โครงการการพัฒนารูปแบบในการสร้างเสริมสมรรถนะของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ต่อการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรณีสามจังหวัดชายแดนใต้
หารือการขยับพื้นที่ทำงานกับทีมพี่เลี้ยงโครงการเดิม พื้นที่นำร่อง 4 อำเภอ 3 จังหวัด
สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน (รายงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ)ประชุมทีมพี่เลี้ยงโครงการเดิมของเฟสที่ 1 มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 14 คน โดยมีประเด็นพูดคุยดังนี้
สรุปการประชุมการกำทิศ วันนที่ 29 ตุลาคม 2564
แผนการดำเนินงานของโครงการในระยะที่ 2
การขยับการทำงานของพื้นที่นำร่อง 4 อำเภอ เดิม
การดำเนินงานของทีมสื่อ
รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม
ดร.ซอฟียะห์ นิมะ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นางสาวฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นายสุไหลหมาน เบ็ญดูสะ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นายอิลฟาน ตอแลมา สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข
วรรณาพร บัวสุวรรณ โรงพยาบาลยะหริ่ง
นางสาวฝาตีเม๊าะ เจ๊ะอุบง สมาคมศิษเก่าบัณฑิตอาสา ม.อ.
ธีรพจน์ บัวสุวรรณ โรงพยาบาลยะหริ่ง
นายสมมาตร์ ปิยายีไทย สสอ.รามัน
นายอิสมาแอล สิเดะ สมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นางสาวซูไฮลา แวแยนา สสอ.เมืองปัตตานี
นางสาวมีรา แมดิงแว สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบาเจาะ
อุษา เบ็ญจลักษณ์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองปัตตานี
นายมะยูนัน มามะ ภาคสนามโครงการ
นางฐนัชตา นันทดุสิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เริ่มประชุมเวลา 9.45 น. อาจารย์ซอฟียะห์ แนะนำโครงการเฟซที่ 2 พูดคุยประเด็นพี่เลี้ยงโครงการ จำนวน 5 ตำบล 4 อำเภอ จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งโครงการการแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจะขยับในเฟสที่ 2 จะขยายพื้นที่เป็น 19 อำเภอ 20 ตำบล โดยทีมพี่เลี้ยงชุดเดิมเป็นทีมที่มีความสำคัญต่อการกำหนดยุทธศาสตร์การทำงาน โดยกลไก พชอ.นอกจากนายอำเภอ และสาธารณสุขอำเภอแล้ว ทีมพี่เลี้ยงจะมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยในการชงเรื่อง การเอาโมดูลไปขยายต่อกับพื้นที่และสามารถทำแผนการทำโครงการกับพื้นที่ จนออกแผนโครงการมา เพื่อไปต่อยอดในการขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยที่ผ่านมาได้เห็นชัดของ อำเภอยะหริ่ง ตำบลตาแกะ สามารถของบประมาณสนับสนุนได้
สรุปการประชุมการกำทิศ วันนที่ 29 ตุลาคม 2564
ในทีมจะมีผู้รับผิดชอบโครงการประกอบด้วย ทีมประสานงานในพื้น ทีมออฟฟิศ ทีมภาคสนาม และก็มีทีมพี่เลี้ยงจาก 4 อำเภอ 5 ตำบล ก็จะขาดในส่วนของพชต.และพชอ.ด้วย มีทีมวัยรุ่นเข้ามาที่จะให้ความเห็นว่าการขับเคลื่อนในเฟสที่ 2 เรื่องของการตั้งครรภ์วัยรุ่นจังหวัดชายแดนใต้จะมีทิศทางอย่างไร ได้ข้อสรุปมากมายจากทีมวิชาการที่ต้องการ ที่ต้องการทราบผลกระทบค่อนข้างเยอะ โดยต้องอาศัยทีมในครั้งนี้ว่าจะมีการออกแบบต่ออย่างไร แต่ละทีมที่ได้มาเสนอค่อนข้างพูดชัดต่อประเด็นของตนเอง และได้มีการสรุปสไลด์ เพื่อให้คณะกรรมการกำกับทิศได้เห็นว่าเฟสที่1 ได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง สรุปแล้วเฟสที่ 1 ได้พัฒนาเรื่องของโมดูล ใน 5 หน่วยการเรียนรู้หลัก เฟสที่ 2 จะมีการปรับเปลี่ยนโมดูลใหม่ เพราะของเดิมเนื้อหาค่อนข้างเยอะ เฟสเดิมจะเน้นใน 5 โมดูล คือ เน้นความรู้ เน้นให้พชอ.ทำงานเป็นทีม ฝึกในการทำแผนโครงการ และเน้นการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ ในการประเมินติดตามผลที่ผ่านมาจะอาศัยทีมพี่เลี้ยง แต่ในเฟสนี้จะเพิ่มทีมประเมินจะให้ประเมินแบบ DE เพื่อใช้ในการประเมินเชิงพัฒนาเพื่อให้ผู้รับการประเมินไม่รู้สึกเครียด และโมดูลสุดท้ายเป็นโมดูลของทักษะการปฏิบัติการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับพื้นที่ ที่ผ่านมาได้ลงพื้นที่ไปทั้งหมด 40 ครั้ง จำนวน 4 พื้นที่ พื้นที่ละ 10 ครั้ง ส่วนอำเภอที่ดำเนินงานจะเป็นอำเภอเมืองปัตตานีจะใช้พื้นที่ของตำบลรูสะมิแล อำเภอยะหริ่งจะใช้ตำบลบางปูและตำบลตาแกะ อำเภอรามัน จะใช้ตำบลโกตาบารู อำเภอบาเจาะ จะเป็นตำบลบาเระใต้
ตัวอย่างของการดำเนินการในพื้นที่
มีหน่วยลาดตระเวนเฝ้าระวังของหน่วยชรบ.ของโกตาบารูที่เป็นพื้นที่เด็กแว๊น ตำบลตาแกะจะเป็นพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงรุก โดยจะปกปิดข้อมูลเป็นความลับ อิหม่ามจะมีการดูแลวัยรุ่นโดยตั้งอนุกรรมการอิหม่ามน้อย ทำหน้าที่ดูแลเรื่องศาสนา เรื่องการฝึกกีฬา เด็กผู้หญิงจะดูแลผู้ป่วยติดเตียง ตำบลบางปูจะเป็นการฝึกอาชีพ ศาสนา การท่องเที่ยวชุมชนดำเนินการด้วยเด็กและเยาวชนเอง ตำบลบาเระใต้จะเป็นการร่วมมือกันในตำบลโดยการทำนิกะห์ไกด์ไลน์และต่อยอดโครงการเด็กคลอดออกมาแล้วมีภาวะพิการ
พื้นที่ที่มีการการบรรจุเป็นประเด็นของพชอ.ในปี 64
มีอำเภอเมืองปัตตานี อำเภอรามัน และอำเภอบาเจาะที่ได้รับการบรรจุ ยกเว้นของอำเภอยะหริ่งได้รับบรรจุเป็นของแผนพชต.
ข้อเสนอแนะจาก สสส.และผู้ทรงคุณวุฒิ
เฟสนี้ทางสสส.และผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณาและให้ความคิดเห็นว่าใช้งานง่าย ถ้าอยู่ในส่วนพชอ.ก็จะนึกแผนนึกโครงการออก และถ้าอยู่ในวัยรุ่นก็จะเป็นข้อมูลของอนามัยเจริญพันธ์ ควรจะเข้าถึงข้อมูล แหล่งบริการที่ไหน เพื่อที่จะเข้าถึงได้จะต้องตอบโจทย์ทั้ง 2 โจทย์ โจทย์แรกคือผู้ใช้โมดูล คือ พชอ.หรือ พชต. โจทย์ที่ 2 คือทีมวัยรุ่นในพื้นที่ เพราะที่ผ่านมาได้สะท้อนให้เห็นว่าเขายังนึกภาพไม่ออก เพราะเฟสแรกเป็นการทดลองโมดูล ดูความเป็นไปได้ของโมดูล พอเฟสที่2 ได้ทำจริงจังมากขึ้น เฟสนี้สสส.ได้เสนอให้จัดทำในพื้นที่ 19 อำเภอ โดยเฟสหน้าจะให้ครอบคลุมทั้ง 33 อำเภอ ในเฟสนี้ถ้าพัฒนาโมดูลมาแล้วทั้งพื้นที่เก่า และใหม่จะต้องมาเรียนรู้โมดูลทำหน้าที่อะไรบ้าง ใช้ต่ออย่างไร จะเสริมความเข้มแข็งของพื้นที่ คือ แฟสที่แล้วจุดแข็งคือ ทีมพี่เลี้ยงเป็นปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงาน สสส.เลยให้มีงบต่อในเฟสนี้เพื่ออบรมทีมพี่เลี้ยงและทีมประเมินที่ยังไม่เคยสร้างในเฟสแรก โดยมีทีมประเมินขึ้นมาในระดับตำบล อาจจะต้องคัดทีมพี่เลี้ยงในพื้นที่มาเป็นทีมประเมินเพื่อที่จะยึดโยงในพื้นที่ต่อไป
แผนการดำเนินเนินงาน
ทีมวิชาการจะมีการพัฒนาคู่มือออกมา 2 เล่ม สำหรับพี่เลี้ยงและทีมประเมิน สุดท้ายแล้วที่ต้องการคือ Road map จังหวัดและมีแผนงานโครงการพื้นที่ คือในระดับ พชต. และพชอ.และมาทำในส่วนของ MOU มาขับเคลื่อน โดยที่ MOU จะเป็นการเริ่มต้นการขับเคลื่อนในเฟสหน้า สุดท้ายโครงการในเฟสนี้จะมาเล่า แค่ 4-5 ประเด็น เพื่อไปปรับโมดูลที่ทำไว้ หรือไปพัฒนาใหม่โดยไปคุยกันในพื้นที่และก็ค่อยมานำเสนอในเวทีการประชุมความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิอีกครั้ง และมีการจัด Workshop ปรับพื้นที่ทั้งพื้นที่เก่า และพื้นที่ใหม่ให้กับทีมพี่เลี้ยงและทีมประเมิน
Fieldwork จะเชิญทีมภาคสนามมาเพื่อทำความรู้จักกับทีมเก่าก่อน ให้ทีมพี่เลี้ยงเก่าเล่าว่า ทำอะไร อย่างไร ในส่วนของการประเมินโมดูลที่เราพัฒนาแก้ไขอยู่ในเกณฑ์ดีไหม ประสิทธิผลเป็นอย่างไร ประเมินพี่เลี้ยง ประเมินทีมประเมิน ภาพรวมของจังหวัดจะเป็นการขับเคลื่อนพื้นที่เชิงนโยบายว่าแต่ละพื้นที่ แต่ละจังหวัดจะขับเคลื่อนประเด็นการตั้งครรภ์อย่างไรภายใต้สถานการณ์โควิด
ก่อนที่จะปิดโครงการจะมีการเชิญทั้ง 19 อำเภอมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่าการดำเนินงานมีลักษณะอย่างไร จุดที่ควรเรียนรู้ จุดที่ควรระวัง จุดที่จะไปต่อยอดกับพื้นที่ เฟสนี้ระยะเวลา 18 เดือน สิ้นสุดเดือนเมษายน ปี 66 มีการถอดบทเรียนและสื่อสาธารณะ
การขยับพื้นที่ของแต่ละพื้นที่
พชอ.เมืองปัตตานี: การดำเนินโครงการได้หยุดไปพักนึง จากสถานการณ์โควิด แต่ในระดับพื้นที่ได้ติดตามและได้ฟังจากไซนัปเพราะว่าไซนัปได้เอาโครงการไปนำเสนอในงานวิชาการซึ่งรับรางวัล และได้นำเสนอระดับเขต แต่ภาพรวมอำเภอปัตตานียังไม่ได้เรียกประชุม เพราะสถานการณ์โควิดและผู้ป่วยค่อนข้างเยอะ ก็อาจจะเป็นหลังจากนี้ที่มีการพูดคุยอีกครั้ง คุณสมมาตร:ที่โกตาบารูมีหลายฝ่ายที่เข้ามามีบทบาท มีการเข้ามามากที่สุด คือวัยรุ่น นอกจากนี้ยังได้การสนับสนุนจากกลุ่มสตรีเข้ามาบทบาท หลักจากนี้จะมีการสนับสนุนจากเทศบาลโกตาบารูซึ่งตอนนี้ได้เปลี่ยนผู้นำแล้ว และอีกทางคือทางรพสต.โกตาบารูที่เข้ามามีบทบาทและทางอำเภอด้วย สำหรับโกตาบารูไม่น่ามีปัญหา แต่ถ้าจะขยายอาจจะต้องดึงหลายฝ่ายให้มาก หลายขาดีกว่าขาเดียว เพราะฉนั้นต้องใช้ระยะเวลา
คุณมิรา:ในส่วนของอำเภอบาเจาะนายอำเภอได้ย้ายไป อีกท่านคือ ท่านสาธารณสุขอำเภอบาเจาะได้เกษียนไปแล้วเช่นกัน เลยต้องมีการนำเสนอกับท่านนานอำเภอคนใหม่และก็เจ้าหน้าที่สสอ.บาเจาะมาใหม่ ในส่วนอำเภอบาเจาะทุกพื้นที่จะมีปัญหาของโควิด คือลงพื้นที่ฉีดวัคซีนเชิงรุกทุกตำบล ในส่วนของการต่อยอด คือตตอนนี้ต้องหยุดดำเนินการทุกอย่าง แต่ในส่วนพชอ.จะมีการประชุมเกี่ยวกับโควิด แต่การดำเนินงานการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของบาเจาะ ตำบลบาเระใต้ได้หยุดลง รอบนี้น่าจะเปลี่ยนหมู่บ้านใหม่ของบาเระใต้ น่าจะดำเนินการใหม่เชิงรุกของบาเระใต้ ในส่วนของประเด็นที่จะทำพชอ.ใหม่ จะทำในภาวะของการพิการในเด็ก แต่ต้องสอดคล้องกับนายอำเภอคนใหม่จะเห็นด้วยหรือไม่ จะต้องมีการเสนออีกรอบต่อนายอำเภออีกรอบ ในการดำเนินถ้าจะเริ่มยังไงก็จะชี้แจงอีกที คุณมะยูนัน: เรื่องของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีมานานพอสมควร ในพื้นที่นราธิวาส ก่อนหน้านี้ได้มีการขยับอยู่ช่วงนึง สำหรับองค์กรที่ดูแลโดยตรงนี้ พอหลังๆไม่ค่อยได้เข้ามา ก่อนหน้านั้นได้เข้ามาเล่นในสพม.15 แต่ช่วงหลังได้เงียบหายไป สำหรับเหตุการณ์ที่วัยรุ่นตั้งครรภ์ในพื้นที่ตอนนี้ในเชิงรุกของประชาชนจะมีข้อมูลเยอะโดยสถาบันการศึกษาที่เปิดใหม่โดยเฉพาะมนร.ทำให้การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีข้อมูลเยอะขึ้นกับก่อนหน้านั้นที่เรายังไม่มีมหาลัยในพื้นที่ ข้อมูลอาจจะเป็นระดับมัธยมศึกษาแต่ตอนนี้จะเข้าไปสู่ระดับมหาวิทยาลัยด้วย
คุณอิสมาแอ: ประเด็นเรื่องของการตั้งครรภ์ตามที่หลายฝ่ายอยากให้มีการทำงานที่หลากหลายองค์กรที่เข้ามาร่วมกันทำงาน ที่ผ่านมาทุกฝ่ายก็ได้ทำงานอยู่พยามผลักดัน และก็เข้าสู่กระบวนการแต่ละหมู่บ้าน ในการทำงานเชิงนโยบายถือเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องมาเกี่ยวกัน ถือเป็นการร้อยเรื่องร้อยราวให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกัน ก็จะส่งผลต่อความสำเร็จมากขึ้น ณ วันนี้โดยสถานการณ์โควิดก็อาจจะทำให้การทำงานลดเปอร์เซ็นต์ลงของการพบเจอกัน อาจจะต้องใช้ผู้นำมาคุยกันเป็นหลัก
คุณอานัติ: ตัวแทนในพื้นที่มีศักยภาพเยอะ กระบวนการที่วางไว้ในตัวโครงการค่อนข้างชัด แต่ช่วงนี้เข้าใจและก็เห็นใจว่า งานนี้ไม่ได้เป็นประเด็นหลัก และโควิดก็มาแรงมากในช่วงนี้ สิ่งที่ท้าทายคือ จะขยับงานนี้ยังไง ภายใต้สถานการณ์โควิด อาจจะเป็นโจทย์ที่ต้องมาคิดร่วมกัน อาจจะเป็นประเด็นเดียวที่ต้องมาหารือ หาทางออกแต่ก็ต้องมีการเรียนรู้เข้าไป
ประเด็นที่จะเอาไปในการทำสื่อ ในเรื่องของการพัฒนาโมดูล ร่วมกับทีมวิชาการในการถอดบทเรียน
คุณอิลฟาน: ส่วนที่ได้รับสื่อกับวิชาการจะดำเนินการขั้นแรก คือ โมดูลปีที่ผ่านมาปรับร่างคู่มือให้เรียบร้อย และเนื้อหาให้น่านำไปใช้ เมื่อโมดูลเสร็จก็จะให้ทีมวิชาการมาดูอีกที จะนัดให้ทางวิชาการมารีวิวอีกครั้ง พอเสร็จจะคุยกับทีมวิชาการที่ผ่านมาน่าจะมีประเด็นบ้างอย่างที่สามารถสร้างคอนเท็นต์ในการทำสื่อต่อไป ก็มีทีมงานลงพื้นที่เก็นคอนเท็นต์มา ซึ่งการลงไปเก็บต้องขอความร่วมมมือจากพื้นที่เป้าหมาย หลังจากนั้นได้คอนเท็นต์ออกมาทีมจะทำประเด็นที่เป็นภาพกว้างก่อน จะย่อยแต่ละส่วนไป เพราะว่าสื่อหากทำอะไรที่ยาว ทีมเยาวชนสมันนี้จะเสพสื่อได้ไม่นาน ต้องทำเป็นซีรี่ สิ่งนี้คือแนวคิดการทำสื่อ ในการลงสื่อจะมีทาง Facebook เป็นลักษณะการลงไปเรื่อยๆ Instagram กับ Tiktok ด้วย จะใช้ 3 ช่องทางเป็นหลัก หลังจากนั้นจะตามจากกระบวนการทั้งทางออนไลน์และไปสอบถาม ซึ่งตรงนี้จะมีทีมนักศึกษาลงไปเก็บ เนื่องจากเขาได้ลงพื้นที่แล้วจากกลุ่มเปราะบาง จะใช้กระบวนการเก็บข้อมูลจาก Line อันนี้จะเป็นกระบวนการสื่อออนไลน์ พอได้ส่วนนี้ก็จะส่งต่อให้ทีมวิชาการเพื่อประมวลสิ่งที่ลงไปทำ เพื่อที่จะเอาเนื้อหาไปแทรกในโมดูลอีกครั้ง พอเสร็จก็จะปรับโมดูลที่ใช้ได้แล้ว อย่างน้อยคือ 80% สามารถให้ทางพชอ.ได้เอาเนื้อหาในโมดูลปรับตรงนี้ไป ในส่วนทีมวิชาการจะมี 3 ส่วน คือทีมวิชาการทำเรื่องโมดูล ทำเรื่องของการติดตามประเมิน และสำรวจวิจัย ซึ่งระยะเวลาตามความเหมาะสมของงาน
อาจารย์ซอฟียะห์: ในการทำสื่ออาจต้องคุยกับทีมวิชาการ เพราะต้องการรายละเอียดเยอะ อาจต้องคุยกัน ในการลงเนื้อหาอยากให้มีคอนเท็นต์ มากกว่าการมีแค่รูป เพราะมีแค่รูปไม่รู้ว่ากิจกรรมนั้นทำอะไร เพื่ออะไร อยากให้มีคอนเท็นต์เล็กน้อย
เลิกประชุมเวลา 11.20 น.