบลเป็นกลไกการหนุนเสริม เชื่อมโยง โดยระดับพื้นที่ คือฐานปฏิบัติการในการรับมือภัยพิบัติ โดยมีแผนการทำงาน ดังนี้
1. แผนพัฒนาเครือข่ายทั้งระดับ จังหวัดตำบลและพื้นที่
2. แผนพัฒนาระบบสื่อสารเพื่อเตรียมพร้อม
3. แผนพัฒนาศักยภาพแกนนำเพื่อรับมือภัยพิบัติ
4. แผนพัฒนาระบบข้อมูล
5. แผนป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยพิบัติ เช่น การจัดการระบบนิเวศและทรัพยากรอย่างยั่งยืน
ผังแสดงแผนการดำเนินงานการการจัดการภัยพิบัติจังหวัดกระบี่
ในการพัฒนากลไกการดำเนินงานนั้น ระดับจังหวัดจะประกอบด้วยแกนนำระดับอำเภอ ตัวแทนพื้นที่นำร่อง ตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนระดับอำเภอ ก็มีองค์ประกอบในทำนองเดียวกับส่วนระดับตำบลใช้สภาองค์กรชุมชนตำบลเป็นกลไกสำคัญ มีหน้าที่ในการประสานเชื่อมโยงหนุนเสริม เป็นศูนย์ข้อมูลกลาง และผลักดันให้เกิดกองทุนภัยพิบัติแต่ละระดับ ส่วนระดับพื้นที่ จะทำหน้าที่รับมือภัยพิบัติโดยการจัดทำแผนรับมือภัยพิบัติ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงานตลอดจนผลักดันให้เกิดกองทุนภัยพิบัติระดับพื้นที่
การแก้ไขปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด-19 ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดกระบี่ได้หารือร่วมกับสภาองค์กรชุมชน 30 ตำบล ในการใช้สภาองค์กรชุมชนตำบลเป็นกลไกสำคัญในการทำงานโดยมีแนวทางสำคัญ คือ 1. การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ เช่น รพสต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. (ปกติ อสม.ก็เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนภัยพิบัติในพื้นที่อยู่แล้ว) โดยหน่วยงานรัฐสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการทำงาน 2. มีการร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ตั้งด่านสกัด ทั้งด่านหลักและด่านย่อยในหมู่บ้าน ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ 3. ทำการประชาสัมพันธ์ (โดยใช้รถแห่) ให้ความรู้แก่ประชาชนในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อ 4. จัดเวรลงเยี่ยมเยียนประชาชนกลุ่มเสี่ยง ในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อ 5. ใช้ฐานกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล เพื่อซื้อ ข้าวสารอาหารแห้งบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้ากว่า 2,000 ชุด
อย่างไรก็ดีเพื่อเป็นการแก้ปัญหาระยะยาว เครือข่ายภัยพิบัติจังหวัดกระบี่ ยังได้มีการประชุมวางแผนเพื่อสร้างแหล่งอาหารในชุมชน รวมทั้งเป็นการวางแผนรองรับภัยอื่นๆที่จะเกิดขึ้นนั้นก็คือ การค้นหาต้นทุนในพื้นที่ เพื่อใช้เป็นแหล่งผลิตอาหาร เช่น ที่ว่างเปล่าหรือที่ซึ่งเจ้าของยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ก็นำมาทำแปลงปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ และหากไม่พอจะหาทุนเพิ่มเติม จากภายนอก
จากการดำเนินงานดังกล่าวก่อให้เกิดบทเรียนสำคัญคือ
1. สร้างการจัดการรวมในพื้นที่ที่มีประสิทธิภาพและมีพลัง เป็นการดึงความรับผิดชอบจากหน่วยงานที่มักแสดงความเป็นเจ้าของมาเป็นงานร่วมของทุกคนไม่ใช่เป็นงานหลักและสั่งการโดยภาครัฐเหมือนที่ผ่านมา
2. การดำเนินงานดังกล่าวไม่เพียงเพื่อรองรับภัย covid-19 เท่านั้นแต่เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับภัยทุกชนิดที่เกิดขึ้นในชุมชน
3. เป็นการขยายความร่วมมือเชิงลึกกับหน่วยงาน ทำให้สามารถจัดการปัญหาในแต่ละเรื่องได้ถูกจุด มีความเข้าใจต่อกันมากขึ้น
การจัดการภัยพิบัติตำบลหน้าเขา
ตำบลหน้าเขา เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเขาพนม ซึ่งเป็นที่ตั้งของเทือกเขาพนมเบญจา อันเป็นพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ด้านภัยพิบัติของจังหวัดกระบี่ สภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงและที่ราบสูงลาดชันก่อให้เกิดลำน้ำหลายสาย ด้วยสภาพภูเขาเป็นเขาหินปูนและพื้นที่ลาดชัน เมื่อเกิดฝนตกจะทำให้น้ำไหลแรงและเกิดดินโคลนถล่มตามมา ประกอบกับในระยะหลังมีการเปลี่ยนพื้นที่ป่าไปปลูกพืชเชิงเดี่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งปาล์มน้ำมันมากขึ้น ทำให้ดินไม่อาจอุ้มน้ำไว้ได้ ทำให้โอกาสในการเกิดดินโคลนถล่มและน้ำป่าไหลหลากมีสูงขึ้น โดยมีเหตุการณ์ภัยพิบัติที่สำคัญคือ
1. การเกิดดินโคลนถล่มในปี พ.ศ. 2554 ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นกินพื้นที่ 3 ตำบล คือหน้าเขา คลองแห้ง และห้วยเนียง ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดกระบี่ร่วมกับมูลนิธิชุมชนไท ลงพื้นที่สนับสนุนชุมชนผู้ประสบภัย โดยมีแนวทางสำคัญคือ "ทำให้ชุมชน ลุกขึ้นมาจัดการภัยพิบัติด้วยตนเอง" มีการให้ความรู้ความเข้าใจชุมชน สร้างการเรียนรู้ สร้างกระบวนการทำงานในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ปัญหาสำคัญในขณะนั้นคือ การสร้างบ้านที่ได้รับความเสียหาย ต้องเกิดจากกระบวนการที่ชุมชนเป็นผู้จัดการเองทั้งระบบ
อย่างไรก็ดีในการดำเนินงาน ยังมีทหารเข้ามาสนับสนุนด้วย โดยมีสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการสร้างบ้าน ซึ่งต้องการให้เสร็จโดยเร็วสอดคล้องกับความคิดของทหาร ซึ่งขัดกับแนวคิดการพัฒนาของมูลนิธิชุมชนไท และขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดกระบี่ ส่งผลให้ชาวบ้าน แตกออกเป็น สองพวก เช่นกัน ในที่สุดก็ต้องดำเนินการตามที่แหล่งทุนต้องการคือรีบดำเนินการให้เสร็จโดยเร็ว อย่างไรก็ดีการเข้าไปทำงานของมูลนิธิชุมชนไท แม้ว่าไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก แต่ก็ทำให้แกนนำหลายคนที่ทำงานกับมูลนิธิชุมชนไท เข้าใจแนวทางในการให้ชุมชนเป็นแกนหลักในการจัดการภัยพิบัติมากขึ้น
- การเกิดดินโคลนถล่มในปี พ.ศ. 2560 ซึ่งจุดที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักก็คือ พื้นที่ตำบลหน้าเขา มูลนิธิชุมชนไท ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดกระบี่ และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ก็ลงพื้นที่สนับสนุนโดยใช้แกนนำเดิมที่เคยทำงานร่วมกันในปี พ.ศ. 2554 เป็นกำลังสำคัญ มีการจัดตั้งกลไกการทำงานของชาวบ้านเอง โดยทำการสำรวจข้อมูลชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ข้อมูลความต้องการ เพื่อนำไปจัดทำแผนพัฒนา โดย พอช. สนับสนุนงบประมาณ 100,000 บาทในการทำงานและวางแผน
จากข้อมูลชาวบ้านต้องการสร้างและซ่อมแซมบ้านอยู่ในที่ดินเดิม แต่เนื่องจากเป็นที่ซึ่งไม่มีเอกสารสิทธิ์เป็นที่ดินหลวง พอช. ไม่อาจสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาที่อยู่อาศัยได้ จึงมีมติร่วมกันให้มีการสร้างบ้านรวม โดยการจัดซื้อที่ภายนอก แต่การทำงานขาดประสิทธิภาพ โครงการจึงไม่ประสบผลสำเร็จ 3. ในปีพ.ศ. 2562 สภาองค์กรชุมชนตำบลหน้าเขา สมาชิกสภาองค์กรชุมชนดำรงตำแหน่งครบวาระจึงมีการคัดเลือกสมาชิก ประธาน รองประธาน กันใหม่ ซึ่งมีแกนนำใหม่ ได้รับการคัดเลือกเข้ามาโดยเฉพาะอย่างยิ่งแกนนำท้องที่ จึงอาศัยโอกาสอันเหมาะสมนี้ ฟื้นฟูเรื่องประเด็นการจัดการภัยพิบัติชุมชน ให้เป็นประเด็นหนึ่งของสภาองค์กรชุมชน เนื่องจาก คนในพื้นที่มีประสบการณ์ ได้เห็นและเรียนรู้เรื่องภัยพิบัติ มาถึง 2 ครั้ง
ในการทำงานเริ่มจากการจัดการทำข้อมูลศึกษาสภาพพื้นที่อย่างจริงจัง พบว่าพื้นที่ตำบลหน้าเขามีศักยภาพอย่างยิ่งด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เช่น มีทะเลหมอก มีผลไม้หลากหลาย มีพื้นที่ทางการเกษตรผสมผสาน ธรรมชาติอันงดงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยว เชื่อมโยงกลุ่มเศรษฐกิจต่างๆ ในพื้นที่พัฒนาเป็นตลาดชุมชน จัดการท่องเที่ยวภายใต้ แนวคิดว่า "ขึ้นเขาพนม ชมทะเลหมอก ชิมผลไม้ จ่ายตลาดชุมชน"
หากฟังผิวเผินจะเห็นว่าการท่องเที่ยวกับการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน เป็นคนละเรื่องกัน แต่คนเขาพนมอธิบายว่า การพัฒนาเขาพนมต้องทำแบบองค์รวม บูรณาการร่วมกันทุกด้าน ทีมนี้เป็นคนใหม่ แต่ก็จะเชิญคนเดิมๆเข้ามาด้วย มาวางแผนเอาข้อผิดพลาดเป็นบทเรียน ทำให้เขาพนมเป็นดินแดนปลอดภัย ชาวบ้านปลอดภัย ใครก็อยากเข้ามาเที่ยว การจัดการภัยพิบัติกับการท่องเที่ยว จึงเป็นเรื่องเดียวกัน ภูเขาไม่ได้น่ากลัวเหมือนในอดีต แต่มีทะเลหมอกที่งดงาม
ขณะนี้อยู่ในช่วงเริ่มต้นยังไม่มีแผนงานมานัก แต่เรามีคณะกรรมการสภาองค์กรชุมชนตำบลชุดใหม่ เป็นกลไกหลักในการประสานงานหนุนเสริม ก้าวต่อไปก็คือ การจัดทำแผนรับมือภัยพิบัติที่ต้องบูรณาการกับเรื่องอื่นๆ ในตำบล
จังหวะก้าวในการจัดการภัยพิบัติตำบลหน้าเขา
()
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนจังหวัดตรัง งานเขียนพี่สุวัฒน์ คงแป้น.docx
-
การประชุมเวทีเครือข่ายภัยพิบัติชุมชนอันดามัน จ.ตรัง.docx
จัดทำเวที ทำความเข้าใจเรื่องการทำกิจกรรม ให้ทุกพื้นที่เล่าบริบทพื้นที่การเกิดภัยตลอดจนถึงการแก้ปัญหาภายในพื้นที่ตนเอง มีการวิเคราะห์ภัยที่เกิดมาจากสาเหตุอะไร มีการสรุปข้อมูลพื้นที่ ได้แผนและการสร้างกลไกจังหวัด
การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนจังหวัดตรัง
ปัจจัยที่นำไปสู่การเสี่ยงภัย 1. บริบทของพื้นที่ จังหวัดตรังมีเทือกเขาบรรทัดเป็นแนวยาวทางทิศตะวันออก และยังมีเขาพระบางครามเป็นเสมือนหลังคาของจังหวัดแล้วค่อยๆ ลาดลงมาเป็นท้องกระทะทางทิศตะวันตก เช่นย่านตาขาว ห้วยยอด วังวิเศษ โดยอำเภอเมืองเป็น สะดือกระทะ มีแม่น้ำตรัง แม่น้ำปะเหลียน และแม่น้ำสาขา ไหลจากภูเขาลงสู่ที่ราบ ส่วนทิศเหนือคืออำเภอรัษฎา ตัดกับเทือกเขาในจังหวัดนครศรีธรรมราช (อ.ทุ่งสง) ด้วยสภาพพื้นที่เช่นนี้ จึงเป็นเหตุให้เกิดภัยพิบัติ น้ำหลากและน้ำท่วม ส่วนพื้นที่ทางทิศตะวันตกติดกับทะเลอันดามันก็จะประสบปัญหาน้ำทะเลหนุน ทำให้น้ำท่วมขัง 2. นโยบายการพัฒนาแหล่งน้ำของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งของกรมชลประทานที่ไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงและบริบทของพื้นที่เช่นการขุดลอกลำน้ำทำให้เกิดน้ำท่วมและน้ำแล้งไปพร้อมๆ กัน กล่าวคือการขุดลอกคลอง ทำให้น้ำไหลเร็วและแรง ทำให้น้ำไหลหลาก น้ำท่วมจากนั้นก็จะเกิดน้ำแล้งตามมา เพราะไม่มีระบบการซับน้ำ หรืออุ้มน้ำไว้ได้ ตัวอย่างเช่น การขุดลอกคลองในอำเภอทุ่งสง ทำให้เกิดน้ำท่วมและแล้ง ในอำเภอรัษฎา เป็นต้น
นอกจากนี้ระบบการจัดการน้ำของรัฐขาดระบบการกักเก็บน้ำที่เหมาะสม และสอดคล้องกับพื้นที่ ส่งผลให้เกิดภาวะภัยแล้งในหน้าแล้งทุกปี เนื่องจากระบบการจัดการน้ำไม่ถูกต้อง
- การกำหนดผังเมือง ที่ไม่สอดคล้องและขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ขาดการบูรณาการ กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น การสร้างถนนขวางทางน้ำ หรือสร้างถนนเป็นทางเดินของน้ำ เช่น ถนนจากเทือกเขาบรรทัด จะทำให้อำเภอนาโยง เป็นคลองยามฝนตก เพราะถนนเส้นนี้จะเป็นทางเดินของน้ำจากภูเขาไหลลงสู่พื้นล่าง
- โลกร้อน อันเกิดจากการเผาไหม้ และการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลเป็นปริมาณมาก และต่อเนื่องเกินกว่าที่โลกจะรองรับได้ขาดการนำพลังงานธรรมชาติมาใช้งาน ซึ่งเชื่อว่าเป็นสาเหตุของการเกิดลมพายุที่กินอาณาบริเวณไม่กว้างนักเช่น ลมหมุน ลมงวงช้าง แต่ก็สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเช่นกัน เช่นต้นไม้หักโค่น บ้านเรือนเสียหาย ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าพายุ ในภาคใต้เกิดขึ้นทุกปี และหลายๆ ครั้ง ทั้งที่ในอดีตนานๆ จะเกิดสักครั้ง
กล่าวโดยสรุปในจังหวัดตรังจะเกิดภัยหลักๆ คือ น้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก น้ำหนุน วาตะภัย และภัยแล้ง ซึ่งมีนัยยะสำคัญไม่ค่อยต่างกันมากนัก ยกเว้นน้ำท่วมจะเกิดขึ้นใน บริเวณกว้าง และส่งผลเสียหายมากที่สุด โดยเป็นที่น่าสังเกตว่าพื้นที่ทางทิศตะวันออกจะเป็นภัย น้ำท่วม น้ำหลาก ภัยแล้ง วาตะภัย ส่วนพื้นที่ด้านฝั่งอันดามัน จะมีน้ำทะเลหนุนร่วมด้วย แล้วเคยประสบภัยธรณีพิบัติสึนามิใน พ.ศ. 2547
การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน
กล่าวได้ว่าบริบทของพื้นที่ดังกล่าวข้างต้น นโยบายการจัดการน้ำของรัฐ ตลอดจนผังเมืองต่างก็มีส่วนทำให้เกิดภัยพิบัติ ในจังหวัดตรังพอๆ กัน ซึ่งภัยพิบัติที่เกิดขึ้นส่งผลให้ชาวบ้านได้ มีความพยายามในการจัดการภัยพิบัติในชุมชนเองอย่างต่อเนื่อง และมีความก้าวหน้าเป็นลำดับพอสรุปเหตุการณ์ได้ดังนี้
1. เกิดขบวนชุมชนจัดการลุ่มน้ำคลองชีในปี พ.ศ. 2547 ไม่ใช่ขบวนที่จัดการภัยพิบัติโดยตรงแต่เป็นจุดเริ่มต้นของ การสร้างขบวน ดูแลฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีการจัดตั้งอาสาสมัครดูแลลุ่มน้ำคลองชี ในปี 2551 และมีการขยายความร่วมมือกับคนลุ่มแม่น้ำตรัง มีการประสานกับสื่อ และภาคประชาสังคมอื่นๆ เช่น ออฟโรสย่านตาขาว ศุภนิมิตร มีการศึกษาดูงาน พัฒนาแนวทางการทำงานร่วมกับภาคีภาครัฐอย่างต่อเนื่อง
2. ปี พ.ศ. 2554 เกิดน้ำท่วมใหญ่ภาคใต้รวมทั้งจังหวัดตรัง ก็ใช้แกนนำเดิมประกอบกับในเวลาดังกล่าวมีการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลหลายพื้นที่ ก็ได้อาศัยสภาองค์กรชุมชนตำบล เป็นฐานปฏิบัติการระดับพื้นที่โดยมีการขยายไปยังพื้นที่อื่นๆ เช่น ตำบลหนองตรุด นาตาล่วง ร่วมมือกับภาคี ออฟโรส สมาคมวิทยุสมัครเล่น และกาชาดจังหวัด เพื่อแก้ไขปัญหาภัยพิบัติร่วมกัน
3. จนกระทั่งใน ปี พ.ศ. 2560 เกิดน้ำท่วมใหญ่อีกครั้งก็มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องได้รับงบประมาณจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ในการนำไปจัดกระบวนการและจัดทำแผนรับมือภัยพิบัติ ระดับจังหวัด ภูมินิเวศลุ่มน้ำตรัง และระดับตำบลอีก 5 ตำบล โดยในปีถัดมาก็ได้รับการประสานงานต่อเนื่องจากมูลนิธิชุมชนไทในการให้ความรู้ จัดกระบวนการ จนเกิดกลไกระดับจังหวัดและ เกิดพื้นที่นำร่องใน 5 ตำบล เกิดทีมอาสาสมัครที่มีการบริหารจัดการกันเอง
ผังแสดงพัฒนาการของการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนจังหวัดตรัง
ปัจจุบันได้มีความเห็นร่วมกันว่า ในการจัดการโครงสร้างจังหวัดจะต้องประกอบด้วยผู้แทนทุกอำเภอและผู้แทนตำบลต้นแบบพร้อมด้วยภาคีพัฒนาที่เกี่ยวข้องโดยมีหน้าที่ดังนี้
1) ประสานความร่วมมือกับภาคีพัฒนาต่างๆ ในการหนุนเสริมการจัดการภัยพิบัติ
2) การทำแผนพัฒนาเครือข่ายให้มีความเข้มแข็ง
3) ส่งเสริมให้เกิดศูนย์รับมือภัยพิบัติในทุกตำบล
4) การพัฒนาให้เกิดกองทุนภัยพิบัติ
5) สนับสนุนพื้นที่ในการจัดทำแผนรับมือภัยพิบัติ
6) ศูนย์ข้อมูลการจัดการภัยพิบัติระดับจังหวัด
ส่วนพื้นที่ตำบลต้นแบบซึ่งเป็นพื้นที่ปฏิบัติการจะใช้สภาองค์กรชุมชนตำบลเป็นเครื่องมือสำคัญทั้ง 5 พื้นที่ โดยมีบทบาทคือ 1) มีศูนย์รับมือภัยพิบัติระดับพื้นที่ 2) เกิดอาสาสมัครที่มีความพร้อมในการทำงาน ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ทุกศูนย์และมีการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง 3) ทำให้เกิดแผนรับมือภัยพิบัติทุกพื้นที่ 4) จัดตั้งกองทุนภัยพิบัติ
การดำเนินงานรับมือกับโควิด 19
การรับมือภัยพิบัติโควิด 19 จังหวัดตรังเริ่มต้นในระดับพื้นที่ ก่อนที่จะเชื่อมโยงระดับจังหวัดในภายหลัง โดยในระดับพื้นที่มีการดำเนินงานดังนี้
1) ตั้งทีมปฏิบัติการ ประกอบด้วยกำนันผู้ใหญ่บ้าน อสม. และทีมอาสาป้องกันภัย เพื่อพูดคุย ปรึกษาหารือในการทำงานร่วมกัน
2) ตั้งกลุ่มไลน์ ในพื้นที่เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร และสั่งการ เช่น คนเดินทางเข้า-ออกหมู่บ้าน
3) หาสถานที่กักตัว เช่น บ้านที่ไม่มีกลุ่มเสี่ยงภัย (เด็ก คนชรา คนมีโรคประจำตัว) หรือ โรงเรียนเป็นต้น
4) ตั้งจุดสกัดและตรวจโรคประจำหมู่บ้าน คนที่มาจากจังหวัดอื่นจะถูกกักตัว 14 วัน
5) ใช้ชมรมคุณธรรม รับบริจาค ผัก เงิน ข้าวสารอาหารแห้ง แจกจ่าย ให้กับผู้ที่เดือดร้อน
6) ประชุมเชื่อมโยงเพื่อทำงานเชิงรุก เช่น เชื่อมโยงข้อมูลพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาได้ทันสถานการณ์ ตลอดจนส่งอาสาสมัครไปร่วมบริการยังพื้นที่อื่นที่คนไม่เพียงพอ
7) ขบวนจังหวัด อบรมการทำเจลล้างมือ เพื่อแจกจ่ายให้กับพื้นที่ขาดแคลนและหนุนเสริมพื้นที่ที่อาสาสมัครไม่เพียงพอ
การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน ตำบลนาตาล่วง
นาตาล่วง เป็น 1 ใน 14 ตำบลของอำเภอเมือง ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมือง 4 กิโลเมตร ลักษณะเป็นที่ราบลุ่มติดริมแม่น้ำตรัง ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างทั่วไป เนื่องจากสภาพพื้นที่นั้นไม่เหมาะกับการเกษตร ดังนั้นกล่าวได้ว่าตำบลนาตาล่วง พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้เพื่อการอยู่อาศัย ด้วยเป็นพื้นที่ราบลุ่ม เป็นสะดือท้องกระทะ ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ก็คือ น้ำท่วมฉับพลันและน้ำท่วมขัง ความรุนแรงขึ้นอยู่กับปริมาณ หนักเบาของฝนดังนี้
1) กรณีน้ำท่วมใหญ่ในภาคใต้ ปี พ.ศ. 2553 และ 2554 ตำบลนาตาล่วง ประสบปัญหาน้ำท่วมฉับพลันและน้ำท่วมขัง ชาวบ้านยังไม่มีกระบวนการจัดการด้วยตัวเอง นอกจากการช่วยเหลือเฉพาะหน้า จากภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีแกนนำชุมชนจาก อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช นาย โกเมศ ทองบุญชู เข้ามาพูดคุยทำความเข้าใจกับแกนนำชุมชนเรื่องการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
จากนั้นในปี พ.ศ. 2556 ก็เข้ามาสนับสนุนให้มีการตั้งคณะกรรมการจัดการภัยพิบัติระดับจังหวัด ในนาม "การจัดภัยพิบัติเทือกเขาบรรทัด" โดยมีองค์ประกอบจากชาวบ้าน 5 คนมีภาคีท้องถิ่นและราชการร่วมด้วย โดยมีพื้นที่ปฏิบัติการคือ ต.หนองตรุด นาท่ามใต้ นาท่ามเหนือ นาตาล่วง และควนตานี แต่ก็ยังไม่มีแผนขับเคลื่อนงาน เพียงได้นำเรือเล็กมาให้ลำนึง 2) เกิดน้ำท่วมใหญ่ในปี 2560 ก็กลับมาฟื้นฟูอีกครั้ง โดย พอช. สนับสนุนงบประมาณ 1 แสนบาท ในการใช้ให้เกิดขบวนและทำแผนรับมือภัยพิบัติโดยชุมชนในจังหวัดตรัง ไม่เพียงหน้าตาล่วง เท่านั้น ที่ได้รับงบประมาณแต่ยังมีการสนับสนุนการจัดขบวนระดับจังหวัด ระดับภูมินิเวศลุ่มแม่น้ำตรังและระดับตำบลอีก 5 ตำบล นำไปสู่การปฏิบัติงาน ทั้ง 3 ระดับและมีการเชื่อมร้อยเป็นเครือข่ายการจัดการภัยพิบัติที่มีรูปธรรมชัดเจนมากยิ่งขึ้น 3) จากนั้น เครือข่ายการจัดการภัยพิบัติจังหวัดตรัง ก็มีการขับเคลื่อนงานต่อไปโดยการสนับสนุนของมูลนิธิชุมชนไทรวมทั้งตำบลนาตาล่วงด้วย โดยใช้สภาองค์กรชุมชนตําบลนาตาล่วง เป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานมีการสำรวจข้อมูลพื้นที่อย่างละเอียด เช่น พื้นที่เสี่ยงภัย ข้อมูลประชากรกลุ่มเสี่ยง และข้อมูลศักยภาพอื่นๆ พบว่า นาตาล่วงทั้งตำบล เป็นพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขัง ส่วนประชากรกลุ่มเสี่ยงนั้น เป็นเด็ก 654 คน คนชรา 614 คน แล้วคนพิการ 51 คน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้นำไปสู่การทำแผนรับมือภัยพิบัติต่อไป
หมู่บ้าน/ชุมชน ลักษณะทางกายภาพ ประเภทภัย
4* ที่ราบลุ่มริมแม่น้ำตรัง น้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก
1* ที่ราบลุ่ม น้ำท่วมขัง
2
3
5 ที่ราบลุ่มริมแม่น้ำตรัง น้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก
6
หมายเหตุ : พื้นที่ซึ่งประสบภัยพิบัติอย่างต่อเนื่อง
จากการสนับสนุนของมูลนิธิชุมชนไท ได้ก่อให้เกิดการขับเคลื่อนงานอย่างเป็นระบบ มีผลการดำเนินงานดังนี้
• ใช้สภาองค์กรชุมชนตำบลนาตาล่วงเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงาน โดยจัดให้มีศูนย์ประสานงานกลางในการทำงาน และเป็นศูนย์กลางด้านข้อมูล
