การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ด้านความมั่นคงทางอาหารที่ยั่งยืน ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อโครงการ | การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ด้านความมั่นคงทางอาหารที่ยั่งยืน ในจังหวัดนครศรีธรรมราช |
ภายใต้โครงการ | แผนงานโซนใต้กลาง |
ภายใต้องค์กร | สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) |
รหัสโครงการ | 61-ข-031 |
วันที่อนุมัติ | |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 7 พฤษภาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2562 |
แหล่งทุน |
ไม่ระบุ
|
งบประมาณ | 165,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ชุติมา รอดเนียม |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | สจรส.ม.อ. |
พื้นที่ดำเนินการ | อบต.หูล่อง อ.ปากพนัง อบต.เขาแก้ว อ.ลานสกา อบต.ไสหร้า และเทศบาลตำบลจันดี อ.ฉวาง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 8.565649880281,99.887001695605place |
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|
นครศรีธรรมราช | place directions |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 7 พ.ค. 2561 | 31 ส.ค. 2562 | 7 พ.ค. 2561 | 31 ส.ค. 2562 | 165,000.00 | |
รวมงบประมาณ | 165,000.00 |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารของจังหวัดนครศรีธรรมราชมีความโดดเด่นในกระบวนการป้องกันภัยคุกคามความมั่นคงทางอาหารในภูมินิเวศน์ชายฝั่งทะเล โดยใช้พระราชกำหนดการประมงบังคับใช้ พ.ศ. 2558และ การทำประมงผิดกฎหมาย (Illegal Unreported and Un-regulated Fishing: IUU) แต่โครงสร้างการเจริญเติบโตภาคเกษตรกรรมและแหล่งผลิตอาหารมีแนวโน้มลดลง พื้นที่นาลดลง จำนวนแรงงานภาคเกษตรลดลง พื้นที่สวนยางสวนปาล์มเพิ่ม มีการทำเกษตรเชิงพาณิชย์และเกษตรพันธะสัญญาเป็นส่วนใหญ่ ความหลากหลายทางชีวภาพน้อยลง และได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง เช่น ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาภัยแล้ง เป็นต้นข้อมูลการใช้พื้นที่ทำการเกษตรของนครศรีธรรมราช เนื้อที่ทั้งหมด 2,896,204 ไร่ แบ่งเป็นนาข้าว 383,816 ไร่ พื้นที่สวนไม้ผล 2,179,043 ไร่ พื้นที่สวนผัก ไม้ประดับ 27,038 ไร่ และ พื้นที่ใช้ประโยชน์ทางเกษตรอื่น ๆ 306,307 ไร่ และพบว่า สถานการณ์การทำข้าวนาปี ของปี 2558 มีเนื้อที่เพาะปลูก 291,665 ไร่ ลดลงจาก 323,407 ไร่ ในปี 2556 คิดเป็น 9.81 % สถานการณ์การผลิตปาล์มน้ำมัน ปี 2558 เนื้อที่ให้ผล 351,370 ไร่ เพิ่มจาก 326,626 ไร่ในปี 2556 คิดเป็น 7.04 % และ สถานการณ์การผลิตยางพารายืนต้น ปี 2558 เนื้อที่ 1,847,711 ไร่ ลดลงจาก 1,848,296 ไร่ ในปี 2556 คิดเป็น 0.03 % (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2558)
อย่างไรก็ตามหลายพื้นที่ในจังหวัดนครศรีธรรมราชได้ให้ความสนใจด้านความมั่นคงทางอาหาร ทั้งนี้การดำเนินงานขึ้นอยู่กับสภาพบริบทแต่ละพื้นที่ และกิจกรรมที่แตกต่างกัน จึงต้องมีการจัดระบบการวางแผนงานและขับเคลื่อนนโยบายเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับชุมชน ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงตระหนักถึงความสำคัญของการขับเคลื่อนแผนงานระบบอาหารอย่างมีส่วนร่วม โดยใช้เครื่องมือการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ เพื่อวิเคราะห์นโยบายที่ก่อให้เกิดผลกระทบที่มีศักยภาพทั้งเชิงบวก และเชิงลบต่อสุขภาพของประชาชน และนำไปสู่การวางแผนงานเชิงนโยบาย
กรอบแนวคิดการศึกษาครั้งนี้ ประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วย6 ขั้นตอน คือ การกลั่นกรอง การกำหนดขอบเขต การประเมินผลกระทบ การทบทวนรายงานการประเมิน การตัดสินใจและการติดตามประเมินผล ในระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ทั้ง 4 มิติ คือ ความพอเพียงของปริมาณอาหาร การเข้าถึงอาหาร การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร และการมีเสถียรภาพอาหาร
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อประเมินสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารของจังหวัดนครศรีธรรมราช
|
||
2 | เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร
|
||
3 | เพื่อประเมินผลกระทบทางสุขภาพด้านความมั่นคงทางอาหาร
|
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | |||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2561 05:36 น.