- หลังจากได้ผลผลิตทางการเกษตรแล้ว ได้นำส่งเป็นวัตถุดิบหลักในการประกอบอาหารกลางวันให้แก่นักเรียน
- โรงเรียนจัดกิจกรรมตลาดนัดสีเขียว เพื่อให้นักเรียนได้ร่วมจำหน่ายสินค้า และสร้างความสัมพันธ์อันดีแก่คนในชุมชน
ผลผลิต
มีวัตถุดิบประกอบอาหารกลางวันด้วยผักปลอดสารพิษ เห็ดนางฟ้า ทำให้นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่สดและสะอาดปลอดสารพิษ
มีกิจกรรมตลาดนัดสีเขียว จำนวน 1 ครั้ง
ผลลัพธ์
มีเมนูอาหารกลางวันที่สดสะอาด ปลอดภัย
นักเรียนได้รับโภชนาการที่สมบูรณ์
นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะชีวิต จากการร่วมกันนำผลผลิตมาจำหน่ายในตลาดนัดสีเขียว
สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่าง โรงเรียนและ ชุมชน จากกิจกรรม ตลาดนัดสีเขียว
- นำนักเรียนและคณะครู จำนวน 62 คน ศึกษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ในการเพาะเห็ดนางฟ้า เพื่อเป็นข้อมูลในการเพาะเห็ดของโรงเรียน
- สั่งซื้อเชื้อก้อนเพาะเห็ดจำนวน 350 ก้อน เพื่อนำมาจัดเรียงในเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า ที่เตรียมไว้
- จัดนักเรียนผู้รับผิดชอบในการรดน้ำเห็ด เช้า เย็น และจัดเก็บผลผลิตเห็ดนางฟ้า
- นำส่งให้โรงอาหารเพื่อนำมาผลิตเป็นวัตถุดิบอาหารกลางวัน บางส่วนจำหน่ายผู้ปกครอง
ผลผลิต
โรงเรีียนได้ผลผลิต เฉลี่ย วันละ 1-2 กิโลกรัม เพื่อนำมาประกอบอาหารกลางวันให้แก่นักเรียน
ในระยะแรกที่เห็ดออกจำนวนมาก เกินความต้องการ นำไปจำหน่ายให้ผู้ปกครอง และชุมชน ที่สนใจ
ผลลัพธ์
นักเรียนได้เรียนรู้ที่มาของก้อนเชื้อเห็ด กระบวนการดูแล และการจัดเก็บผลผลิตจากแหล่งเรียนรู้โรงเพาะเห็ดจากชุมชนใกล้เคียง
นักเรียนได้รับประทานเห็ดสดๆ จากโรงเพาะเห็ดในโรงเรียน
- นักเรียนและคณะครู จำนวน 62 คน ช่วยกันจัดเตรียมดินให้พร้อมทำการเพาะปลูก เพาะพันธ์ผักเช่น คะน้า กวางตุ้งในแปลงเพาะ เพื่อเตรียมนำลงดิน
- เพาะปลูกพืชผักที่นักเรียนชอบรับประทาน เช่น ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ผักกาด
- นักเรียนชั้นป. 1 -3 รับผิดชอบผักในล้อยาง (ผักกวางตุ้ง) นักเรียนชั้น ป.1 เพาะถั่วงอกอย่างง่าย นักเรียนชั้นป.2 เพาะต้นทานตะวันอ่อน
- เก็บเกี่ยวผลผลิต ส่วนหนึ่งนำไปใช้เป็นวัตถุดิบผักปลอดสารพิษ ให้แก่อาหารกลางวัน บางส่วนนำไปจำหน่ายผู้ปกครอง หรือแจกให้นักเรียนไปรับประทานที่บ้าน
ผลผลิต
- โรงเรียนได้ผักปลอดสารพิษ ที่ปลูกเอง ได้แก่ ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ใช้ประกอบอาหารกลางวัน ต่อเนื่องในแต่ละรอบ
ผลลัพธ์
- นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการปลูกผักที่ทำได้ง่ายๆ
- นักเรียนได้รับผิดชอบดูแลแปลงผักของตนเอง
- นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดี เนื่องจากได้รับประทานผักปลอดสารพิษ
- นักเรียนได้ฝึกฝนทักษะทางการเกษตร เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปใช้ในการประกอบอาชีพหารายได้เสริมได้
- นักเรียนจำนวน 62 คน และคณะครู 6 คน ช่วยกัน ปรับสภาพพื้นที่รกร้าง ซึ่งเป็นหญ้ารก ให้พร้อมจะดำเนินการเพาะปลูกผัก โดยยกแปลงด้วยอิฐบล้อก ได้จำนวน 5 แปลง
- ทาสีล้อยาง เพื่อเป็นแปลงผักขนาดย่อม ให้ครูและนักเรียนชั้น ป.1 -3 ช่วยกันดูแลผักในล้อยาง
- ปรับสภาพโรงเก็บของเดิมให้เป็นโรงเพาะเห็ด โดยจัดหาชั้นวางเห็ด ปรับสภาพพื้นดิน ใช้แสลนบังแดดสีดำ เพื่อปรับแสงและอุณหภูมิ
- จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ทางการเกษตร และอุปกรณ์เครื่องมือช่างเพื่อใช้ในการปรับปรุงและจัดเตรียมสถานที่
ผลผลิต :
โรงเรียนมีพื้นที่สำหรับเพาะปลูกพืชผักทางการเกษตร มีแปลงผัก จำนวน 5 แปลง / มีล้อยางสำหรับเพาะปลูกผักของนักเรียนชั้น ป.1-3 จำนวน 10 ล้อยาง
มีโรงสำหรับเพาะเห็ดนางฟ้า จำนวน 1 โรงเพาะ
ผลลัพธ์ :
1. นักเรียนได้ร่วมแรงร่วมใจจัดเตรียมพื้นที่ และแปลงผักล้อยางของตนเอง เพื่อเตรียมพร้อมในการดูแลผัก
- ประชุมชี้แจงคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา และบุคลากรในโรงเรียน เพื่อให้รับทราบนโยบายและการดำเนินการโครงการ
- มอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ
- ชี้แจงทำความเข้าใจกับนักเรียนเกี่ยวกับกิจกรรม จัดแบ่งหน้าที่นักเรียนที่มีจิตอาสา ให้เป็นนักเรียนแกนนำด้านเกษตร
- คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา และบุคลากร รับทราบและจัดเตรียมดำเนินการหน้าที่ของตนเอง
- มีนักเรียนแกนนำ จำนวน 10 คน ที่มีจิตอาสา และพร้อมจะมาเป็นแกนนำในการดำเนินการกิจกรรมครั้งนี้