• มีการฝึกอบรมอาสาสมัครป้องกันภัยจำนวน 15 คน ให้มีความรู้ความชำนาญในการทำงาน
• มีอุปกรณ์เรือหนึ่งลำและอยู่ในระหว่างการจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นเพิ่มเติม เช่น อุปกรณ์สื่อสาร เครื่องครัว เครื่องมือก่อสร้าง อุปกรณ์กู้ภัย เป็นต้น
• มีระบบการประสานงานกับภาคีในพื้นที่ เช่น เทศบาลตำบลนาตาล่วง รพสต. เป็นต้น ตลอดจน การประสานกับภาคีภายนอกทั้งชุมชน (เครือข่ายภัยพิบัติจังหวัดตรัง) และเอกชน เช่น กลุ่มออฟโรส
• ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการจัดทำแผนรับมือภัยพิบัติ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรับมือกับภัยพิบัติ ทั้งก่อน ระหว่างและหลังภัยพิบัติ
()
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนจังหวัดสตูล งานเขียนพี่สุวัฒน์ คงแป้น.docx
-
63038_การประชุมเวทีเครือข่ายภัยพิบัติชุมชนอันดามัน จ.สตูล (1).docx
ประชุมปรึกษา
การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนจังหวัดสตูล
ปัจจัยที่นำไปสู่การเสี่ยงภัย 1. บริบทของพื้นที่ สภาพพื้นที่ของจังหวัดสตูลประกอบไปด้วย 4 ภูมินิเวศ ได้แก่ เขา ป่านา เล โดยมีเทือกเขาบรรทัดอยู่ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แล้วค่อยลาดต่ำจนถึงทะเล โดยมีลำน้ำหลายสายเป็นทางเดินของน้ำจากภูเขาสู่ทะเล เช่น คลองละงู เป็นต้น ในอดีตภูมิประเทศเช่นนี้ ก็ไม่ก่อให้เกิดภัยพิบัติ ที่จะมีความเสียหายได้มากนัก หากแต่ปัจจุบันสภาพป่าและพื้นที่เปลี่ยนไป เช่นป่าลดน้อยลง ไม่สามารถอุ้มน้ำได้ จึงก่อให้เกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมขัง 2. ปัจจุบันการทำเกษตรเปลี่ยนไป มีการใช้พื้นที่เชิงเขาซึ่งเป็นป่ามาปลูกพืชเชิงเดี่ยวมากขึ้น ตลอดจนการทำเกษตรกั้นขวางทางน้ำ เมื่อฝนตกจึงไม่มีป่าซับน้ำและพื้นที่ปลูก ยังขวางทางน้ำ ทำให้น้ำเปลี่ยนทิศเกิดน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม 3. การวางผังพัฒนาที่ไม่บูรณาการและขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชน มีการสร้างที่อยู่อาศัยและการก่อสร้างต่างๆทับที่ ซึ่งเคยเป็นแก้มลิงตามธรรมชาติ การสร้างถนนที่ไม่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ทำท่อระบบน้ำสูงกว่าน้ำที่ไหล ซึ่งไม่เอื้อต่อการจัดการน้ำ มีการจัดการอย่างไม่ถูกวิธี เช่น การขุดลอกคลอง ทำให้น้ำไหลเร็วและแรงในหน้าน้ำหลากและขาดน้ำในหน้าแล้ง ตลอดจนไม่มีการพัฒนาที่เก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง ก่อให้เกิดภัยแล้งตามมา 4. นอกจากนี้สภาวะโลกร้อนก็เป็นเหตุปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง จึงเกิดพายุหมุนขนาดเล็กเกิดขึ้นบ่อยครั้งเช่น พายุงวงช้าง ลมหัวด้วน ฯลฯ สร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สินบ้านเรือนและพืชผลการเกษตร
จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นส่งผลให้จังหวัดสตูลเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยหลายชนิด เช่น น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วม ภัยแล้ง และวาตะภัย
โดยปกติจังหวัดสตูลจะเกิดภัย 4 ประเภท เป็นเนืองนิดคือ น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง วาตะภัย และภัยแล้ง แต่ในอดีตบริเวณชายฝั่งอันดามัน เคยเกิดธรณีพิบัติสึนามิ ใน พ.ศ.2547 และมีแนวโน้มจะเกิดภัย อีก 2 ประเภท คือ บริเวณชายฝั่งอันดามัน มีปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง ที่กำลังจะเป็นปัญหามากขึ้น เนื่องจากโลกร้อนอุณหภูมิของน้ำสูงขึ้น ทำให้หญ้าทะเลซึ่งช่วยชะลอความเร็วของคลื่นตาย ส่วนพื้นที่ลาดชันตัดภูเขาบรรทัดทั้งด้านทิศเหนือและตะวันออก มีโอกาสที่จะเกิด ดินโคลนถล่ม เนื่องจากป่าไม้ถูกทำลายมากขึ้น
ประสบการณ์ในการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน
จังหวัดสตูลเคยประสบภัยพิบัติสำคัญอย่างน้อย คือ
1. การเกิดภัยน้ำท่วมในปี พ.ศ. 2543 เกิดขึ้นพร้อมกับน้ำท่วมใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ซึ่งชาวบ้านยังไม่มีประสบการณ์ในการรับมือภัยพิบัติ แต่ก็มีมูลนิธิอันดามันได้เข้ามาส่งเสริมให้ความรู้ด้านการเตือนภัยและการรับมือกับภัยพิบัติ เนื่องจากหลายตำบลเป็นพื้นที่ทำงานด้านประมงชายฝั่ง ร่วมกับมูลนิธิอันดามัน เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิต การออกทะเลหาปลา จึงมุ่งเน้นด้านการพยากรณ์อากาศการสื่อสารเตือนภัย ดำเนินการโดยกลุ่มประมงพื้นบ้านในแต่ละพื้นที่
2. การเกิดธรณีพิบัติสึนามิซึ่งมีองค์กรต่างๆ เข้ามาช่วยเหลือจำนวนมากและเนื่องจากเป็นเหตุที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนไม่มีความรู้จึงทำได้เพียงการฟื้นฟูหลังภัย แต่ก็ได้สร้างความตระหนักให้กับชาวบ้านเรื่องภัยพิบัติมากขึ้น
3. การเกิดน้ำท่วมใหญ่ ปี พ.ศ. 2554 มีทีมชาวบ้านกลุ่มประมงพื้นบ้าน เข้ามาหนุนช่วยให้ชาวบ้านจัดการตนเองและมีความเข้าใจในการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนมากขึ้น มีการจัดทำข้อมูลความเสี่ยง มีแกนนำชุมชนเยาวชนเป็นทีมอาสาทำงาน ทั้งระหว่างและหลังน้ำท่วม เกิดกลไกการทำงานร่วมกันระหว่างท้องที่กับชาวบ้านตลอดจนมีการฝึกอบรมอาสาภัยพิบัติ มีการแบ่งบทบาทความรับผิดชอบชุมชนกันอย่างชัดเจนและเป็นระบบ
อย่างไรก็ดีช่วงนี้แต่ละเครือข่ายเช่น ขอนคลาน กำแพง ละงู มีการกลับไปทำแผนของตนเอง แต่ก็ยังขาดการเชื่อมร้อยเป็นเครือข่ายระดับจังหวัดที่ชัดเจนเป็นลักษณะของเพื่อนช่วยเพื่อน พี่ช่วยน้อง
- หลังเกิดภัยพิบัติ ปี พ.ศ. 2561 มูลนิธิชุมชนไทไปเสริมเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายระดับจังหวัด และพัฒนาความเข้มแข็งเครือข่ายระดับพื้นที่ตำบล ตลอดจนขยายพื้นที่ ไปยังตำบลท่าแพและปัจจุบันได้ขยายครอบคลุมทั้งจังหวัด แต่พื้นที่ปฏิบัติการ มี 3 อำเภอ 4 ตำบล ได้แก่กำแพง ขอนคลาน ละงู และท่าแพ
- ปัจจุบันเกิดกลไกจังหวัดที่มีองค์ประกอบจากตัวแทนทุกอำเภอและภาคีต่างๆรวมทั้งตัวแทนพื้นที่ต้นแบบ และอยู่ระหว่างการจัดทำแผนพัฒนาระดับจังหวัดโดยมีแผนสำคัญ 5 ประการคือ • การประสานกับภาคี • การเป็นศูนย์กลางข้อมูลและประสานงาน • การจัดทำแผนขับเคลื่อนนโยบาย • การส่งเสริมให้มีการจัดทำแผนรับมือระดับพื้นที่และการขยายพื้นที่ปฏิบัติการ • แผนพัฒนากองทุนภัยพิบัติจังหวัด
อย่างไรก็ดีในการทำแผนงานพบว่ามีปัญหาอุปสรรคหลายประการ เช่น แกนนำมีเวลาว่างไม่พร้อมกัน ชาวบ้านยังไม่เข้าใจในการช่วยเหลือตนเองเบื้องต้น ต้องขยายแกนนำ ในหมู่บ้านเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชน
การแก้ปัญหาและป้องกันภัยการระบาดของ covid 19
ในเบื้องต้นจะใช้พื้นที่นำร่องการจัดการภัยพิบัติซึ่งได้รับงบประมาณจาก สสส. เป็นพื้นที่ปฏิบัติการ 3 อำเภอได้แก่ ท่าแพ ละงู และทุ่งหว้า มาเป็นแกนสำคัญในการวางแผน โดยมีอาสาสมัครป้องกันภัยและ อสม. เป็นกำลังสำคัญ ซึ่งมีแผนการทำงานดังนี้
1. มีการประชุมหารือร่วมกันระหว่างพื้นที่นำร่องกับภาคีต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับทีมงานและอาสาสมัคร
2. ทำข้อมูลประกอบการทำงาน เช่น คนเข้า-ออกพื้นที่ นำไปสู่การตั้งด่านสกัด โดยมีการส่งทีมอาสาสมัครไปประจำตามศูนย์ ทั้งศูนย์หลักและศูนย์ย่อยในหมู่บ้าน ยกเว้นขอนคลานที่ทำระดับตำบล
3. รณรงค์ให้มีการใช้หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ โดยท้องถิ่นทำร่วมกับชุมชน
4. ในระยะสั้นให้มีการสำรวจสิ่งจำเป็นในชีวิตที่ขาดแคลนพบว่า น้ำดื่มคือสิ่งสำคัญที่สุด ส่วนอาหารยังหาได้ในพื้นที่ จึงไม่มีความจำเป็นต้องจัดหาข้าวสารอาหารแห้ง
5. ในระยะยาวมีการจัดสร้างคลังอาหารในพื้นที่ โดยใช้นาร้าง หรือที่ว่างในหมู่บ้าน ปลูกผักเลี้ยงปลา ปลูกข้าว โดยแกนนำเล่าว่านี่คือแนวคิดในการทำสงครามกับโรคระบาดทุกโรค โดยทุกพื้นที่จะใช้อาสาสมัครป้องกันภัย ทำแผนขับเคลื่อนสาธารณสุขในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมกับ อบต. และท้องที่
