สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

แผนงานบริหารจัดการ โครงการระบบอาหารในสถานศึกษา

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)


“ แผนงานบริหารจัดการ โครงการระบบอาหารในสถานศึกษา ”

จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ

ชื่อโครงการ แผนงานบริหารจัดการ โครงการระบบอาหารในสถานศึกษา

ที่อยู่ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 สิงหาคม 2562


กิตติกรรมประกาศ

"แผนงานบริหารจัดการ โครงการระบบอาหารในสถานศึกษา จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
แผนงานบริหารจัดการ โครงการระบบอาหารในสถานศึกษา



บทคัดย่อ

โครงการ " แผนงานบริหารจัดการ โครงการระบบอาหารในสถานศึกษา " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2561 - 30 สิงหาคม 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 0.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

องค์การสหประชาติ (United Nations) ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ไว้จำนวน 17 ประเด็น ซึ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการคือ การยุติความหิวโหยและสร้างหลักประกันให้ทุกคน โดยเฉพาะคนจนหรือคนที่อยู่ในภาวะเปราะบางได้เข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย เพียงพอ ยุติภาวะทุพโภชนาการทุกรูปแบบ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาความต้องการสารอาหารของหญิงวัยรุ่น หญิง ตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และผู้สูงอายุ เพื่อดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายดังกล่าวประเทศไทย ได้จัดทำกรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2561 - 2579) ซึ่งเชื่อมโยงการดำเนินงานทุกมิติที่เกี่ยวข้องกับอาหารจากภาคการเกษตร การแปรรูป การบริการ สู่โภชนาการสุขภาพของผู้บริโภคตลอดจนถึงวัฒนธรรมการท่องเที่ยวและการค้า โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักคิดพื้นฐาน หวังให้ประเทศไทยมีความมั่นคงทางด้านอาหารและโภชนาการเป็นแหล่งอาหารที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการ กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทยที่จัดทำขึ้น มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ด้านอาหารในปัจจุบัน และได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นหลักคิดพื้นฐาน และมีการนำความรู้และปัญญามาสู่การปฏิบัติที่มีคุณธรรมและจริยธรรม พร้อมทั้งคำนึงถึงการปฏิรูปและพัฒนาด้านต่างๆ โดยให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2579) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 และนโยบายการปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0 ซึ่งกรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารฉบับดังกล่าว มุ่งสู่วิสัยทัศน์ที่ว่า “ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ เป็นแหล่งอาหารที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อชาวไทยและชาวโลกอย่างยั่งยืน” ประกอบด้วยยุทธศาสตร์หลัก 4 ด้าน ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความมั่นคงอาหาร ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านอาหารศึกษา และยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการบริหารจัดการ กรอบยุทธศาสตร์ฉบับนี้มีความมุ่งหมายเพื่อให้เป็นกรอบสำหรับหน่วยงานต่าง ๆ นำไปเป็นแนวทางในการวางแผนการปฏิบัติงานด้านอาหารในส่วนที่รับผิดชอบตามอำนาจหน้าที่และให้ความสำคัญกับการบูรณาการ การดำเนินงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับประเทศ มุ่งสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน”

สรุปสาระสำคัญ

ประเทศไทยมีการจัดโครงการอาหารกลางวันสำหรับเด็กนักเรียนประถมศึกษา ทุกสังกัดตั้งแต่ พ.ศ. 2495 ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และเด็กขาดอาหาร แต่อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานทางวิชาการพบว่า การจัดการระบบอาหารในโรงเรียนส่วนใหญ่ยังมีข้อจำกัดในการแก้ปัญหาทุพโภชนาการ ทั้งด้านภาวะน้ำหนักเกิน โรคอ้วน และด้านขาด สารอาหาร รวมถึงในด้านคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหาร จากการติดตามผลการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันโดยกรมอนามัย ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักบริหารงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) และกรุงเทพมหานคร (กทม.) จำนวนทั้งสิ้น 126 โรงเรียน พบว่าอาหารกลางวันมีปริมาณพลังงานและสารอาหาร (เช่น แคลเซียม เหล็ก และวิตามินเอ) อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐาน ต้องได้รับการปรับปรุง ขณะที่ด้านความปลอดภัยของอาหารในโรงเรียน จากข้อมูลสำนักระบาดวิทยาพบเหตุการณ์ อาหารเป็นพิษระหว่างปีพ.ศ. 2550-2554 จำนวนทั้งหมด 375 เหตุการณ์ และจากการ สำรวจการบริโภคขนมและเครื่องดื่มของเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กประถมศึกษาของ สำนักทันตสาธารณสุข โดยเก็บข้อมูลจากขยะบรรจุภัณฑ์ของขนมที่ เด็กบริโภคและจากร้านค้าใน และรอบโรงเรียน เพื่อประเมินการบริโภคน้ำตาลในเด็ก พบว่า เด็กไทยมีความเสี่ยงต่อการได้รับน้ำตาลล้นเกินจากขนม และเครื่องดื่ม โดยเฉพาะ อย่างยิ่งน้ำอัดลมซึ่งน้ำตาลทั้งหมดนี้เป็นน้ำตาลส่วนเกินที่มีสารคาร์บอเนตซึ่งทำให้มี ฤทธิ์เป็นกรดและส่งผลเสียต่อสุขภาพเด็ก

ผลกระทบต่อสุขภาพจากปัญหาด้านโภชนาการ และการได้รับโภชนาการที่ไม่เหมาะสม จะส่งผลให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร เด็กเตี้ย ผอม ซีด มีปัญหาโรคอ้วน โรคเรื้อรัง และทำให้เด็กมีไอคิวต่ำ ซึ่งกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้สำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญา (ไอคิว) และระดับความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว) ประจำปี 2559 ในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั่วประเทศ จำนวน 23,644 คน พบว่ามีคะแนนไอคิวเฉลี่ยอยู่ที่ 98.2 แม้จะเพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่คะแนนไอคิวอยู่ที่ 94 แต่ก็ถือว่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานสากล ซึ่งกำหนดไว้ที่ 100 ในภาพรวมพบว่าเด็กที่มีไอคิวสูงเกิน 100 จุดขึ้นไปนั้นมีอยู่ 42 จังหวัด ซึ่งเด็กในเขตอำเภอเมืองมีไอคิว 101.5 นอกเขตอำเภอเมืองไอคิวเฉลี่ย 96.9 เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีไอคิวเฉลี่ย 103.4 ส่วนเด็กนักเรียนในอีก 35 จังหวัด ที่ไอคิวอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และเด็กที่มีระดับสติปัญญาบกพร่องหรือต่ำกว่า 70 ร้อยละ 5.8 ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานสากลกำหนดว่าไม่เกินร้อยละ 2 ส่วนมากเห็นเด็กที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ในภาคใต้มีจังหวัดกระบี่ ที่ระดับไอคิว เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพราะมีการทำเป็นนโยบายระดับจังหวัดในการดูแลแม่และเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และส่งเสริมพัฒนาศักยภาพศูนย์เด็กเล็ก (ที่มา มติชนออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2559) สำหรับผลการสำรวจอีคิวของเด็กโดยรวมระดับประเทศพบว่า มีปัญหาการขาดความมุ่งมั่นพยายาม และขาดทักษะในการแก้ปัญหา

สำหรับสถานการณ์ด้านอาหารของจังหวัดสงขลา ประเด็นภาวะโภชนาการของจังหวัดสงขลา ปี 2559 พบว่า พบว่า เด็กแรกเกิด – ต่ำ 6 เดือน กินนมแม่เพียงอย่างเดียวร้อยละ 66.32 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ร้อยละ 68.89 ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ พบร้อยละ 32.18 เด็กอายุ 0-5 ปี สูงดี สมส่วน และส่วนสูงเฉลี่ยที่อายุ 5 ปี กลุ่มเป้าหมาย 312,187 คน ผ่านเกณฑ์จำนวน 143,682 คน คิดเป็นร้อยละ 46.02 เด็กปฐมวัยมีภาวะเตี้ยร้อยละ 13. เด็กปฐมวัยมีภาวะอ้วน ร้อยละ 3.36 เด็กวัยเรียน มีร่างกายสมส่วน ร้อยละ 62.09 ผอม ร้อยละ 5.01 เริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ 9.44 และเตี้ย ร้อยละ 8.42 (ฐานข้อมูล HDC สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา)

