สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

การติดตามและประเมินผลโครงการศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ : ประเด็นความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (การท่องเที่ยวโดยชุมชน) โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การติดตามและประเมินผลโครงการศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ : ประเด็นความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (การท่องเที่ยวโดยชุมชน) โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA)
ภายใต้โครงการ งานประเมินผลภายใน
ภายใต้องค์กร สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
แหล่งทุน
ไม่ระบุ
งบประมาณ 105,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (สวนส.) สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1) ดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ 2) อาจารย์กานต์พิชชา ดุลยะลา
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ ดร.เพ็ญ สุขมาก
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่ท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดภูเก็ต กระบี่ พังงา ระนอง ตรัง สตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 8.004028,98.35848place
stars
2. พื้นที่เป้าหมาย
จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
ภาคใต้ place directions
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2563 30 มิ.ย. 2564 85,000.00
2 1 ก.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 20,000.00
รวมงบประมาณ 105,000.00
stars
4. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (สวนส.) ได้จัดทำโครงการศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ : ประเด็นความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับและผลักดันการดำเนินงานการท่องเที่ยวโดยชุมชนต้นแบบในการจัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มจังหวัดอันดามัน โดยการผลักดันให้เกิดแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนกลุ่มจังหวัดอันดามันที่พร้อมผลักดันสู่การปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลักดันให้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อนำเสนอในเวทีวิชาการระดับภาคใต้ และผลักดันให้เกิดการทำงานร่วมกันของเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน อย่างน้อย 4 เครือข่าย ได้แก่
1. กลุ่มจังหวัดอันดามัน
2. เครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย
3. เครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนสามจังหวัดชายแดนใต้
4. เครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนระดับภาคใต้ อันจะนำไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจชุมชนเพิ่มรายได้แก่ครัวเรือนของกลุ่มที่ทำท่องเที่ยวโดยชุมชน

เพื่อให้การดำเนินงานโครงการศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ : ประเด็นความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (การท่องเที่ยวโดยชุมชน) เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (สวนส.) จึงได้กำหนดให้มีการติดตามและประเมินผลภายใน โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ทั้งนี้เพื่อเสริมพลังแก่คณะทำงานให้สามารถดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ และบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ทีมประเมินได้กำหนดกรอบแนวคิดการติดตามและประเมินผลโครงการศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ : ประเด็นการท่องเที่ยวโดยชุมชน ด้วยการประยุกต์ใช้กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ประเมินตามกรอบยุทธศาสตร์ สสส. 6 ด้าน ได้แก่
1. เกิดความรู้และนวัตกรรม
2. พัฒนาขีดความสามารถของคนและเครือข่าย
3. มีการสร้างสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกที่เอื้อต่อการดำเนินงาน
4. เกิดกระบวนการชุมชนและท้องถิ่นเข้มแข็ง
5. เกิดกระบวนการนโยบายสาธารณะ
6. เกิดคุณค่าทางจิตวิญญาณ

stars
7. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ : ประเด็นการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA)

มีข้อมูลการติดตามและประเมินผลโครงการฯ ตามขั้นตอนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA)

6.00
2 เพื่อประเมินปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ : ประเด็นการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตามกรอบยุทธศาสตร์ สสส.

มีข้อมูลปัจจัยยความสำเร็จตามกรอบยุทธศาสตร์ สสส. ได้แก่ 1) เกิดความรู้และนวัตกรรม 2) พัฒนาขีดความสามารถของคนและเครือข่าย 3) มีการสร้างสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกที่เอื้อต่อการดำเนินงาน 4) เกิดกระบวนการชุมชนและท้องถิ่นเข้มแข็ง 5) เกิดกระบวนการนโยบายสาธารณะ และ 6) เกิดคุณค่าทางจิตวิญญาณ

6.00
3 เพื่อเสริมพลังการทำงานแก่คณะทำงานโครงการศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ : ประเด็นการท่องเที่ยวโดยชุมชน

คณะทำงานสามารถดำเนินงานโครงการฯ ได้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้

0.00
stars
8. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
9. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 62 105,000.00 0 0.00
1 ก.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 การกลั่นกรอง (Public screening) และการกำหนดขอบเขตการประเมิน (Public scoping) 20 20,000.00 -
1 ก.ย. 63 - 30 มิ.ย. 64 การประเมินผลกระทบ (Public assessing) 20 45,000.00 -
1 - 31 ก.ค. 64 การทบทวนร่างรายงานโดยสาธารณะ (Public review) และ การผลักดันเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจ (Public Influencing) 20 20,000.00 -
1 ส.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 การติดตามและประเมินผล (Public Monitoring and Evaluation) 2 20,000.00 -

กรอบการประยุกต์ใช้ HIA ติดตามและประเมินผลโครงการศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ : ประเด็นการท่องเที่ยวโดยชุมชน 1. การกลั่นกรอง
2. การกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมิน
3. การประเมินผลกระทบ
4. การทบทวนร่างรายงาน
5. การพัฒนาข้อเสนอเพื่อการแก้ไข ปรับปรุง
6. การติดตามประเมินผล การทบทวนแก้ไขปรับปรุง

stars
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชน 1 เครือข่าย
  2. รายได้ครัวเรือนของกลุ่มที่ทำท่องเที่ยวโดยชุมชนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 30
  3. เกิดความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
stars
11. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2563 17:17 น.