เพื่อทบทวนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์ และแนวทางการขับเคลื่อนให้เกิดการทำนาอินทรีย์ในพื้นที่
- 08:30 - 09:00 น. ลงทะเบียน
- 09:00 – 10.00 น. นำเสนอแผนแม่บท และแผนปฏิบัติการข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง โดย อาจารย์เทพรัตน์ จันทพันธ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ และอาจารย์เชิดศักดิ์ เกื้อรักษ์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ดำเนินการประชุม โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และ ดร.เพ็ญ สุขมาก สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- 10.00 – 11.30 น. ทบทวน วิเคราะห์ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง ในแต่ละหน่วยงาน
- 11.30 – 12.00 น. สรุปทิศทางการดำเนินงานยุทธศาสตร์ข้าวในปี 2561 - 2564
เกิดความร่วมมือและข้อแนะนำต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง ในหน่วยราชการที่เข้าร่วมประชุม โดยทาง สจรส.ม.อ.จะเข้ามาหนุนเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนต่อ และร่วมมือกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง โดยจะศึกษาว่าแต่ละหน่วยงานมีแผนงานหนุนเสริมเรื่องข้าวอินทรีย์ อย่างไร เพื่อนำข้อมูลมาทำ mapping ที่จะได้นำเรื่องข้าวบรรจุลงในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
หน่วยงานราชการในจังหวัดพัทลุง ตัวแทนกลุ่มชาวนา และ สจรส.ม.อ.
-
-
-
- เพื่อนำเสนอแผนแม่บทข้าวอินทรีย์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. เพื่อผลักดันการขับเคลื่อนแผนแม่บทข้าวอินทรีย์ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาหนุนเสริมแรับนโยบายไปปฏิบัติการจริง
- 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
- 09.00 - 09.30 น. ชี้แจงเป้าหมาย และแนวคิดในการจัดทำแผนแม่บทข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
- 09.30 - 10.00 น. บรรยายเรื่อง "ยุทธศาสตร์จังหวัดในการสนับสนุนแผนแม่บทข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุงฎ โดย รักษาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพัทลุง
- 10.00 - 11.00 น. นำเสนอแผนแม่บทข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง และแผนปฏิบัติการข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง โดย อ.เทพรัตน์ จันทพันธ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยภูมิปัญญา มหาวิทยาลัยทักษิณ และ อ.เชิดศักดิ์ เกื้อรักษ์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
- 11.00 - 12.00 น. สรุปแนวทางขับเคลื่อนแผนแม่บทข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง และแผนปฏิบัติการข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง
- แผนแม่บทข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดในการสนับสนุนแผนแม่บทข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง ซึ่งมี 4 ด้าน คือ เศรษฐกิจที่มั่นคงทางด้านเกษตรและด้านอาหาร มีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ มีศักยภาพด้านภูมิปัญญา และมีพื้นที่สีเขียว โดยจังหวัดพัทลุง มีจุดเด่น คือ เป็นเมืองเกษตร แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญา แหลางท่องเที่ยวทางธรรมชาติ มีการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร และมีเป้าหมายการเพิ่มพื้นที่นาอินทรีย์ในปี 2561 - 2564 จำนวน 1 ล้านไร่ โดยมีคำสั่งจากทางผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ และได้มีการคัดเลือกให้จังหวัดพัทลุงเป้นจังหวัดนำร่องด้านการผลิตข้าว โดยทั้งหมดจะเชื่อมโยงการทำแผนแม่บทข้าวอินทรีย์พัทลุงได้
- ผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมกันปรับเพิ่มแผนงานโครงการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์อินทรีย์จังหวัดพัทลุง ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1
- 1.โครงการพัฒนาแปลงพันธุ์ข้าวอินทรีย์ชุมชน (ศูนย์พันธฺุ์ข้าวชุมชน)
- 2.แบ่งโซนในการอนุรักษ์พันธุ์ข้าว/โครงการสร้างอัตลักษณ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองเหนียวดำหมอ (เขาอ้อ)
- 3.โครงการโคกหนองนาโมเดลเพื่อความมั่นคงทางอาหาร
- 4.ห่วงโซ่อุทานเวชสำอางค์จากข้าวอินทรีย์ (การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์)
ยุทธศาสตร์ที่ 2
- 5.พัฒนาคุณภาพแหล่งน้ำผิวดินสำหรับการทำนาข้าวอินทรีย์
- 6.โครงการพัฒนาจุลินทรีย์วัตถุดิบจากนาข้าวอินทรีย์
- 7.ศูนย์พัฒนาพันธุ์ข้าวชุมชน (เพื่อการพัฒนาจุลินทรีย์แต่ละพื้นที่)
- 8.โครงการสร้างนักวิจัยชาวนาของชุมชน (โครงการผลิตนักรบชีวภาพ)
- 9.โครงการวิจัยส่งเสริมการปลูกหญ้าลิเปียร์ (โครงการพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์)
- 10.โครงการสร้างตลาดข้าวอินทรีย์ (ตลาดเกษตรอินทรีย์) / ประกันราคาในมาตรฐานเดียวกัน
- 11.โซนโรงสีข้าว GMP
- 12.โครงการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการทำเกษตรอินทรีย์ (สวนยาง/ผลไม้นา)
- 13.โครงการเรียนรู้การใช้โปรแกรม Google earth
- 14.การพัฒนาผลิตภัณฑ์
เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)
ประกอบด้วย
ตัวแทนจากหน่วยงานราชการในจังหวัดพัทลุง สจรส.ม.อ. และคณะทำงานโครงการขับเคลื่อนแผนแม่บทข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง
-
-
-
- เพื่อนำเสนอสถานการณ์และร่างแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานตำบลบูรณาการอาหาร (ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป้าหมายจำนวน 4 พื้นที่ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช คือ ตำบลเขาแก้ว ตำบลหูล่อง ตำบลไสหร้า และเทศบาลตำบลจันดี
- 08:30 - 09:00 น. ลงทะเบียน
- 09:00 – 09.30 น. ชี้แจงเป้าหมายและแนวคิดในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช โดย ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- 09.30 – 10.00 น. บรรยายเรื่อง “ยุทธศาสตร์ด้านอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช”โดย คุณขจรเกียรติ รักพานิชมณี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช และคุณอุษณีย์ อังศุวัฒนากุล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช
- 10.00 – 11.00 น. นำเสนอแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร 4 ตำบล โดย คุณคำพร เกตุแก้ว เทศบาลตำบลจันดี อำเภอฉวาง คุณกิตติศักดิ์ ทองเกตุ อบต.ไสหร้า อำเภอฉวาง คุณมานพ กาญจนรส อบต.เขาแก้ว อำเภอลานสกา คุณวิลาวรรณ สุวรรณรัตน์ อบต.หูล่อง อำเภอปากพนัง
- 11.00 – 12.00 น. วิพากษ์ ให้ข้อเสนอแนะต่อแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร 4 ตำบล โดย คุณอนันต์ ทองอุ่น สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช คุณอุษณีย์ อังศุวัฒนากุล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช คุณสุรีภรณ์ สุทธิพันธ์ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช นายแพทย์อนุสรณ์ ศิริโชติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 11 และคุณถั่น จุลนวล องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู
- 12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง
- 13.00 – 14.30 น. เสวนา เรื่อง แนวทาง บทบาท การดำเนินงานตำบลบูรณาการในหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย คุณอนันต์ ทองอุ่น สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช คุณอุษณีย์ อังศุวัฒนากุล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช คุณสุรีภรณ์ สุทธิพันธ์ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช นายแพทย์อนุสรณ์ ศิริโชติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 11 และ คุณถั่น จุลนวล องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู ดำเนินการเสวนาโดย ดร.เพ็ญ สุขมาก
- 14.30 – 15.30 น. สรุปแผนยุทธศาสตร์และแนวทางการขับเคลื่อนใน 4 ตำบล
- เกิดการเชื่อมโยงแผนงานอาหารในระดับตำบลที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์อาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งสอดคล้องกับ พรบ.คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พ.ศ.2551 ครอบคลุม 4 เรื่อง คือ ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยคุณภาพอาหาร และอาหารศึกษา
- ข้อมูลสถานการณ์ด้านอาหารใน 4 พื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการทำเกษตรโดยใช้สารเคมี และพบสารปนเปื้อนในผักผลไม้ ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ของจังหวัดเช่นกัน ซึ่งทางจังหวัดได้สุ่มตรวจสารอาหารและพบสารปนเปื้อนได้แก่ ผักผลไม้ ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ น้ำมันทอดอาหาร ตลาดสด แผงลอยจำหน่ายอาหาร และร้านจำหน่ายก๋วยเตี๋ยว
- ทางรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีฯ สสจ. สนง.เกษตรและสหกรณ์ และสำนักงานท้องถิ่น รวมทั้ง อบต.ทั้ง 4 พื้นที่ มีแนวทางร่วมกันผลักดันระบบอาหารปลอดภัยให้เกิดขึ้นในจังหวัดนครศรีฯ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ด้านอาหารของจังหวัดนครศรี คือ "นครแห่งอารยธรรม น่าอยู่น่าเที่ยว การเกษตรและอุตสาหกรรมยั่งยืนโลก ครัวนครฯ สู่ครัวโลก" โดยมียุทธศาสตรที่สำคัญ ดังนี้
ยุทธศาสตร์แห่งสายน้ำ โดยคณะทำงานบูรณาการระบบบริหารจัดการอาหารปลอดภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช
1.ยุทธศาสตร์ต้นน้ำ "บริหาาจัดการเกษตรและอุตสาหกรรมสู่มาตรฐานครบวงจร"
-พัฒนาสินค้าและบริการทางเกษตรที่ได้มาตรฐานตอบสนองตลาดสากล - พัฒนากระบวนการผลิต เก็บเกี่ยว รักษา แปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร - สร้างเครือข่ายความร่วมมือภาครัฐ องค์กรชุมชน เกษตรกรผู้ประกอบการ - พัฒนาระบบโลจิสติกส์ รองรับการเป็นเมืองศูนย์กลางการคมนาคม กระจายสินค้าเกษตร
2.ยุทธศาสตร์กลางน้ำ "บริหารจัดการแปรรูปอาหารสู่มาตรฐานครบวงจร"
- พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเพื่อสร้างโอกาสด้านการแข่งขัน
- พัฒนากระบวนการผลิต แปรรูปอาหารให้ได้มาตรฐาน
- เสริมสร้างความเข้มแข็งภาคการผลิตในระดับชุมชน/เพิ่มมูลค่า
- ยกระดับสินค้าประเภทอาหารนครฯ ให้มีมาตรฐานมีคุณค่าทางโภชนาการและมีอัตลักษณ์
3.ยุทธศาสตร์ปลายน้ำ "บริหารจัดการเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย"
- ส่งเสริมการเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพ ให้มีแหล่งจำหน่ายอาหารที่มีมาตรฐานคุณภาพ (ตลาด, ร้านอาหาร, แผงลอยจำหน่ายอาหาร)
- พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ
- พัฒนาให้เกิดช่องทางส่งเสริมผู้ประกอบการ/สถานประกอบการที่มีมาตรฐาน
ข้อเสนอแนะต่อการทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารใน 4 ตำบล
- ตำบลเขาแก้ว : เน้นเรื่องการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มีทุนด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวและการทำเกษตรในพื้นที่ จึงควรเน้นโครงการส่งเสริมด้านเกษตรปลอดภัย และส่งเสริมการปลูกพืชร่วมยาง โดยต้องประสานหารือกับ สกย.เพื่อทำงานร่วมกัน
- ตำบลไสหร้า : มีจุดเด่นการทำงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมีหน่วยบริการของโรงพยาบาลที่สามารถเชื่อมโยงได้
- ตำบลหูล่อง : มีทุนและศักยภาพของพื้นที่ ที่มีนาข้าวเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบล แต่ส่วนใหญ่เป็นนาเคมี มีต้นทุนสูงในการทำนา การส่งเสริมการทำนาอินทรีย์ต้องผลักดันให้เข้าแผน อบต.เพื่อสร้างพื้นที่นาอินทรีย์ให้เกิดขึ้นในตำบล
- ตำบลจันดี : มีทุนเรื่องผักพื้นบ้าน และบูรณาการร่วมกับ รพ.สต.และโรงพยาบาลในพื้นที่
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
คณะทำงานในโครงการ ทีม อบต./เทศบาล สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดนครศรีฯ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรี สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครศรี สำนักงานจังหวัดนครศรีฯ และเครือข่ายในระดับตำบลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีฯ
-
-
-
เพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการอาหารกลางวันที่มีคุณภาพสำหรับโรงเรียน
อบรมให้ความรู้ด้านการจัดการอาหารกลางวันให้ได้มาตรฐานตามหลักโภชนาการ และการใช้โปรแกรมกำหนดเมนูอาหารกลางวัน
-
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
ครูผู้กำหนดเมนูอาหารกลางวันของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของจังหวัดสงขลา
-
-
-
เพื่อร่วมจัดทำแผนยุทธศาสตร์การเกษตร
เข้าร่วมประชุมจัดทำแผนยุทธศาสตร์การเกษตรของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสงขลา
-
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ และเจ้าหน้าที่
-
-
-
เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารระดับตำบล
ทบทวนเอกสารแผนพัฒนาตำบล ข้อมูลจากแบบสอบถามเรื่องสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัย มาจัดทำเป็นยุทธศาสตร์ระบบอาหารในระดับท้องถิ่น
-
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
นักวิชาการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ อบต.หูล่อง เทศบาลตำบลจันดี อบต.เขาแก้ว อบต.ไสหร้า
-
-
-
เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารใน ต.ไสหร้า
- ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดประชุม โดยนายกิตติศักดิ์ หอมเหตุ หัวหน้าสำนักงานปลัด อบต.ไสหร้า
- เล่าที่มาของการทำโครงการระบบอาหารในจังหวัดนครศร๊ โดย น.ส.วรรณา สุวรรณชาตรี
- นำเสนอผลการเก็บข้อมูลความมั่นคงทางอาหาร โดย น.ส.ศุพิตรา ณ ลำปาง
- แบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นและจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มความมั่นคงทางอาหาร ประกอบด้วย เกษตรกร กลุ่ม อสม. ครู กศน. และอีกกลุ่ม คือ กลุ่มอาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัย ประกอบด้วย อสม.ครูศูนย์เด็กเล็ก เจ้าหน้าโรงพยาบาลฉวาง และ รพ.สต.
- นำเสนอร่างแผนยุทธศาสตร์
- สรุป
สรุปผลเวทีคืนข้อมูลและจัดทำยุทธศาสตร์
1.ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร ชุมชนและแหล่งผลิตการเกษตร
สถานการณ์
1.พื้นที่สวนยางพารา
- การใช้ปุ๋ยเคมี - การใช้ยาฉีดสวน
2.สวนผลไม้
- น้ำไม่เพียงพอในการเกษตร ทำให้มีผลผลิตน้อย และบางสวนทำให้ต้นไม้แห้งตาย - ราคาตกต่ำ / ล้นตลาด/ไม่มีตลาด - ต้นทุน (ปุ๋ยสารเคมี) ราคาสูง
3.ผักสวนครัว
- คนปลูกผักน้อย / ซื้อผักในตลาด
4.สัตว์เลี้ยง
- อาหารหมูมีราคาสูง
แผนงาน/โครงการ
- โครงการส่งเสริมปลูกผักในสวนยางพารา
- ปลูกข้าวไร่ในสวนยางพาราที่อายุยางพาราไม่เกิน 3 ปี
- โครงการเลี้ยงปลาในร่องยาง / ปลูกผักบุ้ง , ผักกะเฉด
- เจาะบ่อน้ำบาดาลน้ำลึกเพื่อใช้ในการเกษตรในหมู่บ้าน / ชุมชน
- จัดตั้งกลุ่มตลาดในชุมชนโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง
- ส่งเสริมการทำปุ๋ยหมักในชุมชนเพื่อลดต้นทุนในการผลิต / ค่าใช้จ่าย
- ส่งเสริมปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ทุกครอบครัว เพื่อลดรายจ่ายและได้รับประทานผักปลอดสารพิษ
- ส่งเสริม / ผลิตอาหาร(หมู)จากวัตถุดิบในชุมชน เช่นกล้วย , ต้นบอน
2.ประเด็นโภชนาการสมวัยในเด็กเล็ก
สถานการณ์
- ปัญหาซีดของแม่ตั้งครรภ์(แม่และลูก,เด็กในวัยเรียน) - โภชนาการในเด็ก - เด็ดอ้วน 12 % - เด็กเตี้ย 2 % - น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 1 %
- ผู้สูงอายุ
- โรคเรื้อรัง
แผนงาน/โครงการ
- ให้ความรู้ เรื่อง เตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ให้ยาเสริมธาตุเหล็ก อาหารให้หญิงตั้งครรภ์ และให้ อสม.รณรงค์
- กิจกรรมยามเช้าในโรงเรียน ได้แก่ ออกกำลังกาย 10 นาที ให้ความรู้กับผู้ปกครอง และโครงการพัฒนา EQ , IQ
- ปรับพฤติกรรมโภชนาการในเด็ก เรื่อง การบริโภคอาหาร กิจกรรมการออกกำลังกาย กิจกรรมลดน้ำหนัก โครงการปลอดขวดนม,ขนมกรุบกรอบ,อาหารลดเค็มโดยในโรงเรียนส่งเสริมให้ การออกกำลังกาย การกินผักผลไม้
- ให้ผู้ปกครองส่งเสริมให้เด็ก ลดการดื่มนมเปรี้ยว น้ำอัดลม และขนมกรุบกรอบ
- ให้ความรู้ในเรื่องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- ให้ความรู้ในเรื่องอาหารลดหวาน,ลดเค็ม
- ชมรมผู้สูงอายุ
- เมนูอาหารสมุนไพร
- ตรวจสุขภาพประจำปี
- กิจกรรมแลกเปลี่ยน อาสาสมัคร ผู้สูงอายุ (อผส.)
- คนไข้ติดเตียง
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
คณะทำงานโครงการ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน นักพัฒนาชุมชน ครู กศน.ฉวาง เกษตร เจ้าหน้าพยาบาลจากโรงพยาบาลฉวาง รพ.สต.และครูศูนย์เด็กเล็ก
-
-
-
เพื่อร่วมกันจัดทำยุทธศาสตร์ของท้องถิ่นในตำบลเขาแก้ว ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย
- เวลา 13.30 น. กล่าวเปิดการประชุมโดยนายดุสิต วิชัยพล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาแก้ว
- เวลา 14.00 น. บรรยายสภาพข้อมูลพื้นฐานข้อมูลทั่วไป ของอบต.เขาแก้ว
- เวลา 14.30 น. บรรยายเกี่ยวกับสภาวะโภชนาการ/ระบบการจัดการอาหารในศพด./โรงเรียนในตำบลเขาแก้ว โดย นางเรวดี เผื่อนนาค ผอ.กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
- เวลา 15.00 น. แบ่งกลุ่มเพื่อร่วมนำเสนอแผนงาน เป้าประสงค์ ยุทธศาสตร์ จกรรมความมั่นคงทางอาหาร
- เวลา 16.00 น. นายกกล่าวปิดการประชุม
สรุปผลการจัดเวทีคืนข้อมูลและจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารตำบลเขาแก้ว ดังนี้
1.ประเด็นยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงทางอาหาร
เป้าประสงค์
- 1.มีแหล่งเรียนรู้แปลงปลูกผักปลอดสารพิษ
- 2.มีผักปลอดสารพิษบริโภคอย่างเพียงพอในชุมชน/โรงเรียน/โรงพยาบาล
- 3.ส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้จากการท่องเทียว
- 4.เพื่อพัฒนาผลผลิต คุณภาพผลไม้ท้องถิ่น (มังคุด ทุเรียน จำปาดะ ฯลฯ)
ตัวชี้วัด
- 1.คนในชุมชนได้บริโภคผักปลอดสารพิษ
- 2.ต.เขาแก้วเป็นต้นแบบของการท่องเที่ยว
- 3.มีการแปรรูปผลผลิต มีตลาดรองรับ มีรายได้เพิ่มขึ้น
แผนงาน/โครงการ
- 1.ส่งเสริมให้มีการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภคและสร้างรายได้แก่เกษตรกร
- 2.ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกต้นประและฟื้นฟูระบบนิเวศ
- 3.เพิ่มคุณภาพผลผลิตมังคุด
- 4.พัฒนาบุคลากรกลุ่มวิสาหกิจท่องเที่ยวชุมชน
- 5.ปรับปรุงภูมิทัศน์เส้นทางการท่องเที่ยว
- 6.ขับเคลื่อนชุมชน คุณธรรมด้วยพลังบวร (บ้าน วัด โรงเรียน)
2.ประเด็นยุทธศาสตร์ด้านโภชนาการสมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
เป้าประสงค์
- 1.ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการสมวัย
- 2.ส่งเสริมให้เด็กมีอาหารครบทั้ง 5 หมู่
- 3.ส่งเสริมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาหาร
ตัวชี้วัด
- 1.ร้อยละของเด็กมีภาวะผอม เตี้ย ลดลง
- 2.ครู ผู้ปกครองและเด็กเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
- 3.ศพด.และโรงเรียน จัดอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ในมื้อกลางวันและส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องโภชนาการ
แผนงาน/โครงการ
-
- อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเรื่องภาวะโภชนาการ งบประมาณ 50,000 บาท
-
- โครงการ Cooking for children -อาหารเพื่อสุขภาพ งบประมาณ 50,000 บาท
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
ผู้ใหญ่บ้าน นายก อบต.เขาแก้ว นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักพัฒนาชุมชน กองสาธารณสุข หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องแกงชุม จำนวน 2 คน รพ.สต. ครู ศพด. ประธานศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ประธานกองทุนสวัสดิการชุมชน ต.เขาแก้ว และคณะทำงานโครงการ
-
-
-
เพื่อร่วมกันจัดทำยุทธศาสตร์ของท้องถิ่นในตำบลหูล่อง ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย
- กล่าวชี้แจงการขยายผลโมเดลควนรู (รูปแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหาร) ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยคุณวรรณา สุวรรณชาตรี
- นำเสนอข้อมูลผลจากแบบสอบถาม เรื่อง ความมั่นคงทางอาหารของตำบลหูล่อง โดยคณะทำงาน
- ระดมความคิด และจัดทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารของตำบลหูล่องร่วมกัน
- คณะทำงานสรุปผลการจัดเวทีร่วมกับ สจรส.ม.อ. และให้คำแนะนำการตรวจเอกสารการเงินและรายงานในเว็บไซต์
ได้ข้อมูลสถานการณ์ และแผนงานการจัดทำยุทธศาสตร์ระบบอาหาร ดังนี้
1.เรื่องความมั่นคงทางอาหาร
1.1เรื่องข้าว มีสถานการณ์ ดังนี้
- มีกลุ่มทำนาในหมู่ 4จำนวน 1 กลุ่ม และไม่เข้มแข็ง ทำนาขาดทุน เพราะมีต้นทุนสูง และมีปัญหาการปลูกปาล์ม ทำให้เกิดการแย่งน้ำ และข้าวมีราคาถูก
- กลุ่มทำนาในหมู่ 6 ทำนาปีมีการทำนาเพื่อไว้กิน ใช้ปุ๋ยอินทรีย์
- ช่วงเก็บข้าว ใช้รถเกี่ยว ทำให้เมล็ดพันธุ์ที่ปลูกในครั้งต่อไปผสมกัน ไม่มีการคัดสรรเมล็ดพันธุ์ข้าว
- พื้นที่นาเริ่มลดลง เพราะขาดทุน มีการปลูกปาล์ม สวนมะพร้าวแทน
- มีปัญหาน้ำท่วมนาข้าว ค่าใช้จ่ายสูง นกและหนูมากินข้าวในนา และไม่มีเมล็ดพันธุ์ข้าว
- ในกลุ่มทำนา มีกิจกรรมการออม ฝากเงิน มีกิจกรรมทำปุ๋ยหมัก เพื่อช่วยลดต้นทุน
ต้นทุนเรื่องนาข้าว
- มีสำนักงานเกษตร เข้ามาสอนการวิเคราะห์ดิน สนับสนุนรถไถนาร้าง และสนับสนุนเมล็ดพันธุ
แผนงาน/สิ่งที่อยากเห็น
- มีเมล็ดพันธุ์ข้าวเป็นของพื้นที่
- ต้นแบบนาอินทรีย์ 1 แปลง
- พัฒนาฐานข้อมูลเกษตรกร
- การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว
- มีตลาดจำหน่ายผลผลิตของชุมชน (ตลาดนัดหมู่ 5 / ตลาดกลางเทศบาล)
- มีขนมลาเป็นอาหารขึ้นชื่อของหูล่อง ซึ่งทำมาจากข้าว
1.2มะพร้าว มีสถานการณ์ คือมีศูนย์รวมรับซื้อมะพร้าวที่บ้านผู้ใหญ่ ซึ่งอยู่ในช่วงติดต่อให้ชาวบ้านเอามะพร้าวมาขาย และราคามะพร้าวมีราคาสูง
1.3ขนมลา มีสถานการณ์ คือ มีการทำขนมลาที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จัก มี ธกส.เข้ามาสนับสนุนเงินกู้ ต่างคนต่างทำขนมลาในหมู่บ้าน
แผนงานเรื่องขนมลา
- ผลิตอาหารพื้นบ้านของหูล่อง เช่น กะปิปลา ผักเสี้ยนดอง ปลาดี่แดดเดียว
- นำผลิตภัณฑ์ที่มีในหมู่บ้านไปขายในอำเภอ
1.4ฟักทอง มีสถานการณ์ คือ มีพ่อค้าคนกลางเข้ามาซื้อในสวนและกำหนดราคาเอง ทำให้ราคาตก ฟักทองมีปริมาณเยอะ ขายไม่ค่อยได้ ปลูกใช้ปุ๋ยเคมีในระยะปลอดภัย
2.ประเด็นอาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัย
2.1.เมนูอาหารกลางวัน (โรงเรียนประถม) มีสถานการณ์ คือ
- ใช้โปรแกรมเมนูอาหารจาก สพฐ.
- ซื้อวัตถุดิบจากชุมชน เป็นผักบ้าน ๆ และซื้อเนื้อสัตว์จากตลาด
- เด็กในโรงเรียนยังชอบทานน้ำหวานและน้ำอัดลม โดยที่โรงเรียนไม่สามารถกำหนดร้านค้ารอบโรงเรียนได้
- เด็กไม่ได้ทานข้าวเช้ามาจากบ้านส่วนหนึ่ง ทำให้มีเด็กขาดสารอาหาร
แผนงาน/ที่อยากทำ
- ทางโรงเรียนอยากมีนโยบายทำอาหารเช้าให้นักเรียนได้ทานซึ่งเป็นอาหารเช้าที่มีปะโยชน์
- ทางโรงเรียนมีแนวทางการรับซื้อวัตถุดิบอาหารกลางวันที่ปลอดสารเคมีจากในหมู่บ้าน
2.2.กองทุนหลักประกันตำบล (สปสช.) ทาง รพ.สต.มีโครงการที่ทำอยู่ คือ ทำโครงการตรวจสารเคมีในเลือดของเกษตรกรปี 60
2.3. รพ.สต. มีแผนงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน คือ
- ตรวจสารตกค้างในหมู่ 4 และ 1
- หมู่ 5 ส่งเสริมุขภาพผู้สูงอายุ
- หมู่ 6 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เบาหวาน ความดัน
- โครงการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในโรงเรียนสองพี่น้อง
- รพ.สต.เจอปัญหาเด็กอ้วนในศูนย์เด็กเล็ก มีแผนงานแก้ปัญหาเด็กอ้วน
- สรุปผลการจัดเวทีร่วมกัน พบปัญหาและอุปสรรค เรื่อง การให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการของ อบต.น้อยมาก จึงหารือร่วมกันว่าจะให้ทางโรงเรียนวัดสองพี่น้อง และ รพ.สต.บ้านน้ำน้อง เป็นผู้ขับเคลื่อนและหนุนเสริมในการทำโครงการ โดยในวันที่จัดประชุมเขียนแผนยุทธศาสตร์จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมเรียนรู้และหารือร่วมกัน
- ผลการตรวจรายงานในเว็บไซต์และเอกสารการเงิน พบว่า ทางคณะทำงานยังไม่กล้าเบิกค่าใช้จ่ายเพราะกังวลว่าเวลาเบิกจ่ายกับ อบต.จะมีปัญหา จึงแนะนำให้ทำเอกสารแยกเป็นรายกิจกรรมให้ถูกต้อง และนำส่งให้ อบต.ทุกครั้ง ก่อนที่จะทำเรื่องเบิกเงินมาจัดกิจกรรม
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
สภา อบต.หูล่อง ผอ.รพ.สต.น้ำน้อง อสม. ครูโรงเรียนวัดสองพี่น้อง ตัวแทนเกษตรกรชาวนา คณะทำงานในโครงการ และทีม สจรส.ม.อ.
-
-
-
เพื่อกำหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ในระดับตำบลเทศบาลตำบลจันดี
- เปิดเวทีโดยรองนายกเทศบาลตำบลจันดี
- ชี้แจงที่มาของการทำโครงการอาหารปลอดภัย โดยทีม สจรส.ม.อ. โดยเน้นการขยายผลรูปแบบการจัดการอาหารของ อบต.ควนรู และขยายผลมาสู่จังหวัดนครศรีฯ
- นำเสนอผลการเก็บข้อมูลเรื่องอาหารเป็นยาของพื้นที่ตำบลจันดี
- แลกเปลี่ยนการทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารร่วมกัน
- ทางเทศบาลและคณะทำงานโครงการการจัดการข้อมูลอาหารพื้นที่จันดี ได้รับรู้ข้อมูลความมั่นคงทางอาหารจากการเก็บข้อมูล 5 หมู่บ้าน มีการเสนอโครงการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษในตำบลจันดี เข้าสู่ยุทธศาสตร์ระบบอาหารใน 3 ประเด็น
- ผลการจัดประชุมในวันนี้ ทางคณะทำงานยังขาดข้อมูลวิเคราะห์สถานการณ์ด้านอาหารในพื้นที่ ข้อมูลที่นำเสนอเป็นข้อมูลเฉพาะเรื่องของผักปลอดสารพิษ ยังไม่สามารถนำข้อมูลมาจัดทำเป็นยุทธศาสตร์ได้ จึงให้คำแนะนำต่อคณะทำงานให้กลับไปทำข้อมูลสถานการณ์อาหารให้ครอบคลุมเรื่องสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร สถานการณ์ภาวะโภชนาการในเด็กเล็ก และสถานการณ์อาหารปลอดภัยในพื้นที่ และอาจจะนำข้อมูลที่ได้มาจัดเวทีทำยุทธศาสตร์อีกครั้ง
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
คณะทำงานโครงการฯ หัวหน้าส่วนเทศบาลตำบลจันดี หัวหน้าศูนย์เด็กเล็ก รองปลัดห้วหน้าฝ่ายการศึกษา หัวหน้ากองสาธารณสุข แกนนำ อสม.กลุ่มเยาวชน ทีมสื่อภาคใต้ และ สจรส.ม.อ.
คณะทำงานระหว่างเจ้าหน้าที่เทศบาลกับ ทีมชุมชนขาดการประสานงานร่วมกัน
-
-
เพื่อติดตามการทำรายงานโครงการ
- ทีม สจรส.ม.อ.ตรวจเอกสารการเงินและรายละเอียดการใช้เงินแต่ละกิจกรรม และตรวจการเขียนรายงานกิจกรรมในเว็บไซต์ พร้อมกับให้คำแนะนำต่อการจัดการเอกสารให้ถูกต้องตามระเบียบของ สสส.
- พูดคุยหารือการทำโครงการ และวางแผนการจัดเวทีคืนข้อมูลเพื่อทำยุทธศาสตร์ระบบอาหาร ในประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ร่วมกัน
- ผลการตรวจเอกสารการเงิน พบว่า ทางคณะทำงานยังขาดความเข้าใจต่อการเบิกจ่าย ทำให้หลักฐษนการเงินไม่เรียบร้อยทุกกิจกรรม ทาง สจรส.ม.อ.จึงให้คำแนะนำให้แยกเอกสารการเงินเป็นรายกิจกรรม และให้รายงานกิจกรรมบนเว็บไซต์ให้ตรงกับวันที่ลงในเอกสารการเงิน
- ได้หารือวางแผนการจัดเวทีคืนข้อมูลเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารของ อบต.ไสหร้า ซึ่งยังขาดข้อมูลสถานการณ์ด้านอาหาร ทางคณะทำงานต้องมีข้อมูลนำเข้าเวที เพื่อให้สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์จัดทำเป็นยุทธศาสตร์ระบบอาหารได้
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
หัวหน้าสำนักงานปลัด เจ้าหน้าที่ อบต.ไสหร้า และทีม สจรส.ม.อ.
-
-
-
เพื่อระดมความคิดเห็นการทำงานเรื่องการูรณาการระบบความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัย
- ผู้จัดการตลาดเกษตร ม.อ. ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการทำงานของตลาดเกษตร ม.อ.
- แนวทางการทำงานความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ในท้องถิ่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยให้คุณธีรวัฒน์ แดงกะเปา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสี่แยกสวนป่า เป็นผู้ประสานงาน
- การพัฒนาโครงการบูรณาการระบบอาหารในท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช
- การพัฒนาโครงการยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
-
-
-
เพื่อจัดทำแผนที่สารสนเทศของแต่ละท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการสมวัยในระดับท้องถิ่น
- วันที่ 28 ก.พ.60 ได้สอนการบันทึกข้อมูลแบบสอบถามที่เก็บมาได้ลงใน Excel โดย อ.มุมตาส มีระมาน จากนั้นแบ่งกลุ่มปฏิบัติการคีย์ข้อมูลลงในโปรแกรม โดยมีเป้าหมายว่าต้องคีย์ให้เสร็จในวันนี้ เพราะต้องเอาข้อมูลไปวิเคราะห์เป็นแผนที่ในวันที่ 2 มีนาคม 60
- วันที่ 2 มี.ค.60 ทบทวนผลการคีย์ข้อมูล ชี้แจงการจัดทำแผนที่ยุทธศาตร์ โดย อ.เพ็ญ สุขมาก เรื่องการบูรณาการระบบอาหารโดย อปท.มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และเป้าประสงค์ ส่วนการดำเนินงานตำบลบูรณาการใน อปท.มี 6 ขั้นตอน คือ 1) กระบวนการรวบรวมข้อมูล 2) การวิเคราะห์ข้อมูล 3) การคืนข้อมูล 4) กำหนดแผนงานกิจกรรม 5) ดำเนินงานตามแผน 6) ติดตามประเมินผล
- จากนั้น อ.เพ็ญ สุขมาก และ อ.มุมตาส มีระมาน ได้สอนการวิเคราะห์ข้อมูล แต่เนื่องจากทุกพื้นที่ยังคีย์ข้อมูลไม่เสร็จ เพราะข้อมูลแบบสอบถามมีจำนวนมาก จึงยังไม่สามารถดึงข้อมูลมาวิเคราะห์ให้ดูได้ ในวันนี้จึงให้คีย์ข้อมูลให้เสร็จต่อ และได้สอนการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่นา พื้นที่ผัก และอื่น ๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปเขียนเป็นแผนโครงการของแต่ละท้องถิ่น และนำเสนอข้อมูลจากแบบสอบถามที่คีย์ได้
- วันที่ 3 มี.ค.60 แบ่งกลุ่มแต่ละพื้นที่ ระดมเขียนแผนโครงการความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการสมวัย โดยอ้างอิงข้อมูลจากแบบสอบถามที่คีย์ และนำเสนอในที่ประชุมเพื่อให้คำแนะนำเพิ่มเติม
- แต่ละพื้นที่ได้นำเสนอแผนโครงการ เป็นแนวทางในการนำไปปรับใช้เพื่อจัดทำแผนต่อไป
- ตำบลหูล่อง ทำเรื่องนาอินทรีย์ มีข้อแนะนำว่า ให้กลับไปศึกษาข้อมูลปัจจัยกำหนดสุขภาพ ด้านสภาพแวดล้อม กลไก และคน เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยสาเหตุที่เิกิดขึ้น และต้องวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ในตำบลหูล่อง
- ตำบลไสหร้า ทำเรื่องตลาดสีเขียวในชุมชน มีข้อแนะนำว่า หากทำตลาดสีเขียวต้องสร้างกระบวนการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค โดยประสานร่วมกับโรงพยาบาลให้ทำการสุ่มตรวจผักและให้ป้ายประกันอาหารปลอดภัย โดยอาจจะตรวจสามเดือนครั้ง และจัดเวทีแลกเปลี่ยนนวัตกรรมในการเพาะปลูก เช่น การทำน้ำหมักชีวภาพ
- ตำบลเขาแก้ว ทำเรื่องมังคุดและทุเรียน มีข้อแนะนำว่า ต้องศึกษาเรื่องดินและน้ำ การจัดการน้ำ ความพอเพียงของน้ำในการเกษตร หานักวิชาการที่เชี่ยวชาญมาช่วย เรื่อง ผู้ผลิตร่วมกันใช้เทคโนโลยี และวิเคราะห์ข้อมูลของตำบลส่งมาให้ สจรส.ม.อ.
- ตำบลจันดี ทำเรื่องอาหารเป็นยา มีข้อแนะนำว่า ทำ timeline ชนิดของผักที่มีในแต่ละช่วงเดือน เพื่อสื่อให้เห็นว่าพื้นที่นี้มีผักเด่น และมีทุกฤดูกาล เน้นการสร้างธนาคารเมล็ดพันธุ์ และค้นหาประโยชน์ สรรพคุณของผักแต่ละชนิด
- ตำบลนางหลง เด่นเรื่องมังคุด มีข้อแนะนำเหมือนกับตำบลเขาแก้ว
- นัดครั้งต่อไป ทุกตำบลต้องส่งงานให้ สจรส.ม.อ.ภายในวันที่15 มีนาคม จำนวน 2 ชิ้น คือ ข้อมูลที่วิเคราะห์จากแบบสอบถาม และร่างแผนยุทธศาสตร์แต่ละตำบล และจะจัดเวทีระดมความคิดเห็นร่างแผนยุทธศาตร์ท้องถิ่นของจังหวัดนครศรีในวันที่ 5 เมษายน 2560
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
- อบต.นางหลง เทศบาล ต.จันดี อบต.ไสหร้า อบต.หูล่อง และ อบต.เขาแก้ว พื้นที่ละ 3-5 คน
- ทีม สจรส.ม.อ.
-
-
-
เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการการจัดการข้อมูลด้านอาหารและโภชนาการ
1.ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุมในครั้งนี้ เพื่อติดตามสนับสนุนการดำเนินโครงการการจัดการข้อมูลด้านอาหารและโภชนาการ ว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งการติดตามสนับสนุนจะเป็นลักษณะการให้คำปรึกษา และให้คำแนะนำในการจัดทำรายงานบนเว็บไซต์ ซึ่งการจัดทำรายงานบนเว็บไซต์มีความสำคัญเพราะเป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้ผู้ให้ทุนได้ทราบว่ามีการดำเนินกิจกรรมอยู่
2. การตรวจรายงานการเงิน รวมทั้งเอกสารการเงิน เป็นไปเพื่อให้มีการบริหารจัดการด้านการเงินที่โปร่งใส
3. การวางแผนการดำเนินงานในระยะต่อไป เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการทำกิจกรรม
- การลงข้อมูลบนเว็บไซต์ ของผู้รับทุนยังไม่เรียบร้อย เนื่องจากเพิ่งเริ่มทำกิจกรรม และบางตำบลยังไม่มีความเชี่ยวชาญในการทำกิจกรรม จึงได้ให้คำแนะนำในการจัดทำรายงาน
- ให้คำแนะนำการจัดทำเอกสารการเงิน เพื่อให้มีการจัดทำเอกสารด้านการเงินที่ถูกต้องต่อไป
- วางแผนการดำเนินกิจกรรมในขั้นต่อไป โดยให้แต่ละตำบลจัดเก็บข้อมูลให้เสร็จภายใน 15 พฤศจิกายน 2559 จากนั้นจะมีการอบรมการวิเคราะห์ข้อมูล โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 จะออกแบบการคีย์ข้อมูลบนโปรแกรม Excelและช่วงที่ 2 จะนำข้อมูลเข้าสู่โปรแกรม SPSS ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน อบต. เขาแก้ว เป็นแกนนำในการช่วยออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมประกอบด้วย เจ้าหน้่าที่พัฒนาชุมชน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ปลัด หัวหน้าสำนักปลัด ที่ได้รับมอบหมายในการดำเนินงานโครงการการจัดการข้อมูลด้านอาหารและโภชนาการระดับตำบล 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลไสหร้า ตำบลเขาแก้ว ตำบลจันดีตำบลนางหลง และตำบลหูล่อง
-
-
-
เป็นกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องความมั่นคงทางอาหาร โดยเฉพาะเรื่องข้าวของภาคใต้
1.จัดนิทรรศการประเด็นความมั่นคงทางอาหาร
2.จัดเสวนาความมั่นคงทางอาหาร แกะรอยข้าวใต้ ใครทำใครกิน
3.หนังสือถอดบทเรียนความมั่นคงทางอาหาร กรณ๊ โครงกาผลักดันยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง และตำบลบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการ
จัดงานสร้างสุขภาคใต้ 2559 ประเด็นความมั่นคงทางอาหารได้นำเสนอสถานการณ์ของข้าวของภาคใต้ โดยมีกรณีตัวอย่างของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง และ การบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการ อบต.ควนรู จังหวัดสงขลา ซึ่งทั้ง 2 พื้นที่นำเสนอนิทรรศการ การสังเคราะห์เอกสารวิชาการเรื่องความมั่นคงทางอาหารแกะรอยข้าวใต้ ใครทำใครกิน และการเสวนาเรื่อง แลสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารของภาคใต้ “แกะรอยข้าวใต้ ใครทำใครกิน” โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วยคุณอนุรัฐ ไทยตรง รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง คุณเกียรติศักดิ์ ยั่งยืน มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน คุณเทพรัตน์ จันทพันธ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน คุณถั่น จุลนวล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู คุณชิต สง่ากุลพงษ์มูลนิธิชุมชนสงขลา คุณเทอดนมรักษ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และคุณนัด อ่อนแก้ว ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเขากลาง อ.ควนขนุน ซึ่งที่ประชุมได้สรุปข้อเสนอเชิงนโยบายด้านความมั่นคงทางอาหาร ดังนี้
1.ข้อเสนอต่อ สสส.
ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายที่ทำงานด้านอาหาร เพื่อผลักดันให้เกิดยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารในทุกระดับ และผลักดันให้เกิดกองทุนความมั่นคงทางอาหารในระดับจังหวัด เช่น ให้มีการจัดทำแผนการจัดการความเสี่ยงเรื่องความมั่นคงทางอาหาร
2.ข้อเสนอต่อ สช. กำหนดให้ประเด็นเรื่องความมั่นคงทางอาหารเป็นวาระหลักในกระบวนการสมัชชาสุขภาพระดับจังหวัดเพื่อสร้างนโยบายสาธารณะทางด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางอาหาร
3.ข้อเสนอต่อ สปสช. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบลต้องมีการจัดทำโครงการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความมั่นคงทางอาหาร โดยควรมีการจัดสรรงบประมาณของกองทุนไม่น้อยกว่า 10 % ในแต่ละปี
4.ข้อเสนอต่อ กระทรวงสาธารณสุข ควรจะต้องบูรณาการเรื่องความมั่นคงทางอาหารกับเรื่องอาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัยโดยจัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการในทุกระดับ
ข้อเสนอต่อสถานีโทรทัศน์ Thai PBS
1.ควรมีรายการหลักที่มีการสื่อสารเรื่องวัฒนธรรมอาหาร ภูมิปัญญาด้านอาหาร ผลิตภัณฑ์ด้านอาหาร มิติทางวัฒนธรรมเพื่อการแบ่งปันด้านอาหาร เกษตรอินทรีย์ และเกษตรกรรมยั่งยืน
2.ควรให้นักข่าวพลเมืองมีการนำเสนอเรื่องความมั่นคงทางอาหารเป็นประเด็นหลัก เพื่อสร้างเครือข่ายเยาวชนให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องความมั่นคงทางอาหาร
6.ข้อเสนอต่อองค์กรอื่นๆ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
1.ส่งเสริมให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์ของภาคใต้ ตลอดจนมาตรการและการจัดการข้าวของภาคใต้ เนื่องจากข้าวของภาคใต้มีความเฉพาะในเรื่องฤดูกาล พันธุ์ข้าวพื้นเมือง การแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวให้เป็นอาหาร หรือ เวชสำอาง
2.ส่งเสริมการสร้างแปลงนารวมของชุมชน เพื่อให้คนที่ไร้ที่ดินทำกินได้มีส่วนร่วมในการผลิตอาหารด้วยตนเอง และสามารถเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย
3.สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดกองบุญข้าว (วันทำขวัญข้าว) ในระดับตำบล เพื่อกระจายอาหารให้กับผู้ด้อยโอกาสในชุมชน
4.สนับสนุนให้มีการสร้างกลไกการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดให้เป็นกลไกที่ยั่งยืน โดยมีสำนักงานมาตรฐาน มกอช. เป็นหน่วยงานหลักในการทำงานและมีมาตรฐานรับรอง 3 ระดับ ได้แก่
ระดับตนเอง (GPS)
-ระดับประเทศ (ออแกร์นิกไทยแลนด์)
-ระดับต่างประเทศ (Ifoam) 5.สนับสนุนการจัดทำกระบวนการผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำ ( เมล็ดพันธุ์)กลางน้ำ (โรงสีข้าว) และปลายน้ำ (การแปรรูปและการส่งออก) ให้ได้มาตรฐาน GMP. 6.กำหนดมาตรการส่งเสริมโครงการตลาดเกษตรอินทรีย์ในรูปองค์กร โดยเป็นโครงการนำร่องในระดับจังหวัด เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน โรงพยาบาล ให้รับซื้อผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ขององค์กรในชุมชน หรือเครือข่ายในระดับจังหวัด
7.สนับสนุนให้เกิดการจับคู่ทางธุรกิจ (Matching) ระหว่างชุมชน ภาครัฐ และภาคเอกชน ในภาคการผลิตและภาคการตลาด เช่น การสั่งซื้ออาหารล่วงหน้าระหว่างชุมชนกับชุมชนหรือองค์กรกับองค์กร เพื่อสร้างระบบรับประกันการมีอาหารกินที่ยั่งยืน
8.สนับสนุนและผลักดันระบบ Co - farming ระหว่างเกษตรกรกับผู้บริโภค เพื่อประกันความเสี่ยงของเกษตรกร
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ตัวแทนชาวนาจังหวัดพัทลุง อบต.ควนรู นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยทักษิณ เกษตรกรและผู้ประกอบการจากตลาดเกษตร ม.อ.
-
-
-
เพื่อเตรียมเอกสารแผนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา
เตรียมเอกสารแผนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา
-
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ
-
-
-
เพื่อพัฒนาโครงการการจัดการด้านอาหารและโภชนาการในระดับท้องถิ่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช
- แลกเปลี่ยนรูปแบบการทำงานบูรณาการระบบอาหารของจังหวัดสงขลา
- แนวทางการพัฒนาโครงการการจัดการด้านอาหารและโภชนาการในท้องถิ่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช
-
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
นักวิชาการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ผู้แทนจาก อบต.ไสหร้า เทศบาลตำบลจันดี อบต. นางหลง อบต.เขาแก้ว อบต.หูล่อง สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้นครศรีธรรมราช
-
-
-
เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการผลักดันยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง
ประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการผลักดันยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง
1.ชี้แจงการขับเคลื่อนแผนแม่บทยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุงว่าในปัจจุบันได้ถูกบรรจุในแผนจังหวัดแล้วโดยมีโครงการจำนวน 6 โครงการที่ภาคประชาชนเสนอให้จังหวัดพัทลุงดำเนินการได้แก่
1.1 โครงการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าว
1.2 โครงการจัดทำปุ๋ยอินทรีย์
1.3 โครงการปรับปรุงพื้นที่ทำนาให้เหมาะสมกับการทำนาอินทรีย์
1.4 โครงการสนับสนุนปัจจัยการผลิต
1.5 โครงการสนับสนุนอุปกรณ์แปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์
1.6 โครงการส่งเสริมพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนชาวนา
- ความก้าวหน้าของการเตรียมงานสร้างสุข ห้องย่อยความมั่นคงทางอาหาร
2.1 เอกสารวิชาการต้องดำเนินการให้เสร็จในวันที่ 15 กันยายน 2559
2.2 หัวข้อเสวนา เรื่อง "แกะรอยข้าวใต้ ใครทำใครกิน"
2.3 ผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบด้วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ดร.เชิดศักดิ์ เกื้อรักษ์ อาจารย์เทพรัตน์ จันทพันธ์ เครือข่ายผู้ค้าข้าวจังหวัดพัทลุง
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนแม่บทข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง
-
-
-
เพื่อชี้แจงการทำงานร่วมกันระหว่าง สจรส.และอปท.ในการดำเนินงานโครงการการจัดการข้อมูลด้านความม่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัย
1.ประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการจัดทำข้อมูลความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัย 2.การบริหารจัดการโครงการ การเงิน
- การลงนามในข้อตกลงการปฏิบัติงานวิชาการโครงการการจัดการข้อมูลด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย
- การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานการจัดการระบบอาหารกลางวันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของตำบลนางหลง
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
อบต.นางหลง , ไส้หร้า , เขาแก้ว , จันดี, หูร่อง
-
-
-
เพื่อให้ได้แผนงาน/โครงการ.ในการพัฒนาจังหวัดสงขลา
09:00-09:30 น. ลงทะเบียน
09:30-10:00 น. บรรยายเรื่อง “การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา” โดย นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
10:00-10:30 น. ร่างแนวคิดและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนจังหวัดสงขลา - วิสัยทัศน์ - ภาพอนาคต - เป้าประสงค์ - ประเด็นยุทธศาสตร์พร้อมแนวทาง
10:30-12:30 น. แบ่งกลุ่มย่อยเพื่อพัฒนายุทธศาสตร์ ตามประเด็นดังนี้ - กลุ่มที่ 1 ประเด็นสังคม ห้อง 14 ผู้รับผิดชอบหลัก : ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร
กลุ่มที่ 2 ประเด็นสิ่งแวดล้อม
ผู้รับผิดชอบหลัก : ผศ.ดร. เกื้ออนันต์ เตชะโตกลุ่มที่ 3 ประเด็นเศรษฐกิจ ผู้รับผิดชอบหลัก : ดร.สมพร สิริโปราณานนท์ และ คุณชิต สง่า กุลพงษ์
กลุ่มที่ 4 ประเด็นการศึกษา ผู้รับผิดชอบหลัก : ผศ.ดร. ศักดิ์ชัย ปรีชาวีรกุล และ อาจารย์วิวัฒน์ สุทธิวิภากร
กลุ่มที่ 5 ประเด็นสุขภาพ ผู้รับผิดชอบหลัก : ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และ รศ.ดร.ปาริชาติ วิสุทธิสมาจาร
12:30-13:30 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13:30-15:30 น. นำเสนอประเด็นยุทธศาสตร์แต่ละประเด็น
15:30-16:00 น. สรุปแผนยุทธศาสตร์และแนวทางการขับเคลื่อนจังหวัดสงขลา
- ทุกหน่วยงานทั้งหน่วยงานราชการ เอกชน และภาคประชาสังคม (stakeholders) ร่วมกันให้ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นต่อประเด็นยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สังคม ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
- ได้แผนงาน/โครงการ ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
- สำนักงานจังหวัดสงขลาสามารถพิจารณาและเลือกโครงการเร่งด่วนที่ปฏิบัติได้จริงบรรจุในแผนพัฒนาจังหวัดสงขลาปี 2561
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
- หน่วยงานราชการ
- ภาคเอกชน
- ภาคประชาสังคม
-
-
-
เพื่อรับฟังข้อมูลการจัดยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาของจังหวัดสงขลา
รับทราบข้อมูลการทำยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาจังหวัดสงขลา
-
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
นักวิชาการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
-
-
-
จัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานวิชาการโครงการยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง
จัดทำข้อตกลงในการดำเนินโครงการผลักดันยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง
ข้อตกลงปฏิบัติงานวิชาการ ประกอบด้วย
การจัดการข้อมูลข้าวจังหวัดพัทลุง โดยการทำ Mapping
- Mapping สถานการณ์ข้าวเคมี และข้าวอินทรีย์
- Mapping กลุ่มเครือข่ายข้าว กลุ่มอาชีพ กลุ่มหน่วยงานที่ขับเคลื่อนเรื่องข้าวจังหวัดพัทลุง
- Mapping พื้นที่การผลิตข้าวจังหวัดพัทลุง
- Mapping ระบบการกระจายผลผลิตข้าวจังหวัดพัทลุง
- Mapping ทุนทางสังคมของจังหวัดพัทลุงที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องข้าวจังหวัดพัทลุง
กำหนดเป้าหมาย หรือ ภาพอนาคตในการจัดการเรื่องข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง
นำร่างยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุงระดมความคิดเห็นกับกลุ่มเครือข่ายข้าว ภาคประชาสังคม หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ปรับปรุงร่างยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุงให้มีความสมบูรณ์
นำยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์ฉบับสมบูรณ์เสนอต่อคณะอนุกรรมกรรมการข้าวจังหวัดพัทลุง
ปรับปรุงยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
-
-
-
เพื่อระดมความคิดเห็นในการจัดทำร่างยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลาประเด็นการศึกษา และประเด็นสุขภาพ
- พัฒนาร่างยุทธศาสตร์ประเด็นการศึกษา
- พัฒนาร่างยุทธศาสตร์ประเด็นสุขภาพ
-
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
-
-
-
เพื่อหารือการเตรียมเอกสารวิชาการ กิจกรรมการเสวนาในห้องย่อย ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร
ติดตามความก้าวหน้าและวางแผนการดำเนินงานในการสร้างสุขภาคใต้
คุณวรรณา สุวรรณชาตรี และคุณพีรยา จินดามณี ผู้ประสานงานได้รับฟังและให้คำแนะนำต่อทีมองค์การบริหารส่วนตำบลควนรูและทีมยุทธศาสตร์ข้าวจังหวัดพัทลุง ในการนำประเด็นเข้าสู่ห้องย่อย คือ องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู ให้มีการนำเสนอ VTR เรื่องย่อประมาณ 5 นาทีและให้หยิบยกประเด็นสถานการณ์ของ รศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ ที่ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องโภชนาการ โดย แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่น นโยบายครัวรวม กลไกการทำงานร่วมกัน ระหว่างโรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และมีทีมเสวนา เพื่อนำผลจากการเสวนาไปนำเสนอเป็นนโยบายและขยายผลให้ท้องถิ่นอื่นทำ ทีมยุทธศาสตร์ข้าวจังหวัดพัทลุง จะนำเสนอในประเด็น ความมั่นคงทางอาหารภาคใต้ เน้นเรื่องข้าว โดยจำนำเสนอในรูปแบบ
สถานการณ์ข้าวภาคใต้
วงเสวนาว่าด้วยเรื่อง “ข้าวภาคใต้ ใครทำใครกิน"
กลไกการเชื่อมต่อเรื่องข้าวในภาคใต้แต่ละจังหวัด
ใช้ควนรูเป็นกรณีศึกษา
ทั้งนี้ได้ให้แต่ละท้องถิ่นในกลับไปคิดรูปแบบที่สมบูรณ์และเตรียมงาน เพื่อมานำเสนอความก้าวหน้าอีกครั้งในลำดับถัดไป
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู ผู้แทนจากโครงการยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง
-
-
-
ให้เกิดความร่วมมือในการปฎิบัติงานด้านการขับเคลื่อนแผนบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการระดับตำบล (ขยายผลจากจังหวัดสงขลาสู่จังหวัดนครศรีธรรมราช)
ทำความร่วมมือในการปฎิบัติงานด้านการขับเคลื่อนแผนบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการระดับตำบล (ขยายผลจากจังหวัดสงขลาสู่จังหวัดนครศรีธรรมราช)
คณะทำงานโครงการฯ ประกอบไปด้วย ดร.เพ็ญ สุขมาก และทีมสื่อฯ โดยคุณอานนท์ มีศรี ได้นำประชุมโดยท้องถิ่นที่เข้าร่วมประชุม คือ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าดี อำเภอลานสกา องค์การบริหารส่วนตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม องค์การบริหารส่วนตำบลเขาแก้วอำเภอลานสกา องค์การบริหารส่วนตำบลนางหลง อำเภอชะอวด องค์การบริหารส่วนตำบลจันดี อำเภอฉวาง และผู้แทนสภาเกษตรกรในท้องที่ต่างๆ หลังจากทาง สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ได้เล่ารายละเอียดการดำเนินงานที่ผ่านมาของตำบลบูรณาการในจังหวัดสงขลา ทำให้ท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีความสนใจในการขับเคลื่อนการบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการในพื้นที่ของตัวเองแต่ต้องไปดูความพร้อมของพื้นที่พร้อมกับทำข้อมูลเบื้องต้นเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
-
-
-
ให้เกิดแผนงาน/โครงการและสามารถนำไปปฎิบัติเป็นรูปธรรมได้
ทบทวนโครงการจากแต่ละแผน และเสนอโครงการที่จะให้มีการดำเนินการในยุทธศาสตร์ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ คือ ประเด็นสังคม
คณะทำงานฯ ได้ทบทวนโครงการจากแต่ละแผน และเสนอโครงการที่จะให้มีการดำเนินการในยุทธศาสตร์ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ คือ ประเด็นสังคม (ประเด็นตั้งต้นคือ) การเพิ่มขีดความสามารถของคน และการสร้างชุมชนเข้มแข็ง เด็ก เยาวชน ครอบครัว ได้แผนงาน/โครงการ คือ 1. การส่งเสริมหลักสูตรสมาธิในเด็ก/เยาวชน
จัดกิจกรรมให้เด็กมีการผลิตสื่อส่งเสริมให้เกิดการสำนึก/รักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โครงการโรงเรียนครอบครัว/โรงเรียนพ่อแม่ โดยให้ท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญ
ปัญหาเด็กนอกระบบ/เด็กในชุมชนแออัด
การแก้ปัญหายาเสพติด
การมีศูนย์ OSCC one stop crisis center
การจัดทำฐานข้อมูลสิทธิเด็กตั้งแต่เกิดในสถานสงเคราะห์/เด็กถูกทอดทิ้ง
โครงการเลิกตีตราผู้เสพยา ให้กลับเข้าสู่สังคมได้
โครงการบ้าน-วัด-โรงเรียน รื้อฟื้นความสัมพันธ์ทั้ง 3 สถาบัน
โครงการอาหารของแม่
การค้ามนุษย์ แรงงานต่างด้าว แรงงานเด็ก
1. การสร้างเฝ้าระวังแรงงานเพื่อนบ้าน
- สร้างกระบวนการให้แรงงานเพื่อนบ้านเป็นสังคมเดียวกัน โดยเฉพาะพื้นที่สุ่มเสี่ยง/ชายแดน
ผู้พิการให้ผู้สูงอายุ 1. ให้มีการเข้าถึงระบบการศึกษา
การสร้างสัมมาอาชีพให้กับคนพิการ
การเข้าถึงบริการสาธารณะของรัฐ เช่น รถสาธารณะ
ส่งเสริมการกีฬาของคนพิการ : ตัวชี้วัดเป็นการสร้างนักกีฬาผู้พิการเพิ่มขึ้น
การปรับโครงสร้างพื้นฐานที่เอต่อการดำรงชีวิตของผู้พิการและผู้สูงอายุ เช่น ทางราบ ทางลาด ลิฟท์ เป็นต้น
ประเด็นสิ่งแวดล้อม (ประเด็นตั้งต้น คือ การจัดการน้ำทั้งระบบ, การจัดการขยะ, การจัดการทรัพยากรทางทะเล (การกัดเซาะชายฝั่ง, ลุ่มน้ำทะเลสาบ) การจัดการป่าไม้, ภูเขาและผังเมือง
ด้านการจัดการขยะ 1. สร้างระบบกลไกที่ปรึกษาด้านการจัดการขยะให้กับท้องถิ่น โดยมีสถาบันการศึกษาและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเป็นผู้ให้คำปรึกษา เพื่อแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฎิบัติ
มีพื้นที่/เวที เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ และข้อมูลต่างๆ ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- มีนโยบาย/มาตรการในท้องถิ่น ในการทำ 3R (คัดแยก การทำธนาคารขยะ/กองทุนขยะ และการปฏิเสธการใช้โฟม
ด้านการจัดการน้ำ ปัญหาน้ำแล้งให้ชุมชนและท้องถิ่นมีการทำฝายมีชีวิต แก้ปัญหาน้ำแล้งบริเวณที่เป็นเขา ( มีโครงการนำร่องที่คลองหลา ใช้งบประมาณ 20,000-50,000 บาท)
การจัดการน้ำสู่การทำนา (จากงานวิจัยคลองจำไหล)
การอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำหรือป่าพรุ (wetland)
การอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ
การจัดการน้ำเสีย
ระบบน้ำประปา
การมีกลไก/สร้างกติกา
- มีนโยบาย/มาตรการในท้องถิ่น ในการทำ 3R (คัดแยก การทำธนาคารขยะ/กองทุนขยะ และการปฏิเสธการใช้โฟม
การจัดการผังเมือง 1. การจัดการผังเมือง โซนนิ่ง (ผังเมืองรวมจังหวัดสงขลา) ให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด (ผังเมือง รวมเมือง 16 ตำบล 5 อำเภอ) โดยให้ชุมชนรับรู้/และท้องถิ่นนำไปปฎิบัติอย่างเคร่งครัด
ประเด็นเศรษฐกิจ(ประเด็นตั้งต้น การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ด้านการเกษตร อาหาร และการท่องเที่ยวชุมชนโดยเพิ่มมูลค่าในเชิงปริมาณ และคุณภาพ โดยการทำ Matching Model ระหว่างภาคเอกชน ชุมชน และวิชาการ, ยกระดับผลผลิต OTOP โดยเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหรือการท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชน)
การส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนมีการทำการเกษตรผสมผสาน เศรษฐกิจพอเพียง เช่น การแบ่งพื้นที่จัดการเกษตร สวนยาง สวนปาล์ม เลี้ยงสัตว์ และที่อยู่อาศัย
สนับสนุนให้มีตลาดสีเขียวที่จำหน่ายผลผลิตที่ปลอดสารเคมี
มีมาตรการเข้มงวดในการควบคุม ดูแลเกษตรกรที่ใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ส่งเสริมให้โรงพยาบาล โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บริโภคผลผลิตจากเกษตรกรที่ปลูกในชุมชน
ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
การแปรรูป และการเพิ่มมูลค่าผลผลิต และให้เน้นคุณค่าด้านโภชนาการ
การวิเคราะห์ความต้องการด้านตลาดเพื่อให้เกษตรกรผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการ
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
- หน่วยงานราชการ
- ภาคเอกชน -ภาคประชาสังคม
-
-
-
ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดการสร้างสุขภาคใต้ ปี 2559 และการเตรียมประเด็นห้องย่อยความมั่นคงทางอาหาร
ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดการสร้างสุขภาคใต้ ปี 2559 และการเตรียมประเด็นห้องย่อยความมั่นคงทางอาหาร
คณะทำงานโครงการฯ ได้หารือรายละเอียดการเตรียมข้อมูลห้องย่อยความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งเป็นประเด็นหนึ่งในงานสร้างสุขภาคใต้ ปี 2559 วันที่ 4 ตุลาคม 2559 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
การนำเสนอประเด็นความมั่นคงทางอาหารในห้องย่อยใช้เรื่องยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง และตำบลบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการตำบลควนรู เป็นกรณีศึกษาให้กับผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนความรู้
เอกสารเรื่องเล่าเร้าพลัง โดยนำกรณีเรื่อง ตลาดเกษตร ม.อ., พืชร่วมยาง และการทำเกษตร 1 ไร่ 1 แสน
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมในห้องย่อย จำนวน 120 คน ประกอบด้วย อปท. หน่วยงานรัฐ เครือข่ายชาวนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา-เทพา ลุ่มน้ำปากพนัง หอการค้า สมาคมผู้ค้าข้าวจังหวัดพัทลุง กรมการข้าว และผู้ประกอบการตลาดเกษตร ม.อ.
งบประมาณในการจัดการข้อมูลของกรณียุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง จำนวน 25,000 บาท ตำบลบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการตำบลควนรู จำนวน 25,000 บาท และงบประมาณในการจัดการห้องย่อยในวันที่ 4 ตุลาคม 2559 จำนวน 10,000 บาท
การจัดบูธนิทรรศการ สนับสนุนให้พื้นที่ละ 3,000 บาท
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
-องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู
-มหาวิทยาลัยทักษิณ
-คณะอนุกรรมการข้าวพัทลุง
-
-
-
ทบทวนโครงการจากแต่ละแผน และเสนอโครงการ
ทบทวนโครงการจากแต่ละแผน และเสนอโครงการ
วาระ ทบทวนโครงการจากแต่ละแผน และเสนอโครงการที่จะให้มีการดำเนินการในยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาและเศรษฐกิจ
ประเด็นการศึกษา
โครงการที่เสนอ
รู้รอดปลอดภัย : ให้ความรู้ และปลูกจิตสำนึกเรื่องกฎจราจรในโรงเรียนทุกโรงเรียนของจังหวัดสงขลา และผลักดันเป็นหลักสูตรท้องถิ่นพร้อมทั้งมีการจัดสอบให้ได้ใบรับรอง (certificate) โดยแบ่งเป็นระดับประถม มัธยมศึกษา เช่น มีระดับ 1-6 เมื่อนักเรียนมีอายุครบ 15 ปี สามารถนำใบรับรองไปสอบภาคปฏิบัติเพื่อขอรับใบขับขี่โดยไม่ต้องสอบภาคทฤษฎีอีก
เก่งใช้ภาษาและเทคโนโลยี : เปิดสอนภาษาจีนหรือภาษาอื่นๆ สำหรับบุคคลทั่วไป โดยให้หน่วยงานที่มีความพร้อมของบประมาณจากจังหวัดเพื่อจัดการเรียนการสอน ซึ่งต้องเป็นหลักสูตรที่เน้นให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารในชีวิตประจำวันได้จริง และมีการมอบใบรับรอง (certificate) ที่ออกโดยองค์กรที่เป็นที่ยอมรับให้กับผู้ที่เข้าเรียน
ปัญญาประเทือง : พัฒนาศูนย์เรียนรู้ หรือสร้างห้องเรียนแบบ delivery ใช้เป็นสื่อในการให้ความรู้แก่ชาวบ้านที่ยากแก่การเข้าถึงข่าวสารข้อมูลที่เป็นประโยชน์, มี open classroom ที่เข้าถึงง่าย เน้นให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ทุกคนสามารถเข้ามาเรียนได้ เมื่อต้องการความรู้ในเรื่องต่างๆ
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
- ผศ.ดร. ศักดิ์ชัย ปรีชาวีรกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ./โรงเรียนศรีนครมูลนิธิ
- นายชิต สง่ากุลพงศ์ มูลนิธิชุมชนสงขลา
- อาจารย์วิวัฒน์ สุทธิวิภากร ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ.
- อาจารย์ปราโมทย์ จูฑาพร ข้าราชการเกษียณ
- นางสาววรรณา สุวรรณชาตรี สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.อ.
- นางสาวสิริมนต์ ชีวะอิสระกุล สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.อ.
- นางสาวพีรยา จินดามณี สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.อ.
-
-
-
กำหนดเป้าประสงค์ยุทธศาสตร์
Grouping ยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจและด้านการศึกษา
- ยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ กำหนดประเด็นตั้งต้นในการอภิปราย เปิดเวทีให้ key stakeholders แสดงความคิดเห็น คือ
- การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ด้านการเกษตร อาหาร และการท่องเที่ยวชุมชนโดยเพิ่มมูลค่าในเชิงปริมาณ และคุณภาพ โดยการทำ Matching Model ระหว่างภาคเอกชน ชุมชน และวิชาการ,
- ยกระดับผลผลิต OTOP โดยเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหรือการท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชน
- ยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา มีประเด็นตั้งต้นในการอภิปราย เปิดเวทีให้ key stakeholders แสดงความคิดเห็น คือ
- คุณภาพการศึกษา เน้นให้คนสงขลามีความรู้ และมีคุณธรรม
- ยกระดับการศึกษาของจังหวัดสงขลา เพื่อพัฒนาเมืองสงขลา
- ยกระดับงานวิจัย หรือนวัตกรรม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมด้านการเกษตร เป็นต้น
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
-
-
กำหนดเป้าประสงค์ยุทธศาสตร์
รวบรวมยุทธศาสตร์ ทบทวน Grouping ประเด็นสำคัญ
กำหนดเป้าประสงค์ยุทธศาสตร์
ด้านสังคม
การเพิ่มขีดความสามารถ / ศักยภาพของคนสงขลา
การสร้างชุมชนเข้มแข็ง
ด้านสุขภาพ
การเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพของภาคใต้
การเป็นศูนย์กลางอาหาร เน้นความมั่นคงทางอาหารและวัฒนธรรมอาหาร
สิ่งแวดล้อม
การจัดการน้ำ
การจัดการขยะ
การจัดการ
การกำหนดกลุ่มเป้าหมายการทำแผน /โครงการทั้ง 3 ยุทธศาสตร์รวมหน่วยงาน ทั้งหมด 51 หน่วยงานประกอบด้วยหน่วยงานรัฐ อปท. มหาวิทยาลัย และเอกชน
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
- ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.อ.
- ดร.สมพร สิริโปราณานนท์ หอการค้าจังหวัดสงขลา
- คุณชิต สง่ากุลพงศ์ มูลนิธิชุมชนสงขลา
- คุณวรพจน์ ศิวิโรจน์ กองวิชาการและแผนงาน เทศบาลนครหาดใหญ่
- คุณธันยนันท์ ทันหะวาสวริศรา นักวิเคราะห์แผน เทศบาลนครหาดใหญ่
- คุณสิษฏ์ปัญญ์ ทวีรัตน์ เทศบาลนครหาดใหญ่
- คุณปราโมทย์ จูฑาพร ข้าราชการเกษียณ
- คุณกิตติเทพ ถาวรสุข ภาคเอกชน
- คุณวรรณา สุวรรณชาตรี สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.อ.
- คุณสิริมนต์ ชีวะอิสระกุล สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.อ.
- คุณพีรยา จินดามณี สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.อ.
-
-
-
เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ในการทบทวนแผนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา
แบ่งความรับผิดชอบในการดำเนินการรวมรวบข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการจัดทำยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา
ผลการประชุม คณะทำงานวิเคราะห์เอกสารทางวิชาการฯ ได้สรุปวิสัยทัศน์จังหวัดสงขลา “สงขลาเมืองแห่งการเรียนรู้ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สังคมเป็นสุขและสิ่งแวดล้อมยั่งยืน” และได้แบ่งยุทธศาสตร์ออกเป็น 5 ประเด็น คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษาและด้านสิ่งแวดล้อม และมอบหมายให้คณะทำงานฯ รับผิดชอบการทบทวนเอกสาร 1) ด้านเศรษฐกิจ : รับผิดชอบโดยทีมหอการค้า/มูลนิธิชุมชนสงขลา/ภาคเอกชน 2) ด้านการศึกษา : อ.ศักดิ์ชัย/อ.วิวัฒน์/อ.ปราโมทย์ 3) ด้านสังคม : สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.อ. 4) ด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อม : สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.อ. 5) ด้านสุขภาพ : สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.อ.
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
นักวิชาการจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ กองแผนงานมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้แทนจากหอการค้าจังหวัดสงขลา ผู้แทนมูลนืธิสงขลา ผู้จัดการโรงเรียนศรีนครหาดใหญ่มูลนิธิ
-
-
-
เพื่อระดมความคิดเห็นการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการ
การรวมรวมเอกสารแผนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา ปี 2560 วิสัยทัศน์จังหวัดสงขลา
แผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา แผนยุทธศาสตร์ อบจ.
และแผนยุทธศาสตร์เทศบาลนครหาดใหญ่ มาทบทวนประกอบเป็นแผนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา
จังหวัดสงขลาได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานวิเคราะห์เอกสารทางวิชาการที่ได้รวบรวมแนวทางการพัฒนาจังหวัดสงขลาเพื่อจัดทำแผนงาน โครงการ ( 2560-2561) โดยมีคณะทำงานวิเคราะห์เอกสารทางวิชาการ ประกอบด้วย สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ นักวิชาการคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้บริหารโรงเรียนศรีนคร ผู้บริหารเทศบาลนครหาดใหญ่ หอการค้าจังหวัดสงขลา ผู้บริหารมูลนิธิชุมชนสงขลา และกองแผนงานมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกันจัดทำโครงการทบทวน วิเคราะห์และจัดทำแผนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา โดยนำประเด็นแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารเป็นวาระหนึ่งที่บรรจุในแผนปฏิบัติการของจังหวัดสงขลา เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบความมั่นคงอาหาร ซึ่งที่ประชุมได้วางเป้าหมายการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ วิสัยทัศน์จังหวัดสงขลา วาระสงขลาเฉลิมพระเกียรติ ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาจังหวัด แผนทรัพยากรมนุษย์ 15 ภาคีคนรักสงขลา แผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลาปี 2558 – 2562 แผนจัดการการท่องเที่ยว ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาจังหวัดสงขลา ผลการศึกษาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา และแผนพัฒนาเทศบาลนครหาดใหญ่
ซึ่งที่ประชุมได้จัดกลุ่มยุทธศาสตร์ตามประเด็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ด้านสังคม และด้านสุขภาพ
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
นักวิชาการจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้แทนหอการค้าจังหวัดสงขลา ผู้แทนมูลนิธิชุมชนสงขลา ผู้บริหารโรงเรียนศรีนครหาดใหญ่มูลนิธิ ผู้แทนจากเทศบาลนครหาดใหญ่
-
-
-
เพื่อระดมความคิดเห็นการพัฒนาโครงการยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง
- ชี้แจงวัตถุประสงค์การดำเนินโครงการศูนย์ประสานวิชาการสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้
- ชี้แจงเป้าหมายการพัฒนาโครงการยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง และแนวทางการสนับสนุนทุนให้โครงการ
เกิดเครือข่ายนักวิชาการมาร่วมดำเนินโครงการผลักดันยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง โดยให้มหาวิทยาลัยทักษิณเป็นแกนนำในการดำเนินโครงการ
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
นักวิชาการมหาวิทยาลัยทักษิณ ภาคประชาสังคมจังหวัดพัทลุง แกนนำชาวนา กลุ่มวิสาหกิจชาวนา เครือข่ายชาวนา
-
-
-