สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันโรงเรียนวัดพรหมประดิษฐ์ (โรงเรียนวัดพรหมประดิษฐ์)

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันโรงเรียนวัดพรหมประดิษฐ์ (โรงเรียนวัดพรหมประดิษฐ์) ”

ตำบลพิจิตร อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นางฉลวย พรหมดวง (087-8378915) นางชริสา พรหมรังษี (064-9091190)

ชื่อโครงการ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันโรงเรียนวัดพรหมประดิษฐ์ (โรงเรียนวัดพรหมประดิษฐ์)

ที่อยู่ ตำบลพิจิตร อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2561 ถึง


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันโรงเรียนวัดพรหมประดิษฐ์ (โรงเรียนวัดพรหมประดิษฐ์) จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลพิจิตร อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันโรงเรียนวัดพรหมประดิษฐ์ (โรงเรียนวัดพรหมประดิษฐ์)



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันโรงเรียนวัดพรหมประดิษฐ์ (โรงเรียนวัดพรหมประดิษฐ์) " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลพิจิตร อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2561 - (ยังไม่ระบุ) ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 20,000.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรงเรียนวัดพรหมประดิษฐ์ เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ดำเนินกิจกรรมเกษตรอาหารกลางวัน ด้วยงบประมาณขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เป็นเงิน 20 บาท ต่อคน ต่อวัน ซึ่งไม่เพียงพอ และจากการสำรวจข้อมูลน้ำหนักของนักเรียนเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2561 พบว่า  นักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วน คิดเป็นร้อยละ 19 และนักเรียนที่ผอมและน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ30 จากกิจกรรมที่ผ่านมานั้นเคยมีกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ปลูกผัก เพาะเห็ดนางฟ้า แต่ปัจจุบันขาดงบประมาณ และความต่อเนื่องของการดำเนินการจนเป็นผลผลิตยั่งยืน เลี้ยงตนเองได้  จึงมีความต้องการดำเนินการกิจกรรมเกษตรอาหารกลางวัน เพื่อจะนำไปสู่การส่งเสริมให้มีอาหารกลางวันที่มีคุณค่า และเพียงพอต่อนักเรียนมีสุขภาวะทางโภชนาการที่ดี สุขภาพที่แข็งแรงต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมกิจกรรมอาหารกลางวัน ให้มีวัตถุดิบ ที่มีประโยชน์ต่อนักเรียน และสามารถสร้างรายได้เพื่อเลี้ยงตนเองได้
  2. เพื่อให้นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการที่สมส่วน สมบูรณ์ แข็งแรง
  3. เพื่อสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อเพาะปลูกวัตถุดิบเพื่อนำมาผลิตเป็นอาหารกลางวันที่ปลอดสารพิษ และพึ่งพาตนเองได้

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมชี้แจง วางแผนการดำเนินงาน
  2. ปรับสภาพพื้นที่เพื่อเตรียมจัดแปลงเกษตร และปรับปรุงโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า
  3. ปลูกผักปลอดสารพิษ
  4. เพาะเห็ดนางฟ้า
  5. เก็บเกี่ยวผลผลิต ส่งต่อโครงการอาหารกลางวันโรงเรียน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
คณะครู และบุคลากรทางการศึกษา 8
นักเรียน 62

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. โรงเรียนมีผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดสารพิษ ปลอดภัยต่อนักเรียน และสามารถสร้างเป็นรายได้เสริมให้แก่นักเรียนที่ดูแลได้
  2. นักเรียนมีภาวะโภชนการที่สมส่วน สมบูรณ์ แข็งแรง มากขึ้น
  3. มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเพาะปลูกเกษตรอาหารกลางวัน และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่นักเรียนได้

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมชี้แจง วางแผนการดำเนินงาน

วันที่ 17 ธันวาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประชุมชี้แจงคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา และบุคลากรในโรงเรียน เพื่อให้รับทราบนโยบายและการดำเนินการโครงการ
  2. มอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ
  3. ชี้แจงทำความเข้าใจกับนักเรียนเกี่ยวกับกิจกรรม จัดแบ่งหน้าที่นักเรียนที่มีจิตอาสา ให้เป็นนักเรียนแกนนำด้านเกษตร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา และบุคลากร รับทราบและจัดเตรียมดำเนินการหน้าที่ของตนเอง
  2. มีนักเรียนแกนนำ จำนวน 10 คน ที่มีจิตอาสา และพร้อมจะมาเป็นแกนนำในการดำเนินการกิจกรรมครั้งนี้

 

8 0

2. ปรับสภาพพื้นที่เพื่อเตรียมจัดแปลงเกษตร และปรับปรุงโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า

วันที่ 15 พฤษภาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. นักเรียนจำนวน 62 คน และคณะครู 6 คน ช่วยกัน ปรับสภาพพื้นที่รกร้าง ซึ่งเป็นหญ้ารก ให้พร้อมจะดำเนินการเพาะปลูกผัก โดยยกแปลงด้วยอิฐบล้อก ได้จำนวน 5 แปลง
  2. ทาสีล้อยาง เพื่อเป็นแปลงผักขนาดย่อม ให้ครูและนักเรียนชั้น ป.1 -3 ช่วยกันดูแลผักในล้อยาง
  3. ปรับสภาพโรงเก็บของเดิมให้เป็นโรงเพาะเห็ด โดยจัดหาชั้นวางเห็ด ปรับสภาพพื้นดิน ใช้แสลนบังแดดสีดำ เพื่อปรับแสงและอุณหภูมิ
  4. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ทางการเกษตร และอุปกรณ์เครื่องมือช่างเพื่อใช้ในการปรับปรุงและจัดเตรียมสถานที่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต :

  1. โรงเรียนมีพื้นที่สำหรับเพาะปลูกพืชผักทางการเกษตร มีแปลงผัก จำนวน 5 แปลง / มีล้อยางสำหรับเพาะปลูกผักของนักเรียนชั้น ป.1-3 จำนวน 10 ล้อยาง

  2. มีโรงสำหรับเพาะเห็ดนางฟ้า จำนวน 1 โรงเพาะ

ผลลัพธ์ :
1. นักเรียนได้ร่วมแรงร่วมใจจัดเตรียมพื้นที่ และแปลงผักล้อยางของตนเอง เพื่อเตรียมพร้อมในการดูแลผัก

 

15 0

3. ปลูกผักปลอดสารพิษ

วันที่ 20 พฤษภาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. นักเรียนและคณะครู จำนวน 62 คน ช่วยกันจัดเตรียมดินให้พร้อมทำการเพาะปลูก  เพาะพันธ์ผักเช่น คะน้า กวางตุ้งในแปลงเพาะ เพื่อเตรียมนำลงดิน
  2. เพาะปลูกพืชผักที่นักเรียนชอบรับประทาน เช่น ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ผักกาด
  3. นักเรียนชั้นป. 1 -3 รับผิดชอบผักในล้อยาง (ผักกวางตุ้ง) นักเรียนชั้น ป.1 เพาะถั่วงอกอย่างง่าย นักเรียนชั้นป.2 เพาะต้นทานตะวันอ่อน
  4. เก็บเกี่ยวผลผลิต ส่วนหนึ่งนำไปใช้เป็นวัตถุดิบผักปลอดสารพิษ ให้แก่อาหารกลางวัน บางส่วนนำไปจำหน่ายผู้ปกครอง หรือแจกให้นักเรียนไปรับประทานที่บ้าน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต

  1. โรงเรียนได้ผักปลอดสารพิษ ที่ปลูกเอง ได้แก่ ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ใช้ประกอบอาหารกลางวัน ต่อเนื่องในแต่ละรอบ

ผลลัพธ์

  1. นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการปลูกผักที่ทำได้ง่ายๆ
  2. นักเรียนได้รับผิดชอบดูแลแปลงผักของตนเอง
  3. นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดี เนื่องจากได้รับประทานผักปลอดสารพิษ
  4. นักเรียนได้ฝึกฝนทักษะทางการเกษตร เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปใช้ในการประกอบอาชีพหารายได้เสริมได้

 

62 0

4. เพาะเห็ดนางฟ้า

วันที่ 3 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. นำนักเรียนและคณะครู จำนวน 62 คน ศึกษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ในการเพาะเห็ดนางฟ้า เพื่อเป็นข้อมูลในการเพาะเห็ดของโรงเรียน
  2. สั่งซื้อเชื้อก้อนเพาะเห็ดจำนวน  350 ก้อน เพื่อนำมาจัดเรียงในเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า ที่เตรียมไว้
  3. จัดนักเรียนผู้รับผิดชอบในการรดน้ำเห็ด เช้า เย็น และจัดเก็บผลผลิตเห็ดนางฟ้า
  4. นำส่งให้โรงอาหารเพื่อนำมาผลิตเป็นวัตถุดิบอาหารกลางวัน บางส่วนจำหน่ายผู้ปกครอง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต

  1. โรงเรีียนได้ผลผลิต เฉลี่ย วันละ 1-2 กิโลกรัม เพื่อนำมาประกอบอาหารกลางวันให้แก่นักเรียน

  2. ในระยะแรกที่เห็ดออกจำนวนมาก เกินความต้องการ นำไปจำหน่ายให้ผู้ปกครอง และชุมชน ที่สนใจ

ผลลัพธ์

  1. นักเรียนได้เรียนรู้ที่มาของก้อนเชื้อเห็ด กระบวนการดูแล และการจัดเก็บผลผลิตจากแหล่งเรียนรู้โรงเพาะเห็ดจากชุมชนใกล้เคียง

  2. นักเรียนได้รับประทานเห็ดสดๆ จากโรงเพาะเห็ดในโรงเรียน

 

62 0

5. เก็บเกี่ยวผลผลิต ส่งต่อโครงการอาหารกลางวันโรงเรียน และจัดทำกิจกรรม"ตลาดนัดสีเขียว"

วันที่ 1 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. หลังจากได้ผลผลิตทางการเกษตรแล้ว  ได้นำส่งเป็นวัตถุดิบหลักในการประกอบอาหารกลางวันให้แก่นักเรียน
  2. โรงเรียนจัดกิจกรรมตลาดนัดสีเขียว เพื่อให้นักเรียนได้ร่วมจำหน่ายสินค้า และสร้างความสัมพันธ์อันดีแก่คนในชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต

  1. มีวัตถุดิบประกอบอาหารกลางวันด้วยผักปลอดสารพิษ เห็ดนางฟ้า ทำให้นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่สดและสะอาดปลอดสารพิษ

  2. มีกิจกรรมตลาดนัดสีเขียว จำนวน 1 ครั้ง

ผลลัพธ์

  1. มีเมนูอาหารกลางวันที่สดสะอาด ปลอดภัย

  2. นักเรียนได้รับโภชนาการที่สมบูรณ์

  3. นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะชีวิต จากการร่วมกันนำผลผลิตมาจำหน่ายในตลาดนัดสีเขียว

  4. สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่าง โรงเรียนและ ชุมชน จากกิจกรรม ตลาดนัดสีเขียว

 

120 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อส่งเสริมกิจกรรมอาหารกลางวัน ให้มีวัตถุดิบ ที่มีประโยชน์ต่อนักเรียน และสามารถสร้างรายได้เพื่อเลี้ยงตนเองได้
ตัวชี้วัด : 1. มีผัก และเห็ดนางฟ้าที่เพียงพอต่อการนำมาประกอบเป็นอาหารกลางวันให้นักเรียน
70.00 75.00

สมุดบันทึกสุขภาพ

2 เพื่อให้นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการที่สมส่วน สมบูรณ์ แข็งแรง
ตัวชี้วัด : 2.นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่สมส่วน สมบูรณ์ และแข็งแรง
60.00 72.00

 

3 เพื่อสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อเพาะปลูกวัตถุดิบเพื่อนำมาผลิตเป็นอาหารกลางวันที่ปลอดสารพิษ และพึ่งพาตนเองได้
ตัวชี้วัด : 3.มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกผักปลอดสารพิษ และมีเรือนเพาะเห็ดนางฟ้าที่พร้อมจะผลิตเป็นวัตถุดิบอาหารกลางวันให้นักเรียน และสามารถจำหน่ายสร้างรายได้
60.00 75.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 70
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะครู และบุคลากรทางการศึกษา 8
นักเรียน 62

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมกิจกรรมอาหารกลางวัน ให้มีวัตถุดิบ ที่มีประโยชน์ต่อนักเรียน และสามารถสร้างรายได้เพื่อเลี้ยงตนเองได้ (2) เพื่อให้นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการที่สมส่วน สมบูรณ์ แข็งแรง (3) เพื่อสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อเพาะปลูกวัตถุดิบเพื่อนำมาผลิตเป็นอาหารกลางวันที่ปลอดสารพิษ และพึ่งพาตนเองได้

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมชี้แจง วางแผนการดำเนินงาน (2) ปรับสภาพพื้นที่เพื่อเตรียมจัดแปลงเกษตร และปรับปรุงโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า (3) ปลูกผักปลอดสารพิษ (4) เพาะเห็ดนางฟ้า (5) เก็บเกี่ยวผลผลิต ส่งต่อโครงการอาหารกลางวันโรงเรียน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันโรงเรียนวัดพรหมประดิษฐ์ (โรงเรียนวัดพรหมประดิษฐ์) จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางฉลวย พรหมดวง (087-8378915) นางชริสา พรหมรังษี (064-9091190) )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด