ชื่อโครงการ | ระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม รพ.รือเสาะ จ.นราธิวาส |
ภายใต้โครงการ | แผนงานโซนใต้ล่าง |
ภายใต้องค์กร | สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) |
รหัสโครงการ | - |
วันที่อนุมัติ | |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2561 - 31 ธันวาคม 2561 |
แหล่งทุน |
ไม่ระบุ
|
งบประมาณ | 179,920.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางนูรฮายาตี นิมะซา,นางฮานานี เจ๊ะอุบง,นายมะสะแรดี เจ๊ะและ |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | - |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ ,เครือข่ายสาธารณสุขอำเภอรือเสาะ,โรงพยาบาลรือเสาะอำเภอรือเสาะ |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ชื่องานในพื้นที่ | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|---|
นราธิวาส | place directions |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ม.ค. 2561 | 31 มี.ค. 2561 | 60,000.00 | |||
2 | 1 เม.ย. 2561 | 31 ต.ค. 2561 | 60,000.00 | |||
3 | 1 พ.ย. 2561 | 31 ธ.ค. 2561 | 60,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 180,000.00 |
คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (180,000.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (179,920.00 บาท)
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทยระดับชาติ ระบุไว้ว่า สถานการณ์ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีระดับความรุนแรงในประเทศยากจน รวมถึงประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลางสูงถึงร้อยละ 80 ของการตายทั้งหมด สะท้อนภาพกลับมาที่ประเทศไทย ก็พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอาทิ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ หลอดเลือดสมอง มะเร็ง ปอดอุดกั้น เป็นต้น เพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน ซึ่งรายงานอัตราผู้ป่วยในต่อแสนประชากร ช่วงปี 2550-2555 ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงจาก 158.00 เป็น 708.74 โรคเบาหวานจาก 148.70 เป็น 654.44 โรคหลอดเลือดสมองจาก 75.00 เป็น206.34 และโรคหัวใจขาดเลือดจาก 49.00 เป็น262.32 และแนวโน้มอัตราการตายต่อแสนประชากรเพิ่มขึ้น โรคเบาหวาน เพิ่มขึ้น 1.5 เท่าโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 2.9 เท่า โรคหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้น 5.8 เท่า นับว่าเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขเป็นอย่างมาก สำหรับสถานการณ์โรคเรื้อรังของอำเภอรือเสาะ มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี ช่วงปี 2558-2559 ป่วยด้วยโรคเบาหมานรายใหม่ต่อแสนประชากรจาก 142.64 เป็น 151.40 โรคหลอดเลือดสมองรายใหม่จำนวน 64 คนเพิ่มขึ้นเป็น 79 คน คิดเป็น109.30ต่อแสนประชากร และนอกจากนี้ยังมีกลุ่มประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ยังไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ทำให้เกิดผลกระทบทั้งต่อสุขภาพ เป็นภาระต่อครอบครัว ชุมชน ประเทศ ซึ่งโรคเหล่านี้ป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรมในด้านต่างๆ และสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี ดังนั้น โรงพยาบาลรือเสาะ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำและสร้างพื้นที่สุขภาวะวิถีธรรม ตอบสนองตามมิติบริบทพหุวัฒนธรรมเพื่อให้บุคลากร แกนนำสุขภาพ ให้มีองค์ความรู้ และทักษะสร้างสุขภาวะวิถีธรรมที่สอดคล้องกับมิติบริบทพหุวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม การปรับเปลี่ยนพฤติกรมในด้านต่างๆ อาทิ เช่น การรู้จักตนเองและรู้จักผู้อื่น การปรับเปลี่ยนมุมมองในการดำเนินชีวิต การสร้างคุณค่าในตนเอง การจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิต การเรียนรู้ประสบการณ์ชีวิต การวางแผนการใช้ชีวิตในแต่ละวัน และการวางแผนชีวิตโดยใช้ 9 มิติ (มิติสุขภาพดี,มิติผ่อนคลาย,มิติมีน้ำใจ,มิติจิตวิญญาณดี,มิติครอบครัว,มิติสังคมดี,มิติใฝ่รู้ดี,มิติสุขภาพเงินดี และ มิติการงานดี)
กรอบเนื้อหาหลัก มิติกรอบกิจกรรม(INPUT) -ด้านปัจเจกชน การจัดการแบบแผนชีวิต -ด้านองค์กรสุขภาพ การจัดการนวัตกรรม -ด้านองค์กรชุมชน การจัดการศาสนสถาน มิติคุณค่า 5 ด้าน (VALUE) -ด้านปกป้องจิตวิญญาณ -ด้านปกป้องชีวิต -ด้านปกป้องสติปัญญา -ด้านปกป้องครองครัว -ด้านปกป้องทรัพยากร มิติความยั่งยืน(IMPACT) -ด้านภูมิปัญญา -ด้านผู้สืบทอด -ด้านประโยช์สาธารณะ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้แกนนำสุขภาวะวิถีธรรม ในบุคลากรสุขภาพอำเภอรือเสาะ และแกนนำศาสนสถาน มีองค์ความรู้ และทักษะสร้างสุขภาวะวิถีธรรมที่สอดคล้องกับมิติบริบทพหุวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม 1.บุคลากรสุขภาพได้รับการอบรมสุขภาวะวิถีธรรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 2.แกนนำสุขภาพจากศาสนสถานร่วมกิจกรรมอบรมสุขภาวะวิถีธรรม ร้อยละ 80 |
||
2 | 2. เพื่อให้สถานบริการ และศาสนสถานต้นแบบมีกิจกรรมเอื้อต่อการสร้างสุขภาวะวิถีธรรมที่ตอบสนองความต้องการทางจิตวิญญานตามบริบทพหุวัฒนธรรม 1.หน่วยบริการสุขภาพร่วมกิจกรรมร้อยละ 80 |
||
3 | 3. เพื่อให้ภาคีเครือข่ายเกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการสุขภาวะวิถีธรรมในมิติบริบทพหุวัฒนธรรม 1.หน่วยงานที่เข้าร่วมมีกิจกรรมขับเคลื่อนนวัตกรรม สุขภาพดีวิถีธรรมร้อยละ 80 2.ศาสนสถานมีกิจกรรมขับเคลื่อนนวัตกรรม สุขภาวะวิถีธรรม อย่างน้อย 10 แห่ง |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | |||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2561 15:58 น.