เพื่อสรุปผลการดำเนินงานเสนอต่อหน่วยงานผู้จัดสรรงบประมาณ
1.จ้างพิมพ์รายงานและออกแบบรายงาน
2)นำเสนอเล่มรายงานเพื่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิให้คำปรึกษาในการจัดทำรายงาน
ได้เล่มรายงานผลการดำเนินงานโครงการฯฉบับสมบูรณ์
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเตรียมการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ประจำปี 2562
1.ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2562 2.ร่วมพิจารณาการเตรียมความพร้อมการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ประจำปี 2562 ประเด็นความมั่นคงทางสุขภาพ : ระบบสุขภาพ - พหุวัฒนธรรม
วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 เวลา 09.30 น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมเฟื่องฟ้า ชั้น 2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) นำโดยนายประเวศ หมีดเส็น ผช.ลธ.ศอ.บต.(สธ.)/ผช.ผตร.12/รอง ผอ.ศบ.สต. จัดประชุมเตรียมความพร้อมการดำเนินโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเตรียมการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ประจำปี 2562 โดยมีนายสุเทพ วัชรปิยานันทน์ อดีตอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นประธานในการประชุมฯ พร้อมด้วยนายวราวุธ สุรพฤกษ์ อดีตนักวิชาการ ร่วมวิพากษ์และให้ข้อเสนอแนะ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบงานศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ สสจ. ผู้รับผิดชอบงานพัมนาระบบบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับพื้นที่พหุวัฒนธรรมโรงพยาบาลในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และผู้แทนจากมูลนิธีสุขภาพภาคใต้ จำนวนร่วม 40 คน เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเตรียมการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ประจำปี 2562 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. การดำเนินโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้
1.1 สถานการณ์ปัญหาของประเด็น
จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย จังหวัดสงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีพื้นที่การปกครอง 56 อำเภอ 411 ตำบล และ 2,816 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้นจำนวน 3,748,287 คน แบ่งเป็นประชากรที่นับถือศาสนาศาสนาอิสลาม จำนวน 2,871,937 คน (ร้อยละ 76.62) และประชากรที่นับถือพุทธ จำนวน 682,564 คน (ร้อยละ 18.21) อยู่อย่างกระจัดกระจายทั้งในเขตเมืองและพื้นที่ชนบท มีศาสนสถานทั้งหมดจำนวน 3,400 แห่ง ประกอบด้วย วัด จำนวน 788 แห่ง มัสยิด จำนวน 2,362 แห่ง และสถาบันการศึกษาปอเนาะ จำนวน 229 แห่ง จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษทางสังคมและวัฒนธรรมแตกต่างจากพื้นที่อื่นของประเทศ เนื่องจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามและนิยมใช้ภาษามาลายูท้องถิ่นในชีวิตประจำวัน จังหวัดชายแดนภาคใต้จึงมีลักษณะที่มีอัตลักษณ์เฉพาะและมีประวัติศาสตร์ของตนเอง
สถานการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.2547 ต่อเนื่องเป็นต้นมา ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่โดยรวม ทั้งในด้านความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้านเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต รวมถึงระบบบริการสุขภาพในพื้นที่ที่ไม่อาจหลีกพ้นจากเหตุการณ์และผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการลอบวางเพลิงสถานีอนามัย การลอบทำร้ายเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งเป็นกำลังที่สำคัญในการนำการพัฒนาสุขภาพไปสู่ชุมชนก็ได้รับบาดเจ็บและสูญเสียเฉกเช่นเดียวกับชะตากรรมของผู้คนในพื้นที่ ส่งผลให้ระบบบริการสุขภาพซึ่งต้องจัดระบบบริการเพื่อรองรับภาวะวิกฤตที่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น และเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความแตกต่างกับพื้นที่อื่น โดยเฉพาะด้านวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่มีมีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นเป็นพิเศษ มีการดำรงชีวิตตามความเชื่อความศรัทธา ประเพณีและวัฒนธรรมตามวิถีมุสลิมและวิถีพุทธ ซึ่งมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับหลักการตามศาสนาจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เช่น หลักการศาสนาได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการดำรงชีวิตไว้ทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นมิติด้านเศรษฐกิจการเมือง สังคมและสุขภาพ เป็นต้น ดังนั้นวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงมีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับหลักการทางศาสนา การนำจุดแข็งที่สำคัญอันนี้สู่การขับเคลื่อนงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นธงนำในการจัดบริการที่ใส่ใจในทุกบริบทของวัฒนธรรมจึงเป็นหลักการสำคัญในการดำเนินงานดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่พหุวัฒนธรรมแห่งนี้
ปัจจุบันสถานบริการสุขภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้บางพื้นที่ได้มีการดำเนินการจัดบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับพื้นที่พหุวัฒนธรรมไปบ้างแล้ว ภายใต้การผลักดันของศูนย์บริการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) เช่น การให้การดูแลหรือตรวจร่างกายผู้ป่วยสตรีชาวมุสลิมที่มีความละเอียดอ่อนต้องมีการปฏิบัติที่จำเพาะเป็นพิเศษ การดูแลอนามัยแม่และเด็ก การดูแลผู้ป่วยขณะรักษาตัวที่โรงพยาบาลในช่วงเดือนรอมฎอน การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย การจัดให้มีนักการศาสนาในโรงพยาบาล การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การเข้าสุนัต การพัฒนาโรงครัวโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย (ฮาลาลและตอยยิบ) การจัดสถานที่สำหรับปฏิบัติศาสนกิจในโรงพยาบาล (ศาลาละหมาดและห้องปฏิบัติธรรม) และยังมีการจัดบริการสุขภาพเชิงรุกในชุมชน เช่น การส่งเสริมการดูแลสุขภาพผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์และอุมเราะห์ การพัฒนาศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพและศูนย์เรียนรู้ระบบสุขภาพตามวิถีชุมชน เป็นต้น
ในการนี้ ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) ร่วมกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.) จึงจัดโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจต่อบุคลากรสาธารณสุขในหลักการและวิถีทางศาสนาต่อการให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนที่ถูกต้อง โดยริเริ่มดำเนินการจากโรงพยาบาลนำร่องในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดละ 1 แห่ง ประกอบด้วย 1)โรงพยาบาลเทพา จังหวัดสงขลา 2)โรงพยาบาลสตูล จังหวัดสตูล 3)โรงพยาบาลยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี 4)โรงพยาบาลธารโต จังหวัดยะลา 5)โรงพยาบาลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เพื่อเป็นการพัฒนาและยกระดับการจัดบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับพื้นที่พหุวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งมีการถอดบทเรียนขยายแนวทางการปฏิบัติไปสู่โรงพยาบาลอื่นๆในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป
1.2 ศักยภาพและการขยายเครือข่าย
ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ดำเนินการจัดโครงการปรับปรุงและพัฒนาสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจตามความเชื่อความศรัทธาของประชาชนใน ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยดำเนินการจัดสถานที่พัฒนาศาลาละหมาดและสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรมให้ผ่านมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นสัดส่วนและถูกสุขลักษณะ เพื่อเป็นต้นแบบให้กับชุมชน รวมทั้งเป็นสถานที่สำหรับการทำกิจกรรมร่วมกันของผู้ให้บริการและผู้มารับบริการ (ศาสนสถาน มีชีวิต)
ผลจากการดำเนินงานที่ผ่านมาเกิดสิ่งดีงามมากมายในพื้นที่ เช่น มีพื้นที่กลางในการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และชุมชน เป็นต้น เป็นแหล่งให้ความรู้ทั้งด้านศาสนาและสุขภาพพัฒนาสู่การสร้างสุขภาวะที่ดี ตลอดจนลดช่องว่างระหว่างผู้ให้บริการและประชาชนโดยเน้นความเป็นพหุวัฒนธรรมเพิ่มศักยภาพแก่บุคลากรสาธารณสุขในหลักการและวิถีทางศาสนาต่อการให้บริการสุขภาพแก่ประชาชน (วิถีพุทธเข้าใจมุสลิม วิถีมุสลิมเข้าใจพุทธ) เกิดกิจกรรมการบิณฑบาตบนหอผู้ป่วยร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้ป่วย มีการเชิญอิหม่าม/ผู้รู้ศาสนามาให้ความรู้และกล่าวดุอาร์บนผู้ป่วย มีกิจกรรมสุนัตหมู่โดยการดำเนินงานร่วมกันของภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและประชาชน เป็นต้น
อีกทั้ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) ร่วมกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.) จัดโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจต่อบุคลากรสาธารณสุขในหลักการและวิถีทางศาสนาต่อการให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนที่ถูกต้อง โดยริเริ่มดำเนินการจากโรงพยาบาลนำร่องในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดละ 1 แห่ง ประกอบด้วย 1)โรงพยาบาลเทพา จังหวัดสงขลา 2)โรงพยาบาลสตูล จังหวัดสตูล 3)โรงพยาบาลยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี 4)โรงพยาบาลธารโต จังหวัดยะลา 5)โรงพยาบาลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เพื่อเป็นการพัฒนาและยกระดับการจัดบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับพื้นที่พหุวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งมีการถอดบทเรียนขยายแนวทางการปฏิบัติไปสู่โรงพยาบาลอื่นๆในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป
ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ได้พัฒนาต่อยอดพื้นที่ต้นแบบเพิ่มขึ้น จังหวัดละ 2 แห่ง โดยให้โรงพยาบาลนำร่อง 5 โรงพยาบาล ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้การสนับสนุนโรงพยาบาลใหม่ที่เข้าร่วมโครงการฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ประกอบด้วย 1)โรงพยาบาลเทพา จังหวัดสงขลา เป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงพยาบาลสะบ้าย้อยและโรงพยาบาลจะนะ 2)โรงพยาบาลสตูล จังหวัดสตูล เป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงพยาบาลทุ่งหว้าและโรงพยาบาลควนกาหลง 3)โรงพยาบาลยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงพยาบาลกะพ้อและโรงพยาบาลมายอ 4)โรงพยาบาลธารโต จังหวัดยะลา เป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงพยาบาลกรงปินังและโรงพยาบาลพระยุพราชยะหา และ 5)โรงพยาบาลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงพยาบาลจะแนะและโรงพยาบาลศรีสาคร
1.3 รูปธรรมพื้นที่ต้นแบบ
รวบรวมและวิเคราะห์แนวปฏิบัติในการจัดระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม จากการศึกษาวิจัยของสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.) ที่ดำเนินการถอดบทเรียนผ่านการปฏิบัติงานโดยโรงพยาบาลนำร่องที่เข้าร่วมโครงการ ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดละ 1 แห่ง ประกอบด้วย 1)โรงพยาบาลเทพา จังหวัดสงขลา 2)โรงพยาบาลสตูล จังหวัดสตูล 3)โรงพยาบาลยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี 4)โรงพยาบาลธารโต จังหวัดยะลา 5)โรงพยาบาลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 – เดือนมีนาคม 2562 ภายใต้การสนับสนุนการดำเนินงานจากศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้ (สวสต.) สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.) ตามข้อตกลงเลขที่ 60-ข-086 บัดนี้การดำเนินงานโครงการการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เสร็จสิ้นแล้ว ภายใต้กระบวนการถอดบทเรียนผ่านการปฏิบัติงานโดยโรงพยาบาลนำร่องที่เข้าร่วมโครงการ
2. เตรียมการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ประจำปี 2562
2.1 รูปแบบงานสร้างสุขภาคใต้ ปี 2562
- ธีมการจัดงาน : “สานพลังก้าวข้ามขีดจำกัดเพื่อภาคใต้แห่งความสุข” มีโจทย์สำคัญ 5 ข้อหลักในการจัดงาน คือ 1) นำเสนอชุดความรู้ – นวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้น 2) การสร้าง – พัฒนาศักยภาพ และการขยายกลุ่มเครือข่าย 3) พื้นที่ต้นแบบและการขยายผล 4) การยกระดับเชิงพื้นที่และเชิงนโยบาย และ 5) ก้าวข้ามขีดจำกัดในประเด็นใด อย่างไร
- รูปแบบการจัดงาน “โชว์ แชร์ เชื่อม” บูรณาการร่วมกันกับการพัฒนาสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสาธารณะ โดยมีกลุ่มเครือข่ายร่วมจัดงาน
- ช่วงเวลาจัดงาน ระหว่างวันที่ 5 – 7 สิงหาคม 2562 ณ โรงแรมนิภาการ์เด้น จังหวัดสุราษฎร์ธานี
2.2 ประเด็นห้องย่อยในงานสร้างสุข
มีทั้งหมด 12 ห้อง (4 ประเด็นหลัก 12 ประเด็นย่อย) ใช้งบประมาณของ สสส. และ สช. ประเด็นละ 70,000 บาท ให้เครือข่ายได้ขับเคลื่อนกระบวนการในพื้นที่ก่อนวันงาน และนำเสนอชุดความรู้ในวันงาน โดยกระทรวงสาธารณสุข นำโดยนายประเวศ หมีดเส็น รับผิดชอบห้องย่อยประเด็นความมั่นคงทางสุขภาพ ทั้งนี้ได้มีการหาร่วมแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน โดยมีมติจาการประชุม ดังนี้
- กลุ่มเป้าหมาย : 100 คน ประกอบด้วย ศูนย์เรียนรู้ระบบสุขภาพตามวิถีชุมชนต้นแบบ จำนวน 7 แห่ง, โรงพยาบาลนำร่องโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับพหุวัฒนธรรม ปีงบประมาณ 2561 และ โรงพยาบาลต่อยอดโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับพหุวัฒนธรรม ปีงบประมาณ 2562
- แนวทางการดำเนินงาน : 1) เอกสารทางวิชาการ (จัดกระบวนการในพื้นที่ เพื่อรวบรวมและสังเคราะห์ให้เป็นเอกสารเชิงวิชาการ) และ 2) จัดนิทรรศการ (นำข้อมูลจากเอกสารเชิงวิชาการมานำเสนอผ่านนิทรรศการ)
- การนำเสนอผลงาน 1) การจัดนิทรรศการ ประกอบด้วย 1.1)มัสยิดบ้านเขานา ต.คลองทราย อ.นาทวี จ.สงขลา 1.2) ปอเนาะอะฮ์มาดียะห์บ่อแพ ต.ท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา และ 1.3) วัดคงคาสวัสดิ์ ต.สะกอม อ.เทพา จ.สงขลา 2) นำเสนอผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วย 2.1) มัสยิดอัลฮีดายะห์(บ้านเลสุ) ต.กาลูปัง อ.รามัน จ.ยะลา 2.2) วัดชนาราม ต.ลาโละ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส 2.3) ปอเนาะวาตอนียะห์ ต.ดุซงญอ อ.จะแนะ จ.นราธิวาส และ 2.4) วัดเกาะสวาด ต.ไพรวัน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส
ทั้งนี้ ภายหลังจากการประชุมเชิงปฏิบัติการการเขียนบทความเชิงวิชาการ และการประชุมภาคีเครือข่ายเพื่อเตรียมจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ประจำปี 2562 ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 2 – 3 พฤษภาคม 2562 ณ ห้องประชุมโรงแรมนิภาการ์เด้น จังหวัดสุราษฎร์ธานี จะนำข้อสรุปจากการประชุมสื่อสารกลับไปยังผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อรายงานความก้าวหน้าและแนวทางในการดำเนินงานต่อไป
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
1.ผู้รับผิดชอบงานศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ สสจ. .ในพื้นที่ จชต. 2.ผู้รับผิดชอบงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีงบประมาณ 2561 และ 2562 3.ผู้แทนจากมูลนิธิสุขภาพภาคใต้ 4.คณะผู้จัดการประชุม
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
เพื่อวางแผนการจัดการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเตรียมการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ประจำปี 2562 ที่มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมเฟื่อง
ร่วมหารือแนวทางการจัดการประชุมการดำเนินโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเตรียมจัดงานสร้างสุข ประจำปี 2562 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 ณ ห้องประชุมเฟื่องฟ้า ชั้น 2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
วันที่ 30 เมษายน 2562 เวลา 09.30 น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) จัดประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมการดำเนินโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเตรียมการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ประจำปี 2562 โดยมีนายประเวศ หมีดเส็น ผช.ลธ.ศอ.บต.(สธ.)/ผช.ผตร.12/รอง ผอ.ศบ.สต. เป็นประธานในการประชุมฯ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) จำนวน 7 คน เพื่อวางแผนการจัดการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเตรียมการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ประจำปี 2562 ที่มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมเฟื่องฟ้า ชั้น 2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ระเบียบวาระการประชุม
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งเพื่อทราบ
1.1 เรื่องจากประธาน
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องเพื่อทราบ
2.1 ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม
จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2561
2.2 แนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม
จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2562
2.3 การดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ ประจำปี 2562 ประเด็นความมั่นคงทางสุขภาพ :
ระบบสุขภาพ - พหุวัฒนธรรม
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา
3.1 เตรียมความพร้อมการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ประจำปี 2562 ประเด็นความมั่นคง
ทางสุขภาพ : ระบบสุขภาพ - พหุวัฒนธรรม
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
2. กลุ่มเป้าหมาย
1. นายประเวศ หมีดเส็น ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 12
2. ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.) และผู้เกี่ยวข้อง
จำนวน 3 คน
3. จังหวัดสงขลา จำนวน 7 คน
3.1 ผู้รับผิดชอบงานศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ สสจ.สงขลา จำนวน 1 คน
3.2 ผู้รับผิดชอบงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้
โรงพยาบาลเทพาและผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 2 คน
3.3 ผู้รับผิดชอบงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้
โรงพยาบาลจะนะและผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 2 คน
3.4 ผู้รับผิดชอบงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้
โรงพยาบาลสะบ้าย้อยและผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 2 คน
4. จังหวัดสตูล จำนวน 6 คน
4.1 ผู้รับผิดชอบงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้
โรงพยาบาลสตูล และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 2 คน
4.2 ผู้รับผิดชอบงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้
โรงพยาบาลทุ่งหว้า และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 2 คน
4.3 ผู้รับผิดชอบงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้
โรงพยาบาลควนกาหลง และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 2 คน
5. จังหวัดปัตตานี จำนวน 6 คน
5.1 ผู้รับผิดชอบงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้
โรงพยาบาลยะหริ่ง และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 2 คน
5.2 ผู้รับผิดชอบงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้
โรงพยาบาลกะพ้อ และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 2 คน
5.3 ผู้รับผิดชอบงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้
โรงพยาบาลมายอ และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 2 คน
6. จังหวัดยะลา จำนวน 7 คน
6.1 ผู้รับผิดชอบงานศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ สสจ.ยะลา จำนวน 1 คน
6.2 ผู้รับผิดชอบงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้
โรงพยาบาลธารโต และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 2 คน
6.3 ผู้รับผิดชอบงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้
โรงพยาบาลกรงปีนัง และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 2 คน
6.4 ผู้รับผิดชอบงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้
โรงพยาบาลพระยุพราชยะหา และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 2 คน
7. จังหวัดนราธิวาส จำนวน 7 คน
7.1 ผู้รับผิดชอบงานศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ สสจ.นราธิวาส จำนวน 1 คน
7.2 ผู้รับผิดชอบงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้
โรงพยาบาลรือเสาะ และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 2 คน
7.3 ผู้รับผิดชอบงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้
โรงพยาบาลศรีสาคร และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 2 คน
7.4 ผู้รับผิดชอบงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้
โรงพยาบาลจะแนะ และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 2 คน
8. เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตสุขภาพที่ 12 จำนวน 1 คน
9. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) จำนวน 5 คน
รวมทั้งสิ้น จำนวน 43 คน
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
1.นายประเวศ หมีดเส็น รอง ผอ.ศบ.สต. ศบ.สต. 2.นายสุทน มานะสุวรรณ วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ ศบ.สต. 3.นายพัสสน หนูบวช นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ศบ.สต. 4.นางสาววราภรณ์ เส็นสมมาตร นักวิชาการสาธารณสุข สนง.เขตสุขภาพที่ 12 5.นางสาวพิชญ์สินี บุญยอด นักวิชาการสาธารณสุข ศบ.สต. 6.มณฑิรา ชูแก้ว เจ้าพนักงานธุรการ ศบ.สต. 7.นายวิโรจน์ ปิยะฤทธิ์ ศบ.สต. 9.นางสาวจุฑาทิพย์ คณะทอง ศบ.สต.
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
เพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 2 และร่วมจัดทำรูปเล่มรายงานสรุปผลการดำเนินงาน
1.นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ (รพ. ละ 15 นาที)
2.ประชุมกลุ่มย่อย แบ่งตามโรงพยาบาลเพื่อร่วมสรุปรูปเล่มผลการดำเนินงานโครงการฯ
3.นำเสนอสรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ (รพ. ละ 20 นาที)
4.ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ
5.สรุปและปิดการประชุม
ประเด็นสำคัญ
การประชุมติดตามผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรค ของโรงพยาบาลภาคีเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ตลอดจนร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์อภิปรายผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ขยายผลสู่ รพ.สต. ชุมชน ตลอดจนวางแผนแนวทางการดำเนินงานในปี 2562 เพื่อพัฒนาระบบการบริการ ระบบสุขภาพ ให้บรรลุเป้าหมายในการสร้างสุขภาวะที่ดีของประชาขน โดยมีประเด็นสำคัญในการประชุมดังนี้
1. นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยโรงพยาบาลภาคีเครือข่าย
1.1 โรงพยาบาลเทพา จังหวัดสงขลา
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา จัดรูปแบบการโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง นำหลักการแนวคิดและหลักการศาสนา วิถีชุมชน เพื่อนำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย อาทิ ใช้หลักการศาสนาบูรณาการร่วมกับกระบวนการรักษาทางการแพทย์ “บูรณาการวิถีพุทธและวิถีมุสลิม รุ่นที่ 1 ถอดบทเรียนผ่านกระบวนการ Care Process ใช้แนวคิดมองสุขภาพให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาวะ ผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะได้รับบริการสุขภาพโดยไม่แบ่งแยกชนชั้น เชื้อชาติ และศาสนา
จากการถอดบทเรียนผ่านกระบวนการ Care Process ได้จัดทำคู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายวิถีพุทธและวิถีมุสลิม ใช้วิธีการสัมภาษณ์เก็บข้อมูลเชิงลึกจากผู้ปฏิบัติงาน ผู้ป่วย และญาติผู้ป่วย รวมทั้งวางแนวทางขยายผลการดำเนินงานลงสู่พื้นที่ชุมชนโดยใช้คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในการดำเนินงาน
1.2 โรงพยาบาลสตูล จังหวัดสตูล
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา โรงพยาบาลได้อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติศาสนกิจและพิธีกรรมทางศาสนาแก่ผู้เข้ารับบริการให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว มีห้องละหมาด มีห้องสำหรับปฏิบัติธรรม ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลในทัศนคติของผู้รับบริการดีขึ้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขลงพื้นที่เยี่ยมผู้ป่วย แจกอาหารเจ (มังสวิรัต) และอาหารฮาลาล และขนมในช่วงเทศกาล วันอีตอิดิ้ลฟิตรี และวันอีตอิดิ้ลอัฎฮา จัดให้มีอาสาสมัครอ่านยาซีนเพื่อสร้างความสงบและสบายใจให้แก่ผู้ป่วยรวมถึงญาติผู้ป่วย ในส่วนการดำเนินงานของศาสนาพุทธ ทางโรงพยาบาลได้ทำการนิมนต์พระภิกษุเพื่ออ่านพระสูติให้ผู้ป่วยฟังสร้างความสงบและสบายใจ การตักบาตรในตึกอาคารผู้ป่วยใน ดำเนินงานที่เน้นรักษาและฟื้นฟูสภาพจิตใจควบคู่กับสภาพร่างกาย
การขยายผลลงสู่ชุมชนพบปัญหาและอุปสรรคในขั้นตอนการพิจารณาโครงการผ่านผู้บริหาร เนื่องจากบุคลากรในระดับผู้บริหารมีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้งและเป็นคนที่มาจากนอกพื้นที่ ทำให้ไม่เข้าใจในบริบทความแตกต่างของวัฒนธรรม หรือการจัดบริการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน ส่งผลให้การดำเนินงานขยายผลสู่ชุมชนเกิดความไม่ต่อเนื่องของกิจกรรม
1.3 โรงพยาบาลยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา จัดระบบการบริการแบบ One Stop Service โดยมีช่องทางพิเศษเพื่อให้บริการแก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และเด็ก เผยแพร่ข้อมูลและองค์ความรู้ให้แก่ผู้เข้ารับการบริการ อาทิ ข้อมูลความรู้เรื่อง NCD อนามัยแม่และเด็ก โรคหัด รวมถึงจัดทำช่องทางการสื่อสารความเสี่ยง ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย จัดทำสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ในประเด็นสถานการณ์ระบบสุขภาพในพื้นที่ การแพร่ระบาดของโรค และประเด็นสิ่งแวดล้อมกับระบบสุขภาวะ อาทิ การคัดแยกขยะอันตรายในชุมชน เป็นต้น
จัดทำคู่มือการดูแลผู้ป่วยตามแนวทางศาสนา คู่มืออาหารฮาลาล คู่มือการดูแลระบบสุขภาพ ขยายผลการดำเนินงานลงสู่ชุมชน ผ่านโครงการ Smart Kids ใช้เครือข่ายโต๊ะบีแดในการดูแลผู้หญิงหลังคลอด จัดอบรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ลงพื้นที่รณรงค์การฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมให้ชุมชนได้มีโอกาสกำหนดทิศทางการดำเนินงาน ผ่านเวทีรับฟังความคิดเห็น ประกอบไปด้วย บุคลากร เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และชาวบ้านในพื้นที่
1.4 โรงพยาบาลธารโต จังหวัดยะลา
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ใช้แนวคิดการจัดระบบบริการให้ผู้รับบริการรู้สึกเหมือนอยู่บ้าน จัดโครงการผ่านแนวคิด Stage of Change โดยการปูพื้นความรู้ด้านสุขภาพสุขภาวะแก่ผู้รับบริการ เลื่อนขั้นสู่การปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้ให้บริการและผู้รับบริการในประเด็นการดูแลระบบสุขภาพ ขยายผลสู่การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อำเภอธารโตเพื่อให้มีบริบทที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เนินการผ่านสภา พหุวัฒนธรรมที่ประกอบไปด้วยผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ตัวแทนภาคประชาสังคม ตัวแทนภาคการศึกษา และชาวบ้านเข้าร่วม พัฒนาประเด็นงานอนามัยแม่และเด็กแก้ไขปัญหาพัฒนาการไม่สมวัยซึ่งเป็นปัญหาที่โรงพยาบาลต้องเร่งแก้ไข อบรมและถอดบทเรียนการดูแลสุขภาพเด็กตาดีกา พัฒนาระบบสุขภาวะและพัฒนาการสมวัยตามแนวทางศาสนา “กิน เล่น สอน กวดขัน และปฏิบัติ” ดำเนินการผ่านภาคีเครือข่ายผู้นำศาสนา รวมถึงอบรมผู้ปกครองให้มีความรู้ มีทักษะการดูแลสุขภาพควบคู่กับการนำแนวทางศาสนาเข้ามาปรับใช้ รวมถึงสนับสนุนระบบการศึกษาให้เด็กในพื้นที่มีความรู้ มีการศึกษาที่ดี เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาศักยภาพทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพพัฒนาพื้นที่อำเภอธารโต (ฟัรดู กิฟายะฮ.) เตรียมพร้อมรองรับความเจริญ ทั้งด้านการจัดระบบ สุขภาวะ การจัดระบบการศึกษา
ในปี 2562 ขยายผลการดำเนินงานลงสู่ รพ.สต. เร่งสร้างความต่อเนื่องในการดำเนินงานพัฒนาการจัดกิจกรรมการจัดระบบบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับหลักการและแนวทางศาสนาให้กลายเป็นงานกิจวัตรประจำวัน จัดระบบการติดตามและประเมินผลเชิงลึกในพื้นที่ โดยเน้นความครอบคลุมและทั่วถึงเป็นสำคัญ
1.5 โรงพยาบาลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา จัดโครงการอบรมแกนนำบุคลากรสาธารณสุข เพื่ออบรมสุขภาวะตามแนวทางวิถีมุสลิม และวิถีพุทธ เชิญผู้นำศานาเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการดำเนินงาน ขับเคลื่อนประเด็นอนามัยแม่และเด็ก ANC คุณภาพ โครงการอบรมโรงเรียนพ่อแม่เพื่อการดูลูกหลังคลอดโดยการนำวิถีชุมชนแนวทางความเชื่อมาประยุกต์ใช้ อาทิ การดูแลเด็กหลังคลอดของโต๊ะบีแดประยุกต์กับวิธีการทางการแพทย์สมัยใหม่
อาคารพักผู้ป่วยมีการแยกระหว่างผู้ป่วยหญิงและผู้ป่วยชาย จัดทำเสื้อพิทักษ์สิทธิ ซึ่งเป็นเสื้อสำหรับผู้ป่วยหรือแม่ที่ต้องการให้นมลูกได้สวมใส่ให้นมแก่ลูกตามแนวทางศาสนา การเข้าถึงบริการดำเนินการจัดทำฉลากยาเฉพาะเดือนรอมฎอน และทำคู่มือการดูแลผู้ป่วยสูติกรรม จัดระบมาตรฐานอาหารฮาลาลเพื่อผู้ป่วยนับถือศาสนาอิสลาม และการจัดกิจกรรมอาสาเพื่อชุมชน การดูแลศพไร้ญาติส่งต่อเพื่อประกอบพิธีศพตามแนวทางพุทธและอิสลาม ขยายผลการดำเนินงานสู่ชุมชนผ่านการจัดทำธรรมนูญวัดและมัสยิดเพื่อเชื่อมโยงเข้ากับโครงการศูนย์เรียนรู้ระบบสุขภาพตามวิถีชุมชน
2. ข้อเสอแนะ
2.1 กิจกรรมที่ดำเนินงานของแต่บางโรงพยาบาลมีเป้าหมายและขอบเขตของการดำเนินงานที่ยังไม่ตรงตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่งมีการจัดกิจกรรมส่วนใหญ่แบบการจัดระบบการบริการเป็นกิจวัตร (Activate) อาทิ โรงพยาบาลสตูล โรงพยาบาลยะหริ่ง ซึ่งต้องปรับมุมมองแนวคิดให้กิจกรรมเกิดการสร้างสายใยชุมชนและโรงพยาบาล ให้มองในบริบทของประชาชนไม่ใช่มองแค่บริบทการจัดระบบบริการที่เป็นกิจวัตรประจำวันในพื้นที่ ประเมินสุขภาวะโดยวัดจาก การประเมินสุขภาพกาย สุขภาพจิต (จิตวิญญาณ) และสุขภาพทางปัญญา
2.2 กำหนดเป้าหมายร่วมคือ ปรับระบบกระบวนการดำเนินงาน ปรับเป้าหมายโดยมุ่งเน้นการสร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายชุมชนและโรงพยาบาล ยิ่งจัดกิจกรรมคนยิ่งเก่งขึ้น ประชาชนเข้าใจระบบสุขภาวะมากขึ้น สร้างช่องทางนโยบายการขับเคลื่อนงานด้วยความรู้ ผ่านตัวชี้วัดระบบเครือข่าย (Partnership) ที่เกิดขึ้นในพื้นที่
2.3 การปรับกลไกการดำเนินงานโดยมีพื้นฐานจากคู่มือการจัดการระบบสุขภาวะ สจรส.ม.อ. บางประเด็นอาจจะไม่สามารถนำไปปรับให้เข้ากับบริบทของพื้นที่ได้ จำเป็นต้องหาวิธีการสื่อสารและสร้างช่องทางนำองค์ความรู้และแนวทางจากคู่มือไปปรับใช้ให้เข้ากับบริบทและสภาพแวดล้อมของพื้นที่
2.4 กรอบการดำเนินงานในปี 2562 ให้โรงพยาบาลเครือข่ายตีกรอบแนวทางการดำเนินงานโครงการให้มีเป้าหมายการจัดระบบบริการสุขภาวะให้ชัดเจนตามเป้าหมายหลักของโครงการ ขยายผลไปสู่โรงพยาบาลอื่นๆ ตลอดจนเป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินงาน เชื่อมโครงการการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมเข้ากับโครงการศูนย์เรียนรู้ระบบสุขภาพตามวิถีชุมชน ให้สามารถดำเนินงานร่วมกันได้ (Goal Set) จัดระบบบริการ พัฒนาต่อยอดสู่ระบบสุขภาพ มุ่งสู่การจัดการระบบสุขภาวะอย่างสมบูรณ์
มติที่ประชุมรับทราบ
()
ประกอบด้วย
- นายประเวศ หมีดเส็น ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 12
- ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.) และผู้เกี่ยวข้อง
3.ผู้รับผิดชอบงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ โรงพยาบาลเทพาและผู้เกี่ยวข้อง
4.ผู้รับผิดชอบงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ โรงพยาบาลสตูล และผู้เกี่ยวข้อง
5.ผู้รับผิดชอบงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ โรงพยาบาลยะหริ่ง และผู้เกี่ยวข้อง
6.ผู้รับผิดชอบงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ โรงพยาบาลธารโต และผู้เกี่ยวข้อง
7.ผู้รับผิดชอบงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ โรงพยาบาลรือเสาะ และผู้เกี่ยวข้อง - เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตสุขภาพที่ 12
- เจ้าหน้าที่ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.)
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
เพื่อให้ข้อเสนอแนะและวิพากษ์แนวทางการจัดประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 2
1.นำเสนอผลการประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 1 2.แนวทางการจัดประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 2 3.ร่วมให้ข้อเสนอแนะและวิพากษ์แนวทางการจัดประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 2
ด้วยศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) กำหนดจัดประชุมเพื่อให้ข้อเสนอแนะและวิพากษ์แนวทางการจัดประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 2 ในวันที่ 11 มกราคม 2562 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา โดยมีนายสุเทพ วัชรปิยานันทน์ อดีตอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วยนายประเวศ หมีดเส็น ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 12/ผู้ช่วยเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้/รองผู้อำนวยการศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในการจัดการประชุมฯ โดยมีการหารือและร่วมให้ข้อเสนอแนะและวิพากษ์แนวทางการจัดประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 2 ที่มีกำหนดการจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 14 – 15 มกราคม 2562 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมล่องแก่ง ชมดาว รีสอร์ท ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง มีรายละเอียดประเด็นที่สำคัญดังต่อไปนี้
1.เพิ่มกิจกรรมประชุมกลุ่ม (แบ่งตามจังหวัด) ในการจัดทำแผนการดำเนินงานโครงการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โดยมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
1.1ขยายการพัฒนาจากโรงพยาบาลนำร่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 สู่โรงพยาบาลในแต่ละจังหวัด 1 – 2 แห่ง โดยให้โรงพยาบาลที่ดำเนินการในปี พ.ศ. 2561 เป็นพี่เลี้ยงคอยแนะนำและเป็นปรึกษาในการดำเนินงานแก่โรงพยาบาลเครือข่าย
1.2ให้นำคู่มือฉบับของ สจรส.ม.อ. มาปรับปรุงและพัฒนาร่วมกับแนวทางการดำเนินตามวิถีพหุวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะเกิดเป็นคู่มือฉบับใหม่ที่เหมาะสมและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในพื้นที่ และสามารถเผยแพร่ขยายสู่โรงพยาบาลเครือข่าย
2.รายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ ควรสอดคล้องและตอบวัตถุประสงค์ของโครงการ
3.ในการประชุมข้างต้น ควรเสริมแทรกกิจกรรมสันทนาการให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อให้เกิดการละลายพฤติกรรมและลดช่องว่างในการดำเนินงานร่วมกันของแต่ละโรงพยาบาล
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
1.นายสุเทพ วัชรปิยานันทน์ อดีตอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
2.นายประเวศ หมีดเส็น ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 12
3.นายพัสสน หนูบวช นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ศบ.สต.
4.นางสาววราภรณ์ เส็นสมมาตร นักวิชาการสาธารณสุข สนง.เขตสุขภาพที่ 12
5.นางสาวพิชญ์สินี บุญยอด นักวิชาการสาธารณสุข ศบ.สต.
6.นายชาคริต หมีดเส็น นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ศบ.สต.
7.นางมณฑิรา ชูแก้ว เจ้าพนักงานธุรการ ศบ.สต.
8.นายธีรพงศ์ งามพร้อมวงษ์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ศบ.สต.
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
เพื่อเป็นการเยี่ยมเสริมพลัง สร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน
ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการ ของโรงพยาบาลรือเสาะ เพื่อเป็นการเยี่ยมเสริมพลัง สร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน
ภายหลังจากการลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการ ของโรงพยาบาลรือเสาะ เพื่อเป็นการเยี่ยมเสริมพลัง สร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานแล้วนั้น
พบว่า การดำเนินงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมของโรงพยาบาลรือเสาะ มีการนำคู่มือแนวทางการดำเนินงานของ สจรส.ม.อ. มาใช้จริงทั้งหมด
แต่มีการปรับเปลี่ยนและเพิ่มเติมในส่วนของวิธีการจัดการเท่านั้น และโรงพยาบาลรือเสาะมีจุดเด่นในการดำเนินงานเชิงวิถีธรรมระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการและประชาชนผู้รับบริการ
ข้อเสนอแนะจากการลงพื้นที่
1)ปรับวิธีการจัดการให้เหมาะสมกับคู่มือ
2)ประชาสัมพันธ์แนวทางและวิธีการจัดการโครงการฯให้เป็นที่รับรู้แก่ประชาชน
3)ดำเนินงานการให้บริการให้เห็นเชิงประจักษ์ เช่น พฤติกรรมการให้บริการ ป้ายประชาสัมพันธ์ ฯลฯ
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
1.นายประเวศ หมีดเส็น ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 12
2.นายพัสสน หนูบวช นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ศบ.สต.
3.นางสาววราภรณ์ เส็นสมมาตร นักวิชาการสาธารณสุข สนง.เขตสุขภาพที่ 12
4.นางสาวพิชญ์สินี บุญยอด นักวิชาการสาธารณสุข ศบ.สต.
5.นายชาคริต หมีดเส็น นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ศบ.สต.
6.นายธีรพงศ์ งามพร้อมวงษ์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ศบ.สต.
7.นายวิโรจน์ ปิยะฤทธิ์ ผู้ช่วยประสานงานฯ ศบ.สต.
8.นายชานน กาญจนโรจน์ นักวิชาการสาธารณสุข สสจ.นราธิวาส
9.นายมะหามะ เมาะมูลา ผู้อำนวยการ รพ.รือเสาะ นราธิวาส
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
วิพากษ์สรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 1
ประชุมวิพากษ์สรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 1 เพื่อเป็นการหารือแนวทางการดำเนินงาน ร่วมระดมความรู้ และข้อเสนอแนะในการพัฒนางานในระยะต่อไป
ประชุมวิพากษ์สรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
ในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 1
ในระหว่างวันที่ 22 - 23 พฤศจิกายน 2561 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป
ณ ห้องประชุมโรงแรมวัฒนาวิลเลจ รีสอร์ท อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
ตามที่ได้มีการประชุมติดตามผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 1 เพื่อติดตามผลการดำเนินงานปัญหาและอุปสรรคของโรงพยาบาลภาคีเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) และร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์อภิปรายผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ขยายผลสู่ชุมชน ตลอดจนวางแผนแนวทางการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2562 เมื่อระหว่างวันที่ 12 – 13 พฤศจิกายน 2561 ณ ณ ห้องประชุม ดีบูดี รีสอร์ท และห้องประชุมโรงพยาบาลยะหริ่ง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ผลจากการประชุมฯข้างต้นจึงเป็นที่มาของการประชุมวิพากษ์สรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 1 เพื่อเป็นการหารือแนวทางการดำเนินงาน ร่วมระดมความรู้ และข้อเสนอแนะในการพัฒนางานในระยะต่อไป โดยมีข้อสรุปที่สำคัญในการประชุมดังต่อไปนี้
1.ผลการประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 1
1.1โรงพยาบาลเทพา จังหวดสงขลา
โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาโรงพยาบาลได้เก็บข้อมูลสถานะสุขภาพของประชากรในพื้นที่อำเภอเทพา พบว่าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประชากรผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว โรงพยาบาลได้พัฒนาระบบบริการสุขภาพของผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผ่านการจัดอบรมบุคลากร เจ้าหน้าที่ ใช้หลักการศาสนาบูรณาการร่วมกับกระบวนการรักษาทางการแพทย์ “บูรณาการวิถีพุทธและวิถีมุสลิม รุ่นที่ 1” จากผลการดำเนินงาน มีบุคลากรและเจ้าหน้าที่เข้าร่วมการอบรมคิดเป็นร้อยละ 83.5 ผู้เข้าอบรมเข้าใจในหลักการแนวคิดและหลักการศาสนาเพื่อนำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย รวมทั้งมีความตื่นตัวในการทำงานเชิงรุก นำเอาวิถีชุมชนมาปรับใช้ในการดูแลผู้ป่วย ทั้งนี้การประเมินผลและติดตามใช้วิธีการถอดบทเรียนผ่านกระบวนการ Care Process ซึ่งระบบการประเมินผลและติดตามแต่เดิมนั้นเน้นการประเมินทางด้านร่างกายซึ่งแตกต่างจากระบวนการ Care Process
ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน พบว่าบุคลากรยังขาดองค์ความรู้ ขาดประสบการณ์ วิสัยทัศน์ในการมองประเด็นปัญหาที่ไม่ครอบคลุมต้องอาศัยการจัดอบรมให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง
แนวทางการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2562 ดำเนินการรวบรวมข้อมูลปัญหาและอุปสรรคในปีที่ผ่านมาทำเป็นคู่มือการพัฒนาระบบการบริการผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เก็บข้อมูล เชิงลึกจากผู้ปฏิบัติงาน ผู้ป่วย และญาติผู้ป่วย รวมทั้งวางแนวทางขยายผลการดำเนินงานลงสู่พื้นที่ชุมชน
1.2โรงพยาบาลสตูล จังหวัดสตูล
โรงพยาบาลสตูลเป็นโรงพยาบาลนำร่องภายใต้โครงการของสถาบันวิจัยระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจ.รส.มอ.) มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นำผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีบทบาทและส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา มีกิจกรรมภายใต้โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม รวมทั้งสิ้น 11 โครงการ
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา นำแนวคิดและหลักการศาสนามาปรับใช้กับระบบการบริการสุขภาพ อำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย บุคลากรและเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล อาทิ ศาสนาอิสลาม มีการเปิดเสียงอาซานให้ผู้ป่วยสามารถได้ยินชัดเจนเมื่อถึงเวลาปฏิบัติศาสนกิจ มีห้องละหมาด ในช่วงเดือนรอมฎอนจะมีการบอกเวลาละหมาด/ละศีลอด ขายอาหารซะโฮร์ จัดให้มีอาสาสมัครอ่านยาซีนเพื่อสร้างความสงบและสบายใจให้แก่ผู้ป่วยรวมถึงญาติผู้ป่วย ฯลฯ ในส่วนการดำเนินงานของศาสนาพุทธ ทางโรงพยาบาลได้ทำการนิมนต์พระภิกษุเพื่ออ่านพระสูติให้ผู้ป่วยฟังสร้างความสงบและสบายใจ การตักบาตรในตึกอาคารผู้ป่วยใน เป็นต้น เป็นแนวทางการดำเนินงานที่เน้นรักษาและฟื้นฟูสภาพจิตใจควบคู่กับสภาพร่างกาย ในกรณีที่ผู้ป่วยเสียชีวิตทางโรงพยาบาลมีการแจกผ้าขาวห่อศพ ผ้าแพรคลุมศพ ตลอดจนส่งตัวแทนเจ้าหน้าที่เข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนา มีชมรมศาสนาพุทธและชมรมศาสนาอิสลามของโรงพยาบาล อำนวยความสะดวกในการประสานงาน
แนวทางการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2562 ขยายผลการดำเนินงานสู่ชุมชน ดำเนินโครงการอบรมเจ้าหน้าที่และบุคลากรของโรงพยาบาลให้มีองค์ความรู้ในการดำเนินงานบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับพื้นที่พหุวัฒนธรรมรุ่นที่ 2 จัดระบบการประเมินผลและตัวชี้วัดของโครงการให้มีรูปแบบที่ชัดเจน จัดทำสื่อสาธารณะประชาสัมพันธ์กิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเข้ามาพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
1.3 โรงพยาบาลยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ดำเนินกิจกรรม 1.จัดเวทีชุมชน 2.อบรมหลักธรรม และ 3.Smart Kids ผลการดำเนินงาน ที่ผ่านมา ลงพื้นที่จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ได้ผลสรุป คือ ประชาชนต้องการบริการที่เน้นการดูแลที่เข้าถึงชาวบ้าน เป็นกันเอง ให้เกียรติและมีทัศนคติ การบริการเชิงบวก จัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ระหว่างผู้รับบริการ บุคลากร และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาทิ กิจกรรมการกวนอาซูรอ ซึ่งจัดให้มีการทำร่วมกันทุกปี ในปีนี้จะมีนักศึกษาจากอินโดนีเซียเข้าร่วมการกวนอาซูรอด้วย ด้านการเข้าถึงการบริการ โรงพยาบาลจัดระบบการบริการแบบ One Stop Service โดยมีช่องทางพิเศษเพื่อให้บริการแก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และเด็ก ปรับเปลี่ยนช่วงเวลาการเข้ารับบัตรคิวให้มีช่วงระยะเวลาเพิ่มขึ้น การให้บริการผู้ป่วยดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพของเจ้าหน้าที่ “แนวคิดนางฟ้าพยาบาล” บริการด้วยรอยยิ้ม สวัสดีทักทายให้สลาม บริการดี มีความสุข มีจิตอาสาในการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน พร้อมทั้งเผยแพร่ข้อมูลและองค์ความรู้ให้แก่ผู้เข้ารับการบริการ รวมถึงจัดทำช่องทางการสื่อสารความเสี่ยง ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย จัดทำสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ในประเด็นสถานการณ์ระบบสุขภาพในพื้นที่ การแพร่ระบาดของโรค และประเด็นสิ่งแวดล้อมกับระบบสุขภาวะ
แนวทางการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2562 อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติศาสนกิจ จัดเวทีสำรวจความคิดเห็นเพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงาน รับฟังเสียงสะท้อนจากชาวบ้าน ผู้รับบริการ และนำมาปรับปรุงต่อยอดการพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่พหุวัฒนธรรมอำเภอยะหริ่ง
1.4 โรงพยาบาลธารโต จังหวัดยะลา
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เน้นจัดระบบบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับสังคมพหุวัฒนธรรม เชื่อมโยงให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทในการนำเสนอและกำหนดนโยบายการดำเนินงาน โดยจัดกิจกรรมประชุมคณะกรรมการสภาพหุวัฒนธรรมที่ประกอบไปด้วย ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ตัวแทนภาคประชาสังคม ตัวแทนภาคการศึกษา และชาวบ้านเข้าร่วม จัดกิจกรรมอำเภอยิ้ม จัดกิจกรรมอบรมและพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็กแก้ไขปัญหาพัฒนาการไม่สมวัยซึ่งเป็นปัญหาที่โรงพยาบาลต้องเร่งแก้ไข อบรมและถอดบทเรียนการดูแลสุขภาพเด็กตาดีกา พัฒนาระบบสุขภาวะและพัฒนาการสมวัยตามแนวทางศาสนา “กิน เล่น สอน กวดขัน และปฏิบัติ” ดำเนินการผ่านภาคีเครือข่ายผู้นำศาสนา รวมถึงอบรมผู้ปกครองให้มีความรู้ มีทักษะการดูแลสุขภาพควบคู่กับการนำแนวทางศาสนาเข้ามาปรับใช้ ด้านการเข้าถึงการบริการ พัฒนาระบบทันตสุขภาพ โภชนการ และเสริมความรู้ผู้ปกครอง โดยมีตัวชี้วัดเด็กผ่านเกณฑ์ การพัฒนาสุขภาพร้อยละ 80 ผู้ปกครองมีทัศนคติการดูแลสุขภาพในการดูแลบุตรหลาน มุมมองต่อการดูแลสุขภาพตามหลักการศาสนาเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น มีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาวะภายใต้บริบทของสังคมพหุวัฒนธรรม ในกลุ่มประชากรที่เป็นเยาวชนวัยเรียน ดำเนินงานผ่านคณะกรรมการสภาพหุวัฒนธรรมจัดอบรมความรู้การดูแลสุขภาพ รวมถึงหลักการสร้างครอบครัว สำหรับนักเรียนมัธยมปลายในสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนา และสถานบันการศึกษาปอเนาะ
ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพบปัญหาการเชื่อมโยงการทำงานกับพื้นที่ยังขาดความ ทำให้ผลลัพธ์ยังไม่เกิดเป็นรูปธรรมชัดเจน การติดตามและประเมินผลยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน จำเป็นต้องมีระบบการติดตามและประเมินผลเชิงลึกที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
การดำเนินงานในปีงบประมาณ 2562 เติมเต็มการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก จัดระบบการติดตามและประเมินผลเชิงลึกในพื้นที่ โดยเน้นความครอบคลุมและทั่วถึงเป็นสำคัญ จัดระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาลตามแผนกต่างๆให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่พหุวัฒนธรรม เพื่ออำนวยความสะดวก และจัดบริการที่สอดคล้องกับหลักการศาสนา
1.5 โรงพยาบาลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา จัดโครงการอบรมแกนนำบุคลากรสาธารณสุข เพื่ออบรม สุขภาวะตามแนวทางวิถีมุสลิมและวิถีพุทธ เชิญผู้นำศาสนาเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการดำเนินงาน การขับเคลื่อนประเด็นอนามัยแม่และเด็ก ANC โครงการอบรมโรงเรียนพ่อแม่เพื่อการดูลูกหลังคลอด โดยการนำวิถีชุมชนแนวทางความเชื่อมาประยุกต์การวิถีทางการแพทย์ อาทิ การดูแลเด็กหลังคลอดของโต๊ะบีแดประยุกต์กับวิธีการทางการแพทย์สมัยใหม่ ประเมินผลด้วยตัวชี้วัดแบบสอบถามสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม ด้านการเข้าถึงบริการ จัดกิจกรรม 3อ2ส เน้นการบริการที่คำนึงถึงความสะอาดและสิ่งแวดล้อมที่ดีเอื้อต่อการให้บริการ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขลงพื้นที่ชุมชนเพื่อสร้างต้นแบบสุขภาวะวิถีชุมชน ตลอดจนมีการประเมินภาวะอารมณ์ของเจ้าหน้าที่ผู้ใช้บริการตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงานจนถึงสิ้นสุดการดำเนินงานในแต่ละวัน เพื่อเป็นการนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงแก้ไขกระบวนการให้บริการแก่ประชาชนต่อไป
2.ผลการวิพากษ์
2.1 ควรมีการพัฒนาระบบการให้บริการเพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว โดยการลดขั้นตอนการให้บริการ เช่น การจัดให้มีบริการแบบ one stop service โดยการอาศัยการช่องทางแงความเป็นพหุวัฒนธรรมเป็นตัวเชื่อมการให้บริการทั้งเชิงรูปธรรมและนามธรรมเชิงประจักษ์
2.2 ควรพัฒนารูปแบบหรือจัดทำแนวทาง เพื่อให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการ รวมทั้งจัดหาสื่อที่จำเป็น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เช่น ความรู้เรื่องไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ฯลฯ ให้เป็นสื่อที่เข้าใจจ่ายและเหมาะสมทุกช่วงวัย
2.3 ปรับปรุงการชี้แจงขั้นตอนการให้บริการในโรงพยาบาล โดยจัดทำขั้นตอนการให้บริการ ที่ชัดเจน จัดทำป้ายบ่งชี้ห้องต่างๆ ในการให้บริการและมีประชาสัมพันธ์ในโรงพยาบาลในการให้คำแนะนำต่างๆ แก่ผู้รับบริการ (ภาษามาลายูท้องถิ่น)
2.4 พัฒนารูปแบบการประเมินความพึงพอใจ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนและรวดเร็ว โดยจัดสถานที่ในการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ เพื่อให้ผู้รับบริการตอบหลังจากเสร็จสิ้นการรับบริการตรวจสุขภาพ
2.5 มีข้อเสนอแนะให้โรงพยาบาลเครือข่ายจัดกิจกรรมโดยให้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของโครงการฯ
2.6 ควรดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในชุมชน เช่น ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน ภาคประชาสังคม ฯลฯ เพื่อให้เกิดการบริการแก่กลุ่มเป้าหมายได้ตรงความต้องการของบริบทในแต่ละพื้นที่
2.7 ควรมีรูปแบบการประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานโครงการฯที่เป็นมาตรฐาน และเป็นลายลักษณ์อักษรเชิงวิชาการ
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
- นายสุเทพ วัชรปิยานันทน์ อดีตอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
- นายประเวศ หมีดเส็น ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 12
- นางสาววราภรณ์ เส็นสมมาตร นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานเขตสุขภาพที่ 12 สงขลา
- นายพัสสน หนูบวช นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ สงขลา
- นายธีรพงศ์ งามพร้อมวงษ์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ สงขลา
- นางสาวพิชญ์สินี บุญยอด นักวิชาการสาธารณสุข ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ สงขลา
- นายประเวศ หมีดเส็น ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 12
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานพัฒนาระบบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับพื้นที่พหุวัฒนธรรม รพ.
1.ชี้แจงแนวทางการประชุม
2.นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ (รพ. ละ 20 นาที)
3.ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้
ประเด็นสำคัญ
การประชุมติดตามผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลการดำเนินงานปัญหาและอุปสรรคของโรงพยาบาลภาคีเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) และร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์อภิปรายผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ขยายผลสู่ชุมชน ตลอดจนวางแผนแนวทางการดำเนินงานในปี 2562 โดยมีประเด็นสำคัญในการประชุมดังนี้
1. นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยโรงพยาบาลภาคีเครือข่าย
1.1 โรงพยาบาลเทพา จังหวัดสงขลา
โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาโรงพยาบาลได้เก็บข้อมูลสถานะสุขภาพของประชากรในพื้นที่อำเภอเทพา พบว่าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประชากรผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว อาทิ โรคสมองฝ่อ โรคความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็งที่มีแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้าย ได้แก่ โรคมะเร็ง หลอดเลือดสมอง และโรคไตวาย โรงพยาบาลได้พัฒนาระบบบริการสุขภาพของผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผ่านการจัดอบรมบุคลากร เจ้าหน้าที่ ใช้หลักการศาสนาบูรณาการร่วมกับกระบวนการรักษาทางการแพทย์ “บูรณาการวิถีพุทธและวิถีมุสลิม รุ่นที่ 1”
จากผลการดำเนินงาน มีบุคลากรและเจ้าหน้าที่เข้าร่วมการอบรมคิดเป็นร้อยละ 83.5 ผู้เข้าอบรมเข้าใจในหลักการแนวคิดและหลักการศาสนาเพื่อนำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย รวมทั้งมีความตื่นตัวในการทำงานเชิงรุก นำเอาวิถีชุมชนมาปรับใช้ในการดูแลผู้ป่วย ทั้งนี้การประเมินผลและติดตามใช้วิธีการถอดบทเรียนผ่านกระบวนการ Care Process ซึ่งระบบการประเมินผลและติดตามแต่เดิมนั้นเน้นการประเมินทางด้านร่างกายซึ่งแตกต่างจากระบวนการ Care Process
กระบวนการ Care Process เน้นการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่สอดรับกับความคิด ความเชื่อ หลักการศาสนา และวิถีชุมชน มองสุขภาพให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาวะ ผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะได้รับบริการสุขภาพโดยไม่แบ่งแยกชนชั้น เชื้อชาติ และศาสนา พร้อมทั้งปลูกฝังทัศนคติ ผู้ให้บริการในแง่บวก ปรับบุคลิกภาพ ท่าทาง และภาพลักษณ์ในการให้บริการ เปรียบผู้ป่วยเสมือนญาติมิตร
ด้านการเข้าถึงการบริการ โรงพยาบาลให้ความสำคัญในประเด็นการใช้ยาที่ปลอดภัยของผู้ป่วยโดยจ่ายยาสมุนไพรร่วมกับยาแผนปัจจุบัน สร้างช่องทางการเข้ารับการบริการสุขภาพที่ทั่วถึงโดย ทีมสหวิชาชีพลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ป่วยระยะสุดท้ายบูรณาการตามหลักการพหุวัฒนธรรม ส่วนผู้ป่วยที่นอนพักฟื้นในโรงพยาบาล ได้อำนวยความสะดวกให้มีการจัดกิจกรรมสำคัญทางศาสนา อาทิ ศาสนาพุทธ จัดให้มีกิจกรรมการทำบุญถวายสังฆทาน นิมนต์พระมาจำเริญอายุ การจัดกระบวนการเจริญสติของผู้ป่วย ศาสนาอิสลาม จัดให้มีกิจกรรมการอ่านบทสวดดุอาห์เพื่อขอพรต่อพระเจ้าสร้างความรู้สึกที่ดีและที่พึ่งทางใจแก่ผู้ป่วย การปฏิบัติศาสนกิจขณะรักษาตัว นอกจากการจัดบริการตามแนวทางทางศาสนาแล้ว โรงพยาบาลได้จัดให้มีบริการทางเลือกอื่นในการบำบัดรักษา อาทิ การบำบัดรักษาตามความเชื่อของวิถีชุมชน การดูหมอมโนราห์ เป็นต้น เป็นการปรับแนวความคิดในการรักษาเชิงจิตวิทยา ทั้งนี้กิจกรรมการดำเนินงานพัฒนาเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของทีมสหวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบปัญหาบุคลากรยังขาดองค์ความรู้ ขาดประสบการณ์ วิสัยทัศน์ในการมองประเด็นปัญหาที่ไม่ครอบคลุมต้องอาศัยการจัดอบรมให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง
แนวทางการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2562 ดำเนินการรวบรวมข้อมูลปัญหาและอุปสรรคในปีที่ผ่านมาทำเป็นคู่มือการพัฒนาระบบการบริการผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เก็บข้อมูล เชิงลึกจากผู้ปฏิบัติงาน ผู้ป่วย และญาติผู้ป่วย รวมทั้งวางแนวทางขยายผลการดำเนินงานลงสู่พื้นที่ชุมชนขณะนี้กำลังดำเนินงานในขั้นตอนประชุมหารือกับผู้บริหารถึงแนวทางการนำผลลัพธ์ที่ได้ขยายผลต่อยอดสู่ชุมชน เชิญผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา เข้าร่วมหารือ คาดการณ์ว่าจะสามารถดำเนินการตามแผนดำเนินงานในเดือนธันวาคม 2561
1.2 โรงพยาบาลยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ดำเนินกิจกรรม 1.จัดเวทีชุมชน 2.อบรมหลักธรรม 3.Smart Kids
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ลงพื้นที่จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ประกอบไปด้วย บุคลากรและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อรับฟังความต้องการของประชาชน ได้ผลสรุป คือ ประชาชนต้องการบริการที่เน้นการดูแลที่เข้าถึงชาวบ้าน เป็นกันเอง ให้เกียรติและมีทัศนคติ การบริการเชิงบวก จัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ระหว่างผู้รับบริการ บุคลากร และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาทิ กิจกรรมการกวนอาซูรอ ซึ่งจัดให้มีการทำร่วมกันทุกปี ในปีนี้จะมีนักศึกษาจากอินโดนีเซียเข้าร่วมการกวน อาซูรอด้วย
ด้านการเข้าถึงการบริการ โรงพยาบาลจัดระบบการบริการแบบ One Stop Service โดยมีช่องทางพิเศษเพื่อให้บริการแก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และเด็ก ปรับเปลี่ยนช่วงเวลาการเข้ารับบัตรคิวให้มีช่วงระยะเวลาเพิ่มขึ้น การให้บริการผู้ป่วยดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพของเจ้าหน้าที่ “แนวคิดนางฟ้าพยาบาล” บริการด้วยรอยยิ้ม สวัสดีทักทายให้สลาม บริการดี มีความสุข มีจิตอาสาในการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน พร้อมทั้งเผยแพร่ข้อมูลและองค์ความรู้ให้แก่ผู้เข้ารับการบริการ อาทิ ข้อมูลความรู้เรื่อง NCD อนามัยแม่และเด็ก โรคหัด รวมถึงจัดทำช่องทางการสื่อสารความเสี่ยง ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย จัดทำสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ในประเด็นสถานการณ์ระบบสุขภาพในพื้นที่ การแพร่ระบาดของโรค และประเด็นสิ่งแวดล้อมกับระบบสุขภาวะ อาทิ การคัดแยกขยะอันตรายในชุมชน เป็นต้น
แนวทางการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2562 อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติศาสนกิจ อาทิ ศาสนาอิสลาม จัดให้มีการจัดกิจกรรมละหมาดตอรอเวี๊ยะ ในเดือนรอมฏอน จัดเวทีสำรวจความคิดเห็นเพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงาน รับฟังเสียงสะท้อนจากชาวบ้าน ผู้รับบริการ และนำมาปรับปรุงต่อยอดการพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่พหุวัฒนธรรมอำเภอยะหริ่ง
1.3 โรงพยาบาลสตูล จังหวัดสตูล
โรงพยาบาลสตูลเป็นโรงพยาบาลนำร่องภายใต้โครงการของสถาบันวิจัยระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจ.รส.มอ.) มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นำผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีบทบาทและส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา มีกิจกรรมภายใต้โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม รวมทั้งสิ้น 11 โครงการ
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา นำแนวคิดและหลักการศาสนามาปรับใช้กับระบบการบริการสุขภาพ อำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย บุคลากรและเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล อาทิ ศาสนาอิสลาม มีการเปิดเสียงอาซานให้ผู้ป่วยสามารถได้ยินชัดเจนเมื่อถึงเวลาปฏิบัติศาสนกิจ มีห้องละหมาดของโรงพยาบาล ในช่วงเดือนรอมฎอนจะมีการบอกเวลาละหมาด/ละศีลอด ขายอาหารซะโฮร์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขลงพื้นที่เยี่ยมผู้ป่วย แจกอาหารและขนมในช่วงเทศกาลวันอีตอิดิ้ลฟิตรี และวันอีตอิดิ้ลอัฎฮา จัดให้มีอาสาสมัครอ่านยาซีนเพื่อสร้างความสงบและสบายใจให้แก่ผู้ป่วยรวมถึงญาติผู้ป่วย ในส่วนการดำเนินงานของศาสนาพุทธ ทางโรงพยาบาลได้ทำการนิมนต์พระภิกษุเพื่ออ่านพระสูติให้ผู้ป่วยฟังสร้างความสงบและสบายใจ การตักบาตรในตึกอาคารผู้ป่วยใน เป็นต้น เป็นแนวทางการดำเนินงานที่เน้นรักษาและฟื้นฟูสภาพจิตใจควบคู่กับสภาพร่างกาย ในกรณีที่ผู้ป่วยเสียชีวิตทางโรงพยาบาลมีการแจกผ้าขาวห่อศพ ผ้าแพรคลุมศพ ตลอดจนส่งตัวแทนเจ้าหน้าที่เข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนา มีชมรมศาสนาพุทธและชมรมศาสนาอิสลามของโรงพยาบาล อำนวยความสะดวกในการประสานงาน
ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน โรงพยาบาลสตูลไม่พบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม การดำเนินงานที่ผ่านมาทำให้ข้อร้องเรียนจากผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยในประเด็นความไม่สะดวกในการปฏิบัติศาสนากิจลดลง โรงพยาบาลได้อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติศาสนกิจและพิธีกรรมทางศาสนาแก่ผู้เข้ารับบริการให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว มีห้องละหมาด มีห้องสำหรับปฏิบัติธรรม ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลในทัศนคติของผู้รับบริการดีขึ้น ทั้งนี้โรงพยาบาลสตูลต้องการให้ ศบ.สต. สนับสนุนและผลักดันโครงการอย่างต่อเนื่อง
แนวทางการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2562 ขยายผลการดำเนินงานสู่ชุมชน ดำเนินโครงการอบรมเจ้าหน้าที่และบุคลากรของโรงพยาบาลให้มีองค์ความรู้ในการดำเนินงานบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับพื้นที่พหุวัฒนธรรมรุ่นที่ 2 จัดระบบการประเมินผลและตัวชี้วัดของโครงการให้มีรูปแบบที่ชัดเจน จัดทำสื่อสาธารณะประชาสัมพันธ์กิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเข้ามาพัฒนาระบบบริการสุขภาพ อาทิ การจัดกิจกรรมในเทศกาลหรือวันสำคัญทางศาสนา ตลอดจนอำนวยความสะดวกและปรับแนวทางการให้บริการเข้าสุนัตฟรีแก่เด็กมุสลิม เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางและหลักการของศาสนาอิสลาม
1.4 โรงพยาบาลธารโต จังหวัดยะลา
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เน้นจัดระบบบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับสังคมพหุวัฒนธรรม เชื่อมโยงให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทในการนำเสนอและกำหนดนโยบายการดำเนินงาน โดยจัดกิจกรรมประชุมคณะกรรมการสภาพหุวัฒนธรรมที่ประกอบไปด้วย ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ตัวแทนภาคประชาสังคม ตัวแทนภาคการศึกษา และชาวบ้านเข้าร่วม จัดกิจกรรมอำเภอยิ้ม จัดกิจกรรมอบรมและพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็กแก้ไขปัญหาพัฒนาการไม่สมวัยซึ่งเป็นปัญหาที่โรงพยาบาลต้องเร่งแก้ไข อบรมและถอดบทเรียนการดูแลสุขภาพเด็กตาดีกา พัฒนาระบบสุขภาวะและพัฒนาการสมวัยตามแนวทางศาสนา “กิน เล่น สอน กวดขัน และปฏิบัติ” ดำเนินการผ่านภาคีเครือข่ายผู้นำศาสนา รวมถึงอบรมผู้ปกครองให้มีความรู้ มีทักษะการดูแลสุขภาพควบคู่กับการนำแนวทางศาสนาเข้ามาปรับใช้
ด้านการเข้าถึงการบริการ พัฒนาระบบทันตสุขภาพ โภชนการ และเสริมความรู้ผู้ปกครอง โดยมีตัวชี้วัดเด็กผ่านเกณฑ์การพัฒนาสุขภาพร้อยละ 80 ผู้ปกครองมีทัศนคติการดูแลสุขภาพในการดูแลบุตรหลาน มุมมองต่อการดูแลสุขภาพตามหลักการศาสนาเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น มีทัศนคติที่ดีต่อการดูแล สุขภาวะภายใต้บริบทของสังคมพหุวัฒนธรรม ในกลุ่มประชากรที่เป็นเยาวชนวัยเรียน ดำเนินงานผ่านคณะกรรมการสภาพหุวัฒนธรรมจัดอบรมความรู้การดูแลสุขภาพ การกล่าวซิเกร รวมถึงหลักการสร้างครอบครัว สำหรับนักเรียนมัธยมปลายในสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนา และสถานบันการศึกษาปอเนาะ
ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพบปัญหาการเชื่อมโยงการทำงานกับพื้นที่ยังขาดความต่อเนื่อง เนื่องจากการดำเนินงานส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่จัดเป็นบางวาระ บางครั้งคราว จำเป็นต้องบูรณาการให้กลายเป็นกิจกรรมที่ทำเป็นประจำ ประกอบกับความสอดคล้องของแผนปฏิบัติการและระยะเวลาการดำเนินงานไม่เอื้อต่อกัน ทำให้ผลลัพธ์ยังไม่เกิดเป็นรูปธรรมชัดเจน การติดตามและประเมินผลยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน จำเป็นต้องมีระบบการติดตามและประเมินผลเชิงลึก ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
การดำเนินงานในปีงบประมาณ 2562 เติมเต็มการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก จัดระบบการติดตามและประเมินผลเชิงลึกในพื้นที่ โดยเน้นความครอบคลุมและทั่วถึงเป็นสำคัญ จัดระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาลตามแผนกต่างๆให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่พหุวัฒนธรรม เพื่ออำนวยความสะดวก และจัดบริการที่สอดคล้องกับหลักการศาสนา
1.5 โรงพยาบาลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา จัดโครงการอบรมแกนนำบุคลากรสาธารณสุข เพื่ออบรมสุขภาวะตามแนวทางวิถีมุสลิม และวิถีพุทธ เชิญผู้นำศาสนาเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการดำเนินงาน การขับเคลื่อนประเด็นอนามัยแม่และเด็ก ANC โครงการอบรมโรงเรียนพ่อแม่เพื่อการดูลูกหลังคลอด โดยการนำวิถีชุมชนแนวทางความเชื่อมาประยุกต์การวิถีทางการแพทย์ อาทิ การดูแลเด็กหลังคลอดของโต๊ะบีแดประยุกต์กับวิธีการทางการแพทย์สมัยใหม่ ประเมินผลด้วยตัวชี้วัดแบบสอบถามสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม
ด้านการเข้าถึงการบริการ จัดกิจกรรม 3อ2ส เน้นการบริการที่คำนึงถึงความสะอาดและสิ่งแวดล้อมที่ดีเอื้อต่อการให้บริการ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขลงพื้นที่ชุมชนเพื่อสร้างต้นแบบสุขภาวะวิถีชุมชน ตลอดจนมีการประเมินภาวะอารมณ์ของเจ้าหน้าที่ผู้ใช้บริการตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงานจนถึงสิ้นสุดการดำเนินงานในแต่ละวัน เพื่อเป็นการนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงแก้ไขกระบวนการให้บริการแก่ประชาชนต่อไป
ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน มุมมองความสุขของผู้ให้ ความแตกต่าง คือ โอกาส ความขาดแคลนไม่ใช่อุปสรรค การเรียนรู้จากสิ่งที่มีอยู่ และแลกเปลี่ยนจากมุมมองอื่นๆวิธีการบริหารจัดการภายในชุมชน ในการนำชุมชน
2. ข้อเสนอแนะ
2.1 จากผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลภาคีเครือข่ายพบว่าเกิดปัญหาความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน มีข้อเสนอแนะให้โรงพยาบาลเครือข่ายจัดกิจกรรมโดยให้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของโครงการ ซึ่งมีความแตกต่างกับโครงการศานสถานส่งเสริมสุขภาพ
2.2 ให้ผู้รับผิดชอบงานโครงการฯ ส่งเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายงบประมาณ ประจำงวดที่ 2 มายังผู้รับผิดชอบงานของศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) ภายในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2561 และทาง ศบ.สต. จะดำเนินการโอนงบประมาณ ประจำงวดที่ 3 ลงพื้นที่ต่อไป
2.3 วันที่ 15 ธันวาคม 2561 ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) มีกำหนดจัดการประชุมเพื่อให้โรงพยาบาลภาคีเครือข่ายนำเสนอสรุปผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2561
มติที่ประชุมรับทราบ
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 37 คน
ประกอบด้วย
1.ผู้รับผิดชอบงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ของโรงพยาบาล
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับพื้นที่พหุวัฒนธรรม รพ.เทพา จ.สงขลา
ลงพื้นที่ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโรงพยาบาลเทพา โดยเป็นการหารือและพูดคุยซักถามความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน รอบไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา โดยประธานในที่ประชุมได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ในการลงเยี่ยมพื้นที่ในครั้งนี้ รวมไปจนถึงการซักถามปัญหาและอุปสรรค จนกระทั่งการเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานข้างต้นแก่ผู้รับผิดชอบงาน
1)มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น จำนวน 30 คน ซึ่งประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับพื้นที่พหุวัฒนธรรมและผู้เกี่ยวฯ
2)ผู้เข้าร่วมโครงการได้นำเสนอความคืบหน้าในการดำเนินงานตามแผนโครงการฯ
3)เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานร่วมกัน
4)เกิดสิ่งดีงามและนรวัตกรรมใหม่ๆภายหลังจากการหารือ
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
ผู้รับผิดชอบงานพัฒนาระบบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับพื้นที่พหุวัฒนธรรมและผู้เกี่ยวข้อง รพ.เทพา จำนวน 30 คน
ไม่มี
ไม่มี
1)พยายามสร้างการรับรู้เกี่ยวกับโครงการฯให้เป็นที่รับรู้แก่ประชาชนและชุมชน 2)ให้ดำเนินการกิจกรรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของโครงการฯ
เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานพัฒนาระบบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับพื้นที่พหุวัฒนธรรม รพ.สตูล
ประธานในการประชุมได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ในการลงพื้นที่เพื่อติดตามการดำเนินงานในครั้งนี้ รวมถึงซักถามผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค ที่ผ่านมา รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานแก่ผู้เข้าร่วมการประชุม
1)มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น จำนวน 13 คน ซึ่งประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบงานพัฒนาระบบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับพื้นที่พหุวัฒนธรรม รพ.สตูล 2)ผู้เข้าร่วมประชุมทราบแนวทางในการดำเนินงานพัฒนาระบบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับพื้นที่พหุวัฒนธรรมเพื่อต่อยอดสู่ชุมชน 3)เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปัญหา อุปสรรค และความสำเร็จในการดำเนินงานร่วมกัน
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
ผู้รับผิดชอบงานพัฒนาระบบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับพื้นที่พหุวัฒนธรรม รพ.สตูล จำนวน 13 คน
ไม่มี
ไม่มี
1)ทำอย่างไรที่จะทำให้เจ้าหน้าในโรงพยาบาลทั้งพุทธ มุสลิม เกิดความเข้าใจกัน 2)ให้เชิญบาบอ และพระภิกษุสงฆ์ มารับประทานอาหารร่วมกันในช่วงเดือนรอมฎอน เพราะจะทำให้เห็นภาพความงดงามมากยิ่งข้ึน 3)ให้มีเสียงตามสายในโรงพยาบาลเกี่ยวกับบทความศาสนา พร้อมคำแปลในช่วงเช้าของการเริ่มต้นให้บริการ 4)เสนอแนะให้มีการเชิญผู้บริหารของโรงพยาบาลไปร่วมกิจกรรมในชุมชน เพื่อให้เห็นวิถีชีวิตของคนในชุมชน
เพื่อจัดทำเอกสารการเงินประกอบการเบิกจ่ายงบประมาณ
ส่งเอกสารการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งหมดให้กับนักบัญชีดำเนินการตรวจสอบ จำนวน 2 ครั้ง 1)ครั้งที่ 1 มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ จำนวน 8,000 บาท 2)ครั้งที่ 2 มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ จำนวน 9,500 บาท รวมเป็นเงิน 17,500 บาท
ได้เอกสารตรวจสอบบัญชี/การเบิกจ่ายงบประมาณที่สมบูรณ์
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินงานบริหารจัดการอื่นๆ
ดำเนินการโอนเงินให้กับโรงพยาบาล ผ่านธนาคารต้นสังกัดแต่ละโรงพยาบาล และค่าบริหารจัดการอื่นๆ
1.ได้ดำเนินการโอนเงินในแต่ละงวดให้แก่ รพ. นำร่องโรงพยาบาล ประกอบด้วย 1.1)งวดที่ 1 จำนวน 320,000 บาท มีค่าทำเนียบโอนเงินต่างสาขา จำนวน 340 บาท 1.2)งวดที่ 2 จำนวน 320,000 บาท มีค่าทำเนียบโอนเงินต่างสาขา จำนวน 340 บาท 1.3)งวดที่ 3.1 จำนวน 180,000 บาท มีค่าทำเนียมโอนเงินต่างสาขา จำนวน 160 บาท 1.4)งวดที่ 3.2 จำนวน 100,000 บาท มีค่าทำเนียมโอนเงินต่างสาขา จำนวน 140 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 980 บาท 2.ค่าจ้างทำตราปั๊ม 1 ดวง 220 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2 รายการ 1,200 บาท
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
บรรลุตามเป้าหมาย
นายประเวศ หมีดเส็น รองผู้อำนวยการศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนใต้ ได้ดำเนินการประชุมตามวาระการประชุมดังนี้
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งเพื่อทราบ
1.1 โครงการพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นถือเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะเฉพาะทางสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างจากพื้นที่ส่วนอื่นของประเทศ เนื่องจากประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม นิยมใช้ภาษามลายูท้องถิ่นในการสื่อสาร มีประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิต และความเชื่อที่แตกต่างจากประชากรที่นับถือศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นประชากรส่วนน้อยในพื้นที่แต่ก็ไม่เคยทอดทิ้งความห่วงใยและความใส่ใจในทั้งสองศาสนาเพราะประชากรทั้งสองศาสนามีการดำเนินชีวิตที่เชื่อมโยงและสอดคล้องกับหลักการทางศาสนาอย่างเคร่งครัด ซึ่งถือเป็นจุดแข็งหลักของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือเรียกว่าพื้นที่พหุวัฒนธรรมดังนั้น การนำเอาจุดแข็งที่สำคัญของพื้นที่พหุวัฒนธรรมมาบูรณาการเข้าสู่การขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพของประชาชนถือเป็นเป้าหมายในการดำเนินงานการจัดบริการที่ใส่ใจในทุกบริบทของวัฒนธรรมเป็นหลักการสำคัญในการดำเนินงานดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่
วัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อต้องการพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับพื้นที่พหุวัฒนธรรม ตลอดจนเพิ่มศักยภาพแก่บุคลากรสาธารณสุขในหลักการและวิถีทางศาสนาต่อการให้บริการสุขภาพกับประชาชนในพื้นที่ และให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับบริการสุขภาพที่ถูกต้องตามหลักการทางศาสนา
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องเพื่อทราบ
2.1 ชี้แจงแนวทางการบริหารจัดการงบประมาณโครงการพัฒนาระบบบริหารสุขภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในส่วนของการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการนั้นในบางโรงพยาบาลนำร่องยังคงดำเนินการ ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์และยังคงมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกับวัตถุประสงค์หลักของโครงการ จึงจำเป็นต้องมีการชี้แจงรายละเอียดในส่วนของการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการให้ชัดเจนและเข้าใจตรงกันอีกครั้ง เพื่อให้ การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ได้ชี้แจงเรื่องงบประมาณที่จะเบิกจ่ายและโอนให้กับโรงพยาบาล ซึ่งโรงพยาบาลไม่สามารถนำงบประมาณส่วนนี้ไปใช้กับโครงการศาสนธรรมได้ เพราะโครงการศาสนธรรมเป็นเพียงต้นทางในการดำเนินงานซึ่งจะต้องดำเนินงานผ่านมาแล้วจึงจะเริ่มดำเนินงานในโครงการพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้
ในการวางแผนดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้แต่ละโรงพยาบาลนำเอาคู่มือการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ของ สจรส. มาประยุกต์และปรับใช้ให้เข้ากับบริบทในพื้นที่ของโรงพยาบาลนั้นๆซึ่งในส่วนนี้ถือเป็นกลางทางของกระบวนการดำเนินงาน โดยแต่ละโรงพยาบาลจะต้องจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีแนวทางที่เป็นรูปธรรม โดยโรงพยาบาลต้องคัดเลือกปัญหาที่จะต้องดำเนินการแก้ไขให้เกิดเป็นรูปธรรมอาทิ ประเด็นปัญหาแม่และเด็ก ประเด็นอาหารและโภชนาการ ระบบการบริการทันตสุขภาพเป็นต้นโดยเป้าหมายในการดำเนินงานเพื่อต้องการเชื่อมโยงการแก้ปัญหาสุขภาพ ในด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูให้เกิดประสิทธิภาพ
ซึ่งในการประชุมครั้งนี้แต่ละโรงพยาบาลได้นำส่งแผนปฏิบัติการดำเนินงานมาแล้ว พบว่า ยังมีบางส่วนที่ต้องปรับปรุงแก้ไข ดังนั้น ผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งเป็นตัวแทนจาก 5 โรงพยาบาลนำร่อง จึงเสนอประเด็นปัญหาที่จะดำเนินการแก้ไข ดังนี้
โรงพยาบาลสตูล จะดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาแม่และเด็ก ซึ่งในแผนปฏิบัติการยังมีแผนการดำเนินงานที่ไม่ครบประเด็นตามวัตถุประสงค์ของโครงการหลัก
โรงพยาบาลธารโต จะดำเนินการเกี่ยวกับปัญหามะเร็งปากมดลูก หากแต่ว่าเป็นประเด็นปัญหาที่มีขอบเขตไม่กว้างพอ ทำให้ไม่สามารถสรุปผลการดำเนินงานให้เชื่อมโยงไปสู่ปัญหาอื่นได้ อีกทั้งในแผนปฏิบัติการของโรงพยาบาลยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในส่วนของเป้าหมายระหว่างโครงการศาสนธรรมกับโครงการพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงต้องหาประเด็นหลักว่าจะดำเนินการแก้ไขประเด็นปัญหาใดแล้วจึงเชื่อมโยงไปสู่ประเด็นปัญหาอื่นๆ
โรงพยาบาลรือเสาะ จะดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ซึ่งทางโรงพยาบาลได้วางแผนการดำเนินงาน โดยจัดอบรมแกนนำเจ้าหน้าที่บุคลากรเพื่อที่จะให้ความรู้กับชุมชนต่อไป ตลอดจนสร้างนวัตกรรมในการดูแลป้องกันปัญหาร่วมกันกับชุมชน ทั้งไทยพุทธและมุสลิม
โรงพยาบาลเทพา จะดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาโรคติดต่อและเรื่องความเชื่อในการเข้ารับบริการทางการแพทย์ตามหลักการทางศาสนาโดยโรงพยาบาลจะต้องหาวิธีในการแก้ไขปัญหาด้วยการหาวิธีกลางเพื่อที่จะปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตและการดูแลสุขภาพให้ประชากรทั้งสองศาสนาเกิดความเข้าใจตรงกัน
โรงพยาบาลยะหริ่ง จัดทำแผนปฏิบัติการได้ดีแต่ยังบางส่วนที่ต้องปรับเปลี่ยน ซึ่งโรงพยาบาลยะหริ่งจะดำเนินการในประเด็นการบูรณาการเพื่อสร้างเกราะกำบังด้านสุขภาพของประชาชนและสร้างฐานเรื่องการบริการสุขภาพเพื่อขยายเครือข่ายลงไปสู่ครัวเรือนและชุมชนเป็นการสร้างมาตรฐานด้านการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม
ทั้งนี้โรงพยาบาลส่วนใหญ่ยังคงดำเนินแผนปฏิบัติการได้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของงบประมาณและโครงการหลัก จึงให้ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ของโรงพยาบาลทั้ง 5 แห่ง นำแผนปฏิบัติการไปแก้ใหม่และส่งกลับมายังผู้รับผิดชอบงานฯ ของ ศบ.สต. ภายในวันที่ 31 มกราคม 2561
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา
3.1 แนวทางการบริหารจัดการงบประมาณโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่ พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) จะดำเนินการโอนงบประมาณไปยังบัญชีธนาคาร ซึ่งเป็นชื่อบัญชี "โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้" โดยผู้รับผิดชอบโครงการฯ แต่ละโรงพยาบาลจะต้องส่งหลักฐานการจ่ายเงินมายัง ศบ.สต. ทุกครั้ง โดยใช้หลักฐานแนบ ประกอบด้วย บิลเงินสด หรือ ใบเสร็จรับเงิน หรือใบสำคัญรับเงินพร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนโดยทาง ศบ.สต. จะทำการโอนงบประมาณไปยังแต่ละโรงพยาบาลโดยแบ่งเป็น 3 งวด หลังจากที่ได้รับโอนมาจาก สจรส.ม.อ. ดังนี้
งวดที่ 1 สจรส.ม.อ. จะโอนเงินให้กับโครงการย่อยเมื่อลงนามในข้อตกลงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สจรส.ม.อ. จะโอนเงินให้กับโครงการย่อยเมื่อโครงการย่อยนำส่งผลงานงวดที่ 1 ที่ประกอบด้วยรายงานความก้าวหน้ากิจกรรมงวดที่ 1 และรายงานการเงินงวดที่ 1
งวดที่ 3 สจรส.ม.อ. จะโอนเงินให้กับโครงการย่อยเมื่อโครงการย่อยนำส่งผลงานงวดที่ 2 และประกอบด้วยรายงานการดำเนินกิจกรรมฉบับสมบูรณ์ และรายงานการเงินงวดที่ 2 และ 3 (รายงานปิดโครงการ)
3.2 ประเภทหมวดรายจ่ายและกรอบอัตราค่าใช้จ่าย มีดังนี้
3.2.1 ค่าตอบแทนวิทยากร กำหนดอัตราการเบิกจ่ายไม่เกิน 1,000 - 1,500 บาทต่อวัน พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรที่ราชการออกให้
3.2.2 ค่าตอบแทนการช่วยงาน (ชั่วคราว) อัตราเบิกจ่ายได้ไม่เกิน 500 บาทต่อวัน พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรที่ราชการออกให้ ในส่วนของค่าที่พักเบิกจ่ายค่าที่พักตามจริง ไม่เกิน 1,500 ต่อห้อง โดยพักรวมกัน 2 คน หลักฐานประกอบการเบิกจ่าย ได้แก่ ใบเสร็จรับเงินและ ใบแสดงรายละเอียดการเข้าพัก (Folio)
3.3.3 ค่าพาหนะเดินทางรถสาธารณะรับจ้าง (รถแท็กซี่ รถจักรยานยนต์ รถสองแถว รถตู้โดยสาร) เบิกจ่ายตามจริง แต่ไม่เกิน 600 บาทต่อเที่ยว ใช้ใบสำคัญรับเงินพร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน ในกรณีที่เป็นพาหนะส่วนตัว (รถยนต์) เหมาจ่ายกิโลเมตรละ 4 บาท ใช้ใบสำคัญรับเงินพร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน
3.2.4 กรณีค่าเช่ารถ (รถตู้) ไม่เกินวันละ 1,800 – 2,000 บาท ใช้ใบสำคัญรับเงิน พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ค่าน้ำมัน เบิกจ่ายตามจริง โดยใช้ใบเสร็จรับเงิน
3.2.5 ค่าอาหารมื้อหลัก 80 – 100 บาท/คน/มื้อ ค่าอาหารว่าง 30 – 50 บาท/คน/มื้อ
3.2.6 ค่าวัสดุและค่าถ่ายเอกสารเบิกจ่ายตามจริง พร้อมแนบบิลเงินสด หรือใบสำคัญรับเงินสำหรับกรณีการยืมเงินทดรองจ่ายกำหนดการเบิกเงินล่วงหน้าก่อนทำกิจกรรมจริงไม่เกิน 5–10 วัน
เมื่อจัดกิจกรรมแล้วเสร็จให้หักล้างเงินยืมทดรองจ่าย และนำเงินคงเหลือจากการจัดกิจกรรมโอนกลับเข้าบัญชีโครงการ ลักษณะการยืมเงินทดรองจ่ายโครงการย่อยควรยืมเงินแต่ละกิจกรรม ไม่ควรเบิกจ่ายงบประมาณทั้งหมดในครั้งเดียว ควรเบิกจ่ายตามกิจกรรมที่ดำเนินการจริง และไม่ควรเบิกจ่ายผ่านบัตรเอทีเอ็ม เมื่อมีการเบิกจ่าย ทุกครั้ง ควรมีการบันทึกการเบิกจ่ายงบประมาณ ผ่านเว็บไซต์ ศวสต. http://hsmi2.psu.ac.th/scac (แผนงานศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้) โดยการบันทึกการเบิกจ่ายงบประมาณจะแบ่งเป็นรายกิจกรรมตามที่โครงการย่อยได้ดำเนินกิจกรรมนั้น หมวดการเงินแบ่งออกเป็น 6 หมวด ได้แก่ ค่าตอบแทน เช่น ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าตอบแทนการประสานงานค่าจ้าง เช่น ค่าจ้างทำผลิตสื่อ ค่าใช้สอย เช่น ค่าเดินทาง ค่าน้ำมันรถยนต์ ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าถ่ายเอกสาร ค่าเช่าห้องประชุม ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าสาธารณูปโภค ได้แก่ ค่าไปรษณีย์ อื่น ๆ
ทั้งนี้ ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ในโรงพยาบาลจะต้องดำเนินการเปิดบัญชี ในชื่อ "โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้" พร้อมทั้งส่งสำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคารมายังผู้รับผิดชอบงานโครงการฯ ของ ศบ.สต. ภายในวันที่ 31 มกราคม 2561 และมีการนัดหมายประชุมเพื่อชี้แจงแนวทางการบันทึกข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์งานสร้างสุขอีกครั้ง ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 ณ อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ (LRC) ชั้น 14 สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์ (สจรส. ม.อ.)
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
- นายประเวศ หมีดเส็น ผู้ช่วยเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
- นางนอซีด๊ะ เจะสอเหาะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ รพ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี
- นายอาหมัด จาลงค์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ รพ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี
- นายธีรพจน์ บัวสุวรรณ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รพ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี
- นายอับโดเล๊าะ มะดงแซ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ รพ.ธารโต จ.ยะลา
- นายมะยือรี หะแว นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รพ.ธารโต จ.ยะลา
- นางสาวโรสมีนี ยูนุห์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสจ.นราธิวาส
- นางสาวนูรฮายาตี นิมะชา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.รือเสาะ จ.นราธิวาส
- นางสาวหทัยรัตน์ ชัยดวง หัวหน้าพยาบาล รพ.เทพา จ.สงขลา
- นางคงขวัญ วิทยาศิริกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สตูล
- นางณัฏฐิกา ตันติวิวัฒน์กุล นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ รพ.สตูล
- นางสาวซูรีนา สาและ นักวิชาการสาธารณสุข สสจ.ยะลา
- นางสาวนาวีราห์ ลาเต๊ะ เจ้าพนักงานสาธารณสุข สสจ.ยะลา
- นางสาวซูรีดา ดือราแม เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี รพ.รือเสาะ จ.นราธิวาส
- นายอดินันท์ บากอสิดิ นักวิชาการสาธารณสุข รพ.เทพา จ.สงขลา
- นายนิมิต แสงเกตุ นักวิชาการสาธารณสุข สสจ.สงขลา
- นางสาวซูอารี มอซู เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ.
- นายสุทธิพงศ์ อุสาหะพงษ์สิน เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ.
- นายพัสสน หนูบวช นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ศบ.สต
- นางสาววราภรณ์เส็นสมมาตร นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานเขตสุขภาพที่ 12
- นายธีรพงศ์ งามพร้อมวงษ์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ศบ.สต
- นางสาวกรกช ศรีผ่อง นักวิชาการสาธารณสุข ศบ.สต.
- นายชาคริต หมีดเส็น นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ศบ.สต.
- นางมณฑิรา ชูแก้ว เจ้าพนักงานธุรการ ศบ.สต.
-
-
-
เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรของ รพ นำร่อง.
นายประเวศ หมีดเส็น รองผู้อำนวยการศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) เป็นประธานในการประชุมฯ ได้ดำเนินการตามระเบียบวาระ ดังนี้
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งเพื่อทราบ
1.1 นโยบายการดำเนินงานในพื้นที่พหุวัฒนธรรม
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องเพื่อทราบ
2.1 แนวปฏิบัติในการจัดระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ (วิถีอิสลาม/วิถีพุทธ)
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา
3.1 แนวทางการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งเพื่อทราบ
1.1 นโยบายการดำเนินงานในพื้นที่พหุวัฒนธรรม
ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) ร่วมกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.) ได้จัดทำคู่มือ แนวปฏิบัติในการจัดระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้าใจต่อบุคลากรทางด้านสาธารณสุขทั้งไทยพุทธและมุสลิมในหลักการและวิถีทางของศาสนาในการให้บริการด้านระบบสุขภาวะนั้น จึงได้จัดประชุมการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้น เพื่อหารือแนวทางปฏิบัติ ตลอดจนวางแผนและทำความเข้าใจนโยบายเบื้องต้นว่าสามารถนำไปปรับใช้ในพื้นที่จริงได้หรือไม่ โดยเริ่มดำเนินการจากโรงพยาบาลนำร่องในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดละ 1 แห่ง ประกอบด้วย 1) โรงพยาบาลเทพา จังหวัดสงขลา 2)โรงพยาบาลสตูล จังหวัดสตูล 3) โรงพยาบาลยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี 4) โรงพยาบาลธารโต จังหวัดยะลา 5) โรงพยาบาลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เพื่อยกระดับงานวิชาการที่ได้ศึกษาวิจัยมาสู่การปฏิบัติในพื้นที่จริง เป็นระยะเวลา 1 ปี และให้แต่ละโรงพยาบาลสรุปถอดบทเรียนขยายแนวทางการปฏิบัติไปสู่โรงพยาบาลอื่นต่อไป
มติ ที่ประชุมรับทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องเพื่อทราบ
2.1 แนวปฏิบัติในการจัดระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ (วิถีอิสลาม/วิถีพุทธ)
- แนวปฏิบัติในการจัดระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม ประกอบด้วยประเด็นหลัก ดังต่อไปนี้
1) การตรวจ/การปฏิบัติพยาบาลที่ต้องสัมผัสร่างกายหรือถูกเนื้อต้องตัวจากเพศตรงข้าม 2) การจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการปฏิบัติศาสนกิจทางศาสนา 3) การจัดการด้านอาหาร 4) การช่วยเหลือ/ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 5) การบริการสุขภาพในเทศกาลหรือวาระพิเศษทางศาสนา และ 6) กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนท้องถิ่น
มติที่ประชุมรับทราบ
- หลักการระบบสุขภาพโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เสนอ ปัจจัยกำหนดระบบสุขภาพมี 3 ปัจจัย คือ คน สภาพแวดล้อม และระบบกลไก ซึ่งทั้งสามปัจจัยนี้จะเป็นตัวควบคุม สภาวะทางกาย สภาวะทางจิต สภาวะทางสังคม สภาวะทางปัญญาและจิตวิญญาณ ทำให้เกิดเป็นระบบสุขภาวะที่ดี ระบบบริการสุขภาพจึงต้องมีการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู ทั้งนี้ สจรส. ได้เลือกพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้นแบบของโครงการ การแพทย์สาธารณสุขในพื้นที่พหุวัฒนธรรม โดยมีงบประมาณ เป็นเงินทั้งสิ้น 1,200,000 บาท จัดสรรให้แก่โรงพยาบาลนำร่องในเครือข่ายจังหวัดละ 180,000 บาท ยกเว้นโรงพยาบาลสตูล ซึ่งเป็นโรงพยาบาลทั่วไป จำนวนเงิน 200,000 บาท เพื่อพัฒนาและสร้างบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในประเด็นเรื่องการแพทย์พหุวัฒนธรรม พัฒนาโรงพยาบาลนำร่องในเครือข่ายให้เป็นพื้นที่ต้นแบบในการประเมินการสร้างระบบสุขภาพ โดยการขับเคลื่อนกลไกการทำงานในเชิงรุก วางนโยบายด้วยนวัตกรรมและพัฒนาศักยภาพของคน และสนับสนุนให้กับศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) ในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการฯ เป็นเงิน280,000 บาท
มติที่ประชุมรับทราบ
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา
3.1 แนวทางการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้
ประธานในที่ประชุม ได้เสนอแนะแนวทางการจัดบริการสุขภาพ ในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ แก่ประชาชนที่มารับบริการสุขภาพกับหน่วยรับบริการในพื้นที่ โดยมีรายละเอียดตามเอกสารแนบ 1
รวมถึงแนวทางในการใช้งบประมาณ โดยนำงบประมาณที่ได้รับจากการจัดสรร เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมหลักๆ ดังต่อไปนี้ 1) การจัดอบรมแก่บุคลากรสาธารณสุขเพื่อให้เกิดความเข้าใจในหลักการและวิถีทางศาสนา ต่อการให้บริการสุขภาพแก่ผู้ป่วย 2) การจัดการสิ่งแวดล้อมและระบบบริการที่ถูกต้องตามหลักศาสนา โดยมีความสอดคล้องกับวัฒนธรรมของพื้นที่ 3) การสนับสนุนงบประมาณให้กับหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักในการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการฯ เป็นต้น
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
3.1.1 ประธานในที่ประชุมได้มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบงานฯ ของโรงพยาบาลทั้ง 5 แห่ง จัดทำแผน ปฏิบัติการและกำหนดทิศทางการทำงาน (Road Map) ของโรงพยาบาล โดยมีกำหนดส่ง ภายในวันที่ 20 ธันวาคม 2560 แก่ผู้รับผิดชอบงานฯ ของ ศบ.สต. เพื่อรวบรวมและดำเนินการในขั้นตอนต่อไป และจะมีการประชุมชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานตามงบประมาณที่ได้รับ คาดว่าจะดำเนินการเสร็จสิ้นภายในเดือนธันวาคม ปี 2560
มติที่ประชุมเห็นชอบ
3.1.2 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
- ความไม่เข้าใจในแนวทางศาสนาของศาสนิกยังเป็นอีกปัญหาที่ทำให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาวะเป็นไปได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ การทำความเข้าใจประชาชนไม่ใช่การนำประชาชนเข้ามาทำความเข้าใจระบบสุขภาพ ในทางกลับกัน หน่วยบริการต้องเข้าถึงประชาชนแล้วนำมาปรับให้เข้ากับหน่วยบริการ จะทำให้การขับเคลื่อนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิเช่น โรงพยาบาลสะบ้าย้อย มีชมรมโต๊ะอิหม่ามเข้ามาสร้างการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน หน่วยบริการปรับแผนให้ตรงกับความต้องการและกำหนดมาตรฐาน หน่วยงานภายใต้สังกัดสาธารณสุขสามารถถ่ายทอดนโยบายให้หน่วยงานในพื้นที่รับไปสานต่อให้เหมาะกับในพื้นที่ต่อไป
- เพิ่มเติมรายละเอียดของแผนงานหรือการทำงานเชิงรุกให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมมากขึ้น
- หน่วยบริการควรจัดสรรเรื่องระบบทรัพยากรบุคคลและเวลา ในการทำกิจกรรมทางศาสนาให้เป็นระบบเพื่อให้การจัดการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น และเป็นการลดช่องว่างระหว่างบุคลากรในหน่วยบริการกับผู้รับบริการ ถือเป็นการบูรณาการทางสุขภาวะสู่การบริการที่เป็นธรรมาภิบาลภายใต้ความแตกต่างทางวัฒนธรรม
- ควรแจกแจงรายละเอียดงบประมาณว่าสามารถใช้ทำอะไรได้บ้าง และพิจารณาความเหมาะสมในการนำ
งบประมาณไปใช้
มติที่ประชุมเห็นชอบ
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
ผู้เข้าร่วมประชุม
1. นายประเวศ หมีดเส็น รองผู้อำนวยการศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้
2. นายพงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
3. นายมัซรัน ตะเระ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธารโต จ.ยะลา
4. นายมาหะมะ เมาะมูลา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรือเสาะ จ.นราธิวาส
5. นายณรงค์ ลือขจร นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล
6. นางสาวพิกุล จิรรัตนโสภา เภสัชกรเชี่ยวชาญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา
7. นายสายันห์ เศียรอิทร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา
8. นายแวปา วันฮุสเซ็นต์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส
9. นางสาวสุภาวรรณ ตันนติหาชัย นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ รพ.สตูล จ.สตูล
10. นางนอซีด๊ะ เจะสอเหาะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ รพ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี
11. นางเริงฤทัย หลีเส็น นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา
12. นายนิมิตร แสงเกตุ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา
13. นางฉัตรพิไล เจียระนัย นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล
14. นายสุประพล บินตำมะหงง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล
15. นายอดิศักดิ์ หวันประรัตน์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี
16. นางสาวนาวีราห์ ลาเต๊ะ เจ้าพนักงานสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา
17. นายอาแว ลือโม๊ะ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอยะหริ่ง จ.ปัตตานี
18. นายมูฮัมหมัด สาเล็ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอยะหริ่ง จ.ปัตตานี
19. นางสาวหทัยรัตน์ ชัยดวง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.เทพา จ.สงขลา
20. นางอรอนงค์ แซ่กี่ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รพ.เทพา จ.สงขลา
21. นางวรรณาพร บัวสุวรรณ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รพ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี
22. นายอาหมัด จาลงค์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ รพ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี
23. นางสมศรี สิ้นโครก พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.ธารโต จ.ยะลา
24. นางสาวละอองศรี ไชยวรรณ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.ธารโต จ.ยะลา
25. นายมะยือรี หะแว นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รพ.ธารโต จ.ยะลา
26. นางสาวมารินี โด นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา
27. นายมูฮัมหมัด อัซมี กาซอ เจ้าพนักงานสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขอำเภอธารโต จ.ยะลา
28. นางสาวซูวารี มอซู เจ้าหน้าที่ประสานงานวิจัย สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
29. นางสาววราภรณ์ เส็นสมมาตร นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานเขตสุขภาพที่ 12
30. นายชาคริต หมีดเส็น นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้
31. นางสาวกรกช ศรีผ่อง นักวิขาการสาธารณสุข ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี