สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

การประเมินผลกระทบการท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดกระบี่

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)


“ การประเมินผลกระทบการท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดกระบี่ ”

ชุมชนบ้านแหลมสัก และชุมชนบ้านถ้ำเสือ ตำบลอ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ชุมชนท่องเที่ยวบ้านหนองทะเลและชุมชนท่องเที่ยวบ้านทุ่งหยีเพ็ง

หัวหน้าโครงการ
นางฐิติชญาน์ บุญโสม

ชื่อโครงการ การประเมินผลกระทบการท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดกระบี่

ที่อยู่ ชุมชนบ้านแหลมสัก และชุมชนบ้านถ้ำเสือ ตำบลอ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ชุมชนท่องเที่ยวบ้านหนองทะเลและชุมชนท่องเที่ยวบ้านทุ่งหยีเพ็ง จังหวัด กระบี่

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง 59-ข-028

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2559 ถึง 30 มิถุนายน 2560


กิตติกรรมประกาศ

"การประเมินผลกระทบการท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดกระบี่ จังหวัดกระบี่" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ชุมชนบ้านแหลมสัก และชุมชนบ้านถ้ำเสือ ตำบลอ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ชุมชนท่องเที่ยวบ้านหนองทะเลและชุมชนท่องเที่ยวบ้านทุ่งหยีเพ็ง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
การประเมินผลกระทบการท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดกระบี่



บทคัดย่อ

โครงการ " การประเมินผลกระทบการท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดกระบี่ " ดำเนินการในพื้นที่ ชุมชนบ้านแหลมสัก และชุมชนบ้านถ้ำเสือ ตำบลอ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ชุมชนท่องเที่ยวบ้านหนองทะเลและชุมชนท่องเที่ยวบ้านทุ่งหยีเพ็ง รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2559 - 30 มิถุนายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 400,000.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 300 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อศึกษารูปแบบและวิเคราะห์สถานการณ์ การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดกระบี่
  2. เพื่อประเมินผลกระทบที่เกิดจากการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดกระบี่
  3. เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่ต่อไป

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมคณะทำงานการวิจัย ครั้งที่ 1

    วันที่ 14 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ศึกษาข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพิ่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน และประเด็นองค์ความรู้เกี่ยวกับการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ โดยการค้นหาข้อมูล ด้วยข้อมูลทางทุติยภูมิ (secondary source) จากงานวิจัย จากหนังสือที่เกี่ยวข้อง  หนังสือตำราด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน เอกสารจากหน่วยงาน เช่น สำนักงานจังหวัดกระบี่ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา ฯลฯ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทีมงานวิจัย ได้ผลผลิต เป็นการค้นพบงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถนำมาเป็นข้อมูลสนับสนุนทางการศึกษาที่สำคัญ

    • งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นงานที่ได้รับการตีพิมพ์ทั้งในวารสารต่างประเทศและในประเทศ
    • งานที่เป็นเอกสารการสรุปการเชิงพื้นที่ ของชุมชนท่องเที่ยวในพื้นที่อื่น ๆ


      ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดการวิเคราะห์ สังเคราะห์จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนช่องว่างงานวิจัยได้

     

    15 10

    2. กิจกรรมลงพื้นที่เพื่อเตรียมข้อมูล แหลมสัก และบ้านถ้ำเสือ

    วันที่ 18 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมงานวิจัยและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น แกนนำในชุมชน อปท.ในพื้นที่ ดำเนินงานการประสานงานเพื่อการสำรวจพื้นที่เป็นในการเก็บข้อมูลพื้นฐาน เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ เพื่อเป็นข้อมูลในการสนับสนุนงานวิจัย 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิตจากกิจกรรมนี้

    • จำนวนสมาชิกของการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีจำนวนเพิ่มขึ้น
    • จำนวนหน่วยงานทั้งหน่วยงานรัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ให้ความสนใจและเข้ามาประสานงาน เพื่อให้ความช่วยเหลือ และสร้างความร่วมมือในการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

    ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชุมชนท่องเที่ยวเกิดการตื่นตัว ในด้านการมีส่วนร่วม

     

    15 13

    3. กิจกรรมลงพื้นที่เพื่อเตรียมข้อมูล บ้านทุ่งหยีเพ็ง ลันตา หนองทะเล

    วันที่ 6 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเบื้องต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิตจากกิจกรรมนี้

    • จำนวนสมาชิกของการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีจำนวนเพิ่มขึ้น
    • จำนวนหน่วยงานทั้งหน่วยงานรัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ให้ความสนใจและเข้ามาประสานงาน เพื่อให้ความช่วยเหลือ และสร้างความร่วมมือในการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น


      ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชุมชนท่องเที่ยวเกิดการตื่นตัว ในด้านการมีส่วนร่วมชุมชนท่องเที่ยวเกิดการตื่นตัว ในด้านการมีส่วนร่วม

     

    15 15

    4. ประชุมคณะทำงานการวิจัย ครั้งที่ 2 (เตรียมเอกสารวางแผนจัดทำ Mapping)

    วันที่ 29 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นักวิจัย นำเสนอข้อมูลจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
    2. นักวิจัย นำเสนอข้อมูลผลจากการเก็บข้อมูลในพื้นที่ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิตที่ได้ - ข้อมูล ปฐมภูมิ และทุติยภูมิ จาก 4 พื้นที่การวิจัย
    ผลลัพธ์ที่ได้ - เกิดการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเกิดเป็นเครื่องมือการวิจัย

     

    10 5

    5. ประชุมคณะทำงานการวิจัย ครั้งที่ 3 (สรุปแผนการลงพื้นที่ mapping และวางแผนการประสานงาน)

    วันที่ 18 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เครื่องมือวิจัย เพื่อให้เกิดความเที่ยงตรงที่สุด
    2. ทดลองใช้แบบทดสอบ
    3. การประชุมหารือเพื่อวางแผนงานในการลงพื้นที่เพื่อสร้าง Mapping เป็นแผนที่ชุมชนการท่องเที่ยวโดยชุมชนทั้ง 4 พื้นที่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • ได้เครื่องมือการวิจัย เป็นแบบสอบถามเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ
    • เครื่องมือวิจัยได้รับการรับรอง
    • รูปแบบการทำ Mapping ชุมชน

    ผลลัพธ์

    • นักวิจัยสามารถใช้เครื่องมือการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     

    10 10

    6. ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล Mapping พื้นที่ชุมชนท่องเที่ยว ครั้งที่ 1 บ้านหนองทะเล

    วันที่ 26 กรกฎาคม 2559 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับประธานชุมชน
    2. เก็บข้อมูลโดยการ Focus Group กลุ่มแกนนำชุมชนและเครือข่ายชุมชน
    3. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับชุมชน
    4. จัดทำแผนที่ชุมชนเดินดิน (Mapping) ชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. เกิดแผนที่ชุมชน (Mapping
    2. มีรายงานผลข้อมูลการลงพื้นที่

    ผลลัพธ์

    1. ชุมชนได้รู้ข้อมูลในพื้นที่ของตนเอง
    2. นักวิจัยได้รับรู้ข้อมูลโดยตรงจากทางชุมชน สามารถนำเป็นข้อมูลสนับสนุนในการวิจัยได้

     

    20 14

    7. ประชุมคณะทำงานการวิจัย ครั้งที่ 5 (เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลพื้นที่ท่องเที่ยวหนองทะเล)

    วันที่ 29 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลพื้นที่หนองทะเล
    2. การเตรียมการเพื่อสรุปและร่างรายงานฉบับที่ 1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • รายงานการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่ การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหนองทะเล
    • โครงร่างรายงานการทำงานฉบับที่ 1

    ผลลัพธ์

    • นักวิจัยได้นำข้อมูล แผนที่ชุมชน ส่งคืนกลับพื้นที่
    • แกนนำและผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่เกิดความประทับใจและเข้าใจการทำงานของทีมวิจัยที่เข้ามาเพื่อสนับสนุนส่งเสริมชุมชน โดยใช้แนวทางการทำงานทางวิชาการ

     

    15 10

    8. ประชุมคณะทำงานการวิจัย ครั้ง 6 (เพื่อสรุปร่างรายงานการทำงานฉบับที่ 1 และเพื่อวางแผนการทำงานการลงพื้นที่ Mapping ชุมชนท่องเที่ยวบ้านทุ่งหยีเพ็ง)

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สรุปร่างรายงานการทำงานฉบับที่ 1
    • วางแผนการทำงานการลงพื้นที่ Mapping ชุมชนท่องเที่ยวบ้านทุ่งหยีเพ็ง โดยการถอดบทเรียนจากการทำ Mapping พื้นที่ชุมชนท่องเที่ยวบ้านหนองทะเล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • ได้ร่างรายงานการทำงานฉบับที่ 1
    • ได้แผนการทำงานเพื่อการลงพื้นที่การทำ Mapping ชุมชนในครั้งต่อไป

    ผลลัพธ์

    • ทีมนักวิจัย ได้ข้อมูลจากพื้นที่มากขึ้นทำให้เห็นช่องว่างของงานวิจัย และส่งผลต่อการวางแผนการทำงานครั้งต่อไป มีการเก็บข้อมูลที่ครอบคลุมและรัดกุมมากยิ่งขึ้น

     

    15 5

    9. ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล Mapping พื้นที่ชุมชนท่องเที่ยว ครั้งที่ 2 บ้านทุ่งหยีเพ็ง

    วันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับประธานชุมชน
    2. เก็บข้อมูลโดยการ Focus Group กลุ่มแกนนำชุมชนและเครือข่ายชุมชน
    3. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับชุมชน
    4. จัดทำแผนที่ชุมชนเดินดิน (Mapping) ชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. เกิดแผนที่ชุมชน (Mapping
    2. มีรายงานผลข้อมูลการลงพื้นที่

    ผลลัพธ์

    1. ชุมชนได้รู้ข้อมูลในพื้นที่ของตนเอง
    2. นักวิจัยได้รับรู้ข้อมูลโดยตรงจากทางชุมชน สามารถนำเป็นข้อมูลสนับสนุนในการวิจัยได้

     

    20 10

    10. การจัดเวทีเชิงปฏิบัติการscreening

    วันที่ 22 ธันวาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประสานเชิญแกนนำและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องชุมชนท่องเที่ยวทั้ง 4 พื้นที่ เข้าร่วมเวทีในวันที่ 22 ธันวาคม 2559
    2. จัดเวทีกลั่นกรองข้อมูล (Screening) โดยนักวิจัยและเครือข่ายชุมชนท่องเที่ยวทั้ง 4 พื้นที่ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • ได้ข้อมูลที่ได้รับการกลั่นกรอง และเป็นมติของทั้ง 4 ชุมชน
    • เพิ่มเติมข้อมูล เป็นข้อมูลเที่ยวที่ใช้ในการกำหนดชี้วัดการประเมินผลกระทบการท่องเที่ยวโดยชุมชน
    • เกิดร่างการออกแบบตัวชี้วัดการประเมินผลกระทบการท่องเที่ยวโดยชุมชน

    ผลลัพธ์

    • ชุมชนท่องเที่ยวทั้ง 4 ชุมชน เห็นคุณค่าของพื้นที่ของตนเองมากขึ้น
    • เกิดความร่วมมือในการทำงานของชุมชนและทีมนักวิจัยมากขึ้น
    • ตัวชี้วัดที่ได้จะสามารถเป็นเครื่องที่ที่มีความถูกต้องตามหลักวิชาการ เชื่อถือได้

     

    60 60

    11. ประชุมสรุปข้อมูลจากการประชุมแกนนำเครือข่าย (ประชุมคณะทำงาน และแกนนำชุมชน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลจากเวที screening )

    วันที่ 27 ธันวาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นำข้อมูลจากการจัดทำแผนที่ชุมชน Mapping ของชุมชนท่องเที่ยวบ้านหนองทะเล และชุมชนบ้านทุ่งหยีเพ็ง และจากเวทีกลั่นกรองข้อมูล screening มาวิเคราะห์อีกครั้ง
    2. ตรวจสอบการสร้างตัวชี้วัด โดยนำข้อมูลทั้งหมดมาประกอบการจัดทำตัวชี้วัด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • กรอบการทำตัวชี้วัดการประเมินผลกระทบชัดเจนขึ้น

    ผลลัพธ์

    • นักวิจัยได้รับข้อมูลที่ชัดเจนขึ้น ส่งผลต่อการสร้างตัวชี้วัด ที่เที่ยงตรง

     

    15 15

    12. ประชุมถอดบทเรียนจากกระบวนการการทำแผนที่ชุมชน และเวทีกลั่นกรองข้อมูล

    วันที่ 3 มกราคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นำข้อมูลที่รวบรวมไว้ทั้งหมดมาวิเคราะห์
    2. วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้กระบวนการกลุ่ม 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    -ข้อมูลสรุปจากกระบวนการการถอดบทเรียนจากกระบวนการการทำแผนที่ชุมชน และการจัดเวทีกลั่นกรองข้อมูล

    ผลลัพธ์

    • นักวิจัยได้รับข้อมูลเพื่อเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างตัวชี้วัดผลกระทบจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน ผลกระทบด้านสังคมวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจชุมชน

     

    15 10

    13. ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล Mapping พื้นที่ชุมชนท่องเที่ยวแหลมสัก

    วันที่ 16 มกราคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับประธานชุมชน
    2. เก็บข้อมูลโดยการ Focus Group กลุ่มแกนนำชุมชนและเครือข่ายชุมชน
    3. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับชุมชน
    4. จัดทำแผนที่ชุมชนเดินดิน (Mapping) ชุมชน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. เกิดแผนที่ชุมชน (Mapping
    2. มีรายงานผลข้อมูลการลงพื้นที่

    ผลลัพธ์

    1. ชุมชนได้รู้ข้อมูลในพื้นที่ของตนเอง
    2. นักวิจัยได้รับรู้ข้อมูลโดยตรงจากทางชุมชน สามารถนำเป็นข้อมูลสนับสนุนในการวิจัยได้

     

    20 10

    14. ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล Mapping พื้นที่ชุมชนท่องเที่ยวบ้านถ้ำเสือ

    วันที่ 20 มกราคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับประธานชุมชน
    2. เก็บข้อมูลโดยการ Focus Group กลุ่มแกนนำชุมชนและเครือข่ายชุมชน
    3. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับชุมชน
    4. จัดทำแผนที่ชุมชนเดินดิน (Mapping) ชุมชน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. เกิดแผนที่ชุมชน (Mapping
    2. มีรายงานผลข้อมูลการลงพื้นที่

    ผลลัพธ์

    1. ชุมชนได้รู้ข้อมูลในพื้นที่ของตนเอง
    2. นักวิจัยได้รับรู้ข้อมูลโดยตรงจากทางชุมชน สามารถนำเป็นข้อมูลสนับสนุนในการวิจัยได้

     

    20 20

    15. ประชุมคณะทำงานการวิจัย ครั้งที่ 7 เพื่อเตรียมการจัดเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ(scoping)

    วันที่ 25 มกราคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประสานกลุ่มเป้าหมาย
    2. นำส่งข้อมูลเบื้องต้น จากเวที screening ผลการกลั่นกรองข้อมูล ส่งให้แกนนำชุมชนเพื่อสร้างความเข้าใจในประเด็นเบื้องต้น
    3. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดเวทีรับฟังสาธารณะ ผลกระทบจากการท่องเที่ยว scoping 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • ได้ข้อมูลเพิ่มเติมที่รอบด้านมากยิ่งขึ้น

    ผลลัพธ์

    • ตัวชี้วัดผลกระทบการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่จะมีสมบูรณ์ และเที่ยงตรงขึ้น
    • ทีมนักวิจัยและชุมชนเชื่อมั่นในกระบวนการวิจัย

     

    10 8

    16. การจัดเวทีการนำเสนอต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง scoping

    วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประสานงานภาคีเครือข่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
    2. จัดเวทีสาธารณะ scoping
    3. ทีมอาจารย์ นักวิชาการจาก สจรส.ให้คำแนะนำ และเสริมข้อมูลเพื่อนำเสนอกระบวนการการวิจัย บนเวที scoping
    4. รวบรวมข้อมูลจากเวที scoping

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • ข้อมูลเพื่อนำมากำหนดตัวชี้วัดเครื่องมือการวิจัยที่ชัดเจนขึ้น
    • ได้รับข้อเสนอแนะบนเวทีที่หลากหลายและรอบด้าน

    ผลลัพธ์

    • ความเชื่อมั่นในตัวชี้วัดของงานวิจัย
    • ได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายภาคีต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น

     

    85 85

    17. ประชุมคณะทำงานการวิจัย ครั้งที่ 8 สรุปผลและถอดบทเรียนจากเวทีสาธารณะ scoping

    วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สรุปผลการนำเสนอต่อเวทีสาธารณะ ตามประเด็น ผลกระทบการท่องเที่ยวโดยชุมชนด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจชุมชน
    2. ถอดข้อมูลจากเวทีการประชุมเป็นเอกสาร บันทึกเป็นรายการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • ได้ข้อเสนอในการจัดทำตัวชี้วัดในประเด็น สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจชุมชนที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น

    ผลลัพธ์

    • เกิดความเชื่อมั่นในการทำงานตามกระบวนการวิจัยทั้งทีมคณะวิจัย และชุมชน รวมทั้งภาคีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน

     

    15 7

    18. ประชุมคณะทำงานการวิจัย และแกนนำชุมชนครั้งที่ 9 (สรุปและวางแผนการทำงานในครั้งต่อไป)

    วันที่ 5 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ทีมวิจัยนำเอกสารต่าง ๆ เพื่อจัดทำรายการการดำเนินงานตามโครงการ
    2. วางแผนและวิเคราะห์หาข้อบกพร่อง ในการทำงานเพื่อปรับปรุงแก้ไข

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • ข้อสรุปจากการทำงาน จุดแข็ง จุดอ่อนจากการดำเนินงานที่ผ่านมา

    ผลลัพธ์

    • เกิดการพัฒนาการทำงานของทีมนักวิจัย
    • ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการทำงาน

     

    15 15

    19. ประชุมคณะทำงานการวิจัย และแกนนำชุมชน ครั้งที่ 10

    วันที่ 20 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ตรวจสอบความถูกต้องตัวชี้วัดผลกระทบการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในประเด็น สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจชุมชน
    2. แลกเปลี่ยนความคิดของนักวิจัย โดยใช้ข้อมูลจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาเป็นข้อมูลเปรียบเทียบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • ได้ตัวชี้วัดที่ผ่านกระบวนการจากเวทีการกลั่นกรองข้อมูลและเวทีสาธารณะ

    ผลลัพธ์

    • เกิดความเชื่อมั่นในการนำตัวชี้วัดมาใช้ในการงานวิจัย
    • ผลจากงานวิจัยโดยใช้ตัวชี้วัดนี้จะเป็นแนวทางในการทำงานงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในครั้งต่อไปได้

     

    15 10

    20. ประชุมกลุ่ม คณะกรรมการท่องเที่ยวชุมชน 4 พื้นที่ (Focus Group)

    วันที่ 27 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประสานการทำงาน 4 พื้นที่ชุมชนท่องเที่ยว
    2. จัดเวทีชุมชน 4 พื้นที่
    3. นำตัวชี้วัดที่ได้มาเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • ข้อมูลที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยการเปรียบเทียบจากฐานข้อมูลที่มีอยู่

    ผลลัพธ์

    • เวทีที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับชุมชนท่องเที่ยวในการเป็นส่วนหนึ่งของฐานการอนุรักษ์ และการเพิ่มมูลค่าคุณค่า ให้เกิดเป็นเศรษฐกิจชุมชนที่เข้มแข็ง

     

    10 15

    21. รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามโครงการ กับคณะทีมติดตามงานจาก สจรส.ม.อ.

    วันที่ 23 เมษายน 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. รวบรวมข้อมูลการทำงาน เอกสารข้อมูล
    2. รวบรวมข้อมูลการจัดทำบัญชีค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงการ
    3. การส่งงานเพื่อตรวจสอบการรายงานผ่านเวปไซด์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • เอกสาร เป็นรายงานการทำงานภายใต้โครงการ
    • เอกสาร หลักฐานทางการใช้จ่ายในระหว่างการจัดทำโครงการ

    ผลลัพธ์

    • การดำเนินงานตามโครงการทั้งเอกสารรายงานและการเงินได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณะ
    • เป็นกระบวนการการทำงานที่โปร่งใส

     

    5 2

    22. ประชุมทีมวิจัย เพื่อตรวจสอบความถูกต้องในการจัดทำบัญชี ค่าใช้จ่าย

    วันที่ 25 เมษายน 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. รวบรวมเอกสารการใช้จ่ายต่าง ๆ
    2. ตรวจสอบความถูกต้องในการใช้จ่ายและลายเซ็นการทำงานของคณะวิจัย รวมทั้งผู้เข้าร่วมโครงการในทุกกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • เอกสารด้านการเงินที่ถูกต้องตรงกับกิจกรรมการทำงานภายใต้โครงการ

    ผลลัพธ์

    • เกิดกระบวนการการทำงานที่เป็นระบบในทีมคณะทำงานวิจัย
    • กระบวนการทำงานที่ตรวจสอบการทำงานได้ในทุกข้้นตอน

     

    7 10

    23. นำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงานให้คณะทำงานจาก สจรส ม.อ ที่จ.ตรัง

    วันที่ 30 เมษายน 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. รวบรวมข้อมูลจากการดำเนินงาน
    2. เสนอการดำเนินงานภายใต้แผนงาน
    3. กำหนดทิศทางการทำงาน เพื่อจัดเวที รับฟังทิศทางการดำเนินงานเวทีข้อเสนอเชิงนโยบายวันที่ 25 พฤษภาคม 60 ที่จังหวัดตรัง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • ได้ทิศทางการทำงาน เพื่อจัดเวทีข้อเสนอเชิงนโยบายในวันที่ 25 พฤษภาคม 60 ที่จังหวัดตรัง

    ผลลัพธ์

    • ทิศทางและแนวทางการและผลการวิจัยเป็นงานที่ผ่านกระบวนการสาธารณะ เป็นการมีส่วนร่วมที่จะสร้างความเชื่อถือในงานวิจัย

     

    10 10

    24. เก็บข้อมูลแบบสอบถาม ชุมชนท่องเที่ยวบ้านหนองทะเล (สัมภาษณ์เชิงลึก)

    วันที่ 3 พฤษภาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. การประสานแกนนำชุมชน ประธานชุมชนท่องเที่ยวบ้านหนองทะเล
    2. เก็บข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึก ประธานชุมชนท่องเที่ยวบ้านหนองทะเล คุณขวัญตา ผกามาศ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • ข้อมูลเชิงลึกในพื้นที่เพื่อนำมาเป็นข้อมูลเสริม วิเคราะห์ เปรียบเทียบจากข้อมูลที่ได้มา ทั้งปฐมภูมิ และทุติยภูมิ

    ผลลัพธ์

    • ข้อมูลที่ได้รอบด้านและครอบคลุม
    • แกนนำชุมชนมีแนวทางการพัฒนาตนเอง ภายใต้การเรียนรู้การทำงานของทีมคณะวิจัย

     

    10 10

    25. เก็บข้อมูลแบบสอบถามชุมชนท่องเที่ยวบ้านทุ่งหยีเพ็ง (สัมภาษณ์เชิงลึก)

    วันที่ 4 พฤษภาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประสานงานแกนนำชุมชนท่องเที่ยวบ้านทุ่งหยีเพ็ง สัมภาษณ์เชิงลึก
    2. วางแผนการเก็บข้อมูลนักท่องเที่ยว โดยประสานกับกลุ่มผู้ประกอบอาชีพในชุมชน คือ กลุ่มขับเรือ ขับรถรับจ้าง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • ข้อมูลเชิงลึกในพื้นที่เพื่อนำมาเป็นข้อมูลเสริม วิเคราะห์ เปรียบเทียบจากข้อมูลที่ได้มา ทั้งปฐมภูมิ และทุติยภูมิ

    ผลลัพธ์

    • ข้อมูลที่ได้รอบด้านและครอบคลุม
    • แกนนำชุมชนมีแนวทางการพัฒนาตนเอง ภายใต้การเรียนรู้การทำงานของทีมคณะวิจัย

     

    10 10

    26. การประชุมกลุ่ม (Focus Group) ชุมชนท่องเที่ยวบ้านทุ่งหยีเพ็ง

    วันที่ 7 พฤษภาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประสานงานเครือข่ายกลุ่มเป้าหมายในชุมชนท่องเที่ยวบ้านทุ่งหยีเพ็ง (ในชุมชน และนักท่องเที่ยว)
    2. นำตัวชี้วัดผลกระทบการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล
    3. รวมรวบข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • ข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นผลกระทบการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านทุ่งหยีเพ็งที่ครอบคลุมมากขึั้น จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน

    ผลลัพธ์

    • ข้อมูลที่ได้รับส่งผลต่อการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ในการท่องเที่ยวโดยชุมชนของจังหวัดกระบี่

     

    30 24

    27. การประชุมกลุ่ม (Focus Group) ชุมชนท่องเที่ยวบ้านหนองทะเล

    วันที่ 8 พฤษภาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประสานงานเครือข่ายกลุ่มเป้าหมายในชุมชนท่องเที่ยวบ้านหนองทะเล(ในชุมชน และนักท่องเที่ยว)
    2. นำตัวชี้วัดผลกระทบการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล
    3. รวมรวบข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • ข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นผลกระทบการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหนองทะเลที่ครอบคลุมมากขึั้น จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน

    ผลลัพธ์

    • ข้อมูลที่ได้รับส่งผลต่อการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ในการท่องเที่ยวโดยชุมชนของจังหวัดกระบี่

     

    30 32

    28. เก็บข้อมูลแบบสอบถาม (สัมภาษณ์เชิงลึก)บ้านแหลมสัก และบ้านถ้ำเสือ อำเภออ่าวลึก

    วันที่ 9 พฤษภาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประสานงานกลุ่มเป้าหมายผู้ให้สัมภาษณ์ใน 2 พื้นที่ แหลมสักและบ้านถ้ำเสือ
    2. สัมภาษณ์โดยการบันทึกเสียง
    3. ถอดเทปเสียงสัมภาษณ์
    4. วิเคราะห์ข้อมูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • มีข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวข้องกับความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ สังคม และเศรษฐกิจชุมชน

    ผลลัพธ์

    • ชุมชนเกิดความตื่นตัวในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

     

    10 40

    29. ประชุม (Focus Group) ชุมชนบ้านถ้ำเสือ ต.อ่าวลึกใต้ และต.แหลมสัก อ.อ่าวลึก

    วันที่ 16 พฤษภาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประสานงานในการจัดเวทีจัดประชุมกลุ่ม Focus group
    2. เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม เป็นเครือข่ายหลากหลายของชุมชนท่องเที่ยวทั้ง 2 ชุมชน
    3. วิเคราะห์ข้อมูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อนำมาเติมเต็มข้อมูลงานวิจัย ให้ได้รับความเที่ยงตรงมากขึ้น

    ผลลัพธ์

    • ชุมชนมีความภาคภูมิใจในการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่สามารถช่วยด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ วิถีวัฒนธรรม และเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวและชุมชน

     

    30 0

    30. สรุปรายงาน/ทำเล่มรายงาน

    วันที่ 30 พฤษภาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. รวมรวบข้อมูลจากขั้นตอนงานวิจัย
    2. วิเคราะห์ สรุปข้อมูล
    3. บันทึกลงแบบฟอร์มรายงาน
    4. จัดทำบัญชีการเงิน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และตรวจเช็คความถูกต้อง
    5. จัดทำรูปเล่ม เพื่อนำส่ง สจรส.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • รูปเล่มงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
    • แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจ.กระบี่

    ผลลัพธ์

    • จังหวัดกระบี่นำแผนยุทธศาสตร์จากงานวิจัยไปขับเคลือนต่อ
    • เกิดความเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีของชุมชนท่องเที่ยวจ.กระบี่

     

    5 5

    31. การจัดเวทีสาธารณะ เพื่อรับรองแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชน

    วันที่ 11 กรกฎาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นำเสนอ (ร่าง)แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชน
    2. วิเคราะห์แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชน 5 แผนยุทธศาสตร์
    3. รับรองแผนการท่องเที่ยวโดยชุมชน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดยุทธศาสตร์การพัฒนา ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้

    • ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างคุณภาพ ทักษะ และความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ในชุมชนให้มีศักยภาพในการจัดการการท่องเที่ยว โดยชุมชนแบบพึ่งพาตนเองบนฐานความพอเพียงและความรู้

    • ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของต้นทุนทรัพยากรชุมชนสู่การเป็นสินค้าและบริการบนฐานอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ และการมีส่วนร่วมของชุมชนสู่ต้นแบบเป็นแหล่งเรียนรู้การพัฒนาและจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนในระดับต่าง ๆ

    • ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการบริหารจัดการการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มุ่งเน้นการสร้างสมดุลของความสุขอย่างเท่าเทียมระหว่างชุมชนและนักท่องเที่ยว

    • ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนระบบการบริหารจัดการ และการทำงานเชื่อมโยงเชิงเครือข่ายประชารัฐที่มีเอกภาพ มั่นคงและยั่งยืน

    • ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาดัชนีชี้วัดความสุขระหว่างชุมชนและนักท่องเที่ยวตลอดจนพัฒนาไปสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ในภูมิภาคอาเซียน

     

    40 45

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อศึกษารูปแบบและวิเคราะห์สถานการณ์ การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดกระบี่
    ตัวชี้วัด : 1. ชุมชนท่องเที่ยวแหลมสัก ชุมชนท่องเที่ยวบ้านถ้ำเสือ ชุมชนท่องเที่ยวบ้านหนองทะเล และชุมชนท่องเที่ยวบ้านทุ่งหยีเพ็ง มีรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน 2. ชุมชนท่องเที่ยวแหลมสัก ชุมชนท่องเที่ยวบ้านถ้ำเสือ ชุมชนท่องเที่ยวบ้านหนองทะเล และชุมชนท่องเที่ยวบ้านทุ่งหยีเพ็งได้รับการวิเคราะห์สถานการณ์ การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน

     

    2 เพื่อประเมินผลกระทบที่เกิดจากการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดกระบี่
    ตัวชี้วัด : มีดัชนีและตัวชี้วัดสำคัญในการดำเนินการศึกษาตามขั้นตอนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ

     

    3 เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่ต่อไป
    ตัวชี้วัด : 1. ได้แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่ ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติจำนวน 5 ยุทธศาตร์ เพื่อนำสู่แผนงานโครงการ 2. แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่ นำเสนอสู่เวทีผู้กำหนดนโยบายและมีหน่วยงานผู้รับผิดชอบนำแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติเห็นผลเป็นรูปธรรม

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษารูปแบบและวิเคราะห์สถานการณ์ การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดกระบี่ (2) เพื่อประเมินผลกระทบที่เกิดจากการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดกระบี่ (3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่ต่อไป

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ การประเมินผลกระทบการท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดกระบี่

    รหัสสัญญา 59-ข-028 ระยะเวลาโครงการ 1 พฤษภาคม 2559 - 30 มิถุนายน 2560

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    ชุมชนท่องเที่ยวเกิดแนวคิดใหม่ อย่างสร้างสรรค์ จัดกระบวนการท่องเที่ยว เป็นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

    • การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ้านถ้ำเสือ
    • ชุมชนท่องเที่ยวบ้านทุ่งหยีเพ็ง ใช้กิจกรรมนั่งเรือ ฟังเสียงธรรมชาติ โดยใช้หลักการนั่งสมาธิ ส่งผลต่อสภาพจิตใจที่ผ่อนคลายและเกิดความสุข

    ส่งเสริมให้ชุมชนเกิดแนวคิดใหม่อย่างสร้างสรรค์โดยการบูรณาการกับการดูแลสุขภาพ โดยนำกลุ่มคนหลากหลายกลุ่ม มาร่วมกิจกรรม เช่น กลุ่มผู้อาวุโส กลุ่มเยาวชน กลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยใช้กิจกรรมหลักศาสนามาเป็นหลักยึด เช่น กิจกรรมสนทนากลางสายน้ำ และละหมาดร่วมกัน บนแพกลางน้ำของชุมชนท่องเที่ยวบ้านหนองทะเล

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    เกิดกระบวนการชุมชน ในมิติทางวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ด้วยการคิดนำทุนทางวัฒนธรรมมาปรับ ฟื้นฟู สร้างเป็นผลผลิตใหม่ของชุมชน

    ชุมชนนำภูมิปัญญาเดิมมาปรับใช้ เช่น การนำเรือแจวโบราณมาใช้ในกิจกรรมท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวสามารถพายเรือร่วมกันชุมชน เป็นการออกกำลังท่ามกลางธรรมชาติ

    ชุมชนท่องเที่ยวอื่น มีแบบอย่าง และสามารถนำภูมิปัญญาดั้งเดิมในแต่พื้นที่ มาปรับใช้เป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพได้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    เกิดกระบวนการสร้างเครือข่ายที่เพิ่มขึ้น โดยนำแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อเป้าหมายสุขภาพกายใจ ของสมาชิกในชุมชนท่องเที่ียว

    จำนวนเครือข่ายชุมชนท่องเที่ยว จำนวนสมาชิกเห็นความสำคัญต่อการจัดการการท่องเที่ยวที่มีเป้าหมายเพื่อสังคมสุขภาวะ

    การนำภูมิปัญญา วัฒนธรรม แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ มาเชื่อมร้อย กับการจัดการสุขภาพเพื่อเป้าหมายการมีสุขภาพกายใจที่ดี เป็นเป้าหมายสำคัญของคนในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    เกิดการจัดการในชุมชน ในการดำเนินงานการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่แต่ละชุมชนเป้าหมายในพื้นที่วิจัย ได้เพิ่มเติมการทำงาน ที่มุ่งเน้นเพื่อการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น

    วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการทำงานชุมชนท่องเที่ยว ได้นำการดูแลการสร้างเสริมสุขภาพเป็นเป้าหมายสำคัญของสมาชิกในชุมชน

    การทำงานที่จะต้องเชื่อมโยงและเพิ่มเติมข้อมูลทางสุขภาพที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้นำสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางสุขภาพ เช่นการเชื่อมโยงการทำงานด้านสุขภาพกับ รพ.สต.ในแต่ละพื้นที่ เป็นต้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    การเกิดกลุ่มเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่หลากหลายขึ้น

    กลุ่มเยาวชนในโรงเรียน
    กลุ่มอาวุโส กลุ่มศาสนา

    เพิ่มจำนวนเครือข่าย กลุ่มใหม่เช่น กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ให้กลับบ้านเกิด กลุ่มนักวิจัย นักวิชาการด้านสุขภาพในและนอกชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    นำแหล่งเรียนรู้เดิมมาปรับ เพิ่มสร้างคุณค่าทางวัฒนธรรม และคุณค่าในการเสริมสร้างมิติทางสุขภาพ

    แหล่งโคลนสปาธรรมชาติของชุมชนท่องเที่ยวบ้านถ้ำเสือ

    การปรับแหล่งเรียนรู้เดิม เป็นแหล่งเรียนรู้ใหม่ในการเสริมสร้างสุขภาพในแต่ละชุมชนท่องเที่ยวให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    เกิดการสื่อสารการให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน เช่น การรักษาความสะอาดทางกาย ดูแลสิ่งแวดล้อม

    ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน สมาชิกในชุมชน มีการแต่งกายที่สะอาดเหมาะสม เป็นรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน

    จำนวนสมาชิกในชุมชนท่องเที่ยว มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น โดยการให้ความรู้ขององค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สาธารณสุขตำบล สาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาล เป็นต้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    ชุมชนเกิดข้อตกลงในการเลือกสรร อาหารที่ดีต่อสุขภาพในการจัดกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว

    การนำวัสดุท้องถิ่น มาเป็นจุดขายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ใส่ใจต่อสุขภาพ เช่น ชุมชนท่องเที่ยวแหลมสัก ได้นำกะปิ มาปรุงเป็นข้าวคลุกกะปิที่มุ่งเน้นสรรพคุณเพื่อสุขภาพ

    การบริโภคในชุมชนท่องเที่ยวทั้งการบริโภคของคนในชุมชน และนักท่องเที่ยว ต้องได้รับข้อมูลอาหารท้องถิ่นที่บริโภคไปว่า มีสรรพคุณอย่างไร โดยการเชื่อมโยงการทำงานเพื่อการเพิ่มเติมข้อมูลจากนักวิชาการสาธารณสุข หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    การจัดรูปแบบการท่องเที่ยวที่เอื้อต่อการออกกำลังกาย

    • การพายเรือแจวฟังเสียงธรรมชาติที่บ้านทุ่งหยีเพ็ง
    • การปั่นจักรยานชมป่าเขา ที่บ้านถ้ำเสือ
    • การเดินสัมผัสวิถีวัฒนธรรม 3 สายที่ชุมชนแหลมสัก

    จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น เช่น การจัดกิจกรรมโยคะริมทะเลที่แหลมสักกิจกรรมปลูกผักริมน้ำที่หนองทะเล เป็นต้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    ในการจัดกิจกรรมของชุมชนท่องเที่ยวทุกครั้ง เช่น การจัดประชุมสมาชิกการท่องเที่ยวโดยชุมชน การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ด้านการท่องเที่ยว ชุมชนได้ชี้แจงกฎกติกาชุมชน เช่น คนขับเรือ ขับรถ ไม่สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ต่อหน้าสาธารณะ

    การเกิดกฎกติกาชุมชนท่องเที่ยว ที่ให้สมาชิกในชุมชนท่องเที่ยวปฏิบัติ ว่าบุคคลในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนไม่ยุ่งเกี่ยวกับ การพนัน เหล้า บุหรี่ และสารเสพติดทุกชนิด

    วิธีการให้คนในชุมชนท่องเที่ยวที่สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ลด ละ และเลิก โดยมีการเก็บข้อมูล และคนที่เลิกได้ชุมชนมีกติกาในการเสริมกำลังใจในรูปแบบต่าง ๆ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

    การสร้างกฎกติกาชุมชน

    คนขับรถเรือรับจ้าง/รถรับจ้าง/ ไกด์ท้องถิ่น ผู้ปฏิบ้ติหน้าที่บริการในชุมชนท่องเที่ยว มีพฤติกรรมที่เหมาะสม

    • การอบรมด้านการบริการ เพื่อความปลอดภัยแต่ตนเองและคนอื่น
    • การอบรมเพื่อการดูแลสุขภาพและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    การออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเป็นการท่องเที่ยวเชิงนันทนาการ

    • กิจกรรมนันทนาการที่ไร่ปรีดาโฮมสเตย์ ที่ชุมชนท่องเที่ยวบ้านถ้ำเสือ
    • กิจกรรมจิบน้ำชากลางน้ำที่บ้านหนองทะเล

    การกำหนดรูปแบบกิจกรรมท่องเที่ยวที่ชัดเจนยิ่งขึ้นของแต่ละชุมชนท่องเที่ยว

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    ชุมชนท่องเที่ยวเลือกจุดเด่นด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นจุดขายทางการท่องเที่ยว

    • ชุมชนท่องเที่ยวบ้านทุ่งหยีเพ็ง ฟื้นฟูภูมิปัญญาเรือแจว เรือหาปลา ปรับใช้เป็นเรือท่องเที่ยวนำชมธรรมชาติ
    • ชุมชนท่องเที่ยวหนองทะเล นำผู้อาวุโสในชุมชนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร มาให้คำแนะนำในการปลูกผัก สมุนไพรประจำถิ่น เพื่อใช้ในการปรุงอาหาร และเป็นยาสมุนไพร
    • ชุมชนท่องเที่ยวบ้านถ้ำเสือ นำแหล่งโคลนธรรมชาติ มาเป็นจุดพักผ่อน แช่โคลนเพื่อความผ่อนคลายทางกายและใจ

    การเชื่อมโยงเครือข่ายนักวิจัย นักวิจัย ทางสุขภาพ มาศึกษาวิจัย ภูมิปัญญาท้องถิ่นพืชสมุนไพร โคลนสปา เพื่อนำข้อมูลมาเป็นปัจจัยเสริมในการสร้างความเชื่อมั่นแก่คนในชุมชนและนักท่องเที่ยว

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ กับการมีส่วนร่วมต่อสังคม

    • คนในชุมชนประกอบอาชีพด้านท่องเที่ยวโดยชุมชน เช่น ขับเรือ ขับรถ พายเรือ ไกด์ชุมชน เป็นต้น
    • คนในชุมชนทำงานจิตอาสา เมื่อมีกิจกรรมร่วมเช่น งานบุญต่าง ๆ มีการแบ่งหน้าที่ การทำงานของสมาชิกในครอบครัว

    เพิ่มจำนวนครอบครัวในชุมชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนมากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    การสร้างกติกาชุมชน

    กติกาชุมชน เป็นกฎระเบียนที่คนในชุมชนท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวปฏิบัติ

    • การทิ้งขยะให้ถูกที่
    • การจัดการขยะ
    • การใช้ปุ๋ยชีวภาพ
    • ไม่ใช่โฟมห่อหุ้มอาหาร

    กฎกติกาชุมชน ที่ต้องมีข้อบังคับของชุมชนมากขึ้น โดยสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ โดย สร้างเกณฑ์ตัวชี้วัด ของชุมชนท่องเที่ยวที่ชัดเจน และยึดเป็นแนวทางปฏิบัติ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    การวางแผนการทำงานของสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่เป็นข้อตกลงร่วมกันของชุมชนท่องเที่ยวที่เป็นสมาชิกจำนวน 15 ชุมชนท่องเที่ยว และ 1 เครือข่าย

    • การวางแผนเพื่อลดอุบัติเหตุในชุมชนท่องเที่ยว
    • วางแผนโดยนำกลุ่มครอบครัวมาเป็นสมาชิกการท่องเที่ยวโดยชุมชน
    • นำศาสนาเป็นหลักยึดในการปฏิบัติงานร่วมเพื่อชุมชน

    การกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจน โดยการมีข้อมูล การเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ ข้อมูลสถาบันครอบครัวในพื้นที่ เพื่อนำสู่การส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้
    • การบริหารจัดการแบ่งรายได้โดยสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชน
    • การจัดสรรรายได้ให้คนในชุมชนที่ทำงานบริการด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน
    • ผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกของการท่องเที่ยวโดยชุมชน แบ่งรายได้ให้กลุ่มโดยมาข้อตกลงร่วม
    • คนในชุมชนที่มาทำงานบริการด้านการท่องเที่ยวได้รับรายได้เพิ่มขึ้น

    การกำหนดทิศทางทางการตลาด
    การวางแผนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เลือกกลุ่มเป้าหมายให้เหมาะกับพื้นที่ และการกำหนดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นเพิ่มขยายจำนวนคนในชุมชนที่เข้ามาทำงานในบริการการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    ยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์
    1. การเสริมสร้างคุณภาพ ทักษะ และความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ในชุมชนให้มีศักยภาพในการจัดการการท่องเที่ยว โดยชุมชนแบบพึ่งพาตนเองบนฐานความพอเพียงและความรู้

    ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของต้นทุนทรัพยากรชุมชนสู่การเป็นสินค้าและบริการบนฐานอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ และการมีส่วนร่วมของชุมชนสู่ต้นแบบเป็นแหล่งเรียนรู้การพัฒนาและจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนในระดับต่าง ๆ

    ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการบริหารจัดการการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มุ่งเน้นการสร้างสมดุลของความสุขอย่างเท่าเทียมระหว่างชุมชนและนักท่องเที่ยว

    ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนระบบการบริหารจัดการ และการทำงานเชื่อมโยงเชิงเครือข่ายประชารัฐที่มีเอกภาพ มั่นคงและยั่งยืน

    ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาดัชนีชี้วัดความสุขระหว่างชุมชนและนักท่องเที่ยวตลอดจนพัฒนาไปสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ในภูมิภาคอาเซียน

    แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ปี พ.ศ. 2559 - 2563 โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท)

    • การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่ กำหนดยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่ โดยนำแผนชาติเป็นหลัก นำสู่การกำหนดแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่
    • การสนับสนุนขององค์กรหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน
    1. พัฒนาคุณภาพ ทักษะและความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ในชุมชนให้มีศักยภาพในจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบพึ่งพาตนเองบนฐานความพอเพียง
    2. ส่งเสริมการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของต้นทุนทรัพยากรชุมชนสู่การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน บนอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ และการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อก้าวสู่การท่องเที่ยวโดยชุชนในระดับสากล และนำไปลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
    3. พัฒนากลไกการขับเคลื่อนและระบบบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน และการเชื่อมโยงการทำงานเชิงเครือข่ายของของการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบประชารัฐ มุ่งสู่การพัฒนาและจัดการที่มีเอกภาพ มั่งคง และยั่งยืน
    4. พัฒนาและยกระดับการจัดการการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชน มุ่งสร้างความสมดุลของความสุขของคนในชุมชนและนักท่องเที่ยว
    5. พัฒนาและวางรากฐานให้ประเทศไทยเป็นศูนย์การแหล่งเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนในภูมิอาเซียน
    • กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
    • องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท)
    • การจัดทำแผนการทำงานของการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่ โดยสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดกระบี่
    • การนำสู่การปฏิบัติโดยมีหน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องสนับสนุน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    การเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในระดับจังหวัด คลัสเตอร์อันดามัน ระดับภาคและระดับประเทศ

    ศูนย์ประสานความร่วมมือ การท่องเที่ยวโดยชุมชนคลัสเตอร์อันดามัน โดยสำนักงานการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต

    การขยายเครือข่ายในครอบคลุมเชื่อมโยงสู่อาเซียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    การจัดการประชุมกลุ่มการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่ต่อเนื่องเป็นประจำทุกเดือน เพื่อพัฒนาแนวทางการทำงาน

    • การปรับกิจกรรมการท่องเที่ยว
    • สิ่งอำนวยความสะดวกในชุมชน
    • การเพิ่มรายได้
    • การประเมินชุมชนท่องเที่ยวน้อง

    การดำเนินงานของสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่

    การประเมินชุมชนท่องเที่ยว เพื่อก้าวสู่ระดับมาตรฐาน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    กิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม

    • ครอบครัว
    • ผู้อาวุโส
    • เยาวชน

    สมาชิกชุมชนท่องเที่ยวของสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่

    การเพิ่มเครือข่ายคนในพื้นที่มากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    การดำเนินงานของกลุ่มชุมชนท่องเที่ยวในสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่

    รายละเอียดการดำเนินงานของสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่

    การยกระดับการทำงานของสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชน - จำนวนสมาชิกคน /ชุมชน - ภาคีเครือข่าย - การจัดสรรรายได้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    การดำเนินงานของกลุ่มชุมชนท่องเที่ยวในสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่

    • การสร้างหลักสูตรการท่องเที่ยวอ่าวลึก โดย ชุมชนท่องเที่ยวบ้านถ้ำเสือ จัดกิจกรรมให้โรงเรียนในเขตบ้านถ้ำเสือและตำบลแหลมสัก
    • พัฒนาเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียน /วิทยาลัย
    • การจัดตั้งวิทยาลัยการท่องเที่ยวโดยชุมชน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    การดำเนินงานของกลุ่มชุมชนท่องเที่ยวในสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่

    การมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการ การท่องเที่ยวโดยชุมชนร่วมกับนักวิจัย นักวิชาการจาก สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.อ.

    การนำแผนปฏิบัติการลงสู่การปฏิบัติโดยได้รับการสนับสนุนจากองค์กร หรือหน่วยงานที่่เกี่ยวข้อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน
    • การจัดการสภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนชุมชนท่องเที่ยว
    • การฟื้นฟู อนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ของชุมชนท่องเที่ยว
    • ชุมชนท่องเที่ยวในกลุ่มของสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่
    • การอนุรักษ์แหล่งทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม และมีหลักวิชาการมากขึ้น โดยร่วมกับ สถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    • การฟื้นฟู อนุรักษ์ ศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น ร่วมกับองค์กร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    การบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยการมีส่วนร่วม ทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน

    • คนในชุมชน
    • ท้องถิ่น ท้องที่
    • ราชการ
    • ประชาสังคม
    • สื่อมวลชน
    • ประชาชนในและนอกพื้นที่

    สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดกระบี่

    • การสร้างภาคีเครือข่าย ประชารัฐ
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    การดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

    • การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านถ้ำเสือ
    • การท่องเที่ยวโดยชุมชน ส่งเสริมเป็นการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงเกษตร
    • จัดการชุมชนท่องเที่ยว เป็นชุมชนตัวอย่างด้านเศรษฐกิจพอเพียง
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร
    • การมีเป้าหมายเพื่อชุมชนท่องเที่ยวยั่งยืน มีสุขภาวะ
    • การจัดสรรรายได้อย่างเป็นธรรม ไม่เหตุแก่ธุรกิจ แต่เป็นธุรกิจที่เอื้อต่อสังคม

    การดำเนินงานของสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    การประเมินผลกระทบการท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดกระบี่ จังหวัด กระบี่

    รหัสโครงการ

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางฐิติชญาน์ บุญโสม )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด