สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ปี2

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ปี2
ภายใต้โครงการ แผนงาน สนส.
ภายใต้องค์กร สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ 1 กันยายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2561 - 31 มีนาคม 2563
แหล่งทุน
ไม่ระบุ
งบประมาณ 0.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. พื้นที่เป้าหมาย
จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
place directions
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2561 31 ก.ค. 2562 0.00
2 1 ส.ค. 2562 29 ก.พ. 2563 0.00
รวมงบประมาณ 0.00
stars
4. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพมีบทบาทในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมกิจกรรมทางกายทั้งในระดับชาติ และระดับสากลในระดับชาติได้พัฒนายุทธศาสตร์กิจกรรมทางกายแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2559 – 2563) ภายใต้ความร่วมมือขององค์กรภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และองค์กรชุมชน อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาปนิกผังเมือง และชุมชนต่าง ๆ เพื่อเป็นกลไกผลักดันพื้นที่สุขภาวะในระดับนโยบายสาธารณะ นำสู่การปฏิบัติ และขยายผล โดยหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งร่วมผลักดันนโยบายสาธารณะ “การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น” จนมีมติรับรองในสมัชชาชาติครั้งที่ 10 วันที่ 20 ธันวาคม 2560

ในระดับสากล สสส.ร่วมลงนามในกฎบัตรโตรอนโตปี พ.ศ.2553 และได้รับเลือกจาก International Society for Physical Activity and Public Health (ISPAH) ให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติด้านการมีกิจกรรมทางกาย “ISPAH 2016” ผลจากการประชุมทำให้ได้ข้อตกลงร่วมกันของนานาชาติประกาศเป็น Bangkok Declaration on Physical Activity ในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยข้อเสนอกิจกรรมทางกายจะถูกผลักดันเข้าสู่เวทีสมัชชาสุขภาพระดับโลก (World Health Assembly) ครั้งที่ 70 ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2560 เพื่อยกระดับของกิจกรรมทางกายให้เป็นวาระหลักในระดับองค์การอนามัยโลกต่อไป

ผลสำรวจการมีกิจกรรมทางกายระดับประเทศของประเทศไทย ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สสส. และกระทรวงสาธารณสุข พบว่า โดยภาพรวมคนไทยมีกิจกรรมทางกายเพียงพอเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปี 2555 2556 2557 และ 2558 คิดเป็นร้อยละ 66.3 ร้อยละ 68.1 ร้อยละ 68.3 และร้อยละ 71.7 ตามลำดับ และลดลงในปี 2559 เหลือ ร้อยละ 70.9 ซึ่งตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมาอัตราการมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6 โดยกลุ่มเด็กมีอัตราการมีกิจกรรมทางกายลดลง ขณะที่กลุ่มอื่นมีอัตราการมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอไม่แตกต่างกับประชากรเขตเมืองมากนัก (ร้อยละ 72.6 และ 71.0 ตามลำดับ)

สำหรับอุปสรรคของการมีกิจกรรมทางกายของคนไทยนั้น สาเหตุสำคัญมาจากการมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behaviour) ที่เพิ่มขึ้น โดยข้อมูลจากการสำรวจในปี 2555 พบว่า คนไทยมีพฤติกรรมเนือยนิ่งต่อวันถึง 13.25 ชั่วโมง เพิ่มขึ้นเป็น 13.42 และ 13.54 ในปี 2557 และ 2558 ตามลำดับ โดยพฤติกรรมเนือยนิ่ง 4 อันดับแรกของคนไทยที่ทำติดต่อกันนานกว่า 1ชั่วโมงต่อครั้ง คือ นั่ง/นอนดูโทรทัศน์ (ร้อยละ 50.0) นั่งคุย/นั่งประชุม (ร้อยละ28.4) นั่งทำงาน/นั่งเรียน (ร้อยละ 27.0) และนั่งเล่นเกม โทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ (ร้อยละ 20.1) เมื่อศึกษาในรายละเอียดพบว่า กลุ่มเด็กและกลุ่มวัยรุ่นมีพฤติกรรมอยู่หน้าจอ (Screen time) ในการนั่งดูโทรทัศน์ ใช้คอมพิวเตอร์ เข้าร้านเกม รวมถึงการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาประเภทต่างๆ มากกว่ากลุ่มอื่นๆ โดยเฉลี่ยแล้วใช้เวลาอยู่หน้าจอนานกว่า 1 ชั่วโมงต่อวันและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของสัดส่วนผู้ที่มีภาวะอ้วนและอ้วนลงพุงจากร้อยละ 28.7 ในปี 2547 เป็นร้อยละ 34.7 ในปี 2557 นอกจากนี้ฐานข้อมูลกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในปี 2558 พบเด็กไทยอายุ 5-14 ปี มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนที่ร้อยละ 12.5

องค์การอนามัยโลกให้คำแนะนำเกี่ยวกับกิจกรรมทางกายว่า นอกจากการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันแล้วยังจะต้องดำเนินการควบคู่กับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและพื้นที่เพื่อกิจกรรมดังกล่าวเพื่อให้ผู้คนได้มีกิจกรรมทางกายเป็นวิถีชีวิต ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายจึงนับว่าสำคัญยิ่ง จนทำให้เกิดเป็นแนวทางจากองค์การอนามัยโลกภายใต้ชื่อว่า เมืองน่าอยู่คือเมืองที่กระฉับกระเฉง (Healthy city is an active city) ซึ่งเป็นการสร้างสุขภาพที่ดีด้วยนโยบายเพื่อการยกระดับการมีกิจกรรมทางกาย การพัฒนาพื้นที่กายภาพ รวมไปถึงระบบการขนส่งที่เกื้อหนุนการเคลื่อนไหวร่างกาย (Active transport) อาทิ การเดิน การขี่จักรยาน และการเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะ สิ่งเหล่านี้นอกจากจะทำให้เกิดการประหยัดงบประมาณด้านบริการสุขภาพของเมืองแล้ว ยังส่งผลให้เกิด พื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวที่น่าดึงดูดมากขึ้น สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ ลดความแปลกแยกทางสังคม เกิดเป็นชุมชนเข้มแข็ง และการขยายตัวของเครือข่ายชุมชน

ปี 2560 ที่ผ่านมาแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพมีการดำเนินโครงการพัฒนาข้อเสนอและการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทย ใน 3 เรื่อง ได้แก่ 1) การพัฒนาข้อเสนอและการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทย 2) การพัฒนาศักยภาพโครงการ โดยร่วมพัฒนายุทธศาสตร์และแนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของแผนงานส่งเสริมกิจกรรมทางกายและกลุ่มเครือข่ายที่ได้รับการสนับสนุนจากแผนงานส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และผลักดันให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่มีแผนและสนับสนุนให้มีโครงการที่เกี่ยวข้องกับการมีกิจกรรมทางกาย อาหาร และปัจจัยเสี่ยง และ 3) การวางระบบการพัฒนาโครงการ และติดตามประเมินผลโครงการสำหรับโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่และโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

ผลการดำเนินการ ปีที่ 1 ในทั้ง 3 เรื่อง มีรายละเอียดดังนี้ ผลการดำเนินงานในเรื่องที่ 1 การพัฒนาข้อเสนอและการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทย ในการยกระดับสู่การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้มีการดำเนินการนำประเด็นกิจกรรมทางกายเข้าสู่สมัชชาชาติ สามารถนำวาระ “การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น”เข้าสู่การพิจารณาในสมัชชาชาติครั้งที่ 10 และได้รับการรับรองมติเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2560 ส่งผลต่อการดำเนินงานเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ดังนี้

1.1 เกิดความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายในระดับประเทศผ่านกระบวนการสมัชชา ซึ่งในกระบวนการสมัชชามีกระบวนการดำเนินงานบรรจุประเด็นกิจกรรมทางกายเป็นวาระสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 10 ทำให้เกิดการรับรู้ในคณะกรรมการจัดสมัชชา และคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ 1.2 เกิดเครือข่ายความร่วมมือของคณะทำงานวิชาการ ประกอบด้วยสสส. สช. สปสช. กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ (PARC) มูลนิธิสถาบันการเดินและการจักรยานไทยสมาพันธ์ชมรมวิ่งเพื่อสุขภาพกรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาองค์กรวิชาชีพสถาปนิกและผังเมือง สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดลสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ภาควิชาพลศึกษาและกีฬา คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในคณะทำงานวิชาการที่ร่วมกันจัดทำวาระเพื่อนำเข้าสู่การพิจารณา 1.3 เกิดเครือข่ายในแต่ละ stakeholders ระหว่างการดำเนินการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายทำให้เกิดการขยายเครือข่ายคนทำงาน ประเด็นการเพิ่มกิจกรรมทางกายและมีการทำความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น 1.4 มีการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของเครือข่ายสมัชชาจังหวัด 77 จังหวัด และเครือข่ายสมัชชาสุขภาพฯ ทั้งระดับพื้นที่ (MA) ภาคประชาสังคมและประชาชน (MS) ภาควิชาการและวิชาชีพ (MK) ภาคราชการและการเมือง (MP) ทำให้มีเครือข่ายสุขภาพจำนวนมากกว่า 5,000 คนทั่วประเทศมีความเข้าใจและร่วมกันขับเคลื่อนการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น 1.5 คณะกรรมการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน ได้แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนมติการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นเพื่อให้ข้อเสนอต่างๆ ในมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติถูกนำไปปฏิบัติ ดังนี้

มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ประเด็น
“การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น” องค์กรที่ขับเคลื่อนมติสมัชชา
มติข้อ 1. ขอให้สมาชิกเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัด และภาคีเครือข่ายพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานทางปัญญา ร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ดำเนินการดังนี้ 1. รณรงค์ ส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ จัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้ประชาชนเกิดการรับรู้ เข้าใจ ตระหนักและมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการ กิจกรรมและการจัดพื้นที่เพื่อนำไปสู่การมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น 1.2 ใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพในพื้นที่ เพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะ ยุทธศาสตร์ แผนและโครงการขององค์กรทุกระดับ ในการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น 1.3 เสนอนโยบายการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ต่อคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับเขต (พชข.) เพื่อสนับสนุนให้มีการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง - สมาชิกเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัด
- ภาคีเครือข่ายพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานทางปัญญา
- ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน มติข้อ 2. ขอให้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องของกระทรวงสาธารณสุขกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สถาบันวิชาการ กรุงเทพมหานครและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนองค์กรด้านสื่อดำเนินการ 2.1 สนับสนุนให้เกิดการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก การจัดการความรู้ สร้างนวัตกรรมและการสื่อสาร เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายของประชาชนที่สอดคล้องกับบริบทของสังคม 2.2 พัฒนาฐานข้อมูลและจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อการติดตามการดำเนินงานการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของคนทุกกลุ่มวัย 2.3 สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาความสามารถของคน องค์กร เครือข่าย ชุมชน เพื่อให้มีความรอบรู้ในการดำเนินงาน เพิ่มกิจกรรมทางกายให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล - กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย กรมอื่น ๆ - สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
- กระทรวงศึกษาธิการ
- สำนักงานสถิติแห่งชาติ
- สถาบันวิชาการ
- กรุงเทพมหานคร - องค์กรด้านสื่อ

มติข้อ 3. ขอให้กระทรวงมหาดไทยโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ กระทรวงคมนาคม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับ องค์กรวิชาชีพสถาปนิกและผังเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาสังคม ดังต่อไปนี้ 3.1 วางหลักเกณฑ์หรือปรับปรุงระเบียบในการออกแบบและการใช้พื้นที่ เส้นทางการสัญจรทั้งในเมืองและชุมชน และพื้นที่สาธารณะ ที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย และให้มีมาตรการหรือข้อตกลงในการใช้พื้นที่สาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายของคนทุกกลุ่มวัย 3.2 จัดให้มีและจัดการพื้นที่ในการครอบครองของแต่ละองค์กรให้มีพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่เอื้อและกระตุ้นต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนทุกกลุ่มวัยในชุมชน - กระทรวงมหาดไทยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
- กระทรวงคมนาคม
- กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
- กระทรวงกลาโหม

มติข้อ 4. ขอให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง มีนโยบาย แผนงานและโครงการ เพื่อส่งเสริมให้สถาบันครอบครัวมีกิจกรรมทางกายร่วมกันเพิ่มมากขึ้น - กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ

มติข้อ 5. ขอให้กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานครและหน่วยงานอื่นที่มีการจัดการศึกษา มีนโยบายและสนับสนุนงบประมาณให้สถานศึกษาทุกระดับ ทั้งที่เป็นสถานศึกษาของรัฐและเอกชน จัดให้มีหลักสูตร กิจกรรมและสร้างเสริมสภาพแวดล้อมและการดูแลความปลอดภัยที่เอื้อให้เกิดการมีกิจกรรมทางกายของบุคลากร นักเรียน นักศึกษาและชุมชน - กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย - กรุงเทพมหานคร - สถานศึกษาทุกระดับ

มติข้อ 6. ขอให้กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจเอกชน กำหนดให้มีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้สถานประกอบการ จัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการมีกิจกรรมทางกาย นำไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง พร้อมทั้งส่งเสริมบุคลากรในองค์กร ให้มีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ - กระทรวงแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน - กระทรวงอุตสาหกรรม
- ภาคธุรกิจเอกชน

มติข้อ 7. ขอให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ สนับสนุนงบประมาณ และให้กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีแผนงานและโครงการที่เกี่ยวข้องกับการมีกิจกรรมทางกายของคนทุกกลุ่มวัยในชุมชนโดยสอดคล้องกับแนวคิดนโยบายเรื่องแผนเดียว (One Plan) ของกระทรวงมหาดไทย - กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ - กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

มติข้อ 8. ขอให้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับหน่วยงานวิชาการอื่นๆศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้มาตรการทางภาษีและมาตรการทางการเงิน รวมถึงองค์ความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น เพื่อเสนอต่อกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาดำเนินการ โดยมุ่งเน้นให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด -สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - หน่วยงานวิชาการอื่นๆ

มติข้อ 9. ขอให้สำนักนายกรัฐมนตรีโดยกรมประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) องค์กรสื่อสารมวลชน และเครือข่ายสื่อชุมชนเป็นแกนหลักร่วมกับเครือข่ายสื่ออื่นๆ ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายและลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของคนทุกกลุ่มวัย - สำนักนายกรัฐมนตรีโดยกรมประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) - องค์กรสื่อสารมวลชน และเครือข่ายสื่อชุมชน

ผลการดำเนินงานในเรื่องที่ 2 การพัฒนาศักยภาพของโครงการ มีรายละเอียดดังนี้ 2.1 พัฒนายุทธศาสตร์และแนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ของแผนงานส่งเสริมกิจกรรมทางกายและกลุ่มเครือข่ายที่ได้รับการสนับสนุนจากแผนงานส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2.1.1 ร่วมพัฒนายุทธศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3 ปี และ 1 ปี ของแผนงานส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานส่งเสริมกิจกรรมทางกายของคนไทย ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 5 ด้าน คือ 1) ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ นวัตกรรม และการสื่อสาร2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถของเครือข่าย 3) ยุทธศาสตร์การสร้างพื้นที่สุขภาวะต้นแบบ 4) ยุทธศาสตร์การผลักดันขับเคลื่อนเชิงนโยบาย 5) ยุทธศาสตร์องค์กรกีฬาเป็นกลไกในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายและที่มีนโยบายปลอดเหล้าบุหรี่รวมทั้งยุทธศาสตร์การสนับสนุนการบริหารจัดการ ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการสนับสนุนและระบบบริหารจัดการ ใน 3 ช่วงวัย ทั้งวัยเด็ก วัยทำงาน และผู้สูงอายุ ใน 4 setting คือบ้าน โรงเรียน องค์กร และชุมชน 2.1.2 ร่วมพัฒนายุทธศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 1 ปี ของกลุ่มเครือข่ายเดิน วิ่ง เครือข่ายจักรยาน เครือข่ายองค์กรกีฬา เครือข่ายกีฬาไทยทำให้เกิดแนวทางเพื่อนำไปสู่การทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3 ปี และ 1 ปี ครอบคลุม 3 ช่วงวัย ทั้งวัยเด็ก วัยทำงาน ผู้สูงอายุ และใน 4 setting คือบ้าน โรงเรียน องค์กร และชุมชน 2.1.3 วางระบบพัฒนาโครงการ/ ระบบติดตามประเมินผลโครงการให้กับโครงการขับเคลื่อนมาตรฐานการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยการเดิน วิ่ง และโครงการเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมกิจกรรมทางกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ (ประเภทเปิดรับทั่วไป)

2.2 ผลักดันให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่มีแผนและสนับสนุนให้มีโครงการที่เกี่ยวข้องกับการมีกิจกรรมทางกาย อาหาร และปัจจัยเสี่ยง
2.2.1 เกิดหลักสูตรการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 2.2.2 เกิดการพัฒนาศักยภาพกรรมการกองทุน ผู้รับผิดชอบกองทุนส่งผลให้มีความรู้ความเข้าใจด้านกิจกรรมทางกาย สามารถพัฒนาโครงการกิจกรรมทางกายในพื้นที่ได้
2.2.3 ทำงานบูรณาการประเด็นการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (PA) เข้าไปสู่การทำงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) 2.2.4 เกิดเครือข่ายนักวิชาการในการทำหลักสูตร ซึ่งมีเครือข่ายนักวิชาการมาจากสถาบันการศึกษา 4 ภาค ได้แก่ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี หน่วยงานรัฐ ภาคสาธารณสุข ได้แก่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และ ภาคประชาสังคม ได้แก่ มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี และนักวิชาการอิสระภาคประชาสังคม

2.3 ได้แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ใน 4 ภาค จำนวน 509 แผนงานและ 558 โครงการ ใน 509 กองทุน (ข้อมูล ณ วันที่ 23 พฤษภาคม 2561)

ผลการดำเนินงานในเรื่องที่ 3 การวางระบบการพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผลสำหรับ โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่โครงการการขับเคลื่อนมาตรฐานการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยการเดิน วิ่ง และโครงการเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมกิจกรรมทางกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ (ประเภทเปิดรับทั่วไป) มีรายละเอียดดังนี้ 2.1 เกิดคู่มือ/เครื่องมือการพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผล online 2.2 เกิดระบบสารสนเทศ online ที่ใช้ในการติดตามประเมินผลโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2.3 เกิดทีมคณะทำงาน (พี่เลี้ยงกองทุน) ทั้ง 4 ภาค ช่วยในการขับเคลื่อนโครงการกิจกรรมทางกายในกองทุนสุขภาพตำบลมาจาก สถาบันการศึกษาในพื้นที่ คณะทำงานในหน่วยงานสาธารณสุข และภาคประชาสังคม

2.4 ทีมวิชาการช่วยสนับสนุนการพัฒนาโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ประกอบด้วย 1.สถาบันการศึกษา ได้แก่ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คณะวิทยาศาสตร์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ คณะมนุษยศาสตร์ สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี 2. ภาคสาธารณสุข ได้แก่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1 เชียงใหม่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 2 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 3 นครสวรรค์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 โรงพยาบาลคีรีมาศ จ.สุโขทัย นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รพ.สต.วงฆ้อง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก สาธารณสุขอำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี สงคราม 3. ภาคประชาสังคม ได้แก่ มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี และนักวิชาการอิสระภาคประชาสังคม

2.5 เกิดการพัฒนาศักยภาพ กรรมการกองทุน ผู้รับผิดชอบกองทุนส่งผลให้มีความรู้ความเข้าใจด้านกิจกรรมทางกาย สามารถพัฒนาโครงการกิจกรรมทางกายในพื้นที่ได้

การขับเคลื่อนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของสสส.ในระดับชาติและระดับสากลที่ผ่านมาจนมีข้อตกลงระดับนานาชาติ นโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนระดับชาติทั้งการผลักดันเรื่องกิจกรรมทางกายเข้าสู่ WHA ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.2018; นโยบายสาธารณะตามมติสมัชชาชาติครั้งที่ 10 ปี 2560“การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น”; ยุทธศาสตร์กิจกรรมทางกายแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2559 – 2563) และแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส. จะช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติการในหน่วยงาน และพื้นที่ที่เกี่ยวข้องได้อย่างกว้างขวาง

ในปี 2561-2562 นี้ แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายร่วมกับ สจรส.ม.อ. จึงเสนอโครงการเพื่อการขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายลงสู่การดำเนินงานในหน่วยงานและพื้นที่ต่าง ๆ ให้เพิ่มมากขึ้นโดยเน้นเป้าหมาย 2 ประเด็นหลัก คือ
1. พัฒนาคุณภาพของโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของเครือข่าย แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยดำเนินการร่วมกับเครือข่าย แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และขยายพื้นที่ดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ในการพัฒนาโครงการ และติดตาม ประเมินผลโครงการของเครือข่าย 2. ขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 10 วาระ การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นสู่การปฏิบัติ โดยมีการดำเนินการร่วมกับหน่วยงาน ภาคีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมติ

ดังรายละเอียด

เรื่อง แนวทาง ผลผลิต/ผลลัพธ์
1. พัฒนาคุณภาพโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของเครือข่าย แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส.

1) การพัฒนาคุณภาพโครงการเครือข่ายแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส.
คลินิกการพัฒนาโครงการ - การประชุมทีมคณะทำงานวิชาการแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส.เพื่อวางแผนพัฒนาศักยภาพและออกแบบแนวทางการสนับสนุนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของเครือข่าย - พัฒนาศักยภาพผู้เสนอโครงการ ที่จะได้รับการสนับสนุนจากแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ให้สามารถเขียนข้อเสนอโครงการที่มีคุณภาพ มีทักษะในการใช้ระบบติดตามและประเมินผลและโครงการมีความสอดคล้องกับแผนงานส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 3ช่วงวัย(วัยเด็ก วัยทำงาน ผู้สูงอายุ)4 setting (บ้าน โรงเรียน องค์กร ชุมชน) และสามารถนำไปสู่ผลผลิต ผลลัพธ์ ในประเด็น
1. เกิดการจัดการความรู้ นวัตกรรม และสื่อรณรงค์ 2. เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเกิดความรอบรู้มีขีดความสามารถด้านสุขภาพประเด็นกิจกรรมทางกาย (Health Literacy - PA) 3.เกิดพื้นที่สุขภาวะต้นแบบที่สามารถนำไปขยายผลในเชิงพื้นที่ และเชิงนโยบาย 4.เกิดนโยบายสาธารณะทั้งระดับชาติ ระดับพื้นที่ ระดับองค์กร 5. องค์กรกีฬาเป็นกลไกในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางกาย และเป็นองค์กรที่มีนโยบายปลอดเหล้าบุหรี่ - ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เพื่อปรับปรุงข้อเสนอโครงการให้สมบูรณ์ - ผู้เสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายร้อยละ 100 ได้รับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพด้านการเขียนข้อเสนอโครงการที่มีคุณภาพ และมีทักษะในการใช้ระบบติดตามและประเมินผล และนำความรู้ไปปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ - ได้ข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ที่สอดคล้องแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและเป็นโครงการที่มีคุณภาพ ร้อยละ 90

2) การระบบพัฒนาโครงการและระบบติดตามและประเมินผลโครงการของเครือข่าย
- การพัฒนาคู่มือการพัฒนาโครงการ และคู่มือการติดตาม ประเมินผลโครงการ - การพัฒนาระบบการพัฒนาข้อเสนอโครงการและการติดตามประเมินผลโครงการ Online ผ่านทาง Website เป็นการปรับปรุงระบบ และการจัดทำคู่มือ Website ฝึกอบรม - ได้คู่มือการพัฒนาโครงการ และคู่มือการติดตาม ประเมินผลโครงการจำนวน 1 ชุด
- ได้ระบบสารสนเทศ online ที่ใช้ในการพัฒนาข้อเสนอโครงการและการติดตามประเมินผลโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

3) การขยายพื้นที่ดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
- ขยายพื้นที่ดำเนินงานในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 270 กองทุน - พัฒนาข้อเสนอโครงการและมีกิจกรรมในโครงการครอบคลุมเรื่องกิจกรรมทางกาย และอาหาร - กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีแผนและโครงการ ครอบคลุมเรื่องกิจกรรมทางกายและอาหาร จำนวน 270 กองทุน
- ได้ข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและอาหารที่มีคุณภาพ จำนวน 100 โครงการ

  1. การขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 10 วาระการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นสู่การปฏิบัติ 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของมติสมัชชาประเด็น “การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น”

- การประชุมเชิงปฏิบัติการ Workshop ในการสร้างความรู้ ความเข้าใจในแนวทางกิจกรรมทางกาย รวมทั้งการทำแผนและโครงการกิจกรรมทางกาย ในกลุ่ม ระดับเขต (คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.)) / ระดับจังหวัด (เครือข่ายสมัชชาจังหวัด)ระดับอำเภอ (คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)) และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กับ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
- คณะทำงาน กขป. เครือข่ายสมัชชาจังหวัด พชอ. อปท.และ สปสช. มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
- เกิดนโยบาย แผน และโครงการกิจกรรมทางกาย ในกลุ่มคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) เครือข่ายสมัชชาจังหวัด คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กับ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

2) การประชุมเชิงปฏิบัติการกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นพื้นที่ต้นกิจกรรมทางกายและอาหาร
- การประชุมเชิงปฏิบัติการกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อทำความเข้าใจ ส่งเสริมกิจกรรมทางกายภายในองค์กร รวมทั้งการผลักดันให้องค์กรมีนโยบาย โครงการ และกิจกรรม PA และอาหาร - การประกวดให้รางวัล สำหรับการออกแบบกิจกรรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและอาหารในองค์กร - สนับสนุนการสื่อสารเผยแพร่การส่งเสริมกิจกรรมทางกายและอาหารขององค์กร
- หน่วยงานการไฟ้ฟ้าส่วนภูมิภาคมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และมีนโยบายในการส่งเสริมองค์กรให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น - เกิดต้นแบบ PA ในการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

3) การศึกษาความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การศึกษาความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยการศึกประโยชน์ทางตรงและประโยชน์ทางอ้อมต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของโครงการที่รับการสนับสนุนจากแผนกิจกรรมทางกายโดยการคิดมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้ข้อมูลการศึกษาความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

เพื่อทำให้การดำเนินงานดังกล่าวข้างต้นบรรลุเป้าหมาย แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายจึงได้ร่วมมือกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกันทำโครงการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 10 วาระ “การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น” ไปสู่การปฏิบัติในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์และวิธีการดำเนินงานดังต่อไปนี้

stars
6. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
7. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 พัฒนาคุณภาพของโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของเครือข่าย แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยดำเนินการร่วมกับเครือข่าย แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และขยายพื้นที่ดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ในการพัฒนาโครงการ และติดตาม ประเมินผลโครงการของเครือข่าย
  1. ได้คู่มือการพัฒนา ติดตามประเมินผลโครงการ เพื่อใช้สนับสนุนการพัฒนาโครงการของแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

  2. ได้เอกสารชุดการสังเคราะห์ความรู้และประสบการณ์การขับเคลื่อนงานส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

  3. เกิดการสื่อสารเรื่องกิจกรรมทางกาย ขยายเผยแพร่สู่สาธารณะในวงกว้างของสังคม นำไปสู่การรับรู้ เข้าใจ และมีความตระหนักต่อการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในชีวิตประจำวัน

  4. ได้ข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ที่สอดคล้องแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และเป็นโครงการที่มีคุณภาพ ร้อยละ 90

  5. ได้ระบบสารสนเทศ online ที่ใช้ในการพัฒนาข้อเสนอโครงการและการติดตามประเมินผลโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

  6. เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพที่มีความรอบรู้มีขีดความสามารถด้านสุขภาพประเด็นกิจกรรม ทางกาย (Health Literacy - PA) ได้แก่ เครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล (ท้องถิ่น สปสช.) 270 กองทุน และภาคีเครือข่ายแผนกิจกรรมทางกาย สสส.

  7. ผู้เสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ร้อยละ 100 ได้รับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพด้านการเขียนข้อเสนอโครงการที่มีคุณภาพ และมีทักษะในการใช้ระบบติดตามและประเมินผล และนำความรู้ไปปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  8. เกิดข้อเสนอโครงการ 100 โครงการที่มีคุณภาพ ในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และเครือข่ายแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส.

  9. เกิดพื้นที่สุขภาวะต้นแบบในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ อย่างน้อย 4 พื้นที่

  10. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีแผนและโครงการ ครอบคลุมเรื่องกิจกรรม ทางกายและอาหารจำนวน 270 กองทุน

0.00
2 ขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 10 วาระ การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นสู่การปฏิบัติ โดยมีการดำเนินการร่วมกับหน่วยงาน ภาคีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมติ
  1. ได้ข้อมูลความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

  2. เกิดต้นแบบการมีกิจกรรมทางกาย อย่างน้อย 2 พื้นที่

  3. เกิดนโยบาย แผน และโครงการกิจกรรมทางกาย ในกลุ่มคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) เครือข่ายสมัชชาจังหวัด คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กับ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

0.00
stars
8. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
9. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 2 0.00
14 มิ.ย. 62 ประชุม PA 0 0.00 0.00
3 ก.ค. 62 ประชุมปรึกษาหารือแนวทางการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพฯ กรณี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 0 0.00 0.00

 

stars
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
11. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2562 13:48 น.