สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ นราธิวาส

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ นราธิวาส
ภายใต้โครงการ เกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ
ภายใต้องค์กร สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)
รหัสโครงการ -
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 31 พฤษภาคม 2564
แหล่งทุน
ไม่ระบุ
งบประมาณ 302,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สนส.ม.อ.
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซูวารี มอซู
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. พื้นที่เป้าหมาย
จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
นราธิวาส place directions
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานประเด็นความมั่นคงอาหาร:ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้  ของคณะทำงานศึกษาและพัฒนาข้อเสนอพัฒนาระบบเกษตร
และอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ และคณะทำงานยุทธศาสตร์ กขป.ภาคใต้ จากเวทีสร้างสุขภาคใต้ ปี 2562 ภายใต้หลักคิดสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ อธิปไตยทางอาหาร สร้างหลักประกันในชีวิต จัดความสัมพันธ์ใหม่  โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ ความมั่นคงทางอาหารและชีวิตพลเมืองฅนใต้  มีประเด็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ 6 ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่ เพื่อนำเข้า การพัฒนาระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ ตั้งอยู่ภายใต้หลักคิดสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ อธิปไตยทางอาหาร ด้วยการส่งเสริมสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรให้เกิดความสมดุลยั่งยืน มีระบบจัดการผลผลิตที่เกื้อกูลและเหมาะสมกับบริบทพื้นที่ เพื่อให้มีปริมาณอาหารที่เพียงพอ มีคุณภาพอาหารปลอดภัย สร้างหลักประกันในชีวิต ด้วยการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ มีหลักประกันทางรายได้และสวัสดิการ สวัสดิภาพ มีความมั่นคงทางสุขภาพแก่พลเมืองฅนใต้ จัดความสัมพันธ์ใหม่ ปรับกระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดหรือสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน ระหว่างชุมชนท้องถิ่นกับหน่วยงานองค์กรภาครัฐและเอกชน ระหว่างกลุ่มองค์กรเครือข่ายด้วยกัน มีความเคารพศักดิ์ครีความเป็นมนุษย์ต่อกันด้วยหลักปฏิบัติ “คิดเอื้อ คิดเผื่อ เพื่อนช่วยเพื่อน พี่ดูแลน้อง ” และแบ่งปันผลประโยชน์ที่เหมาะสม เท่าเทียม เป็นธรรม ด้วยความพึงพอใจร่วมกันของหุ้นส่วนผลประโยชน์ตน ประโยชน์สาธารณะ  จากฐานหลักคิดข้างต้นเพื่อให้เกิดหรือบรรลุเป้าหมายร่วมกัน คือ ความมั่นคงทางอาหารและชีวิตพลเมืองฅนใต้ จำเป็นต้องมีประเด็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ 7 แนวทาง/ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) การพัฒนาระบบและกลไกขับเคลื่อนระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ ทำหน้าที่ในการติดตาม ผลักดันแผนยุทธศาสตร์และข้อเสนอเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติตามศักยภาพและโอกาสที่เอื้ออำนวย ด้วยยุทธวิธีสำคัญ เช่น การสร้างความรอบรู้ด้านอาหารศึกษาและบริโภคศึกษาแก่ประชาชนพลเมือง ติดตามทบทวนแผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ให้เหมาะสมกับภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร และประยุกต์ใช้กระบวนการธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่ ประกาศเขตเกษตรสุขภาพ (พื้นที่คุ้มครองทางเกษตรกรรมสุขภาพ) ในระดับพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นต่าง