โครงการการพัฒนารูปแบบในการสร้างเสริมสมรรถนะของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ต่อการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรณีสามจังหวัดชายแดนใต้
หารือการดำเนินงานโครงการและชี้แจงรายละเอียดโครงการ พื้นที่อำเภอธารโต จ.ยะลา
ประชุมหารือโครงการการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ กรณีจังหวัดชายแดนใต้ พื้นที่อำเภอธารโต จังหวัดยะลา ในวันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม 2564 ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอธารโต จังหวัดยะลา
วัตถุประสงค์
เพื่อหารือการดำเนินงานโครงการและชี้แจงรายละเอียดโครงการ พื้นที่อำเภอธารโต จ.ยะลา สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน
โดย ดร.ซอฟียะห์ นิมะ หัวหน้าโครงการร่วมพบปะหารือกับท่านปลัดอาวุโสอำเภอธารโต นายอาวุธ เลิศเดชานนท์ ท่านสาธารณะสุขอำเภอธารโต นายพอซี เดะแอ ตัวแทนจากสาธารณสุขอำเภอธารโต ตัวแทนรพ.สต. และตัวแทนองค์กรปกครงส่วนท้องถิ่นธารโต ถึงการร่วมดำเนินการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
อำเภอธารโต มี 4 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลธารโต 7 หมู่บ้าน ตำบลบ้านแหร 11 หมู่บ้าน ตำบลแม่หวาด 12 หมู่บ้าน และตำบลคีรีเขต 7 หมู่บ้าน รวมทั้งหมด 37 หมู่บ้าน มีประชากรรวมทั้งหมด 22,095 คน มีจำนวนสตรีตั้งครรภ์ 202 คน
ปัญหาที่พบเกี่ยวกับประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในพื้นที่ ประกอบด้วย - การไม่ได้เรียนหนังสือ ทำให้วัยรุ่นขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเพศ โดยเฉพาะวัยรุ่นที่มีแฟนหรือคนรักหากไม่รู้จักปฏิเสธเมื่อถูกขอ มีค่านิยมสมัยใหม่ที่ผิดๆ เกี่ยวกับเรื่องเพศ - การอยู่ห่างจากพ่อแม่ผู้ปกครอง การมีแฟนเร็ว การเที่ยวสถานเรื่องรมย์ การเที่ยวงานปาร์ตี้ต่างๆ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ - ปัญหายาเสพติดทำให้ขาดสติ เมื่ออยู่สองคนระหว่างชายกับหญิงในที่ลับตาคนและบรรยากาศพาไปให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์ได้ - ด้านสถาบันครอบครัวและศาสนาที่ทุกวันนี้เริ่มอ่อนแอลง
การแก้ปัญหา - หากตั้งครรภ์มาแล้ว จะมีการดูแลเยียวยาอย่างไร - การตั้งครรภ์ซ้ำ จะมีหน่วยงานใดมาสนับสนุนหรือไม่ หน่วยงานเข้ามาดูแลอย่างไร
ประเด็นการเลือกพื้นที่ของปัญหา ปัญหาที่พบในตำบลคีรีเขต
ปี พ.ศ. 2564 พบปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ จำนวน 180 คน หรืออัตราการตั้งครรภ์ 11:11 (ผู้หญิงอายุ 15-19 ปี) มีการตั้งครรภ์ซ้ำ 18 คน หรือร้อยละ 27.8 และตำบลคีรีเขตเคยมีกิจกรรมแก้ปัญหาในการตั้งครรภ์ในพื้นที่มาก่อน ซึ่งในตำบลยังไม่เกิดปัญหาอย่างรุนแรงมากนักแต่อาจมีการวางแผนเพื่อป้องกันไว้ก่อน ยกตัวอย่างเช่น การลดความรุนแรงของปัญหา, การสร้างเครือข่าย, การพัฒนาศักยภาพของ พชอ.
ปัญหาที่พบในตำบลแม่หวาด
ตำบลแม่หวาดเป็นตำบลที่มีงบประมาณเข้ามาในหมู่บ้านมากที่สุด และมีจำนวนหมู่บ้านเยอะที่สุด คือ 12 หมู่บ้าน รวมทั้งมีประชากรมากที่สุด
กรณีเลือกตำบลคีรีเขตให้เป็นพื้นที่นำร่อง เพราะ - ประสบการณ์ของทีมงาน - มีเครือข่ายที่เป็นทุนเดิม ต้นทุนของพื้นที่ เช่น กศน. - มีปัจจัยทางสังคม - เครือข่ายสุขภาพ - ความร่วมมือของผู้นำ (ท้องถิ่น, ท้องที่)
การกำหนดเป้าหมายของพื้นที่นำร่อง จะมีการออกแบบดำเนินงานในพื้นที่ร่วมกันกับบังอานัติ ดังนี้ - พัฒนาศักยภาพของที่ทำงาน - มีการแลกเปลี่ยนบทเรียน/ประสบการณ์ของพื้นที่อื่น - กระบวนการหนุนเสริม เช่น การจัดทำแผน, การติดตาม - ด้านสื่อ เช่น คลิปวิดิโอ, สื่อต่างๆ - การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของแต่ละพื้นที่
การกำหนดเป้าหมายของพื้นที่นำร่องของทาง ม.อ. - เด็กได้รับข้อมูลข่าวสารได้อย่างทั่วถึง - ดูแลเด็กและกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม
ข้อจำกัดของโครงการ ไม่สามารถจัดหาแหล่งทุนได้ 100% แต่สามารถจัดสรรได้จากกองทุนต่างๆ เช่น กองทุนตำบล
กิจกรรมที่อาจจะจัดให้แก่วัยรุ่นพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย คือ โรงเรียนธารโตวัฑฒนวิทย์
กิจกรรม คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับเพศศึกษาแก่นักเรียน ให้นักเรียนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้องและเหมาะสม มีบริการด้านสุขภาพของวัยรุ่น
ปลัดมีข้อเสนอแนะ คือ จัดให้มีศูนย์อบรมแก่วัยรุ่นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
การศึกษาของวัยรุ่นคีรีเขต 1) ได้รับการศึกษา 2) ไม่ได้รับการศึกษา
มีการยกตัวอย่างพื้นที่อื่นเพื่อเป็นแนวทาง เช่น พื้นที่ยะหริ่ง และพื้นที่โกตาบารู
กิจกรรมที่สร้างความเข้มแข็งในพื้นที่ คือ
ผู้นำศาสนา มีการนัดหมายนอกพื้นที่กับเด็กที่มาขอคำปรึกษา เช่น นัดหมายร้านกาแฟ หรือสถานที่ต่างๆ ที่สะดวก โดยไม่จำเป็นต้องให้เด็กเข้ามาที่ศูนย์บริการ เพราะจะเป็นการตีตราแก่เด็กเหล่านั้นได้ มีการร่วมมือกับอสม.ให้ความรู้แก่นักเรียน มีการเรียกเด็กๆ มาตักเตือน เน้นการสร้างรายได้ เน้นแก้ปัญหาปากท้อง มีการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งเด็กเหล่านั้นจะเป็นคนนำเที่ยว สามารถสร้างรายได้แก่ตนเองและชุมชน อบต.มีการสนับสนุนสนามกีฬา ให้แก่เด็กผู้ชายทั้งในระบบและนอกระบบ โดยบุคคลที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด สามารถมาร่วมกิจกรรมได้และจะมีโต๊ะอีหม่ามเข้ามาดูแล จำนวน 12 คน กรณีเด็กผู้หญิง จะมีกิจกรรมดูแลผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายตอบแทน คิดจากระดับคะแนนในการทำกิจกรรม แล้วนำมาสร้างรายได้