6. จัดเวทีสรุปบทเรียนเพื่อพัฒนาเป็นแผนขับเคลื่อนสาธารณสุขของพื้นที่ ถือเป็นแนวทางต่อไป
รูปธรรมการจัดการภัยพิบัติบ้านโกตา
บ้านโกตา หมู่ที่ 7 ตำบลกำแพง อำเภอละงู มีสภาพเป็นที่ลุ่มรับน้ำ มีคลองละงูไหลผ่าน จึงเป็นพื้นที่ประสบภัยทั้งน้ำท่วมขัง และน้ำป่าไหลหลาก ซึ่งมีประสบการณ์ประสบภัยครั้งใหญ่ๆ หลายครั้ง
1. ประสบกับน้ำท่วมปี พ.ศ. 2543 ชาวบ้านยังไม่มีความรู้และประสบการณ์ในการรับมือกับภัยพิบัติ แต่หลังจากภัยพิบัติผ่านไป มีมูลนิธิอันดามัน เข้ามาส่งเสริมให้ความรู้ในการจัดการรับมือกับภัยพิบัติ โดยการจัดทำข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัย ข้อมูลกลุ่มเสี่ยง อาชีพ สัตว์เลี้ยง เพื่อนำไปสู่การวางแผนรับมือกับภัยพิบัติ จนชาวบ้านมีความเข้าใจมากขึ้น มีการตั้งทีมอาสาทั้งผู้ใหญ่และเยาวชน โดยมีทีม อสม. เป็นกำลังสำคัญ มีการฝึกซ้อมการป้องกันภัย ทั้งก่อนและหลังน้ำท่วม
หลังสึนามิ มีการตั้งกลไกการทำงานร่วมระหว่างทีมชาวบ้านกับท้องที่ โดยบ้านโกตา มีแกนนำท้องที่ที่เข้มแข็งมีการทำงานร่วมกับอย่างต่อเนื่อง มีการแบ่งบทบาทการทำงานกันอย่างชัดเจน ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์กับทีมภัยพิบัติ จากขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า และมีข้อตกลงร่วมกันว่าทั้งสองเครือข่ายจะกลับไปจัดทำแผนรับมือภัยพิบัติของตนเอง ก็ยังไม่มีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย
- กรณีน้ำท่วมใหญ่ ปี พ.ศ. 2554 ซึ่งถือเป็นบทเรียนครั้งสำคัญที่เครือข่ายได้ใช้ประสบการณ์ความรู้ที่สั่งสมออกมาใช้อย่างเต็มที่ ภัยครั้งนั้นทำให้น้ำท่วมขังเป็นเวลานานจนน้ำเน่าเหม็น คณะกรรมการจึงได้วางแผนระยะสั้นคือ การสูบน้ำออกจากพื้นที่และระยะยาวคือการสำรวจทางน้ำและขุดคูระบายน้ำ เนื่องจากทางสาธารณะไม่มีท่อระบายน้ำ
แต่เป็นโชคร้ายของชาวบ้าน ที่ปีนี้เกิดน้ำท่วมติดต่อกัน 2 ครั้ง คือเดือนสิงหาคมและเดือนกันยายน โดยเฉพาะอย่างยิ่งครั้งหลังนี้หนักมาก เพราะมีน้ำหลากมาจากเทือกเขาบรรทัดผ่านคลองละงู แต่ก็สามารถรู้ได้ล่วงหน้า จึงมีการดำเนินงานเป็นระบบมากขึ้นดังแผ่นภาพข้างล่าง
ผังแสดงการรับมือภัยพิบัติที่ 2554
จากการทำงานแม้จะขลุกขลักอยู่บ้าง แต่ก็สามารถจัดระบบ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ
มากขึ้น ตลอดจนมีการสรุปปัญหาอุปสรรคในการจัดการรับมือภัยพิบัติ เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนรับมือภัยพิบัติต่อไป เช่น ขาดน้ำดื่ม ไฟฟ้าดับ ทางน้ำเปลี่ยนทิศ ทางระบายน้ำตัน น้ำไหลไม่สะดวก มีการถมที่โดยไม่มีการวางท่อระบายน้ำเป็นต้น ที่สำคัญประสบการณ์ครั้งนี้นำไปสู่การวางแผนจัดการภัยพิบัติในระยะยาวหลายประการคือ
1. การสำรวจข้อมูล เพื่อวางแผนการระบายน้ำของชุมชน
2. ออกแบบคูระบายน้ำที่สอดคล้องกับพื้นที่
3. สำรวจมิเตอร์ไฟฟ้าทั้งหมด
4. การประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5. ระบบสื่อสารประชาสัมพันธ์ทั้งภายนอกและในชุมชน
6. แผนทำความเข้าใจให้ช่วยเหลือเบื้องต้นกันเองในครอบครัวและแผนการช่วยเหลือระดับชุมชน
7. การสร้างทีมอาสาสมัคร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "กิจกรรมเพื่อเยาวชนจิตอาสา"
8. การจัดหาอุปกรณ์ป้องกันภัย อุปกรณ์ทำความสะอาดบ้านเรือน
9. พื้นที่หลบภัย ศูนย์บัญชาการและพื้นที่ประกอบอาหาร
10. การจัดตั้งกองทุนภัยพิบัติในหมู่บ้าน
- การร่วมงานกับมูลนิธิชุมชนไท หลังปี พ.ศ. 2561 โดยการทำงานร่วมกัน ทำให้ชาวบ้านโกตาได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับชาวบ้านที่ทำงานด้านภัยพิบัติทั้งประเทศ มีภาคีเพิ่มขึ้น ได้ความรู้และประสบการณ์เพิ่มขึ้น และที่สำคัญมีแรงจูงใจในการพัฒนาทีมงานและแผนรับมือภัยพิบัติทั้งหมู่บ้านอย่างเป็นระบบมากขึ้น (ดูภาพประกอบ:แผนผังรับมือภัยพิบัติบ้านโกตา)
()