การประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน ในการจัดการขยะรีไซเคิล พื้นที่ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา
ชื่อโครงการ | การประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน ในการจัดการขยะรีไซเคิล พื้นที่ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา |
ภายใต้โครงการ | แผนงานโซนใต้อันดามัน |
ภายใต้องค์กร | สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) |
รหัสโครงการ | - |
วันที่อนุมัติ | |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2561 - 31 มกราคม 2562 |
งบประมาณ | 100,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | สาลินี ประพฤติ |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | ซูวารี มอซู |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลพรุใน ทั้ง 7 หมู่บ้าน |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ม.ค. 2561 | 31 ม.ค. 2562 | 1 ม.ค. 2561 | 31 ม.ค. 2562 | 50,000.00 | |
2 | 1 พ.ค. 2561 | 31 ม.ค. 2562 | 50,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 100,000.00 |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันปัญหาขยะมูลฝอย ถือได้ว่าเป็นปัญหาระดับชาติที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ให้ความสำคัญและต้องร่วมมือกันแก้ไขอย่างเต็มความสามารถ เพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนทุกระดับตั้งแต่องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร และนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ตลอดจนพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคของคนเริ่มเปลี่ยนไป จากเดิมที่เคยใช้ตะกร้าเวลาไปจ่ายตลาด ใช้ปิ่นโตใส่อาหาร ใช้ใบตองหรือใบบัวซึ่งเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่ายห่ออาหาร แต่ปัจจุบันมีการใช้สินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์จำพวกพลาสติก โฟม แก้ว กระดาษ โลหะ อลูมิเนียม เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดมูลฝอยสูงขึ้นตามไปด้วย ผลกระทบที่ตามมา มีทั้งความสูญเสียทางด้านสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ ดินเสื่อมสลาย ความเสียหายจากเหตุรำคาญส่งกลิ่นเหม็นรบกวน รวมถึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์พาหะนำโรค เสียหายต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจและสิ้นเปลืองงบประมาณของรัฐที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ส่งผลทำให้การจัดการขยะมูลฝอยไม่มีประสิทธิภาพ (กรมควบคุมมลพิษ, 2559)
จากปัญหาขยะมูลฝอยของประเทศ รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย ได้กำหนดแผนงานการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย เพื่อให้เกิดการดำเนินงานในทิศทางเดียวกันและหนุนเสริมการดำเนินงานซึ่งกันและกัน ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) เร่งการจัดการขยะมูลฝอยสะสมในสถานที่กำจัดขยะพื้นที่วิกฤติ 2) ให้มีรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อจัดการกับขยะที่เข้ามาใหม่ โดยเน้นการคัดแยกขยะ ตั้งแต่ต้นทางและแปรรูปพลังงานจากขยะ 3) จัดระเบียบมาตรการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย 4) การสร้างวินัยของคนในชาติมุ่งสู่การจัดการที่ยั่งยืน และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดทำแผนแม่บทการบริหาร จัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 – 2564) ซึ่งเป็นกรอบและทิศทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายของประเทศ ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติ 5 ด้าน ได้แก่ 1) การลดปริมาณขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย 2) เพิ่มศักยภาพการจัดเก็บและขนส่งขยะขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย 3) เพิ่มศักยภาพการกำจัดและการใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย 4) พัฒนาและปรับปรุง กฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ ในการจัดการขยะ มูลฝอยและของเสียอันตราย 5) สนับสนุนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย (กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561)
