โครงการการพัฒนารูปแบบในการสร้างเสริมสมรรถนะของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ต่อการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรณีสามจังหวัดชายแดนใต้
ชื่อโครงการ | โครงการการพัฒนารูปแบบในการสร้างเสริมสมรรถนะของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ต่อการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรณีสามจังหวัดชายแดนใต้ |
ภายใต้โครงการ | แผนงาน สนส. |
ภายใต้องค์กร | สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) |
รหัสโครงการ | 64-00-1060 |
วันที่อนุมัติ | 15 ตุลาคม 2564 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 15 ตุลาคม 2564 - 14 พฤษภาคม 2566 |
แหล่งทุน |
ไม่ระบุ
|
งบประมาณ | 3,484,772.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ดร.ซอฟียะห์ นิมะ |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|
สงขลา | place directions |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 15 ต.ค. 2564 | 14 เม.ย. 2565 | 1,148,360.00 | |||
2 | 15 เม.ย. 2565 | 14 ต.ค. 2565 | 1,219,752.00 | |||
3 | 15 ต.ค. 2565 | 15 มี.ค. 2566 | 1,084,510.00 | |||
รวมงบประมาณ | 3,452,622.00 |
คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (3,452,622.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (3,484,772.00 บาท)
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สามจังหวัดชายแดนใต้ เป็นพื้นที่มีอาณาเขตติดชายแดนประเทศมาเลเซียประกอบด้วยจังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส มีการปกครองส่วนภูมิภาคประกอบด้วย 33 อำเภอ 250 ตำบล และ 2,120 หมู่บ้าน ส่วนการปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบด้วย 3 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 49 เทศบาล และ 215 องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม พุทธ และคริสต์ เป็นสัดส่วนตามลำดับ จัดเป็นพื้นที่พิเศษที่ดำรงอยู่ภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบ (unrest situation) อันเป็นปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่มีพื้นฐานมาจากภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ระหว่างรัฐไทยและชาติพันธุ์มลายูในอดีตและก่อเกิดการปะทะขึ้นใหม่อีกครั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน[1] ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาสถานการณ์ความไม่สงบได้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน คุณภาพชีวิต ความซบเซาทางเศรษฐกิจ และวิถีสังคมโดยรวม ทำให้ประชากรประมาณ 1 ใน 3 เป็นคนจนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศถึง 3.8 เท่า โดยสัดส่วนคนจนเฉลี่ยทั่วประเทศ ร้อยละ 8.6 ถือเป็นกลุ่มจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงถึงร้อยละ 32.8 ของประชากรทั้งหมดในภาคใต้และมีความยากจนสูงที่สุดในประเทศไทย[2] ล่าสุด ผลการสำรวจในปี พ.ศ. 2562 พบว่า ภูมิภาคที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุดยังคงเป็นภาคใต้ (ร้อยละ 11.27) ในขณะที่ภาพรวมของประเทศ ปัญหาความยากจนได้ลดลงเกือบทุกจังหวัด แต่ยังมีอีกหลายจังหวัดที่มีสัดส่วนคนยากจนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจังหวัดปัตตานียังคงเป็นจังหวัดที่ยากจนเรื้อรังและยากจนยาวนานที่สุดในประเทศไทย คือมีสัดส่วนคนจนเท่ากับร้อยละ 29.72 รองลงมาได้แก่ จังหวัดนราธิวาสที่มีสัดส่วนคนจนร้อยละ 25.53 ในปี 2562 [3] และเมื่อย้อนไปเมื่อ 10 ปีที่แล้วในปี พ.ศ. 2554 จังหวัดปัตตานีมีเส้นความยากจนต่ำที่สุดใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ คือ 1,455 (บาท/คน/เดือน) [4] ส่วนจังหวัดยะลาเคยเป็นจังหวัดที่มีความยากจนลำดับที่ 5 ของประเทศในปี พ.ศ. 2558 ที่มีสัดส่วนคนจนร้อยละ 21.34 ปัจจุบันจังหวัดยะลาเป็นเพียงจังหวัดเดียวในสามจังหวัดชายแดนใต้ที่ไม่ถูกจัดเป็นกลุ่มยากจนเรื้อรัง ทั้งนี้ จากความรุนแรงของภาวะยากจนเรื้อรังเหล่านี้นำไปสู่ความยากจนในมิติอื่น ๆ ในเด็กด้วยเสมอ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่เติบโตมาจากภูมิลำเนาในสามจังหวัดจะมีความยากจนทั้งในมิติการศึกษา มิติสุขภาพ มิติมาตรฐานความเป็นอยู่ และมิติสวัสดิภาพของเด็กในพื้นที่ [5] โดยเด็กที่อยู่ในชนบทมีสัดส่วนคนจนและความรุนแรงของปัญหาความยากจนสูงกว่าในเขตเมืองในทุกมิติ เช่น มิติทางการศึกษา (educational dimension) ที่พบว่า ปัญหาของความยากจนทำให้เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษากลางคัน ด้วยเหตุที่ต้องหาเลี้ยงครอบครัว มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และอัตราการศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้นจะต่ำลงเรื่อย ๆ รองลงมาเป็นปัญหาการปรับตัวของเด็ก ปัญหาในครอบครัว และการสมรส หรือการตั้งครรภ์ รวมทั้งตัวชี้วัด มิติอื่น ๆ ก็ลดต่ำลงด้วย ได้แก่ ด้านโภชนาการ ที่เด็กมีภาวะขาดสารอาหารและพัฒนาการไม่สมวัยในมิติด้านสุขภาพ (health dimension) การคุ้มครองและความเป็นอยู่ในมิติด้านสวัสดิภาพเด็ก (living conditions) และสภาพที่อยู่อาศัยในมิติมาตรฐานความเป็นอยู่ [5] สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนท่ามกลางการคุ้มเข้มของกำลังทหารภายใต้การบังคับใช้กฎหมายทั้งหมด 3 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2547 พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 กลายเป็นเครื่องมือที่ถูกใช้เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับเจ้าหน้าที่ในการจัดการกับปัญหาความขัดแย้งโดยเฉพาะการควบคุมประชาชนในพื้นที่ โดยรัฐบาลมีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทั้งสามจังหวัดในทุก ๆ 3 เดือนต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนั้น กลับพบปัญหาการลิดรอนสิทธิและเสรีภาพต่อการใช้ชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ด้าน [6] การสร้างความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหา [7] และกระทบต่อเศรษฐกิจครัวเรือนในการออกไปประกอบอาชีพในยามวิกาล เช่น การกรีดยางและการประมงชายฝั่ง ในขณะเดียวกัน กลับพบสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ใบกระท่อม รองลงมา คือ ยาบ้า เข้ามาในชุมชนอย่างล้นหลาม โดยขบวนการค้ายาเสพติดในพื้นที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้มีอิทธิพลอื่น เช่น ค้าของหนีภาษี การพนัน และค้ามนุษย์ [8] ทำให้มีวัยรุ่นชายส่วนหนึ่งจึงกลายเป็นทั้งผู้เสพและผู้ค้า ที่พบสถิติการจับกุมดำเนินคดีส่งไปยังสถานพินิจและสถานบำบัดยาเสพติด ส่วนวัยรุ่นหญิงหลายครอบครัวต้องมีชีวิตอย่างยากลำบาก เมื่อผู้นำครอบครัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบและความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ หลายคนถูกจับกุม ดำเนินดคี และถูกคุมขัง หรือบางรายอาจเสียชีวิต ทำให้วัยรุ่นอยู่ในสภาวะความพลัดพรากและความสูญเสียมีมากถึง 5,289 คน [9] บางคนไม่ได้เรียนหนังสือต่อและออกจากบ้านไปทำงาน โดยจะต้องทำทุกอย่างเพื่อมีชีวิตรอดแม้กระทั่งการขายประเวณี หรือ บางส่วนมีการแต่งงานท่ามกลางความไม่พร้อมเนื่องจากการบังคับของครอบครัว [9] ดังนั้นปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (social determinant of health) ต่อปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นในจังหวัดชายแดนใต้นั้น มีลักษณะเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่เกิดจากความสลับซับซ้อน (complexity) ของปัญหาทางสังคมด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองระดับประเทศและความสัมพันธ์ที่มีความขัดแย้งในระดับพื้นที่ โครงสร้างสังคมแบบทุนนิยม ที่นำมาซึ่งช่องว่างทางเศรษฐกิจและสังคม ปัญหาความยากจน การกระจายรายได้และความเจริญที่ไม่เท่าเทียมทั่วถึง ผลกระทบต่อสุขภาวะเด็กมากมาย จากการไม่ได้รับการคุ้มครองต่อ (1) สิทธิในการอยู่รอด (2) สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง (3) สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา และ (4) สิทธิในการมีส่วนร่วม สิทธิเหล่านี้ บางครั้งไม่ได้ปรากฏในรายงานของรัฐและทำให้เด็กที่ได้รับผลกระทบไม่ได้รับการดูแลและเยียวยาอย่างเหมาะสม
ปัจจัยนำเข้า (Input) 1.1) กลไกดำเนินงานในแต่ละระดับ ประกอบด้วย 1) คณะทำงานระดับพื้นที่จาก 5 กระทรวงหลัก 2) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) 3) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (พชต.) 1.2) เครือข่ายดำเนินงานร่วม ประกอบด้วย 1) องค์กรภาครัฐ/เอกชน/สื่อท้องถิ่น 2) ภาคประชาสังคม 3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4) สมาคม กลุ่ม ชมรมในพื้นที่ 1.3) ทรัพยากร ทุนทางสังคม และงบประมาณของพื้นที่ เช่น กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และ กองทุนหมู่บ้าน
การจัดกระบวนการทำงาน (Process) ยึดโยงกันด้วยหลัก 4Cs คือ 2.1) การเชื่อมประสานระหว่างเครือข่าย (Co-ordination) ได้แก่ การประชุมหารือ ประสานแผนและข้อมูล มีข้อตกลงร่วมกัน (MOU) 2.2) การร่วมมือในการปฏิบัติงาน (Co-operation) ได้แก่ การระดมพลัง (power storming) คือ การสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน บนพื้นฐานขอบเขตและความรับผิดชอบของหน่วยงานตนเอง 2.3) การสานพลังทุกภาคส่วน (Collaboration) การทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรในลักษณะของพันธมิตรหรือหุ้นส่วนดำเนินงาน (partners) แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ จัดทำข้อตกลง แบ่งสรรทรัพยากร (บุคคล งบประมาณ) และออกนโยบาย 2.4) การสร้างสรรค์วัตกรรมการทำงานร่วมกัน (Co-Creation)
ด้านผลผลิตและผลลัพธ์การดำเนินงาน (Outcomes) คือ
1) ได้รูปแบบการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือแบบเครือข่าย: พื้นที่มีแผนงานและโครงการรองรับการสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่น เช่น ด้านการให้ข้อมูลเพื่อเข้าถึงสิทธิ ด้านบริการอนามัยเจริญพันธุ์ ด้านจัดระบบการส่งต่อ และด้านการติดตามคุณภาพชีวิต
2) ได้การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในแต่ละระดับ (3As) คือ การกำหนดเป็นวาระเพื่อการขับเคลื่อน (Public Agenda) การสื่อสารสาธารณะ (Media Advocacy) และ การขับเคลื่อนโยบาย (Policy Advocacy)
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานแบบเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพในจังหวัดชายแดนใต้
|
0.00 | |
2 | เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นภายใต้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ ที่สอดคล้องกับภูมิสังคมและวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนใต้
|
0.00 |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | |||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 318 | 250,500.00 | 16 | 172,462.00 | |
15 ต.ค. 64 | ประชุมคณะทีมงาน ครั้งที่ 1 | 5 | 2,500.00 | ✔ | 0.00 | |
15 ต.ค. 64 | ประชุมคณะทีมงาน ครั้งที่ 2 | 6 | 2,500.00 | ✔ | 0.00 | |
22 ต.ค. 64 | ประชุมคณะทีมงาน ครั้งที่ 3 | 6 | 2,500.00 | ✔ | 0.00 | |
29 ต.ค. 64 | ประชุมคณะกรรมการกำกับทิศ ครั้งที่ 1 | 20 | 20,000.00 | ✔ | 11,911.00 | |
29 ต.ค. 64 | ประชุมทีมงานครั้งที่ 4 | 6 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
3 พ.ย. 64 | ประชุมทีมพี่เลี้ยงโครงการเดิม | 10 | 5,000.00 | ✔ | 7,132.00 | |
11 พ.ย. 64 | ประชุมเสวนาแลกเปลี่ยน กลุ่มสสอ.และสสจ.ในประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของจังหวัดชายแดนใต้ รอบที่ 1 | 30 | 15,000.00 | ✔ | 10,300.00 | |
18 พ.ย. 64 | ประชุมเสวนาแลกเปลี่ยน กลุ่มสสอ.และสสจ.ในประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของจังหวัดชายแดนใต้ รอบที่ 2 | 30 | 15,000.00 | ✔ | 10,337.00 | |
25 พ.ย. 64 | ประชุมเสวนาแลกเปลี่ยน กลุ่มสสอ.และสสจ.ในประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของจังหวัดชายแดนใต้ รอบที่ 3 | 25 | 15,000.00 | ✔ | 7,400.00 | |
3 ธ.ค. 64 | ประชุมหารือเข้าพบนายอำเภอธารโต จ.ยะลา | 30 | 30,000.00 | ✔ | 22,635.00 | |
8 ธ.ค. 64 | ประชุมหารือเข้าพบนายอำเภอโคกโพธิ์ จ.ปัตตานี | 25 | 30,000.00 | ✔ | 17,158.00 | |
13 ธ.ค. 64 | ประชุมหารือเข้าพบสสอ.ตากใบ จ.นราธิวาส | 25 | 30,000.00 | ✔ | 15,426.00 | |
16 ธ.ค. 64 | ประชุมหารือเข้าพบนายอำเภอแม่ลาน จ.ปัตตานี | 25 | 20,000.00 | ✔ | 10,444.00 | |
22 ธ.ค. 64 | ประชุมหารือ สสอ.ยะรัง จ.ปัตตานี | 25 | 3,000.00 | ✔ | 20,557.00 | |
29 ธ.ค. 64 | ประชุมหารือเข้าพบนายอำเภอแว้ง จ.นราธิวาส | 25 | 30,000.00 | ✔ | 24,135.00 | |
30 ธ.ค. 64 | ประชุมหารือเข้าพบนายอำเภอกาบัง จ.ยะลา | 25 | 30,000.00 | ✔ | 15,027.00 |
1) ได้รูปแบบการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือแบบเครือข่าย: พื้นที่มีแผนงานและโครงการรองรับการสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่น เช่น ด้านการให้ข้อมูลเพื่อเข้าถึงสิทธิ ด้านบริการอนามัยเจริญพันธุ์ ด้านจัดระบบการส่งต่อ และด้านการติดตามคุณภาพชีวิต
2) ได้การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในแต่ละระดับ (3As) คือ การกำหนดเป็นวาระเพื่อการขับเคลื่อน (Public Agenda) การสื่อสารสาธารณะ (Media Advocacy) และ การขับเคลื่อนโยบาย (Policy Advocacy)
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2564 16:28 น.