การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการขับเคลื่อนแรงงานนอกระบบ แรงงานต่างด้าว โดยระบบสุขภาพชุมชน จังหวัดระนอง
ชื่อโครงการ | การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการขับเคลื่อนแรงงานนอกระบบ แรงงานต่างด้าว โดยระบบสุขภาพชุมชน จังหวัดระนอง |
ภายใต้โครงการ | ระบบสนับสนุนกระบวนการ HIA |
ภายใต้องค์กร | สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) |
รหัสโครงการ | 61-ข-051 |
วันที่อนุมัติ | |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2561 - 30 เมษายน 2562 |
แหล่งทุน |
ไม่ระบุ
|
งบประมาณ | 55,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | ดร.เพ็ญ สุขมาก |
พื้นที่ดำเนินการ | อำเภอเมือง 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางนอน ตำบลบางริ้น ตำบลเขานิเวศน์ และ ตำบลปากน้ำ |
ละติจูด-ลองจิจูด | 9.900995,98.562106place |
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ชื่องานในพื้นที่ | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|---|
ระนอง | place directions |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 มิ.ย. 2561 | 31 มี.ค. 2562 | 1 ส.ค. 2561 | 31 มี.ค. 2562 | 50,000.00 | |
2 | 1 เม.ย. 2562 | 30 เม.ย. 2562 | 5,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 55,000.00 |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยโครงการศูนย์ประสานงานวิชาการสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้ (ศวสต.) มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพ และยกระดับการทำงานทางวิชาการด้านการสร้างเสริมสุขภาวะ ตลอดจนการสร้างกระบวนการพัฒนาโยบายสาธารณะในระดับภาค จังหวัด และระดับพื้นที่ รวมถึงการสร้างกระบวนการสร้างการทำงานแบบเครือข่าย อันนำไปสู่การผลักดันให้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบาย รูปแบบ (Model) การทำงาน การสร้างเครือข่าย การเสริมสร้างศักยภาพคนทำงาน และผลงานด้านองค์ความรู้วิชาการที่นำไปสู่การแก้ปัญหาต่างๆในพื้นที่ภาคใต้อย่างกว้างขวาง (สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2559)
ในปีงบประมาณ 2561 ศวสต. ได้กำหนดเป้าหมายดำเนินการในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางมนุษย์ เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ โดยความร่วมมือกับเครือข่ายคือสำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 11 และภาคีเครือข่ายอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน โดยใช้กลไกกองทุนสุขภาพตำบลและใช้เครื่องมือเรื่องการประเมินผลกระทบทางสุขภาพเชิงสร้างสรรค์ กระบวนสมัชชาสุขภาพ และธรรมนูญสุขภาพ โดยโซนภาคใต้ตอนบน ประกอบด้วย ความมั่นคงทางมนุษย์ เด็ก เยาวชน ครอบครัว (ภาวะคุกคาม) และผู้ด้อยโอกาส แรงงานนอกระบบ เกิดกลไกการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีต่างๆ โดย 1) ยกระดับแผนสุขภาพตำบลที่จัดทำโดยกองทุนสุขภาพตำบลไปสู่แผนสุขภาพระดับอำเภอให้สอดคล้องกับการดำเนินงานเขตสุขภาพระดับอำเภอ (DHS/DHB) 2) บูรณาการกลไกการทำงานของ สสส .สปสช และ สช เข้ากับคณะกรรมการคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอำเภอ (District Health Board) 3) เพื่มขีดความสามารถของทีมพี่เลี้ยง พื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อการขยายผลให้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น 4) ผลักดันให้เกิดยุทธศาสตร์ด้านปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด เอดส์ อุติเหตุ เด็ก เยาวชน ในระดับพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ของเครือข่ายคนทำงาน และ 5) สนับสนุนกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ระดับจังหวัดในพื้นที่นำร่องภาคใต้ตอนบน (สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2559)
ภายใต้โครงการดังกล่าวของ ศวสต. จังหวัดระนองได้จัดทำโครงการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพแรงงานนอกระบบจังหวัดระนอง โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ได้แก่ 1) เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่ดำเนินงานด้านแรงงานนอกระบบและปัจจัยเสี่ยง 2) เพื่อพัฒนาศักยภาพระบบสุขภาพในพื้นที่ให้มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ 3) เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพในพื้นที่ และ 4) เพื่อหนุนเสริมกระบวนการทำงานให้ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพพร้อมสื่อสารสู่สังคม โดยมีระยะเวลาดำเนินงานโครงการประมาณ 15 เดือน ตั้งแต่ มกราคม พ.ศ.2561 – มีนาคม พ.ศ. 2562 ดำเนินการในพื้นที่ 4 ตำบลของอำเภอเมืองระนอง ได้แก่ ตำบลบางนอน ตำบลบางริ้น ตำบลเขานิเวศน์ และ ตำบลปากน้ำ (สมาคมชุมชนสร้างสุขจังหวัดระนอง, 2559) เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการข้างต้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีกลไกติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการอย่างเป็นระบบ ผู้วิจัยจึงได้จัดทำโครงการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโครงการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพแรงงานนอกระบบจังหวัดระนองขึ้น โดยการประยุกต์ใช้เครื่องมือการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Health Impact Assessment : HIA) 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) กลั่นกรองนโยบาย แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมโดยสาธารณะ (Public screening) 2) กำหนดขอบเขตการศึกษาโดยสาธารณะ (Public scoping) 3) ประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Assessing) และ 4) ทบทวนร่างรายงานผลการศึกษาโดยสาธารณะ (Public review) มาทำการประเมินผลกระทบของโครงการ เพื่อหนุนเสริมการทำงานโครงการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพแรงงานนอกระบบจังหวัดระนอง ให้สามารถขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดผลสัมฤทธ์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการต่อไป นอกจากนี้ ผลการวิจัยนี้จะสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการแรงงานนอกระบบของจังหวัดระนองต่อไป
1) กลั่นกรองนโยบาย แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมโดยสาธารณะ (Public screening)
2) กำหนดขอบเขตการศึกษาโดยสาธารณะ (Public scoping)
3) ประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Assessing)
4) ทบทวนร่างรายงานผลการศึกษาโดยสาธารณะ (Public review)
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อกลั่นกรองนโยบาย แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมโดยสาธารณะ (Public screening)
|
||
2 | เพื่อกำหนดขอบเขตการศึกษาโดยสาธารณะ (Public scoping)
|
||
3 | เพื่อประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Assessing)
|
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | |||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2561 09:30 น.