ชื่อโครงการ | โครงการสนับสนุนการปฏิรูประบบสร้างเสริมสุขภาพ เขต 11 สุราษฎร์ธานี |
ภายใต้โครงการ | แผนงานโซนใต้บน |
ภายใต้องค์กร | สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) |
รหัสโครงการ | 60-ข-087 |
วันที่อนุมัติ | |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ธันวาคม 2560 - 31 ธันวาคม 2561 |
แหล่งทุน |
ไม่ระบุ
|
งบประมาณ | 1,000,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายทวีวัตร เครือสาย |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|
สุราษฎร์ธานี | place directions |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ม.ค. 2561 | 31 ธ.ค. 2561 | 1 ม.ค. 2561 | 31 ธ.ค. 2561 | 0.00 | |
2 | 1 ม.ค. 2562 | 28 ก.พ. 2562 | 0.00 | |||
รวมงบประมาณ | 0.00 |
คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (1,000,000.00 บาท)
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ทศวรรษที่ผ่านมา กระแสการตื่นตัวในเรื่องของการปฏิรูประบบสุขภาพและสุขภาวะของคนไทย กลายเป็นความเคลื่อนไหวที่เห็นอย่างชัดเจนในหมู่องค์กร หน่วยงานและบุคลากรด้านสุขภาพ ตลอดจนชุมชนที่เข้มแข็งในหลายๆพื้นที่ ก่อให้เกิดปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่เป็นเครื่องมือชี้ทิศทาง นโยบายและยุทธศาสตร์ เพื่อนำพาประเทศไปสู่สังคมสุขภาวะ
ภาคใต้ตอนบนขับเคลื่อนสานพลังเครือข่ายฯมาตั้งแต่ ปี 55 โดยมี เครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น เครือข่ายมิตรภาพบำบัด เครือข่ายบริการสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 11 สุราษฎร์ธานี และภาคีพันธมิตรสุขภาพ จนเกิดกลไก “คณะทำงานสานพลังเครือข่ายหลักประกันสุขภาพภาคใต้ตอนบน” (ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ) และในห้วงปี 2559-2560 มีการขับเคลื่อนปฏิบัติการในแต่ละจังหวัดจนมีกลไกคณะทำงานระดับจังหวัด และมีกลไกระดับเขตคือ “คณะทำงานพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นระดับเขต 11 ” สนับสนุนกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ให้เกิดระบบจัดการสุขภาพชุมชนท้องถิ่น จากความร่วมมือกับ สช. สสส. สจรส.มอ สธ. ฉะนั้นการสร้างการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ (Interative Learning Through Action) ให้มีความสามารถรับมือกับสถานการณ์ในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องมีระบบสนับสนุนเอื้ออำนวยให้เกิดการสานงาน เสริมพลัง ยกระดับปฏิบัติการพื้นที่ร่วมกับกลไกการดำเนินงานในระดับจังหวัด อำเภอ ชุมชนท้องถิ่น สู่ความมั่นคงทางสุขภาวะ
การสนับสนุนระบบสุขภาพชุมชนท้องถิ่นของ เขต 11 ที่ร่วมมือกับ สช. สสส. สจรส.มอ สธ. นั้นได้มีการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ โดยใช้ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ การสร้างสภาพแวดล้อมที่อื้อต่อสุขภาพและสร้างนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ จากโครงการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. การสร้างการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพกรรมการกองทุนสุขภาพ และภาคีเครือข่ายสุขภาพ ให้มีสามารถจัดทำโครงการเชิงรุก บริหารจัดการกองทุน รับมือกับสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเสริมหนุนกลไกการดำเนินงานในระดับจังหวัด อำเภอ โดยให้คนเป็นศูนย์กลาง ยึดพื้นที่เป็นตัวตั้ง ใช้กองทุนท้องถิ่นเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (ชุมชนเป็นเจ้าของกองทุนท้องถิ่น) สู่ความมั่นคงทางสุขภาพระยะถัดไป
1) การจัดกลไกโครงสร้างแบบยืดหยุ่นเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนเครือข่ายสุขภาพภาคใต้ ได้แก่
คณะทำงานสนับสนุนวิชาการ (ศวสต.) คณะทำงานสานงาน เสริมพลังภาคใต้ (ผู้แทนกลุ่มเครือข่าย/พื้นที่) คณะทำงานสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง (เครือข่ายสื่อเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะภาคใต้) และคณะทำงานจัดการความรู้ (มอ.) โดยยึดหลักการทำงานสามระดับการปฏิรูประบบสร้างเสริมสุขภาพ คือ “ การพึ่งตนเอง การพึ่งกันเอง พึ่งบริการ ” ประการสำคัญคือให้เกิดระบบการพึ่งกันเอง หรือ การสานงาน เสริมพลังต่อกัน ถักทอเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างคณะทำงานสี่ฝ่าย ระหว่างกลุ่มเครือข่ายสุขภาพในมิติต่างๆ ระหว่างพื้นที่ปฏิบัติการสร้างสุขแต่ละชุมชนท้องถิ่น หรืระดับอำเภอจังหวัดในภาคใต้
2) กระบวนการขับเคลื่อนที่มีงานสร้างสุขภาคใต้ เป็นจุดรวมพลัง เติมพลัง เฉลิมฉลองความสุข
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน หรือพื้นที่กลางของเครือข่ายสุขภาพภาคใต้ในแต่ละปี และในระหว่างปีนั้นมีปฏิบัติการอย่างเข้มข้น ทั้งการพัฒนาศักยภาพเพิ่มสมรรถนะการทำงานให้เกิดกระบวนทัศน์ใหม่ มีทักษะความสามารถให้เท่าทันโลกและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อน เป็นพลวัต เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถักทอเครือข่ายสานงาน เสริมพลังต่อกัน โดยให้มีเวทีกลุ่มเครือข่ายเชิงประเด็นควบคู่กับเวทีโซนพื้นที่ให้มีวาระหรือยุทธศาสตร์แผนงานร่วมกันทั้งในระดับชุมชนท้องถิ่น ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด ระดับเขต มีปฏิบัติการร่วมกันตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่ เวทีเครือข่ายระดับภาคเป็นระยะ และใช้พลังการสื่อสารเกาะติดกับปฏิบัติการของกลุ่มเครือข่าย ส่งและสื่อสารพลังความรู้จากพื้นที่สู่สังคมและสู่นโยบายสาธารณะ
3) พื้นที่หรือสนามปฏิบัติการสร้างสุข กับโครงสร้างทางสังคม จุดคานงัดสำคัญใน
สถานการณ์ปัจจุบันสนามปฏิบัติการระดับชุมชนท้องถิ่นหรือตำบล ซึ่งอาจจะเริ่มจากกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น หรือกลไกอื่นที่มีศักยภาพอยู่แล้วก็ได้ อาทิ สวัสดิการชุมชน กลุ่มเครือข่ายองค์กรชุมชน คณะทำงานหรือคณะกรรมการที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ ในระดับอำเภอ นั้นมีกลไกสำคัญคือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (DHB) ใช้พลังความรู้ ความรักให้เกิดการวาระร่วมหรือยุทธศาสตร์ร่วมที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับชุมชนท้องถิ่น ในระดับจังหวัดใช้กลไกสมัชชาสุขภาพ หรือกลไกอื่นที่มีศักยภาพในการเชื่อมพลังกลุ่มเครือข่ายในพื้นที่ให้เกิดการเชื่อมพลังเครือข่าย มีกระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ในระดับกลุ่มจังหวัดหรือระดับเขต นั้นใช้กลไก คณะกรรมการเชตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) เป็นช่องทางแสวงหาความร่วมมือ ผลักดันหรือสร้างข้อเสนอเชิงนโยบายใหม่ๆ ให้เกิดแนวการปฏิบัติใหม่ บนฐานความรู้ ทั้งนี้อาจใช้กลไกอื่นที่มีศักยภาพก็ได้ เช่น คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติระดับเขต หรือ คณะกรรมการบริหารสาธารณสุขระดับเขต หรือ คณะกรรมการอื่นที่มีอยู่แล้ว
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1 เพื่อสนับสนุนการพัฒนานโยบายสาธารณะและประเด็นยุทธศาสตร์สร้างเสริมสุขภาพระดับพื้นที่อำเภอและจังหวัดในภาคใต้ตอนบน -มีกลไกคณะทำงานร่วมระดับจังหวัดใน 5 จังหวัด -ระบบฐานข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะเชิงพื้นที่/เชิงประเด็น -ร่างข้อเสนอ/แผนยุทธศาสตร์เชิงประเด็น/ 5 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีฯ กระบี่ -มติข้อเสนอ/แผนยุทธศาสตร์เชิงประเด็น/ 5 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีฯ กระบี่ |
||
2 | 2.เพื่่อพัฒนากลไกคณะทำงานระดับเขตและจังหวัด ให้มีขีดความสามารถในการยกระดับปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน -เกิดการพัฒนาคณะทำงานจังหวัดและอำเภอนำร่อง -รายงานสรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ชุดบทเรียน -จำนวนโครงการสร้างเสริมสุขภาพของกองทุนที่ได้รับการพัฒนายกระดับอย่างน้อย 30 % ของกองทุนทั้งหมด -ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการพัฒนาระบบสร้างเสริมสุขภาพระดับเขต -มีกลไกความร่วมมือ/สนับสนุนการทำงานของคณะทำงานระดับจังหวัด/ระดับเขต 11 -นักจัดการความรู้จังหวัดละ 2 คน / รวม 14 คน -มีชุดบทเรียนความรู้การทำงานปฏิรูประบบสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่ 5 กรณีศึกษาชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีฯ กระบี่ |
||
3 | 3 เพื่่อสังเคราะห์บทเรียนจากการทำงานปฏิรูประบบสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่ให้เป็นข้อเสนอเชิงนโยบายต่อคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน(กขป) และภาคียุทธศาสตร์ -รายงานผลการดำเนิน/ระบบบันทึกออนไลน์ -รายงานสรุปผลโครงการ |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | |||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2561 10:27 น.