สำหรับประเด็นด้านอาหารปลอดภัยของจังหวัดสงขลา พบอัตราการปนเปื้อนสารเคมี สิ่งแปลกปลอมในอาหารแต่ละประเภทเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลของสำนักงานจังหวัดสงขลาพบสารเคมีตกค้างในพืชผัก ผลิตผลทางการเกษตร โดยเฉพาะยาฆ่าแมลงที่มีการตกค้างในกระเทียม ผักกวางตุ้ง กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี กุยช่าย คื่นช่าย คะน้า ดอกหอม บร๊อคโคลี่ ผักกาดขาว สำหรับสารปนเปื้อนในอาหารพบสารบอแร็กในหมี่เหลือง สารฟอร์มาลีน ในปลาหมึก สีสังเคราะห์ในกุ้งแห้ง สารอะฟลาท็อกซินในชาเขียวและถั่วลิสง สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำของกล้วยทอด ไก่ทอด ลูกชิ้น ไส้กรอก และหมูทอด (ที่มาแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลาปีพ.ศ.2558-2562) ส่งผลต่อมาตรฐาน คุณภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค และ ปีพ.ศ. 2559 จากการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา พบว่าโรคอุจาระร่วงเป็นปัญหาสำคัญอันดับ 1 ของจังหวัดสงขลา (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา, 2559)

ที่ผ่านมาได้มีการดำเนินเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยสถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินงานตามโครงการ เด็กไทยแก้มใส การดำเนินงานโครงการบูรณาการระบบอาหารในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โครงการจัดทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารของจังหวัดสงขลา เป็นต้น ผลการการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าวข้างต้น นอกจากเป็นการเพิ่มแนวทางให้โรงเรียนสามารถจัดหาอาหารที่มีคุณภาพโดยไม่ต้องรองบประมาณจากภาครัฐเพียงอย่างเดียวแล้ว ยังช่วยส่งเสริมให้เด็กไทยมีภาวะโภชนาการและสุขภาพ ตลอดจนคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ทำให้เด็กนักเรียนเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพ สถานการณ์ปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็กนักเรียนดีขึ้น จึงเห็นควรขยายผลการดำเนินงานดังกล่าวให้เต็มพื้นที่ของจังหวัดสงขลา

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการพื้นที่ผลิตอาหาร ทั้งด้านการเกษตร ปศุสัตว์ ประมง และการเข้าถึงอาหารของเด็กนักเรียน ในโรงเรียนในจังหวัดสงขลา
  2. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการภาวะโภชนาการที่ดีแก่เด็กนักเรียนในโรงเรียน
  3. เพื่อพัฒนาโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการอาหาร โภชนาการ และสุขภาพโรงเรียนอย่างครบวงจร
  4. เพื่อลดปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียน ทั้งปัญหาเด็กอ้วน เตี้ย ผอม

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมพัฒนาศักยภาพการจัดทำแผนการจัดการระบบอาหารในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 80 โรง เรียน ๆ ละ 5 คน รวม 400 คน
  2. สนับสนุนให้โรงเรียน ดำเนินงานตามแผนที่กำหนด (ดำเนินโครงการเกษตรในโรงเรียน)
  3. พัฒนาระบบการประเมินผลแบบออนไลน์ (บนเวปไซต์)
  4. การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโตในเด็กนักเรียน โดยการจัดอบรมให้ความรู้ ให้กับครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 80 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน รวม 160 คน จำนวน 1 ครั้ง
  5. อบรมครูอนามัยโรงเรียน แม่ครัว เรื่องการจัดบริการอาหารกลางวันให้ถูกหลักโภชนาการ จำนวน 80 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน รวม 160 คน จำนวน 2 ครั้ง
  6. พัฒนาศักยภาพครูที่รับผิดชอบโครงการเรื่องการบันทึกข้อมูลในระบบการติดตามประเมินผลแบบออนไลน์ (เวปไชต์)
  7. ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่ผู้บริหารโรงเรียน ครูอนามัยโรงเรียน ๆ ละ 2 คน จำนวน 80 โรงเรียน รวม 160 คน
  8. ประชุมครูผู้รับผิดชอบโครงการฯ เพื่อรับฟังความเห็น และสังเคราะห์บทเรียนการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาเป็นองค์ความรู้ จำนวน 1 ครั้ง 80 คน
  9. โรงเรียนมีนโยบายใช้ผลผลิตจากพื้นที่ผลิตอาหารทั้งเกษตร ปศุสัตว์ และประมงเป็นวัตถุดิบอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียน ใช้การประชุมระดมความคิดเห็นกับเกษตรตำบล พัฒนาชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแกนนำเกษตร เพื่อค้นหาแหล่งผลผิตอาหารในชุมชน โดยโรงเรี
  10. ประชุมกลุ่มย่อย (Focus group)เพื่อถอดบทเรียน การดำเนินงานของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 5 ครั้ง (ครั้งละ 16 คน )
  11. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงานของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 80 โรงเรียน ๆ ละ 1 คน รวม 80 คน
  12. สรุปผลโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต

โรงเรียนมีการจัดการระบบอาหารในโรงเรียนทั้งในเรื่อง ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย โดยการบูรณาการทั้งด้านการเกษตร ปศุสัตว์ หรือประมง มีการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินงาน เกิดเครือข่ายความร่วมมือการดำเนินงานแก้ปัญหาระหว่างโรงเรียน และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โรงเรียนมีกระบวนกระบวนจัดหา เตรียมอาหารกลางวันที่ถูกหลักสุขาภิบาล

ผลลัพธ์

  1. โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทุกแห่ง มีพื้นที่ผลิตอาหารทั้งทางด้านการเกษตร ปศุสัตว์ หรือประมง โดยการมีส่วนร่วมของนักเรียน ชุมชน และเครือข่ายด้านอาหารในชุมชน
  2. โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทุกแห่งมีการนำผลผลิตทางการเกษตร ปศุสัตว์ และประมง ไปใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อจัดทำอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียน
  3. โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทุกแห่งมีการจัดรายการอาหารหมุนเวียน อย่างน้อย 1 เดือน ตามโภชนาการที่สอดคล้องกับภาวะสุขภาพและผลผลิตทางการเกษตรในโรงเรียนหรือชุมชน โดยใช้ โปรแกรม Thai School Lunch
  4. โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทุกแห่ง มีกระบวนการเตรียมปรุงอาหารให้กับเด็กนักเรียนที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหารและหลักโภชนาการ
  5. โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทุกแห่งมีระบบการเฝ้าระวังการเจริญเติบโตของนักเรียนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากผู้ปกครองและหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่
  6. เกิดโรงเรียนต้นแบบและศูนย์การเรียนรู้เรื่องการจัดการระบบอาหารในโรงเรียน ของจังหวัดสงขลา
  7. เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียนที่ดำเนินงานระบบอาหารด้วยกัน หรือมีความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ เช่นหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของจังหวัดสงขลา
  8. บุคลากรของโรงเรียนที่รับผิดชอบโครงการ สามารถจัดการระบบอาหารในโรงเรียนได้อย่างครบวงจร ทำให้เด็กนักเรียน เข้าถึงอาหารที่คุณภาพ ได้รับสารอาหารครบถ้วน ปลอดภัย

ผลกระทบ

เชิงบวก ภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด จำนวนเด็กที่มีภาวะอ้วน เด็กผอม และเด็กเตี้ยลดลง เด็กมีภาวะโภชนาการที่สมวัย ภาวะซีดลดลง ส่งผลต่อไอคิวของเด็กเพิ่มขึ้น และ อัตราอุบัติการณ์ของโรคที่เกิดจากความไม่ปลอดภัยในอาหาร เช่นโรคอุจจาระร่วง ในกลุ่มเด็กลดลง


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการพื้นที่ผลิตอาหาร ทั้งด้านการเกษตร ปศุสัตว์ ประมง และการเข้าถึงอาหารของเด็กนักเรียน ในโรงเรียนในจังหวัดสงขลา
ตัวชี้วัด : เกิดการจัดการระบบอาหารกลางวันในโรงเรียนตั้งแต่กระบวนการผลิต กระบวนการปรุงอาหาร และการบริโภคที่ปลอดภัย โดยใช้เป็นวัตถุดิบอาหารที่เกิดจากการทำโครงการเกษตรโนโรงเรียน
0.00

 

2 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการภาวะโภชนาการที่ดีแก่เด็กนักเรียนในโรงเรียน
ตัวชี้วัด : ครูผู้รับผิดชอบการกำหนดเมนูอาหารกลางวันในโรงเรียนใช้โปรแกรม Thai School Lunch ออกเมนูอาหารกลางวันหมุนเวียนทั้งรายสัปดาห์และรายเดือน โดยเมนูอาหารกลางวันเชื่อมโยงกับโครงการเกษตรในโรงเรียน
0.00

 

3 เพื่อพัฒนาโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการอาหาร โภชนาการ และสุขภาพโรงเรียนอย่างครบวงจร
ตัวชี้วัด : มีการติดตาม เฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียน และโรงเรียนสามารถสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมแก้ปัญหาภาวะโภชนาการร่วมกับผู้ปกครอง และหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่
0.00

 

4 เพื่อลดปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียน ทั้งปัญหาเด็กอ้วน เตี้ย ผอม
ตัวชี้วัด : เกิดแผนงาน โครงการ กิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการระบบอาหารในโรงเรียนโดยการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการพื้นที่ผลิตอาหาร ทั้งด้านการเกษตร ปศุสัตว์ ประมง และการเข้าถึงอาหารของเด็กนักเรียน ในโรงเรียนในจังหวัดสงขลา (2) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการภาวะโภชนาการที่ดีแก่เด็กนักเรียนในโรงเรียน (3) เพื่อพัฒนาโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการอาหาร โภชนาการ และสุขภาพโรงเรียนอย่างครบวงจร (4) เพื่อลดปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียน ทั้งปัญหาเด็กอ้วน เตี้ย ผอม

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมพัฒนาศักยภาพการจัดทำแผนการจัดการระบบอาหารในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 80  โรง เรียน ๆ ละ 5 คน รวม 400 คน (2) สนับสนุนให้โรงเรียน ดำเนินงานตามแผนที่กำหนด (ดำเนินโครงการเกษตรในโรงเรียน) (3) พัฒนาระบบการประเมินผลแบบออนไลน์ (บนเวปไซต์) (4) การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโตในเด็กนักเรียน โดยการจัดอบรมให้ความรู้ ให้กับครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 80 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน รวม 160 คน จำนวน 1 ครั้ง (5) อบรมครูอนามัยโรงเรียน แม่ครัว เรื่องการจัดบริการอาหารกลางวันให้ถูกหลักโภชนาการ จำนวน 80 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน รวม 160 คน จำนวน 2 ครั้ง (6) พัฒนาศักยภาพครูที่รับผิดชอบโครงการเรื่องการบันทึกข้อมูลในระบบการติดตามประเมินผลแบบออนไลน์ (เวปไชต์) (7) ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่ผู้บริหารโรงเรียน ครูอนามัยโรงเรียน ๆ ละ 2 คน  จำนวน 80 โรงเรียน รวม 160 คน (8) ประชุมครูผู้รับผิดชอบโครงการฯ เพื่อรับฟังความเห็น และสังเคราะห์บทเรียนการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาเป็นองค์ความรู้ จำนวน 1 ครั้ง 80 คน (9) โรงเรียนมีนโยบายใช้ผลผลิตจากพื้นที่ผลิตอาหารทั้งเกษตร ปศุสัตว์ และประมงเป็นวัตถุดิบอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียน ใช้การประชุมระดมความคิดเห็นกับเกษตรตำบล พัฒนาชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแกนนำเกษตร เพื่อค้นหาแหล่งผลผิตอาหารในชุมชน โดยโรงเรี (10) ประชุมกลุ่มย่อย (Focus group)เพื่อถอดบทเรียน การดำเนินงานของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 5 ครั้ง (ครั้งละ 16 คน ) (11) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงานของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 80 โรงเรียน ๆ ละ 1 คน รวม 80 คน (12) สรุปผลโครงการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


แผนงานบริหารจัดการ โครงการระบบอาหารในสถานศึกษา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด