แผนงานวิจัยการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ต่อการดำเนินงานด้านภาวะโภชนาการสมวัย ของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อโครงการ | แผนงานวิจัยการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ต่อการดำเนินงานด้านภาวะโภชนาการสมวัย ของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช |
ภายใต้โครงการ | แผนงานโซนใต้กลาง |
ภายใต้องค์กร | สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) |
รหัสโครงการ | - |
วันที่อนุมัติ | |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2561 - 28 กุมภาพันธ์ 2562 |
งบประมาณ | 190,850.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ผศ.ดร.นัยนา หนูนิล |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | สจรส.ม.อ. |
พื้นที่ดำเนินการ | 4 ตำบล 3 อำเภอของจังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย ตำบลไสหร้าและเทศบาลตำบลจันดีอำเภอฉวาง ตำบลเขาแก้วอำเภอลานสกา และตำบลหูล่องอำเภอปากพนัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ก.พ. 2561 | 31 ม.ค. 2562 | 1 ก.พ. 2561 | 31 ส.ค. 2562 | 100,000.00 | |
2 | 1 ก.พ. 2562 | 30 มิ.ย. 2562 | 80,000.00 | |||
3 | 1 ก.ค. 2562 | 31 ก.ค. 2562 | 10,850.00 | |||
รวมงบประมาณ | 190,850.00 |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โภชนาการ (nutrition) คือ สภาวะทางร่างกายที่เป็นผลมาจากการได้รับอาหาร (food) ที่เหมาะสมและเพียงพอสอดคล้องกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัย ผู้มีภาวะโภชนาการดีย่อมมีภูมิคุ้มกันโรคที่ดี เจ็บป่วยน้อยและแข็งแรงกว่าผู้มีภาวะโภชนาการด้อย เด็กที่มีสุขภาพดีย่อมเรียนรู้ได้ดี และผู้ที่แข็งแรงย่อมมีประสิทธิภาพในการทำงาน สำหรับผู้มีภาวะทุพโภชนาการ จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ความสามารถในการต้านทานโรคลดลง และการเจริญเติบโตของสมองและสติปัญญาช้าลง หลายประเทศประสบกับปัญหาทุพโภชนาการ ทั้งปัญหาการขาดสารอาการและปัญหาภาวะโภชนาการเกิน ถึงแม้ว่าปัญหาทั้งสองอาจจะเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน แต่ในระยะยาวบุคคลที่มีการขาดสารอาหารอาจจะกลายเป็นผู้ที่มีปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนได้ ซึ่งอาจจะมีหลายปัจจัยเป็นตัวกระตุ้นและการจัดการปัญหานี้เป็นไปค่อนข้างยาก ประเทศไทยเป็นกรณีศึกษาที่ดีในการจัดการปัญหาการขาดสารอาหารในกลุ่มเด็ก ซึ่งสามารถลดจำนวนเด็กที่ขาดสารอาหารภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งปัจจัยความสำเร็จที่ผ่านมาเกิดจากความร่วมมือของชุมชน อาสาสมัคร และเครือข่ายในทุกระดับ ทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม อย่างไรก็ตามจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิตของคนภายในประเทศ และการเปลี่ยนแปลงทางประชากรที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ประกอบกับรูปแบบครอบครัวที่เปลี่ยนไป กลายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ที่อยู่อาศัยอยู่ในพื้นที่จำกัดไม่มีการปลูกพืชผักสวนครัวกินเอง นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงในเชิงวัฒนธรรมของประเทศทั้งเชิงธุรกิจ เป็นธุรกิจออนไลน์มากขึ้น สะดวกรวดเร็วไม่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายมากนัก มีวัฒนธรรมการกินที่เน้นการอาหารพร้อมบริโภคและมักมีพลังงานสูง เช่น อาหารขยะ (Junk food) รวมทั้งการมีร้านค้าข้างถนนมากมายที่ขายเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น ชา กาแฟ ซึ่งมีส่วนผสมของน้ำตาลและนมข้นหวาน อาจนำสู่ภาวะโรคอ้วน และกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนในภาพรวม การดำเนินงานด้านภาวะโภชนาการให้เหมาะสมกับช่วงวัย จึงมีความสำคัญโดยเฉพาะประเด็นโรคอ้วนซึ่งมีแนวโน้นเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในทุกกลุ่มวัย การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (health impact assessment; HIA) จึงมีความสำคัญเพื่อวิเคราะห์ว่านโยบาย แผนงาน โครงการพัฒนาหรือกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อภาวะโภชนาการของกลุ่มวัยต่างๆอย่างไร ซึ่งการประเมินผลกระทบทางสุขภาพทั้งในทางบวกและทางลบ เป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญต่อการสร้างความตระหนักและสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว และคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งกำหนดยุทธศาสตร์ มาตรการและแผนปฏิบัติการสร้างเสริมโภชนาการสมวัย ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการวิจัยนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบทางสุขภาพต่อการดำเนินงานโภชนาการสมวัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ใช้กรอบแนวคิดงานวิจัย HIA จำนวน 6 ขั้นตอน คือ
- การกลั่นกรอง : ทำไมต้องทำการประเมิน
- ขอบเขต : จะประเมินอะไรบ้าง
- ลงมือประเมิน
- ทบทวนรายงาน : ประเมินความถูกต้องหรือไม่
- ตัดสินใจ/ข้อเสนอ : ทำ ทบทวน ปรับปรุง
- ติดตามประเมินผล ; เป็นไปตามที่รายงานไว้หรือไม่
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1) สถานการณ์ภาวะโภชนาการและการบริโภคของกลุ่มวัย ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ วัยทารก วัยเด็ก วัยเรียน วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยผู้สูงอายุ
|
||
2 | 2) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อภาวะโภชนาการของแต่ละกลุ่มวัย ได้แก่ นโยบาย แผนงาน มาตรการ โครงการและกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
|
||
3 | 3) ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการดำเนินงานภาวะโภชนาการสมวัย
|
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | |||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2561 05:37 น.