สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

งานบริหาร โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่ พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ งานบริหาร โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่ พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้
ภายใต้โครงการ แผนงานโซนใต้ล่าง
ภายใต้องค์กร สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)
รหัสโครงการ 60-ข-086
วันที่อนุมัติ
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2560 - 31 มกราคม 2562
แหล่งทุน
ไม่ระบุ
งบประมาณ 280,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศบ.สต.
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประเวศ หมีดเส็น
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 7.1974200484491,100.59292852879place
stars
2. พื้นที่เป้าหมาย
จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
place directions
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 9 ม.ค. 2561 31 ธ.ค. 2561 280,000.00
รวมงบประมาณ 280,000.00
stars
4. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย จังหวัดสงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีพื้นที่การปกครอง 56 อำเภอ 411 ตำบล และ 2,816 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้นจำนวน 3,748,287 คน แบ่งเป็นประชากรที่นับถือศาสนาศาสนาอิสลาม จำนวน 2,871,937 คน (ร้อยละ 76.62) และประชากรที่นับถือพุทธ จำนวน 682,564 คน (ร้อยละ 18.21) อยู่อย่างกระจัดกระจายทั้งในเขตเมืองและพื้นที่ชนบท มีศาสนสถานทั้งหมดจำนวน 3,400 แห่ง ประกอบด้วย วัด จำนวน 788 แห่ง มัสยิด จำนวน 2,362 แห่ง และสถาบันการศึกษาปอเนาะ จำนวน 229 แห่ง จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษทางสังคมและวัฒนธรรมแตกต่างจากพื้นที่อื่นของประเทศ เนื่องจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามและนิยมใช้ภาษามาลายูท้องถิ่นในชีวิตประจำวัน จังหวัดชายแดนภาคใต้จึงมีลักษณะที่มีอัตลักษณ์เฉพาะและมีประวัติศาสตร์ของตนเอง สถานการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.2547 ต่อเนื่องเป็นต้นมา ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่โดยรวม ทั้งในด้านความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้านเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต รวมถึงระบบบริการสุขภาพในพื้นที่ที่ไม่อาจหลีกพ้นจากเหตุการณ์และผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการลอบวางเพลิงสถานีอนามัยการลอบทำร้ายเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งเป็นกำลังที่สำคัญในการนำการพัฒนาสุขภาพไปสู่ชุมชนก็ได้รับบาดเจ็บและสูญเสียเฉกเช่นเดียวกับชะตากรรมของผู้คนในพื้นที่ ส่งผลให้ระบบบริการสุขภาพซึ่งต้องจัดระบบบริการเพื่อรองรับภาวะวิกฤตที่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น และท่ามกลางสถานการณ์ที่ถูกสื่อสารถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นออกสู่การรับรู้ของสังคมภายนอกอย่างต่อเนื่อง ได้บดบังสิ่งดีๆที่สร้างความสมานฉันท์ความสามัคคีและการอยู่ร่วมกันบนวิถีชีวิตที่ยึดมั่นในหลักแห่งความเชื่อ ความศรัทธาต่อศาสนาอันเป็นสิ่งยึดเหนียวจิตใจของผู้คนในสังคมแห่งความหลากหลายวัฒนธรรมที่ผู้คนต่างศาสนิกเคยอยู่ร่วมกันมาอย่างสงบสุข และเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความแตกต่างกับพื้นที่อื่น โดยเฉพาะด้านวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่มีมีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นเป็นพิเศษ มีการดำรงชีวิตตามความเชื่อความศรัทธา ประเพณีและวัฒนธรรมตามวิถีมุสลิมและวิถีพุทธ ซึ่งมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับหลักการตามศาสนาจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เช่น หลักการศาสนาได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการดำรงชีวิตไว้ทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นมิติด้านเศรษฐกิจการเมือง สังคมและสุขภาพ เป็นต้น ดังนั้นวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงมีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับหลักการทางศาสนา การนำจุดแข็งที่สำคัญอันนี้สู่การขับเคลื่อนงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นธงนำในการจัดบริการที่ใส่ใจในทุกบริบทของวัฒนธรรมจึงเป็นหลักการสำคัญในการดำเนินงานดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่พหุวัฒนธรรมแห่งนี้ ปัจจุบันสถานบริการสุขภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้บางพื้นที่ได้มีการดำเนินการจัดบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับพื้นที่พหุวัฒนธรรมไปบ้างแล้ว ภายใต้การผลักดันของศูนย์บริการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) เช่น การให้การดูแลหรือตรวจร่างกายผู้ป่วยสตรีชาวมุสลิมที่มีความละเอียดอ่อนต้องมีการปฏิบัติที่จำเพาะเป็นพิเศษ การดูแลอนามัยแม่และเด็ก การดูแลผู้ป่วยขณะรักษาตัวที่โรงพยาบาลในช่วงเดือนรอมฎอน การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย การจัดให้มีนักการศาสนาในโรงพยาบาล การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การเข้าสุนัต การพัฒนาโรงครัวโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย (ฮาลาลและตอยยิบ) การจัดสถานที่สำหรับปฏิบัติศาสนกิจในโรงพยาบาล (ศาลาละหมาดและห้องปฏิบัติธรรม) และยังมีการจัดบริการสุขภาพเชิงรุกในชุมชน เช่น การส่งเสริมการดูแลสุขภาพผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์และอุมเราะห์ การพัฒนาศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพและศูนย์เรียนรู้ระบบสุขภาพตามวิถีชุมชน เป็นต้น ในการนี้ ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) ร่วมกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.) จึงจัดโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจต่อบุคลากรสาธารณสุขในหลักการและวิถีทางศาสนาต่อการให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนที่ถูกต้อง โดยริเริ่มดำเนินการจากโรงพยาบาลนำร่องในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดละ 1 แห่ง ประกอบด้วย 1)โรงพยาบาลเทพา จังหวัดสงขลา 2)โรงพยาบาลสตูล จังหวัดสตูล 3)โรงพยาบาลยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี 4)โรงพยาบาลธารโต จังหวัดยะลา 5)โรงพยาบาลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เพื่อเป็นการพัฒนาและยกระดับการจัดบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับพื้นที่พหุวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งมีการถอดบทเรียนขยายแนวทางการปฏิบัติไปสู่โรงพยาบาลอื่นๆในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป

stars
6. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

การนำจุดแข็งที่สำคัญอันนี้สู่การขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพ ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นธงนำ ในการจัดบริการที่ใส่ใจในทุกบริบทของวัฒนธรรมจึงเป็นหลักการสำคัญในการดำเนินงานดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่พหุวัฒนธรรมแห่งนี้

stars
7. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้

ประชาชนได้รับการบริการทางด้านสุขภาพที่สอดคล้องกับแนวคิดหลักการปฏิบัติและวิถีความเชื่อทางศาสนา สร้างความเข้าใจต่อการบริการด้านสุขภาพและส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนให้ดีขึ้น

2 เพื่อเพิ่มศักยภาพแก่บุคลากรสาธารณสุขในหลักการและวิถีทางศาสนาต่อการให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนที่ถูกต้อง

เพื่อให้บุคคลกรทางสาธารณสุข มีความเข้าใจในการบริการสุขภาพตามวิถีทางศาสนา

3 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับบริการสุขภาพที่ถูกต้องตามหลักการศาสนา

สุขภาพของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามหลักการศาสนา

stars
8. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
9. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
11. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2561 22:31 น.