การจัดการขยะรีไซเคิล ถือเป็นหลักการหนึ่ง จากหลักการ 3Rs (Reduce-Reuse-Recycle)ในการจัดการขยะตามแนวคิดขยะเหลือศูนย์ (ปลอดขยะ :Zero Waste) เป็นแนวคิดในการส่งเสริมการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ เพื่อให้ทรัพยากรถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และลดขยะให้เหลือน้อยที่สุด การคัดแยกขยะรีไซเคิลแต่ละประเภทเพื่อให้ง่ายต่อการนำไปรีไซเคิล การนำไปขาย การบริจาค การนำเข้าธนาคารขยะ และกิจกรรมขยะแลกไข่ เพื่อเข้าสู่วงจรของการนำกลับไปรีไซเคิล รวมทั้งการประดิษฐ์และออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ หัวใจสำคัญของแนวคิดขยะเหลือศูนย์คือ การจัดการขยะที่ต้นทาง จากแหล่งกำเนิดขยะระดับครัวเรือน ขยายไปสู่ชุมชน จนกระทั่งองค์กร ภาครัฐ เอกชน ต่าง ๆ ในพื้นที่ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วน อันจะส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยลดลงในภาพรวมของประเทศได้ (ศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่นี่ปลอดขยะ, 2559) พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างพอเพียง เพื่อมุ่งสู่ชุมชนปลอดขยะอย่างแท้จริง และขยายต่อจนกลายเป็นสังคมรีไซเคิล
ปัจจุบันชุมชนได้ให้ความสำคัญและตระหนักถึงการจัดการขยะรีไซเคิลมากยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปริมาณขยะแล้ว ยังทำให้ขยะที่ดูไร้ค่ามีประโยชน์ หรือสร้างให้ขยะมีมูลค่าเป็นรายได้ให้แก่ชุมชนได้อีกด้วย ส่วนใหญ่เน้นการส่งเสริม และสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะในชุมชนอย่างเป็นระบบแบบแผนมากยิ่งขึ้น มีคณะกรรมการในการบริหารจัดการดูแลกิจกรรมโครงการต่าง ๆ อย่างจริงจัง เช่น การจัดตั้งกองทุนขยะรีไซเคิล การจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิลขึ้น เหล่านี้ เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้สมาชิกในชุมชนหันมาลงมือคัดแยกขยะตั้งแต่ระดับครัวเรือน สรุปได้ว่าการสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่นั้น โดยใช้หลัก 8 ก. เข้ามาจัดการ ได้แก่ 1.แกนนำ รับผิดชอบและขับเคลื่อนงาน 2.กัลยาณมิตร สร้างภาคีเครือข่ายร่วมขับเคลื่อนงาน 3.กองทุน ระดมทรัพยากรเพื่อเป็นกองทุนของชุมชน 4.การจัดการชัดเจน 5.การเรียนรู้ของชุมชน 6.การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความตื่นตัวของชุมชน 7.กระบวนการพัฒนา เสริมศักยภาพคนในชุมชน และ 8.กฎกติกา เป็นแนวทาง ข้อปฏิบัติร่วมกัน (สำนักข่าวสร้างสุข, 2553) ดังนั้น การดำเนินการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลในชุมชน มีปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ คือ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการสร้างเครือข่ายและสนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการขยะรีไซเคิล เพื่อยกระดับขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการขยะรีไซเคิล รวมทั้งการเสริมสร้างองค์ความรู้และการปลูกจิตสำนึกของประชาชนในทุกระดับ
ตำบลพรุใน เป็นพื้นที่เกาะในเขตอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา เป็นเกาะที่เป็นจุดศูนย์กลางการท่องเที่ยวระหว่างจังหวัดกระบี่ และจังหวัดภูเก็ต มีจำนวนประชากรประมาณ 6,000 คน ครัวเรือนจำนวน 1,600 ครัวเรือน นักท่องเที่ยวเฉลี่ยประมาณ 5,000 คน ต่อเดือน และประชากรแอบแฝงอีก 2,858 คนต่อเดือน จากการประเมินปริมาณขยะมูลฝอย ส่วนใหญ่เป็นขยะเปียก ร้อยละ 43.54 และขยะรีไซเคิลร้อยละ 42.58 (แผนจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายตำบลพรุใน, 2558-2562) ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้มีแผนงานโครงการรองรับ ในการจัดการทั้งขยะเปียกและขยะรีไซเคิล แต่ที่ยังเป็นประเด็นปัญหาและเป็นอุปสรรคยังไม่สามารถแก้ได้อย่างยั่งยืนนั้น คือ ปัญหาขยะรีไซเคิล ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นตามจำนวนนักท่องเที่ยวและการเพิ่มขึ้นของสถานประกอบการอย่างแน่นอน
จากปัญหาดังกล่าว เทศบาลตำบลพรุใน กำลังประสบปัญหาในการจัดการขยะรีไซเคิล ทำให้ เกิดข้อจำกัดด้านพื้นที่ เนื่องจากเป็นพื้นที่เกาะและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน จากการดำเนินงานการจัดการขยะรีไซเคิล ตลอดระยะเวลา 3 ปี ที่ผ่านมา ชุมชนร่วมค้นหาปัญหา สาเหตุ การร่วมกันวางแผน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนในพื้นที่ เพื่อลดปริมาณขยะรีไซเคิล แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และการจัดการขยะรีไซเคิลอย่างจริงจัง ดังนั้น การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยชุมชน (community health impact assessment: CHIA) ถือเป็นทางออกหนึ่ง ซึ่งจะเป็นทางเลือกที่ดี สำหรับการดำเนินการเพื่อเป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชนในการจัดการขยะรีไซเคิล
การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยชุมชน เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนต่อการกำหนดวิถีชีวิต ที่มีการประยุกต์ใช้ แนวทาง เครื่องมือ ที่หลากหลายในการวิเคราะห์ คาดการณ์ถึงผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางบวกและทางลบ ที่เกิดขึ้นแล้วหรืออาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนจากการดำเนินนโยบาย แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม เพื่อสนับสนุน การตัดสินใจที่ก่อให้เกิดความสมดุลในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ผลดีทางสุขภาพและสุขภาวะชุมชน ถือได้ว่า เป็นกระบวนการหนึ่งที่จะเป็นทางออกการแก้ไขปัญหาของชุมชนในการจัดการขยะรีไซเคิลพื้นที่ตำบลพรุในได้
ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งศึกษากระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยชุมชนใน 4 ขั้นตอน ได้แก่ การกลั่นกรอง (Public screening) การกำหนดขอบเขตการประเมิน (Public scoping) การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Assessing) และการรับฟังความเห็นของร่างรายงานโดยสาธารณะ (Public review) เพื่อให้ทราบข้อมูลผลกระทบทางสุขภาพจากการดำเนินการประเมินทั้งผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ และนำข้อมูลที่ได้มาสู่การพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
การประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนในการจัดการขยะรีไซเคิลพื้นที่ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ครั้งนี้ ศึกษาโดยใช้กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบายสาธารณะฉบับที่ 2 พ.ศ.2559 ของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ โดยดำเนินการทั้งหมดเพียง 4 ขั้นตอน ตั้งแต่การกลั่นกรองถึงการร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย ซึ่งมีแนวทางในการศึกษาแต่ละขั้นตอนดังนี้
1) การกลั่นกรอง ศึกษาแผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2558 – 2562) ของเทศบาลตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ประกอบด้วย 4 แผนงาน ได้แก่ 1) การจัดการขยะมูลฝอยตกค้างสะสม (ขยะมูลฝอยเก่า) 2) สร้างรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสม (ขยะมูลฝอยใหม่) 3) วางระเบียบ มาตรการการบริหารจัดการขยะมูลฝอย และ 4) สร้างวินัยของคนในชาติมุ่งสู่การจัดการที่ยั่งยืน การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มุ่งเน้นเฉพาะแผนงานที่มีโครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการขยะรีไซเคิลเท่านั้น ประกอบด้วย แผนงานที่ 2 ได้แก่ โครงการเสริมสร้างกระบวนการคัดแยกขยะรีไซเคิล, โครงการ Big Cleaning Day, โครงการพัฒนาผู้ประกอบการอาชีพธุรกิจรีไซเคิล, โครงการคัดแยกขยะรีไซเคิลในโรงเรียน และโครงการเรียกคืนวัสดุอะลูมิเนียม แผนงานที่ 3 ได้แก่ ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นในการคัดแยกขยะรีไซเคิล, จัดตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานบริหารจัดการขยะรีไซเคิล และแผนงานที่ 4 ได้แก่ โครงการธนาคารขยะมัสยิดโล๊ะโป๊ะ, โครงการจัดทำสิ่งประดิษฐ์จากขยะรีไซเคิล
2) การกำหนดขอบเขต เพื่อประเมินปัจจัยกำหนดสุขภาพที่อาจเปลี่ยนแปลงไปจากการดำเนินการของแผนงาน โครงการ/กิจกรรม การบริหารจัดการขยะรีไซเคิล นำมาสร้างตัวชี้วัดของแต่ละปัจจัยกำหนดสุขภาพ พัฒนาตัวชี้วัด สู่กระบวนการวางแผนการประเมินในการจัดการขยะรีไซเคิลของตำบลพรุในตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง
3) การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยชุมชน ที่เก็บทั้งข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพตามที่กำหนดในขั้นตอนที่ 2 ที่ส่งผลกระทบต่อปัจจัยกำหนดสุขภาพด้านบวก/ลบ
4) จัดทำร่างรายงานการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพมารับฟังความคิดเห็นกับชุมชนและผู้เกี่ยวข้องหรือสาธารณะเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เป็นจริง ครบถ้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน ในการจัดการขยะรีไซเคิล พื้นที่ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา
|
||
2 |
|
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | |||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 5,000.00 | 0 | 0.00 | |
10 ก.พ. 61 | ลงพื้นที่เก็บข้อมูลสถานการณ์ขยะ ครั้งที่1 | 0 | 5,000.00 | - |
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2561 13:15 น.