ๆ และการสร้างความเข้มแข็งแก่สถาบันเกษตรกรให้เป็นเสาหลักของชุมชนท้องถิ่น พร้อมการเชื่อมโยงประสานเครือข่ายในระดับท้องถิ่น จังหวัดหรือภูมิภาคให้เป็นพลังสร้างการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย 2) การพัฒนาระบบเกษตรสุขภาพที่สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เกษตรยั่งยืน วนเกษตร เกษตรธรรมชาติ (mao) ธนาคารต้นไม้ เกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัย เกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ และ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประมงชายฝั่ง) โดยส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานและเพิ่มมูลผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานโดยหลักอาชีวอนามัย การส่งเสริมการผลิตเกษตรปลอดสารอาหารปลอดภัย การเฝ้าระวังสารเคมีเกษตรและอาหารปลอดภัย การส่งเสริมสนับสนุนและขยายผลให้ต้นไม้เป็นทรัพย์และหลักประกันในชีวิตเพื่อรองรับสังคมสูงวัย เป็นต้น 3) เสริมสร้างสุขภาวะชาวสวนยางและปาล์มน้ำมัน โดยการส่งเสริมวิจัยและพัฒนา เพิ่มมูลค่าในกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์จากปาล์มน้ำมันและยางพารา ให้แก่กลุ่มเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบการ การส่งเสริมและสนับสนุนสวนยางยั่งยืน ส่งเสริมการปรับวิถีการผลิตปาล์มน้ำมันแบบผสมผสานและเพิ่มประสิทธิการจัดการแปลง การส่งเสริมและขยายผลสวนเกษตรธาตุสี่หรือสวนสมรม สร้างมาตรการส่งเสริมการออมและสวัสดิการเพื่อเป็นหลักประกันในชีวิตแก่ชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน เป็นต้น 4) การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมและพืชอัตลักษณ์ถิ่น โดยการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์ ให้คงอยู่เป็นฐานทรัพยากรกับชุมชนท้องถิ่น การส่งเสริมธนาคารเมล็ดพันธุ์และพันธุกรรมถิ่น การวิจัยและพัฒนาสมุนไพรเพื่อสุขภาพและการแพทย์ประจำถิ่น เช่น กัญชาเพื่อการแพทย์ กระท่อมชูกำลัง ขมิ้นถิ่นใต้ ฯ การพัฒนาต่อยอดพืชอัตลักษณ์ถิ่นให้เกิดมูลค่าและคุณค่าเพิ่มขึ้น เช่น กล้วยเล็บมือนางชุมพร ข้าวสังข์หยดพัทลุง ข้าวเหลืองปะทิว ส้มโอทับทิมสยาม เป็นต้น 5) การอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมที่สมดุลยั่งยืน โดยการขยายผลการสร้างฝายมีชีวิตและการจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม การอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาทรัพยากรดิน น้ำ ป่า และสภาพแวดล้อม การพัฒนากลไกเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศแบบมีส่วนร่วม การประเมินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) เป็นต้น 6) สุขภาวะชาวประมง โดยมีแนวทางสำคัญ เช่น มาตรการคุ้มครองพื้นที่สัวต์น้ำและประมงชายฝั่ง ธนาคารอาหารสัตว์น้ำ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าประมง ฯ 7)เพิ่มประสิทธิการบริหารจัดการตลาดให้เกิดการลดช่องว่างระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค โดย เสริมสร้างการเชื่อมโยงการจัดการของกลุ่มผู้ผลิตเกษตรสุขภาพกับผู้ประกอบการท่องเที่ยวหรือกลุ่มท่องเที่ยวชุมชน การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการภาคเกษตร (เกษตรกรมืออาชีพ เกษตรกรรุ่นใหม่ ครัวเรือนพอเพียง ผู้ประกอบการครัวเรือน ) สร้างและพัฒนาโอกาสบริหารจัดการตลาดชุมชนท้องถิ่น ตลาดทั่วไป ตลาดออนไลน์แก่ผู้ประกอบการ การยกระดับการตลาดด้วยเชื่อมโยงจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) การค้าการลงทุนหรือการร่วมทุน ระหว่างผู้ประกอบการกับหุ้นส่วนทางธุรกิจ ซึ่งจังหวัดนราธิวาส..............................

stars
6. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

การดำเนินงานประเด็นความมั่นคงอาหาร:ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ ของคณะทำงานศึกษาและพัฒนาข้อเสนอพัฒนาระบบเกษตร
และอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ และคณะทำงานยุทธศาสตร์ กขป.ภาคใต้ จากเวทีสร้างสุขภาคใต้ ปี 2562 ภายใต้หลักคิดสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ อธิปไตยทางอาหาร สร้างหลักประกันในชีวิต จัดความสัมพันธ์ใหม่ โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ ความมั่นคงทางอาหารและชีวิตพลเมืองฅนใต้ นั้นได้สอดคล้องกับศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (สนส.มอ.) ที่สนับสนุนการขยายผลการดำเนินงานของความมั่นคงทางอาหาร ในระยะที่ 3 โครงการมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้

  1. คณะทำงานโครงการทำความร่วมมือกับเครือข่ายเพื่อจัดทำ road map ในการขยายผล model พืชร่วมยาง (เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่ กยท. นักวิชาการ ร่วมคัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย และพัฒนารูปแบบวนเกษตร เกษตรผสมผสานในสวนยาง หรือพืชร่วมยาง เพื่อนำไปให้เกษตรกรไปปรับใช้)
  2. คณะทำงานโครงการร่วมกับ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) พัฒนาศักยภาพเกษตรกร ด้านวนเกษตร เกษตรผสมผสานในสวนยาง หรือพืชร่วมยางเกษตรกร
  3. เครือข่ายนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มรท.ศรีวิชัยนครศรีธรรมราช ม.อ.สุราษฎร์ธานี ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่ และถอดบทเรียน เพื่อจัดทำร่างยุทธศาสตร์ในการขยายผลรูปแบบพืชร่วมยาง 4). นักวิชาการประเมินและวิเคราะห์รูปแบบพืชร่วมยบาง วนเกษตร ฯ จากแปลงต้นแบบของเกษตรกรที่มีการนำร่องนำรูปแบบไปใช้ เพื่อพัฒนารูปแบบ ฯ ให้เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่แต่ละจังหวัด
  4. คณะทำงานทำความร่วมมือกับ กยท. ในการผลักดันนโยบายแนวทางการทำวนเกษตร เกษตรผสมผสานในสวนยาง หรือพืชร่วมยาง (แบบ 5)
  5. คณะทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดเวทีนโยบายเรื่องพืชร่วมยางและทำความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายและการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบพืชร่วมยาง วนเกษตร ผสมผสานในสวนยาง หรือพืชร่วมยาง เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ
  6. คณะทำงานร่วมกับภาครีเครือข่าย เช่นเกษตรจังหวัด เกษตรและสหกรณ์จังหวัด เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ภาคใต้ในการขยายผลการการทำยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์สู่การทำเกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ ในพื้นที่นำร่อง 4 จังหวัด
  7. คณะทำงานร่วมกับภาคียุทธศาสตร์จัดทำยุทธศาสตร์ เกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ นครศรีธรรมราช ชุมพร ระนอง และนราธิวาส
  8. คณะทำงานร่วมกับภาคียุทธศาสตร์ประชุมคณะทำงาน เพื่อเตรียมร่างรับฟังความเห็นยุทธศาสตร์ เกษตรอินทรีย์ ในจังหวัดเป้าหมาย
  9. คณะทำงานทำความร่วมมือกับท้องถิ่นจังหวัดเป้าหมายในการขยายผลและสร้างปฏิบัติรูปแบบการดำเนินงานตำบลบูรณาการระบบอาหารในระดับตำบล ในพื้นที่ภาคใต้ จำนวน โซนละ 1 จังหวัด รวม 4 จังหวัด (ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช และนราธิวาส)
  10. คณะทำงานร่วมกับภาคียุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยง และผู้เกี่ยวข้องในการขยายผลตำบลบูรณาการ
  11. คณะทำงานจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มแกนนำ 4 จังหวัด รวม 40 ตำบล ตำบลละ 3 คน เพื่อเรียนรู้การปฏิบัติการ ดำเนินงานตำบลบูรณาการอาหาร
  12. คณะทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายอาหารระดับ14 จังหวัดภาคใต้ จัดเวทีนโยบายประเด็นระบบอาหารระดับภาค จากการทบทวนบทเรียนและสถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารของพื้นที่ ของคณะทำงานฯ จึงมีกรอบการดำเนินงานเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยเชื่อมโยงประเด็นการขับเคลื่อนขยายผลพืชร่วมยาง ตำบลบูรณาการอาหาร ยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัด ให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ซึ่งยึดหลักการพัฒนาใช้ฐานพื้นที่เป็นตัวตั้ง อันเป็นการสร้างตัวอย่างหรือรูปแบบภาคใต้แห่งความสุข โดยมีกรอบการดำเนินงานระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้
stars
7. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความร่วมมือกับท้องถิ่นจังหวัด/กลไกพัฒนาการดำเนินงานกองทุนท้องถิ่นในพื้นที่

มีเครือข่าย/คณะทำงานความร่วมมือในการขับเคลื่อนงานระบบอาหารในภาคใต้อย่างน้อย 4 เครือข่าย

0.00
stars
8. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
9. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 75 185,000.00 3 135,516.00
29 ต.ค. 63 ประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนราธิวาส ประเด็นข้าว 0 50,000.00 34,002.00
3 ก.พ. 64 ประชุมปรึกษาหารือแนวทางการดำเนินงานแผนงานยุทธศาสตร์อาหารจังหวัดนราธิวาสร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส 25 35,000.00 29,150.00
24 - 25 มี.ค. 64 ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนปฏิบัติการและโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนราธิวาส 50 100,000.00 72,364.00

1)วงปรึกษาหารือการจัดทำยุทธศาสตร์ของคณะทำงานและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง 2)ปฏิบัติการจัดทำยุทธศาสตร์ระดับพื้นที่/จังหวัด โดยดำเนินการดังนี้ 1) รวบรวม ทบทวน ศึกษาข้อมูลสถานการณ์ องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องและ Mapping คน กลุ่มองค์กรหรือพื้นที่ปฏิบัติการ และ/หรือตามชนิดประเภทการเกษตร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2)จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอข้อมูลสถานการณ์และบทเรียน/กลวิธีสำคัญ ในระดับพื้นที่หรือกลุ่มเครือข่ายเชิงประเด็น เพื่อรับฟังความเห็นประกอบการยกร่างยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ 3) คณะทำงานประมวลสังเคราะห์ร่างยุทธศาสตร์ฯ 3)คณะทำงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน /ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานและร่วมพิจารณา ร่างยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ ในระดับจังหวัด 4) เวทีรับฟังความเห็นจากผู้แทนเกษตรกรและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ร่วมพิจารณา ร่างยุทธศาสตร์ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ ในระดับจังหวัด
5) ร่วมติดตามและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ (เวทีรับฟังความเห็นภาคใต้) ของคณะทำงานและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับภาคใต้ จำนวน 3 ครั้ง และการออกแบบการขับเคลื่อน ผลักดันแผนยุทธศาสตร์ในระดับภาค

stars
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) เกิดกลไกหรือเครือข่ายความร่วมมือในการสนับสนุนระบบเกษตรและอาหารระดับภาคใต้ 2) มีข้อเสนอและแผนยุทธศาสตร์ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ 3) มีพื้นที่ปฏิบัติการขับเคลื่อนสนับสนุนระบบเกษตรและอาหารระดับภาคใต้

stars
11. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2563 15:06 น.