สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

ประเมินผลภายใน การจัดการปัจจัยเสี่ยงตามแนวทางสันติสุขภาวะ

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)


“ ประเมินผลภายใน การจัดการปัจจัยเสี่ยงตามแนวทางสันติสุขภาวะ ”

5 จังหวัดภาคใต้ จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส

หัวหน้าโครงการ
ดร.จิรัชยา เจียวก๊ก, ดร.นวพล แก้วสุวรรณ, อ.ฐาณิดาภัทฐ์ แสงทอง

ชื่อโครงการ ประเมินผลภายใน การจัดการปัจจัยเสี่ยงตามแนวทางสันติสุขภาวะ

ที่อยู่ 5 จังหวัดภาคใต้ จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัด

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564


กิตติกรรมประกาศ

"ประเมินผลภายใน การจัดการปัจจัยเสี่ยงตามแนวทางสันติสุขภาวะ จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน 5 จังหวัดภาคใต้ จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ประเมินผลภายใน การจัดการปัจจัยเสี่ยงตามแนวทางสันติสุขภาวะ



บทคัดย่อ

โครงการ " ประเมินผลภายใน การจัดการปัจจัยเสี่ยงตามแนวทางสันติสุขภาวะ " ดำเนินการในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 105,000.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

อย่างไรก็ตามศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาวะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดการปัจจัยเสี่ยงตามแนวทางสันติสุขภาวะที่มุ่งเน้นในการพัฒนาและแก้ไขสุขภาวะของประชาชนในระดับรากหญ้าให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยได้มีโครงการการดำเนินภายใต้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จำนวน 317 โครงการตามแกนนำบัณฑิตอาสา ทั้งนี้ ศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาวะ ได้มีการสนับสนุนประมาณในการจัดทำโครงการประเด็นการจัดการปัจจัยเสี่ยงตามแนวทางสันติสุขภาวะ และโครงการประเมินโครงการศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ประเด็นจัดการปัจจัยเสี่ยงตามแนวทางสันติสุขภาวะ ด้วยการประยุกต์ใช้กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) เพื่อกลไกในการประเมินคุณภาพของโครงการต่าง ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. บัณฑิตอาสาในพื้นที่ 5 จังหวัด จำนวน 317 คน มีศักยภาพในการพัฒนาโครงการ ดำเนินโครงการพร้อมทั้งการติดตามประเมินผล
  2. เกิดแผนงานโครงการการจัดการปัจจัยเสี่ยงตามแนวทางสันติสุขภาวะเพื่อเสนอของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนตำบล อย่างน้อย 317 โครงการ
  3. ข้อเสนอเชิงนโยบายการดำเนินงานสันติสุขภาวะในพื้นที่ผ่านกลไกบัณฑิตอาสา

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. การกลั่นกรองและการกำหนดขอบเขตการประเมิน (Screening and Scoping ) ครั้งที่ 1
  2. การกลั่นกรองและการกำหนดขอบเขตการประเมิน (Screening and Scoping ) ครั้งที่ 2
  3. ขั้นตอนการกลั่นกรองและการกำหนดขอบเขตการประเมิน (Screening and Scoping ) ครั้งที่ 3
  4. การประเมินผลกระทบ (assessing) (นราธิวาส และยะลา)
  5. การประเมินผลกระทบ (assessing) (ปัตตานี และสงขลา)
  6. การประเมินผลกระทบ (assessing) (สตูล)
  7. การผลักดันสู่การตัดสินใจ
  8. การทบทวนร่างรายงานโดยสาธารณะ (Public review)
  9. ประชุมวางแผนการลงพื้นที่ประเมินโครงการบัณฑิตอาสา
  10. การประเมินความพึงพอใจและความรู้ความเข้าใจในการเขียนโครงการเพื่อรับการสนับสนุนงบประมาณ จังหวัดปัตตานี
  11. การติดตามประเมินผล
  12. ประชุมปรับแผนการดำเนินงาน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019
  13. ประชุมเตรียมการจัดทำเครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลฉบับอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเก็บข้อมูลออนไลน์
  14. การคัดเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลการประเมินเพื่อประสานงานเชิญเข้าร่วมประชุม
  15. ทดสอบเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลออนไลน์ และรายงานผลการประสานงานเพื่อจัดประชุมเบื้องต้น
  16. ประชุมเพื่อเตรียมการจัดประชุมออนไลน์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวแทนบัณฑิตอาสา 5 จังหวัดชายแดนใต้
  17. การประชุมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินโครงการรูปแบบออนไลน์จากบัณฑิตอาสาฯ จ.ปัตตานี (เพิ่มเติม)
  18. การประชุมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินโครงการรูปแบบออนไลน์จากบัณฑิตอาสาฯ จ.ยะลา
  19. การประชุมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินโครงการรูปแบบออนไลน์จากบัณฑิตอาสาฯ จ.นราธิวาส
  20. การประชุมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินโครงการรูปแบบออนไลน์จากบัณฑิตอาสาฯ จ.สงขลา
  21. การประชุมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินโครงการรูปแบบออนไลน์จากบัณฑิตอาสาฯ จ.สตูล
  22. ดำเนินการโอนเงินค่าตอบแทนและรายจ่าย ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการประเมินด้วยระบบโอนไลน์

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. บัณฑิตอาสาในพื้นที่ 5 จังหวัด เกิดทักษะและมีศักยภาพในการพัฒนาโครงการ พร้อมทั้งมีทักษะในการติดตามประเมินผลโครงการ
  2. เกิดแผนงานโครงการการจัดการปัจจัยเสี่ยงตามแนวทางสันติสุขภาวะเพื่อเสนอของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนตำบล
  3. ได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการดำเนินงานสันติสุขภาวะในพื้นที่ผ่านกลไกบัณฑิตอาสามาตุภูมิ

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมวางแผนการลงพื้นที่ประเมินโครงการบัณฑิตอาสา

วันที่ 22 มีนาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

  1. นัดหมายการประชุม
  2. ตัวแทนสมาชิกโครงการเกริ่นนำถึงแผนการดำเนินงาน
  3. คัดเลือกพื้นที่เพื่อประสานงานกับผู้ประสานงานบัณฑิตอาสาในแต่ละจังหวัด
  4. ระดมสมอง หารือ เพื่อกำหนดรูปแบบการเก็บข้อมูล และวันเวลาในการลงพื้นที่
  5. เสร็จสิ้นผลการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1 คณะทำงานได้ร่วมกันกำหนดแผนงาน 2 สมาชิกรับทราบรายละเอียดข้อมูลการดำเนินงาน 3 คณะทำงานรับทราบความก้าวหน้าในการดำเนินงาน 4 แผนการดำเนินงานลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมิน ดังนี้     4.1 คณะทำงานทำการจัดสนทนากลุ่มเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวแทนจังหวัดปัตตานี ประกอบด้วย 1) พี่เลี้ยง 2) บัณฑิตอาสา 3) กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ในวันที่ 29-31 มีนาคม 2564     4.2 คณะทำงานทำการจัดสนทนากลุ่มเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวแทนจังหวัดยะลา ประกอบด้วย 1) พี่เลี้ยง 2) บัณฑิตอาสา 3) กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ในวันที่ 9-11 เมษายน 2564     4.3 คณะทำงานทำการจัดสนทนากลุ่มเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวแทนจังหวัดนราธิวาส ประกอบด้วย 1) พี่เลี้ยง 2) บัณฑิตอาสา 3) กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ในวันที่ 21-23 พฤษภาคม 2564     4.4 คณะทำงานทำการจัดสนทนากลุ่มเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวแทนจังหวัดสตูล ประกอบด้วย 1) พี่เลี้ยง 2) บัณฑิตอาสา 3) กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ในวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2564     4.5 คณะทำงานทำการจัดสนทนากลุ่มเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวแทนจังหวัดสงขลา ประกอบด้วย 1) พี่เลี้ยง 2) บัณฑิตอาสา 3) กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ในวันที่ 27-29 พฤษภาคม 2564     4.6 คณะทำงานทำการจัดสนทนากลุ่มเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวแทนผู้จัดกิจกรรมของ ศวนส. ในวันที่ 1-3 มิถุนายน 2564     4.7 คณะทำงานทำการจัดสนทนากลุ่มเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ ศอ.บต. สปสช. และ ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในวันที่ 6-4 มิถุนายน 2564

ทั้งนี้ วันเวลาในการดำเนินงานสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความสะดวกของกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

 

0 0

2. การประเมินความพึงพอใจและความรู้ความเข้าใจในการเขียนโครงการเพื่อรับการสนับสนุนงบประมาณ จังหวัดปัตตานี

วันที่ 31 มีนาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

13.00 น. – 13.30 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน 13.30 น. – 13.45 น. ประธานโครงการกล่าวเปิดงานและชี้แจงรายละเอียดโครงการ 13.45 น. – 14.00 น. ทำแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดโครงการ 14.00 น. – 14.30 น. ทำแบบประเมินตนเองก่อนหลังอบรมการเขียนโครงการ 14.30 น. – 14.50 น. พักรับประทานอาหารว่าง 14.50 น. – 16.00 น. กิจกรรมสะท้อนข้อมูลการเขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนทุนการดำเนินงาน/ผลและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 16.00 น. – 16.30 น. สรุปผลการจัดกิจกรรม/ผู้เข้าร่วมประชุมเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. จากการลงทะเบียน สรุปได้ว่า ผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ มาจากอำเภอปานาเระ จำนวน 18 คน ประกอบด้วย 1) ผู้ประสานงานบัณฑิตอาสา จำนวน 1 คน 2) บัณฑิตอาสา จำนวน 17 คน มีเพศหญิง จำนวน 15 คน และ เพศชาย จำนวน 2 คน
  2. จากกิจกรรมการประเมินความพึงพอใจในการจัดโครงการอบรมของ ศวนส. พบว่า ผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจในแต่ละด้าน ดังนี้ 1)
  3. จากกิจกรรมการทำแบบประเมินตนเองก่อนและหลังอบรม พบว่า
  4. กิจกรรมสะท้อนข้อมูลการเขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ พบว่า ในอำเภอปานาเระ ตัวแทนบัณฑิตอาสาได้มีการเสนอตัวแบบโครงการที่ดำเนินงาน จำนวน 2 โครงการ ประกอบด้วย 1) โครงการด้านส่งเสริมสุขภาพ (แอโรบิค) และ 2) โครงการการลดปัญหายาเสพติด มีรายละเอียด ดังนี้     4.1 โครงการด้านการส่งเสริมวัฒนธรรม
          4.1.1 การดำเนินโครงการ       งบประมาณ ได้รับจาก องค์การบริหารส่วนตำบล และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) จำนวน 20,000 บาท       แผนงาน เป็นแผนงานที่มีอยู่ในชุมชนแล้ว ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งที่ อบต.และ สปสช. ให้การส่งเสริม       คน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน       ฐานข้อมูล ได้จาก เจ้าหน้าที่ รพ.สต. เกี่ยวกับการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ       ทุนทางสังคม ได้แก่ เป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม คนในชุมชนมีความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน ผู้นำมีความเข้มแข็ง       สถานที่ มีการดำเนินงาน ณ ลานกีฬาหมู่บ้าน ถนนเลียบคลองชลประทานในชุมชน       4.1.2 การติดตาม       การดำเนินโครงการ ผล เป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยแผนดังกล่าวดำเนินการร่วมกับ รพ.สต.       ผลผลิต พบว่า ประชาชนในพื้นที่มีสุขภาพแข็งแรง โรคอ้วนลดลง       ผลลัพธ์ เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพทางกาย

  4.2 โครงการอาหารปลอดภัย       4.2.1 การดำเนินโครงการ       งบประมาณ จำนวน 50,000 บาท       แผนงาน 1) ทำการจัดอบรมให้ความรู้ 2) จัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ 3) มีการจัดกิจกรรมออกกำลังกาย และ 4) จัดกิจกรรมประกวดภายในชุมชน       คน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เยาวชน และ กลุ่มผู้สูงอายุ       ฐานข้อมูล ได้จาก ตัวของบัณฑิตอาสา รพ.สต. อบต. และ ศปค. อำเภอปานาเระ       ทุนทางสังคม ได้แก่ การให้การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ ประกอบด้วย สปสช. อบต./เทศบาล และศอ.บต.       สถานที่ ดำเนินการที่ มัสยิด ศาลาและอาคารเอนกประสงค์ของชุมชน       4.2.2 การติดตาม       การดำเนินโครงการ ผล ยังไม่ได้ดำเนินโครงการ       ผลผลิต คือ สุภาพร่างกายประชาชนมีความแข็งแรงขึ้น ชุมชนมีความสะอาด ประชาชนได้บริโภคอาหารปลอดสารพิษ และประชาชนมีความรู้เพิ่มขึ้น       ผลลัพธ์ คือ ลดปัญหาอาชญากรรมในชุมชนได้ สามารถลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้แก่คนในชุมชนได้ และ ผู้สูงอายุสุขภาพดีขึ้น
5. การประเมินคุณค่า จากการจัดกิจกรรม พบว่า โครงการที่ทางบัณฑิตอาสาได้ทำการเขียนโครงการเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน มี 8 โครงการ ดังนี้   (1) โครงการชุมชนท่าน้ำรักสุขภาพ คุณค่าที่เกิดขึ้น คือ การมีกระบวนการดำเนินงานแบบใหม่   (2) โครงการปลูกเอง กินเอง บ้านควน   (3) โครงการอาหารปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภคบ้านพ่อมิ่ง   (4) โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตำบลบ้านกลาง   (5) โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตำบลปานาเระ   (6) โครงการบัณฑิตอาสาบ้านดอน สรรสร้างอาหารปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุปี 2564   (7) โครงการอาหารปลอดภัยเพื่อสุขภาพคนในชุมชนตำบลคอกกระบือ   (8) โครงการส่งเสริมอาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพบ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม อำเภอปานาเระ

  1. ภาพรวมการประเมินในเบื้องต้น

ผลการ AAR หลังจัดกิจกรรม

  1. ในการประชุมครั้งนี้ ขาดพี่เลี้ยงบัณฑิตเข้าร่วมประชุม เนื่องจากผู้ประสานลืมวันและเวลาในการนัดประชุม ทำให้ผู้เข้าร่วมในกลุ่มของบัณฑิตอาสามาเข้าร่วมประชุมได้น้อยกว่าที่ผู้จัดกิจกรรมกำหนด
  2. ปรับปรุงการติดต่อประสานงาน โดยขอรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมกิจกรรมอบรมจาก ผู้ประสานงาน ศวนส.ม.อ. เพื่อให้ได้หมายเลขโทรศัพท์กับกลุ่มเป้าหมายในการประเมินโดยตรง
  3. กำหนดกลุ่มเป้าหมายใหม่ โดยระบุให้ผู้ประสานงาน คัดเลือก บัณฑิตอาสาที่เข้าร่วมกิจกรรมอบรมการเขียนโครงการกับ ศวนส.ม.อ. ทั้ง 2 ครั้ง แทนผู้ที่ไม่เคยเข้าอบรมมาให้ข้อมูลการประเมิน
  4. อาหารและเครื่องดื่มให้ปรับเปลี่ยนเป็น Packaging สำเร็จรูปพร้อมรับประทาน เพื่อลดภาระงานที่ไม่จำเป็นของผู้จัดประชุม

 

0 0

3. ประชุมปรับแผนการดำเนินงาน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019

วันที่ 9 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

  1. ผู้ประสานงานทำการชี้แจงเกี่ยวกับปัญหาในการประสานงานเพื่อนัดหมายกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จ.ยะลา ว่ามีการนัดหมายล้มเหลว เนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 ระลอกใหม่ และขอข้อเสนอแนะ/ความคิดเห็นจากคณะทำงานว่าควรมีแนวทางการปรับวิธีการดำเนินงานได้อย่างไรบ้าง

  2. คณะทำงานร่วมกันเสนอแนวทางในการดำเนินงานช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019

  3. สรุปข้อหารือในการประชุม

  4. ปิดประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะทำงานรับทราบถึงสถานการณ์การประสานงานเพื่อนัดหมายเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จ.ยะลาว่าการดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากทางตัวแทน จ.ยะลา ปฏิเสธการเข้าร่วมการประชุมเพื่อให้ข้อมูลในการประเมิน เพราะมีความวิตกกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 ระลอกใหม่

  2. คณะทำงานได้ร่วมเสนอแนะความคิดเห็นในการทำงาน รวมถึงวิเคราะห์สถานการณ์เบื้องต้นเพื่อวางแผนงานต่อไป ซึ่งมี 2 แนวทาง ประกอบด้วย 1) ดำเนินการประสานงานเพื่อสอบถามความพร้อมกลุ่มเป้าหมายในจังหวัดอื่น ๆ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล หรือให้ข้อเสนอในการประชุมทีมีความสะดวกแก่ทุกฝ่าย และ 2) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลออนไลน์ โดยกำหนดเฉพาะกลุ่มที่สามารถใช้โปรแกรมออนไลน์ในการประชุมเพื่อให้ข้อมูลกับคณะประเมินได้ แต่ให้ดำเนินการประสานงาน และสังเกตสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 ต่อไปว่าเป็นอย่างไร หากสถานการณ์ดังกล่าวสามารถควบคุมได้ ให้ดำเนินการตามแผนงานแรก คือ นัดหมายกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจังหวัดอื่น ๆ และดำเนินการจัดประชุมรูปแบบปกติ

  3. สรุปการประชุมว่าในที่ประชุมมีมติให้ดำเนินการทั้ง 2 แนวทางตามความเหมาะสมของสถาการณ์ พร้อมทั้งให้ผู้ประสานงานเตรียมการจัดทำเอกสาร/เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในรูปแบบอิทรอนิกส์เป็นการสำรอง เพื่อนำมาใช้ในกรณีที่ต้องดำเนินการจัดประชุมออนไลน์รูปแบบเดียวเท่านั้น

 

0 0

4. ประชุมเตรียมการจัดทำเครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลฉบับอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเก็บข้อมูลออนไลน์

วันที่ 31 พฤษภาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

  1. คณะทำงานร่วมกันจัดเตรียมเอกสาร/เครื่องมือที่ออกแบบไว้เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล

  2. คณะทำงานร่วมกันหาช่องทางในการจัดทำเครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณที่ง่ายต่อการเข้าถึงมากที่สุด

  3. คณะทำงานการจัดทำสื่อที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพที่ง่ายต่อความเข้าใจของบุคคลทั่วไป มีข้อคำถามครบถ้วน และสวยงามน่าสนใจ

  4. สรุปการประชุมและดำเนินการตามแผนที่วางไว้

  5. ปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. จากการประชุม ทำให้คณะผู้ประเมินสามารถผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการประชุมออนไลน์ 2 ชนิด ประกอบด้วย
                    1.1 เครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการสร้าง Google Form                 1.2 เครื่องมือที่ใช้เพื่อเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสร้างงานนำเสนอโดยใช้ Microsoft Office คือ Power point

  2. มติที่ประชุมได้นัดหมายในการวันกำหนดส่งเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์และทดสอบการใช้เครื่องมือในวันที่ 15 กรกฎาคม 2564

 

0 0

5. การคัดเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลการประเมินเพื่อประสานงานเชิญเข้าร่วมประชุม

วันที่ 15 มิถุนายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

  1. คณะทำงานร่วมกันสะท้อนมุมมองสถานการณ์เบื้องต้นในการเก็บรวบรวมข้อมูล

  2. ผู้ประสานงาน/ผู้ช่วยรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานต่าง ๆ ให้ทางคณะทำงานได้รับทราบ

  3. คณะทำงานร่วมกันคัดเลือกตัวแทนกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในแต่ละจังหวัดเพื่อเข้าร่วมประชุม โดยเกณฑ์ในการคัดเลือก ประกอบด้วย 1. วัน เวลา ในการอัพเดทโครงการในระบบออนไลน์ของ สปสช. 2. สถานะโครงการ 3. ข้อมูลโครงการที่สามารถติดต่อได้

  4. สรุปการกิจกรรม จัดทำข้อมูลเอกสารเพื่อติดต่อประสานงานกับตัวแทนผู้ให้ข้อมูลในจังหวัดต่าง ๆ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะทำงานได้แลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานในสถานการณ์ COVID-19

  2. เกิดข้อมูลกลุ่มเป้าหมายในการติดต่อประสานงานเพื่อดำเนินการจัดประชุมเพื่อเก็บข้อมูล

  3. เกิดแผนงานในการดำเนินการครั้งถัดไป

 

0 0

6. ทดสอบเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลออนไลน์ และรายงานผลการประสานงานเพื่อจัดประชุมเบื้องต้น

วันที่ 15 กรกฎาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

  1. ผู้ประสานงาน/ผู้ช่วยทำการนำเสนอผลการจัดทำเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้ง 2 ประเภท

  2. คณะทำงานทดลองใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อพัฒนาทางเทคนิคให้มีประสิทธิภาพและทันสมัย

  3. ผู้ประสานงาน/ผู้ช่วย บันทึกข้อมูลจุดขัดข้องหรือจุดเพิ่มเติมต่าง ๆ ในการแก้ไขทางเทคนิคของเครื่องมือเก็บข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์

  4. ผู้ประสานงานรายงานความก้าวหน้าการติดต่อประสานงานเพื่อนัดหมายเก็บข้อมูลออนไลน์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. เกิดเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถใช้งานได้สมบูรณ์ เข้าถึงง่าย ใช้งานสะดวก และได้ข้อมูลครบถ้วน

  2. มีผู้ยืนยันข้อมูลในการเข้าร่วมประชุมออนไลน์เบื้องต้น 30%

 

0 0

7. ประชุมเพื่อเตรียมการจัดประชุมออนไลน์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวแทนบัณฑิตอาสา 5 จังหวัดชายแดนใต้

วันที่ 20 กรกฎาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

  1. คณะทำงานเข้าประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน

  2. คณะทำงานร่วมกันกำหนดรูปแบบการประชุมออนไลน์ และวันเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลออนไลน์ 5 จังหวัดชายแดนใต้

  3. ผู้ประสานงานทำการสร้างกลุ่มสำหรับการสื่อสารระหว่างผู้ประสานงานและตัวแทนบัณฑิตอาสาทั้ง 5 จังหวัดชายแดนใต้

  4. ผู้ประสานงานทำการติดต่อประสานงานการจัดประชุมกับตัวแทนบัณฑิตอาสา 5 จังหวัดชายแดนใต้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. เกิดวัน เวลา ในการจัดประชุมออนไลน์ที่ชัดเจน คือ ดำเนินการจัดประชุมออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 2 - 5 สิงหาคม 2564 แต่เป็นช่วงเวลาที่แตกต่างกันตามวันเวลาว่างของคณธทำงานประเมินและตัวแทนบัณฑิตอาสาที่พร้อมเพรียงกัน

  2. เกิดรูปแบบการจัดประชุมออนไลน์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ประกอบด้วย ช่วงที่ 1 การทำแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเขียนโครงการกับทาง ศวนส. ช่วงที่ 2 เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพการโครงการของบัณฑิตอาสาที่ส่งเข้ากองทุน สปสช. และประเมินตนเองของบัณฑิตอาสาเพื่อหาผลผลิต ผลลัพธ์ ของโครงการดังกล่าว และ ช่วงที่ 3 เป็นการประเมินคุณค่าโครงการของบัณฑิตอาสาที่ส่งเพื่ออรับงบประมาณในการสนับสนุนโครงการด้านการจัดการปัจจัยเสี่ยงซึ่งในการจัดประชุมนั้นจะดำเนินการผ่านช่องทาง Application Zoom Meeting

  3. เกิดเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสมบูรณ์เพื่อใช้เก็บรวบรวมข้อมูลและทันสมัย เช่น การทำแบบสอบถามความพึงพอใจผ่านการสแกน QR Code และ การพิมพ์ลิงค์สั้น ๆ เพื่อทำแบบสอบถาม เป็นต้น

  4. เกิดเป็นกลุ่มที่ใช้สื่อสารออนไลน์ระหว่างบัณฑิตอาสาและคณะทำงานโครงการ จำนวน 5 กลุ่ม

 

0 0

8. การประชุมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินโครงการรูปแบบออนไลน์จากบัณฑิตอาสาฯ จ.ปัตตานี (เพิ่มเติม)

วันที่ 2 สิงหาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

  1. ผู้ประสานงานทำการติดต่อและส่งรหัสสำหรับเข้าประชุมในระบบ Zoom Meeting แก่บัณฑิตอาสา จ.ปัตตานี

  2. ตัวแทนบัณฑิตอาสาเข้าร่วมการประชุมออนไลน์เพื่อให้ข้อมูลในการประเมินโครงการ จำนวน 4 ตำบล ตำบลละ 3 ราย

  3. คณะทำงานทำการแนะนำตัว และอธิบายรายละเอียดในการประชุมออนไลน์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล

  4. คณะทำงานเริ่มดำเนินการประชุมในช่วงที่ 1 คือ การทำแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมการอบรมเขียนโครงการกับทาง ศวนส. ใช้เวลา 10 - 15 นาที

  5. ภายหลังจากผู้เข้าร่วมประชุมได้ทำการประเมินพึงพอใจแล้ว คณะทำงานจึงเริ่มเก็บรวบรวมข้อมูลในตอนที่ 2 ประเด็นการติดตามและประเมินผลโครงการ ใช้เวลา 90 นาที

  6. ดำเนินการในช่วงการประชุมที่ 3 คือ การประเมินคุณค่าโครงการที่ส่งของบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานจากกองทุน สปสช.

  7. ตัวแทนคณะทำงานกล่าวสรุปกิจกรรมและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะผู้ประเมินได้ข้อมูลสำหรับการประเมินเชิงปริมาณความพึงพอใจในการเข้าร่วมอบรมเขียนโครงการกับทาง ศวนส. และการประเมินความรู้ของผู้เข้าอบรม จำนวน 13 ชุด

  2. เกิดข้อมูลเชิงคุณภาพในการเขียนร่างรายงานการประเมินของ จ.ปัตตานี

  3. คณะประเมินได้ข้อมูลในเชิงสังเกตการณ์ภายในคณะทำงานโครงการของบัณฑิตอาสา จังหวัดปัตตานี เช่น การมีส่วนร่วมในทีมดำเนินงาน ความสามัคคีในการดำเนินงาน การประสานงาน และข้อมูลต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อการประเมินโครงการ

  4. เกิดข้อมูลการประเมินคุณค่าโครงการของบัณฑิตอาสา โดยบัณฑิตอาสาได้เกิดการทบทวนการดำเนินโครงการเพิ่มเติม รวมถึงเกิดแนวคิดในการต่อยอดโครงการภายหลังการร่วมรับฟังข้อมูลจากบัณฑิตอาสาในตำบลอื่น ๆ เพิ่มเติม

 

0 0

9. การประชุมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินโครงการรูปแบบออนไลน์จากบัณฑิตอาสาฯ จ.ยะลา

วันที่ 3 สิงหาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

  1. ผู้ประสานงานทำการติดต่อและส่งรหัสสำหรับเข้าประชุมในระบบ Zoom Meeting แก่บัณฑิตอาสา จ.ยะลา

  2. ตัวแทนบัณฑิตอาสาเข้าร่วมการประชุมออนไลน์เพื่อให้ข้อมูลในการประเมินโครงการ จำนวน 3 ตำบล ตำบลละ 1-2 ราย

  3. คณะทำงานทำการแนะนำตัว และอธิบายรายละเอียดในการประชุมออนไลน์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล

  4. คณะทำงานเริ่มดำเนินการประชุมในช่วงที่ 1 คือ การทำแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมการอบรมเขียนโครงการกับทาง ศวนส. ใช้เวลา 10 - 15 นาที

  5. ภายหลังจากผู้เข้าร่วมประชุมได้ทำการประเมินพึงพอใจแล้ว คณะทำงานจึงเริ่มเก็บรวบรวมข้อมูลในตอนที่ 2 ประเด็นการติดตามและประเมินผลโครงการ ใช้เวลา 90 นาที

  6. ดำเนินการในช่วงการประชุมที่ 3 คือ การประเมินคุณค่าโครงการที่ส่งของบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานจากกองทุน สปสช.

  7. ตัวแทนคณะทำงานกล่าวสรุปกิจกรรมและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะผู้ประเมินได้ข้อมูลสำหรับการประเมินเชิงปริมาณความพึงพอใจในการเข้าร่วมอบรมเขียนโครงการกับทาง ศวนส. และการประเมินความรู้ของผู้เข้าอบรม จำนวน 13 ชุด

  2. เกิดข้อมูลเชิงคุณภาพในการเขียนร่างรายงานการประเมินของ จ.ยะลา

  3. คณะประเมินได้ข้อมูลในเชิงสังเกตการณ์ภายในคณะทำงานโครงการของบัณฑิตอาสา จังหวัดยะลา เช่น การมีส่วนร่วมในทีมดำเนินงาน ความสามัคคีในการดำเนินงาน การประสานงาน และข้อมูลต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อการประเมินโครงการ

  4. เกิดข้อมูลการประเมินคุณค่าโครงการของบัณฑิตอาสา โดยบัณฑิตอาสาได้เกิดการทบทวนการดำเนินโครงการเพิ่มเติม รวมถึงเกิดแนวคิดในการต่อยอดโครงการภายหลังการร่วมรับฟังข้อมูลจากบัณฑิตอาสาในตำบลอื่น ๆ เพิ่มเติม

 

0 0

10. การประชุมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินโครงการรูปแบบออนไลน์จากบัณฑิตอาสาฯ จ.นราธิวาส

วันที่ 4 สิงหาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

  1. ผู้ประสานงานทำการติดต่อและส่งรหัสสำหรับเข้าประชุมในระบบ Zoom Meeting แก่บัณฑิตอาสา จ.นราธิวาส

  2. ตัวแทนบัณฑิตอาสาเข้าร่วมการประชุมออนไลน์เพื่อให้ข้อมูลในการประเมินโครงการ จำนวน 4 ตำบล ตำบลละ 3 ราย

  3. คณะทำงานทำการแนะนำตัว และอธิบายรายละเอียดในการประชุมออนไลน์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล

  4. คณะทำงานเริ่มดำเนินการประชุมในช่วงที่ 1 คือ การทำแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมการอบรมเขียนโครงการกับทาง ศวนส. ใช้เวลา 10 - 15 นาที

  5. ภายหลังจากผู้เข้าร่วมประชุมได้ทำการประเมินพึงพอใจแล้ว คณะทำงานจึงเริ่มเก็บรวบรวมข้อมูลในตอนที่ 2 ประเด็นการติดตามและประเมินผลโครงการ ใช้เวลา 90 นาที

  6. ดำเนินการในช่วงการประชุมที่ 3 คือ การประเมินคุณค่าโครงการที่ส่งของบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานจากกองทุน สปสช. ใช้เวลา 20 นาที

  7. ตัวแทนคณะทำงานกล่าวสรุปกิจกรรมและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะผู้ประเมินได้ข้อมูลสำหรับการประเมินเชิงปริมาณความพึงพอใจในการเข้าร่วมอบรมเขียนโครงการกับทาง ศวนส. และการประเมินความรู้ของผู้เข้าอบรม จำนวน 13 ชุด

  2. เกิดข้อมูลเชิงคุณภาพในการเขียนร่างรายงานการประเมินของ จ.ปัตตานี

  3. คณะประเมินได้ข้อมูลในเชิงสังเกตการณ์ภายในคณะทำงานโครงการของบัณฑิตอาสา จังหวัดปัตตานี เช่น การมีส่วนร่วมในทีมดำเนินงาน ความสามัคคีในการดำเนินงาน การประสานงาน และข้อมูลต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อการประเมินโครงการ

  4. เกิดข้อมูลการประเมินคุณค่าโครงการของบัณฑิตอาสา โดยบัณฑิตอาสาได้เกิดการทบทวนการดำเนินโครงการเพิ่มเติม รวมถึงเกิดแนวคิดในการต่อยอดโครงการภายหลังการร่วมรับฟังข้อมูลจากบัณฑิตอาสาในตำบลอื่น ๆ เพิ่มเติม

  5. เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคณะผู้ประเมินและตัวแทนบัณฑิตอาสา จ.นราธิวาส

  6. เกิดข้อเสนอแนะในการจัดประชุมออนไลน์ และข้อปรับปรุงสำหรับ ศวนส. พี่เลี้ยงกองทุนสปสช.ในการจัดประชุมเพื่ออบรมการเขียนโครงการในครั้งถัดไป

 

0 0

11. การประชุมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินโครงการรูปแบบออนไลน์จากบัณฑิตอาสาฯ จ.สงขลา

วันที่ 4 สิงหาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

  1. ผู้ประสานงานทำการติดต่อและส่งรหัสสำหรับเข้าประชุมในระบบ Zoom Meeting แก่บัณฑิตอาสา จ.สงขลา

  2. ตัวแทนบัณฑิตอาสาเข้าร่วมการประชุมออนไลน์เพื่อให้ข้อมูลในการประเมินโครงการ จำนวน 5 ตำบล ตำบลละ 3 ราย

  3. คณะทำงานทำการแนะนำตัว และอธิบายรายละเอียดในการประชุมออนไลน์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล

  4. คณะทำงานเริ่มดำเนินการประชุมในช่วงที่ 1 คือ การทำแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมการอบรมเขียนโครงการกับทาง ศวนส. ใช้เวลา 10 - 15 นาที

  5. ภายหลังจากผู้เข้าร่วมประชุมได้ทำการประเมินพึงพอใจแล้ว คณะทำงานจึงเริ่มเก็บรวบรวมข้อมูลในตอนที่ 2 ประเด็นการติดตามและประเมินผลโครงการ ใช้เวลา 90 นาที

  6. ดำเนินการในช่วงการประชุมที่ 3 คือ การประเมินคุณค่าโครงการที่ส่งของบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานจากกองทุน สปสช.

  7. ตัวแทนคณะทำงานกล่าวสรุปกิจกรรมและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะผู้ประเมินได้ข้อมูลสำหรับการประเมินเชิงปริมาณความพึงพอใจในการเข้าร่วมอบรมเขียนโครงการกับทาง ศวนส. และการประเมินความรู้ของผู้เข้าอบรม จำนวน 13 ชุด

  2. เกิดข้อมูลเชิงคุณภาพในการเขียนร่างรายงานการประเมินของ จ.สงขลา

  3. คณะประเมินได้ข้อมูลในเชิงสังเกตการณ์ภายในคณะทำงานโครงการของบัณฑิตอาสา จังหวัดปัตตานี เช่น การมีส่วนร่วมในทีมดำเนินงาน ความสามัคคีในการดำเนินงาน การประสานงาน และข้อมูลต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อการประเมินโครงการ

  4. เกิดข้อมูลการประเมินคุณค่าโครงการของบัณฑิตอาสา โดยบัณฑิตอาสาได้เกิดการทบทวนการดำเนินโครงการเพิ่มเติม รวมถึงเกิดแนวคิดในการต่อยอดโครงการภายหลังการร่วมรับฟังข้อมูลจากบัณฑิตอาสาในตำบลอื่น ๆ เพิ่มเติม

  5. เกิดข้อเสนอแนะในการพัฒนาการดำเนินงานทั้งในส่วนของคณธผู้ประเมินและผู้จัดอบรมการเขียนโครงการพร้อมทั้งภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

 

0 0

12. การประชุมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินโครงการรูปแบบออนไลน์จากบัณฑิตอาสาฯ จ.สตูล

วันที่ 5 สิงหาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

  1. ผู้ประสานงานทำการติดต่อและส่งรหัสสำหรับเข้าประชุมในระบบ Zoom Meeting แก่บัณฑิตอาสา จ.สตูล

  2. ตัวแทนบัณฑิตอาสาเข้าร่วมการประชุมออนไลน์เพื่อให้ข้อมูลในการประเมินโครงการ จำนวน 4 ตำบล ตำบลละ 2-3 ราย

  3. คณะทำงานทำการแนะนำตัว และอธิบายรายละเอียดในการประชุมออนไลน์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล

  4. คณะทำงานเริ่มดำเนินการประชุมในช่วงที่ 1 คือ การทำแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมการอบรมเขียนโครงการกับทาง ศวนส. ใช้เวลา 10 - 15 นาที

  5. ภายหลังจากผู้เข้าร่วมประชุมได้ทำการประเมินพึงพอใจแล้ว คณะทำงานจึงเริ่มเก็บรวบรวมข้อมูลในตอนที่ 2 ประเด็นการติดตามและประเมินผลโครงการ ใช้เวลา 90 นาที

  6. ดำเนินการในช่วงการประชุมที่ 3 คือ การประเมินคุณค่าโครงการที่ส่งของบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานจากกองทุน สปสช.

  7. ตัวแทนคณะทำงานกล่าวสรุปกิจกรรมและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะผู้ประเมินได้ข้อมูลสำหรับการประเมินเชิงปริมาณความพึงพอใจในการเข้าร่วมอบรมเขียนโครงการกับทาง ศวนส. และการประเมินความรู้ของผู้เข้าอบรม จำนวน 13 ชุด

  2. เกิดข้อมูลเชิงคุณภาพในการเขียนร่างรายงานการประเมินของ จ.สตูล

  3. คณะประเมินได้ข้อมูลในเชิงสังเกตการณ์ภายในคณะทำงานโครงการของบัณฑิตอาสา จังหวัดสตูล เช่น การมีส่วนร่วมในทีมดำเนินงาน ความสามัคคีในการดำเนินงาน การประสานงาน และข้อมูลต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อการประเมินโครงการ

  4. เกิดข้อมูลการประเมินคุณค่าโครงการของบัณฑิตอาสา โดยบัณฑิตอาสาได้เกิดการทบทวนการดำเนินโครงการเพิ่มเติม รวมถึงเกิดแนวคิดในการต่อยอดโครงการภายหลังการร่วมรับฟังข้อมูลจากบัณฑิตอาสาในตำบลอื่น ๆ เพิ่มเติม

  5. เกิดข้อเสนอแนะในการดำเนินงานทั้งในส่วนของคณะประเมินฯ และผู้จัดอบรมการเขียนโครงการ

 

0 0

13. ดำเนินการโอนเงินค่าตอบแทนและรายจ่าย ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการประเมินด้วยระบบ Online

วันที่ 7 สิงหาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

  1. ผู้ประสานงานทำการรวบรวมจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมและรายละเอียดสำหรับการโอนเงินค่าตอบแทนทั้ง 5 จังหวัด จำนวน 45 คน และ ผู้ช่วยดำเนินการบันทึกข้อมูล จำนวน 2 ราย   ***** ทั้งนี้ ทางผู้ประสานงานได้แจ้งให้ผู้รับเงินทุกรายทำการส่งเอกสารการเงิน คือ ใบสำคัญรับเงินและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน คนละ 1 ชุด ให้แก่คณะประเมินผ่านทางไปรษณีย์แล้วทุกราย

  2. ทางคณะประเมินทำการสรุปค่าใช้จ่ายในดำเนินงานเบื้องต้น

  3. ทางคณะประเมินทำการตรวจสอบความถูกต้องและทำการโอนเงินแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับค่าตอบแทนในการดำเนินการประชุม

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 บัณฑิตอาสาในพื้นที่ 5 จังหวัด จำนวน 317 คน มีศักยภาพในการพัฒนาโครงการ ดำเนินโครงการพร้อมทั้งการติดตามประเมินผล
ตัวชี้วัด : ได้บัณทิตอาสาในพื้นที่ 5 จังหวัด จำนวน 200 คน มีศักยภาพในการพัฒนาโครงการ ดำเนินโครงการพร้อมทั้งการติดตามประเมินผล
0.00

 

2 เกิดแผนงานโครงการการจัดการปัจจัยเสี่ยงตามแนวทางสันติสุขภาวะเพื่อเสนอของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนตำบล อย่างน้อย 317 โครงการ
ตัวชี้วัด : เกิดแผนงานโครงการการจัดการปัจจัยเสี่ยงตามแนวทางสันติสุขภาวะเพื่อเสนอของงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนตำบล อย่างน้อย 317 โครงการ
0.00

 

3 ข้อเสนอเชิงนโยบายการดำเนินงานสันติสุขภาวะในพื้นที่ผ่านกลไกบัณฑิตอาสา
ตัวชี้วัด : การได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการดำเนินงานสันติสุขภาวะในพื้นที่ (ผ่านกลไกบัณฑิตอาสา)
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) บัณฑิตอาสาในพื้นที่ 5 จังหวัด จำนวน 317 คน มีศักยภาพในการพัฒนาโครงการ ดำเนินโครงการพร้อมทั้งการติดตามประเมินผล (2) เกิดแผนงานโครงการการจัดการปัจจัยเสี่ยงตามแนวทางสันติสุขภาวะเพื่อเสนอของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนตำบล อย่างน้อย 317 โครงการ (3) ข้อเสนอเชิงนโยบายการดำเนินงานสันติสุขภาวะในพื้นที่ผ่านกลไกบัณฑิตอาสา

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) การกลั่นกรองและการกำหนดขอบเขตการประเมิน (Screening and Scoping ) ครั้งที่ 1 (2) การกลั่นกรองและการกำหนดขอบเขตการประเมิน (Screening and Scoping ) ครั้งที่ 2 (3) ขั้นตอนการกลั่นกรองและการกำหนดขอบเขตการประเมิน (Screening and Scoping ) ครั้งที่ 3 (4) การประเมินผลกระทบ (assessing) (นราธิวาส และยะลา) (5) การประเมินผลกระทบ (assessing) (ปัตตานี และสงขลา) (6) การประเมินผลกระทบ (assessing) (สตูล) (7) การผลักดันสู่การตัดสินใจ (8) การทบทวนร่างรายงานโดยสาธารณะ (Public review) (9) ประชุมวางแผนการลงพื้นที่ประเมินโครงการบัณฑิตอาสา (10) การประเมินความพึงพอใจและความรู้ความเข้าใจในการเขียนโครงการเพื่อรับการสนับสนุนงบประมาณ จังหวัดปัตตานี (11) การติดตามประเมินผล (12) ประชุมปรับแผนการดำเนินงาน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 (13) ประชุมเตรียมการจัดทำเครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลฉบับอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเก็บข้อมูลออนไลน์ (14) การคัดเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลการประเมินเพื่อประสานงานเชิญเข้าร่วมประชุม (15) ทดสอบเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลออนไลน์ และรายงานผลการประสานงานเพื่อจัดประชุมเบื้องต้น (16) ประชุมเพื่อเตรียมการจัดประชุมออนไลน์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวแทนบัณฑิตอาสา 5 จังหวัดชายแดนใต้ (17) การประชุมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินโครงการรูปแบบออนไลน์จากบัณฑิตอาสาฯ จ.ปัตตานี (เพิ่มเติม) (18) การประชุมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินโครงการรูปแบบออนไลน์จากบัณฑิตอาสาฯ จ.ยะลา (19) การประชุมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินโครงการรูปแบบออนไลน์จากบัณฑิตอาสาฯ จ.นราธิวาส (20) การประชุมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินโครงการรูปแบบออนไลน์จากบัณฑิตอาสาฯ จ.สงขลา (21) การประชุมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินโครงการรูปแบบออนไลน์จากบัณฑิตอาสาฯ จ.สตูล (22) ดำเนินการโอนเงินค่าตอบแทนและรายจ่าย ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการประเมินด้วยระบบโอนไลน์

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ประเมินผลภายใน การจัดการปัจจัยเสี่ยงตามแนวทางสันติสุขภาวะ จังหวัด

รหัสโครงการ

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( ดร.จิรัชยา เจียวก๊ก, ดร.นวพล แก้วสุวรรณ, อ.ฐาณิดาภัทฐ์ แสงทอง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด