ชื่อโครงการ | โครงการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ โดยระบบสุขภาพชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช |
ภายใต้โครงการ | แผนงานโซนใต้บน |
ภายใต้องค์กร | สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) |
รหัสโครงการ | 60-ข-085 |
วันที่อนุมัติ | |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2560 - 31 มีนาคม 2562 |
งบประมาณ | 200,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายเจกะพันธ์พรหมมงคล |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | จังหวัดนครศรีธรรมราช |
ละติจูด-ลองจิจูด | 8.4106407642458,99.943691165588place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ธ.ค. 2560 | 30 มิ.ย. 2561 | 1 ธ.ค. 2560 | 30 มิ.ย. 2561 | 70,000.00 | |
2 | 1 ก.ค. 2561 | 31 มี.ค. 2562 | 1 ธ.ค. 2560 | 31 พ.ค. 2562 | 120,000.00 | |
3 | 1 เม.ย. 2562 | 30 เม.ย. 2562 | 10,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 200,000.00 |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สถานการณ์ด้านการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
เปรียบเทียบความชุกของนักดื่มอายุ 15 - 19 ปี พ.ศ.2554
ความชุกของผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประชากรอายุ 15 – 19ปีขึ้นไป พ.ศ.2550 และ พ.ศ.2554 พบว่า จังหวัดนครศรีธรรมราช มีความชุกเพิ่มขึ้น จากความชุกร้อยละ 10.1เป็นร้อยละ 10.2
- สัดส่วนของนักดื่มแล้วขับขี่ยานพาหนะ พบว่าจังหวัดนครศรีธรรมราช มีความชุกร้อยละ 30.9
- เด็กและเยาวชนอายุระหว่าง ๑๒-๑๖ ปี ในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีพฤติกรรมการดื่มร้อยละ 22.1
- เด็กและเยาวชนอายุระหว่าง ๑๒-๑๖ ปี ร้อยละ 63.8 รู้จักเพื่อนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 34.7 ส่วนใหญ่ดื่มนานๆ ครั้งร้อยละ 72.5 และดื่ม 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ ร้อยละ 14.3
- เด็กและเยาวชนในจังหวัดนครศรีธรรมราชมีการดื่มแอลกอฮอล์ครั้งแรกตอนอายุ 9 ปี อายุเฉลี่ยของการดื่มแอลกอฮอล์ครั้งแรก 12.93
- เด็กและเยาวชนในจังหวัดนครศรีธรรมราชดื่มแอลกอฮอล์ส่วนใหญ่เป็นบ้านเพื่อนร้อยละ 30.9 รองลงมาเป็นบ้านตนเองร้อยละ 28.9 แหล่งท่องเที่ยวร้อยละ 11.4 คอนเสิร์ต
- เด็กและเยาวชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช ดื่มแอลกอฮอล์กับ เพื่อน/ญาติร้อยละ 68.5 รองลงมาเป็นคนอื่นๆ ร้อยละ 14.8 และคนในครอบครัวร้อยละ 8.1
สถานการณ์ด้านการบริโภคยาสูบ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ข้อมูลจากโครงการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มสุราของประชากรไทยปี ๒๕๕๔ โดยสำนักสถิติแห่งชาติพบว่า อัตราการสูบบุหรี่ปัจจุบันของประชากรอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป พ.ศ.๒๕๕๔พบมากที่สุด คือ จังหวัดระนอง ร้อยละ ๒๗.๖๔ จังหวัดนครศรีธรรมราช ร้อยละ ๒๗.๓๘ (เป็นอันดับที่ 2 ) แผนภูมิที่ 1 เปรียบเทียบอัตราการสูบบุหรี่ปัจจุบันของประชากรไทยอายุ 15 ปี ขึ้นไปพ.ศ.2554
ด้านอุบัติเหตุ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
จากงานวิจัยพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของวัยรุ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง ชาย หญิง อายุระหว่าง 13-18 ปีจำนวน 500 คน พบว่า ไม่นิยมสวมหมวกกันน็อค ร้อยละ 51.2 ไม่นิยมคาดเข็มขัดนิรภัย ร้อยละ 26.4
ด้านการใช้สารเสพติด ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
สถานการณ์แพร่ระบาด
น้ำต้มพืชกระท่อมยังคงเป็นตัวยาหลักที่แพร่ระบาดในทุกพื้นที่ทั้งในกลุ่มเด็กและเยาวชนผู้ใช้แรงงานทั้งคนไทยและพม่าโดยเฉพาะในช่วงนี้ซึ่งเป็นช่วงปิดภาคเรียนแม้ว่าทางอำเภอต่างๆ จะมีการตัดต้นพืชกระท่อมในพื้นที่ไปเป็นจำนวนมากแล้วก็ตาม แต่ราคายาเสพติดก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงและมีแนวโน้มที่จะลดลง ยาแก้ไอทั้งจากร้านขายยาที่มีเภสัชกรและร้านขายของชำลังละ4,500 บาท ขวดละ80บาทขายปลีก ราคาขวดละ150 – 200บาท ยาบ้า ก็ยังคงเป็นตัวยาหลักที่มีการแพร่ระบาดในทุกอำเภอขายส่งเม็ดละ150 -200 บาทขายปลีกราคาเม็ดละ250 – 350บาท ยาไอซ์ปลีก ถุงละ 500 – 1,000 บาท กรัมละ 3,500 – 4,000 บาท กระท่อม กิโลกรัมละ 1,000 – 1,500 บาท ขายปลีก ใบละ 1 – 5 บาท ยาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดมากในพื้นที่เรียงตามลำดับ คือ พืชกระท่อม รองลงมาเป็นยาบ้ากัญชาแห้ง และไอซ์ ตามลำดับ
ด้านความรุนแรง ในจังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มเป้าหมายที่ถูกกระทำความรุนแรงฯ
- เด็กและเยาวชน
- สตรี
- คนพิการ
- ผู้สูงอายุ
ประเด็นปัญหา
- การถูกล่วงละเมิดทางเพศ(ในรอบปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ ๔๗.๗๕)
- การถูกทำร้ายร่างกาย (ในรอบปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ ๕๒.๑๗)
- การถูกลักทรัพย์/ชิงทรัพย์/ถูกทำลายทรัพย์ (ในรอบปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๓๘.๘๗)
ด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) ในจังหวัดนครศรีธรรมราช จากข้อมูล HDC พบว่าในปี 2559 ในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน จำนวน 62,584 คน คิดเป็นร้อยละ 4.02 ของจำนวนประชากร โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 146,807 คิดเป็นร้อยละ 9.44 เมื่อเทียบกับจำนวนประชากร ในปี 2559 มีประชากรจำนวน 1,554,432
ลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ โดยระบบสุขภาพชุมชน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่ดำเนินงานด้านปัจจัยเสี่ยง
|
||
2 | เพื่อพัฒนาศักยภาพระบบสุขภาพในพื้นที่ให้มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
|
||
3 | เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพในพื้นที่
|
||
4 | เพื่อหนุนเสริมกระบวนการทำงานให้ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
|
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | |||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2561 10:12 น.